พระลีลา
เผยแพร่เมื่อ 28-02-2017 ผู้ชม 12,743
[16.4912654, 99.4868829, พระลีลา]
“พระกำแพงลีลาเม็ดขนุน” มีลักษณะคล้ายเม็ดขนุน ซึ่งนักนิยมพระรุ่นเก่ามักเรียกกันว่า “พระกำแพงเขย่ง” พบบริเวณลานทุ่งเศรษฐี แถบ วัดพิกุล วัดบรมธาตุ วัดอาวาสน้อย และบริเวณทั่วๆ ไป มีจำนวนไม่มากนักเมื่อเทียบกับ “พระกำแพงซุ้มกอ” ในสมัยก่อนค่านิยมและสนนราคาเช่าหาจึงสูงกว่าพระกำแพงซุ้มกอมากจนในชั้นแรกได้รับการบรรจุในชุด “เบญจภาคี” ก่อนพระกำแพงซุ้มกอลักษณะของพระลีลาเม็ดขนุนนั้น เป็นพระเนื้อดินผสมว่านและเกสรดอกไม้ ทำจากเนื้อว่านล้วนๆ และเนื้อชิน คล้ายกับพระกำแพงซุ้มกอ องค์พระมีขนาดความสูงประมาณ 4.5 ซม. กว้างประมาณ 1.5 ซม. เป็นพระที่มีพระพุทธศิลปะที่งดงามหมดจดแทบไม่มีที่ติด ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นพระพิมพ์ที่จำลองมาจากพระพุทธรูปปางลีลาในสมัยสุโขทัย ลักษณะการก้าวย่างอ่อนช้อย นุ่มนวล น่าจะเป็นด้วยฝีมือช่างหลวง จะเห็นได้จากการล้อพิมพ์พระกำแพงในยุคต่อๆ มา ศิลปะความงดงามเทียบกันไม่ได้เลย และนี่ก็คือจุดสังเกตประการหนึ่งที่จะนำไปสู่แนวทางการศึกษาได้ว่าเป็นพระกำแพงลีลาเม็ดขนุนแท้หรือไม่ จุดสังเกตประการต่อไปเป็นพุทธลักษณะลีลาก้าวย่าง โดยหันด้านข้างให้เห็น มีขอบซุ้มเป็นเส้นลึกอยู่บริเวณรอบองค์พระ พระประธานจะประทับยืนอยู่ติดผนัง เมื่อพิจารณาดูจะเหมือนกับองค์ท่านลอยออกมาเหมือนก้าวย่างได้ อีกประการหนึ่งคือ ลักษณะการก้าวย่างคล้ายดำเนินไปข้างหน้า มีชายจีวรโบกสะบัดพริ้วไปทางด้านหลัง ส่วนด้านหน้า ผ้าจีวรแนบกับองค์พระจนแทบจะมองไม่เห็นส่วน “พระกำแพงลีลาพลูจีบ” อายุการสร้างประมาณ 600 กว่าปีเท่าๆ กับพระกำแพงซุ้มกอ และพระกำแพงลีลาเม็ดขนุน พบบริเวณวัดบรมธาตุ วัดพิกุล และบริเวณทั่วๆ ไปของลานทุ่งเศรษฐี แต่มีจำนวนน้อยมากแทบนับองค์ได้ เรียกว่าแต่ก่อนเป็นพระที่มีสนนราคาสูงที่สุดของพระทั้งหมดในกำแพงเพชรทีเดียว2ลักษณะเป็นพระเนื้อดินผสมว่านและเกสรดอกไม้ เนื้อว่านล้วนๆ มีหน้าทองปิด และเนื้อชิน องค์พระขนาดพอๆ กับพระกำแพงลีลาเม็ดขนุน มีพระพุทธศิลปะของพระปางลีลาสมัยสุโขทัยที่งดงามมากยากจะหาองค์ใดเปรียบได้ พุทธลักษณะองค์พระประธานแสดงปางลีลา ก้าวย่างไปข้างหน้าหันด้านข้างออกคล้ายพระกำแพงลีลาเม็ดขนุน แต่องค์พระจะผอมและตื้นกว่า ผ้าจีวรจะอยู่ด้านหลังองค์พระ ส่วนด้านหน้าเหมือนนุ่งกางเกงขาก๊วย พระบาทเหมือนกับใส่รองเท้าส้นสูง จนคนในวงการรุ่นเก่าๆ มักพูดกันเชิงล้อเล่นว่า “จริงๆ แล้ว รองเท้าส้นสูงมีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยแล้ว ดังจะเห็นได้จากพระพุทธลักษณะของพระกำแพงลีลาพลูจีบ”“พระกำแพงลีลาพลูจีบ” จะมีสัณฐานคล้ายการจีบพลูของคนโบราณ คนในวงการรุ่นเก่ามีคำกล่าวว่า “พุทธลักษณะของพระกำแพงลีลาเม็ดขนุนก้าวย่างไปข้างหน้า