จักรนารายณ์

จักรนารายณ์

เผยแพร่เมื่อ 25-05-2020 ผู้ชม 5,118

[16.4258401, 99.2157273, จักรนารายณ์]

จักรนารายณ์ ชื่อสามัญ Purple passion vine, Purple velvel plant
จักรนารายณ์ ชื่อวิทยาศาสตร์ Gynura divaricata (L.) DC. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Gynura ovalis DC.[1], Gynura auriculata Cass.[11]) จัดอยู่ในวงศ์ทานตะวัน (ASTERACEAE หรือ COMPOSITAE)
หมายเหตุ : บางข้อมูลระบุว่าเป็นชนิดที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Gynura procumbens (Lour.) Merr. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Gynura sarmentosa (Blume) DC.)
สมุนไพรจักรนารายณ์ มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า แปะตำปึง, แป๊ะตำปึง (ไทลื้อ), แปะตังปึง, แป๊ะตังปึง, แปะตังปุง ,ผักพันปี, กิมกอยมอเช่า, จินฉี่เหมาเยี่ย, ว่านกอบ ใบเบก (คนเมือง), ชั่วจ่อ (ม้ง), เชียตอเอี๊ยะ งู่ปุ่ยไฉ่ (จีน), ไป๋ตงเฟิง ไป๋เป้ยซันชิ (จีนกลาง), จักรนารายณ์ (ไทย) เป็นต้น

ลักษณะของจักรนารายณ์
        ต้นจักรนารายณ์ หรือ ต้นแปะตําปึง มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมในประเทศจีน[7] โดยจัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก มีอายุได้หลายปี มีความสูงของต้นประมาณ 30-50 เซนติเมตร ลำต้นและกิ่งก้านเป็นทรงกลมโตประมาณเท่านิ้วก้อยและเป็นสีม่วงแดง ทั้งต้นมีขนขึ้นปกคลุม รากอยู่ใต้ดินเป็นหัวเหง้าและแตกเป็นรากฝอย ขยายพันธุ์ด้วยการตัดกิ่งปักชำ พืชชนิดนี้ไม่ชอบอยู่ในที่ร่มมากนัก ชอบแสงแดดพอสมควร เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วน ชอบน้ำ แต่อย่าให้มีที่รองน้ำที่ก้นกระถาง เพราะรากจะเน่าได้
        ใบจักรนารายณ์ หรือ ใบแปะตำปึง ใบจะอยู่กับลำต้นที่แทงขึ้นจากราก ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปไข่มน ปลายใบแหลม ส่วนขอบใบหยัก ใบมีความยาวประมาณ 9-15 เซนติเมตรและกว้างประมาณ 8 เซนติเมตร แผ่นใบหนาและนุ่มคล้ายกำมะหยี่ หลังใบเป็นสีเขียวส่วนท้องใบเป็นสีเขียวอ่อนหรือสีม่วงแดงหรือสีขาวออกหม่น ๆ มีก้านใบสั้น[1],[2] และมีข้อมูลระบุว่าจักรนารายณ์มีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด คือ ชนิดใบกลมและชนิดใบยาว โดยชนิดใบกลม จะเรียกว่า "แปะตําปึง" ลักษณะของใบหนา มีขนหนานุ่มคล้ายกำมะหยี่ทั้งสองด้าน ใบเป็นสีเขียวอ่อน เส้นใบด้านหลังลึกเช่นเดียวกับเส้นกลางใบ แต่ด้านท้องใบกลับนูน ชนิดนี้กิ่งก้านเป็นสีเขียวปนสีแดง เปราะและหักง่าย ส่วนอีกชนิดคือชนิดใบยาว จะเรียกว่า "จินฉี่เหมาเยี่ย" ชนิดนี้ลักษณะของใบจะค่อนข้างยาวและแหลมกว่า ผิวใบค่อนข้างเรียบ มีขนน้อย
          ดอกจักรนารายณ์ ออกดอกเป็นช่อบริเวณปลายยอดลำต้น ในช่อหนึ่งจะมีดอกหลายดอก กลีบดอกมีลักษณะเป็นเส้นฝอยกลมจำนวนมาก มีสีเหลืองสดคล้ายดอกดาวเรือง แต่จะมีขนาดเล็กกว่าดอกดาวเรือง และมีสีเหลือง โดยยาวได้ประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร ดอกมีเกสรเพศผู้จำนวน 5 ก้านอยู่ในกลีบดอก ส่วนเกสรเพศเมียเป็นเส้นยืดออกมาภายนอกและมีผลติดอยู่ในดอก
          ผลจักรนารายณ์ ผลสุกเป็นสีน้ำตาล

