อุทยานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม “ทีปังกรรัศมีโชติ”

อุทยานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม “ทีปังกรรัศมีโชติ”

เผยแพร่เมื่อ 03-08-2022 ผู้ชม 380

[16.7557014, 98.4335232, อุทยานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม “ทีปังกรรัศมีโชติ”]

ประวัติความเป็นมา
        ในปี พ.ศ.2552 เป็นปีที่พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ พระโอรสในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงมีพระชันษาครบ 4 ปี ชาวจังหวัดตากโดยเฉพาะ “ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น” ประกอบด้วย จังหวัดตาก องค์การบริหารส่วนจังหวัดตาก เทศบาลนครแม่สอด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดตาก เห็นควรร่วมใจกันสร้างสิ่งซึ่งเป็นมงคลแก่ชาวจังหวัดตากและจังหวัดใกล้เคียง ซึ่งได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ จากสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร  พระราชทานนาม “อุทยานการเรียนรู้เฉลิมพระเกียรติ” ว่า อุทยานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม “ทีปังกรรัศมีโชติ”(Dipangkorn Rasmijoti Science and Environment knowledge Park) เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2552
        โครงการอุทยานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม“ทีปังกรรัศมีโชติ” (Dipangkorn Rasmijoti Science and Environment knowledge Park) เป็นโครงการที่ช่วยส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนรักการอ่านและการเรียนรู้ ถือเป็นการพัฒนาสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้และให้คนไทยได้รับโอกาสแห่งการศึกษาเรียนรู้ที่เท่าเทียมกันตามนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการพัฒนาสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ในอุทยานแห่งการเรียนรู้นี้จะเน้นกลุ่มเป้าหมายที่เป็นเด็กและเยาวชนด้วยรูปแบบของพื้นที่ที่จะเน้นไปที่ความทันสมัย เพื่อสร้างบรรยากาศให้เด็กๆ มีความสนใจ อุทยานการเรียนรู้แบ่งพื้นที่ออกเป็นส่วนๆ ประกอบด้วย ห้องสมุดมีชีวิต ที่ให้บรรยากาศที่แตกต่างสื่อถึงความสนุกสนาน สามารถอ่านหนังสือในอิริยาบถต่างๆ ไม่ว่าจะนั่งเอกเขนก เดิน นอน เอน เพื่อสร้างความเพลิดเพลิน พร้อมกิจกรรมที่ทำร่วมกันต่อเนื่องทุกสัปดาห์, ลานสานฝันสำหรับเด็กที่แสวงหาความตื่นเต้นจากกิจกรรม, ห้องฉายภาพยนตร์ 4 มิติ ที่มีห้องโลกเสมือนจริงไว้เรียนรู้ตามความชอบเฉพาะทางโดยจะนำเทคนิคภาพเสมือนจริงมาใช้ในการศึกษาและศิลปวัฒนธรรม ดังนั้นการจัดตั้งอุทยานการเรียนรู้ฯ จึงเปิดโอกาสให้เยาวชนมีส่วนร่วมในการร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมแก้ปัญหา ร่วมพัฒนา ร่วมภาคภูมิใจ ซึ่งเป็นอีกแนวทางในการสร้างสังคมการเรียนรู้ด้วยความเข้าใจร่วมกัน     
