พระนางกำแพงเม็ดมะลื่น วัดพระบรมธาตุ
เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้ชม 7,729
[16.4821705, 99.5081905, พระนางกำแพงเม็ดมะลื่น วัดพระบรมธาตุ]
พระนางกำแพง หนึ่งในพระเครื่องเมืองกำแพงเพชร ที่เรียกได้ว่าไม่เป็นสองรองใครเช่นกัน และมีพุทธศิลปะที่แสดงถึงศิลปะสุโขทัยหมวดสกุลช่างกำแพงเพชรได้อย่างชัดเจนที่สุด ทั้งยังเป็นพระที่สร้างในสมัยเดียวกับพระกำแพงซุ้มกอ พระกำแพงเม็ดขนุน ฯลฯ ดังนั้น เนื้อหามวลสาร ความหนึกนุ่มซึ้งของเนื้อพระ รวมถึงด้านพุทธคุณในด้านเมตตามหานิยมและโชคลาภจึงเท่าเทียมกัน และเป็นที่นิยมและแสวงหาในแวดวงนักนิยมสะสมพระเครื่องเช่นเดียวกัน แต่ด้วยพระในตระกูลพระเครื่องเมืองกำแพงเพชรนั้นก็มีปรากฏอยู่มากมายหลายพิมพ์และหลายกรุ โดยเฉพาะ “พระนางกำแพง” มีขึ้นแทบจะทุกกรุในบริเวณทุ่งเศรษฐีทำให้ค่านิยมและการแสวงหาจึงลดหลั่นกันลงไป
กล่าวถึง “พระนางกำแพงเม็ดมะลื่น” นั้น เป็นหนึ่งพิมพ์ใน “พระนางกำแพง” ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะของเมืองกำแพงเพชร คือ มีปีกกว้าง และจัดว่าเป็นพระกรุเก่าที่แตกกรุมาจากวัดพระบรมธาตุฝั่งทุ่งเศรษฐีแต่เพียงแห่งเดียว ทั้งยังพบการแตกกรุพร้อมกับ ‘พระกำแพงซุ้มกอ’ เนื้อขององค์พระก็มีลักษณะเดียวกัน คือ เป็นพระเนื้อดินผสมว่านและเกสรดอกไม้ สำหรับพระเนื้อชินไม่มีปรากฏให้เห็น อีกทั้งพุทธคุณก็เป็นเลิศครบครัน ทั้งด้านโภคทรัพย์ เมตตามหานิยม โชคลาภ แคล้วคลาด และคงกระพันชาตรี เช่นเดียวกับพระกรุเก่าเมืองกำแพงเพชรทั้งหลาย
พระกำแพงเม็ดมะลื่น มีขนาดพิมพ์ทรงประมาณ 2.5 - 3.5 ซ.ม. พุทธลักษณะองค์พระประธานประทับนั่ง ปางมารวิชัยหรือสะดุ้งมาร แบบลอยองค์บนฐานเขียง องค์พระค่อนข้างล่ำสัน พระเกศอยู่สองลักษณะ คือ พระเกศแบบตุ้ม ตามศิลปะเชียงแสน และ พระเกศยาวแหลม แบบศิลปะสุโขทัย อันนับเป็นความชาญฉลาดของช่างยุคสุโขทัย-กำแพงเพชรโบราณ ที่มองเห็นคุณค่าของศิลปกรรมแต่ละยุคสมัย และมุ่งถ่ายทอดสู่รุ่นลูกรุ่นหลาน โดยการรังสรรค์ออกมาในรูปแบบของพุทธศิลปะในองค์พระ
- พระพักตร์ มีลักษณะคล้ายกับพระนางกำแพงเพชร แต่จะใหญ่และลึกกว่าเล็กน้อย
- พระเนตรพองโตทั้งสองข้าง แต่เป็นลักษณะใหญ่ข้างเล็กข้างไม่สม่ำเสมอ และเลือนรางมาก
- ในองค์ที่ชัดๆ จะปรากฏ พระขนง พระนาสิก พระโอษฐ์ เพียงรางๆ เกือบลบเลือน
