สันพร้าหอม
เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้ชม 2,254
[16.4258401, 99.2157273, สันพร้าหอม]
สันพร้าหอม ชื่อวิทยาศาสตร์ Eupatorium fortunei Turcz. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Eupatorium stoechadosmum Hance) จัดอยู่ในวงศ์ทานตะวัน (ASTERACEAE หรือ COMPOSITAE)
สมุนไพรสันพร้าหอม มีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ ว่า หญ้าเสือมอบ (ราชบุรี, สุพรรณบุรี, กาญจนบุรี), เกี๋ยงพาใย (ภาคเหนือ), ซะเป มอกพา หญ้าลั่งพั้ง (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน), พอกี่ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), หลานเฉ่า เพ่ยหลาน (จีนกลาง), ผักเพี้ยฟาน, ส่วนกรุงเทพฯ เรียก "สันพร้าหอม" เป็นต้น
ลักษณะของสันพร้าหอม
- ต้นสันพร้าหอม จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกเนื้ออ่อนชนิดหนึ่ง มีอายุได้หลายปี ลำต้นตั้งตรง มีความสูงของต้นได้ประมาณ 70-120 เวนติเมตร โคนต้นเรียบเป็นมัน เกลี้ยง ตามลำต้นเป็นร่อง แต่จะค่อนข้างเกลี้ยงเล็กน้อย รากแก้วใต้ดินแตกแขนงมาก ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ดและการปักชำกิ่ง จัดเป็นพรรณไม้กลางแจ้งที่ขึ้นได้ในดินทุกชนิด ชอบดินร่วนและชุ่มชื้น ความชื้นปานกลาง มีแสงแดดส่องปานกลาง พบขึ้นบริเวณตามหุบเขาหรือลำธาร และพบปลูกมากทางภาคเหนือและภาคอีสาน
- ใบสันพร้าหอม ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงกันเป็นคู่ ๆ ไปตามข้อของลำต้น ลักษณะของใบเป็นรูปมนรีหรือรูปหอก ปลายใบแหลม โคนใบสอบแคบ ส่วนขอบใบจักเป็นฟันเลื่อย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1-2 เซนติเมตร และยาวประมาณ 5-9 เซนติเมตร ผิวใบเกลี้ยงเป็นสีเขียว หลังใบมีขนปกคลุม เส้นใบคล้ายรูปขนนก เมื่อขยี้ดมจะมีกลิ่นหอม ใบบริเวณโคนต้นจะมีขนาดใหญ่กว่าและแห้งง่าย
- ดอกสันพร้าหอม ออกดอกเป็นช่อตรงส่วนยอดของลำต้น คล้ายซี่ร่ม ช่อดอกยาวได้ประมาณ 6-8 มิลลิเมตร ก้านช่อดอกมีขนขึ้นปกคลุมอย่างหนาแน่น ก้านหนึ่งมีประมาณ 10 ช่อ เรียงติดกัน 2-3 แถว แถวด้านนอกมีขนาดสั้นกว่าแถวด้านใน ในช่อหนึ่ง ๆ จะมีดอกประมาณ 4-6 ดอก ลักษณะของดอกเป็นรูปทรงกระบอก ดอกมีสีแดงหรือสีขาว ดอกมีขนาดเล็ก ดอกยาวประมาณ 5-6 มิลลิเมตร เมื่อบานเต็มที่จะมีขนาดประมาณ 7-8 มิลลิเมตร ปลายแยกออกเป็นแฉก 5 แฉก มีกลีบเลี้ยงสีม่วงแดง ดอกมีเกสรเพศผู้ 5 อัน อยู่ใจกลางดอก
- ผลสันพร้าหอม ลักษณะของผลเป็นรูปขอบขนานแคบหรือรูปทรงกระบอก ผลเป็นสีดำ มีสัน 5 สัน ผลยาวประมาณ 3 มิลลิเมตร เมื่อสุกผลจะแห้งเป็นสีน้ำตาลอมดำ
สรรพคุณของสันพร้าหอม
- ทั้งต้นมีรสเผ็ด มีกลิ่นหอม เป็นยาสุขุม ออกฤทธิ์ต่อม้ามและกระเพาะอาหาร ใช้เป็นยาขับน้ำชื้นในร่างกาย (ทั้งต้น)
