ผักตบไทย

ผักตบไทย

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้ชม 5,545

[16.4258401, 99.2157273, ผักตบไทย ]

ผักตบไทย ชื่อสามัญ Monochria[1], Monochoria arrowleaf falsepickerelweed

ผักตบไทย ชื่อวิทยาศาสตร์ Monochoria hastata (L.) Solms จัดอยู่ในจัดอยู่ในวงศ์ผักตบ (PONTEDERIACEAE)

สมุนไพรผักตบไทย มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ผักสิ้น (สงขลา), ผักตบ ผักโป่ง (ภาคกลาง), ผักตบเขียด เป็นต้น

ลักษณะของผักตบไทย

  • ต้นผักตบไทย มีถิ่นกำเนิดในแถบเชียตะวันออกเฉียงใต้ จัดเป็นไม้ล้มลุกมีอายุได้หลายปี อาศัยอยู่ในน้ำ มีเหง้าใหญ่ แตกลำต้นเป็นกอ มีความสูงได้ประมาณ 50-100 เซนติเมตร ลำต้นอยู่ใต้ดิน ชูก้านใบเหนือระดับน้ำ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดหรือแยกต้นอ่อนไปปลูกในบริเวณที่ต้องการ มีเขตการกระจายพันธุ์กว้าง พบได้ตั้งแต่อินเดีย เนปาล ศรีลังกา พม่า ภูมิภาคอินโดจีน และภูมิภาคมาเลเซีย ในประเทศไทยพบได้ทุกภาคของประเทศ โดยมักขึ้นตามแหล่งน้ำจืด ริมหนองน้ำ คลองบึง ที่ชื้นแฉะ โคลนตม และตามท้องนาทั่วไป
  • ใบผักตบไทย ใบเป็นใบเดี่ยว แทงออกมาจากลำต้นใต้ดิน ก้านใบส่วนล่างมีลักษณะเป็นกาบหุ้มซ้อน ๆ กัน ส่วนก้านใบส่วนบนมีลักษณะกลมยาวและอวบน้ำ แผ่นใบเป็นรูปหัวใจหรือรูปสามเหลี่ยมคล้ายหัวลูกศร ปลายใบแหลม โคนใบมนเว้า ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 0.9-1.9 เซนติเมตร และยาวประมาณ 4.5-8 เซนติเมตร หลังใบและท้องใบเรียบเกลี้ยง ก้านใบยาวอวบ ส่วนโคนของก้านใบแผ่ออกเป็นกาบ
  • ดอกผักตบไทย ออกเป็นช่อแบบช่อกระจะ โดยจะออกจากโคนก้านใบหรือใกล้แผ่นใบ ดอกแทงมาจากราก สูงประมาณ 2 ใน 3 ของความยาวก้านใบ มีแผ่นใบประดับสีเขียวรองรับดอกย่อย 15-16 ดอก แต่ละดอกจะมีก้านดอกย่อยยาวประมาณ 3-4 เซนติเมตร กลีบรวมมีจำนวน 6 กลีบ เรียงเป็น 2 วง วงละ 3 กลีบ กลีบดอกเป็นสีน้ำเงินปนม่วง สีฟ้าปนม่วงหรือมีสีขาวแต้มบ้างเล็กน้อย กลีบดอกค่อนข้างบอบบาง ดอกย่อยเป็นสีม่วงหรือสีขาวแต้มบ้างเล็กน้อย ดอกมีเกสรเพสผู้ 6 อัน ติดอยู่บนวงกลีบรวม แบ่งเป็นขนาดสั้น 5 อัน และขนาดยาว 1 อัน เมื่อดอกได้รับการผสม กลีบรวมจะรัดห่อหุ้มผล ส่วนปลายกลีบบิดพันเป็นเกลียว บานแล้วกลีบจะบิดพันกันเป็นเกลียว ออกดอกในช่วงประมาณเดือนพฤษภาคมถึงเดือนพฤศจิกายน
  • ผลผักตบไทย ผลเป็นแบบแคปซูล ลักษณะเป็นรูปรี แห้งและแตกได้ ยาวประมาณ 1 เซนติเมตร ภายในมีเมล็ดจำนวนมาก เมล็ดเป็นสีน้ำตาล

