พระท่ามะปราง

พระท่ามะปราง

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้ชม 20,923

[16.5001512, 99.4940454, พระท่ามะปราง]

         "เงี้ยว" ต้องกรำศึกสงครามมาตลอดไม่ว่างเว้น แย่งชิงอำนาจกันเอง รวมทั้งศึกภายนอก ทั้งคะฉิ่น กะเหรี่ยง ฯลฯ จนเมื่อสถานการณ์เริ่มสงบ หลังอังกฤษเข้ายึดครองพม่า และรวมเอาดินแดนเงี้ยวไว้กับอินเดีย ตามประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา เงี้ยวจึงถูกควบคุมโดยชาติมหาอำนาจใหญ่ เช่น จีน พม่า และอังกฤษ ต่อมาเงี้ยวเริ่มเข้ามาค้าขายกับไทยผ่านพม่า เข้ามาทางภาคเหนือออกเส้นทางหลวงพระบาง และยูนนาน จนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ มีเงี้ยวบางส่วนตกค้าง และทำมาหากินอยู่ในดินแดนไทยถึงยุคกลางรัตนโกสินทร์ ช่วงนั้นภาคเหนือของไทยยังสมบูรณ์ด้วยพันธุ์ไม้นานาชนิด บริษัทต่างชาติจากอังกฤษเข้ามาทำธุรกิจค้าไม้ จ้างเงี้ยวเป็นแรงงานแผ้วถางป่า ต่อมาผู้ครองแคว้นต่างๆ ได้ยุยงให้เงี้ยวแข็งข้อกับไทยมาจนถึงเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2445 พะกาหม่อง และสะลาโปไชย เป็นหัวหน้าเงี้ยว ได้นำกำลังสมุนกว่า 50 คน บุกสถานีตำรวจเมืองแพร่ ด้านประตูชัยที่มีกำลังพลอยู่เพียง 10 คน ตำรวจไม่สามารถต้านทานได้ เงี้ยวจึงบุกสังหาร ปล้นทรัพย์สิน ทำลายคลังหลวง และไปจับพระยาไชยบูรณ์ ข้าหลวงเมืองแพร่ แต่ท่านและครอบครัว หลบหนีออกไปได้ หนีไปยังคุ้มเจ้าหลวงเมืองแพร่ พระยาพิริยวิไชย เพื่อขอกำลังเข้าต่อสู้ปราบปราม แต่ได้รับการปฏิเสธ เพราะไม่มีทั้งกำลังคนและอาวุธ ท่านจึงหนีออกจากเมืองแพร่ หวังไปขอกำลังจากเมืองอื่นต่อไป ต่อมาเงี้ยวปล่อยนักโทษในเรือนจำให้ออกมาร่วมด้วย จึงมีกำลังสนับสนุนเพิ่มขึ้น เป็นกองกำลังกล้าแข็งกว่า 300 คน จนกองโจรเงี้ยวสามารถยึดเมืองแพร่ได้สำเร็จพะกาหม่อง และสะลาโปไชย ได้เชิญเจ้าเมืองแพร่ ร่วมด้วย เจ้าราชบุตร เจ้าไชยสงคราม และเจ้านายบุตรหลานคนอื่นๆ ตกลงร่วมกันต่อต้านกองทัพรัฐบาลไทย กองโจรเงี้ยวออกตามล่าข้าราชการฝ่ายไทย และคนไทยภาคกลางที่หนีแตกพ่ายไป นำกำลังไปล้อมจับได้ และนำตัวกลับเมืองแพร่ ตลอดการเดินทางกลับมีการบังคับทรมานขู่เข็ญสารพัดให้ยอมจำนน และเข้าร่วมกับกองโจรเงี้ยวด้วยแต่พระยาไชยบูรณ์ไม่เกรงกลัว จนถูกโจรเงี้ยวฆ่าตาย พร้อมด้วยเสนามาตย์ ยกกระบัตรศาล หลวงวิมล ข้าหลวงผู้ช่วยขุนพิพิธ ข้าหลวงคลัง ผู้พิพากษา อัยการ และข้าราชการผู้น้อยต่างๆ อีกมาก ถือเป็นการสูญเสียข้าราชการไทยครั้งใหญ่ที่สุดในภาคเหนือ ความรุนแรงที่เกิดขึ้นรัฐบาลไทยได้มอบหมายให้พระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสงชูโต) ยกทัพหลวงขึ้นไปปราบปราม และส่งกำลังจากกองทัพเมืองใกล้เคียง ทั้งเมืองพิชัย สวรรคโลก สุโขทัย ตาก น่าน และเชียงใหม่ เข้าร่วมด้วย