พระกำแพงเชยคางข้างเม็ด 2 จังหวัด

พระกำแพงเชยคางข้างเม็ด 2 จังหวัด

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้ชม 3,050

[16.4821705, 99.5081905, พระกำแพงเชยคางข้างเม็ด 2 จังหวัด]

       เป็นพระพิมพ์แบบเทหล่อแบบครึ่งซีก สัณฐานรูปสี่เหลี่ยมยาว ด้านบนโค้งมน ยอดแหลม ส่วนด้านล่างตัดตรง พุทธลักษณะองค์พระประธานประทับยืน แสดงปางลีลา เหนืออาสนะเส้นตรง 2 ชั้น ภายในซุ้มเรือนแก้ว รอบซุ้มและฐานประดับด้วยเม็ดไข่ปลา พระเกศเป็นมุ่นเมาลี 2 ชั้น บนสุดมีลักษณะคล้ายดอกบัวตูม พระศกเป็นเม็ดงายาวรีโดยรอบ พระพักตร์เอียงไปด้านซ้าย กลมกลืนกับพระอิริยาบถก้าวย่างพระบาท ปรากฏพระเนตร พระนาสิก และพระโอษฐ์ชัดเจน ลำพระศอไม่เด่นชัด แต่สร้อยพระศอปรากฏชัดเจน พระอังสากว้าง พระอุระอวบอูมล่ำสัน แต่แฝงความอ่อนช้อยงามสง่าในที ลำพระองค์วาดเว้ากลมกลืนอย่างมีทรงและทอดต่อลงมาจนถึงพระบาท เส้นพระอังสะและชายจีวรอ่อนช้อยแลดูไหวพลิ้ว พระกรข้างซ้ายขององค์พระยกพาดเหนือพระอังสา พระกรข้างขวาทอดแอ่นไปตามลำพระองค์ ส่วนด้านหลังเป็นหลังแบนเรียบปรากฏลายผ้าหยาบๆ
       เท่าที่พบเห็นมีอยู่ 2 เนื้อ คือ เนื้อชินเงินและเนื้อตะกั่วสนิมแดง แต่ส่วนมากจะเป็นพระเนื้อชินเงิน พิมพ์ที่พบมี 3 พิมพ์ ซึ่งมีพุทธลักษณะเหมือนกัน ต่างกันที่ขนาดขององค์พระ คือ พิมพ์ใหญ่ ขนาดประมาณ 2.2 X 5.6 ซ.ม. พบเห็นน้อยมาก, พิมพ์กลาง ประมาณ 2 X 5 ซ.ม. พบเป็นจำนวนมากกว่าพิมพ์อื่นๆ และเช่าหาเป็นพิมพ์มาตรฐาน และ พิมพ์เล็ก ประมาณ 1.7 X 4.6 ซ.ม.           
       เนื่องจากเป็นพระพิมพ์ที่พบคนละกรุ ผิวขององค์พระในแต่ละกรุจึงแตกต่างกัน “กรุวัดบรมธาตุและกรุบริเวณทุ่งเศรษฐี” จะมีผิวสนิมตีนกาเป็นสีดำๆ เป็นส่วนใหญ่ ส่วนที่ “กรุวัดอาวาสน้อยและวัดสี่อิริยาบถ” มักจะมีผิวปรอทหลงเหลืออยู่ ผิวมักจะออกขาวซีดๆ ที่พบเป็นชินแก่ตะกั่ว มีไขขาวและสนิมแดงก็พบบ้างแต่น้อยมาก
       พระกำแพงเชยคางข้างเม็ด จังหวัดกำแพงเพชร ค้นพบบริเวณลานทุ่งเศรษฐี กรุวัดบรมธาตุ วัดอาวาสน้อย และวัดสี่อิริยาบท เป็นพระกรุเก่าแก่ที่มีพุทธลักษณะอันอ่อนช้อยงดงาม ลายเส้นต่างๆ มีความประสานกลมกลืน โดยฝีมือสกุลช่างยุคสุโขทัยบริสุทธิ์ ที่เรียก “พระกำแพงเชยคางข้างเม็ด” นั้น มาจากพุทธลักษณะที่พระกรด้านซ้ายยกขึ้นพาดพระอังสาคล้ายการ ‘เชยคาง’ และโดยรอบซุ้มเรือนแก้วขององค์พระจะมีเม็ดไข่ปลาปรากฏอยู่ 
