บานไม่รู้โรยป่า

บานไม่รู้โรยป่า

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้ชม 10,389

[16.4258401, 99.2157273, บานไม่รู้โรยป่า]

บานไม่รู้โรยป่า ชื่อสามัญ Gomphrena weed, Wild globe everlasting
บานไม่รู้โรยป่า ชื่อวิทยาศาสตร์ Gomphrena celosioides Mart. จัดอยู่ในวงศ์บานไม่รู้โรย (AMARANTHACEAE)

ลักษณะของบานไม่รู้โรยป่า
         ต้นบานไม่รู้โรยป่า จัดเป็นไม้ล้มลุก แผ่กิ่งที่โคนต้น แตกกิ่งก้านสาขานอนราบไปกับพื้นดิน ส่วนปลายยอดและช่อดอกชูขึ้น มีความสูงได้ประมาณ 40 เซนติเมตร เปลือกลำต้นเป็นสีเขียวแกมขาว ไม่มียาง แต่มีขนยาวคล้ายสำลีขึ้นปกคลุมอย่างเห็นได้ชัด ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด มีถิ่นกำเนิดในอเมริกาใต้ แพร่กระจายพันธุ์มาสู่เขตร้อนที่อบอุ่นกว่า ในประเทศไทยมักพบขึ้นเป็นวัชพืชในพื้นที่เปิดโล่งมีแดดส่องถึง ตามที่รกร้างริมทาง ตามที่สาธารณะทั่วไป เช่นที่จังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ขอนแก่น พิษณุโลก นครราชสีมา สระบุรี กรุงเทพฯ เพชรบุรี กาญจนบุรี จันทบุรี และภาคใต้ทุกจังหวัด
         ใบบานไม่รู้โรยป่า ใบเป็นใบเดี่ยว การเรียงตัวของใบบนกิ่งเป็นแบบตรงข้ามสลับตั้งฉาก ลักษณะของใบเป็นรูปไข่กลับหรือรูปรี ปลายใบแหลม โคนใบเป็นรูปลิ่ม ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 0.5-1 เซนติเมตร และยาวประมาณ 2-3 เซนติเมตร แผ่นใบเป็นสีเขียว ผิวใบมีขนทั้งสองด้าน ผิวด้านบนมีขนขึ้นประปราย ส่วนผิวด้านล่างมีขนอุย
          ดอกบานไม่รู้โรยป่า ออกดอกเป็นช่อกระจุกแน่น แบบช่อเชิงลด โดยจะออกที่ปลายยอด ดอกย่อยมีจำนวนมาก กลีบเลี้ยงที่โคนเชื่อมติดกัน ปลายแยกออกเป็น 5 แฉก สีเขียว ส่วนกลีบดอกที่โคนเชื่อมติดกัน ปลายแยกออกเป็น 2 แฉก สีขาว เป็นหลอด ดอกมีเกสรเพศผู้สีเหลือง 5 อัน (เมื่อแก่เป็นสีน้ำตาล) ก้านชูเกสรสั้น ลักษณะของก้านชูอับเรณูเชื่อมติดกันเป็นหลอดเยื่อบาง ๆ ส่วนเกสรเพศเมียเป็นสีเขียวมี 1 อัน รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ ลักษณะเป็นรูปไข่ ไม่มีกลิ่น
          ผลบานไม่รู้โรยป่า ผลเป็นผลเดี่ยว เมื่อผลแห้งแก่แล้วจะไม่แตก มีเปลือกแข็งและมีเมล็ดเดียว ผลอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อแก่แล้วจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลถึงสีดำ ลักษณะของผลเป็นรูปไข่แกมขอบขนาน ภายในมีเมล็ด 1 เมล็ด เมล็ดเป็นสีน้ำตาลมีลักษณะแบน ขนาดยาวประมาณ 1.5 มิลลิเมตร

