พระนางกำแพง

พระนางกำแพง

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้ชม 13,509

[16.4746251, 99.5079925, พระนางกำแพง]

        พระตระกูลนางกำแพง นั้นประกอบด้วย พระกำแพงเม็ดมะลื่น พระนางกำแพงกลีบบัว พระนางกำแพงพิมพ์ลึก พระนางกำแพงพิมพ์ตื้น พระนางกำแพงพิมพ์ลูกแป้ง (เดี่ยว-คู่) พระนางกำแพงฐานตาตาราง พระนางกำแพงเม็ดมะเคล็ด เป็นต้น กรุที่พบมักพบมากในบริเวณทุ่งเศรษฐี ตำบลนครชุม เช่น กรุวัดพิกุล กรุหนองลังกา กรุเจดีย์กลางทุ่ง กรุวัดบรมธาตุ กรุนาตาคำ กรุท่าเดื่อ ทางใต้ของทุ่งเศรษฐีก็ยังพบบริเวณเมืองตรังตรึง เช่น กรุเจดีย์เจ็ดยอด กรุวัดวังพระธาตุ ส่วนทางฝั่งจังหวัดพบที่กรุวัดพระแก้ว กรุวัดป่ามืด กรุวัดอาวาสน้อย กรุวัดอาวาสใหญ่ กรุสี่อิริยาบถ กรุวัดเซิงหวาย กรุวัดช้าง กรุวัดกโลทัย เป็นต้นกรุพระนางกำแพง มีทั้งเนื้อดินเผา เนื้อว่าน เนื้อชินเงิน และเนื้อชินตะกั่วสนิมแดง เนื้อที่นิยมที่สุดก็เป็นเนื้อดินเผา เนื้อที่หายากก็คือเนื้อชินตะกั่วสนิมแดง และเนื้อว่าน ส่วนกรุที่เป็นที่นิยมมากที่สุดก็คือกรุวัดพิกุล และกรุวัดบรมธาตุ เนื่องจากมีเนื้อหนึกนุ่มสวยงามมาก พระนางกำแพงเม็ดมะลื่นจะนิยมมากกว่าพระนางกำแพงอื่นๆ สนนราคาก็สูงมากเช่นกัน ต้องว่ากันที่หลักแสนแทบทั้งสิ้น ลดหย่อนตามความสมบูรณ์เป็นหลัก พระนางกำแพงพิมพ์ตื้นแม้ว่าจะพบมากกว่าพระพิมพ์อื่นๆ ในจังหวัดกำแพงเพชร แต่ก็มีสนนราคาสูงพอสมควร ถ้าสวยมีหน้ามีตาก็ต้องอยู่ในหลักแสนต้นๆ เช่นกันครับ สภาพทั่วๆ ไปก็ต้องมีหลักหมื่นครับ ในวันนี้ผมได้นำรูปพระนางกำแพงพิมพ์ตื้น และนางกำแพงกลีบบัว กรุทุ่งเศรษฐี ของคุณเต้ สระบุรี            
        พุทธลักษณะ เป็นพระปางมารวิชัย และปางสมาธิสถิตย์อยู่บนพื้นฐานรูปสามเหลี่ยมทรงเรขาคณิต เช่นเดียวกับพระนางพญาของจังหวัดพิษณุโลก จึงมีผู้เรียกกันว่า “กำแพงนางพญา” หรือเรียกสั้นๆ ว่า “นางกำแพง” เป็นกรุไหน ก็เรียกตามชื่อกรุนั้น เช่น นางวัดพระบรมธาตุ นางวัดพิกุล นางวัดป่ามืด ฯลฯ เป็นต้น มีทั้งเนื้อชิน ดิน ว่าน และสัมฤทธิ์ก็มีบ้าง แต่มีน้อยมากมีหลายแบบ เช่น
        1.แบบนางเสน่ห์จันทร์ องค์พระคล้ายนางเสน่ห์จันทร์ แต่พระพักตร์ใหญ่อ่อนช้อยและชัดเจนกว่า พระเนตรพระกรรชัดเจน พุทธลักษณะเหมือนพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย เนื้อจัดว่านละเอียดมาก
        2.แบบบัลลังก์แก้ว หรือที่เรียกกันง่ายๆ ว่า “นางตาตาราง” คือเป็นรูปอาสนบัลลังก์ก็เป็นรูปตาตาราง จึงเรียกกันว่า “นางตาตาราง”
        3.แบบนางอู่ทอง แบบนี้ก็มีที่เหมือน พระพุทธลักษณะรูปทรงเทริดและแบบที่มีพุทธลักษณะ คางยืดๆ เหมือนพระพุทธรูปสมัยอู่ทอง ก็เรียกกันว่า “นางอู่ทอง”
        4.แบบสกุลนางพญาพิษณุโลก พุทธลักษณะทั่วไปคล้ายกับพระนางพญาพิษณุโลก ผิดกันที่พระพักตร์ และพระเศียร ซึ่งคล้ายไปทางพระพุทธรูป ของสุโขทัยเป็นส่วนมาก
        5.แบบฐานบัว พุทธลักษณะคล้ายกับพระซุ้มยอมีฐานเป็นบัวสองชั้น จึงเรียกกันว่า “นางฐานบัวคู่” หรือ “นางฐานบัวสองชั้น”
        6.แบบหูตุ้ม หรือหูบายศรี พระกรรณเป็นปีกคล้ายกับหูพระพิฆเนศ บางท่านจึงเรียกว่า “หูช้าง” หรือ “หูฤาษี” ตามความเข้าใจ ขนาดแต่ละพิมพ์แต่ละแบบมีขนาดแตกต่างกันไป เช่น นางวัดพิกุล จะสูงประมาณ 2.5 ซม. กว้างประมาณ 1.5 ซม. นางเสน่ห์จันทร์ก็มีขนาดใกล้เคียงกับเสน่ห์จันทร์ของสุโขทัย พุทธคุณ ดีทางเมตตามหานิยม ความเป็นสิริมงคลตลอดจนแคล้วคลาด ก็นับเป็นที่ปรากฏมาแล้ว