- พระกรรณ ทั้งสองข้างมีปรากฏเพียงรำไร ในส่วนบนข้างปลายพระเนตร มีลักษณะแบบหูติ่งเล็กๆ เท่านั้น ถ้าไม่พิจารณาให้ดีจะมองคล้ายว่าไม่มีพระกรรณ
- พระศอ มีปรากฏเป็นลักษณะลำนูนๆ และกลืนหายไปกับพิมพ์
- พระอังสาคมชัดเจน ด้านซ้ายและด้านขวาอยู่ในระดับเดียวกัน และมีลักษณะเป็นแนวยกขึ้นเล็กน้อย
- พระอุระ เป็นแบบอกตั้ง บางองค์ดูอวบนูนเด่นชัดเจน บางองค์ก็ดูตื้นและบอบบาง
- พระสังฆาฏิ จะปรากฏให้เห็นชัดเจนในองค์ที่พระอุระลึก แต่ในองค์ที่พระอุระตื้นจะไม่ค่อยมีปรากฏ
- พระพาหาเบื้องซ้ายทอดกางออกเล็กน้อยตรงพระกัประ (ข้อศอก) แล้วหักมุมลงสู่พระหัตถ์ ซึ่งวางพาดอยู่บนพระเพลา (หน้าตัก) คล้ายพระนางกำแพงเพชร
- ลำพระองค์ มีทั้งแบบลึกและตื้น และเป็นทั้งศิลปะเชียงแสน และสุโขทัย
- พระอาสนะ เป็นแบบฐานเขียงหรือฐานหมอน
- บริเวณใต้พระชงฆ์ (แข้ง) ตรงกลาง เหนืออาสนะ มักจะมีเนื้อนูนขึ้นมาทุกองค์
- ปีก มีลักษณะใหญ่และกว้างมาก ในบางองค์จะมีขอบเป็นเส้นนูนที่สันของปีก บางองค์ก็ดูราบเรียบ ขอบปีกจะไม่มีความคม จะมีก็แต่ลักษณะของความกลมกลืนกลมมนเท่านั้น
- ด้านหลัง อูมนูนไม่มากก็น้อย และปรากฏรอยนิ้วมือให้เห็นในที
ด้วยพระนางกำแพงเม็ดมะลื่น เป็นพระเครื่องที่สร้างในสมัยเดียวกับพระกำแพงซุ้มกอ พระกำแพงเม็ดขนุน ฯลฯ เอกลักษณ์ของพระกรุเมืองกำแพง คือ เป็นพระเนื้อดินผสมว่าน ที่มีความละเอียดนุ่มหนึกขององค์พระ และเมื่อผ่านกาลเวลาจะมี “รารัก หรือ ราดำ” ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ซึ่งเป็นจุดหนึ่งในการพิจารณา พระแท้ พระปลอม ได้อีกด้วย เพราะ รารักของแท้สีของรารักจะดำสนิท บางทีจึงเรียกว่า “ราดำ” และมีลักษณะตรงขอบเป็นหยักๆ ไม่เรียบเสมอ เหมือนแผลเป็นเวลาตกสะเก็ด โดยรารักจะมี 2 แบบ คือ พระที่ยังมีผิวอยู่ รารักจะไม่นูนสูง แบบที่สองคือ พระที่ไม่มีผิวเหลืออยู่แล้ว รารักจะนูนสูงกว่า ถ้าเป็นของปลอมรารักจะเป็นสีดำกระด้างเพราะใช้หมึกดำมาหยดแล้วป้ายออกครับผม
คำสำคัญ : พระเครื่อง, กำแพงเพชร
ที่มา : http://www.arjanram.com/relic_detail.php?g=2&id=685
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2562). พระนางกำแพงเม็ดมะลื่น วัดพระบรมธาตุ. สืบค้น 23 มีนาคม 2568, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1162&code_db=610005&code_type=01
Google search