- ทั้งต้นมีสรรพคุณเป็นยาบำรุง (ทั้งต้น)ทั้งต้นนำมาบดให้เป็นผง ทำเป็นชาสำหรับชงดื่มเป็นยาบำรุงร่างกาย บำรุงกำลัง ทำให้เลือดไหลเวียนดี และช่วยแก้อาการวิงเวียน (ทั้งต้น)
- ช่วยทำให้เจริญอาหาร (ทั้งต้น)ใช้เป็นยาแก้พิษเบื่ออาหาร (ใบ)
- ใบมีสรรพคุณเป็นยาบำรุงหัวใจ (ใบ)
- ช่วยบำรุงโลหิต (ทั้งต้น)
- ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ (ทั้งต้น)
- ใช้เป็นยาแก้ไข้ แก้ไข้ตัวร้อนจัด ไข้แดด (ทั้งต้น) ส่วนตำรับยาแก้ไข้ตัวร้อน แก้ไข้แดด ระบุให้ใช้ใบสันพร้าหอม 5 กรัม, ใบสะระแหน่ 5 กรัม, ใบบัวหลวง 5 กรัม, พิมเสนต้น 5 กรัม, ปี่แปะเอี๊ยะ 30 กรัม, โหล่วกิง 30 กรัม และเปลือกฟัก 60 กรัม นำมารวมกันต้มกับน้ำรับประทาน (ใบ)
- ตำรับยาแก้หวัด ระบุให้ใช้ทั้งต้นประมาณ 1 กำมือ ใส่ในน้ำ 1 ลิตร ต้มให้เดือด พอเดือดหรี่ไฟลง ต้มต่ออีกประมาณ 15 นาที ใช้ดื่มครั้งละครึ่งแก้วประมาณ 125 มิลลิลิตร วันละ 3 เวลา หรือนำมาบดเป็นผงทำเป็นชาชงดื่ม (ทั้งต้น)
- ใช้บดกับน้ำ เติมน้ำผึ้งเล็กน้อยเป็นยาแก้ไอ บรรเทาอาการหอบหืดในเด็กและผู้ใหญ่ (ทั้งต้น)
- ช่วยขับเหงื่อ (ทั้งต้น)
- ช่วยแก้อาการร้อนใน กระหายน้ำ ปากแห้ง น้ำลายเหนียว (ทั้งต้น)
- ช่วยแก้ลมหายใจมีกลิ่นเหม็น (ทั้งต้น)
- ใช้ขยี้ดมแก้ลมชัก แก้ลมมะเฮ็ดคุด (ปวดไม่หาย) ซึ่งจะช่วยทำให้สดชื่นรู้สึกปลอดโปร่งและช่วยกระจายเลือดลมไปเลี้ยงสมองได้ดี การใช้สมุนไพรชนิดนี้จะช่วยเพิ่มเลือดไปเลี้ยงสมอง ทำให้อาการวิงเวียนและอาการปวดศีรษะลดลงด้วย (ทั้งต้น)
- ช่วยแก้ลมขึ้นจุกเสียด แก้ลมขึ้นเบื้องสูง แน่นหน้าอก (ทั้งต้น)
- ใช้เป็นยาแก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ (ทั้งต้น)
- ใบใช้รับประทานเป็นผักสดแกล้มกับลาบ นอกจากใบจะอุดมไปด้วยวิตามินซีแล้ว หมอเมืองยังเชื่อว่าสันพร้าหอมเป็นยาปรับธาตุ เป็นทั้งยาช่วยระบายและแก้อาการท้องร่วงในเวลาเดียวกัน โดยส่วนใหญ่จะนิยมนำมากินกับน้ำพริก ส่วนชาวเขาทางภาคเหนือจะใช้ยอดอ่อนกินเป็นผักสดร่วมกับน้ำพริกเช่นกัน (ใบ)
- ช่วยแก้อาการปวดท้อง ปวดกระเพาะ กระเพาะลำไส้อักเสบเฉียบพลัน (ทั้งต้น)
- ใช้เป็นยาช่วยขับปัสสาวะ (ทั้งต้น)
- ใช้เป็นยาแก้สตรีประจำเดือนมาไม่ปกติ ทำให้ประจำเดือนมาตามปกติ หรือใช้จับเลือดเสียหลังการคลอดบุตรของสตรี ให้ใช้ราก 1 กำมือ ใส่ในน้ำ 1 ลิตร ต้มให้เดือด พอเดือดหรี่ไฟลงต้มต่อไปอีก 15 นาที ใช้ดื่มครั้งละครึ่งแก้วประมาณ 125 มิลลิลิตร วันละ 3 เวลา (ราก[1],[5], ทั้งต้น)
- ทั้งต้นใช้เป็นยากระตุ้นความกำหนัด (ทั้งต้น)
- รากใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้พิษ (ราก)
- หมอยาอีสานจะนิยมนำมาใช้กับแม่หลังคลอดในการทำเป็นยาอบต้มกินเพื่อบำรุงเลือด บำรุงกำลัง ขับน้ำออกจากร่างกาย ลดอาการบวมน้ำ ช่วยทำให้เหงื่อออก และใช้เป็นยาขับประจำเดือนในหญิงที่ประจำเดือนผิดปกติ (ทั้งต้น)
