เจ้าพ่อบ้านหนองปลิง

เจ้าพ่อบ้านหนองปลิง

เผยแพร่เมื่อ 24-04-2020 ผู้ชม 1,426

[16.5680198, 99.4659328, เจ้าพ่อบ้านหนองปลิง]

           เสียงกลองวัดหนองปลิง ดังรัวเต็มที่ ยังผลให้ชาวบ้านที่อยู่ในรัศมีเสียงกลองพากันหูผึ่ง กำลังทำงานอยู่ก็ละวาง มองหน้าทักถามกันด้วยสายตา ท่าทีตะลึงงัน มันเป็นเวลาใกล้ค่ำ แต่ทว่านี่ก็เลยกลางเดือน 11 ออกพรรษามาหลายเดือนแล้ว กลองย่ำค่ำ พระก็หยุตี เหลือแต่เวลาเพล 11.00 น. จึงจะได้ยินกัน สำหรับในพรรษานั้นเป็นประเพณีที่ปฏิบัติกันมานาน วัดทีพระมาก เพราะมีพระบวชใหม่เพิ่มจำนวน ส่วนพระเก่าก็อยู่ประจำ ไม่โคจรไปไหนๆ จึงประชุมกันเพื่อกิจวัตรสวดมนต์อย่างเคร่งครัด เฉพาะเวลาเย็น ชาวบ้านจะได้ยินเสียงกลองสองครั้ง ครั้งแรก 17.00 น. ครั้งที่สองราวๆ 18.00 น.เศษ ครั้งแรกเป็นสัญญาณบอกให้ชาวบ้านรู้ว่า พระเริ่มเตรียมลงประชุม ตอนหลังสวดมนต์ทำวัตรจบ เป็นเครื่องเตือนจิตใจชาวบ้าน ซึ่งปกติหมกมุ่นอยู่กับงานให้ได้หวนระลึกถึงพระศาสนา แม่ตัวเองจะติดงานวัดมาไม่ได้นอกจากวัดพระ 8 ค่ำ 15 ค่ำ แต่ก็ได้ส่งอารมณ์ส่งจิตใจมาอนุโมทนาคารวะพระรัตนตรัย ด้วยเลื่อมใสศรัทธา ซึ่งเท่ากับเป็นการฉุดรั้งจิตใจที่หมกมุ่นอยู่ในโลกีย์วิสัย ให้ได้สัมผัสกับแสงสว่างแห่งศีลธรรมศาสนา แม้จะชั่วแวบหนึ่งก็ยังมีคุณแก่ชีวิต เป็นสิริมงคลแก่ตนแล้ว ฉะนั้นเมื่อเสียงกลองย่ำค่ำในฤดูกาลเข้าพรรษาดังแว่วมา ชาวบ้านจะยกมือขึ้นพนมเหนือศีรษะ อุทานว่า สาธุ ถ้าเด็กหรือหนุ่มๆ สาวๆ ไม่สาธุเมื่อได้ยินเสียงกลองย่ำค่ำ ก็จะมักถูกผู้ใหญ่เตือนเป็นเชิงติดว่า “เอ็งมันบาปหนา มือแข็ง ไม่ไหว้พระอนุโมทนากับท่าน ดูสิ! หมามันได้ยินเสียงกลอง เสียงระฆังมันยังโห่ยังหอน” เมื่อโดนเข้าแบบนี้เป็นไม่มีใครจะมือแข็งอยู่ได้ ต้องจัดแจงปรับปรุงจรรยาตนเองทันที ฉะนั้นกลองระฆังประจำวัดต่างๆ ในพุทธศาสนาจึงมีความหมายต่อชาวบ้านมากคือเป็นสัญญาณแห่งสวรรค์ของเขานั่นเอง
           แต่เสียงกลองคราวนี้ ไม่ใช่ฤดูกาลที่พระจะย่ำค่ำ จังหวะก็เร่งร้อนนัก ทุกคนที่ได้ยินก็รู้ทันทีว่า นั่นเป็นสัญญาณบอกเหตุฉุกเฉิน ฉะนั้นเพียงสิ้นเสียงกลองไม่นาน ลานวัดหนองปลิงก็เกลื่อนกล่นไปด้วยผู้คน
           พระภิกษุสูงอายุรูปหนึ่ง ยืนยู่บนชานกุฎิ มีสีหน้าตื่นตกใจจนเห็นชัด ตะโกนโต้ตอบชาวบ้านผู้ซักหาสาเหตุด้วยเสียงและปากคอสั่นราวกับเป็นไข้
          “ฉันเพิ่งกลับมาเดี๋ยวนี้และไม่ไปนานนี่นา มันคงเอาไปได้ไม่ไกลหรอก”
          “อะไรกันครับ” เสียงอีกคนหนึ่งตะโกนซ้อนเข้ามา
          “ขโมยจ๊ะ! ขโมย มันมางัดกุฎิเอาพระไปหมด”
          “พระอะไร”
          “พระพุทธรูปเชียงแสน สุโขทัยสี่องค์” พระตอบ
