ตำนานเมืองแปบ หรือวังแปบ

ตำนานเมืองแปบ หรือวังแปบ

เผยแพร่เมื่อ 17-01-2020 ผู้ชม 1,868

[16.3951069, 98.9529353, ตำนานเมืองแปบ หรือวังแปบ]

       ที่บริเวณบ้านหัวยาง ตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ตรงกับตีนสะพานข้ามลำน้ำปิง ฝั่งนครชุม มีสถานที่หนึ่ง ชาวบ้านเรียกกันว่า บ้านวังแปบ เล่ากันว่า เดิมเป็นเมืองสำคัญเมืองหนึ่ง ที่เรียกขานกันว่าเมืองแปบ เป็นเมืองโบราณ อายุกว่าพันปี ปัจจุบันน้ำกัดเซาะจนเมืองเกือบทั้งเมืองตกลงไปในลำน้ำปิง เหลือโบราณสถานไม่กี่แห่งที่เป็นหลักฐานว่า บริเวณแห่งนี้ เคยเป็นเมืองสำคัญมาก่อน มีเรื่องเล่าต่อๆ กันมาว่า พระเจ้าพังคราช พระราชบิดาของพระเจ้าพรหมมหาราช แห่งเมืองเชียงแสนอยู่ใต้อำนาจของขอม พระเจ้าพรหมไม่ยอม จึงต่อสู้กับขอม ตั้งแต่พระชมมายุได้เพียงสิบหกปี สามารถขับไล่ขอมมาถึงลำน้ำปิง พระอินทร์เกรงผู้คนจะล้มตายมากมาย จึงโปรดให้พระวิษณุกรรม เนรมิตกำแพงขวางกั้นไว้ พระเจ้าพรหมตามไปไม่ได้จึงเสด็จกลับ พระเจ้าพรหมมีโอรสชื่อพระเจ้าชัยศิริ ได้อพยพผู้คนลงมาทางใต้ เห็นกำแพงเนรมิต จึงสถาปนาเมืองขึ้น พระราชทานนามว่าเมืองแปบ เป็นเมืองแห่งแรกในลุ่มน้ำปิง ต่อมาเมืองแปบ ได้ถูกน้ำกัดเซาะ ไม่สามารถป้องกันได้ จึงได้อพยพไปสร้างเมืองใหม่ ให้ชื่อว่าเมืองไตรตรึงษ์ มาจนทุกวันนี้
เมืองไตรตรึงษ์เป็นสถานที่ประสูติ ของพระเจ้าอู่ทอง ปฐมกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา ในเวลาต่อมา

คำสำคัญ : เมืองแปบ วังแปบ

ที่มา : อาจารย์สันติ อภัยราช

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). ตำนานเมืองแปบ หรือวังแปบ. สืบค้น 25 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=1273&code_db=610006&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1273&code_db=610006&code_type=01

Google search

Mic

นิทานเรืื่อง คนขี้ลืม

นิทานเรืื่อง คนขี้ลืม

มีชายคนหนึ่งเป็นคนขี้ลืมจริงๆ เรื่องอะไรจำได้ประเดี๋ยวเดียวก็ลืม วันหนึ่งชายคนนี้ถือมีดเดินเข้าไปในป่าจะไปตัดต้นไม้ เดินไปซักพักก็เกิดปวดท้องขี้ขึ้นมา หาที่เหมาะๆ ได้แล้ว ก็เอามีดฟันติดไว้กับต้นไม้ แล้วก็นั่งขี้ พอลุกขึ้น เห็นมีดเล่มหนึ่งอยู่ที่ต้นไม้ ลืมไปว่าเป็นมีดของตัวเอง ดีใจมาก หยิบมีดมาแล้วพูดว่า “วันนี้โชคดีแต่เช้าเลย เจอมีดของใครก็ไม่รู้” พอจะเดินกลับ ก็เหยียบขี้ของตัวเองอีก โมโหมาก ตะโกนด่าว่า “อ้ายคนไหนมาขี้ไว้ ป่าตั้งกว้างใหญ่ไม่อายใครเลย” จากนั้นก็เดินกลับบ้านพร้อมมีดของตัวเอง

