คนที

คนที

เผยแพร่เมื่อ 27-02-2017 ผู้ชม 1,716

[16.4880015, 99.520214, คนที]

ชื่อโบราณวัตถุ : คนที
แบบศิลปะ : ศิลปะสุโขทัย
ชนิด : ปูนปั้น
อายุสมัย : (พุทธศตวรรษที่ 19-22)
ลักษณะ : เป็นหม้อน้ำมีพวย มีทั้งพวยเรียบๆ และที่มีการตกแต่งที่ปลายพวย ตัวหม้อน้ำจะมีขนาดใหญ่ คล้ายหม้อก้นกลม แต่คอคอดเล็กและสูง ที่ก้นมีขอบเชิงเตี้ยๆ คนทีจะมีทั้งเนื้อดินปั้นหยาบและละเอียด มีทั้งแบบเรียบและตกแต่งด้วยการเขียนสีแดงบนตัวภาชนะที่ทาน้ำ ดินสีนวลไว้เป็นแนวรอบไหล ่เหนือพวกกา 5-6 เส้น
ประวัติ : คนทีเป็นศิลปะสุโขทัย  ผลิตภัณฑ์จากแหล่งเตาเผาริมแม่น้ำโจน โดยทั่วไปจะเผาในเตากูบ ซึ่งแบ่งตัวเตาออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนใส่เชื้อเพลิง อยู่ส่วนนอก ตรงกลางเป็นที่ตั้งภาชนะที่เข้าเผา และส่วนท้ายเป็นปล่องไฟ โดยมีการตั้งภาชนะ บนกี๋ท่อ ภาชนะส่วนบนวางซ้อนกันโดยมีกี๋งบน้ำ อ้อยที่มีขา 4-6 ปุ่ม ดังนั้นภาชนะที่ผลิตที่นี่ส่วน ใหญ่จะมีรอยปุ่มกี๋งบน้ำอ้อยปรากฏอยู่ที่ด้านใน เสมอ ยกเว้นใบที่ตั้งอยู่บนสุด เนื้อดินปั้นของ ภาชนะที่ผลิตจากเตาเมืองสุโขทัยเก่าจะมีลักษณะ หยาบสีเทา ดังนั้นก่อนที่ช่างจะตกแต่งลวดลาย ช่างจะใช้น้ำดินหรือสลิปเคลือบตัวภาชนะที่ขึ้นรูป แล้วเพื่อตกแต่งผิวภาชนะให้เรียบก่อน จากนั้นจึง จะเขียนลายแล้วจึงเคลือบใสทับ แล้วนำเข้าเผา ด้วยอุณหภูมิประมาณ 900-1000 องศาเซลเซียส ลายที่นิยมเขียนเป็นลายดอกไม้อย่างคร่าวๆ ภายใน วงกลมด้านในเขียนลายกลีบบัวฟันยักษ์ ซึ่ง ลักษณะลวดลายนี้จะคล้ายคลึงกับเครื่องถ้วยอันนัม (ญวน) ที่อยู่ร่วมยุคสมัยเดียวกันด้วย นอกจากนี้ มีลายจักรภายในวงกลม และลายปลาตัวเดียวภายในวงกลม เป็นต้น รูปแบบของภาชนะมี จาน จานเล็ก และชาม 
สถานที่พบ : พบที่วัดพระธาตุ อำเภอเมือง จังหวัดกำเเพงเพชร
สถานที่จัดแสดง : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร

 ภาพโดย : http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/kamphaengphet

คำสำคัญ : คนที

ที่มา : http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/kamphaengphet

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). คนที. สืบค้น 9 กันยายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=330&code_db=610012&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=330&code_db=610012&code_type=01

Google search

Mic

หลวงพ่อเพชร

หลวงพ่อเพชร

ตามประวัติเดิมหลวงพ่อเพชรประดิษฐานอยู่ที่วัดจอมทอง อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ เมื่อครั้งสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ยกทัพไปปราบหัวเมืองเหนือ ขณะเสด็จกลับผ่านเมืองพิจิตร พระพิจิตรเจ้าเมืองได้กราบบังคมทูลว่าตนต้องการพระพุทธรูปประจำเมือง เมื่อสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเสด็จพระราชดำเนินกลับมาจากเชียงใหม่จึงทรงอัญเชิญหลวงพ่อเพชร ล่องแพมาทางลำน้ำปิง แล้วอัญเชิญหลวงพ่อเพชรประดิษฐานที่เมืองกำแพงเพชรก่อน และทรงแจ้งให้เจ้าเมืองพิจิตรทราบ พระพิจิตรได้รับทราบจึงนำชาวบ้านจำนวนมากไปเมืองกำแพงเพชร เพื่อทำการสักการะแล้วอัญเชิญ หลวงพ่อเพชรแห่แหน มาประดิษฐานไว้ที่พระอุโบสถวัดนครชุม เมืองพิจิตร(เก่า) ส่วนหลวงพ่อเพชรที่อยู่วัดปราสาทเป็นพระเนื้อสำริด

