กลองแอว และกลองปู่จา ศรัทธาชุมชนลาว(ยวน)

กลองแอว และกลองปู่จา ศรัทธาชุมชนลาว(ยวน)

เผยแพร่เมื่อ 01-02-2022 ผู้ชม 1,420

[16.8784698, 98.8779052, กลองแอว และกลองปู่จา ศรัทธาชุมชนลาว(ยวน)]

        กลองแอว เป็นกลองพื้นบ้านมีในภาคเหนือ มีลักษณะคล้ายกับกลองยาว แต่ใหญ่และยาวกว่ามาก ตัวกลองทำด้วยไม้เนื้อแข็ง เป็นกลองขึงด้วยหนังหน้าเดียว มีหนังเส้นใหญ่ดึงหน้ากลองไว้โดยรอบยาวตลอดไหล่กลอง เอวคอด ตอนท้ายเรียวและบานปลายคล้ายรูปกรวย ช่วงท้ายของกลองกลึงควั่นเป็นปล้องๆ มีหลายขนาด โดยมีหน้ากลองกว้างประมาณ 35-40 ซม. ความยาวของไหล่กลองประมาณ 75-80 ซม. และความยาวช่วงท้ายประมาณ 95-100 ซม. 
       กลองแอว เป็นชื่อเรียกที่มีความหมายถึง ลักษณะรูปร่างของหุ่นกลองที่คล้ายกับ "สะเอว"นอกจากนั้นยังอื่นมีชื่อเรียกขานแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น บ้างก็เรียกตามรูปร่างลักษณะที่เห็น หรือเรียกตามเสียงที่ได้ยิน บ้างก็เรียกตามตำนานที่เล่าขานสืบต่อกันมา เช่น กลองเปิ้งมง, กลองต๊กเส้ง และกลองอืด เป็นต้น ก่อนการตีจะต้องถ่วงหน้ากลองด้วยวัสดุเหนียวๆ ที่เรียกว่า จ่ากลอง ทำมาจากข้าวเหนียวนึ่งบดผสมกับขี้เถ้า แล้วแต่สูตรของแต่ละคน หรือใช้กล้วยตากอบน้ำผึ้งบด ติดไว้บริเวณหน้ากลองเพื่อเพิ่มความดังกังวาน
       กลองแอว สามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภท ตามขนาดและเสียง คือ กลองแอวเสียงใหญ่ เสียงกลาง และเสียงเล็ก ซึ่งแต่ละประเภทจะมีขนาดของตัวกลองที่แตกต่างกันไปตามลำดับ โดยปกติกลองแอวที่ใช้ในภาคเหนือ จะบรรเลงร่วมกับเครื่องดนตรีชนิดอื่นๆ คือ ตะโล้ดโป๊ด สว่า (ฉาบใหญ่) ฆ้องอุ้ย ฆ้องโหย้ง โดยตีเป็นเครื่องประกอบจังหวะบรรเลงร่วมกันไปตลอดรวมเรียกว่า วงกลองตึ่งโนง และในบางโอกาสมักนิยมใช้เครื่องเป่าที่มีเสียงดังประกอบด้วย คือ แน ซึ่งมี 2 เลา ได้แก่ แนน้อย และแนหลวง หรืออาจจะมีการเพิ่มจำนวนเครื่องประกอบจังหวะไปตามความนิยมของท้องถิ่นนั้น ๆ แต่เดิมกลองแอวเป็นกลองที่อยู่ประจำตามวัดเกือบทุกอารามในจังหวัดทางภาคเหนือ ใช้ตีเป็นสัญญาณประจำวัด เช่น ตีเป็นกลองเพล ตีเป็นสัญญาณชุมนุมสงฆ์ในพิธีสังฆกรรม หรือรวมกระทำกิจวัตรอื่นๆ และใช้ร่วมในงานบุญต่างๆ เช่น แห่นำขบวนครัวตาน หรือเมื่อมีงานฉลองศาสนสถานของวัดที่เรียกว่า ปอยหลวง งานบวชเณรที่เรียกว่า ปอยลูกแก้ว ซึ่งถือเป็นงานที่สำคัญมาก นอกจากนี้ยังมีการนำมาประกวดแข่งขันประชันเสียงกัน ซึ่งจะจัดในระหว่างเดือน 3 เดือน 4 ซึ่งตรงกับเดือนอ้ายเดือนยี่ในภาคกลาง หรือใช้แห่ประกอบการฟ้อน เช่น ฟ้อนเล็บ ฟ้อนเทียน ในปัจจุบันนิยมนำมาแห่ในขบวนสำคัญต่างๆ โดยทั่วไป รวมถึงการแสดงบนเวทีให้นักท่องเที่ยวต่างถิ่นได้ชมอีกด้วย
       จากแผนที่วัฒนธรรมข้าวเหนียวของอาจารย์วิถี พาณิชพันธ์ กล่าวถึงพื้นที่ทีมีวัฒนธรรมยวน มีวิถีชีวิต วัฒนธรรม ภาษา ความเชื่อ อาหาร คล้ายคลึงกัน ตากถูกกำหนดให้อยู่ในแผนที่ทางวัฒนธรรมดังกล่าว ซึ่งน่าจะเป็นเพียงนักวิชาการไม่กี่ท่าน ผลงานวิชาการไม่กี่ชิ้นที่ช่วยยืนยันถึงการตั้งถิ่นฐานของยวนในเมืองตากได้เด่นชัด ประจักษ์พยานที่บ่งชี้ถึงการตั้งถิ่นฐานของลาว(ยวน)ในเมืองตากปรากฏให้เห็นหลายสิ่ง เช่น การแต่งกาย ที่ปรากฏให้เห็นจากจิตรกรรมฝาผนังในวัดต่าง ๆ ที่ตั้งอยู่ในชุมชนลาว(ยวน) ภาษาพูด(ปากลาว) อาหาร ประเพณี
       นอกจากนั้นหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงวิถีชุมชนคนลาวในด้านดนตรีนั้นคือ วงกลองคณะหัววัดต่าง ๆ ในย่านชุมชนลาว ดังเช่น วงกลองปูจาคณะศรัทธาวัดเชียงทองบน ผู้เขียนจำความได้ว่า ในงานวันออกพรรษาทุกปีที่วัดเชียงทองบนจะมีประเพณีตักบาตรเทโวฯเป็นประจำ โดยพระสงฆ์จะเดินลงมาจากวัดเชียงทองที่ตั้งอยู่บนเนินเขาลูกเล็ก ๆ แล้วจึงเดินผ่านในย่านชูมชนต่าง ๆ ในตัวเมืองตาก ภายในขบวนมีการตีกลองปูจา เพื่อเป็นพุทธบูชาอยู่เสมอ ที่ยังพอจะมีเค้าให้เห็นเพียงไม่กี่แห่ง หรือเมื่อคราวขบวนแห่กระทงสายเมื่อหลายปีก่อนชุมชนในแถบเขื่อนยันฮียังเคยแห่ขบวนด้วยการฟ้อนเล็บวงกลองตึงโน่งให้เห็นสิ่งนี้น่าจะเป็นหลักฐานถึงการสืบสานการเล่นเครื่องดนตรีของชุมชนคนลาวในเมืองตาก