สรรพคุณของผักตบไทย

  1. ทั้งต้นมีรสจืด มีสรรพคุณเป็นยาแก้พิษในร่างกาย (ทั้งต้น)
  2. ใบมีสรรพคุณเป็นยาขับพิษร้อน (ใบ)
  3. ทั้งต้นใช้เป็นยาขับลม (ทั้งต้น)
  4. ใบนำมาตำผสมกับผักกระเฉด ตำคั้นเอาน้ำดื่มเป็นยาแก้พิษเบื่อเมา (ใบ)
  5. ใบใช้เป็นยาขับปัสสาวะ (ใบ)
  6. ต้นสดใช้ตำพอกแก้แผลอักเสบ หรือใช้เป็นยาทาหรือพอกถอนพิษ แก้อาการปวดแสบปวดร้อน (ทั้งต้น)
  7. ใบใช้เป็นยาทาแก้ฝี (ใบ)
  8. ชาวเกาะจะใช้เหง้าผักตบไทย นำมาบดกับถ่านใช้ทาแก้รังแค (เหง้า)

ประโยชน์ของผักตบไทย

  • ยอดอ่อน ก้านใบอ่อน และช่อดอก ใช้รับประทานเป็นผักสดผักตบไทยสดจะนิ่มกรอบ นิยมนำมารับประทานสดร่วมกับน้ำพริก น้ำพริกปลา ส้มตำ หรือลวกจิ้มกับน้ำพริก ส่วนยอดอ่อนและดอกอ่อนนำไปปรุงเป็นแกงส้ม แกงเลียง หรือนำมาผัดก็ได้ โดยคุณค่าทางโภชนาการของผักตบไทย ต่อ 100 กรัม จะให้พลังงาน 9 กิโลแคลอรี่, ใยอาหาร 0.7 กรัม, แคลเซียม 31 มิลลิกรัม, ธาตุเหล็ก 0.1 มิลลิกรัม, ฟอสฟอรัส 28 มิลลิกรัม, เบต้าแคโรทีน 1,961 ไมโครกรัม, วิตามินเอ 324 ไมโคกรัมของเรตินอล, วิตามินบี1 0.01 มิลลิกรัม, วิตามินบี2 0.30 มิลลิกรัม, วิตามินบี3 3.1 มิลลิกรัม, วิตามินซี 5 มิลลิกรัม
  • ทุกส่วนของต้นนำมาหั่นเป็นฝอยใช้เลี้ยงหมูหรือทำเป็นปุ๋ยหมักได้
  • ลำต้นนำมาตากแห้งใช้ทำเป็นเครื่องจักสานต่าง
  • ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับ

คำสำคัญ : ผักตบไทย

ที่มา : https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). ผักตบไทย . สืบค้น 11 ตุลาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1705&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1705&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

กระถิน

กระถิน

สำหรับต้นกระถินนั้นเป็นไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็ก ไม่ผลัดใบ สูงประมาณ 3-10 เมตร เปลือกลำต้นมีสีเทา ส่วนใบนั้นคล้ายขนนกสองชั้น เรียงสลับ ยาวประมาณ 12.5-25.0 เซนติเมตร โดยแยกแขนงออกประมาณ 3-19 คู่ แกนกลางใบมีขน โคนใบเบี้ยว ปลายแหลม และดอกกระถินนั้นจะมีสีขาว โดยออกดอกเป็นช่อประมาณ 1-3 ช่อ แบบกระจุกแน่นตามง่ามใบรวมทั้งปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงโคนคล้ายรูประฆังติดกัน มีกลีบดอกอยู่ 5 กลีบ ปลายเป็นรูปสามเหลี่ยม 5 แฉก เมื่อดอกกระถินบานเจริญเต็มที่แล้วกว้างประมาณ 2.0-2.5 เซนติเมตร และเมล็ดเป็นมันมีสีน้ำตาลรูปไข่แบนกว้าง

