เคี่ยม

เคี่ยม

เผยแพร่เมื่อ 25-05-2020 ผู้ชม 6,552

[16.4258401, 99.2157273, เคี่ยม]

เคี่ยม ชื่อสามัญ Resak tembaga
เคี่ยม ชื่อวิทยาศาสตร์ Cotylelobium lanceolatum Craib (ส่วนอีกข้อมูลใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cotylelobium melanoxylon (Hook.f.) Pierre) จัดอยู่ในวงศ์ยางนา (DIPTEROCARPACEAE)
สมุนไพรเคี่ยม มีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ ว่า เคี่ยม (ทั่วไป), เคี่ยมขาว เคี่ยมดำ เคี่ยมแดง (ภาคใต้) เป็นต้น

ลักษณะของต้นเคี่ยม
       ต้นเคี่ยม จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ลำต้นตั้งตรง มีความสูงประมาณ 20-40 เมตร ลักษณะเรือนยอดเป็นพุ่มทึบ รูปเจดีย์แบบต่ำๆ ส่วนเปลือกต้นเป็นสีน้ำตาล เปลือกเรียบ มีรอยด่างสีเทาและสีเหลืองสลับกัน และมีต่อมระบายอากาศกระจายอยู่ทั่วไป เปลือกด้านในเป็นสีน้ำตาลอ่อน มีชันใสตามลำต้นและจะจับกันเป็นก้อนสีเหลืองเมื่อทิ้งไว้นานๆ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ด (โดยเด็ดปีกออกก่อนการนำไปเพาะ) และวิธีการตอนกิ่ง เจริญเติบโตได้ในดินทุกชนิด ชอบดินร่วนและดินร่วนปนทรายที่มีการระบายน้ำได้ดี ชอบความชื้นสูงและแสงแดดปานกลาง โดยต้นเคี่ยมสามารถพบขึ้นได้ทั่วไปตามป่าดงดิบทางภาคใต้ ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไป และทางภาคใต้ของพม่าลงไปจนถึงภาคเหนือของประเทศมาเลเซียและอินโดนีเซีย ที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 10-100 เมตร ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีมีต้นเคี่ยมอยู่ 2 ชนิด คือ เคี่ยมขาวและเคี่ยมดำ ซึ่งเคี่ยมดำเปลือกต้นจะหนาและเข้มกว่าเปลือกต้นเคี่ยมขาว
        ใบเคี่ยม ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ ปลายใบสอบเรียวหรือหยักเป็นติ่งยาว ส่วนโคนใบมน ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2-5 เซนติเมตรและยาวประมาณ 5-18 เซนติเมตร แผ่นใบหนา หลังใบเรียบเป็นมัน ส่วนท้องใบมีขนสีน้ำตาลปนสีเหลืองเป็นกระจุก
        ดอกเคี่ยม ดอกสีขาวมีกลิ่นหอมแบบอ่อน ๆ ออกดอกเป็นช่อตามยาวที่ปลายกิ่งและตามง่ามใบ
        ผลเคี่ยม ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลม มีขนาดเล็ก ผลมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.7 เซนติเมตร มีขนนุ่มคล้ายขนกำมะหยี่สีน้ำตาล มีปีก 5 ปีก แบ่งเป็นปีกยาว 2 ปีก ปลายปีกมนเรียวสอบมาทางโคน มีเส้นตามยาว 5 เส้น และปีกสั้นอีก 3 ปีก ลักษณะเป็นรูปหอก ยาวประมาณ 1 ใน 3 รองรับผลอยู่ และจะติดผลในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน

สรรพคุณของต้นเคี่ยม
1. ยอด ราก ดอก และลำต้นใช้ผสมกับเปลือกหว้าต้มเป็นยาบ้วนปาก ช่วยแก้อาการปากเปื่อย (ยอด, ราก, ดอก, ลำต้น)
2. ช่วยแก้อาการท้องร่วง (ชันจากไม้เคี่ยม)
3. เปลือกต้นใช้เป็นยากลางบ้าน สำหรับช่วยห้ามเลือดจากบาดแผลสด (เปลือกต้น)
4. เปลือกต้นใช้ยาสำหรับชะล้างแผล (เปลือกต้น)
5. ชันจากไม้เคี่ยมใช้เป็นยาสมานแผล (ชันจากไม้เคี่ยม)
6. ยอด ราก ดอก และลำต้นใช้ตำพอกรักษาแผล แก้อาการฟกบวม เน่าเปื่อย (ยอด, ราก, ดอก, ลำต้น)