คำสำคัญ : กลองแอว กลองปู่จา

ที่มา : https://www.facebook.com/laoruengmuengtak/photos/673454162744794

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2565). กลองแอว และกลองปู่จา ศรัทธาชุมชนลาว(ยวน). สืบค้น 19 มีนาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=2043&code_db=610004&code_type=TK001

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=2043&code_db=610004&code_type=TK001

Google search

Mic

แพซุงกลางน้ำปิงที่เมืองตาก

แพซุงกลางน้ำปิงที่เมืองตาก

การล่องซุงไม้สัก ร่องรอยความเจริญของกิจการป่าไม้ในหัวเมืองทางภาคเหนือ ในอดีตก่อนการถมแม่น้ำและการสร้างเขือนภูมิพล แม่น้ำปิงเป็นเส้นทางสำคัญในการล่องแพซุงจากเชียงใหม่ลำปางสู่กรุงเทพ ซึ่งมีแหล่งค้าไม้ที่สำคัญในระยะแถววัดสระเกศ ภายหลังจึงย้ายมาอยู่แถวบางโพ เมืองตาก ในอดีตมีห้างค้าไม้ถึงสามแห่ง คือ ห้างสัญชาติอังกฤษ 2 แห่ง คือ ห้างบอมเบย์เบอร์ และห้างบริติชบอร์เนียว (ห้างบอร์เนียวฯ) ซึ่งตั้งในย่านชุมชนหัวเดียด และห้างไม้คนจีนหนึ่งแห่ง คือ กิมเซ่งหลี ซึ่งภายหลังเป็นกลุ่มคหบดีคนสำคัญในภาคเหนือ คือตระกูล โสภโณดร

