ขนมเข่ง

ขนมเข่ง

เผยแพร่เมื่อ 01-03-2017 ผู้ชม 3,226

[16.4704906, 99.5314415, ขนมเข่ง]

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ขนมเข่ง

          ขนมเข่ง (ขนมตรุษจีน) ขนมเข่งเป็นขนมที่จะขาดไม้ได้ในเทศกาลตรุษจีน หรืองานมงคลต่างๆ มีความหมายเหมือนกับขนมเทียนคือ หวานชื่น ราบรื่น และอุดมสมบูรณ์ มีรสชาติหวานหอมเนื้อสัมผัสเหนียวนุ่ม สามารถดัดแปลงได้หลากหลาย อาจเติมเนื้อมะพร้าวอ่อน หรือลูกชิดลงไปได้ สามารถเป็นไว้ได้นานในตู้เย็นมีวิธีการทำที่ง่ายมาก
 ส่วนผสม ขนมเข่ง
     • แป้งข้าวเหนียว 
     • น้ำตาลทรายแดง
     • น้ำตาลปี๊บ 
     • น้ำเปล่า 
     • สีผสมอาหารสีแดง
ขั้นตอนและวิธีการทำ/เทคนิค
แป้งข้าวเหนียว น้ำตาลทรายนวดผสมเข้าด้วยกัน จะได้ลักษณะเป็นเม็ดทราย ค่อยๆใส่น้ำเปล่าลงไปทีละนิดจนหมด นวดผสมจนแป้งเนียนเป็นเนื้อเดียวกัน (ถ้าใส่มะพร้าว หรือเนื้อผลไม้ชนิดอื่นๆ ก็ใส่ลงไปแล้วนวกผสมให้เป็นเนื้อเดียวกัน)
กระทงใบตองแห้ง (เข่ง) ทาด้วยน้ำมันพืชบางๆ จากนั้นตักแป้งที่ผสมไว้ใส่ลงไปเกือบเต็มกระทง
นำไปนึ่งจนสุกใช้เวลาประมาณ 30 นาที ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดของกระทงที่นำมาใส่ขนมด้วย
ทคนิคทำขนมเข่งให้อร่อย : ทำน้ำเชื่อมก่อนจะทำให้ขนมอยู่ได้นานมากขึ้น ราขึ้นช้า อร่อยนิ่ม และหน้าขนมมีความเงา
ภาพโดย : https://cooking.kapook.com/view79707.html

คำสำคัญ : ขนมไทย ขนมเข่ง

ที่มา : https://cooking.kapook.com/view79707.html

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). ขนมเข่ง. สืบค้น 10 ธันวาคม 2566, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=590&code_db=610008&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=590&code_db=610008&code_type=01

Google search

Mic

ขนมเข่ง

ขนมเข่ง

ขนมเข่ง (ขนมตรุษจีน) ขนมเข่งเป็นขนมที่จะขาดไม้ได้ในเทศกาลตรุษจีน หรืองานมงคลต่างๆ มีความหมายเหมือนกับขนมเทียนคือ หวานชื่น ราบรื่น และอุดมสมบูรณ์ มีรสชาติหวานหอมเนื้อสัมผัสเหนียวนุ่ม สามารถดัดแปลงได้หลากหลาย อาจเติมเนื้อมะพร้าวอ่อน หรือลูกชิดลงไปได้ สามารถเป็นไว้ได้นานในตู้เย็นมีวิธีการทำที่ง่ายมาก

เผยแพร่เมื่อ 01-03-2017 ผู้เช้าชม 3,226

แกงหน่อไม้กับความหลากหลายด้านถิ่นกำเนิด

แกงหน่อไม้กับความหลากหลายด้านถิ่นกำเนิด

แกงหน่อไม้บางคนก็เรียก “แกงลาว” หรือ “แกงเปรอะ” มีใบย่างนางเป็นส่วนประกอบหลัก ใบย่านางจะช่วยเรื่องแก้ความขื่นและขมของหน่อไม้ได้เป็นอย่างดีนับว่าเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่เอาทั้ง 2 อย่างมารวมกัน ใบย่านางเป็นพืชหาง่าย คุณสมบัติเป็นสมุนไพร นิยมคั้นเอาน้ำจากใบมาทำเป็นอาหาร มากกว่ารับประทานใบสด จังหวัดกำแพงเพชรมีประชาชนย้ายถิ่นฐานมาจากภาคอีสานเป็นจำนวนมาก และได้นำเอาอาหารท้องถิ่นอย่างแกงหน่อหรือแกงลาว มายังพื้นที่กำแพงเพชรด้วย นอกจากนั้นแล้วแกงหน่อไม้เป็นที่นิยมของชุมชนบ้านหนองกองพัฒนา ตำบลนาบ่อคำ อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร เนื่องจากหมู่บ้าน มีการปลูกหน่อไม้เลี้ยงค่อนข้างมากแกงหน่อไม้จึงเป็นที่นิยมเพราะหากินได้ง่ายมาก

