กรุสี่อิริยาบถ

กรุสี่อิริยาบถ

เผยแพร่เมื่อ 20-08-2019 ผู้ชม 2,299

[16.4972679, 99.5046266, กรุสี่อิริยาบถ]

ที่ตั้งกรุพระวัดสี่อิริยาบถ อยู่เหนือกรุวัดป่ามือประมาณ 400 เมตร ประเภทพระที่พบ ได้แก่
1. พระท่ามะปราง เนื้อชิน
2. พระคู่สวดอุปฌา เนื้อเงิน-สำริด
3. พระกำแพงขาโต๊ะ เนื้อสนิมแดง-ชิน
4. พระเปิดโลก เนื้อชิน
5. พระอู่ทอง ฐานสำเภา เนื้อชิน
6. พระเทริดขนนก เนื้อชิน
7. พระโพธิบัลลังก์ เนื้อชิน
8. พระกำแพงห้าร้อย เนื้อชิน
9. พระนางพญาแขนอ่อนฐานบัว เนื้อชิน
10. พระลีลากำแพง เนื้อชิน
11. พระประทานพร เนื้อชิน
12. พระอู่ทอง ฐานสูง เนื้อชิน
13. พระนาคปรก เนื้อชิน
14. พระกลีบบัว เนื้อชิน
        และพิมพ์อื่นๆ

คำสำคัญ : พระเครื่อง, กำแพงเพชร, กรุพระ

ที่มา : สำราญ มหบุญพาชัย. (2533). พระเครื่องเมืองกำแพงฯ. กำแพงเพชร : มูลนิธิกำแพงเพชรสงเคราะห์.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2562). กรุสี่อิริยาบถ. สืบค้น 10 มิถุนายน 2566, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=1201&code_db=610005&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1201&code_db=610005&code_type=01

Google search

Mic

กรุวัดทุ่งเศรษฐี

กรุวัดทุ่งเศรษฐี

ที่ตั้งกรุพระวัดทุ่งเศรษฐี อยู่ทิศตะวันตกของป้อมบ้านเศรษฐี ประมาณ 200 เมตร ปัจจุบันที่ตั้งกรุถูกขุดเป็นสระกว้างประมาณ 600 ตารางเมตร ชาวบ้านนิยมเรียกคำว่า "กรุทุ่งเศรษฐี" ก็เห็นจะเป็นนามมงคลของคำว่า "เศรษฐี" กรุพระต่างๆ ที่ชาวบ้านนิยมเรียกใช้นามคำว่า "กรุทุ่งเศรษฐี" ขอสรุปมีกรุดังนี้ กรุวัดทุ่งเศรษฐี กรุหนองลังกา กรุซุ้มกอ กรุเจดีย์กลางทุ่ง กรุตาพุ่ม กรุนาตาคำ กรุตาลดำ กรุคลองไพร กรุบริเวณวัดพระบรมธาุและกรุอื่่นๆ ที่อยู่ในบริเวณลานทุ่ง กรุพระต่างๆ ที่เขียนนี้ สมัยก่อนเป็นบริเวณทุ่งนาของเศรษฐีพิกุล ปัจจุบันชาวบ้านจึงเรียกว่า "กรุทุ่งเศรษฐี"

 

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 6,146

พระนางกำแพงขาโต๊ะ

พระนางกำแพงขาโต๊ะ

เมืองกำแพงเพชร เป็นเมืองกว้างใหญ่ มีสถาปัตยกรรมแบบต่างๆ เป็นจำนวนมาก รวมทั้งวัดเก่าแก่แต่โบราณกาลซึ่งมีมากถึง ๒๐ วัด โดยสมัยก่อนนิยมสร้างวัดไว้ภายในตัวเมืองส่วนหนึ่ง และอีกส่วนหนึ่งสร้างไว้นอกเมือง ด้วยเหตุนี้ เมืองกำแพงเพชร จึงมีพระกรุพระเก่าที่ขุดพบทั้งจากวัดในตัวเมือง และวัดนอกเมือง มากมายหลายกรุหลายวัดด้วยกัน ล้วนมีชื่อเสียงโด่งดังในวงการพระเครื่อง และที่ได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในพระชุดเบญจภาคียอดนิยม คือ พระกำแพงซุ้มกอ เนื้อดินเผา เป็นพระกรุที่ขุดพบบริเวณทุ่งเศรษฐี ภายในตัวเมืองกำแพงเพชรนอกจากนี้ยังมีการขุดพบพระเครื่องพิมพ์ต่างๆ อีกจำนวนมาก โดยได้จากวัดทั้งหลายที่อยู่ภายในเมืองกำแพงเพชร พระเครื่องที่ขุดพบนี้มีหลายพิมพ์ มีทั้งขนาดเล็ก ขนาดปานกลาง และขนาดใหญ่

