เนื้อดินของพระเมืองกำแพงเพชร
เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้ชม 25,616
[16.4821705, 99.5081905, เนื้อดินของพระเมืองกำแพงเพชร]
1. การสร้างพระเนื้อดิน วัสดุที่ผสมส่วนใหญ่คือดิน ดินของแต่ละแห่งก็ใช่ว่าจะเหมือนกัน แร่ธาตุที่อยู่ในดินเมื่อเผาแล้วจะเกิดเนื้อพระสวยงามแตกต่างกัน เนื้อดินกำแพงเพชรได้เปรียบหรือเผาแล้วมีสีสันสวยงามน่าใช้วงการนิยมว่าดูง่ายแยกง่าย
2. การผสมเนื้อพระ สิ่งที่ขาดไม่ได้คือพืชว่าน การผสมพืชว่านมากหรือน้อยอาจจะเกิดจากสัดส่วนที่โบราณาจารย์ได้กำหนดไว้หรือขึ้นอยู่กับการหาพืชว่านยากหรือง่าย การผสมว่านเข้ากับดินทำให้เกิดสภาพเนื้อแตกต่างกับการเผาดินธรรมดา เนื้อพระกำแพงจึงนุ่มตามากกว่าเนื้อพระแห่งอื่นๆ อย่างไรก็ตาม การเผาเนื้อพระบางแห่งอาจจะมีสูตรผสมใกล้เคียง หรือเอาตำราไปเรียนแบบความแตกต่างอาจจะน้อย ถึงอย่างไรก็ดีถ้าได้ติดตามพระกำแพงบ่อยๆ เนื้อดินของแต่ละแห่งอาจจะใช้เป็นข้อแยกพระแต่ละจังหวัดได้
3. การเผา เป็นอีกส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดเนื้อที่แตกต่างกัน เนื้อพระกำแพงใช้ความร้อนปานกลางและอ่อน จะเห็นได้ว่าเนื้อในของพระกำแพงอยู่ในลักษณะของเนื้อละเอียดอัดแน่นเข้าตำราว่าเนื้อผงจะหาเนื้อละลายยาก มีพระเพียงไม่กี่แบบทีใช้ไฟแรงจนเนื้อละลาย การเผาไฟอ่อนเกินไปทำให้เนื้อที่ยึดไม่แน่นเมื่อนำออกจากกรุ จะต้องระวังให้มาก บางองค์จะเห็นรอยระแหงเหี่ยวย่น คล้ายเอาเนื้อดินปนว่านดิบๆทำแล้วตาก ระหว่างเนื้อผิวแห้งหดตัวเนื้อในยังแห้งไม่ทันน้ำในเนื้อจะดันผิวที่แห้งก่อนจนกลายเป็นรอยระแหง รอยระแหงนี้จะพบในเนื้อพระสีดำบ่อยๆ
4. ความโทรมของเนื้อพระกำแพง โดยเฉพาะเนื้อชั้นหนึ่งของทุ่งเศรษฐี ซึ่งเผาไฟปานกลางและไฟอ่อน เนื้อพระจะโทรมมากเพราะเนื้อรอบกรุและดินละลายแทรกซึมเข้าเนื้อดินละลายเข้าแทรกในเนื้อจะทำให้เกิดความเก่าทะลุเนื้อไม่ใช่เกาะเคลือบอยู่เฉยๆแม้จะพยายามล้างสักเท่าไรก็ตาม ดินที่เข้าแทรกปนอยู่ในเนื้อจะปรากฏอยู่เสมอ สำหรับเนื้อพระสีดำเมื่อดินแทรกในเนื้อ เนื้อจะกลายเป็นสีกะลาหรือเขาควาย ไม่ดำสนิท ส่วนองค์ที่ดินขี้กรุค่อนขางแดงแทรกเข้าเนื้อดำจะทำให้เกิดสีเขียวค้ำแบบยาเขียว ไม่ใช่เขียวหินปูนหรือหินครก พระสีเขียวสีหินทำครกจะต้องเป็นพระเผาไฟแรงร้อนจัดเช่นพระเม็ดขนุนเป็นต้น
5. เนื่องจากพระกำแพงไม่แกร่งมาก น้ำและดินสามารถแทรกเข้าได้เวลาที่ฝังดินอยู่นาน เนื้อพระกับดินจะกลายเป็นเนื้อเดียวกัน ตอนออกจากกรุต้องระวังให้มาก การล้างแรงๆจะทำให้ผิวของพระติดดินออกมาด้วย แต่การทีจะปล่อยให้ขี้กรุพอกหนาก็มองผิวพระไม่เห็นวงการไม่นิยม เพราะเกรงว่าพระจะชำรุดซ่อมเอาไว้ พระเนื้อเหลืองนวลหรือเหลืองปนแดง เนื้อพระจะแกร่งหน่อย เมื่อตอนออกจากกรุใหม่ๆไม่ควรจะล้างน้ำทันที เพราะจะทำให้ผิวพระอ่อนจะกลายเป็นดินตามสภาพเดิมหลุดออกได้ง่ายทิ้งไว้ให้แห้ง เนื้อดินเผาจะแข็งกว่าดินดิบตามธรรมซาติ ในตอนนั้นเราจะสามารถค่อยๆเอาดินดิบที่ไม่ฝังเนื้อแยกออกจากผิวพระได้ จะเรียบร้อยแค่ไหนก็แล้วแต่ฝีมือ
