พระนางกำแพงเม็ดมะลื่น วัดพระบรมธาตุ
เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้ชม 7,786
[16.4821705, 99.5081905, พระนางกำแพงเม็ดมะลื่น วัดพระบรมธาตุ]
พระนางกำแพง หนึ่งในพระเครื่องเมืองกำแพงเพชร ที่เรียกได้ว่าไม่เป็นสองรองใครเช่นกัน และมีพุทธศิลปะที่แสดงถึงศิลปะสุโขทัยหมวดสกุลช่างกำแพงเพชรได้อย่างชัดเจนที่สุด ทั้งยังเป็นพระที่สร้างในสมัยเดียวกับพระกำแพงซุ้มกอ พระกำแพงเม็ดขนุน ฯลฯ ดังนั้น เนื้อหามวลสาร ความหนึกนุ่มซึ้งของเนื้อพระ รวมถึงด้านพุทธคุณในด้านเมตตามหานิยมและโชคลาภจึงเท่าเทียมกัน และเป็นที่นิยมและแสวงหาในแวดวงนักนิยมสะสมพระเครื่องเช่นเดียวกัน แต่ด้วยพระในตระกูลพระเครื่องเมืองกำแพงเพชรนั้นก็มีปรากฏอยู่มากมายหลายพิมพ์และหลายกรุ โดยเฉพาะ “พระนางกำแพง” มีขึ้นแทบจะทุกกรุในบริเวณทุ่งเศรษฐีทำให้ค่านิยมและการแสวงหาจึงลดหลั่นกันลงไป
กล่าวถึง “พระนางกำแพงเม็ดมะลื่น” นั้น เป็นหนึ่งพิมพ์ใน “พระนางกำแพง” ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะของเมืองกำแพงเพชร คือ มีปีกกว้าง และจัดว่าเป็นพระกรุเก่าที่แตกกรุมาจากวัดพระบรมธาตุฝั่งทุ่งเศรษฐีแต่เพียงแห่งเดียว ทั้งยังพบการแตกกรุพร้อมกับ ‘พระกำแพงซุ้มกอ’ เนื้อขององค์พระก็มีลักษณะเดียวกัน คือ เป็นพระเนื้อดินผสมว่านและเกสรดอกไม้ สำหรับพระเนื้อชินไม่มีปรากฏให้เห็น อีกทั้งพุทธคุณก็เป็นเลิศครบครัน ทั้งด้านโภคทรัพย์ เมตตามหานิยม โชคลาภ แคล้วคลาด และคงกระพันชาตรี เช่นเดียวกับพระกรุเก่าเมืองกำแพงเพชรทั้งหลาย
พระกำแพงเม็ดมะลื่น มีขนาดพิมพ์ทรงประมาณ 2.5 - 3.5 ซ.ม. พุทธลักษณะองค์พระประธานประทับนั่ง ปางมารวิชัยหรือสะดุ้งมาร แบบลอยองค์บนฐานเขียง องค์พระค่อนข้างล่ำสัน พระเกศอยู่สองลักษณะ คือ พระเกศแบบตุ้ม ตามศิลปะเชียงแสน และ พระเกศยาวแหลม แบบศิลปะสุโขทัย อันนับเป็นความชาญฉลาดของช่างยุคสุโขทัย-กำแพงเพชรโบราณ ที่มองเห็นคุณค่าของศิลปกรรมแต่ละยุคสมัย และมุ่งถ่ายทอดสู่รุ่นลูกรุ่นหลาน โดยการรังสรรค์ออกมาในรูปแบบของพุทธศิลปะในองค์พระ
- พระพักตร์ มีลักษณะคล้ายกับพระนางกำแพงเพชร แต่จะใหญ่และลึกกว่าเล็กน้อย
- พระเนตรพองโตทั้งสองข้าง แต่เป็นลักษณะใหญ่ข้างเล็กข้างไม่สม่ำเสมอ และเลือนรางมาก
- ในองค์ที่ชัดๆ จะปรากฏ พระขนง พระนาสิก พระโอษฐ์ เพียงรางๆ เกือบลบเลือน
- พระกรรณ ทั้งสองข้างมีปรากฏเพียงรำไร ในส่วนบนข้างปลายพระเนตร มีลักษณะแบบหูติ่งเล็กๆ เท่านั้น ถ้าไม่พิจารณาให้ดีจะมองคล้ายว่าไม่มีพระกรรณ
- พระศอ มีปรากฏเป็นลักษณะลำนูนๆ และกลืนหายไปกับพิมพ์
- พระอังสาคมชัดเจน ด้านซ้ายและด้านขวาอยู่ในระดับเดียวกัน และมีลักษณะเป็นแนวยกขึ้นเล็กน้อย