สรรพคุณของจักรนารายณ์

  1. ยอดอ่อนใช้เป็นส่วนผสมในการต้มไก่กระดูกดำ ใช้รับประทานเป็นยาบำรุงร่างกาย (ยอดอ่อน)
  2. ราก ก้าน และใบ มีรสหวานชุ่ม เค็มและเผ็ดเล็กน้อย ใช้เป็นยาเย็นมีพิษเล็กน้อย ออกฤทธิ์ต่อปอด ตับ และม้าม มีสรรพคุณช่วยทำให้เลือดเย็น ช่วยกระจายโลหิต แก้เส้นเลือดอุดตันและแก้อาการตกเลือด (ราก, ก้าน, ใบ)
  3. ช่วยฟอกโลหิต ทำให้ระบบโลหิตและน้ำเหลืองดีขึ้น (ใบ)
  4. ช่วยล้างพิษภายในออกทางอุจจาระ ปัสสาวะ และทางตา (ใบ)
  5. ใช้รักษาโรคเบาหวาน ด้วยการรับประทานใบสดก่อนอาหารประมาณ 2-5 ใบในช่วงตีห้าถึงเจ็ดโมงเช้า (จะได้ผลดีเพราะเป็นช่วงที่ลำไส้เริ่มทำงาน) และให้รับประทานอีกครั้งในช่วงหลังอาหารเย็นประมาณ 2-3 ชั่วโมง หรือใช้กินก่อนนอนทุกวัน โดยให้ทำเช่นนี้ติดต่อกัน 1 สัปดาห์ แล้วหยุดดูอาการอีก 2-3 วัน แล้วจึงรับประทานต่อเพื่อให้ระดับน้ำตาลในเลือดไม่ลดลงเร็วเกินไป (ปริมาณการใช้ของแต่ละคนอาจไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับน้ำหนักตัวของผู้รับประทานและขนาดของใบที่ใช้ สำหรับผู้ที่เริ่มรับประทานให้ทดลองรับประทานแต่น้อย ๆ ก่อนแล้วค่อย ๆ ดูอาการ และควรรับประทานแบบระมัดระวัง เพราะยังไม่มีผลการวิจัยรองรับอย่างเป็นทางการ นอกจากนี้ยังมีข้อมูลระบุว่าจักรนารายณ์ใบยาวจะลดระดับน้ำตาลในเลือดได้มากกว่าชนิดใบกลม)
  6. ใบใช้รับประทานสดร่วมกับลาบ ช่วยแก้โรคความดันโลหิตสูง (ใบ)
  7. ช่วยทำให้ระบบหายใจดีขึ้น ไม่เหนื่อยไม่หอบ (ใบ)
  8. ช่วยแก้อาการร้อนใน (ใบ)
  9. ใช้เป็นยาขับพิษร้อนถอนพิษไข้ (ราก, ก้าน, ใบ)
  10. ช่วยแก้อาการไอเป็นเลือด (ราก, ก้าน, ใบ)
  11. ช่วยรักษาโรคตา ตาต้อ ตาอักเสบ ตามัว ด้วยการใช้ใบสดล้างให้สะอาด นำมาบด ขยี้ หรือโขลกให้แหลกในครกสะอาด แล้วนำมาพอกตาข้างที่มีอาการประมาณ 30 นาที (เข้าใจว่าพอกตรงเปลือกตา) แล้วล้างออกด้วยน้ำ โดยให้พอกทั้งเช้าและเย็น อาการของตาจะดีขึ้น ดวงตาจะสว่างขึ้น โดยสมุนไพรจักรนารายณ์ที่ปลูกเองไม่ควรใช้ยาฆ่าแมลง หรือถ้ามีการใช้ปุ๋ยก็ควรทิ้งไว้อย่างน้อย 1 สัปดาห์ก่อนเก็บใบใช้ในการพอกตา (ใบ)
  12. ช่วยแก้อาการปวดเหงือก ปวดฟัน ปากเป็นผล หรือลำคออักเสบ ให้รับประทานใบสดเป็นยาในช่วงกลางคืนหลังการแปรงฟัน โดยค่อย ๆ รับประทานใบยา เคี้ยวและอมทิ้งไว้สักระยะหนึ่งแล้วค่อยกลืนลงไป เมื่อตื่นมาตอนเช้าอาการปวดจะหายไป อีกทั้งยังช่วยให้ขับถ่ายได้โล่งสบายยิ่งขึ้นอีกด้วย (ใบ)
  13. ใช้รักษาหลอดลมอักเสบ วัณโรคในปอด (ราก, ก้าน, ใบ)
  14. ใช้แก้อาการไอ คออักเสบ ด้วยการใช้ใบและก้านประมาณ 10 กรัม ใส่ไข่และน้ำตาลเล็กน้อย ใช้รับประทาน (ใบและก้าน)
  15. ใบอ่อนและยอดอ่อน ใช้รับประทานเป็นประจำ จะช่วยรักษาหรือป้องกันการเกิดโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งมดลูกได้ (ใบอ่อน, ยอดอ่อน)
  16. ช่วยขับลมที่แน่นภายในช่องท้อง ด้วยการใช้ใบสดนำมารับประทานในขณะที่มีอาการ (ใบ)
