ซิ่นน้ำท่วม

ซิ่นน้ำท่วม

เผยแพร่เมื่อ 26-01-2022 ผู้ชม 799

[16.8778126, 98.8779113, ซิ่นน้ำท่วม]

      "ซิ่นน้ำท่วม" มรดกวัฒนธรรมที่เลือนหายได้รับสืบสานลมหายใจ มรดกบนอาภรณ์จากชุมชนลุ่มน้ำปิงที่เลือนหายจากการสร้างเขื่อนภูมิพล จากสารคดีชุดนี้ยังแสดงให้เห็นถึงสำเนียงเสียงเชียงใหม่สายใต้ซึ่งมีรูปแบบเหมือนชุมชนลาวในตาก แสดงให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างคนลุ่มน้ำปิง ปีใหม่ไทยปีนี้ร่วมกันแต่งกายผ้าไทยอนุรักษ์วัฒนธรรมกันนะครับ
      ผ้าซิ่นนับเป็นความภาคภูมิใจอย่างหนึ่งของหญิงไทย ในสมัยโบราณการทอผ้าเป็นงานในบ้าน ลูกผู้หญิงมีหน้าที่ทอผ้า แม่จะสั่งสอนให้ลูกสาวฝึกทอผ้าจนชำนาญ แล้วทอผ้าผืนงามสำหรับใช้ในโอกาสพิเศษ เช่น งานแต่งงาน งานบวช หรืองานบุญประเพณีต่าง ๆ การนุ่งผ้าซิ่นของผู้หญิงจึงเป็นเหมือนการแสดงฝีมือของตนให้ปรากฏ ผ้าซิ่นที่ทอได้สวยงาม มีฝีมือดี จะเป็นที่กล่าวขวัญและชื่นชมอย่างกว้างขวาง และยังเป็นการบ่งบอกฐานะทางสังคม เช่น ผ้าทอที่มีลวดลายสวยงาม มีสีสันและพิสดารนั้นมักใช้เฉพาะเจ้านายในราชสำนัก หรือ คนที่มีความร่ำรวย ส่วนผ้าซิ่นลายธรรมดาเรียบงายสีสันน้อยมักใช้ในกลุ่มชาวบ้านโดยทั่วไป

การทอผ้าของจังหวัดตาก
      จากการที่จังหวัดตากมีความแตกต่างทางภูมิประเทศ ในอดีติเป็นเมืองที่มีชาวมอญอยู่มาก่อน นอกจากนั้นยังมีไทยภาคกลาง ไทยล้านนา ไทยใหญ่(เงี้ยว) พม่า ไทยมุสลิมเชื้อสายบังคลาเทศ และ ชาวเขาเผ่าต่างๆ เช่น กะเหรี่ยง ม้ง อีก้อ มูเซอ และเย้า เป็นต้น ทำให้มีความหลากหลายในเชิงวัฒนธรรม การทอผ้าของจังหวัดตากจึงมีเอกลักษณ์ต่างๆ กัน  ซึ่งสามารถแบ่งกลุ่มทอผ้า ของจังหวัดตากได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ   
      
1. กลุ่มอิสานอพยพจากจังหวัดกาฬสินธุ์ ชัยภูมิ อุบลราชธานีมา ตั้งหลักแหล่งที่บ้านเด่นวัว ต.เชียงทอง กิ่งอำเภอวังเจ้า ทอด้วย ฝ้ายและด้ายสำเร็จรูป โดยใช้กี่กระตุกย้อมด้วยสีธรรมชาติ ผ้าที่ทอ ได้แก่ ผ้าพื้น ผ้าซิ่น ผ้าขาวม้า ลวดลายที่นิยม ได้แก่ ลายลูกหวาย
      2. กลุ่มชาวเขา โดยมีชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง ซึ่งได้ชื่อว่าเป็น “นักทอ” เพราะทอผ้ากันเป็นวัฒนธรรมประ จำเผ่า เป็นกลุ่มที่ทอผ้ามากที่สุด การทอของชาวกะเหรี่ยงนั้นจะใช้กี่พื้นบ้านที่เรียกว่า“กี่เอว”แต่ในปัจจุบัน กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมได้เข้าไปสอนให้ใช้กี่กระตุก ผ้าที่ทอเป็นผ้าฝ้าย การย้อมสี ในปัจจุบันมีทั้งการ ย้อมสีเคมีและสีธรรมชาติ ผ้าที่ทอได้แก่ ผ้าห่ม เสื้อกะเหรี่ยง ผ้าถุง ผ้าคลุมเตียง และย่าม เป็นต้น
     3. กลุ่มคนไทยพื้นบ้าน เป็นการทอผ้าพื้น ด้วยกี่กระตุก มีทั้งไหมและฝ้าย ทอเป็นผ้าขาวม้า ผ้าผืน ผ้าห่ม อำเภอแม่ระมาด ผ้าที่พบเป็นผ้าทอมัดหมี่ลายต่างๆ ได้แก่ ลายข้าวโพด ลาดหมี่ขอ ลายหมี่เจ้านาง ลายไทย ลายมะเฟืองใหญ่ เป็นต้น