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 5,584

พระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ กรุฤาษี

พระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ กรุฤาษี

พระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ลายกนก กรุวัดพิกุล อมตะทั้งพุทธศิลป์ เปี่ยมล้นด้วยพุทธคุณ “มีกูแล้วไม่จน” โดย ไตรเทพ ไกรงูพระเครื่องสกุลกำแพงเพชร ปรากฏหลักฐานชัดเจนจากการพบจารึกบนแผ่นลานเงินในกรุขณะรื้อพระเจดีย์องค์ใหญ่ของวัดพระบรมธาตุ เมืองนครชุม ในพระราชนิพนธ์ เรื่อง เสด็จประพาสกำแพงเพชร ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ซึ่งเขียนเมื่อ พ.ศ.2447 ได้กล่าวถึงจารึกบนแผ่นลานทอง อันมีข้อความเกี่ยวกับการขุดพบพระต่างๆ ตามกรุต่างๆ หลักฐานชิ้นสำคัญ อันเกี่ยวกับเมืองกำแพงเพชร ได้แก่ ศิลาจารึกนครชุม ที่กล่าวถึงการสร้างเมือง โดยพระมหาธรรมราชาลิไท ประมาณ พ.ศ.1279

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2017 ผู้เช้าชม 19,987

“พระซุ้มกอ” กำแพงเพชร มีอีกชื่อว่า “พระฤๅษี” สุดยอดหนึ่งในชุดเบญจภาคี

“พระซุ้มกอ” กำแพงเพชร มีอีกชื่อว่า “พระฤๅษี” สุดยอดหนึ่งในชุดเบญจภาคี

ย้อนกลับไปในสมัยสุโขทัย ราวปี พ.ศ. 1800 พญาเลอไทยได้บูรณะเมืองชากังราวและยกฐานะขึ้นเป็นเมืองลูกหลวงเช่นเดียวกับเมืองศรีสัชนาลัย และโปรดเกล้า ฯ ให้พระราชโอรสพระองค์หนึ่งมาครองเมือง ครั้นเมื่อพระเจ้าอู่ทองทรงตั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีของอาณาจักรทางใต้ ล่วงมาถึงรัชสมัยของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว) พระองค์ยกทัพมาตีสุโขทัย ผลของสงครามทำให้สุโขทัยถูกแบ่งออกเป็นสองส่วน คือ ดินแดนทางริมฝั่งแม่น้ำปิงส่วนหนึ่ง และดินแดนทางริมฝั่งแม่น้ำยมและแม่น้ำน่านอีกส่วนหนึ่ง ทางด้านแม่น้ำปิงได้รวมเมืองชากังราว และเมืองนครชุมเข้าเป็นเมืองเดียวกัน แล้วเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “เมืองกำแพงเพชร” ยกฐานะขึ้นเป็นเมืองราชธานีปกครองดินแดนทางลุ่มแม่น้ำปิงในย่านนี้ ส่วนทางลุ่มแม่น้ำยมและแม่น้ำน่าน ให้เมืองพิษณุโลกเป็นราชธานี โปรดเกล้าฯ ให้พญาไสลือไทย หรือพระมหาธรรมราชาที่ 2 เป็นเจ้าเมือง ล่วงมาถึงรัชสมัยพระบรมราชาธิราชที่ 2 หรือเจ้าสามพระยา การแบ่งเขตการปกครองออกเป็นสองส่วนดังกล่าว มีเรื่องไม่สงบเกิดขึ้นเสมอ ดังนั้น จึงรวมเขตการปกครองทั้งสองเข้าด้วยกัน โดยยุบเมืองกำแพงเพชรจากฐานะเดิมแล้วให้ทุกเมืองขึ้นต่อเมืองพิษณุโลกเพียงแห่งเดียว