  17. ช่วยรักษาโรคกระเพาะหรือมีอาการปวดท้อง ก็ให้ใช้ใบนำมากินเดี๋ยวนั้น สักพักอาการปวดก็จะหายไป (ใบ)
  18. ใช้รักษาริดสีดวงทวารหนัก ด้วยการใช้ใบสดนำมาตำให้ได้พอเหมาะ แล้วนำมายัดใส่ทวารหนัก จะทำให้แผลและริดสีดวงหายเร็วขึ้น ติ่งที่โผล่ออกมาจะยุบ และเลือดที่ออกก็จะหยุด (ใบ)
  19. ช่วยรักษาโรคเริม (ใบ)
  20. ช่วยแก้งูสวัด ด้วยการนำใบมาตำกับน้ำตาลทรายแดง เพื่อให้จับตัวกันเป็นก้อน ๆ และไม่หลุดได้ง่าย แล้วนำมาพอกตรงรอยแผลทิ้งไว้ประมาณ 30 นาที หรือจะนำใบมาคั้นเอาแต่น้ำใช้ทาสด ๆ หรือใช้ตำพอกเลยก็ได้ (ใบ)
  21. ใช้เป็นยาใส่แผลสดเพื่อห้ามเลือด (ราก, ก้าน, ใบ)
  22. ช่วยรักษาแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก (ราก, ก้าน, ใบ)
  23. ช่วยสมานบาดแผล รักษาแผลภายนอกได้ (เข้าใจว่าคือส่วนของใบ)
  24. ใบนำมาขยี้ทาชโลมให้ทั่วบริเวณที่มีอาการคัน จะช่วยแก้ผดผื่นคัน บรรเทาอาการคันได้ (ใบ)
  25. ช่วยแก้ฝีบวม ฝีร้อน ฝีภายนอก แก้อาการปวดฝี ด้วยการใช้ใบสดนำมาตำให้แหลกแล้วนำมาพอกบริเวณที่เป็น หรือจะใช้ใบสดนำมาตำผสมกับเหล้าแล้วนำมาใช้พอกก็ได้เช่นกัน (ใบสด)
  26. ช่วยบรรเทาอาการอักเสบเนื่องจากเริมและงูสวัด (ไม่ระบุส่วนที่ใช้ แต่เข้าใจว่าคือส่วนของใบ)
  27. ใบสดนำมาตำให้แหลกผสมกับสุราขาว ใช้สำลีชุบให้เปียกแล้วนำไปปิดบริเวณที่มีอาการปวดหรืออักเสบ แก้ปวดหัวลำมะลอก หรือใช้พอกแก้พิษอักเสบทุกชนิด พิษหัวลำมาลอก แก้พิษตะขาบ พิษจากแมลงป่อง พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย โดยยานี้เมื่อพอกแล้วจะรู้สึกเย็นสบาย และให้พอกประมาณวันละ 2-3 ครั้ง จะเป็นยาดับพิษและดูดถอนพิษได้ดี (ใบสด)
  28. ช่วยแก้อาการฟกช้ำบวม ด้วยการใช้ใบสดนำมาตำ แล้วนำมาผสมกับเหล้า คั่วให้ร้อน แล้วนำมาใช้เป็นยาพอก หรือจะใช้ใบสดนำมาตำผสมกับเหล้าแล้วนำมาใช้พอกเลยก็ได้ (ใบสด)
  29. หากเป็นมะเร็งให้ใช้ใบนำมารับประทานเป็นผักทุกวัน เช่น การนำมาจิ้มกับน้ำพริก และให้กินก่อนนอนอีก 5-7 ใบ ติดต่อกันเป็นระยะเวลา 6 เดือน จะช่วยทำให้มะเร็งมีขนาดเล็กลง (ใบ)
  30. มีข้อมูลระบุว่าสมุนไพรจักรนารายณ์เป็นสมุนไพรครอบจักรวาล เพราะรักษาได้หลายโรคหลายอาการ โดยมีผู้รับรองว่าโรคที่ใช้สมุนไพรชนิดนี้รักษาหายมาแล้ว ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง โรคโลหิตจาง ช่วยฟอกโลหิต ช่วยล้างสารพิษในร่างกาย ไทรอยด์ โรคมะเร็งทุกชนิด โรคหัวใจ โรคภูมิแพ้ หอบหืด ตาเป็นต้อ ตาอักเสบ หรือโรคตาต่าง ๆ แก้อาการปวดเหงือก ปวดฟัน ช่วยขับลม โรคกระเพาะอาหาร ขับนิ่ว ริดสีดวงทวารหนัก อาการปวดประจำเดือนของสตรี เนื้องอกต่าง ๆ ในไต งูสวัด แผลสะเก็ดเงิน แผลอักเสบ แผลฝีหนองทั่วไป โรคผิวหนังทั่วไป เกาต์ อาการปวดเส้นปวดหลัง ช่วยทำให้กินได้นอนหลับ และสำหรับคนทั่วไปหรือผู้ที่เป็นโรคเอดส์รับประทานแล้วจะมีสุขภาพแข็งแรงมากขึ้น (ใบ)

