พระนางกำแพงขาโต๊ะ

พระนางกำแพงขาโต๊ะ

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้ชม 7,307

[16.4746251, 99.5079925, พระนางกำแพงขาโต๊ะ]

        เมืองกำแพงเพชร เป็นเมืองกว้างใหญ่ มีสถาปัตยกรรมแบบต่างๆ เป็นจำนวนมาก รวมทั้งวัดเก่าแก่แต่โบราณกาลซึ่งมีมากถึง 20 วัด โดยสมัยก่อนนิยมสร้างวัดไว้ภายในตัวเมืองส่วนหนึ่ง และอีกส่วนหนึ่งสร้างไว้นอกเมืองด้วยเหตุนี้ เมืองกำแพงเพชร จึงมีพระกรุพระเก่าที่ขุดพบทั้งจากวัดในตัวเมือง และวัดนอกเมือง มากมายหลายกรุหลายวัดด้วยกัน ล้วนมีชื่อเสียงโด่งดังในวงการพระเครื่อง และที่ได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในพระชุดเบญจภาคียอดนิยม คือ พระกำแพงซุ้มกอ เนื้อดินเผา เป็นพระกรุที่ขุดพบบริเวณทุ่งเศรษฐี ภายในตัวเมืองกำแพงเพชรนอกจากนี้ยังมีการขุดพบพระเครื่องพิมพ์ต่างๆ อีกจำนวนมาก โดยได้จากวัดทั้งหลายที่อยู่ภายในเมืองกำแพงเพชร พระเครื่องที่ขุดพบนี้มีหลายพิมพ์ มีทั้งขนาดเล็ก ขนาดปานกลาง และขนาดใหญ่ในจำนวนนี้ก็มี วัดอาวาสน้อย รวมอยู่ด้วย วัดนี้อยู่ภายในตัวเมืองกำแพงเพชร ได้ขุดพบพระสกุลช่างฝีมือกำแพงเพชร อย่างแท้จริง พระกรุนี้มีหลายพิมพ์ มีอยู่พิมพ์หนึ่งที่องค์พระมีขนาดค่อนข้างใหญ่กว่าพระเครื่องทั่วๆ ไป คือ พระกำแพงขาโต๊ะ วัดนี้อยู่เยื้องกับ วัดอาวาสใหญ่ ห่างกันประมาณ 500 เมตร โดยมีทางเข้าแยกจากถนนสายกำแพงเพชร-สุโขทัย (ทางแยกนี้อยู่ตรงข้ามวัดอาวาสใหญ่) วัดอาวาสน้อย เป็นวัดขนาดใหญ่วัดหนึ่ง หลักฐานที่พบคือสถาปัตยกรรมต่างๆ ภายในวัด ล้วนมีขนาดใหญ่โตมาก โดยเฉพาะฐานที่ตั้งของวิหาร และเจดีย์ ฐานวิหารของวัดนี้นับว่ามีความยาวมากที่สุดแห่งหนึ่งของบรรดาสิ่งก่อสร้างในเมืองกำแพงเพชร บนฐานใหญ่นี้เป็นที่ตั้งของวิหาร ซึ่งหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ด้านหลังวิหารมีเจดีย์ 1 องค์ เป็นเจดีย์ประธาน ภายในวิหารมีแท่นพระ เข้าใจว่าเป็นแท่นพระประธาน ด้านหลังวิหารใหญ่ ทางทิศตะวันตกมีเจดีย์ 2 องค์อยู่คู่กัน ขนาดไม่ใหญ่นัก ใกล้ๆ กันนั้นมีแนวกำแพงเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีเจดีย์ศิลาแลงตั้งอยู่ตรงกลางอีกองค์หนึ่งที่ด้านหลังวัดมีสิ่งที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง คือ สิ่งก่อสร้างที่เข้าใจว่าน่าจะเป็น "ส้วม” มีลักษณะเป็นบ่อรูปวงกลม ภายในบ่อตรงกลางมีลักษณะคล้ายโพรงกว้าง ความลึกไม่ทราบแน่ชัด เพราะกิ่งไม้ใบไม้ตกลงไปทับถม แต่ประมาณได้ว่า คงไม่ต่ำกว่า 2 เมตร ปากบ่อปูพื้นด้วยศิลาแลง แต่เว้นช่องเล็กๆ ไว้ตรงกลางยาวประมาณ 1 ศอก กว้าง 1 คืบเศษ ช่องตรงกลางนี้ยกพื้นสูงเล็กน้อยบ่อรูปวงกลมนี้มี 3-4 บ่อ เมื่อสันนิษฐานดูแล้ว สิ่งก่อสร้างเหล่านี้ใช้ประโยชน์ได้อย่างเดียวคือเป็น “ส้วม” ไม่น่าจะเป็นบ่อน้ำ เพราะไม่สามารถใช้สิ่งใดลงไปตักน้ำได้ อีกทั้งลักษณะการสร้างบ่อน้ำโบราณในเมืองกำแพงเพชร ก็มีเป็นแบบอย่างอื่น เช่น ชอบสร้างเป็นบ่อสี่เหลี่ยม ก่อขอบปากบ่อให้สูง เป็นต้น
