มะเดื่อหอม
เผยแพร่เมื่อ 13-07-2020 ผู้ชม 2,118
[16.4258401, 99.2157273, มะเดื่อหอม]
มะเดื่อหอม ชื่อวิทยาศาสตร์ Ficus hirta Vahl จัดอยู่ในวงศ์ขนุน (MORACEAE)
สมุนไพรมะเดื่อหอม มีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ ว่า หาด (เชียงใหม่), นอดน้ำ (ลำปาง), นมหมา (นครพนม), เดื่อหอมเล็ก เดื่อหอมใหญ่ (ตราด), นอดหอม มะเดื่อเตี้ย (จันทบุรี), มะเดื่อขน (นครราชสีมา), พุงหมู (อุบลราชธานี), เดื่อขน (ภาคเหนือ), เยื่อทง (เย้า-เชียงราย), ส้าลควอย (ขมุ), แผละโอชัวะ เพี๊ยะตะโละสัวะ เพี๊ยะดู้ก (ลั้วะ) เป็นต้น
ลักษณะของมะเดื่อหอม
- ต้นมะเดื่อหอม จัดเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก มีน้ำยางสีขาว ลำต้นมีความสูงได้ถึง 10 เมตร ไม่ค่อยแตกกิ่ง ลำต้นและกิ่งก้านมีขนแข็งและสากคาย มีสีน้ำตาลแกมสีเหลืองอ่อน เมื่อแก่ลำต้นจะกลวง ที่ตาดอกและใบอ่อนมีขนขึ้นหนาแน่น มีรากเก็บสะสมอาหารเป็นหัวอยู่ใต้ดิน มีกลิ่นหอม ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและวิธีการปักชำกิ่ง พบขึ้นตามป่าดิบแล้ง ป่าละเมาะ ป่าโปร่ง และที่โล่งแจ้ง มีเขตการกระจายพันธุ์ในประเทศศรีลังกา จีนตอนใต้ เอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
- ใบมะเดื่อหอม ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปขอบขนาน รูปขอบขนานแกมรูปไข่กลับ หรือรูปขอบขนานแกมรูปใบหอก แผ่นใบมักเป็นพูลึก 3-5 พู ที่ไม่เท่ากัน โดยเฉพาะในต้นอ่อน หรือเป็นขอบเรียบ ปลายใบแหลมเป็นติ่ง โคนใบเบี้ยว ส่วนขอบใบจักเป็นเลื่อย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 5-12 เซนติเมตรและยาวประมาณ 12-25 เซนติเมตร แผ่นใบมีขนขึ้นทั้งสองด้าน ด้านบนเป็นขนหยาบสีน้ำตาลอมเหลืองขึ้นอยู่ประปราย ขนมีลักษณะยาวและหยาบบนเส้นใบ ส่วนด้านล่างขนจะมีลักษณะอ่อนนุ่มกว่า ใบแก่มีลักษณะบาง เส้นใบที่ฐานยาวน้อยกว่า 1/2 ของใบ มีเส้นข้างใบประมาณ 7-9 เส้น ส่วนก้านใบยาวประมาณ 11 เซนติเมตร และมีหูใบแหลม ขนาดประมาณ 0.8-2 เซนติเมตรที่กิ่งก้านมักกลวง และที่ข้อพองออกในต้นอ่อน
- ดอกมะเดื่อหอม ดอกช่อเกิดภายในโครงสร้างกลวงออกตามซอกใบ ประกอบไปด้วยดอกขนาดเล็กจำนวนมากเบียดกันแน่นบนฐานรองดอก ซึ่งเจริญหุ้มดอก มีช่องเปิดด้านบน ซึ่งมีใบประดับซ้อนทับกันหลายชั้นปิดอยู่ทำให้ดูคล้ายผล รูปไข่ค่อนข้างกลมอยู่บริเวณกิ่งที่มีใบติดอยู่ ดอกจะเป็นแบบแยกเพศแต่อยู่ในช่อดอกเดียวกัน ดอกเพศผู้จะมีจำนวนน้อย โดยจะอยู่ในบริเวณรูเปิดของช่อดอก มีกลีบดอก 3-4 กลีบ มีเกสรเพศเมียประมาณ 1-2 ก้าน ส่วนดอกเพศเมียจะมีรังไข่เหนือวงกลีบ ออกดอกได้ตลอดปี
- ผลมะเดื่อหอม ผลเป็นผลสด ลักษณะของผลกลมรี มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.1-2.5 เซนติเมตร ออกเดี่ยว ๆ หรือออกคู่ ผลเป็นสีเหลือง เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีแดงอมส้ม ผลมีขนหยาบสีทองหนาแน่น มียางสีขาว ไม่มีก้านผล