พระนางกำแพง หนึ่งในพระเครื่องเมืองกำแพงเพชร ที่เรียกได้ว่าไม่เป็นสองรองใครเช่นกัน และมีพุทธศิลปะที่แสดงถึงศิลปะสุโขทัยหมวดสกุลช่างกำแพงเพชรได้อย่างชัดเจนที่สุด ทั้งยังเป็นพระที่สร้างในสมัยเดียวกับพระกำแพง ซุ้มกอ พระกำแพงเม็ดขนุน ฯลฯดังนั้น เนื้อหามวลสาร ความหนึกนุ่มซึ้งของเนื้อพระ รวมถึงด้านพุทธคุณในด้านเมตตามหานิยมและโชคลาภจึงเท่าเทียมกัน และเป็นที่นิยมและแสวงหา ในแวดวงนักนิยมสะสมพระเครื่องเช่นเดียวกัน แต่ด้วยพระในตระกูลพระเครื่องเมืองกำแพงเพชรนั้นก็มีปรากฏอยู่มากมายหลายพิมพ์และหลายกรุ โดยเฉพาะ "พระนางกำแพง" มีขึ้นแทบจะทุกกรุในบริเวณทุ่งเศรษฐี ทำให้ค่านิยมและการแสวงหาจึงลดหลั่นกันลงไป
เผยแพร่เมื่อ 23-02-2017 ผู้เช้าชม 8,320
ที่ตัั้งกรุพระ สปจ. อยุ่ในรั้วที่ทำการศึกษานิเทศก์จังหวัดกำแพงเพชร มุมรั้วทิศตะวันออกเฉียงเหนือติดถนนราชดำเนิน เข้าด้านถนนเทศา ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระสังกัจจายณ์ พระร่วงนั่งพิมพ์ฐานสูง พระร่วมนั่งพิมพ์สามเหลี่ยม พระอู่ทองกำแพงพิมพ์ใหญ่ พระนางพญากำแพง พระร่วงนั่งพิมพ์ปีกกว้าง พระเชตุพนพิมพ์ฐานบัว พระอู่ทองกำแพงพิมพ์กลาง และพิมพ์อื่นๆ
เผยแพร่เมื่อ 23-08-2019 ผู้เช้าชม 5,395
วันศุกร์ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 8 พ.ศ. 1900 กษัตริย์องค์ที่ 5 แห่งกรุงสุโขทัย พระมหาธรรมราชาลิไท พระองค์ทรงเสด็จมาสถาปนาพระศรีรัตนมหาธาตุ และทรงปลูกต้นศรีมหาโพธิ์ (วัดพระบรมธาตุปัจจุบัน) การสถาปนาพระธาตุครั้งนั้นมีพระฤาษี (พระธรรมยุทธิ์ปัจจุบัน) มาร่วมในมหาพิธี 11 ตน ฤาษีทั้งปวงซึ่งมีวิชาอาคมแก่กล้าทั้งสิ้น ในจำนวนฤาษี ซึ่งมีฤาษีตาไฟ ฤาษีตาวัว (หลวงตาไฟหลวงตาวัว) เป็นใหญ่จึงปรึกษากันสร้างเครื่องประดิษฐ์ด้วยฤทธิ์ให้มีอนุภาพแก่มนุษย์ทั้งหลายเพื่อสร้างถวายมหากษัตรย์ฯ ทรงเสด็จสถาปนาพระธาตุในมหาพิธี พระฤาษีตาไฟจึงว่าแก่ฤาษีทั้งปวง
เผยแพร่เมื่อ 14-08-2019 ผู้เช้าชม 5,270
ที่ตั้งกรุพระวัดดงหวาย ดูริมถนนกำแพงพรานกระต่าย จากศาลเจ้าพ่อหลักเมืองไปประมาณ 500 เมตร ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระเปิดโลก พระอู่ทองกำแพงพิมพ์ใหญ่ พระอู่ทองกำแพงพิมพ์เล็ก พระนางพญากำแพงพิมพ์กลาง พระนางพญากำแพงเพชรพิมพ์เล็ก พระซุ้มยอพิมพ์ใหญ่-เล็ก พระเชตุพนบัวสองชั้น พระนางพญากำแพงเศียรโตพิมพ์ใหญ่ พระกำแพงคืบ และพิมพ์อื่นๆ