สรรพคุณของบานไม่รู้โรยป่า
1. ดอกนำมาต้มกับน้ำกินเป็นยาแก้อาการปวดศีรษะ (ดอก)
2. ดอกนำมาต้มกับน้ำกินแก้ตาเจ็บ (ดอก)
3. ใช้เป็นยาแก้ไอ ไอกรน ระงับหอบหืด ด้วยการใช้ดอกนำมาต้มกับน้ำกิน (ดอก)
4. ทั้งต้นใช้ผสมกับเถาเขี้ยวงู ลูกใต้ใบ สะเดาดิน และไมยราบเครือ นำมาต้มกับน้ำกินเป็นยาแก้เบาหวาน (ทั้งต้น)
5. ใช้แก้เด็กเป็นโรคลมชัก ด้วยการใช้ดอก 10 ดอก นำมาตุ๋นกับตั๊กแตนแห้ง 7 ตัว ใช้รับประทานเป็นยา (ดอก)
6. ดอกนำมาต้มกับน้ำกินเป็นยาแก้บิด (ดอก)
7. ต้นใช้เป็นยาขับปัสสาวะ ขับนิ่ว (ต้น)[1]บ้างว่าใช้ดอกนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาขับปัสสาวะ (ดอก)
8. รากมีสรรพคุณเป็นยาแก้โรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ และช่วยขับนิ่ว (ราก)
9. ต้นมีสรรพคุณเป็นยาแก้กามโรค หนองใน (ต้น)
10. ใช้เป็นยาแก้ระดูขาวของสตรี (ต้น)
11. ลำต้นและดอกนำมาตำผสมรวมกันใช้เป็นยาพอกรักษาแผล (ลำต้นและดอก)
12. ช่วยรักษาแผลผื่นคัน (ดอก)

การป้องกันและกำจัด
1. รดน้ำให้ดินนิ่มแล้วทำการถอนให้โคนต้นหลุดออกมาจากดิน แต่หากมีจำนวนมากจนไม่สามารถถอนได้หมดในคราวเดียว ก็ให้ตัดต้นออกก่อนที่ดอกจะแก่ จะสามารถควบคุมการแพร่กระจายได้ในระดับหนึ่ง
2. ส่วนอีกวิธีคือการใช้สารเคมีกำจัดประเภทดูดซึม เช่น ไกลโฟเซต (48% เอสแอล) ในอัตราที่ใช้ประมาณ 70 - 80 ซี.ซี. นำมาผสมกับน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่ว และเพื่อให้ได้ผลในการกำจัดควรใช้ร่วมกับสารจับใบเพื่อการเกาะติดของสารเคมีกับใบพืช

ประโยชน์ของบานไม่รู้โรยป่า
1. มีความเชื่อว่า หากนำบานไม่รู้โรยป่ามาใช้ประดับในงานพิธีมงคลต่าง ๆ จะช่วยทำให้ชีวิตเจริญงอกงามแบบไม่โรยรา

คำสำคัญ : บานไม่รู้โรยป่า

ที่มา : https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). บานไม่รู้โรยป่า. สืบค้น 3 ธันวาคม 2566, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1652&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1652&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

ไพล

ไพล

ต้นไพล เป็นไม้ล้มลุก สูง 0.7-1.5 เมตร มีลำต้นใต้ดินเป็นเหง้า เปลือกสีน้ำตาลแกมเหลือง เหง้าสดมีเนื้อในสีเหลืองถึงเหลืองแกมเขียว ฉ่ำน้ำ มีกลิ่นหอมเฉพาะ แทงหน่อหรือลำต้นเทียมขึ้นเป็นกอ ประกอบด้วยกาบหรือโคนใบหุ้มซ้อนกันเป็นลำกลม สีเขียวเข้ม โคนกาบสีแดง