สรรพคุณของมะเดื่อหอม
- ลำต้นหรือรากนำมาต้มกับน้ำดื่ม เป็นยาบำรุงหัวใจ (ลำต้น, ราก)
- รากมีรสฝาดเย็นหอม ช่วยบำรุงกำลัง ชูกำลัง ทำให้ชื่นบาน (ราก)
- ช่วยแก้หัวใจพิการ (ราก)
- รากใช้ฝนกับน้ำกินเป็นยาแก้ผิดสำแดง (ราก)
- รากใช้ฝนกับน้ำกินเป็นยาขับลมในลำไส้และเป็นยาระบาย (ราก)
- รากใช้ฝนกับน้ำดื่มช่วยบำรุงน้ำนมของสตรี (ราก)
- ช่วยแก้ตับพิการ (ราก)
- ผลมีรสฝาดเย็น เป็นยาแก้พิษฝี (ผล)
- รากเป็นยาแก้พิษอักเสบ แก้พิษฝี แก้พิษงู (ราก)
ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของมะเดื่อหอม
- สารสกัดจากส่วนที่อยู่เหนือดินของต้นมะเดื่อหอมด้วยแอลกอฮอล์ 50% มีพิษเฉียบพลันปานกลาง เมื่อทำการฉีดเข้าช่องท้องของหนูถีบจักรจะมีค่า LD50 เท่ากับ 681 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
ประโยชน์ของมะเดื่อหอม
- ผลมะเดื่อหอมสุกใช้กินได้ (ขมุ, ลั้วะ)
คำสำคัญ : มะเดื่อหอม
ที่มา : https://medthai.com/
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). มะเดื่อหอม. สืบค้น 4 กุมภาพันธ์ 2566, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1720&code_db=610010&code_type=01
Google search
ลักษณะทั่วไป ต้นเป็นพรรณไม้เถาเลื้อยตามพื้นดิน เถาจะกลมและโตขนาดเท่าก้านไม้ขีดไฟหรือโตกว่าเล็กน้อย ตามข้อของเถาจะมีมือเกาะ ใบจะมีขนหนากลมโต ดูผิวเผินแล้วจะคล้ายผักเขียว แต่เถาและใบจะเล็กกว่าไม่กลวง ดอกโตและมีสีขาว ผลมีลักษณะกลมและโต มีผลขนาดเท่าผลมะนาว ผลสุกมีสีแดง นิเวศวิทยาชอบขึ้นเองตามธรรมชาติบนพื้นดินที่รกร้างทั่วไป และตามไร่นา การขยายพันธุ์ใช้เมล็ด ประโยชน์ด้านสมุนไพร เถาใช้ปรุงยาบำรุงถุงน้ำดี ลูกถ่ายแรงกว่าเถา บำรุงงาน้ำดีล้างเสมหะ ดับพิษเสมหะและโลหิต รักษาตับปอดพิการ ใช้เถาต้มกับน้ำให้เดือดนาน ๆ ใช้เป็นยาฆ่าเรือดไรและเหาได้ ใบสดใช้ตำสุมขม่อมเด็กเวลาเย็น รักษาอาการคัดจมูกได้ดี ใช้ปรุงเป็นยา ขี้กาขาวจะใช้น้อยกว่าขี้กาแดง
เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 1,362
ต้นกรวยป่าเป็นไม้ต้นขนาดเล็ก ผลัดใบ สูง 5-15 เมตร ใบกรวยป่าใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนานหรือรูปขอบขนานแกมรูปไข่ ปลายแหลม โคนมนกว้าง มักเว้าเล็กน้อยที่รอยต่อก้านใบ ขอบจักถี่ แผ่นใบด้านบนเกลี้ยงหรือมีขนเล็กน้อยที่เส้นกลางใบ ด้านล่างมีขนนุ่มทั่วไป ดอกกรวยป่ามีจำนวนมาก ออกเป็นกระจุกเล็กๆ ตามง่ามใบที่ใบร่วงไปแล้ว ดอกสมบูรณ์เพศ สีขาวหรือเหลืองอมเขียว กลีบเลี้ยงเล็ก ไม่มีกลีบดอก เกสรเพศผู้ 8-10 อัน ผลกรวยป่ามีเนื้อ รูปไข่ ผิวเรียบ ผนังหนา สุกสีเหลือง เนื้อหุ้มเมล็ดสีแสด
เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 2,140
อ้อย จัดเป็นไม้ล้มลุก มักขึ้นเป็นกอ ๆ มีความสูงของลำต้นประมาณ 2-5 เมตร ลำต้นมีลักษณะแข็งแรงและเป็นมัน มีลำต้นคล้ายกับต้นอ้อยทั่วไป แต่จะมีสีม่วงแดงถึงสีดำ และมีไขสีขาวเคลือบลำต้นอยู่ ลำต้นมีลักษณะกลมยาว เห็นข้อปล้องอย่างชัดเจน โดยแต่ละปล้องอาจจะยาวหรือสั้นก็ได้ ผิวเปลือกเรียบสีแดงอมม่วง มีตาออกตามข้อ ไม่แตกกิ่งก้าน เนื้ออ่อน ฉ่ำน้ำ เปลือกมีรสขม ส่วนน้ำไม่ค่อยหวานแหลมเหมือนอ้อยธรรมดา และมักมีรากอากาศขึ้นอยู่ประปราย โดยเป็นพืชที่ชอบดินร่วน น้ำไม่ท่วมขัง มีแสงแดดจัด สามารถปลูกขึ้นได้ในดินทั่วประเทศไทย และขยายพันธุ์ด้วยวิธีการปักชำหรือการใช้หน่อจากเหง้า
เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 8,387
ลักษณะทั่วไป ต้นพืชล้มลุกอายุปีเดียว มีระบบรากแก้ว ลำต้นอวบน้ำตั้งตรง ลำต้นเรียบและมันมีรอยแตกเป็นร่องยาว สีเขียวเป็นมัน สีม่วง และสีแดงปนเขียว ทรงพุ่มสูงประมาณ 20-60 ซม. ใบเป็นใบเดี่ยวออกจากลำต้นแบบสลับ รูปร่างค่อนข้างจะเป็นสามเหลี่ยม หรือรูปไข่ฐานใบกว้าง ปลายใบค่อนข้างมน มักจะมีรอยหยักเล็กน้อย บริเวณปลายใบขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย ก้านใบเรียวเล็กมีความยาวใกล้เคียงกับความยาวของใบคือประมาณ 4-10 ซม. ดอกเป็นช่อแบบ Spike ออกตามปลายยอดและตามซอกใบ ดอกตัวผู้และดอกตัวเมีย เกิดแยกคนละดอกอยู่บนช่อดอกเดียวกัน ดอกย่อยมีขนาดเล็กสีม่วงปนเขียว ไม่มีก้านดอกย่อย จึงเห็นติดอยู่เป็นกระจุกรอบแกนกลางช่อดอก ซึ่งยาวประมาณ 10-20 ซม. ดอกย่อยมีใบประดับสีเขียวคล้ายใบรองรับอยู่ แต่มีขนาดสั้นกว่ากลีบดอก กลีบเลี้ยง และกลีบดอกหลอมรวมกัน (perianth) มี 3 กลีบ มีเกสรตัวผู้ 3 อันมผิวหนัง ทำให้ผิวหนังอ่อนนุ่ม แก้พิษแมงป่อง ขับปัสสาวะ ขับเสมหะ แก้ไข้ ไข้หวัดต่างๆ
เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 1,719
ลักษณะทั่วไป เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดใหญ่มีลำต้นแข็งแรง บางชนิดมีเรือนยอดพุ่มทรงหนาทึบและบางชนิดเป็นทรงพุ่มโปร่งแต่บางชนิดตามลำต้น จะมีรากอากาศห้อยย้อยตามกิ่งก้าน ใบต้นไทร มีรูปร่างลักษณะแตกต่างกันไปตามชนิดของมันแต่โดยมากสีของใบจะมีสีเขียวด่างขาว ด่างดำปนเทา หรือสีครีมก็มี ถิ่นกำเนิดอยู่แถบทวีปเอเชีย อินเดีย ไทย จีน เป็นไม้กลางแจ้ง ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด ตอนหรือปักชำ
เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 2,134