- พระอุระ เป็นแบบอกตั้ง บางองค์ดูอวบนูนเด่นชัดเจน บางองค์ก็ดูตื้นและบอบบาง
- พระสังฆาฏิ จะปรากฏให้เห็นชัดเจนในองค์ที่พระอุระลึก แต่ในองค์ที่พระอุระตื้นจะไม่ค่อยมีปรากฏ
- พระพาหาเบื้องซ้ายทอดกางออกเล็กน้อยตรงพระกัประ (ข้อศอก) แล้วหักมุมลงสู่พระหัตถ์ ซึ่งวางพาดอยู่บนพระเพลา (หน้าตัก) คล้ายพระนางกำแพงเพชร
- ลำพระองค์ มีทั้งแบบลึกและตื้น และเป็นทั้งศิลปะเชียงแสน และสุโขทัย
- พระอาสนะ เป็นแบบฐานเขียงหรือฐานหมอน
- บริเวณใต้พระชงฆ์ (แข้ง) ตรงกลาง เหนืออาสนะ มักจะมีเนื้อนูนขึ้นมาทุกองค์
- ปีก มีลักษณะใหญ่และกว้างมาก ในบางองค์จะมีขอบเป็นเส้นนูนที่สันของปีก บางองค์ก็ดูราบเรียบ ขอบปีกจะไม่มีความคม จะมีก็แต่ลักษณะของความกลมกลืนกลมมนเท่านั้น
- ด้านหลัง อูมนูนไม่มากก็น้อย และปรากฏรอยนิ้วมือให้เห็นในที
ด้วยพระนางกำแพงเม็ดมะลื่น เป็นพระเครื่องที่สร้างในสมัยเดียวกับพระกำแพงซุ้มกอ พระกำแพงเม็ดขนุน ฯลฯ เอกลักษณ์ของพระกรุเมืองกำแพง คือ เป็นพระเนื้อดินผสมว่าน ที่มีความละเอียดนุ่มหนึกขององค์พระ และเมื่อผ่านกาลเวลาจะมี “รารัก หรือ ราดำ” ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ซึ่งเป็นจุดหนึ่งในการพิจารณา พระแท้ พระปลอม ได้อีกด้วย เพราะ รารักของแท้สีของรารักจะดำสนิท บางทีจึงเรียกว่า “ราดำ” และมีลักษณะตรงขอบเป็นหยักๆ ไม่เรียบเสมอ เหมือนแผลเป็นเวลาตกสะเก็ด โดยรารักจะมี 2 แบบ คือ พระที่ยังมีผิวอยู่ รารักจะไม่นูนสูง แบบที่สองคือ พระที่ไม่มีผิวเหลืออยู่แล้ว รารักจะนูนสูงกว่า ถ้าเป็นของปลอมรารักจะเป็นสีดำกระด้างเพราะใช้หมึกดำมาหยดแล้วป้ายออกครับผม
คำสำคัญ : พระเครื่อง, กำแพงเพชร
ที่มา : http://www.arjanram.com/relic_detail.php?g=2&id=685
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2562). พระนางกำแพงเม็ดมะลื่น วัดพระบรมธาตุ. สืบค้น 27 เมษายน 2568, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=1162&code_db=610005&code_type=01
Google search
พระซุ้มยอนี้ นักพระเครื่องสมัยก่อนเห็นลวดลายเรือนแก้วของพระเครื่องพิมพ์นี้ใหญ่เป็นตุ่มคล้ายลูกยอ จึงเรียกกันว่า “ ปรกลูกยอ “ เนื้อดินมักมีคราบกรุจับและมีว่านดอกมะขามอยู่ทั่วไป เนื้อดินมีทั้งชนิดเนื้อค่อนข้างหยาบและเนื้อละเอียดนุ่ม มีทั้งกลังเรียบและหลังเบี้ย เนื้อชินเป็นชินเงินสนิมเขียว สนิมปรอท และสนิมดำก็มี สำหรับชนิดเนื้อชินมักทำหลังเป็นร่อง หลังเรียบก็มีบ้างแต่ก็มีน้อยมาก ขนาดมี 2 ขนาด ขนาดเล็กและขนาดใหญ่แต่ว่าต่างกันเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ขนาดใหญ่สูงประมาณ 2.5 ซม.กว้าง 1.5 ซม.”