คำสำคัญ : ผ้าซิ่น ผ้าถุง

ที่มา : https://www.facebook.com/laoruengmuengtak/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2565). ซิ่นน้ำท่วม. สืบค้น 25 เมษายน 2568, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=2018&code_db=610004&code_type=TK001

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=2018&code_db=610004&code_type=TK001

Google search

Mic

ขันแก้วตังสาม จารีตบ่าเก่าที่เรารักษา

ขันแก้วตังสาม จารีตบ่าเก่าที่เรารักษา

ขัน หรือพาน เป็นภาชนะที่ใช้บรรจุเครื่องสักการะต่าง ๆ โดยจะมีทั้งขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่ทั้งนี้ขึ้นอยู่ตามวัตถุประสงค์ในการใช้ นอกจากในเรื่องของขนาดแล้วขันยังมีความหลากหลายในเรื่องวัสดุในการสร้างด้วย เรียกขันลักษณะนี้ว่า ขันแก้วทั้งสาม (อ่านขั้นแก้วตังสาม) คือพานดอกไม้ที่ไว้บูชาพระรัตนตรัยทั้งสาม คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ลักษณะของขันแก้วทั้งสาม จะเป็นขันที่มีขนาดสูง นิยมทำจากไม้สลัก ประดับกระจกเกรียบ (แก้วจีนหรือแก้วอังวะ) ตัวขันทำเป็นรูปกระบะสามเหลี่ยม มีขา 3 ขา สลักเป็นรูปพญานาค บางแห่งนิยมทำเป็นลักษณะฐานกลม

เผยแพร่เมื่อ 01-02-2022 ผู้เช้าชม 2,515

การเชิดหุ่นกระบอกจากคณะสังวาลย์ศิลป์

การเชิดหุ่นกระบอกจากคณะสังวาลย์ศิลป์

หุ่นกระบอกอายุร่วมร้อยปี ถูกเก็บไว้อย่างดีในพิพิธภัณฑ์วัดพระบรมธาตุ จังหวัดตาก จากเดิมถูกเก็บไว้อยู่ในบ้านคุณยายเจียมจิตต์ บำรุงศรี ทายาทรุ่นที่ 3 หลังจากที่เจ้าของคณะหุ่นกระบอก ผู้ก่อตั้งคุณแม่สังวาลย์ อิ่มเอิบ ถึงแก่กรรม คุณยายเจียมจิตต์ ได้มามอบให้วัดพระบรมธาตุ เพื่อให้คนรุ่นหลัง ได้เห็นถึงความรุ่งเรืองของหุ่นกระบอกคนเมืองตาก

เผยแพร่เมื่อ 26-01-2022 ผู้เช้าชม 917

พิธีห่มผ้าพระธาตุเจดีย์

พิธีห่มผ้าพระธาตุเจดีย์

พิธีห่มผ้าพระธาตุเจดีย์ เป็นการนำผ้าผืนยาวที่คนในชุมชนร่วมใจกันถวายขึ้นไปห่มองค์พระธาตุเจดีย์ โดยให้คนในชุมชนร่วมใจกันถือผ้าที่จะใช้ห่มองค์พระธาตุเจดีย์ เดินเวียนเทียนรอบพระธาตุเจดีย์ จำนวน ๓ รอบ โดยจะต้องตั้งฐานจิตเพื่อสืบทอดพระศาสนา เจริญบุญกุศลในธรรม จรรโลงคุณงามความดี ก่อนจะนำผ้าขึ้นไปห่มรอบองค์พระธาตุเจดีย์