         โบราณวัตถุที่พบในระหว่างการขุดแต่ง วัดอาวาสน้อย เมื่อเดือนพฤษภาคม 2512 เจ้าหน้าที่ได้พบเศษทองชิ้นเล็กๆ มีลักษณะเป็นตุ้มหูแบบเสียบกับใบหู และอาจจะมีแผ่นโลหะเล็กๆ คล้องตรงปลายแหลมกันหลุดอีกชั้นหนึ่งก็ได้นอกจากนี้ยังได้พบพลอยสีขาวเม็ดเล็กๆ 1-2 เม็ดรวมอยู่ พลอยเหล่านี้เจียระไนเป็นเม็ดแล้ว และมีรอยของปรอททาไว้ให้สะท้อนแสงข้างหลังแต่ละเม็ดโบราณวัตถุเหล่านี้คงไม่เก่าไปกว่าสมัยอยุธยา และได้พบรวมกันอยู่ในเจดีย์ศิลาแลงองค์หนึ่งซึ่งหักพังเป็นส่วนมากเมื่อปี 2499 กรมศิลปากรได้ขุดค้นภายในองค์เจดีย์ศิลาแลง บนบานวิหารใหญ่ ปรากฏว่าได้พบพระพุทธรูปสมัยต่างๆ รวมกันอยู่ เช่น สมัยสุโขทัย และสมัยอยุธยา มีจำนวนมาก กรมศิลปากรได้นำพระพุทธรูปดังกล่าวจำนวนหนึ่งไปเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนครกล่าวสำหรับ พระกำแพงขาโต๊ะ กรุวัดอาวาสน้อย ที่ขุดพบในวัดนี้ สร้างด้วยเนื้อชินเงิน เนื้อตะกั่วสนิมแดง และเนื้อดิน พุทธลักษณะ เป็นพระพิมพ์ทรงรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว ขนาดค่อนข้างใหญ่ ขอบซุ้มเป็นเส้นนูนหนา เว้าตามองค์พระ องค์พระปางสมาธิ ประทับนั่งบนฐานที่มีลักษณะคล้าย ฐานสิงห์ เหมือนขาโต๊ะ อันเป็นที่มาของชื่อพระพิมพ์นี้ คือ พระกำแพงขาโต๊ะ พุทธศิลป์สมัยสุโขทัยยุคปลาย ฝีมือสกุลช่างกำแพงเพชรอย่างแท้จริง โดยได้ถ่ายทอดพุทธลักษณะมาจาก พระบูชาของเมืองกำแพงเพชรทุกอย่าง สังเกตจากฐานขององค์พระที่เรียกว่า “ขาโต๊ะ” เป็นการถอดแบบมาจากพระบูชาที่เรียกว่า พระกำแพงสามขานั่นเอง มิติองค์พระมีลักษณะนูนสูงกว่าพระทั่วไป องค์พระจึงมีความหนาพอสมควร ทำให้เห็นพระพักตร์และทรวดทรงชัดเจน ปรากฏไรพระศกเป็นเส้นนูนเห็นเด่นชัด พระขนง (คิ้ว) ทั้ง 2 ข้างเป็นเส้นหนา และไม่ได้จรดกัน พระขนงด้านขวาสูงกว่าด้านซ้ายอย่างเห็นได้ชัด พระเนตร (ตา) ทั้ง 2 ข้างไม่เป็นเม็ดกลม แต่มีลักษณะเป็นแบบเส้นนูนยาวรี ในส่วนของพระกรรณ (หู) ด้านขวาปรากฏชัดเจน และยาวกว่าด้านซ้าย พระโอษฐ์ (ปาก) เป็นเส้น 2 เส้นโค้งมนลงคล้ายเสี้ยวพระจันทร์ บริเวณพระอุระ (อก) ปรากฏเส้นสังฆาฏิชัดเจน จากพระอังสา (ไหล่) ด้านซ้ายยาวลงมาจรดถึงบริเวณบั้นพระองค์ (เอว) ไม่ปรากฏพระนาภี (สะดือ) ให้เห็น มีเส้นประคดเอวอยู่เหนือพระหัตถ์ทั้ง 2 ข้างที่ประสานกันพระกำแพงขาโต๊ะ ยังมีการขุดพบจากวัดอื่นๆ อีกด้วย อาทิ วัดบรมธาตุ วัดช้างล้อม วัดอาวาสใหญ่ วัดป่ามืด ฯลฯ สมัยก่อนนักสะสมพระเครื่อง ต่างพยายามหาพระพิมพ์นี้มาครอบครอง เพราะเป็นพระสวยงามคมชัดพิมพ์หนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งศักดิ์ศรีของ เมืองกำแพงเพชร เป็นที่ยอมรับของนักพระเครื่องทั่วประเทศอยู่แล้ว ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ พระกำแพงขาโต๊ะ มีค่านิยมที่สูงขึ้นเรื่อยๆ และมีราคาสูงในสมัยนั้น แต่พอมาถึงปัจจุบันความนิยมได้ลดน้อยลงไปบ้างด้วยเหตุที่พระมีจำนวนน้อย และมีขนาดที่ค่อนข้างใหญ่ (สูงประมาณ 5.0 ซม. กว้างประมาณ 3.5 ซม.) ทำให้คล้องคอไม่ค่อยสะดวก สนนราคาจึงไม่แพงมากนัก (สำหรับค่าของเงินในสมัยนี้ เมื่อเทียบกับคุณค่าของพระพิมพ์นี้ ซึ่งมีอายุหลายร้อยปี) คืออยู่ที่หลักหมื่นต้นถึงหมื่นกลางส่วนด้านพุทธคุณนั้น เป็นที่ยอมรับกันว่า พระกำแพงขาโต๊ะ ยอดเยี่ยมทางด้านโชคลาภ โภคทรัพย์ และเมตตามหานิยม เป็นอย่างยิ่ง

