พระซุ้มกอขนมเปี๊ยะ
เผยแพร่เมื่อ 21-02-2017 ผู้ชม 14,000
[16.4746251, 99.5079925, พระซุ้มกอขนมเปี๊ยะ]
พระซุ้มกอขนมเปี๊ยะองค์นี้เป็นเนื้อดิน ซึ่งคงลักษณะโดยรวมของพระซุ้มกอพิมพ์ขนมเปี๊ยะ หรือ แบบไม่ตัดขอบ พิมพ์นี้ด้านขอบจะมนทุกด้าน เนื่องจากไม่มีการตัดขอบแบบพิมพ์ใหญ่ หรือ พิมพ์กลาง ด้านหลังมีทั้งแบบเป็นแอ่งน้อยๆ หรืออูม มักมีรอยลายนิ้วมือเลือนรางกดประทับอยู่ ซุ้มกอพิมพ์ขนมเปี๊ยะขึ้นมาหลายกรุในฝั่งนครชุมดังที่ผมเคยเล่าไปแล้ว ที่นำมาชี้ตำหนิลายละเอียดกันนั้นจึงไม่ใช่สิ่งที่สลักสำคัญ เพราะเขาดูเนื้อหา ลักษณะโดยรวมและความเป็นธรรมชาติ ดังนั้นหากท่านมีพระกำแพงอย่าล้างโดยเด็ดขาดนะครับ เพราะจะทำให้พิจารณายาก ขอให้เชื่อผม เอาพู่กันขนอ่อนปัดให้ฝุ่นละอองออกไปก็พอ หากสกปรกจริงๆ เช่น พระจมอยู่ในตลับสีผึ้งนาน หรือเขาเลี่ยมเปิดหน้าหรือจับขอบห้อยมานานๆ อย่างนี้จึงจำเป็นต้องล้างทำความสะอาด เพื่อการอนุรักษ์ และก็ต้องล้างแบบให้ถูกวิธี ผมเห็นหลายคนล้างพระแท้ๆ จนเสียผิว พิจารณายากไปเลย จริงอยู่ครับ พระแท้และพระเทียมนั้นย่อมเป็นเช่นนั้นจะล้างอย่างไรก็ไม่ทำให้พระแท้เป็นพระเทียมหรือพระเทียมดูแท้ไปได้ แต่การพิจารณายาก และการเสียผิวเดิมทำให้สุนทรียะ และความซึ้งตาหดหายไปอย่างที่ไม่มีวันหวนกลับคืนมาอีก
ภาพโดย : https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=120&code_db=DB0003&code_type=P002
คำสำคัญ : พระเครื่อง
ที่มา : สมาคมกีฬาจังหวัดกำแพงเพชร. (2549). พระกรุเมืองกำแพง มรดกประวัติศาสตร์กำแพงเพชร. กำแพงเพชร: สมาคมกีฬาจังหวัดกำแพงเพชร.
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). พระซุ้มกอขนมเปี๊ยะ. สืบค้น 14 ตุลาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=187&code_db=610005&code_type=01
Google search
พระกำแพงกลีบจำปาเนื้อชินที่พบเป็นพระชินเงิน พิมพ์ทรงเหมือนกับเนื้อดินทุกประการ เนื่องจากพระกำแพงกลีบจำปาเป็นพระที่สัณฐานบางมาก พระส่วนมากจะผุพังและชำรุดหาที่สมบูรณ์ยาก พระกำแพงกลีบจำปาเป็นพระชินเงินที่มีตะกั่วผสม เนื้อของพระมักจะมีไขขึ้นเป็นบางจุด เนื้อหาจะระเบิดผุเป็นส่วนใหญ่ ส่วนด้านหลังจะเป็นแอ่งและมีลักษณะเป็นลายผ้าทุกองค์ ลักษณะการผุระเบิดเช่นนี้เป็นลักษระของพระ กรุเก่า ซึ่งหมายถึงพระที่ขึ้นมาจากกรุวัดพระบรมธาตุและบริเวณฝั่งทุ่งเศรษฐีในยุคก่อนมี ๒๔๙๐
เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 7,776
พระกำแพงอู่ทอง วังพาน หรือบางพาน เป็นเมืองเก่าสมัยสุโขทัยเมืองบางพาน เป็นเมืองสำคัญทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี เมืองหนึ่งที่น่าศึกษาอยู่ในเขตอำเภอพรานกระต่าย เป็นเมืองที่สำคัญและเก่าแก่ ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย เป็นราชธานี หรือก่อนหน้านั้น หลักฐานจากจารึกนครชุม ซึ่งจารึกเมื่อปี พ.ศ.1900 ในสมัยพระมหาธรรมราชาลิไท จารึกไว้ว่า "พิมพ์เอารอยตีนอันหนึ่งประดิษฐานไว้ในเมืองบางพาน เหนือจอมเขานางทอง" ซึ่งหมายถึงการนำรอยพระพุทธบาทจำลองมาประดิษฐานไว้ที่เขานางทองเมืองบางพานแสดงว่าเมืองบางพานเคยเจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย
เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 11,740
ที่ตั้งกรุพระวัดเชิงหวาย อยู่ถนนกำแพงพรานกระต่ายเข้าทางกรุวัดดงหวาย เรียบถนนริมคลองประมาณ 700 เมตร ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระกำแพงขาว พระท่ามะปราง พระร่วงประทานพร พระยอดขุนพลพิมพ์ใหญ่ พระซุ้มยอพิมพ์เล็ก พระซุ้มจิก พระนางพญากำแพงพิมพ์ใหญ่ พระนางพญากำแพงพิมพ์เล็ก พระโพธิบัลลังก์ พระลีลากำแพง พระกำแพงห้าร้อย พระร่วงนั่งทรงสมาธิ พระซุ้มยอพิมพ์ใหญ่ พระอู่ทองกำแพงพิมพ์ใหญ่ พระอู่ทองกำแพงพิมพ์กลาง พระอู่ทองกำแพงพิมพ์เล็ก พระกำแพงคืบ และพิมพ์อื่นๆ
เผยแพร่เมื่อ 20-08-2019 ผู้เช้าชม 3,260
พระซุ้มเสมาทิศ มีผู้ค้นพบมากมายหลากหลายกรุ ในแถบพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง และภาคกลาง ล้วนเป็นที่นิยมและมีชื่อเสียงโด่งดังทั้งสิ้น ตั้งแต่ประมาณ พ.ศ 2450 เป็นต้นมาจน ประมาณ พ.ศ 2490-6 มีการเปิดกรุอย่างเป็นทางการและมีผู้พบพระซุ้มเสมาทิศ ทั้งที่กรุวัดอรัญญิก จังหวัดพิษณุโลก โดยพบพร้อมกับพระชินราชใบมะยม มีทั้งเนื้อดิน และชินแข็งสภาพผุกร่อนไม่สมบูรณ์เป็นส่วนใหญ่ เช่นเดียวกับที่พบตามวัดร้าง และเนินดินตามเขตเมืองเก่าในจังหวัดชัยนาท มีบางส่วนพบที่จังหวัดกำแพงเพชร กรุวัดอาวาสใหญ่ส่วนมากเป็นพิมพ์กลาง เนื้อดินและเนื้อชินแก่ตะกั่วมีไขขาวแซมตามซอกองค์พระและที่กรุวัดอาวาสน้อย เนื้อชินจะเป็นลักษณะเป็นชินแข็งมีสนิมตีนกาและตามรอยผุระเบิดจะเป็นปื้นเกร็ดกระดี่มีปรอทขาวสีซีดแห้งสมอายุ เมื่อสัมผัสถูกความชื้นนานไปจะกลับเป็นสีเทาเข้มจนเกือบดำ กรุสำคัญที่ถือได้ว่ามีพระพิมพ์ซุ้มเสมาทิศทุกพิมพ์อยู่เป็นจำนวนมาก
เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 6,932
ที่ตั้งกรุพระวัดพระนอน อยู่เหนือกรุพระวัดป่ามืดประมาณ 200 เมตร ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระลีลากำแพง พระร่วงนั่ง พระบรรทมศิลป์ พระสืบชาตินารายณ์แปลง พระเปิดโลก พระอู่ทองกำแพง พระสืบชาต และพิมพ์อื่นๆ
เผยแพร่เมื่อ 20-08-2019 ผู้เช้าชม 2,634
ที่ตัั้งกรุพระ สปจ. อยุ่ในรั้วที่ทำการศึกษานิเทศก์จังหวัดกำแพงเพชร มุมรั้วทิศตะวันออกเฉียงเหนือติดถนนราชดำเนิน เข้าด้านถนนเทศา ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระสังกัจจายณ์ พระร่วงนั่งพิมพ์ฐานสูง พระร่วมนั่งพิมพ์สามเหลี่ยม พระอู่ทองกำแพงพิมพ์ใหญ่ พระนางพญากำแพง พระร่วงนั่งพิมพ์ปีกกว้าง พระเชตุพนพิมพ์ฐานบัว พระอู่ทองกำแพงพิมพ์กลาง และพิมพ์อื่นๆ
เผยแพร่เมื่อ 23-08-2019 ผู้เช้าชม 4,879
