สมเด็จพบกรุพระ

สมเด็จพบกรุพระ

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้ชม 2,980

[16.4478634, 99.5029888, สมเด็จพบกรุพระ]

ตามตำนานท่านพระมหาโต ได้ขึ้นไปเยี่ยมญาติที่เมืองกำแพงเพชรสมัยอายุท่าน 62 ปี คือตรงกับ พ.ศ. 2392 ประจำวัดที่วัดเสด็จ ท่านได้อ่านศิลาจารึกอักษรไทยโบราณ ซึ่งอยู่ในโบสถ์วัดเสด็จ (คือพบเป็นศิลาจารึกหลักที่ 3) ได้ความว่า มีพระเจดีย์โบราณบรรจุพระบรมธาตุอยู่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำปิง คือตรงข้ามกับตัวเมือง สมัยนั้นพระยาน้อยซึ่งเป็นเจ้าเมือง เมื่อทราบข่าวจึงได้เป่าร้องให้ชาวบ้านไปช่วยกันค้นหาจนพบ เป็นพระเจดีย์ชำรุดอยู่ 3 องค์ ต่อมาสมัยผู้ว่าราชการอ๋อง ปี พ.ศ. 2444 พญาตะก่า ได้ขออนุญาตรื้อสร้างเป็นเจดีย์องค์เดียวคือ เจดีย์วัดพระบรมธาตุปัจจุบัน มีพระเครื่องพิมพ์เนื้อชินและเนื้อดินแบบพิมพ์ต่างๆ มากมาย ท่านพระมหาโตได้อ่านตามแผ่นจารึกลานเงิน จึงทราบว่าเป็นคนโบราณสมัยก่อนๆ สร้างบรรจุไว้เพื่อเผยแพร่ศาสนาพุทธให้คนรุ่นหลังๆ ได้รู้จักคุณธรรมเพื่อนำความสามัคคีมาสุ่บ้านเมืองให้เกิดร่มเย็นเป็นสุขโดยทั่วไป และอีกประการหนึ่งเมื่อผู้ที่ได้พระต่างๆ ไปบูชาก็จะได้เป็นสมาชิกของชาวพุทธต่อๆ ไป และโบราณวัสดุเหล่านี้ยังสามารถปัดป้องภัยทั้งปวงได้อย่างน่าอัศจรรย์แล

คำสำคัญ : พระเครื่อง

ที่มา : สำราญ มหบุญพาชัย. (2533). พระเครื่องเมืองกำแพงฯ. กำแพงเพชร : มูลนิธิกำแพงเพชรสงเคราะห์.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2562). สมเด็จพบกรุพระ. สืบค้น 27 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=1150&code_db=610005&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1150&code_db=610005&code_type=01

Google search

Mic

พระกำแพงเชยคางข้างเม็ด 2 จังหวัด

พระกำแพงเชยคางข้างเม็ด 2 จังหวัด

เป็นพระพิมพ์แบบเทหล่อแบบครึ่งซีก สัณฐานรูปสี่เหลี่ยมยาว ด้านบนโค้งมน ยอดแหลม ส่วนด้านล่างตัดตรง พุทธลักษณะองค์พระประธานประทับยืน แสดงปางลีลา เหนืออาสนะเส้นตรง 2 ชั้น ภายในซุ้มเรือนแก้ว รอบซุ้มและฐานประดับด้วยเม็ดไข่ปลา พระเกศเป็นมุ่นเมาลี 2 ชั้น บนสุดมีลักษณะคล้ายดอกบัวตูม พระศกเป็นเม็ดงายาวรีโดยรอบ พระพักตร์เอียงไปด้านซ้าย กลมกลืนกับพระอิริยาบถก้าวย่างพระบาท ปรากฏพระเนตร พระนาสิก และพระโอษฐ์ชัดเจน ลำพระศอไม่เด่นชัด แต่สร้อยพระศอปรากฏชัดเจน พระอังสากว้าง พระอุระอวบอูมล่ำสัน แต่แฝงความอ่อนช้อยงามสง่าในที ลำพระองค์วาดเว้ากลมกลืนอย่างมีทรงและทอดต่อลงมาจนถึงพระบาท เส้นพระอังสะและชายจีวรอ่อนช้อยแลดูไหวพลิ้ว พระกรข้างซ้ายขององค์พระยกพาดเหนือพระอังสา พระกรข้างขวาทอดแอ่นไปตามลำพระองค์ ส่วนด้านหลังเป็นหลังแบนเรียบปรากฏลายผ้าหยาบๆ