      แต่ละกรุ ผิวขององค์พระในแต่ละกรุจึงแตกต่างกัน “กรุวัดบรมธาตุและกรุบริเวณทุ่งเศรษฐี” จะมีผิวสนิมตีนกาเป็นสีดำๆ เป็นส่วนใหญ่ ส่วนที่ “กรุวัดอาวาสน้อยและวัดสี่อิริยาบถ” มักจะมีผิวปรอทหลงเหลืออยู่ ผิวมักจะออกขาวซีดๆ ที่พบเป็นชินแก่ตะกั่ว มีไขขาวและสนิมแดงก็พบบ้างแต่น้อยมาก   
      พระกำแพงเชยคางข้างเม็ด จ.สุพรรณบุรี ค้นพบที่กรุวัดชุมนุมสงฆ์ กรุใหญ่กรุหนึ่งเมืองสุพรรณ ในคราวเปิดกรุอย่างเป็นทางการเมื่อปี พ.ศ.2504 สันนิษฐานว่าเป็นพระสมัยอยุธยาตอนต้น ในราวปี พ.ศ.1967 ลักษณะพิมพ์ทรงเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ด้านบนเรียวแหลม ยกขอบเป็นเส้นลวดนูน 2 ชั้น คล้ายซุ้มเรือนแก้ว มีเส้นขีดคล้ายลายกนกโดยรอบ พุทธลักษณะองค์พระประธานประทับยืน แสดงปางลีลา บนฐานบัว 2 ชั้น พระเกศจิ่ม แหลม และยาวจดเส้นซุ้ม เส้นไรพระศกเป็นเส้นนูนชัดเจน พระพักตร์รูปไข่ ส่วนล่างค่อนข้างแหลม ปรากฏพระเนตร พระนาสิก และพระโอษฐ์ โดยเฉพาะพระเนตรนูนเด่นคล้ายตาตั๊กแตน พระเศียรเอนไปด้านซ้ายเล็กน้อย พระอังสาด้านขวาขององค์พระยกขึ้นเล็กน้อย และมีการแอ่นเอนของพระวรกาย แสดงความสมดุลและกลมกลืนได้อย่างสละสลวย พระกรด้านซ้ายจะยกขึ้นแนบพระอุระ การวาดลำพระกรทั้ง 2 ข้างอ่อนช้อยและเน้นเส้นลึกชัด ส่วนชายจีวรเส้นจะแผ่วบาง นับเป็นพระที่มีพุทธศิลป์ที่อ่อนช้อยงดงามแสดงถึงศิลปะบริสุทธิ์อันเป็นเอกลักษณ์ของไทยอย่างแท้จริง           
      ที่เรียกขานในชื่อ ‘พระกำแพงเชยคางข้างเม็ด’ เช่นเดียวกับที่จังหวัดกำแพงเพชร ก็เนื่องจากมีพุทธลักษณะคล้ายคลึงกัน จะต่างกันตรง ‘การเชยคาง’ พระกรด้านซ้ายจะยกขึ้นแนบพระอุระ ยกขอบเป็นเส้นลวดนูน 2 ชั้น คล้ายซุ้มเรือนแก้ว และมีเส้นขีดคล้ายลายกนกโดยรอบ และขนาดขององค์พระค่อนข้างเขื่องกว่า คือ ประมาณ 2.5 X 8 ซ.ม.
      เท่าที่พบมีเพียงเนื้อเดียว เป็นพระเนื้อชินเงินซึ่งออกจะแก่เงิน เนื้อองค์พระจึงแข็งกว่าพระพิมพ์เนื้อชินของกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุซึ่งแก่ตะกั่ว ดังนั้นจุดสำคัญในการพิจารณาคือ “ความเก่า” พระเนื้อชินที่บรรจุในกรุเป็นเวลาเนิ่นนานเกือบ 600 ปี ต้องพิจารณาคราบกรุ สนิมไข รอยร้าวและรอยระเบิดให้ดีๆ ครับผม

