ประเพณีลอยกระทงสายไหลประทีป 1000 ดวง
เผยแพร่เมื่อ 15-08-2018 ผู้ชม 1,573
[16.8784698, 98.8779104, ประเพณีลอยกระทงสายไหลประทีป 1000 ดวง]
ประเพณีลอยกระทงสายไหลประทีป 1000 ดวง ได้มีการปฏิบัติสืบทอดต่อกันมาเป็นเวลายาวนานหลายชั่วอายุคน ซึ่งจะแตกต่างกับงานประเพณีลอยกระทงของจังหวัดอื่น เพราะ ส่วนประกอบของกระทงจะมีการนำ กะลามะพร้าว มาใช้เป็นส่วนใหญ่ เหตุที่มีการนำเอากะลามาเป็นส่วนประกอบนั้น เนื่องมาจากชาวเมืองตาก มีการนำเอามะพร้าวมาแปรรูปทำเป็นอาหารว่าง ที่เรียกว่า “ เมี่ยง ” โดยถือเป็นอาหารว่างที่ชาวเมืองตากรับประทานเป็นประจำหลังอาหาร ซึ่งมีมะพร้าว ถั่วลิสง ใบเมี่ยงหมัก เป็นส่วนประกอบหลัก นอกจากทำเพื่อรับประทานกันเองภายในครอบครัวแล้ว ยังมีการนำมาขายเป็นอาหารพื้นเมืองและได้รับความนิยมในภาคเหนือโดยทั่วไป กรรมาวิธีในการแปรรูปมะพร้าวเป็น “ เมี่ยง ” นั้น มีการขูดเอาเฉพาะเนื้อมะพร้าวมาทำ ส่วนกะลามะพร้าวจะถูกทิ้งไว้ในบริเวณบ้านเป็นจำนวนมาก ไม่มีการนำเอามาใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่
ครั้นถึงวันเพ็ญ เดือนสิบสอง ( วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ตามปฏิทินทางจันทรคติ ) ประมาณเดือนพฤศจิกายน ชาวบ้านจึงได้ทดลองนำกะลาด้านที่ไม่มีรูมาทำเป็นกระทง โดยเอากะลามาขัดถูจนสะอาด ตกแต่งลวดลายสวยงาม ภายในกะลาใส่ด้ายดิบที่ฟั่นเป็น รูปตีนกา แล้วหล่อ เทียนขี้ผึ้ง ซึ่ง นำมาจากเทียนจำนำพรรษาที่พระสงฆ์จุดเพื่อทำพิธีสวดมนต์ในโบสถ์วิหารตลอดสาม เดือน หลังจากออกพรรษาชาวบ้านจะนำเทียนขี้ผึ้งเหล่านั้นมาหล่อใส่ในกะลา ซึ่งถือว่าเป็นของศักดิ์สิทธิ์และเป็นศิริมงคลแก่ผู้นำไปลอย ก่อนที่จะปล่อยลงลอยในแม่น้ำปิง ประกอบกับแม่น้ำปิงที่ไหลผ่านจังหวัดตากจะเกิดสันทรายใต้น้ำ ทำให้เกิดเป็นร่องน้ำที่สวยงามเป็นธรรมชาติ เมื่อนำ กระทงกะลา ลงลอย กระทงกะลาจะไหลไปตามร่องน้ำดังกล่าว ทำให้ดูเป็นสายอย่างต่อเนื่อง จนสุดสายตา ซึ่งไฟในกะลาจะส่องแสงระยิบระยับเต็มท้องน้ำ
คำสำคัญ : ประเพณีลอยกระทงสายไหลประทีป 1000 ดวง
ที่มา : http://123.242.165.136/?module=acticle&pages=acticle_detail&acti_code=A0000317
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2561). ประเพณีลอยกระทงสายไหลประทีป 1000 ดวง. สืบค้น 13 ธันวาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=680&code_db=610004&code_type=TK001
Google search