ประโยชน์ต้นเคี่ยม
1. เนื้อไม้มีความละเอียด แข็ง หนัก และเหนียว มีความทนทานสูงมาก ใช้ในน้ำมีความทนทานดี เช่น การใช้ทำเป็นเรือ หรือจะใช้ในงานก่อสร้างที่ต้องการความแข็งแรงมากๆ เหมาะสำหรับ
    ใช้ทำไม้พื้น ไม้กระดาน เสาเรือด รอดตง อกไก่ หรือสิ่งปลูกสร้างอื่น ๆ ที่ต้องตากแดดตากฝน ฯลฯ และมีการใช้ไม้เคี่ยมต่างสายพานรองหนุนเสาเรือ เพื่อใช้ลากเรือนทั้งหลังในการย้าย
    บ้าน หรือใช้ทำเลื่อนในการชักพระ ทำเสาหลักผูกเทียบเรือ ทำสะพานท่าเรือ สะพานทอดขนานไปกับลำน้ำ ทำหมอนรองรางรถไฟ รวมทั้งการนำไปทำลูกประสัก พายเรือแจว กรรเชียง
    ล้อเกวียน กระเดื่อง ครก สาก ตัวถังรถ ทำด้ามเครื่องมือ ฯลฯ โดยเลือกไม้ที่ยังสดอยู่ เพราะจะบิดและแตกได้ง่าย การเลื่อยหรือตบแต่งจึงควรทำในขณะที่ยังสดอยู่
2. ในการตีพร้านาป้อ (พร้าที่มีชื่อเสียงของจังหวัดตรัง) จะใช้ถ่านที่ทำจากไม้เคี่ยม เพราะประหยัดและให้ความร้อนสูงไม่แพ้กับถ่านหิน
3. เปลือกต้นใช้ทุบผสมกับชันใช้สำหรับยาเรือ ชันเคียมใช้ผสมในน้ำยางทาไม้ น้ำมันทาไม้ และน้ำมันชักเงา
4. เปลือกไม้เคี่ยม นำมาตัดเป็นชิ้นขนาดประมาณ 1 x 2 นิ้ว หรือตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ใส่ในกระบอกตาลรองรับน้ำตาลจากต้นตาล เพื่อใช้รสฝาด โดยรสฝาดของไม้เคี่ยมจะช่วย
    รักษาน้ำตาลไม่ให้บูดเร็วหรือบูดก่อนการนำมาเคี่ยว อีกทั้งยังใช้ใส่ในน้ำตาลเมาเพื่อให้มีรสกลมกล่อมอีกด้วย
5. ในทางด้านนิเวศน์และทางด้านภูมิสถาปัตย์ สามารถใช้เป็นดรรชนีเพื่อชี้วัดได้ว่าพื้นดินเหมาะสมต่อการทำเกษตรและที่อยู่อาศัย ใช้ปลูกเป็นกลุ่ม ๆ ตามสวนสาธารณะและพื้นที่ใกล้ทะเล

คำสำคัญ : เคี่ยม

ที่มา : ้https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). เคี่ยม. สืบค้น 14 ธันวาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1585&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1585&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

ปอผี

ปอผี

ต้นปอผี หรือ ผักกะเดียง จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก ทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน แตกแขนงมาก ชูยอดตั้งขึ้น สูงได้ประมาณ 10-100 เซนติเมตร ลำต้นมีลักษณะกลมและแข็ง มีรากออกตามข้อ ลำต้นเรียบหรือมีขนนุ่ม ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด มีเขตการกระจายพันธุ์ในอินเดียถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และในเขตร้อนของทวีปออสเตรเลีย ชอบขึ้นบริเวณที่ชื้นแฉะ บนดินชื้นและมีน้ำขัง ตามนาข้าว หนองน้ำ ริมหนองน้ำ หรือขึ้นแผ่คลุมผิวน้ำ

เผยแพร่เมื่อ 04-06-2020 ผู้เช้าชม 1,935

ตะโกนา

ตะโกนา

ลักษณะทั่วไป ต้นเป็นไม้ยืนต้นสูง 8-15 ม. ลำต้นมีเปลือกสีดำ แตกเป็นสะเก็ดหนา ๆ ทรงพุ่มที่ยอดลักษณะกลมรี  ใบเดี่ยวเรียงสลับปลายใบโค้งมน และเป็นติ่งสั้นมีรอยหยักเว้าเข้าเล็กน้อย ฐานใบสอบเข้าหรือป้อมมนเนื้อในค่อนข้างหนา เหนียว ด้านบนจะเกลี้ยง ด้านล่างมีขนนุ่ม ปกคลุม เส้นกลางใบจะแห้งมีสีแดงเรื่อ ๆ  ดอกตัวผู้ออกเป็นช่อเล็กตามกิ่งช่อหนึ่งมีดอกย่อย 3 ดอก กลีบเลี้ยงมี 4 กลีบ แยกเป็นแฉกเล็ก ๆ เกสรตัวผู้มี 14-15 อัน มีรังไข่ไม่เจริญ 1 อัน มีสีน้ำตาลปกคลุมผิวหนาแน่น ดอกตัวเมียออกตรงซอกใบ มีกลีบเลี้ยงและกลีบดอกเหมือนกับดอกตัวผู้ มีเกสรตัวผู้เทียมหรือไม่เจริญ 8-10 อัน เกสรตัวเมียมี 1 อัน รูปร่างป้อม ๆ ติดอยู่เหนือฐานของดอกมี 8-10 ห้อง ออกดอกเดือน มีนาคม-เมษายน