ภาพโดย : https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=&pages=2&code_db=DB0003&code_type=

คำสำคัญ : พระเครื่องเมืองกำแพง

ที่มา : สมาคมกีฬาจังหวัดกำแพงเพชร. (2549). พระกรุเมืองกำแพง มรดกประวัติศาสตร์กำแพงเพชร. กำแพงเพชร: สมาคมกีฬาจังหวัดกำแพงเพชร.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). พระนางกำแพง. สืบค้น 26 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=197&code_db=610005&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=197&code_db=610005&code_type=01

Google search

Mic

พระร่วงเปิดโลก

พระร่วงเปิดโลก

พระร่วงเปิดโลก เม็ดทองหลาง ยืนตอ สีดำ กรุพิกุล ลานทุ่งเศรษฐี จังหวัดกำแพงเพชรวันนี้ผมอยากจะพูดถึง พระร่วงเปิดโลก จังหวัดกำแพงเพชร เป็นพระที่สร้างและเปิดกรุได้จากกรุต่างๆ ในลานทุ่งเศรษฐี จังหวัดกำแพงเพชร ควบคู่กับพระซุ้มกอและพระลีลาเม็ดขนุน ซึ่งทั้งสององคืนั้นถือเป็นหนึ่งในชุดเบญจภาคียอดนิยม พระร่วงเปิดโลกมีพุทธลักษณะทั่วไปมี 3 แบบคือ แบบฐานยื่นหรือที่เรียกว่า “พระร่วงยืนตอ” แบบประดิษฐานรอยพระบาท คือยืนที่ปลายเท้าหรือที่เรียกว่า “พระร่วงทิ้งดิ่ง” หรือแบบท่ายืนแบบทหาร เรียกว่า “พระร่วงยืนตรง” มีทั้งขนาดใหญ่ ขนาดกลาง ขนาดเล้ก หรือขนาดพิมพ์จิ๋ว มีปรากฎอยู่เกือบทุกกรุในกำแพงเพชร พุทธคุณดีทางอำนาจบารมี เมตตามหานิยม และโภคทรัพย์สมบูรณ์พูนสุข

