กำแพงเม็ดขนุน พิมพ์เล็ก

กำแพงเม็ดขนุน พิมพ์เล็ก

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้ชม 15,398

[16.4821705, 99.5081905, กำแพงเม็ดขนุน พิมพ์เล็ก]

            ในจำนวนพระเครื่องมากมาย ที่พบบริเวณ ทุ่งเศรษฐี ฝั่งตรงข้ามเมืองกำแพงเพชร พระพิมพ์ยืน หรือปางลีลาศ มีคนนำไปติดตัว ใช้คุ้มตัวได้ผล เป็นที่นิยม สมัยแรกๆเรียกกันว่า พระกำแพงเขย่ง พระพิมพ์ยืนมีหลายพิมพ์ ไล่เลียงลำดับ ตามค่านิยมของวงการ ใช้คำนำหน้า “กำแพง” แล้วตามด้วยรูปพรรณสัณฐาน เริ่มจาก กำแพง เม็ดขนุน กำแพงพลูจีบ กำแพงกลีบจำปา กำแพงขาว กำแพงเชยคางข้างเม็ด ฯลฯ พิมพ์ยืน หรือกำแพงเขย่ง ที่เคยเรียก ไม่เพียง “เขย่ง” พระบาทขวา ยังมี “เขย่ง” พระบาทซ้าย
            คนรักพระยืนกรุทุ่งเศรษฐี รักทั้งชื่อรักทั้งเนื้อพระที่นุ่มนวลจนเรียก “เนื้อทุ่ง” ถ้าไม่หลง ตามค่านิยมของวงการ รู้จักเลือก “สักพิมพ์” ยิ่งเป็นพิมพ์ที่ไม่ค่อยพบเห็น ว่ากันด้วยเหตุผล พุทธคุณพระกรุเดียวกัน
            พระกำแพงเม็ดขนุน หรือกำแพงซุ้มกอ ไปถึงกำแพงลูกแป้ง ก็ไม่ต่างกัน ภาพพระในคอลัมน์วันนี้ เป็นพิมพ์กำแพงเม็ดขนุน พิมพ์เล็ก ดูแต่ภาพถ้าไม่บอกขนาด ก็คงไม่รู้ว่า ในจำนวนเม็ดขนุนพิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง และพิมพ์เล็ก พิมพ์เล็ก แม่พิมพ์หนึ่งเคยเห็นหลายองค์พอคุ้นตา แต่พิมพ์เล็กองค์นี้ เล็กกว่าเส้นสายลายพิมพ์ โดยเฉพาะเส้นซุ้มรอบองค์พระ ก็แปลกตากว่า จะแยกเป็นอีกพิมพ์ พิมพ์จิ๋ว ก็ไม่ถนัดปาก เสน่ห์ของเม็ดขนุนพิมพ์เล็กองค์นี้ ก็คือ เนื้อหาคราบไคล ส่วนที่สึกช้ำพองาม หนั่นแน่น นุ่มนวล เข้ามาตรฐานเนื้อทุ่งแท้ๆ ส่วนที่เป็นพื้นหนังด้านหน้า “รารัก” และฝ้าดิน ยืนยันความเก่าแท้ชัดเจน ใครที่เคยเกี่ยง พระกำแพงเม็ดขนุนพิมพ์ใหญ่ เอาเข้าพวงพระชุดเบญจภาคีแล้วเกะกะเพราะความใหญ่ ถ้าเจอขนาดพิมพ์เล็ก องค์นี้ แล้วก็...ใช่เลย หรือมั่นใจมาก อยากจะแขวนเดี่ยว ก็เบาๆ สบายๆอย่าลืมว่า พระชุดกำแพงทุ่งเศรษฐีทุกองค์ โดยเฉพาะพระกำแพงซุ้มกอ “พี่ชุม” (ประชุม กาญจนวัฒน์) เคยประทับตราเขย่ายั่วใจ “มึงมีกูไว้ไม่จน”
            พี่ชุม ค้นคว้าอธิบายไว้ในหนังสือภาพพระเครื่องว่า พระกำแพงเม็ดขนุน เป็นพระทุ่งเศรษฐีศิลปะแบบสุโขทัย พบครั้งแรกจากกรุวัดบรมธาตุ เมื่อ พ.ศ.2472 โดยมีเรื่องเล่าว่า สมเด็จพระพุฒาจารย์โต วัดระฆัง ท่านเก่งทางอ่านจารึกโบราณ เป็นผู้ค้นพบ จนอาจถือได้ว่า พระชุดทุ่งเศรษฐี เป็นพระเครื่องชุดแรกในประเทศไทย ที่มีหลักฐานการค้นพบ พระมหาธรรมราชาลิไทย กษัตริย์องค์ที่ 5 แห่งกรุงสุโขทัย เป็นผู้สถาปนาไว้เมื่อปี พ.ศ.1900 ราวปี พ.ศ.2470 มีผู้ค้นพบพระกำแพงเม็ดขนุน ที่กรุวัดพิกุล และกรุกลางทุ่ง จากนั้นก็มีคนขุดค้นเรื่อยมา จนปี พ.ศ.2505 พบพระกำแพงเม็ดขนุนที่กรุวัดอาวาสน้อย และวัดป่ามืด อีกราวๆ 50 องค์ ในหนังสือพระเครื่อง เล่มที่จังหวัดกำแพงเพชรรวบรวมพิมพ์เผยแพร่ ปรากฏว่า พิมพ์เม็ดขนุนวัดป่ามืดนั้น เส้นสายลายพิมพ์แตกต่างจากเม็ดขนุนทั่วๆไป ถือว่าเป็นอีกแม่พิมพ์หนึ่ง 
            พระกำแพงเม็ดขนุน มีทั้งเนื้อดินมีทั้งแดง เหลือง เขียว ดำ เนื้อชินมีทั้งชินเงิน ชินตะกั่ว เนื้อว่าน เฉพาะเนื้อว่านมีทั้งเนื้อว่านล้วนๆ และเนื้อว่านประกบหน้าด้วยแผ่นเงิน นาก และทอง เรียกกำแพงหน้าทอง เชื่อกันว่า พระกำแพงเม็ดขนุนมีพุทธ-คุณสมชื่อ ทุ่งเศรษฐี นอกจากให้โชคลาภแล้ว ยังช่วยทั้งด้านคงกระพันชาตรีและด้านแคล้วคลาด คำแนะนำ สำหรับคนหาพระใช้ ทุกพิมพ์ของพระกำแพงเพชร พูดกันเล่นว่า กำ แล้วแพง ถ้าไม่ติดพิมพ์นิยม เลือกหาพิมพ์ที่ไม่ค่อยมีใครรู้จัก อย่างกำแพงเม็ดขนุนพิมพ์เล็กองค์นี้ไว้ เชื่อว่าเมื่อ “กำ” ได้ คงไม่ “แพง” บาดใจเกินไป