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 2,795

 เหรียญพระวิบูลวชิรธรรม

เหรียญพระวิบูลวชิรธรรม

พระวิบูลวชิรธรรม นามเดิม สว่าง นามสกุล เจริญศรี นามฉายา อุตตโร นามบิดา ขุนเจริญสวัสดิ์ (เจริญ เจริญศรี) นามมารดา หอม หรือ ก้อนดิน เกิด ณ บ้านน้ำหัก ตำบลท่างิ้ว อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ.2426 ตรงกับวันขึ้น 12 ค่ำ เดือน 7 ปีมะแม เป็นบุตรคนที่ 5 ของขุนเจริญสวัสดิ์ (เจริญ เจริญศรี) แต่เป็นบุตรคนเดียวของคุณแม่หอมหรือก้อนดิน ทั้งนี้เนื่องจากโยมมารดาของท่านเป็นภรรยาคนที่ 2 ของขุนเจริญสวัสดิ์ (เจริญ เจริญศรี) นั่นเอง มีพี่น้องร่วมบิดาเดียวกัน 5 คน ซึ่งถึงแก่กรรมไปหมดแล้วก่อนที่หลวงพ่อจะถึงแก่มรณภาพ

เผยแพร่เมื่อ 28-02-2017 ผู้เช้าชม 10,357

พระนางกำแพง

พระนางกำแพง

พระเครื่องกำแพงเพชร ที่นำมาพูดถึงในวันนี้เป็น พระนางกำแพงเพชร และพระนางกำแพงกลีบบัว ของกรุทุ่งเศรษฐีครับ พระตระกูลนางกำแพงฯ นั้นมีอยู่หลายอย่างหลายกรุซึ่งสนนราคาก็แตกต่างกันไป และเป็นพระเครื่องที่พบมากที่สุดในพระตระกูลกำแพงเพชร เรียกได้ว่าแทบจะทุกกรุก็จะพบพระนางกำแพงปะปนอยู่แทบทุกกรุ แสดงว่าในสมัยที่สร้างพระเครื่องนั้นคงมีความนิยมพระพิมพ์นี้กันมากจึงได้สร้างกันไว้แทบทุกกรุ ศิลปะพระนางกำแพงเป็นศิลปะที่แสดงถึงศิลปะสุโขทัยหมวดสกุลช่างกำแพงเพชรได้อย่างชัดเจนที่สุด

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 13,779

ประวัติพระซุ้มกอ (พระกำแพงซุ้มกอ)

ประวัติพระซุ้มกอ (พระกำแพงซุ้มกอ)

พระกำแพงซุ้มกอ จัดเป็นพระที่สุดยอด และเอกของเมืองกำแพงเพชร เป็นพระที่อมตะ ทั้งพุทธศิลป์ และพุทธคุณถูกจัดอยู่ในชุดเบญจภาคีที่สูงสุดของพระเครื่องเมืองไทย พระกำแพงซุ้มกอ เป็นพระที่ทำจากเนื้อดินผสมว่านและเกสรดอกไม้ และทำจากเนื้อชิน ก็มีพุทธลักษณะของพระซุ้มกอนั้นองค์พระประติมากรรม ในสมัยสุโขทัย นั่งสมาธิลายกนกอยู่ด้านข้างขององค์พระนั่งประทับอยู่บนบัวเล็บช้าง ขอบของพิมพ์พระจะโค้งมนลักษณะคล้ายตัว ก.ไก่ คนเก่า ๆ จึงเรียกว่า “พระซุ้มกอ” พระกำแพงซุ้มกอ ที่ค้นพบมีด้วยกัน 5 พิมพ์ ประกอบด้วย พิมพ์ใหญ่ แยกออกเป็น 2 ประเภท คือ มีลายกนกและไม่มีลายกนก พระที่ไม่มีลายกนกส่วนใหญ่มักจะมีสีดำ หรือสีน้ำตาลแก่ซึ่งเรามักจะเรียกว่า “พระกำแพงซุ้มกอดำ” พิมพ์กลาง พิมพ์เล็ก พิมพ์เล็กพัดโบก พิมพ์ขนมเปี๊ย พระกำแพงซุ้มกอ ทั้งมีลายกนกและไม่มีลายกนกเป็นพระที่มีศิลปะของสุโขทัยปนกับศิลปะศรีลังกา โดยเฉพาะไม่มีลายกนกจะเห็นว่าเป็นศิลปะศรีลังกาอย่างเด่นชัด พระกำแพงซุ้มกอ เนื้อขององค์พระ ใช้ดินผสมกับว่านเกสรดอกไม้ จึงทำให้เนื้อของพระซุ้มกอมีลักษณะนุ่มมัน ละเอียดเมื่อนำสาลีหรือผ้ามาเช็ดถูจะเกิดลักษณะมันวาวขึ้นทันที