ขนาดและวิธีใช้ : การใช้ตาม [2] ยาสดให้ใช้ครั้งละ 10-30 กรัม ส่วนยาแห้งให้ใช้ครั้งละ 5-10 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทาน หรือจะใช้ร่วมกับตัวยาอื่นๆ ในตำรับยาตามต้องการ
ข้อควรระวัง : ผู้ที่มีอาการกระเพาะหรือลำไส้หย่อนไม่มีกำลัง ห้ามรับประทานสมุนไพรชนิดนี้
ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของสันพร้าหอม
- ทั้งต้นพบน้ำมันระเหยประมาณ 1.5-2% ในน้ำมันพบสารหลายชนิด เช่น P-cymene, Neryl acetate, 5-Methylthymol ether, Nerylacetate และยังพบสาร Coumarin, O-Coumaric acid, Thymohydroquinone ส่วนใบพบสาร Euparin, Eupatolin gxH เป็นต้น
- น้ำมันระเหยมีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดไข้หวัดใหญ่ได้ เช่น สาร Neryl acetate, 5-Methyl
- จากการทดสอบทางพิษวิทยา เมื่อนำสันพร้าหอมทั้งต้นมาให้แพะหรือวัวกินติดต่อกันเป็นเวลานาน พบว่าจะเกิดการกระทบที่ตับและไต ทำให้แพะหรือวัวเป็นเบาหวาน หรือถ้าใช้สารที่สกัดได้จากทั้งต้นด้วยแอลกอฮอล์ มาฉีดเข้าหนูทดลอง จะทำให้หนูทดลองมีการหายใจช้าลง การเต้นของหัวใจช้าลง อุณหภูมิในร่างกายของหนูลดลง น้ำตาลในเลือดสูงขึ้น และมีอาการแสดงคล้ายกับเป็นโรคเบาหวาน
ประโยชน์ของสันพร้าหอม
- ใช้เป็นพืชอาหารและสมุนไพร โดยใบใช้กินกับลาบ น้ำพริก หรืออาหารอื่นๆ
- ใช้เป็นส่วนผสมของแป้งหอม ยาสระผมหอมบำรุงผม ธูปหรือเครื่องหอมอื่นๆ
- คนปกาเกอะยอรู้ดีว่าธรรมชาติของสันพร้าหอมจะยิ่งหอมมากขึ้นเมื่อแห้ง จึงนิยมนำมาห่อด้วยใบตองที่ทาด้วยน้ำมันมะพร้าวไว้แล้วนำมาย่างไฟจะทำให้กลิ่นหอมมาก ซึ่งคนปกาเกอะยอจะนิยมนำมาทัดหูหรือนำมาห้อยกับสายสร้อยคล้องคอ นอกจากนี้ยังนำมาปลูกไว้ในบริเวณบ้าน เพื่อดึงดูดผีบ้านผีเรือนให้คอยปกป้องรักษาบ้านที่อยู่อาศัยและผู้อาศัย หรือนำมาใช้ห้อยคอเพื่อความเป็นสิริมงคลป้องกันสิ่งชั่วร้ายต่างๆ
- ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไป พ่อค้านิยมนำมาปลูกไว้ในกระถางเพื่อขายเป็นการค้า
คำสำคัญ : สันพร้าหอม
ที่มา : https://medthai.com/
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). สันพร้าหอม. สืบค้น 27 มกราคม 2566, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1788&code_db=610010&code_type=01
Google search
ต้นไพล เป็นไม้ล้มลุก สูง 0.7-1.5 เมตร มีลำต้นใต้ดินเป็นเหง้า เปลือกสีน้ำตาลแกมเหลือง เหง้าสดมีเนื้อในสีเหลืองถึงเหลืองแกมเขียว ฉ่ำน้ำ มีกลิ่นหอมเฉพาะ แทงหน่อหรือลำต้นเทียมขึ้นเป็นกอ ประกอบด้วยกาบหรือโคนใบหุ้มซ้อนกันเป็นลำกลม สีเขียวเข้ม โคนกาบสีแดง
เผยแพร่เมื่อ 17-02-2017 ผู้เช้าชม 2,347