        เทศบาลนครแม่สอดเป็นหน่วยงานบริหารราชการส่วนท้องถิ่นที่มีหน้าที่ ส่งเสริมและจัดการศึกษาอบรมให้แก่เด็กและเยาวชนและประชาชนในเขตพื้นที่รับผิดชอบ จึงได้จัดทำโครงการก่อสร้างอุทยานการเรียนรู้ฯ เพื่อไว้บริการแก่เด็ก เยาวชนและประชาชนของจังหวัดตากและจังหวัดใกล้เคียงได้ใช้เป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าหาความรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพของตนเองให้เป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ อีกทั้งยังเป็นการเสริมความเข้มแข็งให้ชุมชนและท้องถิ่นอีกทางหนึ่งด้วย เป็นทางเลือกของการเรียนรู้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ของเยาวชนและบุคคลทุกเพศทุกวัย ที่ซึ่งสามารถทดลองและแสดงออกในสิ่งที่ตนเองสนใจ เป็นรากฐานในการจุดประกายความคิดสร้างสรรค์ในด้านต่างๆ ด้วยความพร้อมของสื่อและเทคโนโลยีด้านต่างๆ  มีรูปแบบที่เน้นให้เป็นแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลายแตกต่างจากแหล่งการเรียนรู้ทั่วไป คือ ไม่ใช่แหล่งเรียนรู้ที่มีลักษณะคล้ายห้องเรียนในโรงเรียนหรือห้องทดลองในโรงเรียนเท่านั้น อาศัยการดึงดูดผู้คนให้เกิดความสนใจและมาใช้บริการโดยได้หยิบยกแนวทางความเป็นจริงในการใช้ชีวิตประจำวันของผู้คนส่วนใหญ่มาเป็นแนวคิดที่จะกำหนดรูปแบบโครงการฯ โดยให้มีองค์ประกอบการดึงดูดผู้คนคล้ายคลึงกับสถานที่ต่างๆ ดังนี้ ต้องเป็นแหล่งที่สามารถดึงดูดใจผู้คนเสมือนเป็น “ห้างสรรพสินค้า” ที่ผู้คนส่วนใหญ่มีความต้องการอยากเข้าไปเพื่อได้พบเห็นสิ่งแปลกใหม่ที่ทันสมัย พร้อมด้วยการผ่อนคลาย และเป็นจุดนัดพบ เพื่อพบปะ พูดคุยแลกเปลี่ยน ทัศนคติ แนวความคิด หรือสาระต่างๆ ต้องเป็นแหล่งที่สามารถดึงดูดใจผู้คนเสมือนเป็น“ร้านหนังสือ” ที่ผู้คนส่วนใหญ่นิยมเข้าไปอ่านด้วยความอยากรู้ อยากติดตามข่าวสาร และสาระใหม่ๆโครงการอุทยานการเรียนรู้ฯ ต้องเป็นแหล่งที่สามารถดึงดูดใจผู้คนเสมือนเป็น “สวนสนุก”ที่ผู้คนส่วนใหญ่เข้าไปเพื่ออยากสัมผัสความตื่นเต้น ความแปลกใหม่ อยากทดลองเพื่อทดสอบความกล้าและความมั่นใจในตนเองโครงการอุทยานการเรียนรู้ฯ ต้องเป็นแหล่งที่สามารถดึงดูดใจผู้คนเสมือนเป็น “โรงภาพยนตร์”ที่ผู้คนส่วนใหญ่เข้าไปเพื่อผ่อนคลายความเครียด เพื่อศึกษาสารคดี เพื่ออยากได้ประสบการณ์เรื่องเสียงและบรรยากาศที่แตกต่างจากการชมภาพยนตร์หรือสารคดีตามบ้านเรือนหรือโรงเรียนทั่วไปโครงการอุทยานการเรียนรู้ฯ ต้องเป็นแหล่งที่สามารถดึงดูดใจผู้คนเสมือนเป็น “สวนสาธารณะ” ที่ผู้คนส่วนใหญ่มีความต้องการอยากเข้าไปเพื่อพักผ่อน ผ่อนคลาย ออกกำลังกาย และเป็นจุดนัดพบ เพื่อพบปะ พูดคุยแลกเปลี่ยน ทัศนคติ แนวความคิด หรือสาระต่างๆ จากองค์ประกอบการดึงดูดของสถานที่ดังกล่าวข้างต้น จะพบว่าผู้คนส่วนใหญ่ยินดีที่จะสมัครใจเข้าไปใช้บริการโดยแรงจูงใจที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่ล้วนแล้วแต่เกิดจากการกระตุ้นโดยตนเองทั้งสิ้น 

