ตำนานบ่อน้ำพุร้อน
เผยแพร่เมื่อ 13-03-2018 ผู้ชม 8,684
[16.6580546, 99.450546, ตำนานบ่อน้ำพุร้อน]
บ่อน้ำพุร้อนพระร่วง เป็นบ่อน้ำพุร้อนผุดขึ้นจากใต้ดินถึง 5 จุด มีอุณหภูมิความร้อนประมาณ 40-65 องศาเซลเซียส มีแร่ธาตุและก๊าซละลายอยู่ในน้ำทำให้น้ำมีรสและกลิ่น แต่จากการตรวจสอบของสาธารณสุขปรากฏว่าไม่มีสารปนเปื้อนและเชื้อโรค ชาวบ้านจึงได้นำน้ำพุร้อนจากบ่อแห่งนี้ไปใช้อาบและดื่ม
ตำนานบึงสาป บ่อน้ำพุร้อนพระร่วง หรือ บึงสาป มีลักษณะเป็นลุ่มน้ำขัง มีป่าโปร่งล้อมรอบสลับด้วยเนินเตี้ยๆ พื้นดินบางแห่งมีหินโผล่ขึ้นเป็นกลุ่มน้อยใหญ่สลับกันไป ตำนานเล่าว่าครั้งสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี สมเด็จพระร่วงเจ้าได้เสด็จประพาสป่าล่าสัตว์มาถึงบริเวณบ้านลานหิน และเสด็จฯไปประทับที่บริเวณนั้น
วันหนึ่งพระองค์ทรงเห็นไก่ป่าตัวหนึ่งมีลักษณะสวยงาม และมีเสียงขันไพเราะมาก จึงทรงให้นายพรานที่ตามเสด็จฯ ต่อไก่ป่าตัวนั้นและได้ไก่ป่าสมพระราชประสงค์ โดยมีไก่ป่าตัวอื่น ๆ ติดไปด้วยเป็นจำนวนมาก ในวันนั้นพระองค์และนายพรานล่าสัตว์อื่นไม่ได้เลย จึงทรงให้ทหารนำไก่ป่าตัวอื่น ๆ ไปปรุงอาหารสำหรับเสวย แต่เนื่องจากบริเวณดังกล่าวเป็นป่า ไม่มีบ้านเรือนราษฎร จึงไม่มีไฟใช้ทำอาหาร พระองค์จึงทรงสาปน้ำที่อยู่ในบึงบริเวณใกล้ ๆ ให้เป็นน้ำร้อน บึงดังกล่าวจึงเรียกว่า บึงพระร่วงสาป ต่อมาภายหลังเรียกสั้นลงว่า บึงสาป และเป็นที่โจษจันกันว่าน้ำในบึงสาปนี้สามารถรักษาโรคภัยไข้เจ็บ เช่น โรคปวดตามร่างกาย โรคผิวหนังได้ จึงมีประชาชนในท้องถิ่นและจังหวัดใกล้เคียงพากันไปอาบ ดื่ม กิน และบางรายนำน้ำกลับไปเพื่อเป็นสิริมงคล
บ่อน้ำพุร้อนพระร่วง หรือบึงสาปแห่งนี้ เป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์ของจังหวัดกำแพงเพชรนำน้ำจากบึงนี้ไปประกอบพิธีสำคัญของบ้านเมืองตลอดมาเช่นในพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา เนื่องจากบ่อน้ำพุร้อนพระร่วง เป็นน้ำที่เกิดจาก แร่ธาตุและความร้อนภายในโลก ทำให้น้ำพุร้อนผุดขึ้นมาตลอดเวลา ซึ่งตามหลักการทางวิทยาศาสตร์ น้ำแร่ธาตุนี้สามารถรักษาโรคได้หลายชนิด โดยเฉพาะโรคผิวหนัง บ่อน้ำพุร้อนพระร่วง อยู่ที่หมู่ 3 ตำบลลานดอกไม้ อำเภอเมืองจังหวัดกำแพงเพชร ห่างจากตัวเมือง 13 กิโลเมตร บนทางหลวง 101 สายกำแพงเพชร พรานกระต่าย แยกทางซ้ายไปประมาณ 12 กิโลเมตร เป็นน้ำพุร้อนที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ จำนวน 5 จุด อุณหภูมิประมาณ 40-65 องศาเซลเซียส จากการตรวจสอบของกระทรวงสาธารณสุขปรากฏว่าไม่มีสารปนเปื้อนและเชื้อโรคอันตรายเกินมาตรฐาน