วิธีใช้สมุนไพรจักรนารายณ์

  • ใช้ภายใน ถ้าเป็นยาแห้งให้ใช้ประมาณ 5-10 ใบ นำมาต้มกับน้ำรับประทานหรือใช้ร่วมกับตัวยาอื่น ๆ ในตำรับยา หรือถ้าเป็นยาแห้งให้นำมาบดเป็นผง หรือนำไปดองกับเหล้าโรงใช้รับประทานเป็นยาก็ได้[1] หากเป็นใบสด ให้นำมาล้างให้สะอาด ซับน้ำให้แห้ง แล้วนำมาเคี้ยวกินสด ๆ หรือนำไปใช้ประกอบอาหารรับประทาน หรือจะนำมาผึ่งให้แห้งแล้วนำมาบดหรือตำคั้นเอาแต่น้ำไปนึ่งจนสุก ปล่อยให้เย็นเก็บใส่ขวด ใส่ตู้เย็นไว้จะเก็บได้นาน แต่ที่ได้ผลดีที่สุดก็คือให้กินใบสดประมาณ 3-5 ใบก่อนเข้านอน
  • ใช้ภายนอก ให้ใช้ใบสดนำมาตำแล้วพอกบริเวณที่เป็น โดยให้เลือกใบสดนำมาล้างให้สะอาด
  • ในวงศ์จักรนารายณ์ ยังมีสายพันธุ์อีกหลายชนิด เช่น Gynura ovalis DC. และ Gynura Sarmentora DC. แต่ชาวบ้านได้นำมาใช้ทดแทนกัน

