พระอิศวร
เผยแพร่เมื่อ 08-03-2017 ผู้ชม 1,506
[16.4880015, 99.520214, พระอิศวร]
ชื่อโบราณวัตถุ : พระอิศวร
แบบศิลปะ : ศิลปะอยุธยา
ชนิด : สำริด
ขนาด : สูง ๒.๑๐ เมตร
อายุสมัย : (ระบุมหาศักราช1432 หรือ พ.ศ 2053)
ลักษณะ : พระพุทธรูปปางสมาธิ พระพักตร์ค่อนข้างกลม พระขนงโก่ง พระเนตรเรียวเหลือบลงต่ำ ปลายพระเนตรตวัดขึ้นเล็กน้อย พระนาสิกค่อนข้างยาวและโด่งเป็นสัน พระโอษฐ์ค่อนข้างบาง ริมฝีพระโอษฐ์บนจีบพองาม พระกรรณยาว ปลายพระกรรณงอนออกเล็กน้อย ส่วนพระเศียรมีขมวดพระเกศาค่อนข้างเล็ก พระอุษณีษะเป็นต่อมนูนขนาดใหญ่ พระรัศมีรูปกรวยทรงสูง ระหว่างอุษณีษะกับรัศมีปรากฏเส้นวงแหวนคั่นกลาง ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของพระพุทธรูปที่พบในสกุลช่างกำแพงเพชรส่วนพระศอมีรอยต่อที่เกิดจากการซ่อม องค์พระพุทธรูปครองจีวรห่มเฉียงเปิดพระอังสาขวา ชายสังฆาฏิขนาดค่อนข้างใหญ่พาดอยู่บนพระอังสาซ้ายได้ยาวตกลงมาถึงพระนาภี มีส่วนปลายเป็นลายเขี้ยวตะขาบ พระหัตถ์ทั้งสองวางประสานกันอยู่เหนือพระเพลา ประทับนั่งขัดสมาธิราบบนฐานอาสนะสามขา ซึ่งก็คือ ฐานสิงห์ ส่วนฐานด้านหลังได้มีการซ่อมแซมขึ้นมาใหม่ ฐานด้านหน้ามีจารึกอักษรขอม ภาษาบาลี จำนวน 1 บรรทัด
ประวัติ : สถานที่ประดิษฐานแต่เดิมคือ ศาลพระอิศวร ซึ่งตั้งอยู่หลังศาลจังหวัดกำแพงเพชร ในสมัยรัชกาลที่ ๕ มีชาวเยอรมันมาเที่ยวเมืองกำแพงเพชร และได้ลักลอบตัดพระเศียรและพระหัตถ์ของเทวรูปนำลงเรือกลับกรุงเทพฯ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๒๙ ความทราบถึงรัชกาลที่ ๕ จึงโปรดให้ขอพระเศียรและพระหัตถ์คืน และโปรดให้สร้างรูปจำลองประทานให้เป็นการแลกเปลี่ยน ซึ่งปัจจุบันได้ตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี พร้อมทั้งจำลองอีกองค์หนึ่งประดิษฐานไว้ที่ศาลพระอิศวร ส่วนพระองค์จริงได้นำมาซ่อมแซมให้ดีดังเดิม แล้วนำมาตั้งแสดงอยู่ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร เป็นสมบัติศิลป์ชิ้นพิเศษที่มีค่ายิ่งของเมืองกำแพงเพชรสืบมา
สถานที่จัดแสดง : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร
ภาพโดย : http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/kamphaengphet
คำสำคัญ : พระอิศวร
ที่มา : http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/kamphaengphet
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). พระอิศวร. สืบค้น 24 มิถุนายน 2568, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=339&code_db=610012&code_type=01
Google search