องค์การบริหารส่วนจังหวัดกำแพงเพชร ได้พัฒนาบึงสาปให้เป็นบ่อน้ำพุร้อนพระร่วง ที่สามารถรับนักท่องเที่ยวได้จำนวนมาก โดยจัดทำให้สถานที่รื่นรมย์มากขึ้น มีสิ่งอำนวยความสะดวกมากมาย ให้ประชาชนที่มาใช้บริการ เมื่อเข้าไปจะพบกับบ่อน้ำร้อนและบ่อน้ำเย็นที่ปรับภูมิทัศน์จนงดงาม บ่อน้ำอุ่นแช่เท้า น่าสนใจมาก ทำให้สบายมากขึ้น มีประชาชนมาใช้บริการมากมาย น้ำกำลังอุ่นพอดี..... สถานที่อาบน้ำอุ่นราคาย่อมเยาเป็นส่วนตัว ช่วยบำบัดโรคภัยไข้เจ็บ ให้หายได้อย่างทันตาเห็น จากคำบอกเล่าของท่านผู้มาใช้บริการ นอกจากบริการของบ่อน้ำร้อนแล้ว ยังมีบริการนวดแผนโบราณ ที่ประทับใจยิ่ง
บ่อน้ำพุร้อนพระร่วง เป็นสถานที่ท่องเที่ยว ที่น่าสนใจมากแห่งหนึ่งในจังหวัดกำแพงเพชร ถ้าท่านว่างจากภารกิจ อยากจะพักผ่อนให้คลายจากความเครียดโปรดมาใช้บริการ จากบ่อน้ำพุร้อนพระร่วงแล้วท่านจะประทับใจกลับไปอย่างมีความสุข
ภาพโดย : https://travel.thaiza.com/guide/211711/
คำสำคัญ : บ่อน้ำพุร้อน
ที่มา : sunti-apairach.com/02N/02NK.htm
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2561). ตำนานบ่อน้ำพุร้อน. สืบค้น 28 เมษายน 2568, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=635&code_db=610006&code_type=01
Google search
มีบทละครเรื่อง ท้าวแสนปม พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงสันนิษฐานเพิ่มเติมจากตำนานเรื่องท้าวแสนปม ซึ่งทรงพระราชนิพนธ์เอาไว้ดังนี้ เมื่อราวจุลศักราช 550 พ.ศ.1731 มีพระเจ้าแผ่นดินไทยองค์หนึ่ง เป็นเชื้อวงศ์ของพระเจ้าพรหมมหาราช ทรงพระนามว่าท้าวไชยศิริ ครองเมืองฝางอยู่ ได้ถูกข้าศึกจากรามัญประเทศยกมาตีเมือง ท้าวไชยศิริสู้ ไม่ได้ จึงหนีลงมาทางใต้ พบพวกไทยที่อพยพกันลงมาแต่ก่อนแล้ว ตั้งอยู่ตำบลแพรก พวกไทยเหล่านั้นหาเจ้านายเป็นขุนครองมิได้ จึงอัญเชิญท้าวไชยศิริขึ้นเป็นขุนเหนือตน
เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 1,918
คำว่าตำนาน หมายถึง เรื่องแสดงกิจการอันมีมาแล้วแต่ปางหลัง หรือเรื่องราวนมนานที่เล่าสืบต่อกันมา ไม่ได้ยืนยันว่าเป็นเรื่องจริงหรือไม่ และไม่ทราบระยะเวลาว่านานเท่าใด มีจุดมุ่งหมายเพื่อเป็นอุทาหรณ์สั่งสอนให้นำเป็นแบบอย่างหรือมุ่งเพื่อความบันเทิง เช่น ตำนานขอมดำดิน ตำนานพรานกระต่าย เป็นต้น
เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 16,331
มีเรื่องเล่าต่อๆ กันมาว่า พญาลิไท กษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัย เมื่อขึ้นครองราชย์ ณ กรุงสุโขทัย บรรดาหัวเมืองต่างๆ พากันแข็งเมือง ไม่ยอมอยู่ใต้อำนาจ ของพญาลิไท เช่น เมืองบางพาน เมืองคณฑี เมืองนครชุม พญาลิไท จึงเสด็จ มาด้วยพระองค์เอง พระองค์ทรงนำพระบรมสารีริกธาตุ และพระศรีมหาโพธิ์ มาจากประเทศศรีลังกา มาแสดงความเป็นไมตรี เมื่อเมืองนครชุมรับไมตรี พญาลิไท จึงนำพระบรมสารีริกธาตุ ประดิษฐานไว้ในพระเจดีย์พระบรมธาตุนครชุม ซึ่งเป็นเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ สามองค์ ตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน องค์กลางใหญ่อยู่กลาง องค์เล็กย่อมสององค์ อยู่ด้านข้าง นอกจากนั้นได้นำ ต้นพระศรีมหาโพธิ์ มาปลูกไว้เบื้องหลังพระเจดีย์
เผยแพร่เมื่อ 17-01-2020 ผู้เช้าชม 3,494
ในอดีตบรรพบุรุษของชุมชน มีภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการบริหารจัดการน้ำ จึงได้คิดค้นวิธีการนำน้ำจากสายน้ำต่างๆเข้ามาสู่ชุมชน ชื่อ “ท่อทองแดง” หรือ “ท่อปู่พระยาร่วง” ถูกสร้างขึ้นโดยพระราชดำริของพระร่วงเจ้า ตั้งแต่สมัยสุโขทัย แต่พอมาถึงสมัยอยุธยา ก็ถูกทอดทิ้งไม่ได้ใช้งาน และถมหายไปจนหมด ผู้อาวุโสของชุมชนเล่าว่า เรื่องท่อทองแดง นี้ถูกเล่าขานต่อๆ กันมาว่า ถูกฝังไว้ใต้ดินคูเมืองกำแพงเพชรตั้งแต่สมัยเป็นเมืองหน้าด่านของกรุงศรีอยุธยา ในขณะนั้นพม่าได้ยกทัพเข้ามาโจมตีกำแพงเพชรหลายครั้งแต่ตีไม่สำเร็จ จึงได้ล้อมเมืองไว้เพื่อให้คนในเมืองอดตาย แต่ชาวบ้านก็ได้อาศัยน้ำจากท่อทองแดงประทังชีวิต แต่ต่อมามีคนชื่อ “หมื่นแสน” เกิดคิดมักใหญ่ไฝ่สูง ทรยศบ้านเมืองนำเรื่อง “ท่อทองแดง” ไปบอกกับพม่า แม่ทัพพม่ารู้ดังนั้นจึงฆ่าหมื่นแสน แล้วนำศพไปใส่ไว้ในท่อทองแดงและปิดเสีย จนทำให้ชาวบ้านต้องอดอยากเพราะขาดน้ำจนเป็นผลให้พม่าเข้ายึดเมืองได้ในที่สุด
เผยแพร่เมื่อ 13-03-2018 ผู้เช้าชม 2,719