โดยให้ถือว่าผู้ปฏิบัติการทั้งหมดเป็นกบฏก่อการร้าย เรียกว่า กบฏเงี้ยวเมืองแพร่กองโจรเงี้ยว ออกมาต่อสู้โดยแบ่งกำลังเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งนำโดยสะลาโปไชย ไปยันทัพรัฐบาลที่ด้านใต้ อีกส่วนหนึ่งนำโดยพะกาหม่อง ยกไปทางด้านตะวันตก หวังบุกตีนครลำปาง เพื่อใช้เป็นฐานที่มั่นแต่ทางนครลำปาง ได้เตรียมกำลังไว้ป้องกันเต็มที่ เป็นเหตุให้พะกาหม่อง ถูกยิงเสียชีวิต กองโจรจึงแตกพ่ายสลาย
         ขณะเดียวกัน ช่วงที่พระยาสุรศักดิ์มนตรี นำทัพหลวงผ่านมาถึงเมืองพิษณุโลก ซึ่งก่อนหน้านั้นมีการขุดพบพระกรุที่วัดท่ามะปราง มาก่อนแล้ว 5 ปี โดยฝีมือคนร้ายขโมยขุดกรุ พระยาสุรศักดิ์มนตรีจึงได้ทำพิธีเปิดกรุพระวัดท่ามะปราง และได้นำพระจากกรุนี้จำนวนมาก ทั้งเนื้อดินและเนื้อชิน แจกจ่ายแก่ทหาร เพื่อเป็นขวัญกำลังใจในการต่อสู้กับเงี้ยวปรากฏว่า ทหารไทยที่ห้อยพระกรุวัดท่ามะปราง ถูกกระสุนปืนยิงล้มคว่ำล้มหงาย แต่ไม่เป็นไร กระสุนไม่ระคายผิวหนัง สามารถลุกขึ้นมายิงต่อสู้กับพวกเงี้ยวได้อีก จนโจรเงี้ยวเห็นเป็นเรื่องอัศจรรย์ ถึงกับใจเสีย จึงพากันหนีแตกกระเจิงไปทันที
        พระท่ามะปรางกรุนี้ จึงมีชื่อว่า พระท่ามะปราง กรุเงี้ยวทิ้งปืน พระท่ามะปราง เป็นพระที่ขุดพบจากหลายกรุ หลายเมือง แต่ต้นกำเนิดแห่งแรก คือ กรุวัดท่ามะปราง จังหวัดพิษณุโลก เป็นพระที่มีอายุความเก่าสูงกว่าทุกๆ เมือง มีทั้งเนื้อดิน (ค่อนข้างละเอียด) และเนื้อชินเงิน มักปรากฏสนิมตีนกา ผิวสีดำพุทธลักษณะ องค์พระประทับนั่งปางมารวิชัย พระหัตถ์ขวาวางแนบหัวเข่าด้านขวา หัวเข่าอยู่ในอุ้งพระหัตถ์ ที่เรียกว่า นั่งแบบเข่าใน พระพักตร์เป็นรูปไข่ พระเกศแบบปิ่นยาวเล็กน้อย เม็ดพระศกแบบตาข่ายสี่เหลี่ยม พระกรรณยาวประบ่า พระกรอวบล่ำ ซอกพระกรแคบ พระนาภี (สะดือ) เป็นแอ่งบุ๋มเล็กๆ  พระวรกายชะลูดกว่าพระท่ามะปรางกรุอื่นๆ ขนาดองค์พระ กว้างประมาณ 2.3 ซม.สูงประมาณ 3.8 ซม. โดยมีขนาดสูงใหญ่กว่าพระท่ามะปราง กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลกเล็กน้อยพระท่ามะปราง กรุวัดท่ามะปราง (เงี้ยวทิ้งปืน) ส่วนมากจะไม่ค่อยสวย ผิวดำ และผุกร่อน ขาดความสมบูรณ์ แต่ราคาเช่าหาร่วมแสน ถ้าเป็นพระสภาพดี มีคราบปรอทขาว สวยสมบูรณ์คมชัด ซึ่งมีน้อยมาก สนนราคาต้องหลักแสน ถึงสองแสนขึ้นไป พุทธคุณ พระท่ามะปรางทุกพิมพ์ ทุกกรุ ถือว่ายอดเยี่ยมทางด้านแคล้วคลาด คงกระพันชาตรี รวมทั้งเมตตามหานิยม โดยเฉพาะ กรุเงี้ยวทิ้งปืนด้วยแล้ว ด้านคงกระพันชาตรี ถือว่าเป็นเลิศสุดๆ ปัจจุบันชาวเมืองแพร่ ได้จัดสร้างอนุสาวรีย์พระยาไชยบูรณ์ เพื่อเป็นอนุสรณ์ สดุดีวีรกรรมของท่าน ตั้งอยู่ที่ถนนยันตรกิจโกศล ตำบลนาจักร อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ และทุกวันที่ 25 กรกฎาคม ชาวเมืองแพร่จะมีพิธีวางพวงมาลาสดุดีวีรกรรมพระยาไชยบูรณ์ เป็นประจำทุกปี