เผยแพร่เมื่อ 20-08-2019 ผู้เช้าชม 3,742
คาถาลานเงินจารึก พบที่วัดพระบรมธาตุ ให้นิมนต์พระ (อาราธนาพระ) ใส่ศีรษะหรือออมใส่ในปาก อันตรายทั้งปวงหายสิ้นแล ถ้าจะเข้าณรงค์สงครามให้เอาพระใส่น้ำมันหอม เสกด้วย "นวหรคุณ" หรือพระเจ้า 16 พระองค์ทั้งคู่คือ "กิริมิทิ กุรุมุกุ กะระมะทะ เกเรเมเท นะมะนะอะ นอกอนอกะกอออนกอะ นะอะกะอัง ให้เสก 3 จบหรือ 7 จบ อานุภาพดังกำแพงล้อมกันภัยทั้งปวง คาถาบทนี้ท่รตีค่าไว้ควรเมือง ถึงข้าศึกจะเป็นหมื่นเป็นแสนให้ภาวนาเดินฝ่าฝูงข้าศึก ข้าศึกจะจังงงหมดสิ้นแล ถ้าเข้าป่าถูกไฟป่าล้อมให้ภาวนาเดินฝ่ากองไฟโดยไม่มีอันตรายแล ถ้าจะค้าขายดีไปทางบกหรือทางเรือก็ดี ให้นมัสการด้วยพาหุงส์ เอาพระสรงน้ำมันหอม เสกด้วยพระพุทธคุณ "อิติปิโส ภกูราติ" 7 จบ ประสิทธิ์แก่คนทั้งหลายแล
เผยแพร่เมื่อ 23-08-2019 ผู้เช้าชม 17,713
ที่ตั้งกรุพระวังพระธาตุ จาก 4 แยกนครชุมกำแพงเพชรไปทิศใต้ตามถนนเอเซีย ประมาณ 14 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายเข้าไปประมาณ 1 กิโลเมตร อยู่ริมน้ำปิง ประเภทพระที่พบ ได้แก่
พระซุ้มกอพิมพ์ใหญ๋ พระลีลากำแพง พระซุ้มยอ พระนางพญากำแพง พระเชตุพน พระกลีบจำปาพิมพ์ใหญ๋ พระท่ามะปราง พระอู่ทองกำแพง พระนางพญาตราตาราง และพิมพ์อื่นๆ
เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 3,475
ที่ตั้งกรุพระวัดทุ่งเศรษฐี อยู่ทิศตะวันตกของป้อมบ้านเศรษฐี ประมาณ 200 เมตร ปัจจุบันที่ตั้งกรุถูกขุดเป็นสระกว้างประมาณ 600 ตารางเมตร ชาวบ้านนิยมเรียกคำว่า "กรุทุ่งเศรษฐี" ก็เห็นจะเป็นนามมงคลของคำว่า "เศรษฐี" กรุพระต่างๆ ที่ชาวบ้านนิยมเรียกใช้นามคำว่า "กรุทุ่งเศรษฐี" ขอสรุปมีกรุดังนี้ กรุวัดทุ่งเศรษฐี กรุหนองลังกา กรุซุ้มกอ กรุเจดีย์กลางทุ่ง กรุตาพุ่ม กรุนาตาคำ กรุตาลดำ กรุคลองไพร กรุบริเวณวัดพระบรมธาุและกรุอื่่นๆ ที่อยู่ในบริเวณลานทุ่ง กรุพระต่างๆ ที่เขียนนี้ สมัยก่อนเป็นบริเวณทุ่งนาของเศรษฐีพิกุล ปัจจุบันชาวบ้านจึงเรียกว่า "กรุทุ่งเศรษฐี"
เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 10,713