มนุษย์รู้จักทำไร่ทำนาเลี้ยงชีพมาหลายพันปีแล้ว โดยพึ่งพาอาศัยธรรมชาติ ปีไหนฝนแล้งก็จะเหนื่อยยากอดอยากมากกว่าปีอื่นๆ เพราะข้าวตาย พระอิศวรมองลงมาจากสวรรค์ รู้สึกสงสารชาวนามาก เลยใช้ให้ควายลงไปโลกมนุษย์ไปบอกชาวนาว่า “ต่อไปนี้ ให้กินข้าว 3 วันมื้อหนึ่ง จะได้ไม่ต้องลำบากปลูกข้าวได้พอกิน” ควายรับปากดิบดีว่าจะไปบอกตามที่สั่ง พอไปถึงทุ่งนาเห็นหนองน้ำใหญ่น่าลงไปเล่นตามสัญชาติญาณของควายที่ชอบนอนแช่ในปลัก นอนแช่น้ำเย็นสบายจนบ่ายคล้อยก็นึกขึ้นได้ว่าพระอิศวรใช้มาส่งข้าว จำได้แค่ว่าอะไรสามๆ เลยบอกชาวนาว่า “ต่อไปนี้พระอิศวรให้กินข้าววันละ 3 มื้อ จากที่ลำบากอยู่แล้วยิ่งลำบากเข้าไปใหญ่ พอกลับไปเฝ้าพระอิศวร พระอิศวรทวนถามว่าไปบอกเขาว่าอย่างไร ควายตอบว่า “ก็ตามที่พระองค์สั่งพระเจ้าค่ะ ให้กินวันละสามมื้อ” “ไอ้โง่เอ๊ย ! ชาวนายิ่งเดือดร้อนเข้าไปใหญ่ ข้าสั่งให้กินสามวันมื้อ” แต่ก็แก้ไขคำพูดไม่ได้แล้ว จึงสั่งให้ควายไปช่วยชาวนาไถนาปลูกข้าวตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
เผยแพร่เมื่อ 10-04-2020 ผู้เช้าชม 6,565
วัดพระบรมธาตุเจดียารามเป็นวัดเก่าแก่ ตั้งแต่สมัยเมื่อ 600 กว่าปีที่แล้ว ก็ยุคสุโขทัย ดินดอนบริเวณนี้ มีชื่อว่า "นครชุม" และวัดแห่งนี้ก็เป็นพระอารามหลวงประจำเมืองนครชุม มาแต่สมัยนั้น ตามข้อมูลประวัติศาสตร์ที่ค้นพบจากหลักศิลาจารึก หลักที่ 3 (จารึกนครชุม) ได้บันทึกไว้ว่า พระยาลิไท แห่งราชวงษ์สุโขทัย โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระบรมธาตุเจดีย์ เพื่อประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ และปลูกพระศรีมหาโพธิ์จากลังกา ณ วัดพระบรมธาตุเจดียาราม เมื่อปี พ.ศ. 1900 ภายในวัดมีเจดีย์ขนาดใหญ่ที่เรียกว่า "พระบรมธาตุเจดีย์" เป็นเจดีย์เก่าแก่ ตั้งแต่สมัยสุโขทัยเช่นกันกับตัววัด พระเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ (ดอกบัวตูม) ตั้งเรียงกันสามองค์ อยู่บนฐานเดียวกัน โดยองค์กลางของพระเจดีย์นั้นประดิษฐาน พระบรมสารีริกธาตุ 9 องค์ อยู่ภายในภาชนะเงินรูปสำเภา พระเจดีย์องค์ปัจจุบันเป็นพระเจดีย์ทรงมอญซึ่งได้รับการบูรณะ ขึ้นภายหลัง สิ่งสำคัญอีกอย่างในวัดคือ ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ซึ่งชาวกำแพงเพชรเชื่อกันว่า เป็นต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่พระยาลิไททรงปลูกเมื่อ พ.ศ.1900 เป็นต้นโพธิ์ขนาดใหญ่ ประมาณ 9 คนโอบ
เผยแพร่เมื่อ 13-03-2018 ผู้เช้าชม 6,821
พํอกับลูกสาวถ่อเรือไปด้วยกัน พ่อเป็นคนถ่อ ลูกเป็นคนถือท้ายเรือ กลับถึงบ้านบ่นให้แม่ฟังวำ “แม่มึงเอ๊ย ใช้แต่พ่อถ่อเรือคนเดียว มันไม่ช่วยมั่งเลย ” แม่ก็ถามลูกสาวว่า “มึงไมํช่วยพ่อถ่อเรือมั่งเรอะ ” ลูกสาวตอบวำ “ทำไมจะไมํชํวยละแม่ พ่อถ่อฉันก็ถือท้าย พอฉันถือท้ายพ่อก็ถ่อแล้วจะเอายังไงอีกล่ะ”