          เสียงซักเสียงตอบดังแซ่ดไปหมด ทำให้รู้ว่า พระพุทธรูปเก่าอายุร่วมพันปี ที่สวยงามมีค่ามากเป็นสมบัติของวัดและคนหนองปลิงทั้งบาง ซึ่งเก็บรักษาไว้ในกุฎิหายไปในระหว่างที่พระสงฆ์ทั้งวัด ซึ่งมีอยู่เพียง 3 รูป ไปกิจนิมนต์บ้านแถวใกล้ๆ นั้น โดยมันมางัดกุฎิ พอทุกคนรู้ชัดเท่านั้น หัวใจราวกะถูกไฟไหม้ พระสี่องค์นี้เขาได้เยกราบไหว้บูชากันมาชั่วกาลนาน ด้วยความเลื่อมใส และเชื่อมั่นในอำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และมีผู้หมายปองจ้องคิดจะครอบครองกันมากมาย มาขอซื้อขอเช่าในราคาสูง ยั่วให้อยากได้เงินก็มี ที่ใช้อำนาจหน้าที่เลียบเคียงเข้ามาข่มขู่เอาก็มี แต่อาศัยอดีตกำนันนาค อ่อนคำ เป็นผู้รู้จักผ่อนปรน ทำให้รอดพ้นความโลภของคนเห็นแก่ตัวมาได้ด้วยดี ก็เมื่อมาถูกขโมยไปเสียเช่นนี้ ชาวบ้านทั้งหมดจึงรู้สึกเสมือนถูกโจรกรรมมิ่งขวัญพากันโกรธเคืองขโมย บางคนโกรธจัดก็ลามไปถึงพระสงฆ์ว่ารักษาของไม่ดี แต่เมื่อเห็นอาการกิริยาอันเต็มไปด้วยความทุกข์ร้อนของท่านแล้วก็ให้อภัย จึงทำให้ความโกรธเปลี่ยนทิศทางไปสู่ขโมยทางเดียว แต่ขโมยอยู่ที่ไหน?
          ชายชราในวัยเรือน 70 ท่าทางเยือกเย็น อ่อนโยนเป็นลักษณะของผู้ใหญ่เต็มภูมิ ถ้อยทีวาจาหลักแน่นชัดเจน แม้จะมีเสียงเบาๆ ตามวิสัยคนชราแต่ก็ทำให้คนเงียบสดับฟัง จับใจความได้ถนัดว่าเสียงตะโกนทางไมโครโฟนของพวกอวดอ้างสรรพคุณขายยาตามสถานีวิทยุมากนัก ชายชราผู้นี้คือ กำนันนาค อ่อนคำ ที่คนทั้งบางเรียกว่าพ่อ เป็นฐานะนามที่เขาพากันตั้งเอาเอง ด้วยความยอมรับนับถือว่าเป็นเสมือนผู้บังเกิดเกล้าของเขาทั้งหมดขณะนั้น ความหวังของทุกหัวใจ ก็หันทิศทางมายังพ่อนาคเหมือนทุกๆ คราวที่ประสบปัญหาหนักทั้งในเรื่องส่วนตัวและส่วนรวมเขาได้ยินพ่อนาคพูดด้วยเสียงเศร้าๆ ว่า
          “อย่าเอะอะไปเลย ลูกเอ๋ย ! จะพาให้เสียเวลา เรายังมีหวัง พระท่านยืนยันว่า ของเพิ่งหายไปชั่วครู่อย่างมันจะพอไปได้ก็คงยังไม่พ้นบริเวณหนองปลิงหรอก ช่วยกันติดตามเร็วเถอะ แยกย้ายกันไปซุ่มสังเกตตามช่องทางที่จะออกนอกเขตบ้านเราทุกๆ แห่ง ไปเถอะ อย่าชักช้า เสียเวลาเลย”
          ทุกคนยอมรับความคิดเห็นนี้ ไม่มีใครเห็นแก่เหน็ดเหนื่อย ยอมสละกิจส่วนตัว โดยเฉพาะชายฉกรรจ์ต่างจัดเตรียมอาวุธ จัดแบ่งกลุ่มกันออกสกัดในช่องทางทุกแห่ง คราวกินคราวนอนก็ผลัดเวรกันเคร่งครัดรวดกะทหารของพระเจ้าจักรพรรดิเป็นไปอยู่ชั่ว 4 คืน 3 วัน พวกผู้หญิง เด็ก และคนชราก็คอยฟังข่าวอยู่ที่บ้าน บรรยากาศระหว่างนี้ทำให้บ้านหนองปลิงเงียบวังเวงไปทั้งบาง และในตอนเช้าของวันที่ 4 เสียงกลองวัดหนองปลิงก็ดังขึ้นอีกครั้ง เมื่อทุกๆ คนไปวัดก็ได้เห็นพ่อนาคของเขายืนเด่นอยู่บนชานกุฎิ
          “ลูกเอ๋ย ! พ่อนาคประกาศขึ้นด้วยเสียงแจ่มใสหน้าสดชื่น “พ่อเข้าใจว่าพระของเรายังไม่สูญเมื่อคนนี้พ่อฝันว่ามีคนพาพ่อไปบอกที่ซ่อนพระ พ่อเดินไปกับเขาในป่า จำได้รางๆ ว่าพอพ้นป่า ก็ถึงชายบึงเขาชี้บอดว่าพระจมน้ำอยู่ริมบึง ใกล้ต้นจิกสองต้น พ่อตื่นขึ้นมา จึงมั่นใจว่าเทวดาคงมาเข้าฝันบอกตำแหน่งซ่อนพระให้ วันนี้เราช่วยกันไปค้นตามชายบึงหลังวัดของเรานี่แหละ”