ส่วนพระกำแพงลีลาพลูจีบท่านกำลังจะเหาะ” ซึ่งพุทธลักษณะทั้งสองอย่างนี้ต้องยกย่องว่าเป็นยอดแห่งศิลปะ ซึ่งในยุคต่อๆ มากระทั่งถึงปัจจุบันจะหาผู้สร้างทัดเทียบได้ยากหรือแทบไม่มีเลยนอกจากพระพุทธลักษณะที่งดงามสุดยอดแล้ว พุทธคุณก็ยังเป็นเลิศครบครันอีกด้วย ทั้งเมตตา ค้าขาย และแคล้วคลาด มีเรื่องเล่าขานต่อๆ กันมา ว่าแม้องค์พระจะชำรุดเหลือเพียงครึ่งองค์ หรือแค่เพียงส่วนพระบาทหายไป ยังแคล้วคลาดจากการถูกโจรยิงมาแล้วเป็นที่ปรากฏ
ภาพโดย : https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=656&code_db=DB0003&code_type=P005
คำสำคัญ : พระเครื่องเมืองกำแพงเพชร
ที่มา : สมาคมกีฬาจังหวัดกำแพงเพชร. (2549). พระกรุเมืองกำแพง มรดกประวัติศาสตร์กำแพงเพชร. กำแพงเพชร: สมาคมกีฬาจังหวัดกำแพงเพชร.
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). พระลีลา. สืบค้น 30 พฤศจิกายน 2566, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=209&code_db=610005&code_type=01
Google search
พระลีลาเม็ดขนุน พิมพ์ลีลากำแพงเพชร กรุฤาษี ลานทุ่งเศรษฐี จังหวัดกำแพงเพชรโอกาสนี้ผมจะขอนำพระลีลาเม็ ดขนุน 2 องค์มาให้แฟนเพจได้พิจารณาเ ปรียบเทียบ เพราะมีความสวยงาม คม ชัดพอๆกัน และมีตำหนิแม่พิมพ์ที่เหมือ นกัน ก่อนที่จะกล่าวถึงเรื่องพุท ธศิลป์ของพระลีลาเม็ดขนุน ผมจะขอบรรยายเกี่ยวกับการพิ จารณาพระแท้เสียก่อน เพราะเป็นประเด็นแรกของการด ูพระลีลาเม็ดขนุน จังหวัดกำแพงเพช
เผยแพร่เมื่อ 21-02-2017 ผู้เช้าชม 24,592
พระซุ้มกอ พิมพ์กลางขึ้นมาจากหลายกรุในบริเวณทุ่งเศรษฐี แม้ว่าแต่ละกรกุจะมีรายละเอียดทางพิมพ์ที่แตกต่างกันออกไปบ้างแต่หลักการพิจารณาก็คล้ายๆกันกับการพิจารณาพระกำแพงซุ้มกอพิมพ์ใหญ่ คือ จำเป็นจะต้องพิจารณาลักษณะโดยรวม เนื้อหา และธรรมชาติ เนื่องจากแต่และกรุมีรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆที่แตกต่างกันออกไป จะยึดถือจุดสังเกตตรงนั้นตรงนี้เป็นจุดตายตัวย่อมจะไม่น่าจะถูกต้องนัก ต้องสังเกตลักษณะโดยรวม ลักษณะโดยรวมที่ว่านี้หมายถึงลักษณะของฝีมือช่าง ซึ่งประกอบด้วยลักษณะองค์พระ ลายกนก ลวดลายโพธิ์บัลลังค์ เป็นต้น พุทธศิลปะจะต้องเป็นไปในแนวทางเดียวกัน ส่วนทางเนื้อหานั้นเช่นเดียวกันกับการพิจารณาพระซุ้มกอพิมพ์ใหญ่ และพระกำแพงชั้นสูงทั่วไป กล่าวคือต้องมีลักษณะนุ่ม ละเอียด มีจุดแดงเล็ก ๆ ในเนื้อเป็นบางแห่ง คราบรารักที่จะมีบ้างไม่มากก็น้อยขึ้นกับสภาพของกรุ ที่สำคัญที่สุดต้องพิจารณาธรรมชาติให้ดี การยุบตัวด้านหลังที่เป็นคลื่น ไม่ราบเรียบตึง เพราะการเซทตัวของเนื้อพระ ด้านขอบข้างจะเห็นว่ามีการตัดด้วยวัตถุบางอย่างทุกองค์
เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 35,009