คำสำคัญ : พระเครื่อง, กำแพงเพชร

ที่มา : พลายชุมพล. (2561). กำแพงเม็ดขนุน พิมพ์เล็ก. https://www.thairath.co.th/news/foreign/1338901

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2562). กำแพงเม็ดขนุน พิมพ์เล็ก. สืบค้น 27 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=1178&code_db=610005&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1178&code_db=610005&code_type=01

Google search

Mic

กรุวัดกระโลทัย

กรุวัดกระโลทัย

ที่ตั้งกรุพระวัดกระโลทัย อยู่ถนนลำมะโกรก หลังโรงเเรียนจงสวัสดิ์วิทยา จากรั้วโรงเรียนไปประมาณ 30 เมตร ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระกำแพงขาวพิมพ์กลางสนิมตีนกา พระกำแพงห้าร้อย พระกำแพงคืบ พระโพธิ์บัลลังก์ พระสิบชาติ พระนางพญากำแพง พระงบน้ำอ้อย พระนารายณ์ทรงปืน พระซุ้มกระรอกกระแต พระสิบชาตินารายณ์แปรง และพิมพ์อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 23-08-2019 ผู้เช้าชม 4,005

พระกลีบจำปา

พระกลีบจำปา

พระกำแพงกลีบจำปา จัดเป็นพระอยู่ในตระกูลเดียวกันกับพระกำแพงเม็ดขนุน จะมีเนื้อดิน และเนื้อชินเงินเท่านั้น เป็นพระที่พบไม่มากนัก ส่วนใหญ่พระพิมพ์นี้จะตื้นประมาณ 80% จะชำรุดเพราะเป็นพระที่เนื้อเปราะบางด้านพุทธคุณแล้วเหมือนกับพระกำแพงเพชรเม็ดขนุนและพลูจีบทุกอย่าง ขุดพบที่วัดพิกุล วัดอาวาสน้อย และบริเวณลานทุ่งทั่ว ๆ ไป

