พระลีลาหน้าเงิน
เผยแพร่เมื่อ 21-02-2017 ผู้ชม 12,782
[16.4746251, 99.5079925, พระลีลาหน้าเงิน]
พระลีลาหน้าเงินและลีลาหน้าทองนี้เป็นพระที่ท่านเจ้าอาวาสองค์ก่อนได้มาเมื่อครั้งในอดีตท่านธุดงส์ไปยังสุโขทัยเมื่อท่านมรณภาพแล้วหลวงพ่อสมท่านรวบรวมบรรจุไว้ในสถูปเพื่อแสดงความเคารพบูชาครูอาจารย์ของท่านต่อมาบริเวณสถูป(วัดเมืองรามเก่า)ริมตลิ่งถูกแม่น้ำกัดเซาะหลวงพ่อสมท่านจึงดำริที่จะย้ายสถูปไปอยู่ในวัดเมืองรามปัจจุบันท่านได้ขอแรงกำลังพลจากทหารค่าย ม.พันสิบ จังหวัดทหารบกน่านนำกำลังและเครื่องมือไปรื้อถอนเพื่อย้ายอัฐิไปบรรจุยังสถูปที่แห่งใหม่ การรื้อถอนครั้งนี้ ทำให้พระลีลาหน้าเงิน / หน้าทอง แตกกรุออกมา ท่านจึงให้พระเณรที่ไปด้วย รวบรวมเก็บไว้ส่วนหนึ่งและแจกให้กับทหารทุกคนที่ไปช่วยคนละองค์ตามประสาวัยคะนองของพลทหารในค่ายม.พันสิบ ทำให้มีการแอบเอาพระลีลาหน้าเงิน /หน้าทอง ที่หลวงพ่อแจกให้ไปลองยิงด้วยปืนเอม16ดู ผลปรากฏว่ายิงไม่ออกสักนัด เมือหันปลายกระบอกปืนขึ้นฟ้า ลูกปืนพรั่งพรูออกมาเสียงดังสนั่นความนี้รู้ไปถึงนายทหารในค่าย วันรุ่งขึ้น พวงมาลัยรถทุกคัน มุ่งหน้าไปวัดเมืองราม ไปหาหลวงพ่อเพื่อขอรับแจก หรือ บูชาพระที่แตกกรุออกมาหลวงพ่อท่านก็ใจดี แจกให้ไม่อั้น ในส่วนที่เหลือ หลวงพ่อคัดเก็บไว้จำนวนหนึ่ง
นอกนั้นก็แจกพระเณรในวัดจนหมดจนกระทั่ง ในปี 2534-35 หลวงพ่อสร้างโรงเรียนปริยัติธรรมในวัดเมืองราม ไม่มีจ่ายค่างวดปูนซีเมนต์ ลูกศิษย์ลูกหาที่ใกล้ชิด จึงแนะนำหลวงพ่อให้นำพระที่คัดเก็บไว้ออกให้บูชในราคาคู่ละ 3,000 บาท จนสามารถได้ปัจจัยพอที่จะจ่ายค่าปูนได้ พระส่วนใหญ่จึงอยู่ในมือของพ่อค้าในตลาดอ.เวียงสาที่เคารพบูชาหลวงพ่อเมื่อพระอยู่ในมือพ่อค้าที่ไม่ใช่นักเลงพระ พระจึงไม่มีออกมาหมุนเวียน ทำให้การซื้อหาไม่ค่อยได้มีคนบางกลุ่ม ถือโอกาสไปหาพระที่มีลักษณะใกล้เคียงที่ท่าพระจันทร์มาสวมรอย เรื่องนี้รู้ไปถึงลูกศิษย์บางคนจึงรวบรวมพระลีลาทั้งหน้าเงินและหน้าทองที่วางขายกันเกลื่อนในยุคนั้นไปให้หลวงพ่อดู ท่านมองแล้วบอกว่า มีบางองค์ใช่ บางองค์ไม่ใช่พระที่ออกมาจากสถูป จากนั้นหลวงพ่อได้แยกพระออกจากกันโดยกันไว้ส่วนหนึ่งว่านี่ใช่นอกนั้นไม่ใช่ ซึ่งลูกศิษย์ที่นำพระมาให้ดุนั้นก็รู้สึกแปลกใจสุดๆว่าหลวงพ่อท่านรู้ได้อย่างไร