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของจักรนารายณ์

  • มีการศึกษาด้านพฤกษเคมีและคุณสมบัติทางชีวภาพ พบว่าสารสกัดเอทานอลมีคุณสมบัติในการต้านไวรัสเฮอร์ปีส์ (Herpes) ซึ่งเป็นไวรัสที่ทำให้เกิดโรคเริม โดยสารที่แสดงฤทธิ์ต้านไวรัสชนิดนี้คือสารผสมของกรดคาฟีออยควินิก (3, 5- และ 4, 5-di -O-caffeoyl quinic acids) และจากการศึกษาร่วมกับการศึกษาในสัตว์ทดลองก็ไม่พบว่าสมุนไพรจักรนารายณ์มีพิษแต่อย่างใด อีกทั้งยังมีศักยภาพเป็นยาทาภายนอกที่ช่วยบรรเทาอาการอักเสบหรือระคายเคืองที่ผิวหนังซึ่งเกิดจากการแพ้ แมลงสัตว์กัดต่อย และโรคเริม
  • สมุนไพรจักรนารายณ์ยังมีฤทธิ์ต้านไวรัสเริมในหลอดทดลอง ซึ่งสารกลุ่มที่แสดงฤทธิ์ดังกล่าว ได้แก่ กลุ่ม 1, 2-bis-dodecanoyl-3-alpha-D-glucopyranosyl-sn-glycerol, dicaffeoyl quinic acids, sitosteryl- และ stigmasteryl glucosides จึงได้มีการทดลองใช้เจลต้านอักเสบที่มีสารสกัดจากจักรนารายณ์เป็นตัวยาในผู้ป่วยที่เป็นเริมที่ริมฝีปาก โดยพบว่าปริมาณไวรัสมีแนวโน้มลดลงเมื่อเทียบกับยาหลอก
  • มีการศึกษาในหลอดทดลองและในหนูทดลองระบุว่า จักรนารายณ์สามารถช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ แต่ยังไม่ได้มีการศึกษาในคน
  • งานวิจัยสมุนไพรจักรนารายณ์ได้ดำเนินมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1995 โดยพบว่า สารสกัดแอลกอฮอล์จากส่วนเหนือดินของจักรนารายณ์มีคุณสมบัติต้านการอักเสบในสัตว์ทดลอง และยังพบสารกลุ่มฟลาโวนอยด์หลายชนิด ได้แก่ Kaempferol ในรูปอิสระและไกลโคไซด์, Quercetin ในรูปอิสระและไกลโคไซด์ โดยฟลาโวนอยด์เป็นสารที่อาจแสดงฤทธิ์ต้านอักเสบ จึงได้มีการทดลองใช้เจลต้านอักเสบที่มีสารสกัดจากจักรนารายณ์ 2.5% เป็นตัวยา ในผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ได้รับเคมีบำบัด ซึ่งมักจะมีอาการเยื่อบุช่องปากอักเสบ โดยพบว่าสามารถช่วยป้องกันและลดความรุนแรงของอาการได้อย่างมีนัยสำคัญ

ประโยชน์ของต้นจักรนารายณ์
        ใบสดสามารถนำมาใช้รับประทานเป็นผักสดหรือนำมาลวกจิ้มกับน้ำพริก หรือใช้ประกอบอาหารได้ เช่น ทำแกงจืด ผัดน้ำมัน ผัดเต้าเจี้ยว หรือใช้เป็นเครื่องเคียงกับขนมจีน ลาบ แหนม ส้มตำ หรือสลัดผัก เป็นต้น

ข้อควรระวังในการใช้สมุนไพรจักรนารายณ์
       สำหรับผู้ที่ธาตุไฟอ่อน ร่างกายอ่อนแอและมีไข้ ไม่ควรรับประทานสมุนไพรชนิดนี้
       อาหารที่แสลงกับสมุนไพรจักรนารายณ์ ได้แก่ เนื้อ กุ้ง ปู ปลาทู ปลาหมึก ปลาร้า หูฉลาม ข้าวเหนียว กะปิ หน่อไม้ แตงกวา เผือก หัวผักกาด สาเก ของดอง ชาหรือกาแฟ แอลกอฮอล์ เป็นต้น จึงไม่ควรรับประทานร่วมกัน แต่หากจำเป็นต้องรับประทาน ก็ให้รับประทานสมุนไพรจักรนารายณ์ก่อนหรือหลังประมาณ 2 ชั่วโมง

คำสำคัญ : จักรนารายณ์

ที่มา : ้https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). จักรนารายณ์. สืบค้น 19 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1592&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1592&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

ฟักข้าว

ฟักข้าว

ฟักข้าว จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก เป็นไม้เถาเลื้อย อายุยิ่งมากเถายิ่งใหญ่ มีมือเกาะคล้ายกับตำลึง ชอบแสงแดด เลื้อยได้ทั้งบนพื้น บนต้นไม้ บนรั้ว บนหลังคา (ขอให้มีที่เกาะ) ใบเป็นใบเดี่ยว ใบเป็นรูปหัวใจหรือรูปไข่ คล้ายกับใบโพธิ์ ความกว้างและความยาวของใบมีขนาดเท่ากัน ขอบใบหยักเว้าลึกเป็นแฉก ดอกจะออกตรงบริเวณข้อต่อระหว่างใบหรือตามซอกใบ โดยจะออกดอกข้อละหนึ่งดอก ลักษณะของดอกฟักข้าวจะคล้ายกับดอกตำลึง กลีบดอกมีสีขาวอมเหลือง หรือขาวแกมเหลือง 