เผยแพร่เมื่อ 27-03-2020 ผู้เช้าชม 1,597

ตำนานบ้านบ่อถ้ำ

ตำนานบ้านบ่อถ้ำ

เดิมหมู่บ้านบ่อถ้ำยังเป็นป่าดงดิบ เมื่อกว่า 100 ปีที่ผ่านมา ในบริเวณนี้เป็นแหล่งของสัตว์ป่านานาชนิดอาศัยอยู่ มีชาวบ้านชุดแรกซึ่งได้อพยพมาอยู่นั้นเป็นคนมาจากนครราชสีมามาหักร้างถางพงบริเวณหนึ่งที่เป็นที่ตั้งของหมู่บ้านเป็นครั้งแรก เรียกบริเวณนั้นว่า "เนินมะดั่น" (เนินมะด่านหรือบางครั้งเรียกว่าโนนมะด่าน) ต่อมาในบริเวณนั้นมีผู้คนเริ่มอพยพมาอยู่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ มากขึ้นตามลำดับ จึงไม่สามารถจะขยายหมู่บ้านนั้นได้ เพราะบริเวณนั้นมีลักษณะเป็นโนนหรือเนิน จึงได้โยกย้ายมาตั้งอยู่ในบริเวณที่เป็นที่ตั้งในปัจจุบัน คือ หมู่ที่ 2 หมู่ที่ 3 เมื่อผู้คนได้อพยพกันมากขึ้น จนกระทั่งมีผู้นำของกลุ่มคนในสมัยนั้นเป็นคนต้นตระกูล ดำสนิท ซึ่งได้รับบรรดาศักดิ์เป็น ขุน คือ ขุนคูหา (เดิมชื่อลายสด ดำสนิท)

เผยแพร่เมื่อ 05-09-2019 ผู้เช้าชม 2,137

ภาษาท้องถิ่นกำแพงเพชร

ภาษาท้องถิ่นกำแพงเพชร

ภาษาพูด แบ่งออกเป็นสองกลุ่มใหญ่ ๆ คือ ภาษาพูดของกลุ่มชนดั้งเดิมของกลุ่มชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณนี้มาแต่อดีต และภาษาคำพูดของกลุ่มชนที่อพยพโยกย้ายมาจากถิ่นอื่น ซึ่งมีอยู่หลายกลุ่มหลายภาษา ชุมชนดั้งเดิมคือ ชุมชนที่อยู่ริมแม่น้ำปิงทั้งสองข้าง ได้แก่ เมืองชากังราว (กำแพงเพชร) นครชุม ไตรตรึงษ์ และคณที กับชุมชนที่อยู่ลึกเข้าไป ระหว่างจังหวัดกำแพงเพชรกับจังหวัดสุโขทัย คือ เมืองบางพาน หรือพรานกระต่ายในปัจจุบัน กลุ่มชนดังกล่าวนี้ใช้ภาษาพูดที่เป็นภาษาถิ่นไทยกลาง แต่มีเสียงและความหมาย ของคำผิดเพี้ยนไปบ้างเล็กน้อยที่เรียกกันว่า เหน่อ

เผยแพร่เมื่อ 09-03-2020 ผู้เช้าชม 8,437

นิทานเรื่อง หมากับแมวทำไมไม่ถูกกัน

นิทานเรื่อง หมากับแมวทำไมไม่ถูกกัน

กาลครั้งหนึ่ง เศรษฐีเลี้ยงหมากับแมวไว้ด้วยกันบนบ้าน เศรษฐีมีเพชรเม็ดหนึ่งแล้วถูกโจรขโมยขึ้นไปบนยอดเขา แมวจึงได้จับหนูมาจะกิน หนูร้องขอชีวิต บอกว่าจะให้ทำอะไรก็ยอม แมวเลยให้ไปเอาเพชรบนยอดเขามาคืน หนูทำได้สำเร็จ แมวกับหมาก็นำไปคืนให้เศรษฐีพร้อมกัน เศรษฐีชมเชยทั้งสองว่าเลี้ยงไว้ไม่เสียดายข้าวสุก ต่อมาเศรษฐีเดินทางทางเรือ เผลอทำเพชรตกน้ำอีก แมวก็เลยจับปลาไว้ ปลาร้องขอชีวิต แมวจึงให้ปลาไปคาบเพชรใต้น้ำขึ้นมา