ประโยชน์การจัดตั้งอุทยานการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม “ทีปังกรรัศมีโชติ”
        อุทยานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม “ทีปังกรรัศมีโชติ” เป็นสถานที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของอำเภอแม่สอด และจังหวัดตาก คือเป็นแหล่งเรียนรู้ที่เกิดจากการผสมผสานองค์ประกอบในการพัฒนาศักยภาพของทรัพยากรมนุษย์ได้อย่างลงตัว โดยจะเน้นเกี่ยวกับสาขาฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา ดาราศาสตร์ คณิตศาสตร์ มีรูปแบบการเรียนรู้ที่ทันสมัย ใช้เทคโนโลยีมัลติมีเดีย เทคนิคแสง สี เสียงในการนำเสนอโดยมีทั้งส่วนที่ให้เรียนรู้ภายในอาคารและส่วนที่ให้เรียนรู้ภายนอกอาคาร จากการที่อุทยานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม “ทีปังกรรัศมีโชติ” ได้เปิดให้บริการแก่นักเรียน เด็ก เยาวชน และประชาชนทั่วไป เป็นการจัดให้มีการศึกษาที่เกื้อหนุนให้บุคคลสามารถเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่อง ตลอดชีวิต โดยกระจายโอกาสทางการศึกษาให้ทั่วถึงภายใต้สิ่งที่มีอยู่ในสังคมรอบ ๆ ตัว ทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต โดยมุ่งหวังให้เกิดการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง ในลักษณะของการศึกษานอกระบบหรือการศึกษาอย่างไม่เป็นทางการ ที่ไม่เน้นการเรียนรู้เฉพาะในห้องเรียน ดังนั้นการสร้างแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายจึงเป็นอีกสิ่งที่จะก่อประโยชน์ต่อกระบวนการเรียนรู้ที่ทำให้ผู้เรียนได้พัฒนาศักยภาพจากประสบการณ์ตรง ซึ่งสัมผัสและจับต้องได้
        ทั้งนี้ ความสำคัญของแหล่งเรียนรู้ ไม่ได้มีเฉพาะคนในพื้นที่เท่านั้น แต่ยังรวมถึงบุคคลทั่วไปและผู้ที่อยู่ต่างจังหวัดได้ใช้ประโยชน์จากแหล่งเรียนรู้เพื่อดำเนินกิจกรรมต่างๆ ที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน เช่น เป็นแหล่งส่งเสริมและปลูกฝังให้เด็ก เยาวชนและประชาชนทั่วไปหันมาสนใจด้านวิทยาศาสตร์มากยิ่งขึ้น เนื่องจากมีแหล่งการเรียนรู้ที่ครบครันและทันสมัยอยู่ใกล้บ้านอุทยานการเรียนรู้ฯ ยังเป็นสถานที่จัดกิจกรรมมอบความรู้ด้านต่างๆ
        อุทยานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม “ทีปังกรรัศมีโชติ” Dipangkorn Rasmijoti Science and Environment knowledge Park 
        ชั้นที่ 1  ประกอบด้วย 
               ห้องนิทรรศการพระบารมีปกเกล้า เหล่าปวงประชา เป็นห้องนิทรรศการเกี่ยวกับพระราชประวัติของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ ภายในห้องประกอบด้วย  บอร์ดนิทรรศการที่ทรงปฏิบัติภารกิจของพระองค์ท่าน
               โซนโถงพักคอย เป็นโซนบริเวณถัดจากโถงประชาสัมพันธ์มีบอร์ดข้อมูลแสดงโซนต่างๆ ภายในอุทยานการเรียนรู้ฯ และมีแบบจำลองอาคารอุทยานการเรียนรู้ฯ
               โถงประชาสัมพันธ์ เป็นห้องบริการข้อมูลแก่ผู้เข้าชม และเผยแพร่ ข่าวสารต่างๆ ถ่ายทอด บรรยากาศของโซนต่างๆ ทั้งภายในและนอกอาคารอุทยานฯ
               โซนโลกของเงา โลกของเงาเป็นการนำเสนอและเรียนรู้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์สมัยใหม่ สำหรับการสร้างสรรค์ผลงานการผลิตรายการ  การสร้างภาพจิตนาการ ประกอบด้วย สื่อภาพยนตร์ ห้องตัดต่อบันทึกเสียง เพื่อให้เด็กได้ศึกษาค้นคว้าสื่อสารมวลชน นิเทศศาสตร์ วารสารศาสตร์
               ห้องสมุดมีชีวิต เป็นห้องสมุดที่ประกอบด้วย เทคโนโลยีสมัยใหม่ มีสื่อที่ทันสมัยให้ความรู้ด้านต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ผ่านทางจอโทรทัศน์ที่ติดตั้งกระจายอยู่ตามจุดต่างๆ ทั่วบริเวณห้องสมุด
               โซนวิทยาศาสตร์ ชั้น  1 เป็นโซนของมุมวิทยาศาสตร์ต่างๆ ประกอบด้วย ไซคลอยด์ เก้าอี้แรงโน้มถ่วง เก้าอี้โมเมนตั้ม ไจโรสโคป ภูเขาไฟ แผ่นดินไหว โมเลกุล ผลึก น้ำมีชีวิต ห้องจำลองภัยพิบัติ
               โซนภาพยนตร์ 4 มิติ การเรียนรู้ในโลกจินตนาการที่เหมือนจริงด้วยการฉายภาพยนตร์ แบบ 4 มิติ เป็นแท่นซิมมูเลเตอร์เคลื่อนไหวได้ ใช้งานร่วมกับภาพยนตร์พร้อมเสียงเอฟเฟ็คท์ ผู้ชมสามารถดูภาพยนตร์ไปพร้อม ๆ กับการเคลื่อนไหวเพื่อจำลองเหตุการณ์ต่าง ๆ เสมือนอยู่ในเหตุการณ์จริง  