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 2,496

พระกำแพงหน้าอิฐ

พระกำแพงหน้าอิฐ

พระกำแพงหน้าอิฐ เป็นพระเครื่องพิมพ์หนึ่งที่พบครั้งแรกจากกรุวัดพระบรมธาตุเมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๒ และจากนั้นก็พบอีกบ้างในบริเวณทุ่งเศรษฐี ฝั่งนครชุม แต่มีจำนวนน้อยมากแทบจะเรียกว่านับองค์ได้ และเท่าที่ติดตามจากแหล่งข้อมูลด้านพระเครื่องเมืองกำแพงไม่เคยปรากฏว่ามีการพบพระพิมพ์นี้ในฝั่งจังหวัดเลยแม้แต่องค์เดียว พระกำแพงหน้าอิฐมีพุทธลักษณะเป็นพระยืนประทานพร ประทับในซุ้มเรียบ รอบองค์พระลึกทำให้องค์พระดูเป็นสง่าสวยงาม ขนาดองค์พระพระทัดรัด กว้างประมาณ ๒ x ๓ ซม. หนาประมาณ ๐.๗ ซม.เท่านั้น จากการได้พบและสนทนากับนักสะสมพระเครื่องเมืองกำแพงรุ่นเก่า หลายคนยืนยันว่าได้พบพระพิมพ์นี้เพียงไม่กี่องค์ หนังสือพระเครื่องรุ่นเก่า ๆ แม้กระทั่งหนังสือที่จัดพิมพ์ขึ้นโดย จ.กำแพงเพชร หลายเล่ม ไม่เคยปรากฏรูปพระเครื่องพิมพ์นี้ ยังไม่ต้องกล่าวถึงประวัติการค้นพบ เมื่อหนังสือ อมตพระกรุ โดย พิศาล เตชะวิภาค ซึ่งถือว่าเป็นหนังสือที่รวบรวมภาพพระกรุไว้มากที่สุดเท่าที่เคยมีการจัดพิมพ์มา ก็ปรากฏว่ามีเพียงรูปเดียวโดยไม่มีคำบรรยายอื่นใดนอกจากระบุว่า เป็นพระกำแพงหน้าอิฐเท่านั้น

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 6,203

พระซุ้มเสมา

พระซุ้มเสมา

พระซุ้มเสมาทิศ มีผู้ค้นพบมากมายหลากหลายกรุ ในแถบพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง และภาคกลาง ล้วนเป็นที่นิยมและมีชื่อเสียงโด่งดังทั้งสิ้น ตั้งแต่ประมาณ พ.ศ 2450 เป็นต้นมาจน ประมาณ พ.ศ 2490-6 มีการเปิดกรุอย่างเป็นทางการและมีผู้พบพระซุ้มเสมาทิศ ทั้งที่กรุวัดอรัญญิก จังหวัดพิษณุโลก โดยพบพร้อมกับพระชินราชใบมะยม มีทั้งเนื้อดิน และชินแข็งสภาพผุกร่อนไม่สมบูรณ์เป็นส่วนใหญ่ เช่นเดียวกับที่พบตามวัดร้าง และเนินดินตามเขตเมืองเก่าในจังหวัดชัยนาท มีบางส่วนพบที่จังหวัดกำแพงเพชร กรุวัดอาวาสใหญ่ส่วนมากเป็นพิมพ์กลาง เนื้อดินและเนื้อชินแก่ตะกั่วมีไขขาวแซมตามซอกองค์พระและที่กรุวัดอาวาสน้อย เนื้อชินจะเป็นลักษณะเป็นชินแข็งมีสนิมตีนกาและตามรอยผุระเบิดจะเป็นปื้นเกร็ดกระดี่มีปรอทขาวสีซีดแห้งสมอายุ เมื่อสัมผัสถูกความชื้นนานไปจะกลับเป็นสีเทาเข้มจนเกือบดำ กรุสำคัญที่ถือได้ว่ามีพระพิมพ์ซุ้มเสมาทิศทุกพิมพ์อยู่เป็นจำนวนมาก สามารถพบเห็นกันบ่อยจนชินตาคุ้นเคยกันดี เป็นกรุใหญ่ที่พบพระที่มีสภาพสวยงามสมบูรณ์ที่สุด เห็นจะได้แก่ กรุวัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยมักจะพบเพียงพิมพ์ใหญ่และพิมพ์เล็ก แม้ไม่ใช่พระยอดนิยมติดอันดับ แต่ด้วยพุทธศิลป์ที่สวยงาม ทำให้หนังสือพระระดับเล่มครูสำหรับพระยอดนิยม อย่าง หนังสือภาพพระเครื่อง(สี) ยังต้องกล่าวถึง ในปัจจุบันจึงหาชมพระซุ้มเสมาทิศสภาพสมบูรณ์ได้ไม่งายนัก ราคาเล่นหาสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นเรือนหมื่นไปนานแล้วโดยเฉพาะพิมพ์กลางสภาพสวยสมบูรณ์ พุทธคุณว่ากันว่าเป็นยอดในทางแคล้วคลาด คงกระพัน