พระกำแพงซุ้มยอพบที่กรุวัดพระบรมธาตุ ทั้งชนิดเนื้อชินและเนื้อดิน จากนั้นก็พบที่บริเวณทุ่งเศรษฐีที่กรุหนองพิกุล และกรุซุ้มกอ นับว่าเป็นพระเครื่องทุ่งเศรษฐีอีกพิมพ์หนึ่งที่มีชื่อเสียงเคียงคู่มากับบรรดาพระชั้นนำของเมืองกำแพงเพชร ปัจจุบันนี้พระกำแพงซุ้มยอเป็นพระที่หายากไปแล้ว ราคาค่านิยมยังไม่สูงมากเหมือนกับพระกำแพงซุ้มกอ แต่ก็ถือว่าเป็นพระที่นำมาอาราธนาบูชาติดตัวได้อย่างเชื่อมั่นไม่น้อยไปกว่าพระพิมพ์อื่นๆ
เผยแพร่เมื่อ 19-08-2019 ผู้เช้าชม 15,365
พระกำแพงซุ้มกอ ถือกันว่า เป็นพระเครื่องชั้นสูง อันเป็นที่นิยมสูงสุดของพระกำแพงทั้งหลายและได้ถูกจัดเข้าอยู่ในชุดพระเครื่องที่เรียกกันว่า เบญจภาคี มีหลักฐานปรากฏว่าเป็นพระที่สร้างโดยพระมหากษัตริย์ พระกำแพงซุ้มกอ พบทั้งแบบที่เป็นเนื้อดินผสมว่านและเกสรดอกไม้ เนื้อชิน เนื้อที่ถือว่าเป็นพระสำคัญชั้นสูง คือ เนื้อ ที่ทำด้วยว่าน มีแผ่นทองคำ ประกบไว้ด้านหน้าซึ่งคนเฒ่าคนแก่และนักนิยมพระกำแพงในยุคเก่าเรียกกันว่า พระว่านหน้าทอง พระว่านหน้าทอง สร้างขี้นน้อยมาก นอกจากจะน้อยมากแล้วพระที่พบมักจะชำรุดเป็นส่วนใหญ่ หาพระที่สมบูรณ์ยากมาก ในยุคเก่าถือกันว่าเป็นพระชั้นสูงสร้างขึ้นสำหรับท้าวพระยา และแม่ทัพ นายกอง
เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 13,353
พระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ลายกนก กรุวัดพิกุล อมตะทั้งพุทธศิลป์ เปี่ยมล้นด้วยพุทธคุณ “มีกูแล้วไม่จน” โดย ไตรเทพ ไกรงูพระเครื่องสกุลกำแพงเพชร ปรากฏหลักฐานชัดเจนจากการพบจารึกบนแผ่นลานเงินในกรุขณะรื้อพระเจดีย์องค์ใหญ่ของวัดพระบรมธาตุ เมืองนครชุม ในพระราชนิพนธ์ เรื่อง เสด็จประพาสกำแพงเพชร ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ซึ่งเขียนเมื่อ พ.ศ.2447 ได้กล่าวถึงจารึกบนแผ่นลานทอง อันมีข้อความเกี่ยวกับการขุดพบพระต่างๆ ตามกรุต่างๆ หลักฐานชิ้นสำคัญ อันเกี่ยวกับเมืองกำแพงเพชร ได้แก่ ศิลาจารึกนครชุม ที่กล่าวถึงการสร้างเมือง โดยพระมหาธรรมราชาลิไท ประมาณ พ.ศ.1279
เผยแพร่เมื่อ 03-02-2017 ผู้เช้าชม 22,120