6. สภาพของผิว ถ้าเป็นพระเนื้อเหลืองนวลหรือนวลแดง เมื่อล้างดินดิบออกเหลือแต่ดินฝังเนื้อแล้ว ผิวส่วนมากจะย่นแบบหนังไก่ ผิวพระที่ดินดิบออกหมดแล้วเหลือแต่ดินฝังเนื้อ จะเห็นเนื้อพระมีมวลสารสีต่างๆทั้งนี้เนื่องจากเนื้อพระมีแร่ผสมตามธรรมซาติประการหนึ่ง เนื้อที่เอาพืชว่านผสมอีกประการหนึ่ง การเผาซึ่งแร่บางอย่างเปลี่ยนสภาพเปลี่ยนสีไปเพราะความร้อนบันดาลให้เป็นเอกลักษณ์ในแบบต่างๆกัน ให้สีต่างกันไปสีดินซึ่งปกติเป็นสีเทาแบบดินเหนียว ก็กลายเป็นสีดำสีนวล สีนวลปนเหลือง สีนวลปนแดง สีเขียวหม่นฯลฯ สุดท้ายแต่ว่าพระองค์ไดได้รับความร้อนมากและน้อยในระหว่างเผาหรือเอกลักษณ์ของเนื้อตามส่วนผสม
ท่านที่เคยอ่านหนังสือว่าเนื้อทุ่งต้องละเอียด นั้นต้องเข้าใจคำว่าละเอียด ให้ดีสมัยก่อนนักเล่นพระดูพระด้วยตาธรรมดา จะเห็นผิวพระกำแพงหนึกนุ่ม จึงเขียนไว้ว่าผิวพระกำแพงต้องละเอียดหนึกนุ่ม ผิวแก่ว่าน สมัยนี้นักเล่นพระใช้กล้องขยาย 10 เท่าขยายดู จะเห็นมวลสารหรือวัสดุผสมซึ่งวงการเรียกว่าเนื้อแก่ว่าน ลักษณะผิวย่นคล้ายหนังไก่ เนื้อนี้ถ้าไม่พิจารณาให้ลึกซึ้งจะตีความว่าเป็นเนื้อหยาบ พระบางองค์อาจจะมีกรวดปนอยู่ด้วย การศึกษาเนื้อแท้จึงเป็นบทเรียนที่ดี ดีกว่าการอ่านหนังสือแล้วผ่านเป็นไหนๆโปรดละวังเนื้อละเอียดยิบ ผิวเรียบเป็นมันปลาบ เนื้อจานเสียงเขาก็ว่ามีบทบาทมาเป็นเนื้อกำแพงกันแล้ว และมีวิธีอื่นๆที่ข้าพเจ้าไม่ได้เรียนรู้ เพราะเจ้าของปกปิดจึงไม่สามารถเล่าแจ้งแถลงไขถึงวิธีปลอมแปลงพระให้ทราบได้ เท่าที่เรียนมายืดยาวนี้เพื่อจะแจ้งให้ทราบว่าพระกำแพง แพงเพราะเนื้อพระมีค่าสูง เปรียบเสมือนทองคำธรรมซาติ จะเป็นรูปก้อนหรือรูปพรรณก็มีค่าทั้งสิ้น การที่ท่านกล่าวว่า พระกำแพงองค์นั้นองค์นี้ไม่สวยสักหน่อยราคาทำไมสูงนัก ก็ขอให้เข้าใจว่า ค่าของพระองค์นั้นๆจะสูงที่เนื้อพระก็เป็นได้
7.กรุตาพุ่มที่ขุดได้ครั้งสุดท้ายนี้อยู่ลึกมาก ฝังดินมานานกว่าพระทีออกก่อนเนื้อพระจึงโทรมมากกว่า ราดำเกาะมากกว่าหนากว่า รอให้แห้งแล้วเอาสำลีแตะเบาๆมองดูด้วยตาเปล่าท่านจะเห็นว่า ผิวหนึกนุ่มแบบแก่ว่าน ถือเป็นเนื้อครูได้เป็นอย่างดีถึงอย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะแพงสักหน่อย เราก็สามารถมั่นใจได้ว่า พระเนื้อนี้ผิวเป็นอย่างนี้ออกจากกรุตาพุ่มแน่ และเป็นเนื้อมาตรฐานของทุ่งเศรษฐีเนื้อพิเศษชั้นหนึ่ง ศึกษาให้ดีหนีการต้มตุ๋นได้ ส่วนพุทธคุณนั้นถ้าเราเชื่อว่าพระทุ่งเศรษฐีนั้นดีเลิศก็เท่ากับว่าเรามีพระที่ดีเลิศติดตัวแล้ว ปัญหาเกี่ยวกับพระเนื้อดินนั้นเป็นปัญหาใหญ่สำหรับวงการพระเครื่อง เพราะในวงการหาผู้ที่มีอาชีพทางทำเครื่องปั้นดินเผายากจะมีอยู่บ้างแทนที่จะเป็นประโยชน์ต่อวงการแต่กลับเป็นโทษ ส่วนมากมักจะเป็นนักปลอมพระพวกนี้มีประสบการณ์ดีแต่ปกปิดหากินเพาะตัว เป็นปลิงในวงการพระเครื่อง เนื้อดินเผานั้นแยกออกได้มากมายหลายประเภท การศึกษาเนื้อดินเผาที่สร้างพระนั้นจึงใช้การสันนิษฐานและหาเหตุผลประกอบนั้นเป็นส่วนมาก