ภาพโดย : https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=159&code_db=DB0003&code_type=P003

คำสำคัญ : พระเครื่อง

ที่มา : สมาคมกีฬาจังหวัดกำแพงเพชร. (2549). พระกรุเมืองกำแพง มรดกประวัติศาสตร์กำแพงเพชร. กำแพงเพชร: สมาคมกีฬาจังหวัดกำแพงเพชร.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). พระนางกำแพงขาโต๊ะ. สืบค้น 27 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=198&code_db=610005&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=198&code_db=610005&code_type=01

Google search

Mic

กรุวัดคูยาง

กรุวัดคูยาง

เมื่อพูดถึงพระกรุวัดคูยาง ก็อดที่จะกล่าวถึงพระสงฆ์ผู้ที่คนเคารพนับถือว่าเป็นผู้ทรงวิทยาคุณ ขนานนามว่าพระเกจิอาจารย์เสียมิได้ โดยเฉพาะในส่วนของวัดคูยางแล้วก็นับว่าเป็นที่รู้จักและยอมรับนับถือของคนทั่วไป ไม่น้อยไปกว่าวัดอื่นๆ เลย เช่น พระครูธรรมาธิมุตมุนี (กลึง) พระครูเมธีคณานุรักษ์ (ปลั่ง) ต่อมาได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระวิเชียรโมลี และพระวิเชียรธรรมคณี (ทองพาน) อดีตเจ้าอาวาสวัดคูยางและอดีตเจ้าคณะจังหวัดกำแพงเพชรทั้ง 3 รูป เป็นต้น โดยเฉพาะพระครูธรรมาธิมุตมุนี (กลึง) ซึ่งเป็นพระเกจิอาจารย์ร่วมสมัยกับหลวงพ่อขำ อินทะปัญญา วัดลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร หลวงพ่อศุข วัดปากคลอง มะขามเฒ่า จังหวัดชัยนาท และหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน จังหวัดพิจิตร เป็นต้น