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 19,608

พระลีลา กำแพงขาว

พระลีลา กำแพงขาว

พระลีลา กำแพงขาว จังหวัดกำแพงเพชร คราบฝ้าขาวของกรุ และปรอทจับตามองค์พระกระจายทั่วไป จึงเป็นที่มานามแห่ง “กำแพงขาว” ถือได้ว่า กล่าวขวัญกันมากที่สุด สำหรับนักสะสมเนื้อชิน และองค์นี้สวยถือว่าสวยสมบูรณ์แท้ ไม่เป็นสองรองใครถ้าพูดถึงพระเครื่อง เนื้อชิน ที่ถูกยกย่องเป็น “พระในฝัน” ของเหล่าบรรดานักนิยมสะสมพระเครื่อง สายเนื้อชินกันแล้วหล่ะก็ นามแห่ง “กำแพงขาว” ถือได้ว่า กล่าวขวัญกันมากที่สุดพิมพ์หนึ่ง จนสามารถพูดได้ว่า “พระกำแพงขาว” คือ 1 ใน 10 พระเครื่องเนื้อชิน ที่มีผู้อยากจะได้ไว้ครอบครองบูชามากที่สุดอีกพิมพ์หนึ่งกันเลยทีเดียว สมัยเก่าก่อนเขาให้ความนิยมเชื่อถือศรัทธาเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งพุทธคุณด้านคงกระพันชาตรี ต่างยกนิ้วให้ด้วยความชื่นชมว่า “คงกระพันชาตรี เหนียวสุดๆ” รวมถึงแคล้วคลาด และเมตตามหานิยม

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 16,549

กรุซุ้มกอ

กรุซุ้มกอ

ที่ตั้งกรุพระวัดซุ้มกอ อยู่ตรงข้ามท่ารถ บขส. ห่างริมถนนกำแพงเพชร ประมาณ 40 เมตร ประเภทพบที่พบ ได้แก่ พระซุ้มกอ พิมพ์กลาง พระเม็ดขนุน พระซุ้มยอ พระซุ้มกอ พิมพ์เล็ก พระลีลากำแพง พระกลีบบัว และพิมพ์อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 19-08-2019 ผู้เช้าชม 5,521

พระประทานพรยืน

พระประทานพรยืน

กรุที่พบหรือสถานที่พบพระพิมพ์นี้คือ บริเวณบ้านของครูกำยาน ตรงด้านใต้เชิงสะพานฝั่งตะวันตก ซึ่งรวมอยู่ฝั่งนครชุมของเมืองกำแพงเพชรนั่นเอง เป็นพระกรุพิมพ์หนึ่งที่มีศิลปะสมัยสุโขทัย บวกศิลปะกำแพงเพชรโบราณ พระกรุแตกเมื่อปี พ.ศ.2537 ได้พบพระพิมพ์ต่าง ๆ มากมาย มีทั้งพระเนื้อชินเงิน พระเนื้อดินเผา และพระพุทธรูปบูชา-เทวรูปศิลปะสมัยลพบุรีก็รวมอยู่ด้วย มีพระเครื่อง-พระบูชาหลายขนาด

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 10,362

ประวัติพระกำแพงทุ่งเศรษฐี

ประวัติพระกำแพงทุ่งเศรษฐี

ประวัติพระกำแพงทุ่งเศรษฐี เป็นพระเนื้อดินผสมว่านที่สร้างขึ้นด้วยศิลปสุโขทัยโดยฝีมือช่างกำแพงเพชร ค้นพบได้ที่กรุพระเจดีย์ทุ่งเศรษฐี เมืองกำแพงเพชร ที่มีลักษณะเป็นทุ่งกว้างใหญ่ไพศาลมากและมีสภาพเป็นวัดเก่าแก่มาแต่โบราณ ชาวบ้านในแถบนั้นต่างรู้จักกันในนาม ทุ่งเศรษฐี ซึ่งมีตำนานเล่าขานกันมาแต่ยุคโบราณว่า พระมหาเจดีย์องค์นี้นั้นเจ้าพระยาศรีธรรมโศกราชได้สร้างขึ้นเป็นพุทธบูชา ซึ่งคณะผู้สร้างประกอบไปด้วย พระฤๅษี สมณชีพราหมณ์ พราหมณาจารย์ มาประชุมพร้อมกันจักสร้างพระพิมพ์เพื่อทำการบรรจุเข้าไว้ในองค์พระมหาเจดีย์เพื่อเป็นการสืบทอดพระพุทธศาสนา ซึ่งบรรดาพระฤๅษีทั้งหลายที่เข้าร่วมในพิธีการสร้างพระนั้น ประกอบไปด้วย พระฤๅษี 11 ตน และ มีหัวหน้าพระฤๅษี อีก 3 ตน ที่เป็นผู้ทรงญาณสมาบัติแก้กล้ากว่าพระฤๅษีทั้งหลาย คือ พระฤๅษีตาไฟ พระฤๅษีตาวัว พระฤๅษีพิลาลัย นอกจากนั้นมีสมณชีพราหมณ์และพราหมณาจารย์ซึ่งแล้วแต่เป็นผู้ทรงคุณวิเศษทางญาณสมาบัติทั้งสิ้น ได้ช่วยกันประกอบพิธีสร้าง พระพิมพ์ซุ้มกอ ขึ้นมาด้วยแรงแห่งฤทธิ์อันวิเศษ ซึ่งล้วนแต่เป็นอาณุภาพทางจิตที่วิเศษสุดยอด