เผยแพร่เมื่อ 03-09-2019 ผู้เช้าชม 5,968
หลวงพ่อยักษ์ เป็นพระพุทธรูป ปางมารวิชัย ขนาดใหญ่ ประดิษฐานอยู่ในวิหารริมคลองสวนหมาก ด้านหน้าของหลวงพ่ออุโมงค์ มีพุทธลักษณะพระพักตร์เป็นแบบ ศิลปะท้องถิ่นกำแพงเพชร เล่ากันว่า ผู้ปั้นคือปู่นวนและปู่เกิด สองพี่น้องนามสกุลธรรมสอน เป็นช่างทองมาจากจังหวัดตาก พร้อมๆ กับหลวงพ่อบุญมี เจ้าอาวาสรูปแรกของวัดสว่างอารมณ์ ปากคลองเหนือ ช่วยกันปั้นเศียรเปลี่ยนให้ใหม่ แต่เดิมหลวงพ่อยักษ์นี้ไม่มีชื่อเสียงเรียงนามแต่อย่างใด
เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้เช้าชม 3,260
ภาษาพูด แบ่งออกเป็นสองกลุ่มใหญ่ ๆ คือ ภาษาพูดของกลุ่มชนดั้งเดิมของกลุ่มชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณนี้มาแต่อดีต และภาษาคำพูดของกลุ่มชนที่อพยพโยกย้ายมาจากถิ่นอื่น ซึ่งมีอยู่หลายกลุ่มหลายภาษา ชุมชนดั้งเดิมคือ ชุมชนที่อยู่ริมแม่น้ำปิงทั้งสองข้าง ได้แก่ เมืองชากังราว (กำแพงเพชร) นครชุม ไตรตรึงษ์ และคณที กับชุมชนที่อยู่ลึกเข้าไป ระหว่างจังหวัดกำแพงเพชรกับจังหวัดสุโขทัย คือ เมืองบางพาน หรือพรานกระต่ายในปัจจุบัน กลุ่มชนดังกล่าวนี้ใช้ภาษาพูดที่เป็นภาษาถิ่นไทยกลาง แต่มีเสียงและความหมาย ของคำผิดเพี้ยนไปบ้างเล็กน้อยที่เรียกกันว่า เหน่อ
เผยแพร่เมื่อ 09-03-2020 ผู้เช้าชม 11,219
เดิมหมู่บ้านบ่อถ้ำยังเป็นป่าดงดิบ เมื่อกว่า 100 ปีที่ผ่านมา ในบริเวณนี้เป็นแหล่งของสัตว์ป่านานาชนิดอาศัยอยู่ มีชาวบ้านชุดแรกซึ่งได้อพยพมาอยู่นั้นเป็นคนมาจากนครราชสีมามาหักร้างถางพงบริเวณหนึ่งที่เป็นที่ตั้งของหมู่บ้านเป็นครั้งแรก เรียกบริเวณนั้นว่า "เนินมะดั่น" (เนินมะด่านหรือบางครั้งเรียกว่าโนนมะด่าน) ต่อมาในบริเวณนั้นมีผู้คนเริ่มอพยพมาอยู่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ มากขึ้นตามลำดับ จึงไม่สามารถจะขยายหมู่บ้านนั้นได้ เพราะบริเวณนั้นมีลักษณะเป็นโนนหรือเนิน จึงได้โยกย้ายมาตั้งอยู่ในบริเวณที่เป็นที่ตั้งในปัจจุบัน คือ หมู่ที่ 2 หมู่ที่ 3 เมื่อผู้คนได้อพยพกันมากขึ้น จนกระทั่งมีผู้นำของกลุ่มคนในสมัยนั้นเป็นคนต้นตระกูล ดำสนิท ซึ่งได้รับบรรดาศักดิ์เป็น ขุน คือ ขุนคูหา (เดิมชื่อลายสด ดำสนิท)
เผยแพร่เมื่อ 05-09-2019 ผู้เช้าชม 2,862