          หลายคนมองพ่อนาคของเขาอย่างแคลงใจ แต่ส่วนมากทำตามคำแนะนำเป็นเหตุให้คนทั้งกลุ่มพากันบ่ายหน้าไปสู่บึงใหญ่ ซึ่งไม่ห่างจากวัดมากนัก รวมทั้งคนที่ไม่แน่ใจนั้นด้วย สวะกอพงชายบึงถูกรื้อค้นอย่างละเอียด โดยเฉพาะตอนใดที่มีต้นจิก ตอนนั้นสะอาดเตียนไปทีเดียว เวลาผ่านไปจนสาย ก็ไม่มีวี่แววว่าจะพบพระ พ่อนาคเองก็ไม่ยอมอยู่นิ่ง ออกเรี่ยวแรงค้นกับเขา ทั้งๆ ที่สังขารก็ชราภาพอย่างนั้น ยิ่งดวงตะวันสูงขึ้นเสียงสนทนาปราศรัย วิพากษ์ วิจารณ์ ออกความคิดเห็นก็หายห่างไป เหลือแต่เสียงฉุดกระชากสวะและพงหญ้า บุกน้ำลุยโคลน และแล้วในบรรยากาศอันตึงเครียดด้วยความเหนื่อยอ่อนและหิวโหยนั่นเอง ก็ได้ยินชายคนหนึ่งตะโกนสุดเสียงราวจะถูกทำร้าย ทุกคนสะดุ้ง
          “พ่อ อยู่นี่ ! พ่อ อยู่นี่ !! พ่อ อยู่นี่ !!! เหมือนเขาจะพูดเป็นอยู่เท่านั้น
          “อะไรวะ ?” อีกคนตะคอกถาม
          “พระ ได้แล้ว ได้แล้ว อยู่นี่ พ่อ!” เขาย้ำบอกด้วยเสียงตื่นเต้นร้อนรน
          พอทุกดคนรู้แน่ว่าอะไรเป็นอะไร ต่างก็วิ่งบุกโคลนไปสู่จุดนั้น ต่อมาพระพุทธรูปสี่องค์ก็ถูกนำขึ้นมาวางเรียงกันบนพื้นหญ้า ต่างพากันอุทานด้วยเสียงและสีหน้าชื่นชมยินดี บางคนถึงกับก้มลงกราบ ทั้งๆ ที่โคลนยังเต็มตัว พ่อนาคยิ้ม
          “นิมนต์พระกับวัดเถอะลูกเอ๋ย !” แกร้องบอกด้วยเสียงแจ่มใส
          กลองวัดหนองปลิง รับงานหนักอีกแล้ว มันถูกระดมตีอยู่เป็นเวลานาน และผู้ตีก็ตีอย่างร่าเริง มีลีลาจังหวะแปลกๆ ชวนให้ขบขัน ทำให้ลานวัดหนองปลิงแน่นด้วยผู้คนอีกวาระหนึ่ง ต่างแสดงออกด้วยความเลื่อมใส และห่วงใยต่างๆ นาๆ ตามถนัด บางคนกราบแล้วกราบอีก อุทานว่า
          “บุญๆ ที่หลวงพ่อยังได้กลับมาให้ได้กราบไหว้บูชา” หลายคนด่าขโมย สาปแช่งให้มันตกนรก ไม่รู้จักผุดจักเกิดที่เอาหลวงพ่อไปจมน้ำไว้ตั้ง 4 คือ 4 วัน บางคนก็ยังประกาศบอกความอาฆาต ไม่หายขุ่นเคือง ตอนนี้พ่อนาคต้องพูดอีกครั้ง ทุกคนฟังอย่างตั้งใจ และมองพ่อนาคด้วยความอัศจรรย์ เพราะความฝันของพ่อนาค จึงทำให้ได้พระคืน จะไม่ให้อัศจรรย์อย่างไรเล่า ในเมื่อพ่อนาคติดต่อกับเทวดาได้เช่นนี้ ใจความที่พ่อนาคพูด
          “พ่อเป็นสุขจริงๆ ลูกหลานเอ๋ย ! ที่ได้เห็นลูกหลานมีความสุข ร่าเริงยินดีที่ได้พระกลับมา เพราะความสามัคคีพร้อมเพรียงของเราแท้ๆ ทำให้เทวดาอารักษ์เล็งเห็นและไม่ทอดทิ้ง ช่วยปกปักรักษามิ่งขวัญของเราไว้ได้ เราจะได้กราบไหว้บูชาของเราต่อไป เรากราบไหว้บูชารักษาท่าน ท่านก็จะคุ้มครองรักษาเรา แต่พ่อสังเกตเห็นว่ายังมีอีกหลายคนที่ยังไม่หายโกรธแค้น ยังเก็บมาผูกอาฆาต คิดจะสอนให้เจ็บตัวเสียบ้าง พ่อว่าเราควรจะยุติกันได้แล้ว ของเราก็ได้คืนมาแล้ว ให้อภัยเขาเถอะ เชื่อว่าขณะนี้มันผู้นั้นคนได้สำนึก อย่าไปซ้ำเติมเขาอีกให้เป็นบาปเป็นเวรต่อไปเลย เวรย่อมระงับด้วยการให้อภัย เรื่องของเราต่อไปก็คือ จงช่วยกันรักษาพระพุทธรูป 4 องค์นี้ไว้ ให้อยู่เป็นสมบัติของชาวหนองปลิงชั่วลูกชั่วหลาน ใครๆ ก็อย่าได้เห็นแก่ตัวเช่นมันผู้นั้นอีก