ภาพโดย : https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=129&code_db=DB0003&code_type=P003

คำสำคัญ : พระเครื่อง

ที่มา : สมาคมกีฬาจังหวัดกำแพงเพชร. (2549). พระกรุเมืองกำแพง มรดกประวัติศาสตร์กำแพงเพชร. กำแพงเพชร: สมาคมกีฬาจังหวัดกำแพงเพชร.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). พระท่ามะปราง. สืบค้น 30 เมษายน 2568, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=192&code_db=610005&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=192&code_db=610005&code_type=01

Google search

Mic

พระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ กรุฤาษี

พระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ กรุฤาษี

พระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ลายกนก กรุวัดพิกุล อมตะทั้งพุทธศิลป์ เปี่ยมล้นด้วยพุทธคุณ “มีกูแล้วไม่จน” โดย ไตรเทพ ไกรงูพระเครื่องสกุลกำแพงเพชร ปรากฏหลักฐานชัดเจนจากการพบจารึกบนแผ่นลานเงินในกรุขณะรื้อพระเจดีย์องค์ใหญ่ของวัดพระบรมธาตุ เมืองนครชุม ในพระราชนิพนธ์ เรื่อง เสด็จประพาสกำแพงเพชร ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ซึ่งเขียนเมื่อ พ.ศ.2447 ได้กล่าวถึงจารึกบนแผ่นลานทอง อันมีข้อความเกี่ยวกับการขุดพบพระต่างๆ ตามกรุต่างๆ หลักฐานชิ้นสำคัญ อันเกี่ยวกับเมืองกำแพงเพชร ได้แก่ ศิลาจารึกนครชุม ที่กล่าวถึงการสร้างเมือง โดยพระมหาธรรมราชาลิไท ประมาณ พ.ศ.1279

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2017 ผู้เช้าชม 22,131

กรุ สปจ.

กรุ สปจ.

ที่ตัั้งกรุพระ สปจ. อยุ่ในรั้วที่ทำการศึกษานิเทศก์จังหวัดกำแพงเพชร มุมรั้วทิศตะวันออกเฉียงเหนือติดถนนราชดำเนิน เข้าด้านถนนเทศา ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระสังกัจจายณ์ พระร่วงนั่งพิมพ์ฐานสูง พระร่วมนั่งพิมพ์สามเหลี่ยม พระอู่ทองกำแพงพิมพ์ใหญ่ พระนางพญากำแพง พระร่วงนั่งพิมพ์ปีกกว้าง พระเชตุพนพิมพ์ฐานบัว พระอู่ทองกำแพงพิมพ์กลาง และพิมพ์อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 23-08-2019 ผู้เช้าชม 5,479

พระปิดตา “สี่ทิศ”

พระปิดตา “สี่ทิศ”

พระปิดตาสี่ทิศ กรุวัดคูยาง จังหวัดกำแพงเพชร สร้างเมื่อปี พ.ศ.2445-2448 โดยพระครูธรรมาธิมุติมุนี (สมภารกลึง) เจ้าอาวาสวัดคูยาง สร้างแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งถวาย รัชกาลที่ 5 ครั้งเมื่อเสด็จประพาสเมืองกำแพงเพชร และอีกส่วนหนึ่งบรรจุพระเจดีย์ยอดปรางค์ เป็นเนื้อดินละเอียดมีคราบรารัก มีว่านดอกมะขามใกล้เคียงพระกรุทุ่งเศรษฐี รูปทรงกลม หลังอูม มีรูปพระปิดตาสี่องค์ (ประจำสี่ทิศ) พระที่ขึ้นกรุนี้มีมากกว่า 30 พิมพ์ ส่วนใหญ่ใช้พระกรุเก่าทุ่งเศรษฐีกดพิมพ์ เช่น พิมพ์ซุ้มกอ นางแขนอ่อน ลีลาเขย่ง ซุ้มยอ เปิดโลกฯลฯ