วิีธีการศึกษาพระเนื้อดิน โดยเฉพาะพระซุ้มกอ ก่อนอื่นท่านต้องทำความเข้าใจก่อนว่าพระเนื้อดินนั้นปลอมง่าย เพราะมวลสารทำจากดินหาได้ง่ายๆ ทั่วๆ ไป ท่านจะเอาดินแบบไหนก็แสวงหาได้ง่าย การทำปลอมก็ทำง่าย จะทำคนเดียว/ทำเป็นกลุ่ม/ทำกันสองสามคน/ทำเป็นทีม เหล่านี้ทำได้ทั้งนั้น ทำสองสามคนจะดีเพราะช่วยถอดแบบเเกะแม่พิมพ์ได้ ดังนั้นพระเนื้อดินจึงปลอมได้ง่ายสุดๆและดินก็มีหลากหลายชนิด มันอยู่บนโลกใบนี้นับล้านๆปีมาแล้ว ผู้แสวงหาก็ปลอมได้แนบเนียน และดูเก่าจริง การเล่นพระเนื้อดินผู้เขียนว่าการเผานั้นไม่น่าจะเรียกกันน่าจะเรียกว่าการสุ่มไฟมากกว่า เพราะพระองค์เล็กๆไม่ใช่ตุ่มน้ำ/จานชามที่จะมาสร้างเตาไฟกัน พระหลักหมื่นหลักแสนก็กองนิดเดียว ไม่ใช่กองโตเลย สุ่มไฟก็เพื่อให้พระคงทนไม่แตกหักง่ายๆ
เผยแพร่เมื่อ 14-08-2019 ผู้เช้าชม 43,841
สีของพระเครื่องเนื้อดินฝังตัวเมืองกำแพงเพชร และฝั่งนครชุมมีหลายสีด้วยกัน พระเครื่องเนื้อดินที่ปรากฏเป็นสีต่างๆ คือมาจากส่วนผสมของวัสดุและสาเหตุต่างๆ ดังนี้ 1. ดินที่ถือเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แหล่งต่างๆ สีและเนื้อดินจะไม่เหมือนกัน 2. เกสรว่าน ดอกว่าน เมล็ดว่าน ใบว่านและต้นว่าน วิธีการของการเก็บว่านมาใช้ ฤดูของต้นว่านดินที่มีเกสรก็เก็บเอาเกสรเมื่อไม่มีเกสรก็จะเก็บเอาดอก เมื่อไม่มีดอกก็จะเก็บเอาเมล็ด เมื่อไม่มีเมล็ดก็จะเก็บเอาใบ และเมื่อไม่มีใบก็ใช้ต้นว่าน 3. ผงใบลานเผาของพระคัมภีร์ที่ใช้การไม่ได้เผาแล้วจะเป็นผงสีดำ 4. น้ำท่ี่ศักดิสิทธิ์นำมาผสมสีทำให้เป็นสีต่างๆ 5. จากผงพระพุทธคุณจะเป็นผงสีขาว 6. เมื่อทำพระต่างๆ เสร็จก็จะนำไปเผาไฟ ซึ่่งการเผาเมื่อแก่ไฟสีจะแดง เมื่ออ่อนไฟสีจะเหลืองแดง เมื่อเผาไม่สุกสีก็จะดำและดำเขียวหรือสีเทา 7. ท่าไม่เผาไฟก็จะเป็นเนื้อดินดิบ สีคงไปตามสีของดินและส่วนผสมของว่านโดยธรรมชาติ
เผยแพร่เมื่อ 14-08-2019 ผู้เช้าชม 19,887
สมเด็จพุฒาจารย์ (โต) กับวัดเสด็จ เมืองกำแพงเพชร เป็นที่ทราบกันดีว่า สมเด็จพุฒาจารย์โต เป็นชาวกำแพงเพชร หลักฐานจากบันทึกของมหาอำมาตย์ตรี พระยาทิพโกษา (สอน โลหะนันท์) ความว่า... ครั้งนั้นเจ้าพระยาจักรี ตั้งทัพอยู่ ณ เมืองกำแพงเพชร เวลาเช้าวันหนึ่งออกลาดตระเวนกองทัพทั้งปวงเพื่อบัญชาการ และชักม้าลัดเพื่อตัดทาง ม้าก็เลยพาท่านเข้าป่าฝ่าพง จำเพาะมายังบ้านปลายนาใต้เมืองกำแพงเพชรเป็นเวลาเย็น จึงแลเห็นโรงหนึ่งตั้งอยู่ปลายทุ่งนา เจ้าคุณแม่ทัพผู้นั้นจึงได้ชักม้าไปถึงโรงนั้น ไม่เห็นมีคนผู้ใหญ่อยู่ ได้เห็นแต่หญิงสาวคนหนึ่งเดินออกมา เจ้าคุณแม่ทัพผู้นั้นจึงบอกแก่นางสาวคนนั้นว่า ข้ากระหายน้ำ เจ้าจงตักน้ำมาให้กินสักขันเถิด...
เผยแพร่เมื่อ 17-01-2020 ผู้เช้าชม 5,815
พระกำแพงขาว เป็นพระปางลีลา ศิลปะสุโขทัย สกุลช่างกำแพงเพชร สาเหตุที่เรียกว่า พระกำแพงขาว เพราะว่าตอนขึ้นจากกรุใหม่ ๆ มีคราบฝ้าของกรุและปรอทจับตามองค์พระ คนรุ่นเก่าจึงเรียกว่า พระกำแพงขาวพระกำแพงขาว จัดว่าเป็นพระเอกลักษณ์ของเมืองกำแพงเพชรทีเดียว เพราะนอกจากเป็นฝีมือของช่างสกุลกำแพงเพชรแล้ว ในด้านพุทธคุณ พระกำแพงเพชรมีชื่อเสียงกระฉ่อนและโด่งดัง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องแคล้วคลาด เมตตา และด้านโภคทรัพย์
เผยแพร่เมื่อ 21-02-2017 ผู้เช้าชม 6,840