อย่าทำตัวเป็นคนใจบาป ขายได้กระทั่งพระ ขโมยได้กระทั่งของวัด มันเป็นบาปหนัก แต่ครั้งนี้เราลืมเขาเสียเถอะ อย่าไปโกรธไปพยาบาทเขาเลย ต้องคิดว่า เขาก็เหมือนพวกเรา เมื่อยากจนลงไปแล้วมันก็ไม่คิดกลัวบาปหากทางแก้จนในทางทุจริต แต่เราอย่าให้เหมือนเขา อย่าทำบาปเพื่อแก้จน ยังมีทางดีๆ ไม่ให้เราแก้แค้นความชั่วของคน ด้วยเวรพยาบาทช่วยกันดับเวรดับภัย ด้วยอโหสิกรรมเถิดลูกเอ๋ย ! ความชั่วของเขาก็ทำให้เขาเร่าร้อนอยู่มากแล้ว เราอย่ายอมบาปไปซ้ำเติมเขาอีกเลย”
          ด้วยลีลาที่อ่อนโยน แต่แหบเครือเจือด้วยความรู้สึกที่กล่าวออกมา ทำให้มีบางคนร้องไห้ มันเป็นการร้องที่เกิดจากความรู้สึก ซึ่งไม่เหมือนกับทุกครั้งที่เขาเคยร้อง ไม่ใช่เสียใจ แต่จะว่าดีใจมันก็ยิ่งกว่าดีใจ มันซึมในอกชวนสะอื้นอย่างบอกไม่ถูก แม้แต่คนที่ใจแข็ง ไม่ยอมให้ใครเห็นหน้าตา แต่ในหัวอกของเขา มันปกปิดไม่ได้ มันมีน้ำตาขังอยู่แต่รู้ได้เฉพาะตัว
          ในที่สุด ก็มาถึงวาระที่ต้องปรึกษากันว่า ต่อไปนี้จะพิทักษ์รักษาพระพุทธรูปทั้ง 4 นี้อย่างไรจึงจะปลอดภัย ที่วัดพระสงฆ์ก็มีน้อยรูป กุฎิก็ไม่สู้แข็งแรง ทำให้หวั่นใจว่าจะเกิดเรื่องซ้ำรอยขึ้นอีกก็ได้ และไม่แน่ว่าเทวดาจะมาเข้าฝันพ่อนาค บอกที่ซ่อนไว้อีกหรือไม่ ทุกคนลงมิติเป็นอันเดียวกัน คือถ้ามอบให้พ่อนาครับไปไว้ที่บ้านแล้ว ไม่ต้องวิตกว่าโจรทั้งผู้ร้ายและผู้ดี จะมาฉกลักพรากเอาไป แต่พ่อนาคกลับอ้ำอึ้งไม่ยอมรับปาก ได้แต่บอกว่า
          “เรามันเป็นชาวบ้าน แม้ใครจะเห็นว่าดี แต่ก็ไม่มีหน้าที่จะมาก้าวก่ายถึงสมบัติของศาสนา เรามีหน้าที่เพียงแต่จะช่วยกันบำรุงวัด สิ่งใดไม่มีก็ช่วยกันหาเข้ามา ส่วนการรักษาเป็นเรื่องของพระสงฆ์ท่านอย่าให้พ่อรับหน้าที่นี้เลยลูกเอ๋ย !”
          ไม่มีใครยอม ทุกคนพากันออกความเห็นเป็นเชิงเกลี้ยกล่อม และอ้อนวอน บางคนก็ตัดพ้อทำท่าจะบีบบังคับ ซึ่งล้วนแต่ออกจากความไว้วางใจรักเคารพในพ่อนาคทั้งนั้น ทำให้พ่อนาคอึดอัดไม่รู้จะหาทางผ่อนปรนอย่างไร ก็บังเอิญพระภิกษุผู้รักษาการเจ้าอาวาสพูดขึ้นว่า
          “ไม่ได้ โยมต้องรับเอาไว้ที่นี้ไม่ได้ พวกฉันก็มีเพียง 3 องค์เท่านั้น ไม่มีกำลังจะรักษาได้แน่น มันมาขโมยแต่พระพุทธรูปนะยังดี ต่อไปมันอาจจะมารุมบีบคอพวกฉันเข้าก็ได้ อีกอย่างหนึ่ง พากฉันก็ไม่ได้อยู่วัดตลอดเวลา บางวันก็ต้องจำเป็นทิ้งวัดไปกิจนิมนต์ที่อื่น โยมเอาไปเก็บรักษาไว้ที่บ้านนะดีแล้ว นึกว่าเห็นใจพวกฉันเถอะ”
          “เมื่อท่านอาจารย์ว่าอย่างนั้น ผมก็ต้องรับ” พ่อนาคพูดขึ้น ทุกคนโล่งหัวอก ต่อแต่นั้นก็พากันนำพระพุทธรูปทั้ง 4 องค์ออกจากวัดไปบ้านพ่อนาค กลายเป็นขบวนแห่ที่ยึดยาวราวกับแห่พระในเทศกาลประจำปี แต่ไม่มีเสียงโห่ เพราะมันเป็นการแห่ไปสู่ความปลอดภัยเพื่อให้พ้นจากผู้ร้ายใจบาป