เผยแพร่เมื่อ 17-01-2020 ผู้เช้าชม 12,528

พระกำแพงเชยคางข้างเม็ด 2 จังหวัด

พระกำแพงเชยคางข้างเม็ด 2 จังหวัด

เป็นพระพิมพ์แบบเทหล่อแบบครึ่งซีก สัณฐานรูปสี่เหลี่ยมยาว ด้านบนโค้งมน ยอดแหลม ส่วนด้านล่างตัดตรง พุทธลักษณะองค์พระประธานประทับยืน แสดงปางลีลา เหนืออาสนะเส้นตรง 2 ชั้น ภายในซุ้มเรือนแก้ว รอบซุ้มและฐานประดับด้วยเม็ดไข่ปลา พระเกศเป็นมุ่นเมาลี 2 ชั้น บนสุดมีลักษณะคล้ายดอกบัวตูม พระศกเป็นเม็ดงายาวรีโดยรอบ พระพักตร์เอียงไปด้านซ้าย กลมกลืนกับพระอิริยาบถก้าวย่างพระบาท ปรากฏพระเนตร พระนาสิก และพระโอษฐ์ชัดเจน ลำพระศอไม่เด่นชัด แต่สร้อยพระศอปรากฏชัดเจน พระอังสากว้าง พระอุระอวบอูมล่ำสัน แต่แฝงความอ่อนช้อยงามสง่าในที ลำพระองค์วาดเว้ากลมกลืนอย่างมีทรงและทอดต่อลงมาจนถึงพระบาท เส้นพระอังสะและชายจีวรอ่อนช้อยแลดูไหวพลิ้ว พระกรข้างซ้ายขององค์พระยกพาดเหนือพระอังสา พระกรข้างขวาทอดแอ่นไปตามลำพระองค์ ส่วนด้านหลังเป็นหลังแบนเรียบปรากฏลายผ้าหยาบๆ

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 3,159

ตำหนิพระซุ้มกอ

ตำหนิพระซุ้มกอ

 ...นายชิด มหาเล็กหลวงบวรเดช เดิมรับราชการในกระทรวงมหาดไทย ลาป่วย ได้กลับมารักษาตัว ที่บ้านภรรยา เมืองกำแพงเพชร ได้ทูลเกล้าฯ ถวายตำนานพระกำแพงทุ่งเศรษฐี เป็นจารึกบนแผ่นลานทอง แด่รัชกาลที่ 5 ขุด ได้จากบริเวณทุ่งเศรษฐี ว่า การพบกรุพระครั้งแรกที่วัดพระบรมธาตุ นครชุม จากเจดีย์ 3 องค์ ได้ถูกซ่อมขึ้นรวมเป็นองค์เดียวโดยชาวพม่า ชื่อพระยาตะก่า แล้วนำยอดฉัตร จากประเทศพม่ามาประดับยอดพระบรมธาตุ ได้บันทึกไว้ว่า หลังจากพบพระพิมพ์จาก เจดีย์ต่างๆ ในบริเวณ ทุ่งเศรษฐี ได้พระพิมพ์ จำนวนมาก พระพิมพ์ เมืองกำแพงเพชร นี้นับถือกัน มาช้านานแล้วว่า มีอานุภาพมาก ผู้ใดมีไว้ จะทำการใด ก็มีความสำเร็จ ผลตามความปรารถนาทุกประการ ทั้งนี้นายชิดได้ทูลเกล้าฯ ถวายพระพิมพ์ทุ่งเศรษฐี หลายแบบ แด่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 อีกด้วย ซึ่งท่านได้นำออก พระราชทาน แก่พระบรมวงศานุวงศ์ต่ออีกภายหลัง จนเป็นที่นิยม ในหมู่เจ้านายชั้นผู้ใหญ่สืบต่อมาอีกจนถึงปัจจุบัน ในบริเวณลานทุ่งเศรษฐีมีการพบพระกรุทุ่งเศรษฐีกันมากมายหลายพิมพ์ ที่นิยมมากเห็นจะหนีไม่พ้น พระกำแพงเขย่ง ซึ่งได้แก่พระกำแพงเม็ดขนุน กำแพงพลูจีบ กำแพงกลีบจำปา เป็นต้น และ ที่นิยมเป็นที่สุด เป็น 1 ในชุดเบญจภาคี ก็คือ พระกำแพงซุ้มกอ 