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 7,463

ไพล

ไพล

ต้นไพล เป็นไม้ล้มลุก สูง 0.7-1.5 เมตร มีลำต้นใต้ดินเป็นเหง้า เปลือกสีน้ำตาลแกมเหลือง เหง้าสดมีเนื้อในสีเหลืองถึงเหลืองแกมเขียว ฉ่ำน้ำ มีกลิ่นหอมเฉพาะ แทงหน่อหรือลำต้นเทียมขึ้นเป็นกอ ประกอบด้วยกาบหรือโคนใบหุ้มซ้อนกันเป็นลำกลม สีเขียวเข้ม โคนกาบสีแดง

เผยแพร่เมื่อ 17-02-2017 ผู้เช้าชม 3,614

เจตมูลเพลิงขาว

เจตมูลเพลิงขาว

เจตมูลเพลิงขาว (White Leadwort, Ceylon Leadwort) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้น ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคเหนือเรียก ปิดปิวขาว ภาคอีสานเรียก ปี่ปีขาว ส่วนชาวกะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอนเรียก ตอชุวา ชาวจีนแต้จิ๋วเรียก แปะฮวยตัง และชาวจีนกลางเรียก ป๋ายฮัวตาน เป็นต้น มีการกระจายพันธุ์ในเขตร้อน โดยในประเทศไทยส่วนใหญ่มักพบได้มากทางภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งมีการขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 1,417

แก่นตะวัน

แก่นตะวัน

แก่นตะวันสมุนไพร ที่กำลังเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายและเป็นที่ต้องการของตลาดทั่วโลก เนื่องจากเป็นพืชที่มีประโยชน์สารพัด เพราะในหัวแก่นตะวันจะมีสารสำคัญชนิดหนึ่ง นั่นก็คือ อินนูลิน (Inulin) ซึ่งเป็นน้ำตาลเชิงซ้อน มีโมเลกุลของน้ำตาลต่อกันเป็นห่วงโซ่มากกว่า 10 โมเลกุล ด้วยลักษณะที่โดดเด่นของสารชนิดนี้มันจึงกลายเป็นอาหารที่มีเส้นใยสูง และจะไม่ถูกย่อยในกระเพาะอาหารและลำไส้ของเรา

เผยแพร่เมื่อ 18-05-2020 ผู้เช้าชม 4,056

รุ่งอรุณ

รุ่งอรุณ

รุ่งอรุณ จัดเป็นไม้เลื้อย สามารถเลื้อยไปได้ไกลถึง 6 เมตร มีรากพิเศษที่ออกเป็นกระจุกอยู่รอบข้อ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการปักชำกิ่ง เป็นต้นไม้ที่ชอบแสงแดดจัด ดินร่วนและระบายน้ำได้ดี จึงควรปลูกในบริเวณที่มีแสงแดดจัด เพราะจะช่วยทำให้ดอกดกและออกดอกได้ตลอดทั้งปี

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 3,584

เต่าร้าง

เต่าร้าง

เต่าร้าง (Fishtail Palm, Wart Fishtail Palm) หรือเต่ารั้ง เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้น อยู่ในตระกูลปาล์ม มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคเหนือเรียก เกี๋ยง, เขืองหลวง, เต่ารั้ง หรือเต่าร้าง ส่วนน่านเรียก หมากมือ เป็นต้น ซึ่งพืชสมุนไพรอย่างเต่าร้างนั้นเป็นพืชที่พบการกระจายพันธุ์อยู่ในประเทศอินเดีย, ตอนใต้ของจีน, ศรีลังกา, เวียดนาม และไทยเราด้วย ชอบอยู่ในป่าดิบทุกแห่ง มักขึ้นตรงที่มีความชุ่มชื้นสูง โดยลำต้นจะเป็นปล้องสูงชะลูดขึ้นไปไม่เท่ากัน โดยบางต้นอาจเตี้ย ในขณะที่บางต้นอาจสูง