          เหตุการณ์ครั้งนี้ ทำให้ชาวบ้านหวงแหนระวังรักษาพระพุทธรูปสี่องค์นี้ขึ้นอีกมาก และทำให้ชาวบ้านหนองปลิง กำแพงเพชร นครชุม และที่ใกล้เคียง ที่เคยรู้จักพ่อนาคมาก่อน ลงความเห็นว่าพ่อนาคกลายเป็นผู้วิเศษ ติดต่อกับเทวดาได้อย่างอัศจรรย์ เพื่อศรัทธาและความเคารพนับถือต่อพ่อนาคมากขึ้น เมื่อเกิดปัญหาที่สุดวิสัยมนุษย์จะแก้ไข เขาก็ไม่ต้องเที่ยวบนบานศาลกล่าวเจ้าพ่อและเจ้าแม่ที่แลไม่เห็นตัวอีกเหมือนก่อนๆ เพราะเจ้าพ่อของเขาที่ตัว พูดจาด้วยได้ ร่วมทุกข์ร่วมสุขกันได้นั้นมีอยู่แล้ว คือพ่อนาค บ้านหนองปลิงของพ่อเขานั่นเอง
          เวลาล่วงเลยมาถึงวาระที่ใกล้จะมีงานเทศกาลประจำปี กลางเดือน 5 พ่อนาคได้ล่องลงมากรุงเทพฯ เพื่อเยี่ยมลูกหลานในที่ต่างๆ แล้ว ก็เลยมาเยี่ยมเคารพหลวงตาและจะอาราธนาไปแสดงธรรมในงานด้วย หลวงตาก็เลยได้รับรู้เรื่องอันนาอัศจรรย์เรื่องนี้ บางขณะก็เคลิ้มไปว่า อดีตกำนันนาค ประธานบริษัทป่าไม้จังหวัดกำแพงเพชร และทายกวัดหนองปลิงผู้นี้เป็นเทวดาไปจริงๆ ตอนหนึ่งท่านถามกำนันนาคว่า
          “เจริญพร ขออภัยคุณโยมเถอะ ! ที่ว่าฝันนะ ! ฝันจริงหรือ ?”
          “ข้อนี้ ผมเห็นจะบาปขอรับ ไม่ค่อยสบายใจเหมือนกัน ความจริงมีอยู่อย่างนี้ขอรับ ในคืนที่สามนับแต่วันเกิดเหตุ ราวๆ ตีสอง ผมตื่นนอนเพราะได้ยินเสียงคนมากระซิบเรียกเบาๆ ที่หลังเรือน บังเอิญคนในบ้านยังไม่มีใครตื่น ผมจึงหลบลงเรือนไปพบกับเขา เขาผู้นี้จะมาบอกที่ซ่อนพระให้ เพราะได้พบกับเจ้าขโมย ขณะนี้คนขโมยสำนึกตัวได้คิดแล้ว อยากจะเอามาคืนให้ แต่เกรงจะถูกรุมซ้อม เพราะคนหนุ่มบางคนประกาศความอาฆาตไว้น่ากลัวเหลือเกิน จะแอบเอามาคืนเงียบๆ อย่างนี้ก็ไม่มีทางเพราะทุกหนทุกแห่ง มีสายตาชาวบ้านซอกแซกสังเกตไปหมด โดยเฉพาะคนที่มีประวัติมือไว้ใจเร็ว ก็ถูกสะกดร้อยไม่ว่าจะไปเหนือไปใต้ รวมทั้งเจ้าคนขโมยนี้ด้วย เขาจึงได้รับคำขอร้องจากเจ้าคนขโมย ที่มันร้องห่มร้องไห้อ้อนวอนให้เขามาติดต่อกับผม ว่าผมจะรับรองได้ไหมว่าจะไม่เป็นอันตรายจากชาวบ้านและกฎหมาย อารมณ์ดีใจที่จะได้พระคืนผมก็รับประกัน ทั้งๆ ที่ยังมองไม่เห็นทางที่จะไม่ให้เรื่องลุกลามเป็นเวรเป็นกรรมกันต่อไป แต่แล้วก็คิดได้ ต้องออกอุบายดังที่ได้ทำไปแล้วนั่นแหละขอรับ ความจริงไม่ได้ฝันอะไรหรอก”
          หลวงตาหัวเราะชอบใจ ลงความเห็นว่าวิธีการของกำนันนาคเป็นกุศโลบาย ที่สร้างความยิ่งใหญ่เหนือผู้ยิ่งใหญ่ทั้งหลายทีเดียว คือสร้างตนให้เป็นเทวดา ชาวบ้านเพิ่มศรัทธาความเชื่อถือในตัวแกมากขึ้น ของก็ไม่สูญ น้ำใจของชาวบ้านหนองปลิง ก็กลมเกลียวกันกว่าเดิม เพราะเห็นคุณค่าของความร่วมมือร่วมใจ ทำให้เทวดาไม่ทอดทิ้ง แต่ที่สำคัญที่สุดก็คือดับเวรระงับภัยให้ยุติลงได้ คนชั่วก็สำนึกตัว พาดให้ดีขึ้น คนดีอยู่แล้วก็ไม่ยอมปล่อยใจให้มัวหมอง เพราะความมุ่งร้ายพยาบาท เขากำจัดมลทินแห่งหัวใจด้วยการให้อภัยคนชั่ว เมื่อเป็นเช่นนี้ จะไม่ให้เขาเรียกกำนันนาค ว่าพ่อนาคอย่างไรได้ คิดว่าไม่ช้าดอก ฐานะขอกำนันนาคคงจะขยับขึ้นเป็น “เจ้าพ่อนาค” แต่ก็เหมาะสมที่จะถูกยกย่องเทิดทูนเช่นนี้