         ชั้นที่ 2 ประกอบด้วย
                ห้องลานสานฝัน เป็นห้องที่สำหรับการแสดงออกแลกเปลี่ยนความคิดสร้างสรรค์ สนับสนุนจิตนาการของเยาวชน มีเวทีสำหรับการแสดงละครเวที พร้อมด้วยอุปกรณ์สนับสนุนเพื่อให้เกิดความสมจริง ชุดแต่งกาย ระบบแสง สี เสียง และพิเศษต่างๆ เพื่อให้เด็ก เยาวชนได้แสดงออกถึงสิ่งที่คิด มีพรสวรรค์ ต้องการเรียนรู้ในด้านศิลปะการแสดงนานๆ ชนิด
                ห้องฉายดาว เป็นห้องฉายดาวระบบดิจิตอล ที่ทันสมัยขนาดใหญ่ 10 เมตร พร้อมระบบเสียงเซอร์ราวรอบทิศทาง ครอบคลุมระบบคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัยและประสิทธิภาพสูง ซึ่งเด็กเยาวชนสามารถเข้าชมเพื่อศึกษาระบบสุริยะจักรวาล ดาราศาสตร์ และดวงดาวต่างๆ พร้อมไฟแสง สี กราฟิก โมเดลดาวเทียมจำลองขนาดใหญ่ และบอร์ด แสดงการทำงานของระบบดาวเทียมทั้งภาคพื้นดินและในอวกาศ
                โซนวิทยาศาสตร์ ชั้น  2 ประกอบด้วย เครื่องเล่นวิทยาศาสตร์ ห้องแสง สี มุมนักวิทยาศาตร์ ห้องคณิตศาสตร์ โซนสิ่งมีชีวิต   
                โซนไดโนเสาร์ เป็นโซนจัดแสดงเกี่ยวกับไดโนเสาร์ชนิดต่างๆ ในโลกยุคดึกดำบรรพ์ แสดงถึงพฤติกรรมและการดำรงชีวิตของสัตว์ในโลกยุคนั้น ซึ่งปัจจุบันสูญพันธ์หมดแล้ว เป็นโซนที่มีการแนะนำให้รู้จักกับไดโนเสาร์จะมีไดโนเสาร์อยู่ 4 ตัวได้แก่ กิก้าโนโตซอรัส ไทรเซราทอปส์ ไทแรนโนซอรัส อะแพทโตซอรัส  