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 15,691

กรุอาวาสใหญ่

กรุอาวาสใหญ่

ที่ตั้งกระพระวัดอาวาสใหญ่ อยู่ริมถนนกำแพงพรานกระต่ายติดกับบ่อสามแสน ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระฝักดาบ พระลีลากำแพง พระซุ้มเสมา พระคู่สวดอุปฌานอกเสมา พระโพธิ์บัลลังก์ พระฤาษีสนิมตีนกา พระท่ามะปราง พระลีลาพิมพ์ตะกวน พระซุ้มเรือนแก้ว พระคู่สวดอุปฌาในเสา พระมารวิชัยสนิมตีนกา และพิมพ์อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 20-08-2019 ผู้เช้าชม 2,331

ประวัติพระซุ้มกอ (พระกำแพงซุ้มกอ)

ประวัติพระซุ้มกอ (พระกำแพงซุ้มกอ)

พระกำแพงซุ้มกอ จัดเป็นพระที่สุดยอด และเอกของเมืองกำแพงเพชร เป็นพระที่อมตะ ทั้งพุทธศิลป์ และพุทธคุณถูกจัดอยู่ในชุดเบญจภาคีที่สูงสุดของพระเครื่องเมืองไทย พระกำแพงซุ้มกอ เป็นพระที่ทำจากเนื้อดินผสมว่านและเกสรดอกไม้ และทำจากเนื้อชิน ก็มีพุทธลักษณะของพระซุ้มกอนั้นองค์พระประติมากรรม ในสมัยสุโขทัย นั่งสมาธิลายกนกอยู่ด้านข้างขององค์พระนั่งประทับอยู่บนบัวเล็บช้าง ขอบของพิมพ์พระจะโค้งมนลักษณะคล้ายตัว ก.ไก่ คนเก่า ๆ จึงเรียกว่า “พระซุ้มกอ” พระกำแพงซุ้มกอ ที่ค้นพบมีด้วยกัน 5 พิมพ์ ประกอบด้วย พิมพ์ใหญ่ แยกออกเป็น 2 ประเภท คือ มีลายกนกและไม่มีลายกนก พระที่ไม่มีลายกนกส่วนใหญ่มักจะมีสีดำ หรือสีน้ำตาลแก่ซึ่งเรามักจะเรียกว่า “พระกำแพงซุ้มกอดำ” พิมพ์กลาง พิมพ์เล็ก พิมพ์เล็กพัดโบก พิมพ์ขนมเปี๊ย พระกำแพงซุ้มกอ ทั้งมีลายกนกและไม่มีลายกนกเป็นพระที่มีศิลปะของสุโขทัยปนกับศิลปะศรีลังกา โดยเฉพาะไม่มีลายกนกจะเห็นว่าเป็นศิลปะศรีลังกาอย่างเด่นชัด พระกำแพงซุ้มกอ เนื้อขององค์พระ ใช้ดินผสมกับว่านเกสรดอกไม้ จึงทำให้เนื้อของพระซุ้มกอมีลักษณะนุ่มมัน ละเอียดเมื่อนำสาลีหรือผ้ามาเช็ดถูจะเกิดลักษณะมันวาวขึ้นทันที

