วัฒนธรรมการกินหมากของคนไทย
เผยแพร่เมื่อ 03-03-2020 ผู้ชม 3,696
[16.3194159, 99.4823679, วัฒนธรรมการกินหมากของคนไทย]
พิศพักตร์ผ่องพักตร์ดังจันทร พิศขนงก่งงอนดังคันศิลป์
พิศเนตรดังเนตรมฤคิน พิศทนต์ดังนิลอันเรียบราย
ความงามของนางในวรรณคดีของไทยทุกเรื่อง นางเอกต้องมีฟันดำราวกับนิล จึงจะถือว่างดงาม ดังนั้นการกินหมากจึงอยู่คู่กับสังคมไทยมาช้านาน และกำลังจะสูญหายไปจากสังคมไทยในไม่กี่ปีข้างหน้า เพราะคนไทยทุกคนเลิกกินหมาก เราจึงบันทึกวิถีชีวิตของคนไทยในอดีตไว้ให้เป็นหลักฐาน เพื่ออนุชนที่รักของเราได้เข้าใจในวัฒนธรรมการกินหมาก การกินหมากในสังคมไทยมีมาหลายศตวรรษ ประเทศในแถบตะวันออกใช้หมากเป็นเครื่องดับกลิ่นปากและทำให้ฟันคงทน จากวรรณคดีเรื่องลิลิตพระลอ มีคำว่า สลา ซึ่งหมายถึงหมากปู่เจ้าสมิงพราย เสกหมากให้พระลอเสวย ที่เรียกกันว่าสลาเหิน หรือหมากบิน ทำให้พระลอลุ่มหลงในพระเพื่อนพระแพง หมากจึงมีมานานหลายร้อยปี และคู่กับชาติไทยมาช้านาน เมื่อกินหมากฟันต้องดำ คนฟันดำจึงเป็นคนสวยคนหล่อในอดีตของสังคมไทย ความจริงการกินหมากเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นในการรักษาฟัน รักษาช่องปาก รักษาไม่ให้มีกลิ่นปาก เมื่อหนุ่มสาวย่างเข้าสู่วัยรุ่นต้องกินหมากกันทุกคนนับตั้งแต่พระยามหากษัตริย์จนถึงสามัญชน ล้วนกินหมากกันทั้งสิ้น การแต่งงานเจ้าบ่าวต้องยกขันหมากไปบ้านเจ้าสาว การกินหมากมายกเลิกไปในสมัยของจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ได้สั่งให้ทุกคนเลิกกินหมาก เพราะท่านต้องการให้ประเทศไทยเป็นอารยประเทศ จึงให้ทุกคนเลิกกินหมาก โค่นต้นหมาก การกินหมากจึงหายไปจากประเทศไทย
การกินหมากมีเชี่ยนหมาก เป็นสิ่งบอกถึงฐานะทางสังคมของผู้เป็นเจ้าของ พระเจ้าแผ่นดินมีเชี่ยนหมากทองคำหีบหมากจะทำหน้าที่เครื่องประดับยศ ที่จะได้รับพระราชทานจากพระเจ้าแผ่นดิน เชี่ยนหมากเป็นภาชนะที่ใช้วางตลับหมาก ตลับยาเส้น กระปุกปูนและซองสำหรับใส่พลู เป็นส่วนประกอบที่สำคัญในการกินหมาก แต่เดิมการกินหมากเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย ถือว่าการกินหมากเป็นสิ่งดีงาม และเชื่อกันว่าคนงามต้องฟันดำและปากแดง เชี่ยนหมากจึงเป็นสิ่งสำคัญของทุกครัวเรือนที่ต้องมีติดบ้านไว้เสมอใช้สำหรับรับแขกที่มาเยี่ยมเยียนถึงเรือนชาน การเรียกเชี่ยนหมากเรียกไม่เหมือนกัน สำหรับพระมหากษัตริย์เรียกว่า พานพระศรี ภาคเหนือภาคกลาง เรียกว่าขันหมาก
ในชนบทส่วนใหญ่จะพบเชี่ยนหมากที่ทำด้วยไม้และทองเหลืองอยู่มาก เชี่ยนหมากจะทำด้วยไม้เนื้อแข็งหรือไม้เนื้ออ่อน จำพวกขนุน ไม้มะม่วง นิยมทาสีผิวนอกเป็นสีดำ ทำจากเขม่าคลุกน้ำมันยางแล้วจึงแกะสลักลวดลาย โดยใช้มีดคมกรีดเป็นลายเส้นอย่างง่ายๆ เช่น ลายขนมเปียกปูน ลายเส้นแต่งสีต่าง ๆ ตามความนิยมแต่ละท้องถิ่น การกินหมากใกล้จะกลายเป็นตำนานหรือเป็นเรื่องเล่าขานกันอย่างไม่จบสิ้น และคนรุ่นใหม่จะไม่เข้าใจว่าหมากคืออะไร เพื่อบันทึกเรื่องราวของวัฒนธรรมการกินหมาก เราจึงไปบันทึกรายการการกินหมากของแม่เสนอ สิทธิปราชญ์ท้องถิ่นของนครไตรตรึงษ์ เพื่อบันทึกความทรงจำไว้ก่อนที่จะไม่มีใครกินหมากอีกต่อไป....