กลองแอว เป็นชื่อเรียกที่มีความหมายถึง ลักษณะรูปร่างของหุ่นกลองที่คล้ายกับ "สะเอว"นอกจากนั้นยังอื่นมีชื่อเรียกขานแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น บ้างก็เรียกตามรูปร่างลักษณะที่เห็น หรือเรียกตามเสียงที่ได้ยิน บ้างก็เรียกตามตำนานที่เล่าขานสืบต่อกันมา เช่น กลองปู่จา, กลองเปิ้งมง, กลองต๊กเส้ง และกลองอืด เป็นต้น ก่อนการตีจะต้องถ่วงหน้ากลองด้วยวัสดุเหนียวๆ ที่เรียกว่า จ่ากลอง ทำมาจากข้าวเหนียวนึ่งบดผสมกับขี้เถ้า แล้วแต่สูตรของแต่ละคน หรือใช้กล้วยตากอบน้ำผึ้งบด ติดไว้บริเวณหน้ากลองเพื่อเพิ่มความดังกังวาน
เผยแพร่เมื่อ 01-02-2022 ผู้เช้าชม 1,904
หากเอยถึงกระทงสายจังหวัดตากย่อมเป็นที่ปรากฏถึงความสวยงามและความเป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของท้องถิ่น แต่หากย้อนมองกลับไปประเพณีลอยประทงสายที่รู้จักกันนั้น เกิดขึ้นมาอยู่คู่ชาวจังหวัดตากมาช้านาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งชุมชนที่ตั้งริมแม่น้ำปิง เมื่อข้าพเจ้ามีโอกาสได้พูดคุยกับผู้สูงอายุหลายท่าน ที่มีอายุราว 70 -90 ปี ท่านเล่าว่าประเพณีลอยกระทงสายคือ การแสดงความกตัญญูที่มีต่อธรรมชาติ นั้นก็คือแม่ปิง การแสดงออกทางความรัก ที่ส่งผ่านการทำพิธีที่เรียกว่า "การลอยผ้าป่าน้ำ"
เผยแพร่เมื่อ 25-01-2022 ผู้เช้าชม 3,766
หุ่นกระบอกอายุร่วมร้อยปี ถูกเก็บไว้อย่างดีในพิพิธภัณฑ์วัดพระบรมธาตุ จังหวัดตาก จากเดิมถูกเก็บไว้อยู่ในบ้านคุณยายเจียมจิตต์ บำรุงศรี ทายาทรุ่นที่ 3 หลังจากที่เจ้าของคณะหุ่นกระบอก ผู้ก่อตั้งคุณแม่สังวาลย์ อิ่มเอิบ ถึงแก่กรรม คุณยายเจียมจิตต์ ได้มามอบให้วัดพระบรมธาตุ เพื่อให้คนรุ่นหลัง ได้เห็นถึงความรุ่งเรืองของหุ่นกระบอกคนเมืองตาก
เผยแพร่เมื่อ 26-01-2022 ผู้เช้าชม 798
ในระหว่างเทศกาลเข้าพรรษาตามหัววัดในชุมชนคนกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ในตัวเมืองตาก ทั้งกลุ่มไทยพื้นถิ่น ลาว (ยวน) มอญ ฯลฯ ล้วนสืบสานประเพณีนี้กันทั้งสิ้น ในงานตั้งธรรมหลวง(เทศน์มหาชาติ) พระท่านเทศน์เป็นคำเมือง(ปากลาว) ในปัจจุบันตามหัววัดต่าง ๆ ที่ตั้งในชุมชนต่าง ๆ ไม่แน่ใจว่ายังเทศน์ด้วยภาษาชาติพันธ์ุอยู่หรือไม่ หรือกลืนกลายไปแล้วตามกาลเวลา เพราะคนในแต่ละชุมชนสื่อสารภาษากลุ่มน้อยลงไปทุกที
เผยแพร่เมื่อ 01-02-2022 ผู้เช้าชม 855
สมัยโบราณ คนเฒ่าคนแก่ยังนิยมมวยผมจ๊อกน้อย ๆ ที่ท้ายทอยนุ่งซิ่นสมัยนิยมคือผ้าลายเลียนแบบผ้ามัสกาตี นิยมจับผมให้เข้ารูปด้วยน้ำมันมะพร้าว วันแรก ๆ ก็หอมน้ำมันมะพร้าวดี ผ่านไปสองสามวันกลิ่นออกจะเหม็นหืนไปสักหน่อย ผู้เขียนจึงได้ความรู้ใหม่ว่าคนโบราณช่างคิดสามารถนำไขจากมะพร้าวมาทำเป็นเจลใส่ผมจากธรรมชาติ ช่วยให้ผมเงาดำเสียด้วย ใครทำน้ำมันมะพร้าวใส่ผมเป็นบ้างครับ เดียวนี้คงเลิกนิยมทำกันแล้ว
เผยแพร่เมื่อ 26-01-2022 ผู้เช้าชม 428