คำสำคัญ : เจ้าพ่อบ้านหนองปลิง

ที่มา : สันติ อภัยราช. (2548). หนองปลิง วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา ตำบลหนองปลิง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร. กำแพงเพชร: องค์การบริหารส่วนตำบลหนองปลิง.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). เจ้าพ่อบ้านหนองปลิง. สืบค้น 27 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=1431&code_db=610006&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1431&code_db=610006&code_type=01

Google search

Mic

ตำนานวัดกาทิ้ง

ตำนานวัดกาทิ้ง

ริมฝั่งลำน้ำปิง มีเมืองโบราณคือเมืองคณฑี หรือที่คนทั่วไปเรียกกันว่าบ้านโคน เป็นชุมชนโบราณที่ไม่มีคูน้ำและคันดินล้อมรอบ ตั้งอยู่บนฝั่งตะวันออกของลำน้ำปิง พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งดำรงพระยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธสยามมกุฎราชกุมาร ได้เสด็จทอดพระเนตรชุมชนโบราณแห่งนี้ เมื่อปีพุทธศักราช 2450 ทรงกล่าวถึงชุมชนบ้านโคนว่า คงเป็นเมืองมาแต่โบราณ แต่หาคูหรือเทินและกำแพงไม่ได้ วัดเก่าที่ตั้งอยู่บริเวณนี้ชื่อวัดกาทิ้ง

เผยแพร่เมื่อ 10-03-2020 ผู้เช้าชม 1,583

แหย่งพระที่นั่งต้องห้าม

แหย่งพระที่นั่งต้องห้าม

พระพุทธเจ้าหลวง รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสต้นกำแพงเพชร คือตั้งแต่วันที่ 18 สิงหาคม 2449 และกลับพระนคร ในวันที่ 27 สิงหาคม 2449 มีอยู่หนึ่งวันที่พระพุทธเจ้าหลวงเสด็จประพาสบ้านปากคลอง คือวันที่ 25 สิงหาคม ตอนเช้าเสด็จเข้าไปในคลองสวนหมากไปบ้านพะโป้ มีเรื่องเล่าว่า พะโป้ได้นำแหย่ง (ที่นั่งบนหลังช้าง) ให้พระพุทธเจ้าหลวงประทับนั่ง เมื่อพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จกลับ พะโป้ได้บูชาแหย่งองค์นี้อย่างดี โดยเก็บไว้ในฐานะสิ่งสักการะบูชาเลยทีเดียว เมื่อพะโป้สิ้น (ถึงแก่กรรม) แล้ว ทรัพย์สมบัติของท่านถูกแบ่งปันกันไปหลายส่วน แหย่งได้ตกไปอยู่กับหลายท่าน แต่มีเรื่องมหัศจรรย์เล่าขานกันว่าเมื่อผู้ใดขึ้นนั่งมักจะมีปัญหาเกิดกับผู้นั่งเสมอ ทั้งร้ายแรงและไม่ร้ายแรง จนเล่าขานเลื่องลือไปทั่วปากคลอง ไม่มีใครกล้านั่งหรือแตะต้องแหย่งองค์นี้อีกเลย

เผยแพร่เมื่อ 20-04-2020 ผู้เช้าชม 884

นิทานพื้นบ้าน เรื่องหลวงตากับเต่า

นิทานพื้นบ้าน เรื่องหลวงตากับเต่า

มีหลวงตารูปหนึ่ง ขณะเดินไปปลดทุกข์ตอนเช้า เห็นเต่าตัวใหญ่ตัวหนึ่งเกิดอยากฉันขึ้นมา พอกลับไปกุฏิมองตามช่องฝาเห็นเด็กวัดมากันแล้ว ก็เริ่มสวดมนต์ดังๆ ว่า “เด็กเอ๋ยตาไปถาน เห็นเต่าคลานตัวมันใหญ่” ซ้ำไปซ้ำมา เด็กวัดได้ยินเสียงสวดมนต์ก็ “เอ๊ะ ! วันนี้หลวงตาสวดมนต์แปลก” พากันไปฟังได้ความแล้วจึงเดินไปที่ถาน เห็นเต่าตัวใหญ่คลานอยู่จริง จึงช่วยกันจับมาฆ่าจะต้มกิน แต่เต่าตัวใหญ่มาก หาหม้อใส่ไม่ได้เถียงกันวุ่นวาย หลวงตาแอบดูอยู่ก็สวดมนต์ต่อ “หม้อนี้ใบเล็กนัก หม้อต้มกรัก จักดีกว่า” ลูกศิษย์ได้ยินจึงไปเอาหม้อต้มกรักที่ใช้ย้อมจีวรพระมาต้ม เกิดปัญหาขึ้นมาอีกว่า ต้มแล้วจะต้องใส่อะไรบ้างถึงจะรสชาติดี หลวงตาได้ยิน เด็กวัดปรึกษากัน ก็รีบสวดมนต์ต่อ “ข่าตะไคร้ มะนาว มะกรูด มะพร้าวขูด น้ำปลาดี” เด็กวัดรีบปรุงตามสูตรหลวงตา กลิ่นหอมฟุ้งไปทั่ว หาช้อนมาชิมกัน หลวงตาเห็นแล้วก็น้ำลายหก ถ้าขืนปล่อยไว้คงอดแน่ จึงท่องมนต์บทสุดท้ายด้วยเสียงอันดังว่า “เนื้อหลังเด็กกินได้ ตับกับไข่เอาไว้ฉันเพล”