พระกำแพงซุ้มกอ จัดเป็นพระที่สุดยอด และเอกของเมืองกำแพงเพชร เป็นพระที่อมตะ ทั้งพุทธศิลป์ และพุทธคุณถูกจัดอยู่ในชุดเบญจภาคีที่สูงสุดของพระเครื่องเมืองไทย พระกำแพงซุ้มกอ เป็นพระที่ทำจากเนื้อดินผสมว่านและเกสรดอกไม้ และทำจากเนื้อชิน ก็มีพุทธลักษณะของพระซุ้มกอนั้นองค์พระประติมากรรม ในสมัยสุโขทัย นั่งสมาธิลายกนกอยู่ด้านข้างขององค์พระนั่งประทับอยู่บนบัวเล็บช้าง ขอบของพิมพ์พระจะโค้งมนลักษณะคล้ายตัว ก.ไก่ คนเก่า ๆ จึงเรียกว่า “พระซุ้มกอ” พระกำแพงซุ้มกอ ที่ค้นพบมีด้วยกัน 5 พิมพ์ ประกอบด้วย พิมพ์ใหญ่ แยกออกเป็น 2 ประเภท คือ มีลายกนกและไม่มีลายกนก พระที่ไม่มีลายกนกส่วนใหญ่มักจะมีสีดำ หรือสีน้ำตาลแก่ซึ่งเรามักจะเรียกว่า “พระกำแพงซุ้มกอดำ” พิมพ์กลาง พิมพ์เล็ก พิมพ์เล็กพัดโบก พิมพ์ขนมเปี๊ย พระกำแพงซุ้มกอ ทั้งมีลายกนกและไม่มีลายกนกเป็นพระที่มีศิลปะของสุโขทัยปนกับศิลปะศรีลังกา โดยเฉพาะไม่มีลายกนกจะเห็นว่าเป็นศิลปะศรีลังกาอย่างเด่นชัด พระกำแพงซุ้มกอ เนื้อขององค์พระ ใช้ดินผสมกับว่านเกสรดอกไม้ จึงทำให้เนื้อของพระซุ้มกอมีลักษณะนุ่มมัน ละเอียดเมื่อนำสาลีหรือผ้ามาเช็ดถูจะเกิดลักษณะมันวาวขึ้นทันที
เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 179,821
พระวิบูลวชิรธรรม นามเดิม สว่าง นามสกุล เจริญศรี นามฉายา อุตตโร นามบิดา ขุนเจริญสวัสดิ์ (เจริญ เจริญศรี) นามมารดา หอม หรือ ก้อนดิน เกิด ณ บ้านน้ำหัก ตำบลท่างิ้ว อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ.2426 ตรงกับวันขึ้น 12 ค่ำ เดือน 7 ปีมะแม เป็นบุตรคนที่ 5 ของขุนเจริญสวัสดิ์ (เจริญ เจริญศรี) แต่เป็นบุตรคนเดียวของคุณแม่หอมหรือก้อนดิน ทั้งนี้เนื่องจากโยมมารดาของท่านเป็นภรรยาคนที่ 2 ของขุนเจริญสวัสดิ์ (เจริญ เจริญศรี) นั่นเอง มีพี่น้องร่วมบิดาเดียวกัน 5 คน ซึ่งถึงแก่กรรมไปหมดแล้วก่อนที่หลวงพ่อจะถึงแก่มรณภาพ
เผยแพร่เมื่อ 28-02-2017 ผู้เช้าชม 11,353
พระปิดตาสี่ทิศ กรุวัดคูยาง จังหวัดกำแพงเพชร สร้างเมื่อปี พ.ศ.2445-2448 โดยพระครูธรรมาธิมุติมุนี (สมภารกลึง) เจ้าอาวาสวัดคูยาง สร้างแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งถวาย รัชกาลที่ 5 ครั้งเมื่อเสด็จประพาสเมืองกำแพงเพชร และอีกส่วนหนึ่งบรรจุพระเจดีย์ยอดปรางค์ เป็นเนื้อดินละเอียดมีคราบรารัก มีว่านดอกมะขามใกล้เคียงพระกรุทุ่งเศรษฐี รูปทรงกลม หลังอูม มีรูปพระปิดตาสี่องค์ (ประจำสี่ทิศ) พระที่ขึ้นกรุนี้มีมากกว่า 30 พิมพ์ ส่วนใหญ่ใช้พระกรุเก่าทุ่งเศรษฐีกดพิมพ์ เช่น พิมพ์ซุ้มกอ นางแขนอ่อน ลีลาเขย่ง ซุ้มยอ เปิดโลกฯลฯ
เผยแพร่เมื่อ 17-01-2020 ผู้เช้าชม 12,306