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 147,556

พระกำแพงห้าร้อย

พระกำแพงห้าร้อย

พระกำแพงห้าร้อย ได้มีการขุดพบอยู่หลายกรุในจังหวัดกำแพงเพชร พบครั้งแรกประมาณปี พ.ศ. 2392 ที่วัดพระบรมธาตุ ฝั่งทุ่งเศรษฐี ต่อมาในปี พ.ศ. 2475 ก็พบอีกที่กรุวัดกะโลทัย และต่อมาก็พบที่กรุวัดอาวาสน้อยทางฝั่งจังหวัด ศิลปะขององค์พระเป็นพระประทับนั่งปางมารวิชัย มีประภามณฑล ขนาดของแต่ละองค์มีขนาดเล็กมาก คาดว่าคงสร้างในสมัยสุโขทัย ในราวปี พ.ศ. 1900 พระที่พบมีแต่พระเนื้อชินเงินเท่านั้นพระกำแพงห้าร้อย ถ้าสมบูรณ์เต็มแผ่นนั้นหายากมากๆ และสนนราคาสูง นิยมทำแผงไม้ตั้งไว้บูชาประจำบ้าน ถือว่ากันไปได้ชะงัดนัก

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 11,905

มะเคล็ด-กลีบบัว-พิมพ์ตื้น ตระกูลพระนางกำแพง เมืองกำแพงเพชร

มะเคล็ด-กลีบบัว-พิมพ์ตื้น ตระกูลพระนางกำแพง เมืองกำแพงเพชร

พระตระกูลพระนางกำแพง จังหวัดกำแพงเพชรนั้น ตามที่ทราบกันว่ามีมากมายหลายพิมพ์ ซึ่งแต่ละพิมพ์ก็ล้วนมีเนื้อหามวลสาร ความหนึกนุ่มซึ้ง และมีพุทธคุณเท่าเทียมกันทั้งด้านเมตตามหานิยมและโชคลาภ เพราะเป็นหนึ่งในพระเครื่องเมืองกำแพงเพชรที่ขุดค้นพบในยุคเดียวกับพระกำแพงซุ้มกอ นอกจากนี้ยังได้ชื่อว่าเป็นพระพิมพ์ที่มีพุทธศิลปะแสดงถึงศิลปะสุโขทัยหมวดสกุลช่างกำแพงเพชรได้อย่างชัดเจนที่สุดอีกด้วย มาดูพระนางกำแพง 3 พิมพ์ ซึ่งความแตกต่างโดยส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องสัณฐานพิมพ์ทรงครับผม

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 5,141

พระสามพี่น้อง

พระสามพี่น้อง

ถ้ากล่าวถึงพระสามพี่น้องนั้น มีอยู่มากมายหลายองค์ด้วยกันพระพุทธรูปบางองค์ได้ชื่อว่าเป็นพระสามพี่น้อง เพราะเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ในจังหวัดเดียวกัน บ้างก็เรียกเพราะสร้างขึ้นมาพร้อมๆ กันเช่นพระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ และพระศาสดา แต่พระสามพี่น้องที่กล่าวถึงนี้ เชื่อว่าสร้างโดยชายพี่น้องสามคน คนหนึ่งเกิดวันพุธ จึงสร้างพระปางอุ้มบาตร ที่เรารู้จักกันดีในนามหลวงพ่อบ้านแหลม อีกคนเกิดวันพฤหัสจึงสร้างพระปางสมาธิ คือหลวงพ่อโสธร แต่อีกคนไม่ได้สร้างพระประจำวันเกิดแต่สร้างพระเกตุ หรือพระปางมารวิชัย ซึ่งพระปางมารวิชัยองค์นี้แหละที่มีถึงสามวัดที่อ้างว่าเป็นพระพุทธรูปประจำวัดของตนเอง คือหลวงพ่อโต วัดบางพลีใหญ่ใน หลวงพ่อวัดไร่ขิง และหลวงพ่อทอง วัดเขาตะเครา ซึ่งบางคนก็เลยรวมเรียกแบบถนอมน้ำใจเหมารวมหมดเลยว่าพระห้าพี่น้อง

เผยแพร่เมื่อ 28-02-2017 ผู้เช้าชม 6,168