ที่ตั้งกรุพระวัดอาวาสน้อย เข้าทางตรงข้ามกรุอาวาสใหญ่ไปประมาณ 800 เมตร ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระฝักดาบ พระลีลากำแพง พระเชยคางข้างเม็ดพิมพ์กลาง พระประธานพร พระท่ามะปราง พระนางพญาพิมพ์ใหญ่ พระเปิดโลก พระกำแพงขาโต๊ะ พระกำแพงฐานสำเภา พระกำแพงคืบ พระลีลากำแพง พระลีลาพิมพ์ใหญ่-กลาง พระประธานพร พระกำแพงขาวพิมพ์กลาง พระยอดขุนพล พระนางพญาพิมพ์สดุ้งมาร พระซุ้มยอ พระกำแพงขาโต๊ะ พระกำแพงพิมพ์รัศมี พระกำแพงห้าร้อย และพิมพ์อื่นๆ
เผยแพร่เมื่อ 20-08-2019 ผู้เช้าชม 3,727
ย้อนกลับไปในสมัยสุโขทัย ราวปี พ.ศ. 1800 พญาเลอไทยได้บูรณะเมืองชากังราวและยกฐานะขึ้นเป็นเมืองลูกหลวงเช่นเดียวกับเมืองศรีสัชนาลัย และโปรดเกล้า ฯ ให้พระราชโอรสพระองค์หนึ่งมาครองเมือง ครั้นเมื่อพระเจ้าอู่ทองทรงตั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีของอาณาจักรทางใต้ ล่วงมาถึงรัชสมัยของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว) พระองค์ยกทัพมาตีสุโขทัย ผลของสงครามทำให้สุโขทัยถูกแบ่งออกเป็นสองส่วน คือ ดินแดนทางริมฝั่งแม่น้ำปิงส่วนหนึ่ง และดินแดนทางริมฝั่งแม่น้ำยมและแม่น้ำน่านอีกส่วนหนึ่ง ทางด้านแม่น้ำปิงได้รวมเมืองชากังราว และเมืองนครชุมเข้าเป็นเมืองเดียวกัน แล้วเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “เมืองกำแพงเพชร” ยกฐานะขึ้นเป็นเมืองราชธานีปกครองดินแดนทางลุ่มแม่น้ำปิงในย่านนี้ ส่วนทางลุ่มแม่น้ำยมและแม่น้ำน่าน ให้เมืองพิษณุโลกเป็นราชธานี โปรดเกล้าฯ ให้พญาไสลือไทย หรือพระมหาธรรมราชาที่ 2 เป็นเจ้าเมือง ล่วงมาถึงรัชสมัยพระบรมราชาธิราชที่ 2 หรือเจ้าสามพระยา การแบ่งเขตการปกครองออกเป็นสองส่วนดังกล่าว มีเรื่องไม่สงบเกิดขึ้นเสมอ ดังนั้น จึงรวมเขตการปกครองทั้งสองเข้าด้วยกัน โดยยุบเมืองกำแพงเพชรจากฐานะเดิมแล้วให้ทุกเมืองขึ้นต่อเมืองพิษณุโลกเพียงแห่งเดียว
เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 2,848
พระอธิการกลึง วัดคูยาง กำแพงเพชร ได้รวบรวม พระเครื่องของกรุกำแพงเพชรที่แตกหัก ที่ได้ค้นพบจากการรื้อสร้างบูรณะพระเจดีย์ทั้งสามองค์ของวัดพระบรมธาตุ นำมาป่นแล้วกดพิมพ์ขึ้นใหม่ โดยมักจะล้อพิมพ์พระดังๆ
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 3,513
พระกำแพงสามขา วัดเสด็จ เป็นพระที่พบเจอครั้งแรก ในปี 2549 โดยพบใต้ฐานพระประธานในอุโบสถ เป็นพระเนื้อโลหะ ลักษณะคล้ายพระสกุลช่างดังที่ได้กล่าวข้างต้น แต่ไม่สามารถสืบทราบ ปี พศ. ที่ได้จัดสร้าง ไม่มีข้อมูลผู้สร้างพระ มีเพียงข้อสันนิษฐานว่ามีการสร้างตั้งแต่ก่อนมีวัดเสด็จ เพราะการ ขุดพบนั้น ได้ขุดพบบริเวณใต้ฐานพระประธาน นั่นหมายถึง มีการสร้างก่อนที่รัชกาลที่ 5 เสด็จพระพาสต้น และศิลปะเป็นแบบสุโขทัย ซึ่งเป็นพระเนื้อสัมฤทธิ์ มีฐานคล้ายขาโต๊ะ เป็น 3 ขา จึงสันนิษฐานได้ว่าเป็นศิลปะแบบเดียวกันกับพระสกุลช่าง กำแพงเพชร แต่พระที่วัดเสด็จไม่ได้มีการจัดแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกำแพงเพชร ในปัจจุบัน