เผยแพร่เมื่อ 10-04-2020 ผู้เช้าชม 3,794

นิทานพื้นบ้าน เรื่องสามเกลอ

นิทานพื้นบ้าน เรื่องสามเกลอ

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีเด็กอยู่สามคน มีชื่อว่า ขี้มูกมาก ตูดแหลม และสามมือปาม วันหนึ่งสามคนนี้ชวนกันไปทอดแห พอถึงที่มาสามคนนี้ก็เกี่ยงกันทอดแห สามมือปามก็เลยทอดเอง ความที่เป็นคนมือใหญํจึงจับปลาได๎เต็มลำเรือ ขากลับชาวบ๎านเห็นได้ปลามาเยอะก็ขอปลาบ้างสามเกลอก็เกี่ยวกับเป็นผู๎หยิบปลาให้อีก สามมือปามเลยหยิบปลาให้เอง ปลายุบไปเยอะเลยพอพายเรือไปสักพักก็เจอชาวบ้านขออีก แล้วก็เกี่ยงกันอีก สามมือปามเลยหยิบปลาให้จนหมดเรือเจ้าตูดแหลมโมโหที่ปลาหมดจึงนั่งลงอยำงแรง เรือก็เลยรั่ว สามเกลอตกใจมาก เจ้าขี้มูกมากนึกได้จึงสั่งขี้มูกมาอุดเรือ เรือก็เลยหายรั่ว สามเกลอดีใจมาก แล๎วจึงบอกวำ “เราจะเป็นเพื่อนรักกันจะไมํเกี่ยวกันทำอีกแล้ว จะสามัคคีกัน” แล้วสามเกลอก็พายเรือกลับบ๎านอยำงมีความสุข

เผยแพร่เมื่อ 03-09-2019 ผู้เช้าชม 11,059

นิทานพื้นบ้าน เรื่องพระกับเด็กขี้มูกมาก

นิทานพื้นบ้าน เรื่องพระกับเด็กขี้มูกมาก

มีครอบครัวอยู่ครอบครัวหนึ่ง แม่เป็นคนชอบทำบุญ จะใส่บาตรตอนเช้าทุกวัน อยู่มาวันหนึ่ง แมํไม่ว่างออกมาใส่บาตร จึงบอกให้ลูกสาวไปใส่บาตรแทนลูกสาวยังเด็กตื่นมาไมํทันล้างหน้าล้างตาก็รีบไปใสํบาตร ขี้มูกขี้ตาเกรอะกรัง พอพระเห็นเข้าก็รังเกียจเอาฝาบาตรเคาะหัวจนเป็นรอยแผลเป็นที่หน้าผาก ผ่านมาหลายปีพระก็สึก สํวนเด็กคนนั้นก็โตเป็นสาวสวย เลยมาชอบกันอดีตพระเห็นแฟนสาวมีแผลเป็น ที่หน้าผากก็ถามวำหน้าผาก น้องเป็นอะไร แฟนสาวบอกวำไมํรู้ไอ้พระบ้าที่ไหนเอาฝาบาตรมาเคาะหัว อดีตพระก็เลยจำได้ ขำกันทั้งคูํ อยำงนี้แหละเขาเรียกวำจุดไต้ตำตอ

เผยแพร่เมื่อ 03-09-2019 ผู้เช้าชม 1,307

นิทานเรื่อง แม่ผัวเกลียดลูกสะใภ้

นิทานเรื่อง แม่ผัวเกลียดลูกสะใภ้

สีมากำพร้าพ่ออยู่กับแม่มาตั้งแต่เล็ก พอโตเป็นหนุ่มก็แต่งงาน ตอนแรกทั้งครอบครัวรักใคร่กันดีแต่บรรดาสาวๆ ที่ผิดหวังจากสีมาไปยุแยงให้แม่ผัวเกลียดลูกสะใภ้ ตอนแรกลูกสะใภ้ไม่โต้ตอบเวลาแม่ผัวดุด่า แต่นานเข้าเริ่มทนไม่ไหวโต้ตอบไปบ้าง สีมาหนักใจ คิดหาวิธีจะทำให้ทั้งสองปรองดองกัน จึงบอกกับแม่ว่าจะฆ่าเมียตัวเองเพื่อให้แม่สบายใจ แต่ต้องทำดีกับลูกสะใภ้สัก 15 วันก่อน แล้วก็ไปบอกเมียตัวเองว่าจะฆ่าแม่ให้แต่ต้องทำดีให้แม่ให้ตายใจ 15 วันก่อน 

เผยแพร่เมื่อ 27-03-2020 ผู้เช้าชม 2,641

นิทานพื้นบ้าน เรื่องเหตุที่งูเหลือมไม่มีพิษ

นิทานพื้นบ้าน เรื่องเหตุที่งูเหลือมไม่มีพิษ

เดิมทีงูเหลือมเป็นสัตว์เพียงชนิดเดียวที่มีพิษมาก อาศัยอยูํใกล้กอไผ่ วางไข่เป็นจำนวนมาก และก็หวงไข่ของตนเองเป็นที่สุด ใครเดินผำนจะต้องฉกตายทุกคน มีชายคนหนึ่งคิดจะลองดีกับงูเหลือม จึงเอากระทะครอบหัวเป็นหมวก แล้วเดินผำนบริเวณที่งูเหลือมอาศัย อยู่ งูเหลือมเห็นคนเดิ่นผ่านมาก็ฉกอย่างแรงไปโดนกระทะ ชายคนนั้นก็วิ่งหนีไป งูเหลือมเคยกัดคนตาย เห็นตาคนนี้ไม่ตายก็เลยนึกว่าตนเองไม่มีพิษสงอีกต่อไป โมโหตัวเองคายพิษออกมากองไว้สัตว์เลื้อยคลานต่างๆ ได้ข่าวว่างูเหลือม คายพิษทิ้ง ก็อยากจะมีพิษกับเขาบ้างรีบเดินทางมาเอาพิษกันแน่นขนัด ใครมาเร็วก็ได้ไปมาก อย่างเช่น งูเห่าไฟเอาตัวคลุกพิษจนแดงไปทั้งตัว งูจงอาง งูแมวเซา งูที่ปัจจุบันมีพิษทั้งหลายมาเร็วก็ได้ไปมาก เจ้าแมงป่องมาช้าเบียดเข้าไปไม่ถึง หันหลังเข้าไป ได้แค่หางจุ่มก็เลยมีพิษที่หาง ส่วนเจ้ามดตะนอยอยากได้กะเขาบ้าง เบียดเข้าไปเลยถูกหนีบจนเอวคอด เหตุการณ์ครั้งนี้เลยทำให้สัตว์ต่างๆ มีพิษ และงูเหลือมไม่มีพิษ ตั้งแต่นั้นมา