เผยแพร่เมื่อ 27-03-2020 ผู้เช้าชม 11,460

นิทานพื้นบ้าน ซากอ้อยนำทาง

นิทานพื้นบ้าน ซากอ้อยนำทาง

มีครอบครัวหนึ่งมีพ่อแม่และลูกสี่คน พ่อกับแม่ไปทำงานหาของกินมาได้ก็ไม่พอให้ลูกๆ ทั้งสี่คนกิน เพราะทั้งสี่คนกินจุ แม่จึงได้พ่อพาลูกๆ ไปปล่อย เพราะเลี้ยงไม่ไหว คนแรกให้น้ำไปกินแล้วก็ทิ้งไว้ คนที่สองให้ผลไม้ คนที่สามให้ข้าว คนที่สี่น้องสุดท้องให้อ้อย คนที่สี่เป็นคนที่กินจุที่สุด จึงเริ่มกินอ้อยตั้งแต่ออกเดินทาง แล้วคายทิ้งไปตามทาง พอถึงที่หมายพ่อบอกว่าให้รออยู่ แล้วจะกลับมารับ รอจนเช้าพ่อก็ไม่มารับ จึงเดินตามซากอ้อยที่คายไว้ตามทาง ลูกคนสุดท้องจึงกลับบ้านถูก

เผยแพร่เมื่อ 10-04-2020 ผู้เช้าชม 1,323

นิทานเรื่อง แม่ผัวเกลียดลูกสะใภ้

นิทานเรื่อง แม่ผัวเกลียดลูกสะใภ้

สีมากำพร้าพ่ออยู่กับแม่มาตั้งแต่เล็ก พอโตเป็นหนุ่มก็แต่งงาน ตอนแรกทั้งครอบครัวรักใคร่กันดีแต่บรรดาสาวๆ ที่ผิดหวังจากสีมาไปยุแยงให้แม่ผัวเกลียดลูกสะใภ้ ตอนแรกลูกสะใภ้ไม่โต้ตอบเวลาแม่ผัวดุด่า แต่นานเข้าเริ่มทนไม่ไหวโต้ตอบไปบ้าง สีมาหนักใจ คิดหาวิธีจะทำให้ทั้งสองปรองดองกัน จึงบอกกับแม่ว่าจะฆ่าเมียตัวเองเพื่อให้แม่สบายใจ แต่ต้องทำดีกับลูกสะใภ้สัก 15 วันก่อน แล้วก็ไปบอกเมียตัวเองว่าจะฆ่าแม่ให้แต่ต้องทำดีให้แม่ให้ตายใจ 15 วันก่อน 

เผยแพร่เมื่อ 27-03-2020 ผู้เช้าชม 2,490

เมืองไตรตรึงษ์ในนิยายปรัมปรา

เมืองไตรตรึงษ์ในนิยายปรัมปรา

มีบทละครเรื่อง ท้าวแสนปม พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงสันนิษฐานเพิ่มเติมจากตำนานเรื่องท้าวแสนปม ซึ่งทรงพระราชนิพนธ์เอาไว้ดังนี้ เมื่อราวจุลศักราช 550 พ.ศ.1731 มีพระเจ้าแผ่นดินไทยองค์หนึ่ง เป็นเชื้อวงศ์ของพระเจ้าพรหมมหาราช ทรงพระนามว่าท้าวไชยศิริ ครองเมืองฝางอยู่ ได้ถูกข้าศึกจากรามัญประเทศยกมาตีเมือง ท้าวไชยศิริสู้ ไม่ได้ จึงหนีลงมาทางใต้ พบพวกไทยที่อพยพกันลงมาแต่ก่อนแล้ว ตั้งอยู่ตำบลแพรก พวกไทยเหล่านั้นหาเจ้านายเป็นขุนครองมิได้ จึงอัญเชิญท้าวไชยศิริขึ้นเป็นขุนเหนือตน