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 156,437

พระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ มีกนก องค์เจ้าเงาะ

พระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ มีกนก องค์เจ้าเงาะ

พระเครื่องในสกุลกำแพงเพชรนั้น มีตำนานปรากฏชัดเจนจากการพบจารึกบนแผ่นลานเงินในกรุ ขณะรื้อพระเจดีย์องค์ใหญ่ของวัดพระบรมธาตุ เมืองนครชุม และเมื่อปี พ.ศ. 2392  ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) แห่งวัดระฆังโฆสิตาราม ซึ่งขึ้นมาเยี่ยมญาติที่เมืองกำแพงเพชร ก็ได้อ่านศิลาจารึกอักษรไทยโบราณที่วัดเสด็จ ฝั่งเมืองกำแพงเพชร ในจารึกได้กล่าวถึงพิธีการสร้างพระและอุปเท่ห์การอาราธนาพร ะ รวมถึงพุทธานุภาพที่มหัศจรรย์อย่างยิ่งของพระเครื่องสกุลกำแพงเพชรทั้งหลาย

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 27,363

กำแพงเม็ดขนุน พิมพ์เล็ก

กำแพงเม็ดขนุน พิมพ์เล็ก

ในจำนวนพระเครื่องมากมาย ที่พบบริเวณ ทุ่งเศรษฐี ฝั่งตรงข้ามเมืองกำแพงเพชร พระพิมพ์ยืน หรือปางลีลาศ มีคนนำไปติดตัว ใช้คุ้มตัวได้ผล เป็นที่นิยม สมัยแรกๆเรียกกันว่า พระกำแพงเขย่ง พระพิมพ์ยืนมีหลายพิมพ์ ไล่เลียงลำดับ ตามค่านิยมของวงการ ใช้คำนำหน้า “กำแพง” แล้วตามด้วยรูปพรรณสัณฐาน เริ่มจาก กำแพง เม็ดขนุน กำแพงพลูจีบ กำแพงกลีบจำปา กำแพงขาว กำแพงเชยคางข้างเม็ด ฯลฯ พิมพ์ยืน หรือกำแพงเขย่ง ที่เคยเรียก ไม่เพียง “เขย่ง” พระบาทขวา ยังมี “เขย่ง” พระบาทซ้าย คนรักพระยืนกรุทุ่งเศรษฐี รักทั้งชื่อรักทั้งเนื้อพระที่นุ่มนวลจนเรียก “เนื้อทุ่ง” ถ้าไม่หลง ตามค่านิยมของวงการ รู้จักเลือก “สักพิมพ์” ยิ่งเป็นพิมพ์ที่ไม่ค่อยพบเห็น ว่ากันด้วยเหตุผล พุทธคุณพระกรุเดียวกัน

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 15,399

กรุวัดทุ่งเศรษฐี

กรุวัดทุ่งเศรษฐี

ที่ตั้งกรุพระวัดทุ่งเศรษฐี อยู่ทิศตะวันตกของป้อมบ้านเศรษฐี ประมาณ 200 เมตร ปัจจุบันที่ตั้งกรุถูกขุดเป็นสระกว้างประมาณ 600 ตารางเมตร ชาวบ้านนิยมเรียกคำว่า "กรุทุ่งเศรษฐี" ก็เห็นจะเป็นนามมงคลของคำว่า "เศรษฐี" กรุพระต่างๆ ที่ชาวบ้านนิยมเรียกใช้นามคำว่า "กรุทุ่งเศรษฐี" ขอสรุปมีกรุดังนี้ กรุวัดทุ่งเศรษฐี กรุหนองลังกา กรุซุ้มกอ กรุเจดีย์กลางทุ่ง กรุตาพุ่ม กรุนาตาคำ กรุตาลดำ กรุคลองไพร กรุบริเวณวัดพระบรมธาุและกรุอื่่นๆ ที่อยู่ในบริเวณลานทุ่ง กรุพระต่างๆ ที่เขียนนี้ สมัยก่อนเป็นบริเวณทุ่งนาของเศรษฐีพิกุล ปัจจุบันชาวบ้านจึงเรียกว่า "กรุทุ่งเศรษฐี"