เผยแพร่เมื่อ 27-06-2022 ผู้เช้าชม 4,572
ที่ตั้งกรุพระวัดทุ่งเศรษฐี อยู่ทิศตะวันตกของป้อมบ้านเศรษฐี ประมาณ 200 เมตร ปัจจุบันที่ตั้งกรุถูกขุดเป็นสระกว้างประมาณ 600 ตารางเมตร ชาวบ้านนิยมเรียกคำว่า "กรุทุ่งเศรษฐี" ก็เห็นจะเป็นนามมงคลของคำว่า "เศรษฐี" กรุพระต่างๆ ที่ชาวบ้านนิยมเรียกใช้นามคำว่า "กรุทุ่งเศรษฐี" ขอสรุปมีกรุดังนี้ กรุวัดทุ่งเศรษฐี กรุหนองลังกา กรุซุ้มกอ กรุเจดีย์กลางทุ่ง กรุตาพุ่ม กรุนาตาคำ กรุตาลดำ กรุคลองไพร กรุบริเวณวัดพระบรมธาุและกรุอื่่นๆ ที่อยู่ในบริเวณลานทุ่ง กรุพระต่างๆ ที่เขียนนี้ สมัยก่อนเป็นบริเวณทุ่งนาของเศรษฐีพิกุล ปัจจุบันชาวบ้านจึงเรียกว่า "กรุทุ่งเศรษฐี"
เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 7,048
จากบริเวณหน้าที่ว่าการอำเภอเมืองกำแพงเพชร ใช้ทางหลวงหมายเลข 101 มุ่งหน้าทางทิศตะวันตกสู่ตำบลนครชุม ประมาณ 850 เมตร จะพบทางแยกเข้าซอยทางด้านซ้ายมือบริเวณตรงข้ามสถานีขนส่งจังหวัดกำแพงเพชร วัดหนองลังกาอยู่ลึกเข้าไปในซอยประมาณ 540 เมตร ที่ตั้งกรุพระวัดหนองลังกา อยู่ทิศตะวันออกของกรุวัดหนองพิกุล ประมาณ 200 เมตร ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระซุ้มกอกนกพิมพ์ใหญ่ พระซุ้มกอพิมพ์เล็ก พระนางพญากำแพง พระซุ้มกอพิมพ์กลาง พระนางพญากำแพงพิมพ์ใหญ่ พระกลีบบัว และพิมพ์อื่นๆ
เผยแพร่เมื่อ 19-08-2019 ผู้เช้าชม 2,555
พระปิดตาสี่ทิศ กรุวัดคูยาง จังหวัดกำแพงเพชร สร้างเมื่อปี พ.ศ.2445-2448 โดยพระครูธรรมาธิมุติมุนี (สมภารกลึง) เจ้าอาวาสวัดคูยาง สร้างแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งถวาย รัชกาลที่ 5 ครั้งเมื่อเสด็จประพาสเมืองกำแพงเพชร และอีกส่วนหนึ่งบรรจุพระเจดีย์ยอดปรางค์ เป็นเนื้อดินละเอียดมีคราบรารัก มีว่านดอกมะขามใกล้เคียงพระกรุทุ่งเศรษฐี รูปทรงกลม หลังอูม มีรูปพระปิดตาสี่องค์ (ประจำสี่ทิศ) พระที่ขึ้นกรุนี้มีมากกว่า 30 พิมพ์ ส่วนใหญ่ใช้พระกรุเก่าทุ่งเศรษฐีกดพิมพ์ เช่น พิมพ์ซุ้มกอ นางแขนอ่อน ลีลาเขย่ง ซุ้มยอ เปิดโลกฯลฯ
เผยแพร่เมื่อ 17-01-2020 ผู้เช้าชม 9,330
พระกำแพงพลูจีบ เป็นพระที่มีพุทธลักษณะลีลาก้าวย่างไปข้างหน้า แต่หันด้านข้างออก เป็นพระที่คล้ายคลึงกับพระกำแพงเม็ดขนุน ผิดกันตรงที่องค์พระผอมกว่า และตื้นกว่าพระกำแพงพลูจีบ เป็นพระที่มีการสร้างประมาณ ๖๐๐ กว่าปีเท่า ๆ กับพระกำแพงซุ้มกอ และพระเม็ดขนุนวัสดุในการใช้สร้าง ประกอบด้วยเนื้อดินผสมว่านเกสร เนื้อว่านล้วน ๆ มีหน้าทองปิด และเนื้อชิน
เผยแพร่เมื่อ 21-02-2017 ผู้เช้าชม 3,577