การศึกษาเนื้อพระควรศึกษาเพาะจังหวัด นอกจากนี้การฝังดินนานมากและน้อยแตกต่างกัน พื้นดินที่ฝังแตกต่างกัน ที่อยู่ของพระแตกต่างกัน เช่นอยู่ใต้เจดีย์และยอดเจดีย์ อยู่ในโอ่ง ในไห หรือผอบหรือวางกองไว้เฉยๆ การที่จะแนะนำให้ท่านศึกษาจึงควรศึกษาแนวกว้างๆเมื่อท่านต้องการศึกษาพระแบบใดก็หาเหตุผลสันนิษฐานเอาเอง ดูพระแท้บ่อยๆ ก็เกิดความชำนาญขึ้นทีละน้อยโดยตนเอง ไม่รู้ตัวด้วยซ้ำไป การจำแนกเนื้อพระโดยกว้างๆควรอาศัยเหตุผลดังนี้
1. เนื้อดินละเอียด ดินละเอียดอาจจะอาศัยชั้นของดินมากกว่าจะใช้วิธีบดให้ละเอียดดินผิวส่วนมากหยาบดินละเอียดจึงเป็นดินที่ลึกจากพื้นผิว จะลึกมากหรือน้อยแล้วแต่ท้องถิ่น การคัดดินละเอียดหรือหยาบต้องอาศัยความรู้ความชำนาญ การใช้ผ้ากรองดินเป็นอีกวิธีหนึ่ง ที่สามารถคัดดินหยาบออกมาได้ แต่จะต้องเป็นงานน้อยหรือถ้าเป็นงานใหญ่ก็ต้องมีเครื่องมือใหญ่ การเผาดินเพื่อให้กลายเป็นดินเผา ถ้าดินละเอียดเนื้อจะละเอียดแต่กระด้าง อาจจะรักษารูปรอยที่สร้างไว้ได้ดี แต่เนื้อแบบนี้ด้อยค่าในด้านคุณสมบัติของเนื้อพระ ถ้าใช้ความร้อนสูงเนื้อผิวละลายกลายเป็นเปลือกหรือผิวคล้ายเคลือบ อาจมีรอยระแหงเนื่องจากการขยายตัวหรือหดตัวของดินไม่เสมอกัน
2. เนื้อดินหยาบ ดินหยาบส่วนมากเป็นดินผิว ซึ่งเป็นดินเพิ่งแปรสภาพจากพืชกลายเป็นดินหรือสิ่งที่เหลือใช้กลายเป็นดิน ดินหยาบจึงไม่เป็นที่นิยมในการทำครื่องปั้นดินเผานัก แต่ดินหยาบก็มีประโยชน์เช่นกัน เช่นอิฐก่อสร้างบ้าน อิฐต้องการให้น้ำซีเมนต์ซึมเข้าเนื้อได้สะดวกเพื่อใช้น้ำซีเมนต์ยึดอิฐต่อๆกันไปจนกลายเป็นผนังฝาบ้านมีความแข็งแกร่งเหมือนยกอิฐทั้งแผ่นทำฝาบ้าน การเผาจะใช้ไฟปานกลางเพื่อมิให้ดินละลายกลายเป็นสิ่งกั้นน้ำ เนื้อดินแบบนี้ไม่นิยมทำเป็นเนื้อพระ
3. เนื้อดินสร้างพระ ดินสำหรับสร้างพระจะต้องเป็นดินที่มีส่วนผสมสิ่งศักดิ์สิทธิ์มีอิทธิฤทธิ์ในด้านไสยศาสตร์ เช่นจากพืชที่มีชื่อมงคลหรือว่านที่มีประสิทธิภาพพิเศษหรือกรวดแร่ที่เชื่อว่าศักดิ์สิทธิ์ เนื้อดินที่สร้างพระจะต้องมีตำราระบุไว้แตกต่างกันในด้านประสิทธิภาพหลายแขนง
3.1. เนื้อดินสร้างพระละเอียด หมายถึงการนำดินละเอียดมาผสมกับพืชและแร่ที่ตำรากำหนดฉะนั้นการดูเนื้อพระว่าละเอียดหรือหยาบให้ดูเนื้อดินเป็นหลัก ส่วนพืชหรือแร่ที่นำมาผสมนั้นถือว่าเป็นสิ่งแปลกปลอมมาต่างหาก
3.2. เนื้อดินสร้างพระละเอียด หมายถึงการนำดินหยาบมาผสมสร้างพระ ไม่คำนึงถึงส่วนผสมอื่นที่นำมารวม การนำพืชก็ดี นำแร่หรือกรวดก็ดีมารวมสร้างทำให้เกิดเนื้อดินเผาที่แปลกกว่าดินเผาธรรมดาโดยไม่คำนึงว่าควรจะให้น้ำซึมหรือไม่ พระแต่ละกรุต่างเผาในวิธีการที่แตกต่างกัน