กุ่มบก (Sacred Barnar) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้น ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคอีสานเรียกผักก่าม เขมรเรียกถะงัน หรือสะเบาถะงัน เป็นต้น ซึ่งกุ่มบกนั้นมีแหล่งกำเนิดอยู่ในประเทศญี่ปุ่น, ออสเตรเลีย, เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกใต้, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตลอดจนภาคกลางและใต้ของไทย รวมทั้งในพุทธประวัติยังได้กล่าวไว้ว่าขณะที่พระพุทธเจ้าทรงนำห่อบังสุกุลที่ห่อศพนางมณพาสีไปซักแล้วนำไปตากไว้ที่ต้นกุ่ม และเทวดาที่สถิตอยู่ในต้นกุ่มก็ได้น้อมกิ่งลงมาให้พระพุทธเจ้าได้ทรงตากจีวรอีกด้วย
เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 2,013
ชะอม (Cha-om, Acacia, Climbing Wattle) เป็นพืชที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคเหนือเรียก ผักละหรือผักหละ ส่วนภาคอีสานเรียก ผักขะ เป็นต้น ซึ่งชะอมนี้เป็นพืชสมุนไพรที่คนไทยทั่วทุกภาครู้จักกันเป็นอย่างดีอยู่แล้ว และมักนำมาประกอบอาหารต่างๆ โดยเฉพาะไข่ทอดชะอม ที่เป็นเมนูโปรดของใครหลายๆคนเลยทีเดียว แถมในชะอมนี้ยังมีประโยชน์ต่างๆมากมายอีกด้วย ซึ่งคนส่วนใหญ่มักนิยมนำชะอมมาปลูกไว้บริเวณรั้วบ้าน เพราะมีหนามแหลมและยังสามารถรับประทานได้ตลอดทั้งปีอีกด้วย
เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 1,416
ลูกใต้ใบ หรือ หญ้าใต้ใบ ที่ทุกคนรู้จัก เป็นยาสมุนไพรที่มีผลทางยาหลายประการ ลูกใต้ใบมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันไป มะขามป้อมดิน หญ้าใต้ใบ ไฟเดือนห้า หญ้าใต้ใบขาว หมากไข่หลัง ลูกใต้ใบเป็นสมุนไพรที่สามารถเจริญเติบโตได้ดีทุกภาคของประเทศไทย หญ้าใต้ใบมีถิ่นกำเนิดมาจากอเมริกาและแอฟริกา
เผยแพร่เมื่อ 23-02-2017 ผู้เช้าชม 1,621
เก๋ากี้ (Goji berry) หรือ Lycium Barbarum นั้นเป็นเม็ดเล็กๆ สีแดง อยู่ในตระกูลเดียวกันกับเบอร์รี โดยชาวจีนนิยมรับประทานตุ๋นร่วมกับยาจีนถือเป็นยาบำรุงชั้นเยี่ยมที่มีค่า ORAC ที่สามารถดูดซับอนุมูลอิสระในออกซิเจนได้ถึง 25,300 unite ซึ่งเกิดจากปฏิกิริยาในร่างกายเราเองหรืออาจเกิดจากปัจจัยภายนอกอย่างควันพิษจากท่อไอเสียรถยนต์ หรือควันจากบุหรี่ เป็นต้น ซึ่งเป็นสาเหตุของความเสื่อมในร่างกาย ทั้งความชราก่อนวัยอันควร หรือโรคมะเร็งต่างๆ
เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 1,620
กระชายนั้นเป็นพืชล้มลุก เหง้าสั้น อวบน้ำ สามารถแตกรากและหน่อได้ดี รูปทรงกระบอก ปลายเรียว บริเวณผิวมีสีน้ำตาลอ่อน เนื้อในสีเหลืองมีกลิ่นหอม ส่วนใบนั้นเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ โคนใบมนแหลม ขอบเรียบ ส่วนดอกกระชายนั้นเป็นช่อเชิงลด โดยแต่ละดอกจะมีใบประดับอยู่ 2 ใบ สีขาวหรือชมพูอ่อน และผลของกระชายนั้นมักนิยมนำมาเป็นส่วนประกอบของอาหาร เพื่อเพิ่มรสชาติและคุณค่าให้แก่อาหารนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นแกงป่า หรือเมนูผัดต่างๆ แถมยังช่วยดับกลิ่นคาวเนื้อสัตว์ในอาหารได้ดีอีกด้วย
เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 1,934