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 5,134

ตรีผลา

ตรีผลา

ตรีผลา (Triphala) (อ่านออกเสียงว่า ตรี-ผะ-ลา) คืออะไร ? คำว่าตรี แปลว่า สาม ส่วนคำว่าผลานั้นหมายถึงผลไม้ จึงหมายถึงผลไม้ 3 อย่าง ซึ่งประกอบไปด้วยลูกสมอพิเภก (Terminalia belerica (Gaertn.) Roxb.), ลูกสมอไทย (Terminalia chebula Retz.), ลูกมะขามป้อม (Phyllanthus emblica Linn.) สรุปก็คือ ตรีผลาเป็นยาสมุนไพรที่เป็นส่วนผสมของสมอพิเภก สมอไทย และมะขามป้อม เมื่อผลไม้ทั้งสามตัวนี้มารวมกันก็จะมีสรรพคุณทางยาที่ช่วยควบคุมและกำจัดสารพิษในร่างกาย ซึ่งจะส่งเสริมสรรพคุณซึ่งกันและกันเป็นอย่างดี

เผยแพร่เมื่อ 01-06-2020 ผู้เช้าชม 2,206

กล้วยน้ำว้า

กล้วยน้ำว้า

กล้วยน้ำว้าเป็นไม้ล้มลุก ลำต้นสูงประมาณ 3.5 เมตร กาบเรียงซ้อนกันเป็นลำต้น สีเขียวอ่อน เป็นใบเดี่ยวขนาดใหญ่ เรียงสลับกัน รูปขอบขนาน ปลายมน ขอบและแผ่นใบเรียบ ก้านใบเป็นร่องแคบๆ ส่วนดอกจะออกเป็นช่อตรงปลายห้อยลง หรือที่เรียกกันว่า หัวปลี และผลเป็นรูปทรงรี ยาวประมาณ 11-13 เซนติเมตร ผิวเรียบ เนื้อในขาว ผลดิบมีสีเขียว เมื่อสุกจะเป็นสีเหลือง รสชาติหวาน อร่อย โดยใน 1 หวี มีผลอยู่ประมาณ 10-16 ผล

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 6,419

พลูคาว

พลูคาว

พลูคาวเป็นพืชล้มลุกที่พบได้ทั่วไปในแถบทวีปเอเชียในแถบเทือกเขาหิมาลัยไปจนถึงเวียดนาม ญี่ปุ่น รวมถึงไทยด้วย เป็นที่รู้จักกันดีในทางภาคเหนือ วิธีใช้ทั้งต้นแห้งประมาณ 15-30 กรัม (ต้นสด 30-60 กรัม) นำมาแช่น้ำทิ้งไว้ประมาณ 3 นาที แล้วนำมาต้มน้ำให้เดือดประมาณ 5 นาทีแล้วนำมาดื่ม แต่หากใช้ร่วมกับสมุนไพรหรือยาชนิดอื่น ให้ต้มยาอื่นให้เดือดก่อนจึงใส่ยา ต้มให้เดือด การรับประทานถ้ามากเกินไปอาจจะทำให้หัวใจเต้นสั้นและถี่ อาจเป็นอันตรายได้

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 1,872

มะตูม

มะตูม

มะตูมเป็นผลไม้ที่มีต้นกำเนิดมาจากประเทศอินเดีย เป็นพันธุ์ไม้มงคลประจำจังหวัดชัยนาทและยังถือว่าเป็นพันธุ์ไม้มงคลของศาสนาฮินดูที่นิยมปลูกในบ้านเราอีกด้วย โดยถือเป็นต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ของพระศิวะ ส่วนบ้านเรานั้นมีความเชื่อว่าใบมะตูมสามารถนำมาใช้ป้องกันภูตผีปีศาจ เสนียดจัญไรได้ และมะตูมยังจัดว่าเป็นทั้งผลไม้ที่ดีต่อสุขภาพและเป็นยาสมุนไพรที่เรารู้จักมาเนิ่นนาน เชื่อว่าหลายๆ คนคงเคยกินน้ำมะตูมกันมาบ้างแล้วล่ะ แต่น้อยคนนักที่จะรู้ถึงสรรพคุณของมะตูมหรือประโยชน์ของมะตูม 