มีชื่อพฤกษศาสตร์ว่า Litsea glutinosa C.B. Robinson ในวงศ์ Lauraceae บางถิ่นเรียก ดอกจุ๋ม(ลำปาง) ตังสีไพร(พิษณุโลก) ทังบวน(ปัตตานี) มะเย้อ ยุบเหยา(พายัพ) มัน(ตรัง) หมี(อุดรธานี) หมูทะลวง(จันทบุรี) หมูเหม็น(แพร่) อีเหม็น(กาญจนบุรี ราชบุรี) กำปรนบาย(ชอง-จันทบุรี) มือเบาะ(มาเลย์-ยะลา)
เผยแพร่เมื่อ 06-02-2017 ผู้เช้าชม 2,148
กุ่มน้ำนี้จัดเป็นพืชยืนต้นขนาดกลาง โดยมีลำต้นสูงประมาณ 5-20 เมตร เปลือกนั้นจะค่อนข้างเรียบสีเทา ส่วนใบเป็นใบประกอบแบบนิ้วมือค่อนข้างหนาสีเขียว แต่ด้านล่างจะเป็นสีเขียวอ่อนกว่าด้านบน มีใบย่อยรูปหอกอยู่ 3 ใบ หูใบเล็ก ร่วงหล่นจากต้นได้ง่าย และมีเส้นแขนงของใบอยู่ข้างละประมาณ 9-22 เส้น ซึ่งมองเห็นได้อย่างชัดเจน ส่วนดอกนั้นจะออกเป็นช่อถี่ตามยอด มีหลายดอกในแต่ละช่อ กลีบเลี้ยงรูปทรงไข่ ปลายแหลม โดยกลีบดอกกุ่มน้ำนี้จะมีสีขาวแล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลือง จะออกดอกในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนมิถุนายน และผลกลุ่มน้ำนี้จะเป็นรูปทรงกลมรี เปลือกค่อนข้างหนา ผลดิบสีนวลประมาณเหลืองอมเทา เมื่อผลสุกจะเป็นสีเทา ด้านในมีเมล็ดอยู่มากเป็นรูปเกือกม้า สีน้ำตาลเข้ม
เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 1,309
เอื้องหมายนา มีถิ่นกำเนิดในอินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไปจนถึงเกาะนิวกินี จัดเป็นพืชล้มลุก มีเหง้าอยู่ใต้ดิน มักขึ้นเป็นกอๆ มีความสูงของต้นประมาณ 1-3 เมตร ไม่แตกกิ่งก้านสาขา ลำต้นกลมฉ่ำน้ำและเป็นสีแดง วัดเส้นผ่านศูนย์กลางของต้นได้ประมาณ 1.5 เซนติเมตร รากเป็นหัวใหญ่ยาว ที่โคนแข็งเหมือนไม้ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและการแตกหน่อ เจริญเติบโตได้ดีร่วนระบายน้ำดี ต้องการน้ำค่อนข้างมาก ควรปลูกในที่มีแสงแดดร่มรำไร มักพบขึ้นตามบริเวณที่มีความชุ่มชื้น ใต้ต้นไม้ใหญ่ ตามน้ำตก ชายน้ำ ริมทางน้ำ ริมหนองบึง ตามบริเวณเชิงเขา และป่าดิบชื้นทั่วทุกภาคของประเทศ
เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 13,727
ฟักข้าว จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก เป็นไม้เถาเลื้อย อายุยิ่งมากเถายิ่งใหญ่ มีมือเกาะคล้ายกับตำลึง ชอบแสงแดด เลื้อยได้ทั้งบนพื้น บนต้นไม้ บนรั้ว บนหลังคา (ขอให้มีที่เกาะ) ใบเป็นใบเดี่ยว ใบเป็นรูปหัวใจหรือรูปไข่ คล้ายกับใบโพธิ์ ความกว้างและความยาวของใบมีขนาดเท่ากัน ขอบใบหยักเว้าลึกเป็นแฉก ดอกจะออกตรงบริเวณข้อต่อระหว่างใบหรือตามซอกใบ โดยจะออกดอกข้อละหนึ่งดอก ลักษณะของดอกฟักข้าวจะคล้ายกับดอกตำลึง กลีบดอกมีสีขาวอมเหลือง หรือขาวแกมเหลือง
เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 3,247