เผยแพร่เมื่อ 01-02-2022 ผู้เช้าชม 599

กินฮ้าว

กินฮ้าว

กินฮ้าว หรือเลี้ยงลาดตองประเพณีเลี้ยงผีเก่าแก่ในเมืองตาก ในอดีตชาวบ้านนิยมเลี้ยงควายหรือหมูทั้งตัววางลาดบนใบตอง ชาวบ้านจึงเรียกกันอีกชื่อว่าการเลี้ยงลาดตอง บางชุมชนก็เล่าว่าเป็นการเลี้ยงผีขุนน้ำที่ทอดขวางกันเมืองตากฝั่งตะวันออกและตะวันตก ในอดีตการเลี้ยงฮ้าวมักมีที่นั่ง (ร่างทรง) ในพิธีด้วย ในแถบชุมชนบ้านจีนซึ่งเป็นชุมชนเก่าแก่เป็นย่านเมืองเก่าตากในยุคต้นรัตนโกสินทร์มีการสืบทอดประเพณีอยู่จนถึงปัจจุบัน แต่ลดรูปแบบและของเซ่นไหว เพื่อให้เหมาะกับยุคสมัย

เผยแพร่เมื่อ 26-01-2022 ผู้เช้าชม 572

พิษธาน เพลงพื้นบ้าน ความทรงจำจางๆ ชุมชนพื้นถิ่นที่เมืองตาก

พิษธาน เพลงพื้นบ้าน ความทรงจำจางๆ ชุมชนพื้นถิ่นที่เมืองตาก

"พิษฐานเอย มือหนึ่งถือพาน พานเจ้าดอก(พุด)" เสียงเอื้อนเอย จากคุณป้าทองคำ แสนคำอ้าย ลูกหลาน บ้านเสาสูงที่เมืองตาก หนึ่งในศิลปินพื้นบ้านเมืองตากที่รับสืบทอดเพลงพื้นบ้านมาจากคณะหุ่นกระปอกแห่งเมืองตาก ส่งเสียงร้องด้วยทำนองพื้นบ้าน ผู้ฟังสัมผัสได้ถึงความรู้สึกถึงความเป็นศิลปินในตัวของท่าน นอกจากเสียงสำเนียงหวาน ๆ แล้วคุณป้ายังเล่าขานตำนานเพลงพื้นบ้านให้ฟังว่า เพลงพื้นบ้านที่เรียกว่าพิษฐานนี้ เป็นการละเล่นเพื่อร้องขอพรแด่องค์พระปฎิมาภายในอุโบสถ วิหารที่คนในสมัยก่อนของตาก นิยมร้องเล่นกันในช่วงปีใหม่ไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งย่านชุมชนไทยพื้นถิ่นแถบวัดใหม่มะเขือแจ้ เป็นการแสดงพื้นบ้านที่ในปัจจุบันน้อยคนที่จะรู้จักและได้ยินการขับขานบทเพลงดังกล่าว

เผยแพร่เมื่อ 01-02-2022 ผู้เช้าชม 449

พระราชนิยมในสมัยพระพุทธเจ้าหลวงกับการปลูกต้นไม้ริมถนน

พระราชนิยมในสมัยพระพุทธเจ้าหลวงกับการปลูกต้นไม้ริมถนน

เมืองตากในช่วงที่พระยาสุจริตรักษา เป็นเจ้าเมืองตากในขณะนั้นได้สนองตามแนวพระราชนิยมด้วยการตัดถนนตากสินและปลูกต้นมะขามไว้สองข้างถนนเพื่อความร่มเงา อันมีหลักฐานจากเอกสารท้องถิ่นคือ นิราศเมืองตาก ของขุนวัชรพุุกก์ศึกษาการกล่าวไว้ ดังนั้นจึงขอรณรงค์ให้เทศบาลและชาวเมืองตากร่วมกันอนุรักษ์ต้นไม้โบราณที่คงคุณค่าของเมืองเป็นหมุดหมายของกาลเวลาที่เราก็เลือนไปพร้อมกับผู้ที่มีชีวิตอยู่ร่วมสมัยนั้น