การนำพืชผสมกับดินมาก ทำให้เกิดที่ว่างในเนื้อมากพืชไหม้กลายเป็นเถ้าจึงเกิดช่องว่างดินมีแร่ผสมอยู่ เมื่อแร่ได้รับความร้อนสูงจะละลายไหลในช่องว่างที่พืชทิ้งไว้ แร่จะผสมกับเถ้าของพืชกลายเป็นเนื้อที่มีสีสันแปลกตาไป แร่ในดินเมื่อได้รับความร้อนจะเปลี่ยนสีไปด้วยเนื้อพระที่ได้รับความนิยมสูงส่วนมาก เนื้อมีสีสันสลับ พระแบบใดที่ใช้ความร้อนต่ำ พืชอาจกลายสภาพจากพืชสดเป็นถ่าน สีจึงดำหรือสีน้ำตาลไหม้ เนื้อที่ผสมพืชมากผิวจะย่นมากเหมือนผิวส้ม ทั้งนี้เพราะหลุมที่พืชทิ้งไว้จะมีดินขี้กรุอยู่ประการหนึ่งหรือดินละลายไหลเข้าแทนที่อีกอย่างหนึ่ง การมีช่องว่างทำให้เกิดผิวสูงต่ำ ผิวจึงย่น ผิวแบบนี้วงการนิยม เรียกว่าผิวแก่ว่าน ถ้าใช้กล้องขยาย 10 เท่าจะดูคล้ายเนื้อหยาบ พระผิวว่านสมัยก่อนเมื่อดูพระด้วยตาเปล่าได้รับความนิยมมาก ฉะนั้นการดูพระด้วยกล้องขยายควรจะมีหลักเกณฑ์ในการดู เนื้อที่ผสมแร่กรวด แร่หรือกรวดอาจจะไม่ละลายเมื่อใช้ความร้อนต่ำอย่าทึกทักว่าเนื้อพระหยาบ ความจริงเนื้อดินละเอียด แต่มีส่วนผสมอื่นทำให้เห็นว่าหยาบ การตัดสินจึงควรมีเหตุผลดังที่กล่าวมาแล้ว พระกรุตาพุ่มเป็นเนื้อที่ผสมพืชว่านสูงฝังดินลึก อยู่ในกรุมานานกว่ากรุเก่า จึงมีสภาพโทรมมาก ความชัดเจนน้อยกว่า แต่คุณภาพของพระเข้าทำนอง รูปชั่วตัวดำน้ำใจดี ความสวยของพระเป็นจุดนิยมสูง สำหรับนักพระเครื่องสมัยนี้แต่ควรจะถือหลักว่า ถ้าเป็นทองกับทอง ทองรูปพรรณอาจมีค่าสูงกว่าทองคำแท่ง แต่ถ้าตะกั่วรูปสวยหรือจะเทียบกับทองได้ จึงขอเตือนว่าอย่าเพิ่งโยนพระที่ไม่สวยทิ้งจนกว่าจะทราบว่า พระองค์นั้นมิใช่พระเนื้อทอง พระกรุตาพุ่ม พระเนื้อทอง ที่ยังคงเหลืออยู่สำหรับอนุชนรุ่นหลัง มีค่าทางด้านคุณภาพ มีค่าในการศึกษาเนื้อพระสกุลทุ่งเศรษฐีแท้ชั้นหนึ่ง จึงรีบควรหาไว้ถ้ามีโอกาส
1. เนื้อแกร่ง หมายถึงพระเนื้อละเอียด เผาด้วยความร้อนสูง พระส่วนมากจะเป็นเนื้อสีเหลืองนวล แบบผิวไม้รวกแห้ง บางองค์เนื้อละลายกลายเป็นเนื้อเขียวหินครกก็มี เท่าที่พบ พระแบบนี้ส่วนมากคือ พระกำแพงเม็ดขนุน พระในกรุทุ่งเศรษฐีบางชนิดเนื้อแกร่งแบบนี้ก็มี แต่พบไม่มากนัก
2. เนื้อว่านจัด หมายถึงพระเนื้อละเอียดผสมพืชว่าน ตอนเผาไฟใช้ไม่สูงนักความร้อนทำให้วัสดุผสมในเนื้อพระแปรสภาพกลายเป็นสีแดง ซึ่งมีบางคนเรียกว่าว่านดอกมะขาม ถ้าเผาไฟร้อนสูงขึ้นแทนที่วัสดุนั้นจะแดงขึ้นเรื่อยๆกลับจะละลายเปลี่ยนสีผสมกลายเป็นเนื้อพระไปเลย
3. เนื้อผงดินเผา ข้าพเจ้าเชื่อว่าการผสมเนื้อพระอาจจะลอกเลียนแบบกันมาแต่ความอยากดีอยากเด่นกว่าคนอื่นของมนุษย์ทำให้นักสร้างพระไม่อยากจะทำตามคนอื่น คนอื่นเผาให้กลายเป็นเนื้อกระเบื้อง ผู้ที่อยากจะสร้างเป็นเอกลักษณ์เฉพาะคนก็เผาไฟอ่อน ให้ว่านเกรียมเป็นถ่านเท่านั้นโดยให้เหตุผลว่า ต้องการคุณสมบัติของว่านเหลือไว้ให้มาก การใช้ความร้อนลดลงพอที่จะทำให้เนื้อยึดได้พอสมควรเท่านั้นไม่แข็งแกร่งมาก พระเนื้อดินเผาจึงมีสีน้ำตาลไหม้หรือสีดำ ถ้าท่านลองเอาพืชมาเผาเมื่อพืชร้อนมากจะเริ่มกลายเป็นสีน้ำตาลก่อน แล้วค่อยกลายเป็นสีดำ เรียกว่าถ่าน เมื่อความร้อนสูงขึ้นแล้วหยุดเพียงแค่นนั้น พระสีดำและสีน้ำตาลไหม้ ไม่ค่อยมีใครกล้าเล่น เพราะสีทั้งสองแบบทึบและดูยากดูให้เห็นเนื้อในไม่ได้และอาจจะปลอมง่ายใครๆจึงกลัวกันนัก แต่ถ้าท่านไม่เล่นพระเนื้อผงเผา ท่านอาจจะหาพระเครื่องเนื้ออื่นได้ยากเพราะ พระเนื้อผงเผามีจำนวนมากกว่าครึ่งของพระเนื้อสีอื่นรวมกันเสียอีก