         บริเวณภายนอกอาคารอุทยานฯ
                โซนลานน้ำพุ  เป็นลานสวนน้ำขนาด 50 เมตร มีเครื่องเล่นชุดท่อ และหัวฉีดสายน้ำ กลไกฉีดน้ำ น้ำพุแท่งแก้วแบบกระโดดเป็นจังหวะได้พร้อมไฟ แสง สี แบบอิเล็กทรอนิกส์เปลี่ยนสีได้ไม่น้อยกว่า7 สีควบคุมการทำงานด้วยระบบคอมพิวเตอร์
                โซนสวนพรรณพืชภูมิศาสตร์สถาปัตย์ เป็นสวนรวบรวมข้อมูลของพันธ์ที่ใช้ในงานภูมิศาสตร์ไม่น้อยกว่า 100 ชนิด ซึ่งหายากพร้อมข้อมูลของพันธุ์ไม้แต่ละชนิด ทั้งชื่อท้องถิ่นและชื่อภาษาอังกฤษ ชื่อทางวิทยาศาสตร์ เพื่อไว้ให้เด็กเยาวชนและประชาชนได้ศึกษา

คำสำคัญ : อุทยานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม

ที่มา : https://www.nakhonmaesotcity.go.th/web/mm/agencies/8/page/oty.html

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2565). อุทยานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม “ทีปังกรรัศมีโชติ”. สืบค้น 26 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=2146&code_db=610002&code_type=TK007

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=2146&code_db=610002&code_type=TK007

Google search

Mic

วัดมณีไพรสณฑ์

วัดมณีไพรสณฑ์

วัดมณีไพรสณฑ์ ตั้งอยู่ถนนอินทรคีรี เขตเทศบาลเมืองแม่สอด พื้นที่ตั้งหน้าวัดติดถนนใหญ่ด้านหลังติดลำห้วยแม่สอด สร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. 2328 ภายในวัดมีปูชนียวัตถุโบราณสถาน

เผยแพร่เมื่อ 26-01-2021 ผู้เช้าชม 538

บ่อน้ำพุร้อนแม่กาษา

บ่อน้ำพุร้อนแม่กาษา

น้ำพุร้อนแม่กาษานั้น มีอยู่ด้วยกัน 2 บ่อ วางตัวอยู่ท่ามกลางธรรมชาติโดยน้ำพุร้อนมีอุณหภูมิสูงถึง 75 องศาเซลเซียส โดยปัจจุบันมีห้องบริการอาบน้ำแร่และบ่ออาบน้ำซึ่งปราศจากกลิ่นฉุนจากก๊าซกำมะถัน ความสำคัญเป็นแหล่งท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจยอดนิยมของชาวอำเภอแม่สอด และชาวประเทศเพื่อนบ้าน

เผยแพร่เมื่อ 26-01-2021 ผู้เช้าชม 1,876

ศูนย์กีฬาและสวนสาธารณะอเนกประสงค์จังหวัดตาก

ศูนย์กีฬาและสวนสาธารณะอเนกประสงค์จังหวัดตาก

อำเภอแม่สอด ได้รับงบประมาณตามแผนปฏิบัติไทยเข็มแข็ง 2555 ของจังหวัดตาก โครงการก่อสร้างศูนย์กีฬาและสวนสาธารณะอเนกประสงค์จังหวัดตาก งบประมาณ 25,000,000 บาท (ยี่สิบห้าบาทถ้วน) เมื่อดำเนินการแล้วเสร็จ อำเภอแม่สอด ได้ขอให้จังหวัดตากส่งมอบศูนย์กีฬาและสวนสาธารณะอเนกประสงค์จังหวัดตากให้กับเทศบาลนครแม่สอดเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบในการใช้งาน และเป็นผู้ควบคุมดูแลบำรุงรักษาจนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น 

