ท้าวกุเวร กรุทุ่งเศรษฐี สมัยพระยาลิไท
เผยแพร่เมื่อ 09-03-2017 ผู้ชม 2,283
[16.4880015, 99.520214, ท้าวกุเวร กรุทุ่งเศรษฐี สมัยพระยาลิไท ]
ชื่อโบราณวัตถุ : ท้าวกุเวร กรุทุ่งเศรษฐี สมัยพระยาลิไท
แบบศิลปะ : ศิลปะสมัยสุโขทัยชนิด : สำริด
ขนาด : สูงพร้อมฐาน 15.7 เซนติเมตร หน้าตักกว้าง 7 เซนติเมตร
อายุสมัย : พุทธศตวรรษที่ 25
ลักษณะ : มีทั้งขนาดเขื่อง (เท่าสี่กร มอญแปลง ชุดกิมตึ๋ง) ขนาดกลาง และเล็ก เห็นพิมพ์ก็ตัดสินได้ทันทีว่าพระแท้ ตอนนี้ยังไม่มีของปลอม
ประวัติ : ในสมัยพระยาลิไท ปลายสมัยสุโขทัย สันนิษฐานกันว่า พระเจ้าแผ่นดินทรงฉลองปีพุทธชยันตี พ.ศ.1900 ชวนราษฎรสร้างพระพิมพ์ เท่าจำนวนอายุขอคูณ ด้วยจำนวน 365 วันของปี) ประดิษฐานไว้ในพระสถูปพระเจดีย์ โดยความเชื่อว่า กุศลผลบุญนี้จะช่วยให้ไปเกิดที่ดีๆ อีกสี่ชาติต่อเนื่องกันไปคติสร้างพระพิมพ์ ผู้รู้บอกว่าได้อิทธิพลจากพุทธมหายาน ถ้าเริ่มที่ภาคใต้ พุทธมหายานรุ่งเรืองกว่า ดูจากพระพิมพ์ศรีวิชัย อย่างพระเม็ดกระดุม ศรีวิชัย ที่พบที่เขาศรีวิชัยสุราษฎร์ธานี (ราวพุทธศตวรรษ 11-13) และพระพิมพ์ที่สร้างบรรจุเอาไว้ในถ้ำ อีกหลายๆเมือง ตั้งแต่ยะลา ตรัง ฯลฯแต่พอมาถึงพุทธศตวรรษที่ 17-18 ช่วงที่อาณาจักรสุโขทัยเฟื่องฟู พ่อขุนรามคำแหงอัญเชิญพุทธศาสนาเถรวาท จากเมืองนครศรี-ธรรมราช ซึ่งก็รับมาจากลังกาอีกต่อ พุทธมหายาน แต่ก็ยังยอมรับคติมหายานบางส่วนเอาไว้พระพิมพ์ชุดเมืองกำแพงเพชร...มีพระพุทธเจ้า เป็นส่วนใหญ่ แต่เมื่อพบพระพิมพ์ที่นักพระเครื่องรุ่นเก่า เรียกว่านารายณ์ทรงปืน (พระรัตนตรัยมหายาน มีพระนาคปรกอยู่กลาง มีพระอวโลกิเตศวร และนางปัญญาบารมีขนาบซ้ายขวา) หรือท้าวกุเวร ก็ยืนยันว่า แม้พระพุทธเจ้าเป็นใหญ่ แต่ก็ยังไม่ทิ้งเทพเจ้ามหายานแต่ก็ยังยอมรับคติมหายานบางส่วนเอาไว้ระพิมพ์ชุดเมืองกำแพงเพชร
สถานที่พบ : พบที่กรุทุ่งเศรษฐี กำแพงเพชร
สถานที่จัดแสดง : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร
ภาพโดย : http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/kamphaengphet
คำสำคัญ : ท้าวกุเวร กรุทุ่งเศรษฐี สมัยพระยาลิไท
ที่มา : http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/kamphaengphet
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). ท้าวกุเวร กรุทุ่งเศรษฐี สมัยพระยาลิไท . สืบค้น 23 พฤษภาคม 2565, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=344&code_db=610012&code_type=01