4. เนื้อกระเบื้อง เนื้อนี้สันนิษฐานว่าถูกความร้อนมาก เนื้อย่นจนบางท่านดูว่าเนื้อหยาบ ความจริงถ้าพืชว่านมาก เมื่อพืชว่านกลายเป็นเถ้าทิ้งเนื้อไว้มาก เนื้อดินและโลหะก็จะละลายเข้าแทนที่ ทำให้ขนาดพระย่อมลงไปมากจนเห็นถนัดตา พระเนื้อนี้ไม่เหมือนเนื้อแกร่งเหมือนที่กล่าวมาในข้อ 1 แต่ไม่ทราบว่าจะกล่าวแยกอย่างไรจึงจะเข้าใจดี นอกจากได้เห็นพระแล้วนำมาเทียบเคียง สมัยนี้จะหาพระแต่ละองค์ก็ยากยิ่งแล้วจะหาพระมาเทียบเคียง และเป็นของเราเองก็น่าเห็นใจว่าทำได้ยาก จะยืมใครดูก็ไม่มีใครไว้ใจใคร ต่างเก็บซ่อนไว้อย่างดี ที่ซ่อนที่นิยมสุดก็คือธนาคาร
5. เนื้อผสมกรวด พระเนื้อผสมกรวดนี้มิใช่จะเนื้อจากคนทำเกียจคร้านไม่กรองเนื้อหรือไม่ป่นเนื้อให้ละเอียดก่อนทำเป็นเนื้อพระ ความจริงเนื้อป่นละเอียดแล้ว แต่มีความประสงค์ที่จะผสมกรวดทรายละเอียดลงไปด้วย เพื่อผลประโยชน์ด้านคุณวิเศษ เรียกว่าเป็นการจงใจ เช่น กรุผู้ใหญ่เชื้อ เคยพบพระเนื้อผสมกรวดก็มี ไม่ผสมก็มี มีตัวอย่างแสดงให้เห็นว่า พระที่มีอานุภาพร้อนแรงแกร่งกล้า มักจะมีกรวดแม้ว่ากรวดจะทำให้เนื้อไม่แข็งแรง ไม่น่ารัก แต่ก็มีสิ่งตอบแทนน่าใช้มากเลยทีเดียว
เป็นราชนิดหนึ่ง ซึ่งเกิดจากความชื้นภายในกรุเกาะติดอยู่บนเนื้อพระ ล้างออกได้ยากมีลักษณะเป็นแผ่นหรือเป็นจุดๆสีดำ บางครั้งสีดำปนน้ำตาลมีพระบางพิมพ์ที่ไม่มีหรือเกือบไม่ราดำเลย เช่นพระกำแพงซุ้มกอ พระกำแพงลีลาเม็ดขนุน พระยืนหรือพระลีลาก็มีราดำเกาะติดเป็นส่วนน้อยนานๆจะพบสักที
สีของแร่ดอกมาขามมักจะแดงคล้ำ ส่วนใหญ่จะแทรกเป็นจุๆในเนื้อพระมักจะไม่ลอย บางครั้งจะเห็นเป็นแผ่นใหญ่ๆปรติเห็นไม่ชัดเจนแต่ถ้าเช็ดด้วยผ้าเนื้ออ่อนพระเป็นเงาจะเห็นชัดเจนขึ้น โดยเฉพาะเนื้อพระที่มีสีเหลืองหรือเหลืองปนแดงอ่อนๆ จะเห็นแร่ดอกมาขามเป็นจุดๆชัดเจน จุดๆนนี้บางครั้งก็ติดกันเป็นแผ่นๆ
สีของพระเครื่องเมืองกำแพงเพชรมีหลายสี แต่พระเครื่องที่ปรากฏเป็นสีต่างๆนั้นน่าจะมาจากสีของว่านเกสรและผงต่างๆเช่น สีแดงของว่านดอกมะขาม สบู่เลือดและอื่นๆ สีเหลืองของดอกไม้นานาชนิด สีดำของผงใบลานเผา สีขาวจากผงพระพุทธคุณและว่านบางชนิดจึงทำให้เกิดพระเครื่องสีต่างๆขึ้นตามแต่จะมีส่วนผสมว่านและเกสรหรือผงอะไรมากก็ดูออกเป็นสีนั้นๆ มากเช่น
- สีแดง มีทั้งแดงจัด(คล้ายครั่ง) แดงชมพู(แดงปนขาว) แดงหม้อใหม่(แดงปนเหลือง)แดงคล้ำ(แดงปนดำ)
- สีดำ มีทั้งดำจัด(แบบเนื้อผงใบลาน)เทาดำ(ดำปนขาว)ดำม่วง(ดำปนแดง)จะมีสีคล้ายสีหว้าหรือดอกมะเขือเข้มๆ