เผยแพร่เมื่อ 01-02-2022 ผู้เช้าชม 459

ลาวพุงดำ แอ๋วสาวนุ่งซิ่นต๋าโยน

ลาวพุงดำ แอ๋วสาวนุ่งซิ่นต๋าโยน

ลาวพุงดำ คำว่าลาวในเมืองตาก หมายถึง ชาวยวน หรือคนเมืองในหัวเมืองเหนือของประเทศไทย ในช่วงหนึ่งชายชาวลาวมีค่านิยมสักตั้งแต่ต้นขาไปถึงช่วงแอว จนทำให้ชาวตะวันตกที่เขามาในสยามในช่วงรัชกาลที่ 5 พากันเรียกกลุ่มที่ไม่พูดสยามหรือพูดภาษาต่าง ๆ จากพวกสยามว่าลาว ตามหัวเมืองภาคกลางนิยมเรียกกัน ลาวทางเหนือที่สักด้วยลวดลายสวยงาม เป็นแฟชั่นที่ชายนิยมแสดงถึงรสนิยมชั้นดีของตนเอง แสดงความกล้าหาญ มีพลัง ด้วยแฟชั่นสักร่างกายนี้เอง ชาวตะวันตกจึงพากันเรียกลาวเหนือว่า ลาวพุงดำ จากร้อยสักที่สวยงามที่ปรากฏบนเรือนร่างนั้นเอง ที่เมืองตากพบค่านิยมนี่ด้วยผ่านจากร่องรอยทางจิตรกรรมฝาผนังสมัยรัชกาลที่ 5 ที่วัดโบสถ์มณีศรีบุญเรื่อง

เผยแพร่เมื่อ 01-02-2022 ผู้เช้าชม 944

โฮงดำหัวผะเจ้า (ห้องสรงน้ำพระ)

โฮงดำหัวผะเจ้า (ห้องสรงน้ำพระ)

วัดในเขตอำเภอบ้านตาก อำเภอสามเงา และในอำเภอเมืองตาก จะมีห้องสรงน้ำพระอยู่ในบริเวณวัดแทบทุกวัด ซึ่งมีไว้เพื่อใช้สรงน้ำพระในวันพญาวัน วันเข้าพรรษา และวันออกพรรษา โดยจะสรงน้ำพระในช่วงบ่าย ๆ หรือเย็น ๆ ก่อนสรงน้ำพระก็จะฟังเทศน์อนิสงค์ปีใหม่ และจากนั้นก็จะโอกาดน้ำขมิ้นส้มป่อย เมื่อโอกาดเสร็จก็จะอันเชิญพระพุทธรูป เข้าไปไว้ในห้องสรงน้ำพระเป็นอันดับแรกก่อน จากนั้นผู้คนต่างก็จะนำน้ำขมิ้นส้มป่อยที่เตรียมมานั้น ไปเทที่รางริน ซึ่งรางรินนั้นจะเชื่อมต่อกับห้องสรงน้ำพระ โดยทำเป็นช่องลอดให้พอดีกับรางริน สรงน้ำพระพุทธรูปเสร็จแล้วนั้น ก็จะนิมนต์พระสงฆ์ในวัดทั้งหมดเข้ามาในห้องสรงน้ำพระต่อไป