ประเพณีตานก๋วยสลาก ที่ยึดถือประเพณีนี้ได้แก่อำเภอท่าสองยาง อำเภอแม่ระมาด อำเภอแม่สอด อำเภอพบพระ อำเภออุ้มผาง และอำเภอบ้านตาก อำเภอเมืองตาก
เผยแพร่เมื่อ 15-08-2018 ผู้เช้าชม 1,368
หลังสงกรานต์ 16 เม.ย (วันปากปี) คนตากที่มีเชื้อสายชาวล้านนาจะมีการบูชาข้าว + บูชาเคราะห์โดยเตรียมสะตวง ทำจากกาบกล้วย รองด้วยใบตองแบ่งเป็น 9 ช่อง ปักธงสีขาวทุกช่อง แต่ละช่อง รองด้วยใบขนุน ใส่ข้าวสุก กับข้าวชื่อมงคล กล้วยสุก ดอกมะลิสีขาว นำไปวางในวิหาร พร้อมเส้นฝ้ายวา และเสื้อของคนในครอบครัวเมื่อพระสวดมนต์เสร็จแล้ว จะนำเสื้อผ้าที่ผ่านพิธีมาทำการสะบัดเคราะห์หรือสิ่งชั่วร้ายออกไป จะนำสะตวงไปลอยน้ำ และนำฝ้ายวาไปเผา ถือเป็นการล้างสิ่งที่ไม่ดี และรับแต่สิ่งที่ดี ๆ เข้ามาในชีวิต”
เผยแพร่เมื่อ 27-01-2022 ผู้เช้าชม 1,050
กินฮ้าว หรือเลี้ยงลาดตองประเพณีเลี้ยงผีเก่าแก่ในเมืองตาก ในอดีตชาวบ้านนิยมเลี้ยงควายหรือหมูทั้งตัววางลาดบนใบตอง ชาวบ้านจึงเรียกกันอีกชื่อว่าการเลี้ยงลาดตอง บางชุมชนก็เล่าว่าเป็นการเลี้ยงผีขุนน้ำที่ทอดขวางกันเมืองตากฝั่งตะวันออกและตะวันตก ในอดีตการเลี้ยงฮ้าวมักมีที่นั่ง (ร่างทรง) ในพิธีด้วย ในแถบชุมชนบ้านจีนซึ่งเป็นชุมชนเก่าแก่เป็นย่านเมืองเก่าตากในยุคต้นรัตนโกสินทร์มีการสืบทอดประเพณีอยู่จนถึงปัจจุบัน แต่ลดรูปแบบและของเซ่นไหว เพื่อให้เหมาะกับยุคสมัย
เผยแพร่เมื่อ 26-01-2022 ผู้เช้าชม 773
คัมภีร์ใบลาน วัดเกาะตาเถียร เป็นคัมภีร์ใบลานที่มีอายุเก่าแก่พอๆกับการสร้างวัดเกาะตาเถียร เพราะในอดีตพระสงฆ์จะเรียนหนังสือจากคัมภีร์ใบลาน โดยภาษาในพระคัมภีร์ใบลาน วัดเกาะตาเถียรนั้นได้รับอิทธิพลมาจากสุโขทัย เพราะในสมัยนั้นจะเรียนภาษาขอมร่วมกับภาษาไทยภาคกลาง พร้อมกับการเรียน การเขียนตัวอักษรลงในใบลาน เรียกว่า “การจาร” การเขียนตัวหนังสือลงในใบลาน เพื่อจัดทำเป็นลายลักษณ์อักษร นิยมเขียนเกี่ยวกับพุทธประวัติพระพุทธเจ้า, กัณฑ์เทศน์มหาชาติ 13 กัณฑ์, บทสวดมนต์ เป็นต้น
เผยแพร่เมื่อ 12-12-2024 ผู้เช้าชม 5
ในช่วงวันเดือน 4 เหนือ ขึ้น 15 ค่ำ ซึ่งเป็นช่วงฤดูหนาวหลังจากที่มีการเก็บเกี่ยวพืชผลทางการเกษตรเรียบร้อยแล้วชาวบ้านมักจะนำข้าวใหม่ที่ได้จากการเก็บเกี่ยวมาทำบุญที่วัด เรียกประเพณี “ตานข้าวใหม่ หิงไฟพระเจ้า” ในเมืองตากมีการสืบทอดประเพณีการถวายข้าวใหม่เช่นเดียวกับวัฒนธรรมภาคเหนือเช่นกัน แต่มีข้อแตกต่างกัน คือชาวเมืองตากนิยมนำข้าวเหนียวใหม่มาเผาเป็นข้าวหลาม เพื่อใช้ในการถวายพระก่อนงานเทศกาล 1 วัน อดีตชาวบ้านเกือบทุกหลังจะนิยมเผาข้าวหลามเพื่อนำไปถวายพระ เป็นกิจกรรมสร้างความรักสามัคคีในครอบครัว
เผยแพร่เมื่อ 26-01-2022 ผู้เช้าชม 1,228