- สีเขียว มีทั้งสีเขียวมอย(เขียวเทาๆ) แลเขียวแก่เกี่ยวกับพระเครื่องที่ปรากฏเป็นสีเขียวนี้ คุณวินัย ศักดิ์เสนีย์เขียนไว้ในหนังสือนามานุกรมพระเครื่องหน้าที่ 127 ว่า ผู้รู้กล่าวว่าเพราะองค์พระมีส่วนผสมว่านมาก แต่ทำให้เกิดสีเขียวน่าจะไม่เป็นความจริงที่ว่านทำให้เกิดสีเขียวได้น่าจะเป็นผงหินสีเขียว แต่ข้าพเจ้าค่อนข้างจะเห็นกับฝ่ายที่ว่าเกิดจากการผสมว่านมากกว่า และว่านนั้นเป็นว่านที่มีสีเขียวด้วยเพราะข้าพเจ้าเคยเห็นจุดสีเขียวของเนื้อพระที่มีสีเขียวอ่อนๆบางองค์มีว่านอยู่บางจุดเป็นสีเขียวอ่อน เนื้อพระที่มีสีเขียวกับสีดำของผงใบลานเผา ถ้ามีผสมใบลานเผาน้อยว่านมากก็เป็นสีเขียวเกือบดำเลยก็มี ส่วนความแกร่งของเนื้อพระทีดูคล้ายกับหินน่าจะเป็นเพราะการเผาและความแกร่งของเนื้อที่ดูคล้ายกับหินนั้นน่าจะเป็นเพราะการเผาและความเก่าของเนื้อดินมากกว่าที่จะเป็นหินเพราะพระเครื่องที่มีอายุเก่าแก่ส่วนมากก็มีลักษณะเนื้อแกร่งแบบเนื้อหินทั้งนั้นแต่หาใช่ทำด้วยหินไม่เพราะน้ำหนักไม่บอกเลยว่าเป็นหิน
คำสำคัญ : พระเครื่อง
ที่มา : http://www.dopratae.com/บทความ/เนื้อดินของพระเมืองกำแพงเพชร/66/
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2562). เนื้อดินของพระเมืองกำแพงเพชร. สืบค้น 20 เมษายน 2568, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=1155&code_db=610005&code_type=01
Google search
ที่ตั้งกรุพระวัดหนองพิกุล อยุู่ตรงข้ามของท่ารถ บขส. ไปประมาณ 400 เมตร ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระซุ้มกอมีกนกพิมพ์ใหญ่ พระซุ้มกอพิมพ์กลาง พระซุ้มกอพิมพ์เล็ก-พิมพ์จิ๋ว พระซุ้มกอดำไม่มีกนกพิมพ์ใหญ่ พระเม็ดขนุนพิมพ์ใหญ่-กลาง พระพลูจีบ พระฝักดาบ พระลีลาเชยคางข้างเม็ดพิมพ์ใหญ่ พระลีลาเชยคางข้างเม็ดพิมพ์กลาง พระลีลาเชยคางข้างเม็ดพิมพ์เล็ก พระลีลาเชยคางข้างเม็ดพิมพ์เล็ก พระกำแพงขาวพิมพ์ใหญ่-กลาง-เล็ก พระเปิดโลกเม็ดทองหลาง พระกำแพงหย่อง พระเปิดโลกพิมพ์ใหญ่ พระท่ามะปราง พระซุ้มยอ พระเม็ดมะลื่น พระเล็บมือนาง พระใบพุทรา พระนางพญากำแพงท้องลอน พระนางพญากำแพงพิมพ์ตื้น พระนางพญากำแพงพิมพ์เล็ก พระนางพญากำแพงพิมพ์เม็ดแตง พระนางพญากำแพงตราตาราง พระนาคปรก พระกลีบบัว พระเจ่้าสามพระองค์ พระเจ้าสี่พระองค์ พิืมพ์เชตุพน พระร่วงนั่งสนิมตีนดา พระเชตุพนพิมพ์ปีกกว้าง พระเชตุพน พิมพ์เล็ก พระงบน้ำอ้อยสิบพระองค์ และพิมพ์อื่นๆ
เผยแพร่เมื่อ 19-08-2019 ผู้เช้าชม 2,908
พระอธิการกลึง วัดคูยาง กำแพงเพชร ได้รวบรวม พระเครื่องของกรุกำแพงเพชรที่แตกหัก ที่ได้ค้นพบจากการรื้อสร้างบูรณะพระเจดีย์ทั้งสามองค์ของวัดพระบรมธาตุ นำมาป่นแล้วกดพิมพ์ขึ้นใหม่ โดยมักจะล้อพิมพ์พระดังๆ
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 4,550