เผยแพร่เมื่อ 03-08-2022 ผู้เช้าชม 565

น้ำพุร้อนแม่ภาษา

น้ำพุร้อนแม่ภาษา

น้ำพุร้อนแม่ภาษา ตั้งอยู่ในตำบลแม่กาษา อำเภอแม่สอด  จังหวัดตาก การเดินทางไปน้ำพุร้อนสะดวกสบาย ใช้เวลาเดินทางเพียงประมาณยี่สิบกว่านาทีจากเมืองแม่สอด บริเวณโดยรอบบ่อน้ำพุร้อนมีป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติ มีการปรับปรุงตกแต่งสนามหญ้าและสวนหย่อม มีน้ำพุร้อนให้สำหรับต้มไข่ มีบ่อน้ำแร่ให้แช่เท้า และมีห้องอาบน้ำแร่

เผยแพร่เมื่อ 21-12-2020 ผู้เช้าชม 1,964

วัดไทยวัฒนาราม

วัดไทยวัฒนาราม

วัดไทยวัฒนาราม เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมของพุทธศาสนานิกายมหายาน ได้รับอิทธิพลศิลปะแบบไทยใหญ่ของพม่า จึงมีความงดงาม และวิจิตรบรรจง ในส่วนภายในวัดไทยวัฒนารามนั้นมีวิหาร ศาลา และพระพุทธรูปที่น่าสนใจดังที่ทีมงาน ท่องเที่ยว.com (ท่องเที่ยวดอทคอม) จะพาไปชมกัน

เผยแพร่เมื่อ 17-08-2018 ผู้เช้าชม 3,525

ตลาดดอยมูเซอ

ตลาดดอยมูเซอ

ตลาดดอยมูเซอ จัดว่าเป็นตลาดสดของชาวไทยภูเขาที่ใหญ่ ที่สุดแห่งหนึ่งเลยก็ว่าได้ เพราะจำนวนร้านค้าแผงลอยและจำนวนความหลากหลายของสินค้าเกษตรภายในตลาด เรียกว่ามีเยอะแยะละลานตาไปหมด ตลาดดอยมูเซอในปัจจุบันมีด้วยกัน 2 ตลาด แบ่งเป็นตลาดเก่าและตลาดใหม่ ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากกันแค่ 1 กิโลเมตรเท่านั้น ลักษณะของตลาดดอยมูเซอเก่าจะเป็นตลาดในแนวยาวเรียงรายขนานไปตามถนนสายหลัก ซึ่งบรรยากาศจะคึกคักตลอดทั้งวัน ทั้งบรรดาพ่อค้าแม่ค้าชาวไทยภูเขา ชาวบ้านในแถบนั้น รวมถึงนักท่องเที่ยวต่างก็แวะเวียนมาจับจ่ายสินค้ากันเป็นจำนวนมาก

เผยแพร่เมื่อ 17-08-2018 ผู้เช้าชม 3,003

ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

เทศบาลนครแม่สอด เล็งเห็นความสําคัญต่อคุณภาพชีวิตของประชาชน ตลอดจนการส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็ก เยาชนในเขตเทศบาลนครแม่สอด และจัดให้มีการบริการสาธารณะ เช่น การคมนาคมทางบก ระบบรางระบายน้ํา ตลอดจนทํานุบํารุงถนนภายในเขตเทศบาลนครแม่สอด เพื่อสามารถรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ยกระดับคุณภาพชีวิตแก่ประชาชนในท้องถิ่น ตลอดจนการสร้างแลนด์มาร์ก (Landmark) ให้เกิดขึ้นในพื้นที่เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษตาก เทศบาลนครแม่สอดจึงได้จัดทําโครงการพัฒนาพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ อําเภอแม่สอด ขึ้นเพื่อบรรลุสู่เป้าหมายที่วางไว้สืบไป 