เผยแพร่เมื่อ 13-07-2020 ผู้เช้าชม 1,249

มะขามป้อม

มะขามป้อม

มะขามป้อม ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Phyllanthus emblica Linn. วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับมะขามป้อกันนะครับมะขามป้อมถือเป็นที่รู้จักกันดีในวงการการแพทย์ด้วยสรรพคุณที่หลากหลายกับนานาคุณประโยชน์ ลักษนะของมะขามป้อม ผลสด เป็นผลกลมเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1-2cmในปัจจุบันนี้มีมะขามป้อมพันธ์ยักษ์ซึ่งขนาดผลใหญ่กว่าผลปกติ2-3เท่าในมะขามป้อมมี สารอะนุมูลอิสระ อุดมไปด้วยวิตามินA B3 Cและยังมีสารอาหารจำพวก แคลเซียม คาร์โบไฮเดรต ฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก

เผยแพร่เมื่อ 23-02-2017 ผู้เช้าชม 2,676

เกล็ดปลาช่อน

เกล็ดปลาช่อน

ต้นเกร็ดปลาช่อน จัดเป็นพรรณไม้พุ่มขนาดเล็ก มีอายุหลายปี มีความสูงได้ประมาณ 0.5-2 เมตร ลำต้นมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3.2-3.7 เซนติเมตร กิ่งก้านแตกแขนงตั้งแต่โคนต้น ปลายกิ่งโค้งลง กิ่งและก้านใบมีขนนุ่มสีเทาถึงสีน้ำตาลอ่อนขึ้นหนาแน่น ส่วนเปลือกต้นเป็นสีน้ำตาลค่อนข้างเรียบ ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด มีเขตการกระจายพันธุ์ในกัมพูชา เวียดนาม ลาว ออสเตรเลีย และพบในทุกภาคของประเทศไทย

เผยแพร่เมื่อ 18-05-2020 ผู้เช้าชม 4,978

จิกนม

จิกนม

ต้นจิกนม จัดเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดเล็กจนถึงขนาดกลาง มีความสูงได้ประมาณ 4-20 เมตร แตกกิ่งก้านสาขาออกรอบต้น แต่ไม่มากนัก เป็นพรรณไม้กลางแจ้งที่ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด พบขึ้นตามป่าดงดิบทางภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงใต้ของไทย ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับกันไปตามข้อต้น ลักษณะของใบเป็นรูปยาวรี ออกดอกเป็นช่อตรงส่วนยอดของต้น ช่อดอกมีลักษณะห้อยลง ช่อยาวประมาณ 9-18 นิ้ว ในแต่ละช่อดอกจะประกอบไปด้วยดอกเป็นจำนวนมาก

เผยแพร่เมื่อ 26-05-2020 ผู้เช้าชม 4,418

อินจัน

อินจัน

ต้นอินจัน หรือ ต้นจัน เป็นต้นไม้ที่เจริญเติบโตช้า เป็นต้นไม้โบราณที่ในปัจจุบันใกล้จะสูญพันธุ์ สมัยนี้หาดูได้ค่อนข้างยาก ซึ่งเมื่อก่อนจะนิยมปลูกไว้ตามวัด ต้นอินจันนับว่าเป็นไม้ผลที่ค่อนข้างแปลก โดยต้นเดียวกันแต่ออกผลได้ 2 แบบ ซึ่งไม่เหมือนกัน ผลหนึ่งลูกกลมป้อม ๆ ขนาดใหญ่กว่ามาก เราเรียกว่า "ลูกอิน" แต่อีกผลลูกแบน ๆ แป้น ๆ มีขนาดเล็กกว่า เราจะเรียกว่า "ลูกจัน"

เผยแพร่เมื่อ 28-05-2020 ผู้เช้าชม 6,230

พญาสัตบรรณ

พญาสัตบรรณ

พญาสัตบรรณหรือต้นตีนเป็ดสามารถพบได้ทุกภาคในประเทศไทยถือเป็นพันธุ์ไม้พระราชทานทั้งยังเป็นไม้มงคลและเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดสมุทรสาครคนโบราณเชื่อว่า หากบ้านใดปลูกไว้จะทำให้คนในบ้านมีเกียรติเป็นที่เคารพนับถือและได้รับการยกย่องจากคนทั่วไปสรรพคุณทางยาของสมุนไพรชนิดนี้ช่วยรักษาโรคบิดลำไส้ติดเชื้อและมาลาเรีย ใบใช้ในการรักษาโรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรัง

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 1,391