...นายชิด มหาเล็กหลวงบวรเดช เดิมรับราชการในกระทรวงมหาดไทย ลาป่วย ได้กลับมารักษาตัว ที่บ้านภรรยา เมืองกำแพงเพชร ได้ทูลเกล้าฯ ถวายตำนานพระกำแพงทุ่งเศรษฐี เป็นจารึกบนแผ่นลานทอง แด่รัชกาลที่ 5 ขุด ได้จากบริเวณทุ่งเศรษฐี ว่า การพบกรุพระครั้งแรกที่วัดพระบรมธาตุ นครชุม จากเจดีย์ 3 องค์ ได้ถูกซ่อมขึ้นรวมเป็นองค์เดียวโดยชาวพม่า ชื่อพระยาตะก่า แล้วนำยอดฉัตร จากประเทศพม่ามาประดับยอดพระบรมธาตุ ได้บันทึกไว้ว่า หลังจากพบพระพิมพ์จาก เจดีย์ต่างๆ ในบริเวณ ทุ่งเศรษฐี ได้พระพิมพ์ จำนวนมาก พระพิมพ์ เมืองกำแพงเพชร นี้นับถือกัน มาช้านานแล้วว่า มีอานุภาพมาก ผู้ใดมีไว้ จะทำการใด ก็มีความสำเร็จ ผลตามความปรารถนาทุกประการ ทั้งนี้นายชิดได้ทูลเกล้าฯ ถวายพระพิมพ์ทุ่งเศรษฐี หลายแบบ แด่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 อีกด้วย ซึ่งท่านได้นำออก พระราชทาน แก่พระบรมวงศานุวงศ์ต่ออีกภายหลัง จนเป็นที่นิยม ในหมู่เจ้านายชั้นผู้ใหญ่สืบต่อมาอีกจนถึงปัจจุบัน ในบริเวณลานทุ่งเศรษฐีมีการพบพระกรุทุ่งเศรษฐีกันมากมายหลายพิมพ์ ที่นิยมมากเห็นจะหนีไม่พ้น พระกำแพงเขย่ง ซึ่งได้แก่พระกำแพงเม็ดขนุน กำแพงพลูจีบ กำแพงกลีบจำปา เป็นต้น และ ที่นิยมเป็นที่สุด เป็น 1 ในชุดเบญจภาคี ก็คือ พระกำแพงซุ้มกอ
เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 32,086
ที่ตั้งกรุพระวัดเชิงหวาย อยู่ถนนกำแพงพรานกระต่ายเข้าทางกรุวัดดงหวาย เรียบถนนริมคลองประมาณ 700 เมตร ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระกำแพงขาว พระท่ามะปราง พระร่วงประทานพร พระยอดขุนพลพิมพ์ใหญ่ พระซุ้มยอพิมพ์เล็ก พระซุ้มจิก พระนางพญากำแพงพิมพ์ใหญ่ พระนางพญากำแพงพิมพ์เล็ก พระโพธิบัลลังก์ พระลีลากำแพง พระกำแพงห้าร้อย พระร่วงนั่งทรงสมาธิ พระซุ้มยอพิมพ์ใหญ่ พระอู่ทองกำแพงพิมพ์ใหญ่ พระอู่ทองกำแพงพิมพ์กลาง พระอู่ทองกำแพงพิมพ์เล็ก พระกำแพงคืบ และพิมพ์อื่นๆ
เผยแพร่เมื่อ 20-08-2019 ผู้เช้าชม 3,598