ต้นตับเต่านา จัดเป็นพืชลอยน้ำ มีอายุหลายฤดู ลำต้นมีลักษณะเป็นไหลทอดเลื้อย หากน้ำตื้นจะหยั่งรากลงยึดดินใต้น้ำ มักขึ้นในน้ำนิ่งทั่วไป เช่น ตามนาข้าวหรือบริเวณหนองน้ำ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการแตกไหลและอาศัยเมล็ด โดยต้นตับเต่านาเป็นพืชที่มีเขตการกระจายพันธุ์อยู่ในทวีปยุโรปและเอเชีย สามารถพบได้ตามแหล่งน้ำตื้น ๆ ที่ระดับใกล้น้ำทะเลจนถึงระดับ 1,200 เมตร
เผยแพร่เมื่อ 01-06-2020 ผู้เช้าชม 2,305
ต้นตองกง จัดเป็นไม้ล้มลุกจำพวกหญ้า มีอายุหลายปี ลำต้นกลม มีลักษณะคล้ายต้นไผ่ ลำต้นตั้งมีกอที่แข็งแรงมาก มีความสูงของต้นประมาณ 3-4 เมตร ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและส่วนของลำต้นหรือเหง้าที่อยู่ใต้ดิน มีเขตการกระจายพันธุ์กว้าง โดยสามารถพบได้ทั่วไปในประเทศอินเดีย จีน หม่า รวมไปถึงประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำหรับในประเทศไทยสามารถพบได้ทั่วทุกภาค โดยขึ้นเป็นวัชพืชตามที่โล่งสองข้างทาง ตามไหล่เขา และตามชายป่า ที่ระดับความสูงจนถึงประมาณ 1,800 เมตร
เผยแพร่เมื่อ 01-06-2020 ผู้เช้าชม 2,294
ลักษณะทั่วไป ต้นเป็นไม้เถา ขนาดเล็ก ลำต้นกลม เกลี้ยง หรือตามกิ่งก้านมีขนแข็งสีขาว หรือสีน้ำตาลปนเหลืองกระจายทั่ว ใบรูปกลม กว้าง ยาว โคนใบรูปหัวใจ ขอบใบจักเป็นแฉกรูปพัด 5-7 แฉก เป็นรูปสามเหลี่ยมกว้าง หรือรูปหอกปลายแหลมหรือมน มีติ่งสั้น ขอบแฉกจักเป็นซี่ฟันหยาบ ๆ หรือเว้าตื้น ๆ หรือค่อนข้างเรียบ มีขนกระจายหนาแน่นทั้ง 2 ด้าน ก้านใบยาว 2-15 ซม. มีขนกระจายหรือเกลี้ยง ดอกออกเป็นช่อตามง่ามใบมี 1-3 หรือหลายดอก ก้านช่อดอกยาว 1-15 ซม. หรือยาวกว่านี้ ก้านดอกยาว 8-20 มม. เมื่อเป็นผลจะใหญ่ขึ้นเป็นรูปกระบองใบประดับแหลมเรียว ยาว 1.5-2 มม. กลีบรองดอกรูปขอบขนาน หรือแหลม มีติ่งสั้น กลีบที่อยู่ด้านนอกมีขนแข็งหรือเกลี้ยงกลีบอยู่ด้านใน
เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 2,360
ต้นเครือพูเงิน จัดเป็นพรรณไม้เถาวัลย์เนื้อแข็ง ไม่มีมือเกาะ มีความยาวได้ประมาณ 10 เมตร ส่วนของลำต้นยังอ่อนอยู่จะมีขนยาวและราบขึ้นหนาแน่น โดยขนจะเป็นสีขาวหรือสีน้ำตาลปนเหลืองอ่อนๆ หรือบางทีจะมีคราบสีขาวๆ ติดอยู่ด้วย ส่วนเปลือกลำต้นจะเป็นสีเทาแกมขาว พรรณไม้ชนิดนี้ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด มักพบขึ้นตามป่ารุ่น ป่าละเมาะ ป่าเบญจพรรณ และตามสองข้างทางทั่วไป
เผยแพร่เมื่อ 25-05-2020 ผู้เช้าชม 1,103
มะเขือพวง เป็นพืชที่ขึ้นได้ทั่วไปในเขตร้อน โดยมีต้นกำเนิดในแอนทิลลีส ตั้งแต่รัฐฟลอริดา หมู่เกาะเวสต์ อินดีส์ เม็กซิโก จนถึงอเมริกากลางและทวีปอเมริกาใต้แถบประเทศบราซิล เป็นพืชที่ทนต่อโรคพืชต่างๆ ได้เป็นอย่างดี การเพาะปลูกจึงไม่จำเป็นต้องใช้ยาฆ่าแมลงแต่อย่างใด จึงค่อนข้างมั่นใจได้ว่าการรับประทานมะเขือพวงจะได้ประโยชน์และปลอดสารพิษอย่างแน่นอน
เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 1,590