 

คำสำคัญ : พระเครื่อง

ที่มา : http://www.arjanram.com/relic_detail.php?g=2&id=125

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2562). พระกำแพงเชยคางข้างเม็ด 2 จังหวัด. สืบค้น 25 มกราคม 2568, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=1165&code_db=610005&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1165&code_db=610005&code_type=01

Google search

Mic

พระกลีบจำปา

พระกลีบจำปา

พระกำแพงกลีบจำปา จัดเป็นพระอยู่ในตระกูลเดียวกันกับพระกำแพงเม็ดขนุน จะมีเนื้อดิน และเนื้อชินเงินเท่านั้น เป็นพระที่พบไม่มากนัก ส่วนใหญ่พระพิมพ์นี้จะตื้นประมาณ 80% จะชำรุดเพราะเป็นพระที่เนื้อเปราะบางด้านพุทธคุณแล้วเหมือนกับพระกำแพงเพชรเม็ดขนุนและพลูจีบทุกอย่าง ขุดพบที่วัดพิกุล วัดอาวาสน้อย และบริเวณลานทุ่งทั่ว ๆ ไป

 

เผยแพร่เมื่อ 21-02-2017 ผู้เช้าชม 6,611

ความแตกต่างของเนื้อพระกรุ

ความแตกต่างของเนื้อพระกรุ

ความแตกต่างของเนื้อพระกรุ พระกำแพงต่างๆ ซึ่งเป็นพระกรุจังหวัดเดียวกันเหตุใดจึงมีเนื้อหาที่ต่างกัน ทำไมบางองค์เนื้อแดงดูฉ่ำมีแร่ใหญ่ ชัด บางองค์ละเอียดเนื้อแทบไม่มีเม็ดแร่ใหญ่ให้เห็น บางองค์ก็เหมือนเป็นพระที่ผ่านการใช้มามาก ลักษณะลื่นๆ เรียบๆ การที่พระเครื่องมีเนื้อหาต่างกัน ถ้าจะให้สันนิษฐานน่าจะเกิดจากสาเหตุการสร้างพระจำนวนมาก คงไม่ได้มีการผสมเนื้อครั้งเดียวเป็นแน่ ดังนั้นพระที่ผสมหลายครั้งอาจจะมีเนื้อหาแตกต่างกันไป เช่น ถ้าครั้งใดมีส่วนผสมที่แก่ว่านและเกสรก็อาจจะหนึกนุ่มกว่าที่ครั้งที่แก่ดิน แม้แต่พระเนื้อผงอย่างพระสมเด็จก็มีแบบหยาบที่เรียกตามๆ กันมาว่า ก้นครก 

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 10,990

กรุพระเครื่อง เมืองกำแพงเพชร

กรุพระเครื่อง เมืองกำแพงเพชร

จังหวัดกำแพงเพชร นับเป็นกรุพระเครื่องที่ยิ่งใหญ่ของประเทศไทย โดยเฉพาะโบราณสถานที่ตั้งอยู่ของ 2 ฟากฝั่งแม่น้ำปิง คือ ฝั่งตะวันออกเมืองกำแพงเพชรและฝั่งตะวันตกเมืองนครชุม (ทุ่งเศรษฐี) มีโบราณสถานรวม 81 แห่ง ในพื้นที่ 2,407 ไร่ ซึ่งในวงการพระฯ ทั่วประเทศถือมีพระองค์เบญจภาคีอยู่ 9 องค์ เฉพาะพระเครื่องเมืองกำแพงเพชรถูกยกย่องมีพระองค์เบญจภาคีถึง 3 องค์ คือ 1. พระซุ้มกอ "ทรงนั่งสมาธิ" 2. พระเม็ดขนุน "ทรงลีลา" (เขย่ง) และ 3. พระพลูจีบ "ทรงเหินฟ้า" ถ้าย่ิ่งเป็นพระเครื่องที่อยู่ในสกุลกรุต่างๆ ของทุ่งเศรษฐีแล้ว ผู้ที่มีไว้ครอบครองจะถือเสมือนได้สมบัติอันมีค่าควรเมืองทีเดียว 