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 1,349

ตำนานศาลพ่อปู่วังหว้า

ตำนานศาลพ่อปู่วังหว้า

พ่อปู่วังหว้า เริ่มต้นคือ การอพยพของบรรพบุรุษชาวตำบลนิคมทุ่งโพธิ์ทะเลมาจากอีสาน พ.ศ. 2499 มาเลือกทำเลในการดำรงชีวิต หลังจากนั้นได้ถักล้างถางพงบริเวณศาล ถางไปบริเวณคลองวังกันไปเจอศาลเพียงตาที่คนโบราณมาทำไว้ก่อนแล้ว สันนิษฐานว่า คนตั้งแต่สมัยมาอยู่ก่อน 2499 เขาทำเป็นศาลเพียงตาเอาไว้ เวลาเขามีการตัดไม้ มีการหาปลา หาอยู่หากิน ได้มีการกราบไหว้ เป็นขวัญกำลังใจ แต่ก่อนศาลพ่อปู่วังหว้าเป็นสังกะสีแผ่นน้อยๆ เล็กๆ มีเสาต้นเดียว มีเพิงเล็กๆ อยู่ใต้ต้นตะคร้อ 2 ต้น 

เผยแพร่เมื่อ 09-01-2020 ผู้เช้าชม 2,388

ตำนานหลวงพ่ออุโมงค์

ตำนานหลวงพ่ออุโมงค์

หลวงพ่ออุโมงค์ วัดสว่างอารมณ์ วัดสว่างอารมณ์ อยู่ในตำบลนครชุม เป็นพระพุทธรูปแบบเชียงแสนขนาดใหญ่ หน้าตักกว้าง 2.87 เมตร สูงเกือบ 3 เมตร มีพุทธลักษณะที่งดงามยิ่งเป็นหลักฐานสำคัญประกอบข้อเท็จจริงถึงความสัมพันธ์ระหว่างกำแพงเพชรและหัวเมืองฝ่ายเหนือ หลวงพ่ออุโมงค์เป็นพระพุทธรูปสมัยเชียงแสน (ก่อนสุโขทัย) ขนาดหน้าตักกว้าง 2.87 เมตร สูงเกือบ 3 เมตร จากการบอกเล่าพบหลวงพ่อในดินลักษณะคล้ายจอมปลวกจึงขุดกันออกมา มองดูคล้ายท่านอยู่ในอุโมงค์ สันนิษฐานว่าคงหลบพวกพม่าที่มาตีเมืองในสมัยนั้น หรือปราฏิหารย์ของท่านก็ไม่อาจทราบได้ ท่านเป็นที่เคารพบูชาของชาวนครชุม และชาวกำแพงเพชรมาเป็นเวลาช้านาน เมื่อถึงวันเพ็ญเดือน 4 ชาวจังหวัดกำแพงเพชร จะจัดงานประเพณีนมัสการปิดทอง "หลวงพ่ออุโมงค์" เป็นประจำทุกปี

เผยแพร่เมื่อ 13-03-2018 ผู้เช้าชม 2,410

หลวงพ่อยักษ์ กินเณร ที่วัดสว่างอารมณ์

หลวงพ่อยักษ์ กินเณร ที่วัดสว่างอารมณ์

หลวงพ่อยักษ์ เป็นพระพุทธรูป ปางมารวิชัย ขนาดใหญ่ ประดิษฐานอยู่ในวิหารริมคลองสวนหมาก ด้านหน้าของหลวงพ่ออุโมงค์ มีพุทธลักษณะพระพักตร์เป็นแบบ ศิลปะท้องถิ่นกำแพงเพชร เล่ากันว่า ผู้ปั้นคือปู่นวนและปู่เกิด สองพี่น้องนามสกุลธรรมสอน เป็นช่างทองมาจากจังหวัดตาก พร้อมๆ กับหลวงพ่อบุญมี เจ้าอาวาสรูปแรกของวัดสว่างอารมณ์ ปากคลองเหนือ ช่วยกันปั้นเศียรเปลี่ยนให้ใหม่ แต่เดิมหลวงพ่อยักษ์นี้ไม่มีชื่อเสียงเรียงนามแต่อย่างใด

เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้เช้าชม 2,358