เผยแพร่เมื่อ 03-04-2019 ผู้เช้าชม 938

ปืนใหญ่หล่อด้วยสำริด

ปืนใหญ่หล่อด้วยสำริด

ปืนใหญ่หล่อด้วยสำริด ศิลปะสมัยอยุธยา (พุทธศตวรรตที่ 21-22)

เผยแพร่เมื่อ 08-03-2017 ผู้เช้าชม 2,141

กระปุกลายคราม

กระปุกลายคราม

กระปุกลายคราม ศิลปะจีน สมัยรัชกาลวงศ์หมิง ราวต้น (พุทธศตวรรษที่ 22) พบที่บริเวณเมืองไตรตรึงษ์ จังหวัดกำเเพงเพชร

เผยแพร่เมื่อ 27-02-2017 ผู้เช้าชม 2,842

มกรสังคโลก

มกรสังคโลก

มกรสังคโลก ศิลปะสุโขทัย (พุทธศตวรรษที่ 20-22) ที่วัดอาวาสใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร

 

    

  

เผยแพร่เมื่อ 08-03-2017 ผู้เช้าชม 3,391

ผอบสำริด

ผอบสำริด

ผอบสำริด  ศิลปะอยุธยา (พุทธศตวรรษที่ 21-22) พบในบริเวณบ้านสรีบุญส่ง อำเภอไทรงาม จังหวัดกำเเพงเพชร นายบุณส่ง มูลโมกข์ มอบให้

เผยแพร่เมื่อ 17-03-2017 ผู้เช้าชม 1,774

พระพุทธรูปปางลีลา

พระพุทธรูปปางลีลา

พระพุทธรูปปางลีลา ขนาด สูงฐาน 1.55 เซนติเมตร อายุสมัย ศิลปะสุโขทัย พุทธศตวรรษที่ 20 วัสดุที่ทำ สำริด ประวัติ องค์พระพุทธรูปอยู่ในอิริยาบทที่เคลื่อนไหว หรือเดินบนแท่นบัวหงายที่มีลักษณะรองรับด้วยฐานหน้ากระดานแปดเหลี่ยมอีกชั้นหนึ่ง ก้าวพระบาทซ้ายไปข้างหน้า ยกสันพระบาทขวาขึ้นเล็กน้อย พระหัตถ์ซ้ายยกขึ้น หันฝ่าพระหัตถ์ออกไปข้างหน้า ส่วนพระหัตถ์ขวาปล่อยลงขนานไปกับพระวรกายพุทธศิลป์ของพระพุทธรูปองค์นี้ จัดเป็นศิลปะสุโขทัย 

เผยแพร่เมื่อ 03-04-2019 ผู้เช้าชม 17,751

เเม่พิมพ์ดินเผา

เเม่พิมพ์ดินเผา

แม่พิมพ์ดินเผา (พระเเผง) ศิลปะรัตนโกสินทร์(พุทธศตวรรษที่15)พระครูวิมลวชิรคุณ เจ้าอาวาสวัดคูยาง จังหวัดกำเเพงเพชร

เผยแพร่เมื่อ 18-03-2017 ผู้เช้าชม 1,213

กระเบื้องกาบกล้วย

กระเบื้องกาบกล้วย

กระเบื้องกาบกล้วย ศิลปะอยุธยา (พุทธศตวรรษที่ 20-21) พบจากการขุดที่วัดช้างรอบ จังหวัดกำเเพงเพชร ระหว่าง พ.ศ. 2508-2515

เผยแพร่เมื่อ 18-03-2017 ผู้เช้าชม 1,846

เศียรพระพุทธรูปปูนปั้น

เศียรพระพุทธรูปปูนปั้น

เศียรพระพุทธรูปปูนปั้น  ศิลปะทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ 13-15)  พบที่วัดไตรตรึงษ์ (วัดเจ็ดยอด) อำเภอเมือง จังหวัดกำเเพงเพชร

 

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 2,041

พระพุทธรูปปางมารวิชัย

พระพุทธรูปปางมารวิชัย

พระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะล้านนา ศิลปะสมัย (พุทธศตวรรษที่ 21) มีขนาดสูงพร้อมฐาน 15.7 เซนติเมตร หน้าตักกว้าง 7 เซนติเมตร

เผยแพร่เมื่อ 08-03-2017 ผู้เช้าชม 1,964