เผยแพร่เมื่อ 03-09-2019 ผู้เช้าชม 6,449

ตำนานพระบรมธาตุเจดีย์นครชุม

ตำนานพระบรมธาตุเจดีย์นครชุม

วัดพระบรมธาตุเจดียารามเป็นวัดเก่าแก่ ตั้งแต่สมัยเมื่อ 600 กว่าปีที่แล้ว ก็ยุคสุโขทัย ดินดอนบริเวณนี้ มีชื่อว่า "นครชุม" และวัดแห่งนี้ก็เป็นพระอารามหลวงประจำเมืองนครชุม มาแต่สมัยนั้น ตามข้อมูลประวัติศาสตร์ที่ค้นพบจากหลักศิลาจารึก หลักที่ 3 (จารึกนครชุม) ได้บันทึกไว้ว่า พระยาลิไท แห่งราชวงษ์สุโขทัย โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระบรมธาตุเจดีย์ เพื่อประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ และปลูกพระศรีมหาโพธิ์จากลังกา ณ วัดพระบรมธาตุเจดียาราม เมื่อปี พ.ศ. 1900 ภายในวัดมีเจดีย์ขนาดใหญ่ที่เรียกว่า "พระบรมธาตุเจดีย์" เป็นเจดีย์เก่าแก่ ตั้งแต่สมัยสุโขทัยเช่นกันกับตัววัด พระเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ (ดอกบัวตูม) ตั้งเรียงกันสามองค์ อยู่บนฐานเดียวกัน โดยองค์กลางของพระเจดีย์นั้นประดิษฐาน พระบรมสารีริกธาตุ 9 องค์ อยู่ภายในภาชนะเงินรูปสำเภา พระเจดีย์องค์ปัจจุบันเป็นพระเจดีย์ทรงมอญซึ่งได้รับการบูรณะ ขึ้นภายหลัง สิ่งสำคัญอีกอย่างในวัดคือ ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ซึ่งชาวกำแพงเพชรเชื่อกันว่า เป็นต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่พระยาลิไททรงปลูกเมื่อ พ.ศ.1900 เป็นต้นโพธิ์ขนาดใหญ่ ประมาณ 9 คนโอบ

เผยแพร่เมื่อ 13-03-2018 ผู้เช้าชม 4,831

หลวงพ่อยักษ์ กินเณร ที่วัดสว่างอารมณ์

หลวงพ่อยักษ์ กินเณร ที่วัดสว่างอารมณ์

หลวงพ่อยักษ์ เป็นพระพุทธรูป ปางมารวิชัย ขนาดใหญ่ ประดิษฐานอยู่ในวิหารริมคลองสวนหมาก ด้านหน้าของหลวงพ่ออุโมงค์ มีพุทธลักษณะพระพักตร์เป็นแบบ ศิลปะท้องถิ่นกำแพงเพชร เล่ากันว่า ผู้ปั้นคือปู่นวนและปู่เกิด สองพี่น้องนามสกุลธรรมสอน เป็นช่างทองมาจากจังหวัดตาก พร้อมๆ กับหลวงพ่อบุญมี เจ้าอาวาสรูปแรกของวัดสว่างอารมณ์ ปากคลองเหนือ ช่วยกันปั้นเศียรเปลี่ยนให้ใหม่ แต่เดิมหลวงพ่อยักษ์นี้ไม่มีชื่อเสียงเรียงนามแต่อย่างใด

เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้เช้าชม 2,586

ตำนานบ้านสลกบาตร

ตำนานบ้านสลกบาตร

เมื่อประมาณ 200 ปีเศษ ได้มีบุคคลกลุ่มหนึ่่ง อพยพมาจากทิศตะวันออก โดยมีล้อเกวียน วัว ควายเป็นพาหนะ เพื่อมาหาที่ทำกินและที่อยู่อาศัยในสมัยนั้น รวมกันประมาณ 7-8 ครอบครัว ประมาณ 20 กว่าคน เมื่อเดินทางมาถึงได้จอดล้อเกวียนเพื่อหยุดพักให้วัว ควายกินน้ำกินหญ้า และพักหุงหาอาหารกินกันที่ข้างคลอง ชายโนนและชายคลอง ซึ่งมีต้นตะเคียน ต้นขี้เหล็ก ต้นโพธิ์ ขึ้นอยู่บนโนนอย่างหนา มีคลองน้ำไหลอยู่ในโนน ผู้ที่อพยพมาเป็นสภาพพื้นที่ เกิดความพอใจว่าสภาพที่เห็นนี้พวกเขาสามารถที่จะบุกเบิกหักร้างถางพงเพื่อใช้เป็นที่ทำกินอยู่อยู่อาศัยได้ จึงได้ปรึกษาหารือกันและตกลงกันว่า จะยึดพื้นที่ผื่นนี้เป็นท่ี่ทำไร่ ทำนาและทำกินโดยแบ่งกันไม่ไกลกันนัก แบ่งไปเป็นสัดส่วน 

เผยแพร่เมื่อ 05-09-2019 ผู้เช้าชม 3,886