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 9,962

ถั่วฝักยาว

ถั่วฝักยาว

ถั่วฝักยาว (Cow Pea, Chinese Long Bean) เป็นพืชผักสมุนไพรจำพวกเถา ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคกลางเรียก ถั่วนา, ถั่วขาว หรือถั่วฝักยาว ส่วนภาคเหนือเรียก ถั่วหลา, ถั่วปี หรือถั่วดอก เป็นต้น ซึ่งถั่วฝักยาวนี้มีแหล่งกำเนิดอยู่ในประเทศอินเดียและจีน เรียกว่าเป็นพืชผักสมุนไพรที่ชาวเอเชียเรานิยมนำมาประกอบอาหารรับประทานกันเป็นอย่างมากชนิดหนึ่งเลยก็ว่าได้ และในถั่วฝักยาวนี้ก็ยังอุดมไปด้วยแร่ธาตุและวิตามินที่สำคัญและจำเป็นต่อมนุษย์เราหลากหลายชนิดเลยทีเดียว เช่น ธาตุเหล็ก, ฟอสฟอรัส, แมกนีเซียม, โพแทสเซียม, วิตามินเอ, วิตามินบี, วิตามินซี, โฟเลต, แมงกานีส ฯลฯ

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 8,488

แคดอกแดง

แคดอกแดง

แคดอกแดง (Cork Wood Tree) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้น ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคกลางเรียกแค หรือแคบ้านดอกแดง ส่วนเชียงใหม่เรียกแคแดง เป็นต้น แคดอกแดงนี้เป็นไม้พื้นบ้านเนื้ออ่อน นิยมนำมาปลูกเพื่อเป็นรั้วบ้านเรือน สามารถปลูกได้ในทุกพื้นที่ สามารถขยายพันธุ์ได้ด้วยเมล็ดที่แก่จัด และจะยืนต้นตายมีอายุได้ไม่นาน

เผยแพร่เมื่อ 30-04-2020 ผู้เช้าชม 11,127

อั้วข้าวตอก

อั้วข้าวตอก

อั้วข้าวตอก จัดเป็นไม้จำพวกกล้วยไม้ดินแตกกอ รากหนา ยาว และมีขน มีลำต้นโผล่ขึ้นมาเหนือพื้นดินเล็กน้อย ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของก้านใบ มีเขตการกระจายพันธุ์กว้าง พบได้ตั้งแต่มาดากัสการ์ อินเดีย พม่า ภูมิภาคอินโดจีน และประเทศมาเลเซีย จนถึงออสเตรเลีย หมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก และในญี่ปุ่น ในประเทศไทยพบได้ทั่วทุกภาคของประเทศ (ยกเว้นภาคกลาง) โดยมักขึ้นตามใต้ร่มเงาในป่าดิบแล้ง ป่าดิบชื้น และป่าดิบเขา ที่ระดับความสูงจนถึงประมาณ 1,600 เมตร ส่วนในต่างประเทศพบได้จนถึง 3,000 เมตร

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 2,228

เต็งหนาม

เต็งหนาม

ต้นเต็งหนาม จัดเป็นพรรณไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้นผลัดใบ ลำต้นตั้งตรง มีความสูงได้ถึง 20 เมตร เรือนยอดไม่แน่นอน เปลือกต้นอ่อนเป็นสีเทาอ่อนหรือสีน้ำตาลเทา ผิวเรียบ ส่วนต้นแก่เปลือกต้นจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแก่ แตกเป็นร่องยาวและมีหนามแข็งขนาดใหญ่ขึ้นบริเวณลำต้น พบขึ้นทั่วไปในป่าดิบแล้ง ป่าผลัดใบ ที่โล่งแจ้ง และที่รกร้างว่างเปล่า ทั่วทุกภาคของประเทศ ที่ระดับความสูงประมาณ 600-1,100 เมตร

เผยแพร่เมื่อ 01-06-2020 ผู้เช้าชม 4,018