พระตระกูลพระนางกำแพง จังหวัดกำแพงเพชรนั้น ตามที่ทราบกันว่ามีมากมายหลายพิมพ์ ซึ่งแต่ละพิมพ์ก็ล้วนมีเนื้อหามวลสาร ความหนึกนุ่มซึ้ง และมีพุทธคุณเท่าเทียมกันทั้งด้านเมตตามหานิยมและโชคลาภ เพราะเป็นหนึ่งในพระเครื่องเมืองกำแพงเพชรที่ขุดค้นพบในยุคเดียวกับพระกำแพงซุ้มกอ นอกจากนี้ยังได้ชื่อว่าเป็นพระพิมพ์ที่มีพุทธศิลปะแสดงถึงศิลปะสุโขทัยหมวดสกุลช่างกำแพงเพชรได้อย่างชัดเจนที่สุดอีกด้วย มาดูพระนางกำแพง 3 พิมพ์ ซึ่งความแตกต่างโดยส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องสัณฐานพิมพ์ทรงครับผม
เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 6,866
วันศุกร์ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 8 พ.ศ. 1900 กษัตริย์องค์ที่ 5 แห่งกรุงสุโขทัย พระมหาธรรมราชาลิไท พระองค์ทรงเสด็จมาสถาปนาพระศรีรัตนมหาธาตุ และทรงปลูกต้นศรีมหาโพธิ์ (วัดพระบรมธาตุปัจจุบัน) การสถาปนาพระธาตุครั้งนั้นมีพระฤาษี (พระธรรมยุทธิ์ปัจจุบัน) มาร่วมในมหาพิธี 11 ตน ฤาษีทั้งปวงซึ่งมีวิชาอาคมแก่กล้าทั้งสิ้น ในจำนวนฤาษี ซึ่งมีฤาษีตาไฟ ฤาษีตาวัว (หลวงตาไฟหลวงตาวัว) เป็นใหญ่จึงปรึกษากันสร้างเครื่องประดิษฐ์ด้วยฤทธิ์ให้มีอนุภาพแก่มนุษย์ทั้งหลายเพื่อสร้างถวายมหากษัตรย์ฯ ทรงเสด็จสถาปนาพระธาตุในมหาพิธี พระฤาษีตาไฟจึงว่าแก่ฤาษีทั้งปวง
เผยแพร่เมื่อ 14-08-2019 ผู้เช้าชม 5,321
พระเครื่องในสกุลกำแพงเพชรนั้น มีตำนานปรากฏชัดเจนจากการพบจารึกบนแผ่นลานเงินในกรุ ขณะรื้อพระเจดีย์องค์ใหญ่ของวัดพระบรมธาตุ เมืองนครชุม และเมื่อปี พ.ศ. 2392 ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) แห่งวัดระฆังโฆสิตาราม ซึ่งขึ้นมาเยี่ยมญาติที่เมืองกำแพงเพชร ก็ได้อ่านศิลาจารึกอักษรไทยโบราณที่วัดเสด็จ ฝั่งเมืองกำแพงเพชร ในจารึกได้กล่าวถึงพิธีการสร้างพระและอุปเท่ห์การอาราธนาพร ะ รวมถึงพุทธานุภาพที่มหัศจรรย์อย่างยิ่งของพระเครื่องสกุลกำแพงเพชรทั้งหลาย
เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 30,860
พระลีลา กำแพงขาว จังหวัดกำแพงเพชร คราบฝ้าขาวของกรุ และปรอทจับตามองค์พระกระจายทั่วไป จึงเป็นที่มานามแห่ง “กำแพงขาว” ถือได้ว่า กล่าวขวัญกันมากที่สุด สำหรับนักสะสมเนื้อชิน และองค์นี้สวยถือว่าสวยสมบูรณ์แท้ ไม่เป็นสองรองใครถ้าพูดถึงพระเครื่อง เนื้อชิน ที่ถูกยกย่องเป็น “พระในฝัน” ของเหล่าบรรดานักนิยมสะสมพระเครื่อง สายเนื้อชินกันแล้วหล่ะก็ นามแห่ง “กำแพงขาว” ถือได้ว่า กล่าวขวัญกันมากที่สุดพิมพ์หนึ่ง จนสามารถพูดได้ว่า “พระกำแพงขาว” คือ 1 ใน 10 พระเครื่องเนื้อชิน ที่มีผู้อยากจะได้ไว้ครอบครองบูชามากที่สุดอีกพิมพ์หนึ่งกันเลยทีเดียว สมัยเก่าก่อนเขาให้ความนิยมเชื่อถือศรัทธาเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งพุทธคุณด้านคงกระพันชาตรี ต่างยกนิ้วให้ด้วยความชื่นชมว่า “คงกระพันชาตรี เหนียวสุดๆ” รวมถึงแคล้วคลาด และเมตตามหานิยม
เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 19,100