เพราะท่านสามารถแยกได้ถูกต้องทั้งหมดหลักในการพิจารณาพระชุดนี้ดูที่รอยตะเข็บใต้ฐานและดูเนื้อด้านหลังจะมีรอยย่นคล้ายหนังช้างการเล่นหาค่อนข้างยากเพราะเก๊ฝีมือใกล้เคียงต้องมีของแท้ไว้ดูเปรียบเทียบและที่สำคัญต้องมีที่มาไม่ใช่ไปได้ตามแผงพระทั่วไปพระคู่นี้ได้มาจากพระทรัพย์อดีตสามเณรวัดเมืองรามในยุคนั้น สามารถใช้เป็นบรรทัดฐานในการดูได้ระดับหนึ่ง
ภาพโดย : https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=122&code_db=DB0003&code_type=P003
คำสำคัญ : พระเครื่อง
ที่มา : สมาคมกีฬาจังหวัดกำแพงเพชร. (2549). พระกรุเมืองกำแพง มรดกประวัติศาสตร์กำแพงเพชร. กำแพงเพชร: สมาคมกีฬาจังหวัดกำแพงเพชร.
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). พระลีลาหน้าเงิน. สืบค้น 14 ธันวาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=189&code_db=610005&code_type=01
Google search
พระซุ้มยอนี้ นักพระเครื่องสมัยก่อนเห็นลวดลายเรือนแก้วของพระเครื่องพิมพ์นี้ใหญ่เป็นตุ่มคล้ายลูกยอ จึงเรียกกันว่า “ ปรกลูกยอ “ เนื้อดินมักมีคราบกรุจับและมีว่านดอกมะขามอยู่ทั่วไป เนื้อดินมีทั้งชนิดเนื้อค่อนข้างหยาบและเนื้อละเอียดนุ่ม มีทั้งกลังเรียบและหลังเบี้ย เนื้อชินเป็นชินเงินสนิมเขียว สนิมปรอท และสนิมดำก็มี สำหรับชนิดเนื้อชินมักทำหลังเป็นร่อง หลังเรียบก็มีบ้างแต่ก็มีน้อยมาก ขนาดมี 2 ขนาด ขนาดเล็กและขนาดใหญ่แต่ว่าต่างกันเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ขนาดใหญ่สูงประมาณ 2.5 ซม.กว้าง 1.5 ซม.”
พระกำแพงซุ้มยอพบที่กรุวัดพระบรมธาตุ ทั้งชนิดเนื้อชินและเนื้อดิน จากนั้นก็พบที่บริเวณทุ่งเศรษฐีที่กรุหนองพิกุล และกรุซุ้มกอ นับว่าเป็นพระเครื่องทุ่งเศรษฐีอีกพิมพ์หนึ่งที่มีชื่อเสียงเคียงคู่มากับบรรดาพระชั้นนำของเมืองกำแพงเพชร ปัจจุบันนี้พระกำแพงซุ้มยอเป็นพระที่หายากไปแล้ว ราคาค่านิยมยังไม่สูงมากเหมือนกับพระกำแพงซุ้มกอ แต่ก็ถือว่าเป็นพระที่นำมาอาราธนาบูชาติดตัวได้อย่างเชื่อมั่นไม่น้อยไปกว่าพระพิมพ์อื่นๆ
เผยแพร่เมื่อ 19-08-2019 ผู้เช้าชม 14,325