 

เผยแพร่เมื่อ 21-02-2017 ผู้เช้าชม 6,055

พระกำแพงฝักดาบว่านหน้าทอง

พระกำแพงฝักดาบว่านหน้าทอง

พระว่านหน้าทองนั้นในทรรศนะของผมเป็นพระเครื่องชั้นสูงของกำแพงเพชรอย่างแท้จริง และเป็นพระที่คู่ควรแก่การอาราธนาบูชาประจำตัว เพราะพระว่านหน้าเป็นพระที่พระมหากษตริย์ทรงสร้าง เป็นพระที่ศิลปสวยงามอลังการณ์ตามแบบของสกุลช่างสมัยสุโขทัยซึ่งเป็นยุคทองพระพุทธศาสนา การสร้างพระพิมพ์ด้วยทองคำซึ่งเป็นของสูงค่ามาตั้งแต่โบราณเป็นสิ่งที่บอกในตัวเองว่า พระว่านหน้าทองไม่ใช่พระในระดับธรรมดาแน่ พระกำแพงว่านหน้าทองที่นำมาให้ศึกษาอีกองค์หนึ่ง คือ พระกำแพงลีลาฝักดาบ สำหรับพุทธานุภาพของพระว่านหน้าทองนั้นเป็นที่ประจักษ์แก่นักพระเครื่องยุคเก่ากันมานักต่อนักว่า มีอานุภาพครอบจักรวาลสมดังคำจารึกในใบลานทอง เพื่อให้ท่านได้เห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้น จะขอคัดข้อเขียนของ อ.ประชุม ฯ ที่เขียนเล่าเรื่องพระกำแพงฝักดาบว่านหน้าทอง ไว้ในหนังสือของท่านเมื่อกึ่งศตวรรษมาแล้ว

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 8,940

เหรียญรอดมรณะ

เหรียญรอดมรณะ

เหรียญพระวิเชียรธรรมคณี หลวงพ่อทองพาน วัดคูยาง จ กำแพงเพชร รุ่นรอดมรณะ พ.ศ.๒๕๒๑ ตอกโค้ดเลข ๑ สวย

เผยแพร่เมื่อ 28-02-2017 ผู้เช้าชม 2,560

พระสมเด็จพิมพ์เล็ก

พระสมเด็จพิมพ์เล็ก

พระอธิการกลึง วัดคูยาง กำแพงเพชร ได้รวบรวม พระเครื่องของกรุกำแพงเพชรที่แตกหัก ที่ได้ค้นพบจากการรื้อสร้างบูรณะพระเจดีย์ทั้งสามองค์ของวัดพระบรมธาตุ นำมาป่นแล้วกดพิมพ์ขึ้นใหม่ โดยมักจะล้อพิมพ์พระดังๆ

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 3,966

กรุตาลดำ

กรุตาลดำ

ที่ตั้งกรุพระวัดตาลดำ อยู่ทิศตะวันออกของกรุเจดีย์กลางทุ่ง ประมาณ 400 เมตร ปัจจุบันถูกชาวบ้านปราบเป็นที่ทำการเกษตร ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระนางพญากำแพง พระอู่ทองกำแพง พิมพ์ใหญ่ พระลูกแป้ง คู่ พระเจ้าห้าพระองค์ พระกลีบบัว พระลูกแป้ง เดียว พระเจ้าสามพระองค์ พระเจ้าสิบพระองค์ และพิมพ์อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 19-08-2019 ผู้เช้าชม 5,090

ประวัติที่มาของพระเครื่อง

ประวัติที่มาของพระเครื่อง

วันศุกร์ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 8 พ.ศ. 1900 กษัตริย์องค์ที่ 5 แห่งกรุงสุโขทัย พระมหาธรรมราชาลิไท พระองค์ทรงเสด็จมาสถาปนาพระศรีรัตนมหาธาตุ และทรงปลูกต้นศรีมหาโพธิ์ (วัดพระบรมธาตุปัจจุบัน) การสถาปนาพระธาตุครั้งนั้นมีพระฤาษี (พระธรรมยุทธิ์ปัจจุบัน) มาร่วมในมหาพิธี 11 ตน ฤาษีทั้งปวงซึ่งมีวิชาอาคมแก่กล้าทั้งสิ้น ในจำนวนฤาษี ซึ่งมีฤาษีตาไฟ ฤาษีตาวัว (หลวงตาไฟหลวงตาวัว) เป็นใหญ่จึงปรึกษากันสร้างเครื่องประดิษฐ์ด้วยฤทธิ์ให้มีอนุภาพแก่มนุษย์ทั้งหลายเพื่อสร้างถวายมหากษัตรย์ฯ ทรงเสด็จสถาปนาพระธาตุในมหาพิธี พระฤาษีตาไฟจึงว่าแก่ฤาษีทั้งปวง