พระเครื่อง พระกำแพงซุ้มกอพิมพ์ใหญ่มีกระหนก (กระหนกหมายถึงลวดลาย) พระกำแพงซุ้มกอพิมพ์ใหญ่ไม่มีกระหนก (ซุ้มกอดำ) และพระกำแพงลีลาเม็ดขนุน พระยอดนิยมของพระเครื่องจังหวัดกำแพงเพชร พระเครื่องกำแพงเพชร มีมากมายหลายชนิดเรียกชื่อต่าง ๆ กันเช่น เรียกชื่อตามสถานที่ หรือกรุที่พระเครื่องบรรจุอยู่ เช่น กำแพงทุ่งเศรษฐีใช้เรียกชื่อพระเครื่องทุกชนิดที่ได้จากบริเวณเมืองเก่าฝั่งตะวันตกที่เรียกกันว่า “ทุ่งเศรษฐี”และวงการนักพระเครื่องทั่วไปเมื่อกล่าวถึงพระกำแพงเพชรหรือพระที่อื่นคล้ายพระกำแพงเพชร ก็เติมคำว่า“กำแพง”ลงข้างหน้า ชื่อพระนั้น ๆ เช่น เรียกพระลีลาศ(เดิน)ของจังหวัดกำแพงเพชรว่า“กำแพงเขย่ง”เรียกพระสุพรรณว่า“กำแพงเขย่งสุพรรณ”พระกำแพงเพชรที่มีลักษณะคล้ายกับพระอื่น ๆ ที่มีชื่อเสียงมาก่อนเรียกชื่อตามนั้น เช่น กำแพงท่ามะปราง เรียกชื่อตามพุทธลักษณะอาการขององค์พระ เช่น กำแพงลีลาศ (หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า“กำแพงเขย่ง”)เพราะดูอาการ เดินนั้นเหมือนเขย่งพระบาทข้างหนึ่ง) กำแพงประทานพร กำแพงนาคปรก เป็นต้น
เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 5,432
พระกำแพงพลูจีบในปัจจุบันนี้ ได้กลายเป็นพระเครื่อง ในตำนานไปแล้วอย่างแท้จริง เมื่อราว พ.ศ. 2500 พระกำแพงพลูจีบเป็นพระเครื่องที่ค่านิยมสูงสุดของพระเมืองกำแพงสูงกว่าพระกำแพงเม็ดขนุน และพระกำแพงซุ้มกอ แม้แต่นักนิยมพระรุ่นเก่ามีเพียงไม่กี่คนเท่านั้นที่เคยเห็นและพิจารณาของจริง ในยุคนั้นจึงมีพระพลูจีบที่ทำปลอมออกมาเป็นแบบต่าง ๆ ตามแต่จินตนาการของนักปลอมแปลงพระ บางทีก็เป็นรูปบิดม้วนเป็นเกลียวบ้าง แบบเรียวยาวชะลูดปลายแหลมบ้าง เพื่อให้เข้ากับคำว่าพลูจีบตามที่ได้ยินมา
เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 11,236
พระกำแพงอู่ทอง วังพาน หรือบางพาน เป็นเมืองเก่าสมัยสุโขทัยเมืองบางพาน เป็นเมืองสำคัญทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี เมืองหนึ่งที่น่าศึกษาอยู่ในเขตอำเภอพรานกระต่าย เป็นเมืองที่สำคัญและเก่าแก่ ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย เป็นราชธานี หรือก่อนหน้านั้น หลักฐานจากจารึกนครชุม ซึ่งจารึกเมื่อปี พ.ศ.1900 ในสมัยพระมหาธรรมราชาลิไท จารึกไว้ว่า "พิมพ์เอารอยตีนอันหนึ่งประดิษฐานไว้ในเมืองบางพาน เหนือจอมเขานางทอง" ซึ่งหมายถึงการนำรอยพระพุทธบาทจำลองมาประดิษฐานไว้ที่เขานางทองเมืองบางพานแสดงว่าเมืองบางพานเคยเจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย
เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 12,479
พระลีลาเม็ดขนุนนั้น เป็นพระดินเผา เหมือนพระซุ้มกอ พระนางกำแพง พระพลูจีบ พระกลีบจำปา และพิมพ์อื่นๆ เป็นหลายสิบพิมพ์ เป็นพระดินเผาที่เป็นดินบริสุทธิ์ไม่มีกรวดทรายผสม มีแต่ทรายเงินทรายทองผสมเป็นบางส่วนเท่านั้น เนื้อดินเผาจึงดูนุ่มมีเอกลักษณ์ของพระดินเผา จังหวัดกำแพงเพชร
เผยแพร่เมื่อ 21-02-2017 ผู้เช้าชม 30,088