สีของพระเครื่องเนื้อดินฝังตัวเมืองกำแพงเพชร และฝั่งนครชุมมีหลายสีด้วยกัน พระเครื่องเนื้อดินที่ปรากฏเป็นสีต่างๆ คือมาจากส่วนผสมของวัสดุและสาเหตุต่างๆ ดังนี้ 1. ดินที่ถือเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แหล่งต่างๆ สีและเนื้อดินจะไม่เหมือนกัน 2. เกสรว่าน ดอกว่าน เมล็ดว่าน ใบว่านและต้นว่าน วิธีการของการเก็บว่านมาใช้ ฤดูของต้นว่านดินที่มีเกสรก็เก็บเอาเกสรเมื่อไม่มีเกสรก็จะเก็บเอาดอก เมื่อไม่มีดอกก็จะเก็บเอาเมล็ด เมื่อไม่มีเมล็ดก็จะเก็บเอาใบ และเมื่อไม่มีใบก็ใช้ต้นว่าน 3. ผงใบลานเผาของพระคัมภีร์ที่ใช้การไม่ได้เผาแล้วจะเป็นผงสีดำ 4. น้ำท่ี่ศักดิสิทธิ์นำมาผสมสีทำให้เป็นสีต่างๆ 5. จากผงพระพุทธคุณจะเป็นผงสีขาว 6. เมื่อทำพระต่างๆ เสร็จก็จะนำไปเผาไฟ ซึ่่งการเผาเมื่อแก่ไฟสีจะแดง เมื่ออ่อนไฟสีจะเหลืองแดง เมื่อเผาไม่สุกสีก็จะดำและดำเขียวหรือสีเทา 7. ท่าไม่เผาไฟก็จะเป็นเนื้อดินดิบ สีคงไปตามสีของดินและส่วนผสมของว่านโดยธรรมชาติ
เผยแพร่เมื่อ 14-08-2019 ผู้เช้าชม 21,855
เป็นพระพิมพ์แบบเทหล่อแบบครึ่งซีก สัณฐานรูปสี่เหลี่ยมยาว ด้านบนโค้งมน ยอดแหลม ส่วนด้านล่างตัดตรง พุทธลักษณะองค์พระประธานประทับยืน แสดงปางลีลา เหนืออาสนะเส้นตรง 2 ชั้น ภายในซุ้มเรือนแก้ว รอบซุ้มและฐานประดับด้วยเม็ดไข่ปลา พระเกศเป็นมุ่นเมาลี 2 ชั้น บนสุดมีลักษณะคล้ายดอกบัวตูม พระศกเป็นเม็ดงายาวรีโดยรอบ พระพักตร์เอียงไปด้านซ้าย กลมกลืนกับพระอิริยาบถก้าวย่างพระบาท ปรากฏพระเนตร พระนาสิก และพระโอษฐ์ชัดเจน ลำพระศอไม่เด่นชัด แต่สร้อยพระศอปรากฏชัดเจน พระอังสากว้าง พระอุระอวบอูมล่ำสัน แต่แฝงความอ่อนช้อยงามสง่าในที ลำพระองค์วาดเว้ากลมกลืนอย่างมีทรงและทอดต่อลงมาจนถึงพระบาท เส้นพระอังสะและชายจีวรอ่อนช้อยแลดูไหวพลิ้ว พระกรข้างซ้ายขององค์พระยกพาดเหนือพระอังสา พระกรข้างขวาทอดแอ่นไปตามลำพระองค์ ส่วนด้านหลังเป็นหลังแบนเรียบปรากฏลายผ้าหยาบๆ
เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 3,157
ที่ตั้งกรุพระวัดช้าง อยู่ทิศตะวันออกของศาลหลักเมือง จากศาลหลักเมืองไป ถนนกำแพงพรานกระต่าย 150 เมตร เลี้ยวขวาเข้าไปประมาณ 200 เมตร วัดช้างกรุเก่า ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระกำแพงลีลา พระกลีบบัวนาคปรก พระนางพญากำแพง พระซุ้มยอ พระกำแพงห้าร้อย พระกลีบบัว พระอู่ทองกำแพง พระซุ้มกระรอกกระแต และพิมพ์อื่นๆ ส่วนกรุใหม่ ประเภพพระที่พบ ได้แก่ พระซุ้มกอหน้ายักษ์มีกนกพิมพ์ใหญ่ พระซุ้มกอหน้าหนุ่มมีกนกพิมพ์ใหญ่ พระซุ้มกอแดง-ดำพิมพ์กลาง พระซุ้มกอหน้าแก่มีกนกพิมพ์ใหญ่ พระซุ้มกอดำ-แดงไม่มีกนกพิมพ์ใหญ่ พระเม็ดขนุนแดง