ครกพร้อมซาก สมัยสุโขทัย (พุทธศตวรรษที่ 20) พระครุวิเชียรธรรมดชติ เจ้าอาวาสวัดบาง อำเภอเมือง มอบให้
เผยแพร่เมื่อ 18-03-2017 ผู้เช้าชม 1,026
วัดพานิชย์นิรมล ตั้งอยู่เลขที่ ๓ บ้านอุ้มผาง หมู่ที่ ๑ ตำบลอุ้มผาง อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ ๓ ไร่ ๘๖ ตารางวา อาณาเขต ทิศเหนือติดต่อกับทางสาธารณะ ทิศใต้ติดต่อกับทางสาธารณะ ทิศตะวันออกติดต่อกับทางสาธารณะ ทิศตะวันตกติดต่อกับทางสาธารณะ โดยมี น.ส. ๓ ก เลขที่ ๕๔๘ เป็นหลักฐาน
เผยแพร่เมื่อ 16-08-2018 ผู้เช้าชม 259
เเผ่นปูนปั้นประดับโบราณ ศิลปะอยุธยา (พุทธศตวรรษที่ 21) พบที่วัดพระเเก้ว จังหวัดเเพงเพชร
เผยแพร่เมื่อ 18-03-2017 ผู้เช้าชม 409
อิฐสลักภาพม้าเเละพันธ์พฤกษา ศิลปะอยุธยา (พุทธศตวรรษที่ 20-21) พบที่จังหวัดกำเเพงเพชร
เผยแพร่เมื่อ 18-03-2017 ผู้เช้าชม 330
โถพร้อมฝา ศิลปะสุโขทัย (พุทธศตวรรษที่ 20) นายอาจ รักษ์มณี อดีตผู้ว่าราชการจังหวัด มอบให้
เผยแพร่เมื่อ 18-03-2017 ผู้เช้าชม 386
ท่อนองค์เทวสตรี ศิลปะอยุธยา (พุทธศตวรรษที่ 21) เดิมประดิษฐานในเมืองกำแพงเพชร
เผยแพร่เมื่อ 08-03-2017 ผู้เช้าชม 1,057
บาลีดินเผา ศิลปะอยุธยา (พุทธศตวรรษที่ 20-21) พบที่จังหวัดกำเเพงเพชร
เผยแพร่เมื่อ 18-03-2017 ผู้เช้าชม 440
เศียรพระพุทธรูปปูนปั้น ศิลปะทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ ๑๓-๑๕) พบที่วัดไตรตรึงษ์ (วัดเจ็ดยอด) อำเภอเมือง จังหวัดกำเเพงเพชร
เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 1,147
หลวงพ่ออุโมงค์ พระพุทธรูปสมัยเชียงแสน องค์มหึมา พบที่วัดสว่างอารมณ์ กำแพงเพชร หลวงพ่ออุโมงค์ เป็นพระพุทธรูปสำคัญที่สุดองค์หนึ่งในจังหวัดกำแพงเพชร ศิลปะเชียงแสน สิงห์สาม สร้างราวพุทธศักราช ๑๗๐๐ - ๑๘๐๐ มีข้อสันนิษฐานมากมาย ว่าท่านเสด็จมาอยู่ในกำแพงเพชรได้อย่างไร เพราะกำแพงเพชร มิได้อยู่ในสมัยเชียงแสน ข้อสันนิษฐานที่พิสดาร คือ เมื่อคราวพระเจ้าชัยศิริ โอรสของพระเจ้าพรหมมหาราช อพยพผู้คน มาตั้งเมืองแปบ เขตเมืองกำแพงเพชร ในราวพุทธศักราช ๑๖๐๐ อาจจะนำหลวงพ่ออุโมงค์มาเป็นมิ่งขวัญด้วย แต่พุทธลักษณะน่าจะเป็นเชียงแสนสิงห์หนึ่ง (อาจจะบูรณปฏิสังขรณ์ภายหลัง ทำให้พุทธลักษณะเปลี่ยนไป)
เผยแพร่เมื่อ 20-04-2020 ผู้เช้าชม 932
พระพุทธรูปปางสมาธิ (สรณังกร) ศิลปะอยุธยา (พุทธศตวรรษที่ 21) มีขนาด สูงพร้อมฐาน 20 เซนติเมตร หน้าตักกว้าง 9 เซนติเมตร
เผยแพร่เมื่อ 08-03-2017 ผู้เช้าชม 925