เผยแพร่เมื่อ 23-08-2019 ผู้เช้าชม 5,006

พระเครื่องเนื้อโลหะกรุ

พระเครื่องเนื้อโลหะกรุ

พระโลหะ เรียกว่า พระเนื้อชิน คำว่า พระเครื่อง คือเรียก พระชนิดที่สร้างโดยไม่มีแท่นฐานพระหรือขาตั้งพระทั่วๆ ไป จึงขอเขียนบรรยายพอสังเขปไว้ดังนี้ พระเครื่องรูปพิมพ์พุทธรูปลักษณะและเนื้อจะเป็นหัวใจในการศึกษาของ คำว่า พระเครื่อง พระพิมพ์จะเป็นพิมพ์เดียวกันแต่ละกรุพระจะแตกต่างกัน ฉะนั้นผู้ศึกษาจึงจำเป็นต้องจดจำพุทธลักษณะพิมพ์พระต่างๆ ของแต่ละกรุพระให้มาก พระเครื่องเนื้อชินใน 100 ส่วน เราได้ทราบมาแล้วว่าสร้างด้วยเนื้อเงินผสมดีบุกและตะกั่วแล้วเป็นผิวปรอทเสีย 99 ส่วน 

เผยแพร่เมื่อ 14-08-2019 ผู้เช้าชม 12,268

คาถาลานเงินจารึก

คาถาลานเงินจารึก

คาถาลานเงินจารึก พบที่วัดพระบรมธาตุ ให้นิมนต์พระ (อาราธนาพระ) ใส่ศีรษะหรือออมใส่ในปาก อันตรายทั้งปวงหายสิ้นแล ถ้าจะเข้าณรงค์สงครามให้เอาพระใส่น้ำมันหอม เสกด้วย "นวหรคุณ" หรือพระเจ้า 16 พระองค์ทั้งคู่คือ "กิริมิทิ กุรุมุกุ กะระมะทะ เกเรเมเท นะมะนะอะ นอกอนอกะกอออนกอะ นะอะกะอัง ให้เสก 3 จบหรือ 7 จบ อานุภาพดังกำแพงล้อมกันภัยทั้งปวง คาถาบทนี้ท่รตีค่าไว้ควรเมือง ถึงข้าศึกจะเป็นหมื่นเป็นแสนให้ภาวนาเดินฝ่าฝูงข้าศึก ข้าศึกจะจังงงหมดสิ้นแล ถ้าเข้าป่าถูกไฟป่าล้อมให้ภาวนาเดินฝ่ากองไฟโดยไม่มีอันตรายแล ถ้าจะค้าขายดีไปทางบกหรือทางเรือก็ดี ให้นมัสการด้วยพาหุงส์ เอาพระสรงน้ำมันหอม เสกด้วยพระพุทธคุณ "อิติปิโส ภกูราติ" 7 จบ ประสิทธิ์แก่คนทั้งหลายแล 