เผยแพร่เมื่อ 06-06-2022 ผู้เช้าชม 1,641

ขนมเรไร

ขนมเรไร

เป็นขนมหวานพื้นบ้าน ที่รู้จักกันดี เครื่องปรุงสำคัญประกอบด้วย แป้งข้าวเจ้า ๑ ถ้วยตวง แป้งท้าวยายม่อม ๒ ช้อนโต๊ะ น้ำดอกไม้ ¾ ถ้วยตวง หัวกะทิกรองแล้ว ½ ถ้วยตวง มะพร้าวทึนทึกขูดเป็นเส้นละเอียด ๑/๓ ถ้วยตวง รากถั่วบุบพอแตก ¼ ถ้วยตวง น้ำตาลทราย ¼ ถ้วยตวง เกลือป่น ½ ช้อนชา สีธรรมชาติ เช่น สีฟ้าคั้นจากน้ำผสมดอกอัญชัน สีเหลืองคั้นจากน้ำต้มกลีบดอกคำฝอย และสีม่วงคั้นจากลูกผักปรังสุก พิมพ์ขนมเรไร

เผยแพร่เมื่อ 13-03-2018 ผู้เช้าชม 4,796

กล้วยม้วน

กล้วยม้วน

กล้วยม้วน ส่วนประกอบที่สำคัญได้แก่ กล้วยน้ำว้ามะลิอ่องแก่จัด ไม่ช้ำ แผงตากกล้วย น้ำผึ้งแท้ ตู้อบ วิธีปรุง เริ่มจากการนำกล้วยที่แก่จัดมาตัดออกจากเครือ แบ่งออกเป็นหวีๆ เพื่อนำไปบ่ม โดยใช้กระสอบป่านรองพื้น เรียงกล้วยทับกันสูงประมาณ ๓๕ ชั้น คลุมด้วยพลาสติกให้มิดชิด ทิ้งไว้ประมาณ ๒๔๔๘ ชั่วโมง (๑ วัน ๑ คืน) เปิดผ้าพลาสติกออกทิ้งไว้ ๔๕ วัน ปอกเปลือกกล้วย แล้วล้างด้วยน้ำเกลือให้สะอาด ใช้มีดผ่าซีกครึ่งกดกล้วยด้วยเครื่องทับกล้วย เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๑๓ เซ็นติเมตร เพื่อให้กล้วยแบน แล้วจึงนำไปตากแดดให้แห้ง ๑ แดด นำกล้วยไปอบในตู้อบด้วยลมร้อน เพื่อฆ่าเชื้อและถนอนอาหารให้อยู่นาน ด้วยอุณหภูมิประมาณ ๑๒๐ องศา นาน ๓๐ นาที นำกล้วยที่อบได้ไปบ่มให้น้ำหวานออก ๑ คืน แล้วนำกล้วยออกจากตู้ไปอบน้ำผึ้ง แล้วจึงม้วนใส่กล่องเก็บไว้รับประทาน

เผยแพร่เมื่อ 13-03-2018 ผู้เช้าชม 1,613

ขนมชั้น

ขนมชั้น

ขนมชั้น เป็นขนมไทยโบราณที่ใช้ในงานพิธีมงคล โดยมีความเชื่อว่าจะต้องหยอดขนมให้ได้ 9 ชั้น จึงจะเป็นศิริมงคลเจริญก้าวหน้าแก่เจ้าภาพส่วนผสมของขนมส่วนใหญ่จะเป็นกะทิ และน้ำตาล แป้ง 3 - 4 ชนิด แล้วแต่สูตรและความชอบเนื้อขนมในแต่ละแบบ ซึ่งแป้งแต่ละอย่างก็จะมีคุณสมบัติทำให้ขนมมีเนื้อต่างกัน