เผยแพร่เมื่อ 14-08-2019 ผู้เช้าชม 14,447

กรุสี่อิริยาบถ

กรุสี่อิริยาบถ

ที่ตั้งกรุพระวัดสี่อิริยาบถ อยู่เหนือกรุวัดป่ามือประมาณ 400 เมตร ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระท่ามะปราง พระคู่สวดอุปฌา พระกำแพงขาโต๊ะ พระเปิดโลก พระอู่ทอง ฐานสำเภา พระเทริดขนนก พระโพธิบัลลังก์ พระกำแพงห้าร้อย พระนางพญาแขนอ่อนฐานบัว พระลีลากำแพง พระประทานพร พระอู่ทอง ฐานสูง พระนาคปรก พระกลีบบัว และพิมพ์อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 20-08-2019 ผู้เช้าชม 3,320

พระกำแพงกลีบจำปา

พระกำแพงกลีบจำปา

เมื่อได้พูดถึงพระกำแพงพลูจีบไปแล้ว ทำให้นึกถึงพระกำแพงลีลาชั้นนำอีกองค์หนึ่ง ซึ่งปัจจุบันนี้เป็นพระเครื่องในระดับตำนานที่หาชมของแท้ได้ยากยิ่งนัก พระที่ว่านี คือกำแพงกลีบจำปา พระพิมพ์นี้เป็นปางลีลา ศิลปะสุโขทัยตามแบบฉบับของพระลีลาของกำแพงเพชรสกุลทุ่งเศรษฐี มีฐานรองรับด้วยบัวเล็บช้างสามกลีบ พุทธลักษณะใกล้เคียงกับพระกำแพงเม็ดขนุนมาก ที่ต่างกับพระกำแพงเม็ดขนุนและสามารถแยกแยะง่ายๆ ก็คือ พระกำแพงเม็ดขนุนฐานเรียบ ไม่มีลักษณะเป็นบัว พระกำแพงกลีบจำปาด้านหลังจะเป็นแบบปาดเรียบ ไม่ใช่อูมนูนขึ้นแบบพระกำแพงเม็ดขนุน และขอบข้างจะเป็นลักษณะแบบขอบตัดส่วนพระเม็ดขนุนไม่มีลักษณะที่ว่า หรือถ้าจะว่ากันสั้นๆ ก็คือ ถ้ามีลักษณะบางคือ กำแพงกลีบจำปา ถ้าอูมหนาก็คือกำแพงเม็ดขนุน มีหลักฐานว่าพระกำแพงกลีบจำปาพบครั้งแรกที่วัดพระบรมธาตุ เมื่อ พ.ศ. 2392 พร้อม ๆ กับการพบพระกำแพงเม็ดขนุน แต่พบน้อยมาก ที่นักนิยมพระในยุคเก่าท่านพากันเรียกว่าพระกำแพงกลีบจำปาเพราะมีสัณฐานบาง เรียวแบน ปลายแหลมเรียวมน และมีสีเหลืองเข้มคล้ายดอกจำปา

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 14,647

กรุอาวาสใหญ่

กรุอาวาสใหญ่

ที่ตั้งกระพระวัดอาวาสใหญ่ อยู่ริมถนนกำแพงพรานกระต่ายติดกับบ่อสามแสน ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระฝักดาบ พระลีลากำแพง พระซุ้มเสมา พระคู่สวดอุปฌานอกเสมา พระโพธิ์บัลลังก์ พระฤาษีสนิมตีนกา พระท่ามะปราง พระลีลาพิมพ์ตะกวน พระซุ้มเรือนแก้ว พระคู่สวดอุปฌาในเสา พระมารวิชัยสนิมตีนกา และพิมพ์อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 20-08-2019 ผู้เช้าชม 2,866