คำสำคัญ : การกินหมาก
ที่มา : เมืองไตรตรึงษ์ ตามร่องรอยแห่งตำนานและประวัติศาสตร์. (ม.ป.ป). กำแพงเพชร: ม.ป.ท.
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). วัฒนธรรมการกินหมากของคนไทย. สืบค้น 25 มกราคม 2568, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1335&code_db=610004&code_type=01
Google search
“นบพระ เล่นเพลงในแผ่นดินพระเจ้าลิไท ริ้วขบวนยาตราสู่วัดพระบรมธาตุ นครชุม น้อมสักการะพระบรมสารีริกธาตุ สืบทอดประเพณีเก่าแก่นับแต่ครั้งสมัยสุโขทัย งานมหรสพ การละเล่นโลดแล่นอยู่ท่ามกลางร่องรอยแห่งความเจริญรุ่งเรืองของอารยธรรมครั้งอดีตที่ชวนหลงใหล”
เผยแพร่เมื่อ 03-02-2017 ผู้เช้าชม 7,272
ต้นทับทิม จัดเป็นต้นไม้มงคลปลูกหน้าบ้านที่ช่วยป้องกันสิ่งชั่วร้าย โดยสามารถนําใบต้นทับทิมมาปะพรมน้ำมนต์เพื่อความเป็นสิริมงคลหรือขจัดสิ่งชั่วร้ายได้ อีกทั้งผลทับทิมก็ยังอุดมไปด้วยวิตามินซีและแร่ธาตุต่างๆ ที่ช่วยป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟันและบํารุงฟันให้แข็งแรง ทับทิมเป็นผลไม้มงคลของจีน กิ่งใบทับทิม เป็นใบไม้สิริมงคลที่ใช้ทุกงานที่มีน้ำมนต์ประกอบพิธี โดยจะใช้พรมน้ำมนต์และมีไว้ติดตัวเพื่อคุ้มครองกันภัย มีเรื่องเล่าว่าเพราะเป็นพันธุ์ไม้ที่ถูกนํามาเผยแพร่ในเมืองจีนพร้อมกับพระพุทธศาสนา
เผยแพร่เมื่อ 24-09-2024 ผู้เช้าชม 680
ระยะตั้งท้องผู้เป็นแม่ต้องระมัดระวังตัวเป็นพิเศษ ทำให้เกิดความเชื่อถือหลายอย่าง เช่น ให้นำดอกบัวที่บูชาพระมาต้มกินจะทำให้เด็กในท้องแข็งแรง เวลามีสุริยคราสหรือจันทรคราสให้เอาเข็มมากลัดที่ชายผ้า จะทำให้เด็กเกิดมาอาการครบ 32 และให้นั่งถัดบันไดจะทำให้คลอดง่าย
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 7,378
งานประเพณีบุญบั้งไฟ เป็นประเพณีสำคัญของชาวอีสาน จัดขึ้นเพื่อเป็นการบวงสรวง พระอิศวร ซึ่งมีตำนานพื้นบ้าน เล่าลือกันมาว่า พญาแถน เป็นเทพยดา มีหน้าที่บันดาลให้ฝนตกในเมืองมนุษย์ พญาแถนเกิดความไม่พอใจชาวโลกจึงบันดาลไม่ให้ฝนตกตามฤดูกาล แล้งตลอด 7 ปี 7 เดือน 7วัน ทำให้พืช สัตว์ มนุษย์ ล้มตายไปเป็นจำนวนมาก ชาวเมืองทนไม่ไหว จึงคิดทำสงครามกับพญาแถน แต่สู้พญาแถนไม่ได้ จึงถูกไล่ล่าหนีมาถึงต้นไม้ใหญ่ที่พญาคางคกอาศัยอยู่ พญาคางคกนั้นคือพระโพธิสัตว์ บรรดาผู้หนีการล่าของพญาแถน ตกลงทำสงครามกับพญาแถนพญาปลวก ก่อจอมปลวกไปถึงสวรรค์ พญามอดไปทำลายด้ามอาวุธของทหารและอาวุธพญาแถนพญาผึ้ง ต่อ แตน ไปต่อยทหารพญาแถน พญาแถนกับเทวดาพ่ายแพ้
เผยแพร่เมื่อ 05-02-2017 ผู้เช้าชม 7,398
“เห้งเจีย (ฉีเทียนต้าเซิ้ง) ลิงในวรรณกรรมที่กลายเป็นเทพเจ้า” เป็นวรรณกรรมจากปลายปากกาของ “จรัสศรี จิรภาส” อาจารย์ประจําสาขาวิชาภาษาจีน มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ซึ่งได้ค้นคว้าข้อมูล เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับวานรตั้งแต่สมัยโบราณกาล โดยมนุษย์เชื่อว่า ลิงเป็นสัตว์ลี้ลับ สามารถ ปกปักรักษา ป้องภัยให้ และเพื่อสืบทอดความเชื่อเหล่านี้