 

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 8,630

พระท่ามะปราง

พระท่ามะปราง

พระท่ามะปราง กรุวัดท่ามะปราง ต้นกำเนิด "พระเงี้ยวทิ้งปืน" ชนเผ่าหนึ่ง มีชื่อว่า เงี้ยว อาศัยอยู่ตามพื้นที่สูงบนเขา แล้วย้ายรกรากมาตั้งถิ่นฐานทางภาคตะวันออกของประเทศพม่า ตรงบริเวณที่มีชายแดนทางใต้ มีพื้นที่ติดต่อกับล้านนาของไทย เป็นที่ตั้งเผ่าพันธุ์ ตลอดระยะเวลากว่าศตวรรษ

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 18,828

พระลีลาหน้าเงิน

พระลีลาหน้าเงิน

ลีลาหน้าเงินและลีลาหน้าทองนี้ เป็นพระที่ท่านเจ้าอาวาสองค์ก่อนได้มาเมื่อครั้งในอดีตท่านธุดงส์ไปยังสุโขทัย เมื่อท่านมรณภาพแล้ว หลวงพ่อสม ท่านรวบรวมบรรจุไว้ในสถูปเพื่อแสดงความเคารพบูชาครูอาจารย์ของท่าน ต่อมา บริเวณสถูป(วัดเมืองรามเก่า)ริมตลิ่งถูกแม่น้ำกัดเซาะ หลวงพ่อสมท่านจึงดำริที่จะย้ายสถูปไปอยู่ในวัดเมืองรามปัจจุบันท่านได้ขอแรงกำลังพลจากทหารค่าย ม.พันสิบ จังหวัดทหารบกน่านนำกำลังและเครื่องมือไปรื้อถอนเพื่อย้ายอัฐิไปบรรจุยังสถูปที่แห่งใหม่ การรื้อถอนครั้งนี้ ทำให้พระลีลาหน้าเงิน / หน้าทอง แตกกรุออกมา ท่านจึงให้พระเณรที่ไปด้วย รวบรวมเก็บไว้ส่วนหนึ่งและแจกให้กับทหารทุกคนที่ไปช่วยคนละองค์

เผยแพร่เมื่อ 21-02-2017 ผู้เช้าชม 11,851

เนื้อดินของพระเมืองกำแพงเพชร

เนื้อดินของพระเมืองกำแพงเพชร

เนื้อพระกำแพงเปรียบเทียบ ได้แก่ เนื้อทองคำ พระกำแพงสวยๆราคาแพงมาก สวยปานกลางแพงน้อยหน่อย ไม่สวยก็ยังแพงอยู่ดี พระกำแพงจึงได้ชื่อว่า กำ-แพง ไม่ว่าพระจะอยู่ในสภาพใด ราคาจะสูงกว่าจังหวัดอื่นในสภาพเดียวกันเสมอเพราะอะไร การสร้างพระเนื้อดิน วัสดุที่ผสมส่วนใหญ่คือดิน ดินของแต่ละแห่งก็ใช่ว่าจะเหมือนกัน แร่ธาตุที่อยู่ในดินเมื่อเผาแล้วจะเกิดเนื้อพระสวยงามแตกต่างกัน เนื้อดินกำแพงเพชรได้เปรียบหรือเผาแล้วมีสีสันสวยงามน่าใช้วงการนิยมว่าดูง่ายแยกง่าย การผสมเนื้อพระ สิ่งที่ขาดไม่ได้คือพืชว่าน การผสมพืชว่านมากหรือน้อยอาจจะเกิดจากสัดส่วนที่โบราณาจารย์ได้กำหนดไว้หรือขึ้นอยู่กับการหาพืชว่านยากหรือง่าย การผสมว่านเข้ากับดินทำให้เกิดสภาพเนื้อแตกต่างกับการเผาดินธรรมดา เนื้อพระกำแพงจึงนุ่มตามากกว่าเนื้อพระแห่งอื่นๆ อย่างไรก็ตาม การเผาเนื้อพระบางแห่งอาจจะมีสูตรผสมใกล้เคียง หรือเอาตำราไปเรียนแบบความแตกต่างอาจจะน้อย ถึงอย่างไรก็ดีถ้าได้ติดตามพระกำแพงบ่อยๆ เนื้อดินของแต่ละแห่งอาจจะใช้เป็นข้อแยกพระแต่ละจังหวัดได้  

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 22,262