เผยแพร่เมื่อ 27-02-2017 ผู้เช้าชม 4,091

ขนมถ้วยฟู

ขนมถ้วยฟู

ขนมถ้วยฟู เป็นขนมนึ่งหน้าแตก ที่ทำมาจากแป้งข้าวเจ้า น้ำตาล น้ำ และ หัวเชื้อ ส่วนผสมที่ลงตัว จะทำให้แป้งขนมถ้วยฟู ขยายตัวฟูขึ้นมา และความพอดีของ ปริมาณน้ำในลังถึง กับ ความร้อนสม่ำเสมอของไฟในเตา มีส่วนสำคัญช่วยให้ขนมถ้วยฟูหน้าแตกได้ 3 ถึง 4 แฉก ทั่วถึง ทุกถ้วย ไม่ว่า จะเป็นถ้วยชา หรือ ถ้วยตะไล เล็ก ๆ

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 4,144

กะหรี่ปั๊บ

กะหรี่ปั๊บ

กะหรี่ปั๊บ เป็นอาหารแบบตะวันตกผสมกับอินเดีย ได้รับความนิยมจากชาวมุสลิมในประเทศไทย คาดว่าท้าวทองกีบม้าคิดค้นขึ้น ตอนแรกใช้ชื่อว่า curry puff (พัฟฟ์ผงกะหรี่) ต่อมาได้เพี้ยนมาเป็น กะหรี่พัฟฟ์ และเพี้ยนเป็นกะหรี่ปั๊บในที่สุด กะหรี่ปั๊ปไส้ไก่เป็นที่นิยมมาก

เผยแพร่เมื่อ 14-03-2017 ผู้เช้าชม 3,557

แมงอีนูน

แมงอีนูน

ฤดูเก็บแมงอีนูนมาถึงแล้ว เมื่อฝนเริ่มตกชุก ครูมาลัย ชูพินิจ ได้รจนานวนิยาย เรื่องทุ่งมหาราช เพื่อสะท้อนชีวิตและภูมิปัญญาของชาวกำแพงเพชร เมื่อ 150 ปีที่แล้วไว้ว่า “ทุก ๆ เย็นเกาะใหญ่กลางลำน้ำปิง ซึ่งไร่เริ่มร้างและพกเริ่มรก เซ็งแซ่ไปด้วยชาวปากคลองใต้และบ้านไร่ ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ เสียงเพลงเก่าและแอ่วลาวล่องมาในอากาศ ท่ามกลางแมงอีนูนที่ออกมาจากรู บินว่อนขึ้นไปแน่นฟ้า เกาะอยู่ตามกอพงต่ำลงมา และศีรษะของผู้เก็บสำหรับจะยัดลงไปไต่ยั๊วเยี๊ยอยู่ในข้องหรือหม้อ ตามแต่ละคนจะหากันได้ เพื่อนำมาเป็นอาหารคาวหรือหวานกันต่อไป

เผยแพร่เมื่อ 10-04-2020 ผู้เช้าชม 2,051

เครปญี่ปุ่น

เครปญี่ปุ่น

ขนมเครปญี่ปุ่นเป็นอีกหนึ่งอย่างที่ชาวจังหวัดกำแพงเพชรนิยมกิน แต่ร้านนี้มีความพิเศษคือให้ไส้เยอะมากจึงเป็นที่เรียกขานนามกันว่า "เครปไส้ทะลัก" แต่เเม่ค้าจะทำหน้าบึงตลอดไม่ค่อยคุยกับลูกค้าจึงทำให้มีอีกหนึ่งฉายาว่า "เครปหน้ายักษ์" ราคาเป็นกันเอง ได้เยอะ รสชาติก็อร่อย ลองมากินกันนะค่ะ

เผยแพร่เมื่อ 27-02-2017 ผู้เช้าชม 1,442

มะพร้าวเสวย

มะพร้าวเสวย

มะพร้าวเป็นของคู่กับวัฒนธรรมท้องถิ่นแห่งนี้มาช้านาน หลังจากได้ใช้ประโยชน์จากน้ำมะพร้าวในการดื่มกินเป็นน้ำผลไม้เรียบร้อยแล้ว เนื้อของมะพร้าวจะเสียง่าย เพียงแค่เก็บไว้ไม่นานช่วงข้ามคืนก็จะเสียไม่สามารถรับประทานได้อีก อีกทั้งภูมิประเทศและอากาศที่ร้อนจึงทำให้เนื้อมะพร้าวนั้นเสียง่าย ภูมิปัญญาท้องถิ่นแห่งนี้จึงคิดวิธีการนำเนื้อมาพร้าวนี้มาสู่กระบวนการแปรรูป เพื่อเป็นการยืดอายุของอาหาร พร้อมทั้งรสชาติที่แปลกใหม่น่ารับประทาน โดยการนำมากวนเป็นมะพร้าวกวนหรือเรียกอีกอย่างว่า “มะพร้าวเสวย"

 

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 2,360