เผยแพร่เมื่อ 14-08-2019 ผู้เช้าชม 4,879

กรุวัดทุ่งเศรษฐี

กรุวัดทุ่งเศรษฐี

ที่ตั้งกรุพระวัดทุ่งเศรษฐี อยู่ทิศตะวันตกของป้อมบ้านเศรษฐี ประมาณ 200 เมตร ปัจจุบันที่ตั้งกรุถูกขุดเป็นสระกว้างประมาณ 600 ตารางเมตร ชาวบ้านนิยมเรียกคำว่า "กรุทุ่งเศรษฐี" ก็เห็นจะเป็นนามมงคลของคำว่า "เศรษฐี" กรุพระต่างๆ ที่ชาวบ้านนิยมเรียกใช้นามคำว่า "กรุทุ่งเศรษฐี" ขอสรุปมีกรุดังนี้ กรุวัดทุ่งเศรษฐี กรุหนองลังกา กรุซุ้มกอ กรุเจดีย์กลางทุ่ง กรุตาพุ่ม กรุนาตาคำ กรุตาลดำ กรุคลองไพร กรุบริเวณวัดพระบรมธาุและกรุอื่่นๆ ที่อยู่ในบริเวณลานทุ่ง กรุพระต่างๆ ที่เขียนนี้ สมัยก่อนเป็นบริเวณทุ่งนาของเศรษฐีพิกุล ปัจจุบันชาวบ้านจึงเรียกว่า "กรุทุ่งเศรษฐี"

 

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 8,628

พระซุ้มชินราช

พระซุ้มชินราช

พระซุ้มชินราช กำเนิดที่วัดร้าง คือวัดหัวมีนาและวัดโพธิ์ ตำบลท่าเรือ จังหวัดนครศรีธรรมราช วัดสองวัดนี้ปัจจุบันไม่มีแล้วเพราะสถานที่ทั้งสองกลายเป็นโรงเรียนนาฏศิลป์ไปแล้ว พระถูกค้นพบเมื่อประมาณพ.ศ. ๒๔๙๖ นอกจากจะพบพระซุ้มชินราชแล้งยังพบพระพิมพ์อื่นปนออกมาหลายพิมพ์ เช่นพิมพ์วงเขน พิมพ์ตรีกรายฯ ส่วนใหญ่จะเป็นเนื้อดิน ส่วนเนื้อชินมีน้อย ศิลปะของพระกรุนี้จะเป็นยุคอยุธยาตอนต้น

เผยแพร่เมื่อ 23-02-2017 ผู้เช้าชม 9,138

กรุวัดพระบรมธาตุ

กรุวัดพระบรมธาตุ

กรุวัดพระบรมธาตุ ทั้งตั้งกรุวัดพระบรมธาตุ ข้ามสะพานกำแพงเพชรไปทางตะวันตก จากหัวสะพานเลี้ยวขวาไปประมาณ 900 เมตร  ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระซุ้มกอมีกนกพิมพ์ใหญ่ พระเล็บมือนาง พระซุ้มกอดำไม่มีกนกพิมพ์ใหญ่  พระใบพุทรา พระเม็ดขนุนพิมพ์ใหญ๋ พระกลีบบัว พระเม็ดขนุนพิมพ์กลาง พระนางพญาเศียรโต พระพูลจีบ พระนางพญากำแพงห้าเหลี่ยม พระกำแพงขาวพิมพ์กลาง พระนางพญาตราตาราง พระเปิดโลกเม็ดทองหลาง พระอูทองกำแพงพิมพ์เล็ก พระเปิดโลก พระกำแพงขาโต๊ะปิดทอง พระเปิดโลก พระกำแพงห้าร้อย พระลีลากำแพง พระงบน้ำอ้อยสิบหกพระองค์ พระลีลากำแพง พระท่ามะปราง พระเชยคางข้ามเม็ดพิมพ์ใหญ่ พระเชยคางข้างเม็ดพิมพ์เล็ก พระซุ้มยอ พระยอดขุนพล พระนาคปรก พระเม็ดมะลื่น และพิมพ์อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 9,787