เผยแพร่เมื่อ 23-08-2019 ผู้เช้าชม 5,034
ที่ตั้งกรุพระวัดหนองพิกุล อยุู่ตรงข้ามของท่ารถ บขส. ไปประมาณ 400 เมตร ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระซุ้มกอมีกนกพิมพ์ใหญ่ พระซุ้มกอพิมพ์กลาง พระซุ้มกอพิมพ์เล็ก-พิมพ์จิ๋ว พระซุ้มกอดำไม่มีกนกพิมพ์ใหญ่ พระเม็ดขนุนพิมพ์ใหญ่-กลาง พระพลูจีบ พระฝักดาบ พระลีลาเชยคางข้างเม็ดพิมพ์ใหญ่ พระลีลาเชยคางข้างเม็ดพิมพ์กลาง พระลีลาเชยคางข้างเม็ดพิมพ์เล็ก พระลีลาเชยคางข้างเม็ดพิมพ์เล็ก พระกำแพงขาวพิมพ์ใหญ่-กลาง-เล็ก พระเปิดโลกเม็ดทองหลาง พระกำแพงหย่อง พระเปิดโลกพิมพ์ใหญ่ พระท่ามะปราง พระซุ้มยอ พระเม็ดมะลื่น พระเล็บมือนาง พระใบพุทรา พระนางพญากำแพงท้องลอน พระนางพญากำแพงพิมพ์ตื้น พระนางพญากำแพงพิมพ์เล็ก พระนางพญากำแพงพิมพ์เม็ดแตง พระนางพญากำแพงตราตาราง พระนาคปรก พระกลีบบัว พระเจ่้าสามพระองค์ พระเจ้าสี่พระองค์ พิืมพ์เชตุพน พระร่วงนั่งสนิมตีนดา พระเชตุพนพิมพ์ปีกกว้าง พระเชตุพน พิมพ์เล็ก พระงบน้ำอ้อยสิบพระองค์ และพิมพ์อื่นๆ
เผยแพร่เมื่อ 19-08-2019 ผู้เช้าชม 2,915
วัดพระสิงห์ เป็นวัดขนาดย่อมยังไม่ได้ขุดแต่งและบูรณะ สันนิษฐานว่าใช้เวลาสร้างถึง 2 สมัย คือ สมัยสุโขทัยและสมัยอยุธยา กำแพงเป็นศิลาแลงโดยรอบ ภายในเป็นฐานเจดีย์มีซุ้มพระ 4 ทิศ ฐานเจดีย์กว้าง 11 เมตรสี่เหลี่ยม มีเจดีย์ราย 4 มุม ด้านหน้าเจดีย์ใหญ่มีฐานโบสถ์กว้าง 15 เมตร ยาว 30 เมตร ตั้งอยู่บนฐานอีกชั้นหนึ่งซึ่งกว้าง 23 เมตร ยาว 42 เมตร ด้านทิศใต้มีฐานวิหารใหญ่ 1 วิหาร และขนาดย่อมอีก 1 วิหาร ภายในวัดมีบ่อน้ำ 2 บ่อ เป็นบ่อกรุ ด้วยศิลาแลง ที่ตั้งกรุพระวัดสิงห์ อยู่ทิศเหนือของกรุพระวัดป่ามืดประมาณ 500 เมตร ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระนางเสน่ห์จันทร์ พระอู่ทองกำแพง พระนางพญากำแพง และพิมพ์อื่นๆ
เผยแพร่เมื่อ 20-08-2019 ผู้เช้าชม 3,111