เผยแพร่เมื่อ 03-08-2022 ผู้เช้าชม 565

น้ำตกธารารักษ์

น้ำตกธารารักษ์

น้ำตกธารารักษ์ หรือน้ำตกผาชัน อยู่ในเขตบ้านเจดีย์โคะ เป็นน้ำตกที่มีความสวยงามตามธรรมชาติเป็นน้ำตกขนาดเล็กมีชั้นเดียว มีลักษณะเป็นน้ำตกไหลลงมาจากหน้าผาหินปูนสูงประมาณ 30 เมตร น้ำตกแห่งนี้มีลักษณะพิเศษคือมีเจดีย์อยู่ข้างตัวน้ำตก ในบริเวณนั้นเป็นเทือกเขาไม่สูงนัก ด้านหน้ามีหนองน้ำซึ่งเด็กในพื้นที่จะไปเล่นน้ำกันที่นี่ เนื่องจากเป็นที่ค่อนข้างโล่งกว้าง และมีอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ใต้น้ำตกจึงมีลมเย็นๆ พัดตลอดน่าเป็นที่พักผ่อน นักท่องเที่ยวสามารถขับรถขึ้นไปดูเจดีย์บนยอดเขาได้ โดยการขับรถไปตามทางหลวงห่างจากน้ำตกประมาณ 700 เมตรจะมีทางเข้าไปตามถนนผ่านหมู่บ้านเจดีย์โค๊ะ ลัดเลาะไปตามไร่ข้าวโพดของชาวบ้าน แล้วเลี้ยซ้ายเข้าไปตามป้ายจะมีบอก หรือไม่ก็ถามชาวบ้านละแวกนั้นดู ไปได้ไม่ยาก เมื่อมาถึงบนยอดเขาแล้วจะเห็นเจดีย์ตั้งตระหง่าน พร้อมด้วยเส้นทางไปดูต้นทางของน้ำตกได้

เผยแพร่เมื่อ 21-12-2020 ผู้เช้าชม 3,247

เนินพิศวง

เนินพิศวง

อยู่บริเวณกิโลเมตรที่ 68 สายตาก-แม่สอด มีลักษณะเป็นทางขึ้นเนินที่แปลก คือเมื่อนำรถไปจอดไว้ตรงทางขึ้นเนินโดยไม่ได้ติดเครื่องรถจะไหลขึ้นเนินไปเอง นอกจากความพิศวงของเนินแห่งนี้แล้ว ที่นี่ยังเป็นจุดชมทะเลหมอกที่สวยงามอีกด้วย

เผยแพร่เมื่อ 26-01-2021 ผู้เช้าชม 2,919

พระธาตุหินกิ่วที่ดอยดินจี่

พระธาตุหินกิ่วที่ดอยดินจี่

ชมความมหัศจรรย์แห่งองค์พระธาตุที่ตั้งอยู่บนชะง่อนผาสูง โดยมีหินก้อนใหญ่ซึ่งมีฐานคอดกิ่วราวกับจะแยกขาด จากกันวางตัวอยู่บนหน้าผานั้น ซึ่งชาวบ้านต่างพากันขนานนามว่า “เจดีย์หินพระอินทร์แขวน” อีกทั้งหินที่อยู่บนดอยนี้ยังมีสีดำหรือน้ำตาลไหม้ บางคนจึงเรียกพระธาตุองค์นี้ว่า “พระธาตุดอยดินจี่” ซึ่งหมายถึงดินที่ถูกไฟไหม้นั่นเอง ทั้งนี้ภายในเจดีย์มีพระธาตุประดิษฐานอยู่ ที่เรียกกันว่า “พญาล่อง” ซึ่งเป็นที่เคารพบูชาของ ชาวจังหวัดตากและจังหวัดใกล้เคียง และในบริเวณวัดพระธาตุฯ ยังมีเรือโบราณที่มีอายุประมาณ 200 ปี พบเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2539 โดยชาวบ้านวังตะเคียนได้ช่วยกันกู้ขึ้นมาเก็บรักษาไว้ที่เชิงดอยดินจี่เรือลำนี้เป็นเรือขุดจากไม้ซุงทั้งต้น 

เผยแพร่เมื่อ 17-08-2018 ผู้เช้าชม 3,960