เผยแพร่เมื่อ 17-02-2017 ผู้เช้าชม 3,029

ผักเสี้ยนผี

ผักเสี้ยนผี

ผักเสี้ยนผี จัดเป็นไม้ล้มลุก มีความสูงได้ประมาณ 1 เมตร ที่ส่วนต่าง ๆ ของต้นจะมีต่อมขนเหนียวสีเหลืองปกคลุมอยู่หนาแน่น มีกลิ่นเหม็นเขียว มีเขตกระจายพันธุ์กว้างขวาง พบได้ทั่วไปในทวีปเอเชีย แอฟริกา และออสเตรเลีย สำหรับในประเทศไทยมักจะพบขึ้นได้ตามข้างถนนหรือที่รกร้าง ตามริมน้ำลำธาร บางครั้งก็อาจพบได้บนเขาหินปูนที่แห้งแล้งหรือตามชายป่าทั่วๆ ไป

เผยแพร่เมื่อ 13-07-2020 ผู้เช้าชม 13,823

รากสามสิบ

รากสามสิบ

สมุนไพรรากสามสิบ มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า สามร้อยราก (กาญจนบุรี), ผักหนาม (นครราชสีมา), ผักชีช้าง (หนองคาย), จ๋วงเครือ (ภาคเหนือ), เตอสีเบาะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), พอควายเมะ (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่), ชีช้าง, ผักชีช้าง, จั่นดิน, ม้าสามต๋อน, สามสิบ, ว่านรากสามสิบ, ว่านสามสิบ, ว่านสามร้อยราก, สามร้อยผัว, สาวร้อยผัว, ศตาวรี เป็นต้น

เผยแพร่เมื่อ 17-02-2017 ผู้เช้าชม 2,100

มะกล่ำตาช้าง

มะกล่ำตาช้าง

มะกล่ำตาช้าง, มะกล่ำต้น, มะแค้ก, หมากแค้ก, มะแดง, มะหัวแดง หรือ มะโหกแดง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Adenanthera pavonina) เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ Leguminasae วงศ์ย่อย Mimosoideae โคนต้นมีพูพอน ผิวเรียบ สีเทาอมน้ำตาล ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ใบย่อยรูปไข่ ดอกช่อแบบแตกแขนง เกสรตัวผู้สีเหลืองจำนวนมาก เห็นเป็นพู่ ผลเดี่ยว เป็นฝักแบน ยาวขดเป็นวง เมื่ออ่อนสีเขียวอ่อน สุกแล้วสีน้ำตาล เป็นผลแห้ง แตกตามตะเข็บ เมล็ดแบนสีแดง

เผยแพร่เมื่อ 23-02-2017 ผู้เช้าชม 2,843

พุดจีบ

พุดจีบ

พุดจีบ มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย ในประเทศไทยพบขึ้นได้ตามป่าดิบทางภาคเหนือ โดยจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กหรือเป็นไม้พุ่มขนาดกลาง มีความสูงของต้นประมาณ 1-2 เมตร บ้างว่าสูงได้ประมาณ 3-5 เมตร ลำต้นแตกกิ่งก้านเป็นพุ่มเตี้ย แต่มีการทิ้งใบในส่วนของต้นด้านล่าง จึงทำให้พุ่มดูโปร่ง เปลือกต้นเป็นสีน้ำตาลอ่อน แตกเป็นร่องเล็กๆ และทุกส่วนของต้นจะมียางสีขาว ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการปักชำ การตอน และวิธีการเพาะเมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนปนทราย ชอบความชื้นปานกลาง และแสงแดดแบบเต็มวันถึงปานกลาง

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 7,329

มะกอก

มะกอก

ต้นมะกอก มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงประเทศไทยด้วย โดยจัดเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ มีความสูงของต้นประมาณ 15-25 เมตร ลำต้นตั้งตรงและมีลักษณะกลม เรือนยอดเป็นพุ่มกลม แตกกิ่งก้านโปร่ง กิ่งมักห้อยลง เปลือกต้นเป็นสีเทา เปลือกหนาเรียบ มีปุ่มปมบ้างเล็กน้อย และมีรูอากาศตามลำต้น กิ่งอ่อนมีรอยแผลการหลุดร่วงของใบ ตามเปลือก ใบ และผลมีกลิ่นหอม มักพบขึ้นตามป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าแดง และป่าดิบแล้งทุกภาคของประเทศไทย

เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้เช้าชม 17,004

งาดำ

งาดำ

งาดำ (Black Sesame Seeds) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้น งาดำอุดมไปด้วยสารอาหารที่มีคุณประโยชน์สูงมากๆ อย่าง เซซามิน (Sesamin) ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระรวมทั้งวิตามินมากมายหลากหลายชนิดเลยทีเดียว ที่ช่วยเสริมการทำงานของระบบต่างๆ ที่สำคัญในร่างกายของเรา รวมทั้งช่วยบำรุงเซลล์ผิวพรรณให้ชุ่มชื้น ช่วยให้ผมดกดำ ตลอดจนทำให้ระบบหัวใจแข็งแรง

เผยแพร่เมื่อ 30-04-2020 ผู้เช้าชม 4,870

ปีบ

ปีบ

ปีบ (Cork Tree, Indian Cork) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้น ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคเหนือเรียก กาดสะลอง, กาซะลอง, ก้องกลางดง เป็นต้น โดยเป็นพรรณไม้ที่มีดอกและใบสวย พร้อมกลิ่นที่หอมชื่นใจ มักนิยมนำมาปลูกเป็นไม้ประดับตามบ้านเรือนหรือตามข้างทางเพื่อให้ร่มเงา และดอกปีบนั้นยังถือเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดของปราจีนบุรีอีกด้วย และด้วยความที่เป็นต้นไม้ที่ให้ความร่มรื่นแก่ผู้คนจึงได้มีการนำมาเป็นสัญลักษณ์ของการพยาบาลไทย ตลอดจนนำมาทำเป็นเครื่องเรือนสำหรับตกแต่งบ้านเพื่อความสวยงาม พบมากตามป่าดิบแล้ง หรือป่าเบญจพรรณ โดยเฉพาะทางภาคเหนือ, ภาคตะวันตก และตะวันออกเฉียงเหนือของไทยเรา

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 1,546

ข้าวเย็นเหนือ

ข้าวเย็นเหนือ

ข้าวเย็นเหนือ มักพบขึ้นตามป่าดงดิบเขา ป่าดิบชื้น ป่าโปร่ง ป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง พบได้มากทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีใช้หัวฝังดิน เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนชุ่มชื้น ระบายน้ำได้ดีและมีอินทรียวัตถุ และเป็นไม้ที่เลี้ยงยากและหาดูได้ยาก โดยจัดเป็นไม้เถาเลื้อยเนื้อแข็ง เลื้อยพาดพันต้นไม้อื่นหรือเลื้อยไปตามพื้นดิน อาจเลื้อยได้ยาวถึง 5 เมตร ลำต้นมีลักษณะกลมหรือเป็นเหลี่ยมเล็กน้อย

เผยแพร่เมื่อ 25-05-2020 ผู้เช้าชม 5,719

ข่าตาแดง

ข่าตาแดง

ต้นข่าตาแดง จัดเป็นพรรณไม้ลงหัว เมื่อแตกขึ้นเป็นกอจะมีลักษณะเหมือนกับข่าใหญ่ แต่จะมีขนาดของต้นเล็กและสั้นกว่าข่าใหญ่เล็กน้อย และมีขนาดโตกว่าข่าลิงเล็กน้อย ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการแยกหน่อเอามาปลูก ใบข่าตาแดง ใบมีลักษณะเช่นเดียวกับข่าใหญ่ โดยมีลักษณะของใบเป็นรูปไข่ยาว คล้ายใบพาย ออกสลับกันรอบๆ ลำต้น ดอกข่าตาแดง ออกดอกเป็นช่อตรงปลายยอด ช่อดอกเป็นสีขาว แต้มด้วยสีแดงเล็กน้อย หน่อข่าตาแดง เมื่อแตกหน่อ หน่อจะเป็นสีแดงจัด ซึ่งเรียกว่า "ตาแดง" มีกลิ่นและรสหอมฉุนกว่าข่าใหญ่

เผยแพร่เมื่อ 19-05-2020 ผู้เช้าชม 4,811