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 32,143

พระกำแพงซุ้มกอ ว่านหน้าทอง

พระกำแพงซุ้มกอ ว่านหน้าทอง

พระกำแพงซุ้มกอ ถือกันว่า เป็นพระเครื่องชั้นสูง อันเป็นที่นิยมสูงสุดของพระกำแพงทั้งหลายและได้ถูกจัดเข้าอยู่ในชุดพระเครื่องที่เรียกกันว่า เบญจภาคี มีหลักฐานปรากฏว่าเป็นพระที่สร้างโดยพระมหากษัตริย์ พระกำแพงซุ้มกอ พบทั้งแบบที่เป็นเนื้อดินผสมว่านและเกสรดอกไม้ เนื้อชิน เนื้อที่ถือว่าเป็นพระสำคัญชั้นสูง คือ เนื้อ ที่ทำด้วยว่าน มีแผ่นทองคำ ประกบไว้ด้านหน้าซึ่งคนเฒ่าคนแก่และนักนิยมพระกำแพงในยุคเก่าเรียกกันว่า พระว่านหน้าทอง พระว่านหน้าทอง สร้างขี้นน้อยมาก นอกจากจะน้อยมากแล้วพระที่พบมักจะชำรุดเป็นส่วนใหญ่ หาพระที่สมบูรณ์ยากมาก ในยุคเก่าถือกันว่าเป็นพระชั้นสูงสร้างขึ้นสำหรับท้าวพระยา และแม่ทัพ นายกอง

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 13,358

พระลีลา “กำแพงเขย่ง”

พระลีลา “กำแพงเขย่ง”

พระลีลา หรือ พระกำแพงเขย่ง เป็นหนึ่งในกลุ่มพระพิมพ์ที่ได้รับความนิยมในวงการพระเครื่อง ซึ่งมีความโดดเด่นในเรื่องพุทธคุณที่เชื่อถือศรัทธากันมา และมีรูปลักษณะงดงามทางพุทธศิลป์ โดยนิยมทำเป็นพระพิมพ์ใน 2 ลักษณะ ได้แก่ พระพิมพ์ขนาดเล็กที่สามารถพกพานำติดตัว และองค์พระขนาดใหญ่ประมาณศอก เรียกว่า พระกำแพงศอก พระกำแพงลีลานี้ บางครั้งเรียกว่า พระกำแพงเขย่ง คำว่า พระกำแพง นี้สันนิษฐานว่าเป็นคำเรียกจากลักษณะการพิมพ์รูปพระที่ย่อส่วนมาจากพระพุทธรูปปางลีลาที่เป็นปฏิมากรรมเอกลักษณ์สมัยสุโขทัย ซึ่งเป็นหนึ่งในพระพุทธรูปที่เรียกว่าพระ 4 อิริยาบถ ได้แก่ พระนั่ง พระยืน พระเดิน และพระนอน ซึ่งพระพุทธรูปปางลีลาอยู่ในอิริยาบถเดิน มักปั้นให้มีลักษณะอ่อนช้อย นิยมปั้นติดกับกำแพงหรือผนังซุ้มสถูปเจดีย์ ไม่ปั้นเป็นพระลอยองค์เหมือนรูปพระอิริยาบถอื่นๆ นอกจากนี้ยังมีข้อสันนิษฐานอื่นถึงคำว่า กำแพงนั้น มาจาก กำแพงเพชร ซึ่งเป็นกลุ่มเมืองสำคัญโบราณในสมัยสุโขทัยที่มีการค้นพบพระพิมพ์ปางลีลาในรูปแบบต่างๆ จำนวนมาก ส่วนคำว่า เขย่ง เรียกจากลักษณะการย่างพระบาทของพระพุทธรูปปางลีลา บิดสะโพกเล็กน้อยและเอียงกายทางซ้าย ซึ่งเรียกว่า กริดพัง คนโบราณแลดูว่าเหมือนว่าพระกำลังก้าวเขย่ง จึงเรียกต่อกันมาว่า พระกำแพงเขย่ง 