เมื่อได้พูดถึงพระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ ว่าได้มีการพบหลายกรุ แต่เป็นที่น่าเสียดายที่ว่ามิได้มีการจำแนกกรุอย่างชัดเจนสำหรับการศึกษาในยุคหลังๆ เพราะพระเครื่องในสมัยนั้นเป็นการลักลอบขุดเสียเป็นส่วนมาก ส่วนที่ฟังจากนักขายพระในยุคนี้ก็เป็นการพูดเพื่อสร้างราคาค่านิยมเสียมากกว่า ผมเคยพยายามศึกษาจากผู้ที่ (อ้างว่า) รู้ หลายคน ครั้นสืบสาวซักไซ้เข้าจริงก็เป็นประเภทเขาบอกมาว่า ทั้งนั้นไม่มีใครรู้แน่ คนรุ่นเก่าที่พอจะรู้เรื่องเหล่านี้ก็หมดไป พระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่องค์นี้ เจ้าของเดิมยืนยันว่า เป็นกรุฤาษี ซึ่งเป็นบริเวณวัดโบราณที่เรียกกันต่อๆมา ว่าวัดฤาษี อยู่ใกล้กับสถานีขนส่ง ปัจจุบันนี้ไม่ได้มีสภาพเป็นวัดโบราณอีกต่อไป การขุดพระจากกรุวัดฤาษีนี้เริ่มมีการลักลอบขุดมาเมื่อประมาณ ปี พ.ศ. 2500
เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 38,686
ประวัติพระกำแพงทุ่งเศรษฐี เป็นพระเนื้อดินผสมว่านที่สร้างขึ้นด้วยศิลปสุโขทัยโดยฝีมือช่างกำแพงเพชร ค้นพบได้ที่กรุพระเจดีย์ทุ่งเศรษฐี เมืองกำแพงเพชร ที่มีลักษณะเป็นทุ่งกว้างใหญ่ไพศาลมากและมีสภาพเป็นวัดเก่าแก่มาแต่โบราณ ชาวบ้านในแถบนั้นต่างรู้จักกันในนาม ทุ่งเศรษฐี ซึ่งมีตำนานเล่าขานกันมาแต่ยุคโบราณว่า พระมหาเจดีย์องค์นี้นั้นเจ้าพระยาศรีธรรมโศกราชได้สร้างขึ้นเป็นพุทธบูชา ซึ่งคณะผู้สร้างประกอบไปด้วย พระฤๅษี สมณชีพราหมณ์ พราหมณาจารย์ มาประชุมพร้อมกันจักสร้างพระพิมพ์เพื่อทำการบรรจุเข้าไว้ในองค์พระมหาเจดีย์เพื่อเป็นการสืบทอดพระพุทธศาสนา ซึ่งบรรดาพระฤๅษีทั้งหลายที่เข้าร่วมในพิธีการสร้างพระนั้น ประกอบไปด้วย พระฤๅษี 11 ตน และ มีหัวหน้าพระฤๅษี อีก 3 ตน ที่เป็นผู้ทรงญาณสมาบัติแก้กล้ากว่าพระฤๅษีทั้งหลาย คือ พระฤๅษีตาไฟ พระฤๅษีตาวัว พระฤๅษีพิลาลัย นอกจากนั้นมีสมณชีพราหมณ์และพราหมณาจารย์ซึ่งแล้วแต่เป็นผู้ทรงคุณวิเศษทางญาณสมาบัติทั้งสิ้น ได้ช่วยกันประกอบพิธีสร้าง พระพิมพ์ซุ้มกอ ขึ้นมาด้วยแรงแห่งฤทธิ์อันวิเศษ ซึ่งล้วนแต่เป็นอาณุภาพทางจิตที่วิเศษสุดยอด
เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 17,502
พระตระกูลพระนางกำแพง จังหวัดกำแพงเพชรนั้น ตามที่ทราบกันว่ามีมากมายหลายพิมพ์ ซึ่งแต่ละพิมพ์ก็ล้วนมีเนื้อหามวลสาร ความหนึกนุ่มซึ้ง และมีพุทธคุณเท่าเทียมกันทั้งด้านเมตตามหานิยมและโชคลาภ เพราะเป็นหนึ่งในพระเครื่องเมืองกำแพงเพชรที่ขุดค้นพบในยุคเดียวกับพระกำแพงซุ้มกอ นอกจากนี้ยังได้ชื่อว่าเป็นพระพิมพ์ที่มีพุทธศิลปะแสดงถึงศิลปะสุโขทัยหมวดสกุลช่างกำแพงเพชรได้อย่างชัดเจนที่สุดอีกด้วย มาดูพระนางกำแพง 3 พิมพ์ ซึ่งความแตกต่างโดยส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องสัณฐานพิมพ์ทรงครับผม
เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 6,188
พระกำแพงซุ้มกอ ถือกันว่า เป็นพระเครื่องชั้นสูง อันเป็นที่นิยมสูงสุดของพระกำแพงทั้งหลายและได้ถูกจัดเข้าอยู่ในชุดพระเครื่องที่เรียกกันว่า เบญจภาคี มีหลักฐานปรากฏว่าเป็นพระที่สร้างโดยพระมหากษัตริย์ พระกำแพงซุ้มกอ พบทั้งแบบที่เป็นเนื้อดินผสมว่านและเกสรดอกไม้ เนื้อชิน เนื้อที่ถือว่าเป็นพระสำคัญชั้นสูง คือ เนื้อ ที่ทำด้วยว่าน มีแผ่นทองคำ ประกบไว้ด้านหน้าซึ่งคนเฒ่าคนแก่และนักนิยมพระกำแพงในยุคเก่าเรียกกันว่า พระว่านหน้าทอง พระว่านหน้าทอง สร้างขี้นน้อยมาก นอกจากจะน้อยมากแล้วพระที่พบมักจะชำรุดเป็นส่วนใหญ่ หาพระที่สมบูรณ์ยากมาก ในยุคเก่าถือกันว่าเป็นพระชั้นสูงสร้างขึ้นสำหรับท้าวพระยา และแม่ทัพ นายกอง
เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 12,820
เป็นพระพิมพ์แบบเทหล่อแบบครึ่งซีก สัณฐานรูปสี่เหลี่ยมยาว ด้านบนโค้งมน ยอดแหลม ส่วนด้านล่างตัดตรง พุทธลักษณะองค์พระประธานประทับยืน แสดงปางลีลา เหนืออาสนะเส้นตรง 2 ชั้น ภายในซุ้มเรือนแก้ว รอบซุ้มและฐานประดับด้วยเม็ดไข่ปลา พระเกศเป็นมุ่นเมาลี 2 ชั้น บนสุดมีลักษณะคล้ายดอกบัวตูม พระศกเป็นเม็ดงายาวรีโดยรอบ พระพักตร์เอียงไปด้านซ้าย กลมกลืนกับพระอิริยาบถก้าวย่างพระบาท ปรากฏพระเนตร พระนาสิก และพระโอษฐ์ชัดเจน ลำพระศอไม่เด่นชัด แต่สร้อยพระศอปรากฏชัดเจน พระอังสากว้าง พระอุระอวบอูมล่ำสัน แต่แฝงความอ่อนช้อยงามสง่าในที ลำพระองค์วาดเว้ากลมกลืนอย่างมีทรงและทอดต่อลงมาจนถึงพระบาท เส้นพระอังสะและชายจีวรอ่อนช้อยแลดูไหวพลิ้ว พระกรข้างซ้ายขององค์พระยกพาดเหนือพระอังสา พระกรข้างขวาทอดแอ่นไปตามลำพระองค์ ส่วนด้านหลังเป็นหลังแบนเรียบปรากฏลายผ้าหยาบๆ
เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 3,007
พระลีลากล้วยปิ้ง กรุผู้ใหญ่เชื้อ จังหวัดกำแพงเพชรพระลีลากรุผู้ใหญ่เชื้อ องค์นี้สภาพสวยคมชัดลึก ดินกรุยังติดอยู่พอมองเห็นเนื้อพระ พระเนื้อแกร่งแห้ง พระกรุนี้เนื้อจะหยาบ ราคาจึงถูกทั้งที่แตกกรุในเขตนครชุมเหมือนกับพระกรุอื่นๆ
เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 5,791
พระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ลายกนก กรุวัดพิกุล อมตะทั้งพุทธศิลป์ เปี่ยมล้นด้วยพุทธคุณ “มีกูแล้วไม่จน” โดย ไตรเทพ ไกรงูพระเครื่องสกุลกำแพงเพชร ปรากฏหลักฐานชัดเจนจากการพบจารึกบนแผ่นลานเงินในกรุขณะรื้อพระเจดีย์องค์ใหญ่ของวัดพระบรมธาตุ เมืองนครชุม ในพระราชนิพนธ์ เรื่อง เสด็จประพาสกำแพงเพชร ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ซึ่งเขียนเมื่อ พ.ศ.2447 ได้กล่าวถึงจารึกบนแผ่นลานทอง อันมีข้อความเกี่ยวกับการขุดพบพระต่างๆ ตามกรุต่างๆ หลักฐานชิ้นสำคัญ อันเกี่ยวกับเมืองกำแพงเพชร ได้แก่ ศิลาจารึกนครชุม ที่กล่าวถึงการสร้างเมือง โดยพระมหาธรรมราชาลิไท ประมาณ พ.ศ.1279
เผยแพร่เมื่อ 03-02-2017 ผู้เช้าชม 21,820
ที่ตั้งกรุพระวัดทุ่งเศรษฐี อยู่ทิศตะวันตกของป้อมบ้านเศรษฐี ประมาณ 200 เมตร ปัจจุบันที่ตั้งกรุถูกขุดเป็นสระกว้างประมาณ 600 ตารางเมตร ชาวบ้านนิยมเรียกคำว่า "กรุทุ่งเศรษฐี" ก็เห็นจะเป็นนามมงคลของคำว่า "เศรษฐี" กรุพระต่างๆ ที่ชาวบ้านนิยมเรียกใช้นามคำว่า "กรุทุ่งเศรษฐี" ขอสรุปมีกรุดังนี้ กรุวัดทุ่งเศรษฐี กรุหนองลังกา กรุซุ้มกอ กรุเจดีย์กลางทุ่ง กรุตาพุ่ม กรุนาตาคำ กรุตาลดำ กรุคลองไพร กรุบริเวณวัดพระบรมธาุและกรุอื่่นๆ ที่อยู่ในบริเวณลานทุ่ง กรุพระต่างๆ ที่เขียนนี้ สมัยก่อนเป็นบริเวณทุ่งนาของเศรษฐีพิกุล ปัจจุบันชาวบ้านจึงเรียกว่า "กรุทุ่งเศรษฐี"
เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 9,739
จังหวัดกำแพงเพชร นับเป็นกรุพระเครื่องที่ยิ่งใหญ่ของประเทศไทย โดยเฉพาะโบราณสถานที่ตั้งอยู่ของ 2 ฟากฝั่งแม่น้ำปิง คือ ฝั่งตะวันออกเมืองกำแพงเพชรและฝั่งตะวันตกเมืองนครชุม (ทุ่งเศรษฐี) มีโบราณสถานรวม 81 แห่ง ในพื้นที่ 2,407 ไร่ ซึ่งในวงการพระฯ ทั่วประเทศถือมีพระองค์เบญจภาคีอยู่ 9 องค์ เฉพาะพระเครื่องเมืองกำแพงเพชรถูกยกย่องมีพระองค์เบญจภาคีถึง 3 องค์ คือ 1. พระซุ้มกอ "ทรงนั่งสมาธิ" 2. พระเม็ดขนุน "ทรงลีลา" (เขย่ง) และ 3. พระพลูจีบ "ทรงเหินฟ้า" ถ้าย่ิ่งเป็นพระเครื่องที่อยู่ในสกุลกรุต่างๆ ของทุ่งเศรษฐีแล้ว ผู้ที่มีไว้ครอบครองจะถือเสมือนได้สมบัติอันมีค่าควรเมืองทีเดียว
เผยแพร่เมื่อ 14-08-2019 ผู้เช้าชม 14,178