เผยแพร่เมื่อ 12-12-2024 ผู้เช้าชม 413

ประเพณีปอยส่างลอง

ประเพณีปอยส่างลอง

"ปอยส่างลอง" เป็นงานประเพณีบวชลูกแก้วของไทยใหญ่ เป็นการบรรพชาสามเณรให้สืบทอดพระพุทธศาสนา และเพื่อเรียนรู้พระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า โดยมีความเชื่อว่า ถ้าได้บวชให้ลูกของตนเป็นสามเณรจะได้อานิสงฆ์ 8 กัลป์ บวชลูกคนอื่นเป็นสามเณรได้อานิสงฆ์ 4 กัลป์ หากได้อุปสมบทลูกของตนเป็นพระภิกษุสงฆ์ จะได้อานิสงฆ์ 12 กัลป์ หากได้อุปสมบทลูกคนอื่นจะได้อานิสงฆ์ 8 กัลป์ และเพื่อเป็นการสืบทอดประเพณีที่มีมาดั้งเดิม

เผยแพร่เมื่อ 27-01-2022 ผู้เช้าชม 12,922

ลาวพุงดำ แอ๋วสาวนุ่งซิ่นต๋าโยน

ลาวพุงดำ แอ๋วสาวนุ่งซิ่นต๋าโยน

ลาวพุงดำ คำว่าลาวในเมืองตาก หมายถึง ชาวยวน หรือคนเมืองในหัวเมืองเหนือของประเทศไทย ในช่วงหนึ่งชายชาวลาวมีค่านิยมสักตั้งแต่ต้นขาไปถึงช่วงแอว จนทำให้ชาวตะวันตกที่เขามาในสยามในช่วงรัชกาลที่ 5 พากันเรียกกลุ่มที่ไม่พูดสยามหรือพูดภาษาต่าง ๆ จากพวกสยามว่าลาว ตามหัวเมืองภาคกลางนิยมเรียกกัน ลาวทางเหนือที่สักด้วยลวดลายสวยงาม เป็นแฟชั่นที่ชายนิยมแสดงถึงรสนิยมชั้นดีของตนเอง แสดงความกล้าหาญ มีพลัง ด้วยแฟชั่นสักร่างกายนี้เอง ชาวตะวันตกจึงพากันเรียกลาวเหนือว่า ลาวพุงดำ จากร้อยสักที่สวยงามที่ปรากฏบนเรือนร่างนั้นเอง ที่เมืองตากพบค่านิยมนี่ด้วยผ่านจากร่องรอยทางจิตรกรรมฝาผนังสมัยรัชกาลที่ 5 ที่วัดโบสถ์มณีศรีบุญเรื่อง

เผยแพร่เมื่อ 01-02-2022 ผู้เช้าชม 1,746

คัมภีร์ใบลาน วัดเกาะตาเถียร

คัมภีร์ใบลาน วัดเกาะตาเถียร

คัมภีร์ใบลาน วัดเกาะตาเถียร เป็นคัมภีร์ใบลานที่มีอายุเก่าแก่พอๆกับการสร้างวัดเกาะตาเถียร เพราะในอดีตพระสงฆ์จะเรียนหนังสือจากคัมภีร์ใบลาน โดยภาษาในพระคัมภีร์ใบลาน วัดเกาะตาเถียรนั้นได้รับอิทธิพลมาจากสุโขทัย เพราะในสมัยนั้นจะเรียนภาษาขอมร่วมกับภาษาไทยภาคกลาง พร้อมกับการเรียน การเขียนตัวอักษรลงในใบลาน เรียกว่า “การจาร” การเขียนตัวหนังสือลงในใบลาน เพื่อจัดทำเป็นลายลักษณ์อักษร นิยมเขียนเกี่ยวกับพุทธประวัติพระพุทธเจ้า, กัณฑ์เทศน์มหาชาติ 13 กัณฑ์, บทสวดมนต์ เป็นต้น

เผยแพร่เมื่อ 12-12-2024 ผู้เช้าชม 63

กลองแอว และกลองปู่จา ศรัทธาชุมชนลาว(ยวน)

กลองแอว และกลองปู่จา ศรัทธาชุมชนลาว(ยวน)

กลองแอว เป็นชื่อเรียกที่มีความหมายถึง ลักษณะรูปร่างของหุ่นกลองที่คล้ายกับ "สะเอว"นอกจากนั้นยังอื่นมีชื่อเรียกขานแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น บ้างก็เรียกตามรูปร่างลักษณะที่เห็น หรือเรียกตามเสียงที่ได้ยิน บ้างก็เรียกตามตำนานที่เล่าขานสืบต่อกันมา เช่น กลองปู่จา, กลองเปิ้งมง, กลองต๊กเส้ง และกลองอืด เป็นต้น ก่อนการตีจะต้องถ่วงหน้ากลองด้วยวัสดุเหนียวๆ ที่เรียกว่า จ่ากลอง ทำมาจากข้าวเหนียวนึ่งบดผสมกับขี้เถ้า แล้วแต่สูตรของแต่ละคน หรือใช้กล้วยตากอบน้ำผึ้งบด ติดไว้บริเวณหน้ากลองเพื่อเพิ่มความดังกังวาน