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 5,631

พระพลูจีบว่านหน้าทอง

พระพลูจีบว่านหน้าทอง

พระกำแพงพลูจีบ เป็นพระที่มีพุทธลักษณะลีลาก้าวย่างไปข้างหน้า แต่หันด้านข้างออก เป็นพระที่คล้ายคลึงกับพระกำแพงเม็ดขนุน ผิดกันตรงที่องค์พระผอมกว่า และตื้นกว่าพระกำแพงพลูจีบ เป็นพระที่มีการสร้างประมาณ ๖๐๐ กว่าปีเท่า ๆ กับพระกำแพงซุ้มกอ และพระเม็ดขนุนวัสดุในการใช้สร้าง ประกอบด้วยเนื้อดินผสมว่านเกสร เนื้อว่านล้วน ๆ มีหน้าทองปิด และเนื้อชิน

เผยแพร่เมื่อ 21-02-2017 ผู้เช้าชม 3,311

 เหรียญพระวิบูลวชิรธรรม

เหรียญพระวิบูลวชิรธรรม

พระวิบูลวชิรธรรม นามเดิม สว่าง นามสกุล เจริญศรี นามฉายา อุตตโร นามบิดา ขุนเจริญสวัสดิ์ (เจริญ เจริญศรี) นามมารดา หอม หรือ ก้อนดิน เกิด ณ บ้านน้ำหัก ตำบลท่างิ้ว อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ.2426 ตรงกับวันขึ้น 12 ค่ำ เดือน 7 ปีมะแม เป็นบุตรคนที่ 5 ของขุนเจริญสวัสดิ์ (เจริญ เจริญศรี) แต่เป็นบุตรคนเดียวของคุณแม่หอมหรือก้อนดิน ทั้งนี้เนื่องจากโยมมารดาของท่านเป็นภรรยาคนที่ 2 ของขุนเจริญสวัสดิ์ (เจริญ เจริญศรี) นั่นเอง มีพี่น้องร่วมบิดาเดียวกัน 5 คน ซึ่งถึงแก่กรรมไปหมดแล้วก่อนที่หลวงพ่อจะถึงแก่มรณภาพ

เผยแพร่เมื่อ 28-02-2017 ผู้เช้าชม 7,863

กรุวัดพระแก้ว

กรุวัดพระแก้ว

ที่ตั้งกรุพระวัดพระแก้ว อยู่ติดด้านใต้ของศาลเจ้าพ่อหลักเมือง ริมถนนกำแพงเพชร พรานกระต่าย ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระซุ้มกอพิมพ์ใหญ่ พระซุ้่มกอพิมพ์เล็ก พระพลูจีบ พระซุ้มกอพิมพ์ใหญ่ พระสังกัจจาย พระร่วงนั่งฐานยิก พระเปิดโลก พระนางพญาเข่ากว้าง พระอู่ทองกำแพง พระปรุหนังกำแพง พระซุ้มกอพิมพ์กลาง พระพลูจีบ พระกำแพงขาว พระเปิดโลกเม็ดทองหลาง พระกำแพงห้าร้อย พระร่วงนั่ง พระนางพญาเศียรโต พระเชตุพนพิมพ์ฐานเรียบ พระลูกแป้งเดี่ยว พระสามพี่น้อย และพิมพ์อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 20-08-2019 ผู้เช้าชม 4,606

พระปิดตา “สี่ทิศ”

พระปิดตา “สี่ทิศ”

พระปิดตาสี่ทิศ กรุวัดคูยาง จังหวัดกำแพงเพชร สร้างเมื่อปี พ.ศ.2445-2448 โดยพระครูธรรมาธิมุติมุนี (สมภารกลึง) เจ้าอาวาสวัดคูยาง สร้างแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งถวาย รัชกาลที่ 5 ครั้งเมื่อเสด็จประพาสเมืองกำแพงเพชร และอีกส่วนหนึ่งบรรจุพระเจดีย์ยอดปรางค์ เป็นเนื้อดินละเอียดมีคราบรารัก มีว่านดอกมะขามใกล้เคียงพระกรุทุ่งเศรษฐี รูปทรงกลม หลังอูม มีรูปพระปิดตาสี่องค์ (ประจำสี่ทิศ) พระที่ขึ้นกรุนี้มีมากกว่า 30 พิมพ์ ส่วนใหญ่ใช้พระกรุเก่าทุ่งเศรษฐีกดพิมพ์ เช่น พิมพ์ซุ้มกอ นางแขนอ่อน ลีลาเขย่ง ซุ้มยอ เปิดโลกฯลฯ

เผยแพร่เมื่อ 17-01-2020 ผู้เช้าชม 8,663