ไหดินเผาเคลือบสีน้ำตาล ศิลปะอยุธยา (พุทธศตวรรษที่ 20-22) พบที่วัดอาวาสใหญ่ จังหวัดกำเเพงเพชร
เผยแพร่เมื่อ 11-03-2017 ผู้เช้าชม 2,318
ตะเกียงเผา ศิลปะทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ 15-16) พบที่เมืองไตรตรึ่งษ์ อำเภอเมือง จังหวัดกำเเพงเพชร
เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 3,666
เศียรเทวดาปูนปั้น ศิลปะสุโขทัย (พุทธศตวรรษที่ 21) มีขนาด สูง 27 เซนติเมตร กว้าง 14.5 เซนติเมตร พบที่วัดร้างข้างโรงเรียนนารีวิทยา นายประเสริฐ ศรีสุวพันธ์ มอบให้
เผยแพร่เมื่อ 27-02-2017 ผู้เช้าชม 1,798
ภาชนะสำริด ศิลปะอยุธยา (พุทธศตวรรษที่ 20-21) พบในบริเวณบ้านศรีบุญส่ง อำเภอไทรงาม จังหวัดกำเเพงเพชร นายนิเวศน์ มูลโมกข์ มอบให้
เผยแพร่เมื่อ 27-02-2017 ผู้เช้าชม 9,508
กระปุกลายคราม ศิลปะจีน สมัยรัชกาลวงศ์หมิง ราวต้น (พุทธศตวรรษที่ 22) พบที่บริเวณเมืองไตรตรึงษ์ จังหวัดกำเเพงเพชร
เผยแพร่เมื่อ 27-02-2017 ผู้เช้าชม 3,233
พระพุทธรูปทรงเครื่องปางประทานอภัย ศิลปะอยุธยา (พุทธศตวรรษที่22-23) พระครูวิธานวชิรศาสน์ เจ้าอาวาสวัดเสด็จ จังหวัดกำแพงเพชร
เผยแพร่เมื่อ 09-03-2017 ผู้เช้าชม 4,022
ท่อนองค์เทวสตรี ศิลปะอยุธยา (พุทธศตวรรษที่ 21) เดิมประดิษฐานในเมืองกำแพงเพชร
เผยแพร่เมื่อ 08-03-2017 ผู้เช้าชม 2,948
ตามประวัติเดิมหลวงพ่อเพชรประดิษฐานอยู่ที่วัดจอมทอง อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ เมื่อครั้งสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ยกทัพไปปราบหัวเมืองเหนือ ขณะเสด็จกลับผ่านเมืองพิจิตร พระพิจิตรเจ้าเมืองได้กราบบังคมทูลว่าตนต้องการพระพุทธรูปประจำเมือง เมื่อสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเสด็จพระราชดำเนินกลับมาจากเชียงใหม่จึงทรงอัญเชิญหลวงพ่อเพชร ล่องแพมาทางลำน้ำปิง แล้วอัญเชิญหลวงพ่อเพชรประดิษฐานที่เมืองกำแพงเพชรก่อน และทรงแจ้งให้เจ้าเมืองพิจิตรทราบ พระพิจิตรได้รับทราบจึงนำชาวบ้านจำนวนมากไปเมืองกำแพงเพชร เพื่อทำการสักการะแล้วอัญเชิญ หลวงพ่อเพชรแห่แหน มาประดิษฐานไว้ที่พระอุโบสถวัดนครชุม เมืองพิจิตร(เก่า) ส่วนหลวงพ่อเพชรที่อยู่วัดปราสาทเป็นพระเนื้อสำริด
เผยแพร่เมื่อ 03-04-2019 ผู้เช้าชม 1,119
กระเบื้องกาบกล้วย ศิลปะอยุธยา (พุทธศตวรรษที่ 20-21) พบจากการขุดที่วัดช้างรอบ จังหวัดกำเเพงเพชร ระหว่าง พ.ศ. 2508-2515
เผยแพร่เมื่อ 18-03-2017 ผู้เช้าชม 2,045
พระพุทธรูปปางสมาธิ (สรณังกร) ศิลปะอยุธยา (พุทธศตวรรษที่ 21) มีขนาด สูงพร้อมฐาน 20 เซนติเมตร หน้าตักกว้าง 9 เซนติเมตร
เผยแพร่เมื่อ 08-03-2017 ผู้เช้าชม 2,956