อมตพระกรุ เมืองกำแพงเพชร พระกำแพงซุ้มกอ

อมตพระกรุ เมืองกำแพงเพชร พระกำแพงซุ้มกอ

พระกำแพงซุ้มกอ จัดเป็นพระที่สุดยอด และเป็นเอกของเมืองกำแพงเพชรเป็นพระที่อมตะทั้งพุทธศิลป์ และพุทธคุณถูกจัดอยู่ในชุดเบญจภาคีที่สูงสุดของพระเครื่องเมืองไทย พระกำแพงซุ้มกอ พระที่ทำจากเนื้อดินผสมว่านและเกสรดอกไม้ และทำจากเนื้อชินก็มีพุทธลักษณะของพระซุ้มกอนั้นองค์พระเป็นประติมากรรมในสมัยสุโขทัย นั่งสมาธิมีลายกนกอยู่ด้านข้างขององค์พระ นั่งประทับอยู่บนบัวเล็บช้าง ขอบของพิมพ์พระจะโค้งมนลักษณะคล้ายตัว ก.ไก่ คนเก่า ๆ จึงเรียกว่า “พระซุ้มกอ”
         

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 6,752

กรุวัดตะแบกลาย

กรุวัดตะแบกลาย

ที่ตั้งกรุพระวัดตะแบกลาย อยู่ทิศใต้ของกรุวัดเชิงหวาย ประมาณ 400 เมตร ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระลีลากำแพง พระซุ้มกอแผง พระเจ้าสิบพระองค์ พระสิบชาติ พระกลีบบัว พระลีลาสิบพระองค์ พระนารายณ์ทรงปีน พระสิบชาตินารายณ์แปรง และพิมพ์อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 20-08-2019 ผู้เช้าชม 6,457

พระพลูจีบว่านหน้าทอง

พระพลูจีบว่านหน้าทอง

พระกำแพงพลูจีบ เป็นพระที่มีพุทธลักษณะลีลาก้าวย่างไปข้างหน้า แต่หันด้านข้างออก เป็นพระที่คล้ายคลึงกับพระกำแพงเม็ดขนุน ผิดกันตรงที่องค์พระผอมกว่า และตื้นกว่าพระกำแพงพลูจีบ เป็นพระที่มีการสร้างประมาณ 600 กว่าปี เท่าๆ กับพระกำแพงซุ้มกอ และพระเม็ดขนุนวัสดุในการใช้สร้าง ประกอบด้วยเนื้อดินผสมว่านเกสร เนื้อว่านล้วน ๆ มีหน้าทองปิด และเนื้อชิน

เผยแพร่เมื่อ 21-02-2017 ผู้เช้าชม 4,500

พระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ กรุฤาษี

พระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ กรุฤาษี

เมื่อได้พูดถึงพระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ ว่าได้มีการพบหลายกรุ แต่เป็นที่น่าเสียดายที่ว่ามิได้มีการจำแนกกรุอย่างชัดเจนสำหรับการศึกษาในยุคหลังๆ เพราะพระเครื่องในสมัยนั้นเป็นการลักลอบขุดเสียเป็นส่วนมาก ส่วนที่ฟังจากนักขายพระในยุคนี้ก็เป็นการพูดเพื่อสร้างราคาค่านิยมเสียมากกว่า ผมเคยพยายามศึกษาจากผู้ที่ (อ้างว่า) รู้ หลายคน ครั้นสืบสาวซักไซ้เข้าจริงก็เป็นประเภทเขาบอกมาว่า ทั้งนั้นไม่มีใครรู้แน่ คนรุ่นเก่าที่พอจะรู้เรื่องเหล่านี้ก็หมดไป พระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่องค์นี้ เจ้าของเดิมยืนยันว่า เป็นกรุฤาษี ซึ่งเป็นบริเวณวัดโบราณที่เรียกกันต่อๆมา ว่าวัดฤาษี อยู่ใกล้กับสถานีขนส่ง ปัจจุบันนี้ไม่ได้มีสภาพเป็นวัดโบราณอีกต่อไป การขุดพระจากกรุวัดฤาษีนี้เริ่มมีการลักลอบขุดมาเมื่อประมาณ ปี พ.ศ. 2500 

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 39,158