เผยแพร่เมื่อ 23-08-2019 ผู้เช้าชม 16,343

พระเครื่องสกุลกำแพงเพชร

พระเครื่องสกุลกำแพงเพชร

พระเครื่องสกุลกำแพงเพชร ปรากฏหลักฐานชัดเจนจากการพบจารึกบนแผ่นลานเงินในกรุขณะรื้อพระเจดีย์องค์ใหญ่ของวัดพระบรมธาตุ เมืองนครชุม ในพระราชนิพนธ์ เรื่อง เสด็จประพาสกำแพงเพชร ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ซึ่งเขียนเมื่อ พ.ศ. 2449 ได้กล่าวถึงจารึกบนแผ่นลานทอง อันมีข้อความเกี่ยวกับการขุดพบพระต่างๆ ตามกรุต่างๆ หลักฐานชิ้นสำคัญ อันเกี่ยวกับเมืองกำแพงเพชร ได้แก่ ศิลาจารึกนครชุม ที่กล่าวถึงการสร้างเมือง โดยพระมหาธรรมราชาลิไท ประมาณ พ.ศ. 1279 จากหลักฐานการศึกษา เทียบเคียงทั้งหลายมีข้อสันนิษฐาน ที่น่าเชื่อถือได้โดยสรุปว่า พระซุ้มกอกำแพงเพชรนั้น สร้างโดยพระมหาธรรมราชาลิไท เมื่อครั้งดำรงพระยศผู้ครองเมืองชากังราว ในฐานะเมืองหน้าด่านสำคัญของอาณาจักรสุโขทัย ก่อนที่จะทรงได้รับการสถาปนาเป็นกษัตริย์องค์ที่ 5 แห่งราชวงศ์สุโขทัยและปลุกเสกโดยพระฤๅษี ดังนั้นอายุการสร้างของพระซุ้มกอกำแพงเพชรจนถึงปัจจุบันจึงมีประมาณ 700-800 ปี สถานที่ขุดค้นพบบริเวณฝั่งตะวันตกของลำแม่น้ำปิง จ.กำแพงเพชร เป็นบริเวณทุ่งกว้างที่มีชื่อว่า “ลานทุ่งเศรษฐี” หรือโบราณเรียกว่า “เมืองนครชุมเก่า” บริเวณลานทุ่งเศรษฐีอันกว้างใหญ่นี้ ปรากฏซากโบราณสถานอยู่มากมาย เป็นชื่อวัดนับสิบกว่าวัดด้วยกัน พระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ พิมพ์มีกนก 

เผยแพร่เมื่อ 14-08-2019 ผู้เช้าชม 7,357

ประเภทของพระเครื่องกำแพงเพชร

ประเภทของพระเครื่องกำแพงเพชร

 พระเครื่อง พระกำแพงซุ้มกอพิมพ์ใหญ่มีกระหนก (กระหนกหมายถึงลวดลาย) พระกำแพงซุ้มกอพิมพ์ใหญ่ไม่มีกระหนก (ซุ้มกอดำ) และพระกำแพงลีลาเม็ดขนุน พระยอดนิยมของพระเครื่องจังหวัดกำแพงเพชร พระเครื่องกำแพงเพชร มีมากมายหลายชนิดเรียกชื่อต่าง ๆ กันเช่น เรียกชื่อตามสถานที่ หรือกรุที่พระเครื่องบรรจุอยู่ เช่น กำแพงทุ่งเศรษฐีใช้เรียกชื่อพระเครื่องทุกชนิดที่ได้จากบริเวณเมืองเก่าฝั่งตะวันตกที่เรียกกันว่า “ทุ่งเศรษฐี”และวงการนักพระเครื่องทั่วไปเมื่อกล่าวถึงพระกำแพงเพชรหรือพระที่อื่นคล้ายพระกำแพงเพชร ก็เติมคำว่า“กำแพง”ลงข้างหน้า ชื่อพระนั้น ๆ เช่น เรียกพระลีลาศ(เดิน)ของจังหวัดกำแพงเพชรว่า“กำแพงเขย่ง”เรียกพระสุพรรณว่า“กำแพงเขย่งสุพรรณ”พระกำแพงเพชรที่มีลักษณะคล้ายกับพระอื่น ๆ ที่มีชื่อเสียงมาก่อนเรียกชื่อตามนั้น เช่น กำแพงท่ามะปราง  เรียกชื่อตามพุทธลักษณะอาการขององค์พระ เช่น กำแพงลีลาศ (หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า“กำแพงเขย่ง”)เพราะดูอาการ เดินนั้นเหมือนเขย่งพระบาทข้างหนึ่ง) กำแพงประทานพร กำแพงนาคปรก เป็นต้น