เผยแพร่เมื่อ 01-02-2022 ผู้เช้าชม 2,443

ซิ่นน้ำท่วม

ซิ่นน้ำท่วม

ผ้าซิ่นนับเป็นความภาคภูมิใจอย่างหนึ่งของหญิงไทย ในสมัยโบราณการทอผ้าเป็นงานในบ้าน ลูกผู้หญิงมีหน้าที่ทอผ้า แม่จะสั่งสอนให้ลูกสาวฝึกทอผ้าจนชำนาญ แล้วทอผ้าผืนงามสำหรับใช้ในโอกาสพิเศษ เช่น งานแต่งงาน งานบวช หรืองานบุญประเพณีต่าง ๆ การนุ่งผ้าซิ่นของผู้หญิงจึงเป็นเหมือนการแสดงฝีมือของตนให้ปรากฏ ผ้าซิ่นที่ทอได้สวยงาม มีฝีมือดี จะเป็นที่กล่าวขวัญและชื่นชมอย่างกว้างขวาง และยังเป็นการบ่งบอกฐานะทางสังคม เช่น ผ้าทอที่มีลวดลายสวยงาม มีสีสันและพิสดารนั้นมักใช้เฉพาะเจ้านายในราชสำนัก หรือ คนที่มีความร่ำรวย ส่วนผ้าซิ่นลายธรรมดาเรียบงายสีสันน้อยมักใช้ในกลุ่มชาวบ้านโดยทั่วไป

 

เผยแพร่เมื่อ 26-01-2022 ผู้เช้าชม 799

ฮ้านน้ำ

ฮ้านน้ำ

ฮ้านน้ำหม้อ คือ ที่สำหรับวางหม้อน้ำดื่ม พร้อมที่แขวนกระบวย ตัวฮ้านมีลักษณะเป็นชั้นวางมีหลังคาทรงจั่วด้านบน เพื่อป้องกันไม่ให้มีแสงแดดส่องลงมาที่หม้อน้ำ หม้อน้ำเป็นหม้อดินเผาสีอิฐแดงระบายความร้อนได้ดีส่วนใหญ่จะมีตะไคร่สีเขียวเกาะบริเวณรอบ ๆ ตัวหม้อ ทำให้น้ำในหม้อมีความเย็นตลอดเวลา ด้านข้างมีที่แขวนกระบวยน้ำที่ทำมาจากกะลามะพร้าว ฮ้านน้ำหม้อส่วนใหญ่จะตั้งอยู่หน้าบ้าน เพื่อไว้บริการผู้คนที่สัญจรผ่านไปมาเมื่อหิวน้ำก็จะแวะพักดื่มน้ำตามฮ้านน้ำหม้อที่ชาวบ้านแถวนั้นได้จัดตั้งไว้ และด้วยความเชื่อของชาวล้านนาที่ว่าการทำบุญด้วยน้ำเป็นอานิสงค์ที่ยิ่งใหญ่ ทำให้ชีวิตคล่อง ทรัพย์สินเงินทอง ความสุขต่าง ๆ

เผยแพร่เมื่อ 01-02-2022 ผู้เช้าชม 2,523

เดือนสี่ จี่ข้าวหลาม

เดือนสี่ จี่ข้าวหลาม

ในช่วงวันเดือน 4 เหนือ ขึ้น 15 ค่ำ ซึ่งเป็นช่วงฤดูหนาวหลังจากที่มีการเก็บเกี่ยวพืชผลทางการเกษตรเรียบร้อยแล้วชาวบ้านมักจะนำข้าวใหม่ที่ได้จากการเก็บเกี่ยวมาทำบุญที่วัด เรียกประเพณี “ตานข้าวใหม่ หิงไฟพระเจ้า” ในเมืองตากมีการสืบทอดประเพณีการถวายข้าวใหม่เช่นเดียวกับวัฒนธรรมภาคเหนือเช่นกัน แต่มีข้อแตกต่างกัน คือชาวเมืองตากนิยมนำข้าวเหนียวใหม่มาเผาเป็นข้าวหลาม เพื่อใช้ในการถวายพระก่อนงานเทศกาล 1 วัน อดีตชาวบ้านเกือบทุกหลังจะนิยมเผาข้าวหลามเพื่อนำไปถวายพระ เป็นกิจกรรมสร้างความรักสามัคคีในครอบครัว

เผยแพร่เมื่อ 26-01-2022 ผู้เช้าชม 1,504