เผยแพร่เมื่อ 01-02-2022 ผู้เช้าชม 764

เจลใส่ผมน้ำมันมะพร้าวออแกรนนิค

เจลใส่ผมน้ำมันมะพร้าวออแกรนนิค

สมัยโบราณ คนเฒ่าคนแก่ยังนิยมมวยผมจ๊อกน้อย ๆ ที่ท้ายทอยนุ่งซิ่นสมัยนิยมคือผ้าลายเลียนแบบผ้ามัสกาตี นิยมจับผมให้เข้ารูปด้วยน้ำมันมะพร้าว วันแรก ๆ ก็หอมน้ำมันมะพร้าวดี ผ่านไปสองสามวันกลิ่นออกจะเหม็นหืนไปสักหน่อย ผู้เขียนจึงได้ความรู้ใหม่ว่าคนโบราณช่างคิดสามารถนำไขจากมะพร้าวมาทำเป็นเจลใส่ผมจากธรรมชาติ ช่วยให้ผมเงาดำเสียด้วย ใครทำน้ำมันมะพร้าวใส่ผมเป็นบ้างครับ เดียวนี้คงเลิกนิยมทำกันแล้ว

เผยแพร่เมื่อ 26-01-2022 ผู้เช้าชม 309

ทำบุญถนน ศรีบ้าน ชัยเมือง วิถีเมืองตาก

ทำบุญถนน ศรีบ้าน ชัยเมือง วิถีเมืองตาก

การทำบุญกลางบ้าน คืองานพิธีกรรมที่สร้างความรัก ความผูกพันของคนในชุมชนหมู่บ้าน เพราะเป็นพิธีกรรมที่ชาวบ้านต้องร่วมกันจัดเตรียมพิธีกรรม ปะรำพิธี ตลอดไปจนการช่วยกันโยงด้ายสายสิญจน์จากบริเวณปะรำพิธีที่นิยม เลือกบริเวณกลางชุมชน ในชุมชนคนลาว ในช่วงเช้าก่อนวันประกอบพิธี จะมีการประกอบพิธีเลี้ยงท้าวทั้งสี่ในช่วงเช้า ตามความเชื่อของชาวล้านนา เพื่อทำให้เกิดสิริมงคล ราบรื่นในการประกอบพิธีกรรม ยามค่ำนิยมนิมนต์พระจากวัดชุมชนมาเจริญพุทธมนต์ ในระหว่างพระเจริญพระพุทธมนต์นั้น บ้านทุกหลังจะทำการบูชาเจดีย์ทรายองค์เล็กๆ ที่ชาวบ้านตระเตรียมไว้ตั้งแต่เช้า ๆ และโยงด้านสายสิญจน์เข้าสู่เคหะสถานของตัวเอง ด้วยการเครื่องบูชาคือธูป เที่ยน ดอกไม้ ธง หรือตุงช่อ เพราะเชื่อว่าทำให้เกิดสิริมงคลสำหรับผู้ที่อยู่อาศัยในเคหะสถานนั้นๆ และยังเป็นการสืบอายุให้กับชุมชน และเมืองด้วย

เผยแพร่เมื่อ 01-02-2022 ผู้เช้าชม 475

ประเพณีลอยกระทงสายไหลประทีป 1000 ดวง

ประเพณีลอยกระทงสายไหลประทีป 1000 ดวง

งานประเพณีลอยกระทงสายไหลประทีป  1000 ดวง ของจังหวัดตาก เป็นงานประเพณีที่นำหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา ภูมิปัญญาชาวบ้าน และงานศิลปวัฒนธรรม มาหล่อหลอมรวมกันจนเกิดเป็นรูปแบบที่โดดเด่น

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2018 ผู้เช้าชม 1,110

การเชิดหุ่นกระบอกจากคณะสังวาลย์ศิลป์

การเชิดหุ่นกระบอกจากคณะสังวาลย์ศิลป์

หุ่นกระบอกอายุร่วมร้อยปี ถูกเก็บไว้อย่างดีในพิพิธภัณฑ์วัดพระบรมธาตุ จังหวัดตาก จากเดิมถูกเก็บไว้อยู่ในบ้านคุณยายเจียมจิตต์ บำรุงศรี ทายาทรุ่นที่ 3 หลังจากที่เจ้าของคณะหุ่นกระบอก ผู้ก่อตั้งคุณแม่สังวาลย์ อิ่มเอิบ ถึงแก่กรรม คุณยายเจียมจิตต์ ได้มามอบให้วัดพระบรมธาตุ เพื่อให้คนรุ่นหลัง ได้เห็นถึงความรุ่งเรืองของหุ่นกระบอกคนเมืองตาก

เผยแพร่เมื่อ 26-01-2022 ผู้เช้าชม 489