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 5,062

พระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ มีกนก องค์เจ้าเงาะ

พระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ มีกนก องค์เจ้าเงาะ

พระเครื่องในสกุลกำแพงเพชรนั้น มีตำนานปรากฏชัดเจนจากการพบจารึกบนแผ่นลานเงินในกรุ ขณะรื้อพระเจดีย์องค์ใหญ่ของวัดพระบรมธาตุ เมืองนครชุม และเมื่อปี พ.ศ. 2392  ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) แห่งวัดระฆังโฆสิตาราม ซึ่งขึ้นมาเยี่ยมญาติที่เมืองกำแพงเพชร ก็ได้อ่านศิลาจารึกอักษรไทยโบราณที่วัดเสด็จ ฝั่งเมืองกำแพงเพชร ในจารึกได้กล่าวถึงพิธีการสร้างพระและอุปเท่ห์การอาราธนาพร ะ รวมถึงพุทธานุภาพที่มหัศจรรย์อย่างยิ่งของพระเครื่องสกุลกำแพงเพชรทั้งหลาย

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 27,363

ตำหนิพระซุ้มกอ

ตำหนิพระซุ้มกอ

 ...นายชิด มหาเล็กหลวงบวรเดช เดิมรับราชการในกระทรวงมหาดไทย ลาป่วย ได้กลับมารักษาตัว ที่บ้านภรรยา เมืองกำแพงเพชร ได้ทูลเกล้าฯ ถวายตำนานพระกำแพงทุ่งเศรษฐี เป็นจารึกบนแผ่นลานทอง แด่รัชกาลที่ 5 ขุด ได้จากบริเวณทุ่งเศรษฐี ว่า การพบกรุพระครั้งแรกที่วัดพระบรมธาตุ นครชุม จากเจดีย์ 3 องค์ ได้ถูกซ่อมขึ้นรวมเป็นองค์เดียวโดยชาวพม่า ชื่อพระยาตะก่า แล้วนำยอดฉัตร จากประเทศพม่ามาประดับยอดพระบรมธาตุ ได้บันทึกไว้ว่า หลังจากพบพระพิมพ์จาก เจดีย์ต่างๆ ในบริเวณ ทุ่งเศรษฐี ได้พระพิมพ์ จำนวนมาก พระพิมพ์ เมืองกำแพงเพชร นี้นับถือกัน มาช้านานแล้วว่า มีอานุภาพมาก ผู้ใดมีไว้ จะทำการใด ก็มีความสำเร็จ ผลตามความปรารถนาทุกประการ ทั้งนี้นายชิดได้ทูลเกล้าฯ ถวายพระพิมพ์ทุ่งเศรษฐี หลายแบบ แด่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 อีกด้วย ซึ่งท่านได้นำออก พระราชทาน แก่พระบรมวงศานุวงศ์ต่ออีกภายหลัง จนเป็นที่นิยม ในหมู่เจ้านายชั้นผู้ใหญ่สืบต่อมาอีกจนถึงปัจจุบัน ในบริเวณลานทุ่งเศรษฐีมีการพบพระกรุทุ่งเศรษฐีกันมากมายหลายพิมพ์ ที่นิยมมากเห็นจะหนีไม่พ้น พระกำแพงเขย่ง ซึ่งได้แก่พระกำแพงเม็ดขนุน กำแพงพลูจีบ กำแพงกลีบจำปา เป็นต้น และ ที่นิยมเป็นที่สุด เป็น 1 ในชุดเบญจภาคี ก็คือ พระกำแพงซุ้มกอ 