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 19,569

ประวัติที่มาของพระเครื่อง

ประวัติที่มาของพระเครื่อง

วันศุกร์ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 8 พ.ศ. 1900 กษัตริย์องค์ที่ 5 แห่งกรุงสุโขทัย พระมหาธรรมราชาลิไท พระองค์ทรงเสด็จมาสถาปนาพระศรีรัตนมหาธาตุ และทรงปลูกต้นศรีมหาโพธิ์ (วัดพระบรมธาตุปัจจุบัน) การสถาปนาพระธาตุครั้งนั้นมีพระฤาษี (พระธรรมยุทธิ์ปัจจุบัน) มาร่วมในมหาพิธี 11 ตน ฤาษีทั้งปวงซึ่งมีวิชาอาคมแก่กล้าทั้งสิ้น ในจำนวนฤาษี ซึ่งมีฤาษีตาไฟ ฤาษีตาวัว (หลวงตาไฟหลวงตาวัว) เป็นใหญ่จึงปรึกษากันสร้างเครื่องประดิษฐ์ด้วยฤทธิ์ให้มีอนุภาพแก่มนุษย์ทั้งหลายเพื่อสร้างถวายมหากษัตรย์ฯ ทรงเสด็จสถาปนาพระธาตุในมหาพิธี พระฤาษีตาไฟจึงว่าแก่ฤาษีทั้งปวง

เผยแพร่เมื่อ 14-08-2019 ผู้เช้าชม 5,328

พระนางกำแพงเม็ดมะลื่น วัดพระบรมธาตุ

พระนางกำแพงเม็ดมะลื่น วัดพระบรมธาตุ

พระนางกำแพง  หนึ่งในพระเครื่องเมืองกำแพงเพชร ที่เรียกได้ว่าไม่เป็นสองรองใครเช่นกัน และมีพุทธศิลปะที่แสดงถึงศิลปะสุโขทัยหมวดสกุลช่างกำแพงเพชรได้อย่างชัดเจนที่สุด ทั้งยังเป็นพระที่สร้างในสมัยเดียวกับพระกำแพงซุ้มกอ พระกำแพงเม็ดขนุน ฯลฯ ดังนั้น เนื้อหามวลสาร ความหนึกนุ่มซึ้งของเนื้อพระ รวมถึงด้านพุทธคุณในด้านเมตตามหานิยมและโชคลาภจึงเท่าเทียมกัน และเป็นที่นิยมและแสวงหาในแวดวงนักนิยมสะสมพระเครื่องเช่นเดียวกัน แต่ด้วยพระในตระกูลพระเครื่องเมืองกำแพงเพชรนั้นก็มีปรากฏอยู่มากมายหลายพิมพ์และหลายกรุ โดยเฉพาะ “พระนางกำแพง” มีขึ้นแทบจะทุกกรุในบริเวณทุ่งเศรษฐีทำให้ค่านิยมและการแสวงหาจึงลดหลั่นกันลงไป

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 7,788

พระลูกแป้งเดี่ยว

พระลูกแป้งเดี่ยว

พระนางกำแพงลูกแป้ง เป็นพระเนื้อดินผสมว่านและเกสรดอกไม้ เป็นพระอีกพิมพ์หนึ่งที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในบรรดาพระเครื่องของเมืองกำแพงเพชร เป็นพระในตระกูลพระนางพญากำแพงเพชรพิมพ์เล็กนั่นเอง พุทธลักษณะเป็นพระปางมารวิชัย ประทับนั่งสมาธิราบบนฐานหนึ่งชั้นและมีเส้นกรอบเป็นเส้นซุ้มรอบรูปสามเหลี่ยม และไม่มีการตัดขอบซึ่งจะต้องมีเส้นซุ้มรอบแบบนี้ทุกองค์ พบขึ้นจากกรุทั้งฝั่งนครชุมและลานทุ่งเศรษฐี ตลอดจนบริเวณที่ใกล้เคียง เช่นที่กรุวัดพิกุล กรุวัดอาวาสน้อย กรุวัดป่ามืด กรุวัดพระบรมธาตุ และกรุวัดพระแก้ว เป็นต้น พระนางกำแพงลูกแป้ง มีหลายพิมพ์ตามจำนวนองค์พระที่ปรากฎรวมกันอยู่ เช่น พระนางกำแพงลูกแป้งเดี่ยว พระนางกำแพงลูกแป้งคู่ พระนางกำแพงลูกแป้งสาม พระนางกำแพงลูกแป้งห้า เป็นต้น ส่วนทางด้านพุทธคุณนั้น เป็นที่ยอมรับการมาอย่างช้านานด้านเมตตามหานิยมและโชคลาภ

เผยแพร่เมื่อ 28-02-2017 ผู้เช้าชม 11,048