เผยแพร่เมื่อ 24-09-2024 ผู้เช้าชม 228
พระมหาธรรมราชาลิไท นำพระบรมพระสารีริกธาตุและพระศรีมหาโพธิ์ มาประดิษฐานตั้งแต่พุทธศักราช 1900 กาลเวลาล่วงมาพระบรมธาตุกลายเป็นวัดร้าง พญาตะก่า พ่อค้าไม้ชาวกะเหรี่ยง ได้ขอพระบรมราชานุญาต สร้างเจดีย์ทรงมอญครอบไว้ แต่มิทันเสร็จพญาตะก่าถึงแก่กรรม พะโป้น้องชายบูรณะต่อ โดยนำฉัตรทองจากเมืองมะระแหม่ง มาประดิษฐาน ตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2449 ก่อนหน้าพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จกำแพงเพชรเพียง 3 เดือน คือเมื่อ 99 ปีที่ผ่านมา เจดีย์วัดพระบรมธาตุเป็นหลักชัย ในพระพุทธศาสนาเมืองกำแพงเพชรมาตลอดเกือบศตวรรษ
เผยแพร่เมื่อ 14-02-2018 ผู้เช้าชม 1,304
ระบำชาติพันธุ์กำแพงเพชร เป็นการแสดงโดยสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ได้สนับสนุนให้สร้างสรรค์ขึ้นให้เป็นการแสดงเพื่อสื่อความหมายของกลุ่มชนชาติพันธุ์ที่ต่างวัฒนธรรมต่างวิถีชีวิต แตกต่างด้วยเครื่องแต่งกายแต่มีเอกลักษณ์เฉพาะของตนของชนเผ่าที่มีความงดงามในการสร้างสรรค์ ชุดการแสดงจึงได้มีแนวคิดการนำวัฒนธรรมด้านการแต่งกายมานำเสนอในด้านการแสดงนาฏศิลป์ เพื่อเผยแพร่มรดกทางภูมิปัญญาของชาติพันธุ์
เผยแพร่เมื่อ 19-07-2022 ผู้เช้าชม 792
พิธีนี้จะทำหลังจากทำพิธีปลูกข้าวเริ่มแรกประมาณ 1 เดือน หรือ ประมาณ 3 อาทิตย์ของอาข่า (สุ่มนองจ๊อง) ทำเพื่อให้ผลผลิตในไร่ข้าวเจริญงอกงาม ปราศจากสิ่งรบกวน เช่น ตั๊กแตน ปลวก ฯลฯ ในการทำพิธีนี้ต้องนับวันฤกษ์วันดีของครอบครัว (เป็นวันเกิดของคนในครอบครัว แต่ไม่ตรงกับวันตายโหงของคนในครอบครัว) การประกอบพิธี แบ่งออกได้ 2 ลักษณะ คือ การประกอบพิธีแบบธรรมดาโดยใช้ไก่ และการประกอบพิธีขนาดใหญ่โดยใช้หมู
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 1,134
ระบำพุทธบูชา-มาฆ-ปรุณมี มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการแสดงในงานประเพณีนบพระ-เล่นเพลง วันเพ็ญเดือนสามหรือวันมาฆบูชา ระบำชุดนี้เป็นการแสดงความเคารพและบูชาพระรัตนตรัย นบไหว้พระซึ่งในการประกอบพิธีทางศาสนา ได้นำเพลงสาธุการมาบรรเลงในการไหว้และเคารพบูชาใช้ได้กับศาสนาพุทธและศาสนาพราหมณ์ ผู้ประพันธ์ได้นำช่วงเพลงสาธุการเปิดโลกมาประพันธ์เป็นโครงสร้างของเพลง
เผยแพร่เมื่อ 19-07-2022 ผู้เช้าชม 1,338
ศาลพระภูมิเจ้าที่เป็นศาสนสถานที่สำคัญของชุมชนอาข่า เป็นที่กราบไหว้บูชาของชุมชนอาข่า ศาลพระภูมิเจ้าที่จะมีการสร้างประมาณเดือนเมษายนของทุกปี หลังจากปลูกสร้างประตูหมู่บ้านแล้ว และจะมีการบูชาทุกปี ปีละครั้ง หรือถ้าปีไหนมีโรคระบาดเยอะ หรือมีเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันมาเยือนชุมชนบ่อยๆ ก็อาจประกอบพิธี 2 ครั้งใน 1 ปี สร้างไว้ทางทิศเหนือของชุมชน ห่างจากชุมชนประมาณ 500 เมตร ทำเลในการจะสร้างศาลพระภูมิเจ้าที่จะต้องอยู่สูงกว่าระดับ
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 2,869