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 5,241

กระพี้เขาควาย

กระพี้เขาควาย

ลักษณะทั่วไป เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลัดใบสูง 15 - 25 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มกลมยาว ค่อนข้างโปร่ง เปลือกสีเทานวลๆ เปลือกในสีน้ำตาลแดง กระพี้สีน้ำตาลอ่อน กิ่งอ่อนยอดอ่อนมีขน ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกเรียงสลับ ยาว 10 - 15 ซม. มีใบย่อย รูปขอบขนานแกมไข่กลับ กว้าง 2 - 2.5 ซม. ยาว 6 – 7.5 ซม. ส่วนกว้างที่สุดค่อนไปทางปลายใบมนโค้งหยักเว้าเห็น  ได้ชัด โดนฐานใบสอบเข้าเป็นรูปลิ่มหรือมนกลม เนื้อใบค่อนข้างหนา ใบแก่เกลี้ยง ดอกออกเป็นช่อ  มีลักษณะเป็นกระจุกคล้ายรังผึ้งสีขาวอมชมพูอ่อนๆ ออกที่กิ่งข้างตาและปลายยอด ฐาน กลีบดอกเชื่อมติดกันรูปถ้วยกลีบดอกบานแล้วขอบกลีบดอกม้วนขึ้น

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 7,201

จอก

จอก

ลักษณะทั่วไป วัชพืชน้ำขนาดเล็ก ลำต้นทอดขนานไปกับผิวน้ำ มีระบบรากแก้วและมีรากฝอยจำนวนมาก อายุยืนหลายปี เจริญเติบโตติดกันเป็นกลุ่มลอยอยู่บนผิวน้ำ ลำต้นมีไหล ต้นใหม่เกิดจากโคนต้นและเกิดบนไหล ใบเป็นใบเดี่ยวเกิดบริเวณส่วนโคน ของลำต้นเรียงซ้อนกันหลายชั้น ไม่มีก้านใบรูปร่างใบไม่แน่นอน บางครั้งรูปรี แต่วนมากเป็นรูปสามเหลี่ยมปลายกลีบหยักลอนเป็นคลื่น ฐานใบมนสอบแคบ ขอบใบเรียบสีแดงมีขนขึ้นปกคลุมแผ่นใบทั้งสองด้าน บริเวณบานใบพองออกมีลักษณะอ่อนนุ่มคล้ายฟองน้ำ ทำให้ลอยน้ำได้ ออกดอกเป็นช่ออยู่ตรงกลางต้นหรือต้นโคนใบระหว่างกลาง ซึ่งดอกนั้นจะมีกาบหุ้มดอกอยู่ 2-3 อันมีเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียอยู่ในช่อเดียวกัน

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 7,952

ก้นจ้ำ

ก้นจ้ำ

ต้นก้นจ้ำเป็นพรรณไม้ล้มลุก ที่มีลำต้นสูงประมาณ 5-2 เมตร ลำต้นมีลักษณะเป็นเหลี่ยม บริเวณลำต้น กิ่ง ก้านสาขา มีขนขึ้นประปราย ใบก้นจ้ำออกเป็นช่อยอดเดี่ยว ซึ่งจะออกตรงข้ามกัน ช่อยาวราว 5-14 ซม. ใบย่อยมีลักษณะเป็นรูปไข่ โคนใบสอบเข้าหากัน ปลายใบแหลมเรียว ริมขอบใบยักย่อยคล้ายฟันปลาหลัง และใต้ท้องใบมีขนประปราย หรืออาจเกลี้ยง ก้านใบจะยาวประมาณ 5 ซม. ดอกก้นจ้ำออกเป็นดอกเดี่ยว ลักษณะของดอก มีสีเหลือง ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 7-10 มม. ปลายกลีบดอกค่อนข้างแหลม หรือเป็นฝอย กลีบดอกยาวประมาณ 5 มม.เป็นรูปท่อ ดอกวงในเป็นดอกสมบูรณ์เพศ

เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 2,695

ผักบุ้ง

ผักบุ้ง

ลักษณะทั่วไป ต้นเป็นพรรณไม้เลื้อยชนิดหนึ่ง ที่มีเนื้ออ่อนลำต้นกลวง มีข้อปล้องสีเขียว  ขึ้นเลื้อยตามหน้าน้ำ หรือดินแฉะ  ใบมีสีเขียวเข้ม ลักษณะของใบจะเป็นรูปสามเหลี่ยมมุมแหลม คล้ายๆกับปลายหอก เป็นไม้ใบเดี่ยว อออกสลับทิศทางกันตามข้อต้น ใบยาว ประมาณ 2-3 นิ้ว  ดอกลักษณะของดอก เป็นรูประฆังเล็ก มีสีม่วงอ่อน ๆ หรือสีชมพูด้านในของโคนดอก จะมีสีเข้มกว่าด้านนอก ดอกบานเต็มที่ประมาณ 2 นิ้วและจะตกในฤดูแล้ง  ผลเป็นรูปมนรี คล้ายกับ capsule

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 6,698

พุดซ้อน

พุดซ้อน

พุดซ้อน มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีน บ้างก็ว่าจัดเป็นพรรณไม้ดั้งเดิมของบ้านเรานี่เอง โดยจัดเป็นไม้พุ่มเตี้ยหรือไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีความสูงได้ประมาณ 1-2 เมตร มีลักษณะทั่วไปคล้ายต้นพุดจีบ แต่จะแตกต่างกันที่ว่าพุดซ้อนจะไม่มีสีขาวอยู่ในต้นและใบเหมือนพุดจีบ ลำต้นแตกกิ่งก้านมาก ลำต้นและกิ่งก้านเป็นสีเขียว ใบขึ้นดกหนาทึบ ส่วนรากใต้ดินเป็นสีเหลืองอ่อน นิยมขยายพันธุ์ด้วยวิธีการตอนกิ่ง เนื่องจากเป็นวิธีที่เหมาะสมที่สุด ต้องการแสงแดดจัดและความชื้นสูง หากปลูกในที่มีแสงแดดไม่เพียงพอจะทำให้ไม่ค่อยออกดอก และการตัดแต่งทรงพุ่มให้โปร่งจะช่วยทำให้ดอกมีขนาดใหญ่ขึ้นได้ โดยมักพบขึ้นในป่าดงดิบทางภาคเหนือ 

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 15,122

เลียบ

เลียบ

ลักษณะทั่วไป  ต้นเป็นพรรณไม้ยืนต้น มีขนาดใหญ่ มีความสูงประมาณ 8-15 เมตร  ใบลักษณะของใบยาวเรียว ผิวใบเรียบ ใบอ่อนมีสีน้ำตาลแดงปนสีเขียวอ่อน  เป็นพรรณไม้ที่ทนต่อความร้อนและแสงแดดได้ดีต้องการน้ำและความชื้น  ขยายพันธุ์ด้วยการตอนกิ่ง และการปักชำกิ่ง  ประโยชน์สมุนไพร ใบขับพยาธิตัวกลม ขับฤดู ขับปัสสาวะ ไล่แมลง ดอกฆ่าเหา แก้โรคผิวหนัง ผล ทาแผลพุพองจากไฟไหม้หรือน้ำร้อนลวก  เปลือกใช้เป็นยาทำให้อาเจียน

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 12,939

หนุมานประสานกาย

หนุมานประสานกาย

หนุมานประสานกาย จัดเป็นพรรณไม้พุ่ม ที่มีลำต้นสูงประมาณ 1-4 เมตร ผิวของลำต้นค่อนข้างเรียบเกลี้ยง ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด ตอนกิ่ง และปักชำ เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกประเภท ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง และเป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ใบเป็นใบประกอบแบบนิ้วมือ ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปยาวรี รูปวงรี หรือรูปใบหอก ปลายใบเรียวแหลม โคนใบมีหูใบซึ่งจะติดอยู่กับก้านใบพอดี ส่วนริบขอบใบเป็นคลื่นเล็กน้อย พื้นผิวใบเรียบเป็นมัน ส่วนก้านใบย่อยยาวได้ประมาณ 8-25 มิลลิเมตร

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 11,609

อังกาบหนู

อังกาบหนู

อังกาบหนู หรือ ต้นอังกาบเหลือง เป็นไม้พุ่มเตี้ย มีความสูงประมาณ 1-1.5 เมตร แตกกิ่งก้านจำนวนมาก มีลำต้นเกลี้ยง มีหนามยาวอยู่รอบข้อ หนามมีความประมาณ 1-2 เซนติเมตร มักพบขึ้นหนาแน่นเป็นวัชพืชอยู่ตามเขาหินปูนในที่แห้งแล้งทางภาคใต้และภาคตะวันตกเฉียงใต้ของไทย และมีเขตการกระจายพันธุ์ทั่วไปในแอฟริกา ปากีสถาน อินเดีย พม่า มาเลเซีย รวมไปถึงภูมิภาคอินโดจีน

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 4,643