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 26,460

พระลีลาหน้าเงิน

พระลีลาหน้าเงิน

ลีลาหน้าเงินและลีลาหน้าทองนี้ เป็นพระที่ท่านเจ้าอาวาสองค์ก่อนได้มาเมื่อครั้งในอดีตท่านธุดงส์ไปยังสุโขทัย เมื่อท่านมรณภาพแล้ว หลวงพ่อสม ท่านรวบรวมบรรจุไว้ในสถูปเพื่อแสดงความเคารพบูชาครูอาจารย์ของท่าน ต่อมา บริเวณสถูป(วัดเมืองรามเก่า)ริมตลิ่งถูกแม่น้ำกัดเซาะ หลวงพ่อสมท่านจึงดำริที่จะย้ายสถูปไปอยู่ในวัดเมืองรามปัจจุบันท่านได้ขอแรงกำลังพลจากทหารค่าย ม.พันสิบ จังหวัดทหารบกน่านนำกำลังและเครื่องมือไปรื้อถอนเพื่อย้ายอัฐิไปบรรจุยังสถูปที่แห่งใหม่ การรื้อถอนครั้งนี้ ทำให้พระลีลาหน้าเงิน / หน้าทอง แตกกรุออกมา ท่านจึงให้พระเณรที่ไปด้วย รวบรวมเก็บไว้ส่วนหนึ่งและแจกให้กับทหารทุกคนที่ไปช่วยคนละองค์

เผยแพร่เมื่อ 21-02-2017 ผู้เช้าชม 11,851

พระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ กรุวัดหนองพิกุล

พระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ กรุวัดหนองพิกุล

พระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ กรุวัดหนองพิกุล พบจากกรุวัดหนองพิกุล หรือ เรียกกันสั้นๆ ว่าวัดพิกุล ซึ่งเป็นวัดร้างในบริเวณทุ่งเศรษฐี พระที่พบจากกรุนี้เช่น พระกำแพงซุ้มกอ พระเม็ดขนุน พระว่านหน้าทอง และพระอื่นๆเนื้อนุ่มจัด และมีพุทธศิลป์ที่งดงามอ่อนช้อย สมส่วน พระเครื่องกรุวัดพิกุลนี้ได้ถูกเปิดภายหลังจากกรุวัดพระบรมธาตุเพียงไม่กี่ปี มีพระพิมพ์ต่างเกือบทุกแบบเช่นเดียวกับที่พบในกรุวัดพระบรมธาตุ ลักษณะของพระซุ้มกอจากกรุวัดพิกุลนี้ จะเห็นว่ามีความแตกต่างจากพระกำแพงซุ้มกอ กรุฤาษีที่เคยนำมาให้ศึกษากันอยู่บ้าง กล่าวคือ พระพักตร์เรียวงาม ไม่ต้อป้อมเหมือนกรุฤาษี พระเศียรจะตั้งตรง (กรุฤาษีเอียงขวาเล็กน้อย) บัวที่อาสนะทั้ง 5 กลีบ กลีบบัวจะมนโค้ง ไม่มีลักษณเป็นเหลี่ยมและลายในกลีบบัวจะไม่ลึกเหมือนกรุฤาษี ความคมชัดของพิมพ์ไม่ชัดเท่ากรุฤาษี ซอกพระพาหาตื้นกว่าของกรุฤาษี และหากพิจารณาอย่างพิเคราะห์จะเห็นว่าเนื้อพระจะหนึกแน่นกว่ากรุฤาษี

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 34,313

พระกำแพงกลีบจำปา ว่านหน้าทอง

พระกำแพงกลีบจำปา ว่านหน้าทอง

พระกำแพงพลูจีบองค์นี้เป็นพระที่พบจากกรุวัดกระแก้ว ในบริเวณอุทธยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ในคราวบูรณะเมื่อ ปี พ.ศ. 2520 เป็นที่ทราบกันว่า พระว่านหน้าทองที่พบจากวัดพระแก้ว เป็นพระที่ลงกรุโดยบรรจุอยู่ในภาชนะอีกทีหนึ่งจึงยังคงสภาพสวยงามสมบูรณ์ อ.สันติ อภัยราช วัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร เขียนเล่าในคราวที่พบกรุพระว่านหน้าทองครั้งนี้ ว่า “ มีพระเครื่องที่เรียกกันว่าพระว่านหน้าทองจำนวนมาก และพระว่านหน้าทองทั้งหมด ได้หายไปจากกำแพงเพชรเกือบทั้งสิ้น เพียงไม่ข้ามวัน สนนราคาเช่ากันขณะร้อนๆ เพียงเลข ห้าหลัก ปัจจุบันบางส่วนอยู่ในมือคหบดี พ่อค้า ที่หักคอผู้พบไป... ปัจจุบันราคาอยู่ที่ เลขหกหลัก “

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 6,051