หญ้าตีนกา

หญ้าตีนกา

เผยแพร่เมื่อ 09-02-2017 ผู้ชม 5,920

[16.4534229, 99.4908215, หญ้าตีนกา]

ลักษณะทั่วไป

     ต้น   เป็นกอแต่เมื่อสูงมากจะทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน ชูส่วนยอดตั้งตรงสูง

     ใบ  เป็นใบเดี่ยวแผ่นใบแคบเรียวยาว ปลายใบแหลม ส่วนล่างของใบจะมีเยื่อกันน้ำ ฝนเป็นแผ่นบาง ๆ และมีฐานของแผ่น บาง ๆ และมีฐานของแผ่นใบและกาบใบมีขนสีขาวประปราย

     ดอก  ออกเป็นช่อชนิดสไปค์ ช่อดอกมีสีเขียว ก้านช่อดอกยาว 7-15 ซม. มักจะมีลักษณะตรงหรือ โค้งงอเล็กน้อย แต่ละช่อดอกย่อยจะประกอบด้วยดอกย่อยช่อดอกย่อยมีกลีบประดับเป็นแผ่นบาง ๆ กลีบประดับด้านบนมีลายเส้น 1 -5 เส้น ดอกย่อยมีกลีบนอก คล้ายกลีบประดับของช่อดอกเป็นรูปไข่ ปลายแหลม กลีบนอกติดกับเมล็ด

     ผล  เป็นชนิดคาริออฟซีส รูปไข่ค่อนข้างยาว มีสีน้ำตาลแดงจนถึงสีดำ มีสันนูนออกเป็น 3 ด้าน

ประโยชน์ด้านสมุนไพร  ใช้ต้นอ่อนเป็นสมุนไพร แก้ไข แก้อักเสบปวดบวม แก้ปวด อาเจียนเป็นโลหิต พอกฝี ถอนพิษ

ภาพโดย : http://www.google.com

คำสำคัญ : สมุนไพร

ที่มา : กมลทิพย์ ประเทศ และคนอื่นๆ. (2543). การสำรวจพรรณไม้ในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). หญ้าตีนกา. สืบค้น 27 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=17&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=17&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

แค

แค

ต้นแค หรือ ต้นดอกแค เชื่อกันว่ามีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดียหรือในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง แตกกิ่งก้านสาขามาก ไม่เป็นระเบียบ มีความสูงประมาณ 3-10 เมตร เนื้อไม้อ่อน ที่เปลือกต้นเป็นสีน้ำตาลปนเทา เปลือกหนาและมีรอยขรุขระ แตกเป็นสะเก็ด สามารถเจริญเติบโตได้ทั่วไปในเขตร้อนชื้น เป็นต้นไม้ที่โตเร็ว สามารถปลูกได้ทุกที่ และมักขึ้นตามป่าละเมาะ หัวไร่ปลายนา มีอายุราว ๆ 20 ปี แต่ถ้าเก็บกินใบบ่อย ๆ จะทำให้ต้นมีอายุสั้นลง

เผยแพร่เมื่อ 25-05-2020 ผู้เช้าชม 11,017

ก้นปิด

ก้นปิด

ต้นก้นปิดเป็นไม้เถาเลื้อยไม่มีมือจับ มีหัวใต้ดิน ลำต้นแก่มักมีรอยแตกเป็นขีดตามยาว ใบก้นปิดเป็นใบเดี่ยว ใบรูปไข่ ปลายใบแหลมฐานใบกลมและบังก้านใบ ขนาดกว้าง 8-15 ซม. ยาว 8-17 ซม. ขอบใบเรียบ ใบนิ่มแต่ไม่ฉ่ำน้ำ เป็นคลื่นเล็กน้อย ก้านใบยาว 5-17 ซม. ดอกก้นปิดสีเหลืองส้ม ออกเป็นคลื่นเล็กน้อย ก้านใบยาว 5-17 ซม. ดอกสีเหลืองส้ม ออกเป็นช่อตามซอกใบหรือลำต้น ช่อดอกทรงก้านร่ม ยาว 5-12 ซม. ดอกย่อยขนาดเล็ก ดอกตัวผู้และดอกตัวเมียแยกกันคนละต้น

เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 2,615

กะสัง

กะสัง

ต้นกระสังเป็นไม้ล้มลุก สูง 15-30 ซม. ลำต้น และใบอวบน้ำ ใบกระสังเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปหัวใจ ปลายแหลม โคนเว้าตื้นๆ ขอบเรียบ มีต่อมโปร่งแสง ช่อดอกออกที่ข้อตรงข้ามกับใบ เรียงโค้งขึ้น ประกอบด้วยดอกเล็กๆ ที่ไม่มีก้านดอกจำนวนมากเวียนรอบแกน ดอกกระสังเป็นดอกสมบูรณ์เพศ ไม่มีทั้งกลีบเลี้ยง และกลีบดอก มีใบประดับดอกละ 1 ใบ มีเกสรเพศผู้ 2 อัน อยู่ข้างๆ รังไข่ อับเรณูสีขาว ก้านชูอับเรณูสั้น เกสรเพศเมีย 1 อัน รังไข่รูปกลม อยู่เหนือฐานดอก ผลกระสังลักษณะกลม มี 1 เมล็ด

เผยแพร่เมื่อ 18-05-2020 ผู้เช้าชม 8,222

กากหมากตาฤาษี

กากหมากตาฤาษี

ต้นกากหมากตาฤาษี จัดเป็นพืชเบียน เกาะอาศัยแย่งอาหารจากรากพืชชนิดอื่น มีความสูงได้ประมาณ 10-25 เซนติเมตร ลำต้นอยู่รวมกันเป็นก้อนขนาดใหญ่อยู่ใต้ดิน โดยลำต้นจะมีอยู่หลายสี เช่น สีน้ำตาล สีแดง สีแดงปนน้ำตาล สีเหลือง หรือสีเหลืองปนส้ม มีเขตการกระจายพันธุ์ในอินเดีย จีนตอนใต้ พม่า ภูมิภาคอินโดจีน มาเลเซีย และทวีปออสเตรเลีย ส่วนในประเทศไทยพบได้ทั่วทุกภาคของประเทศ โดยพบขึ้นในป่าดิบชื้นทั่วไป บนเขาสูง ที่ความสูง 500-2,000 เมตร จากระดับน้ำทะเล 

เผยแพร่เมื่อ 18-05-2020 ผู้เช้าชม 2,659

ยอเถื่อน

ยอเถื่อน

ลักษณะทั่วไป  เป็นไม้ยืนต้น สูง 15 เมตร  ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปวงรี  กว้าง 5-10 ซม. ยาว 10-20 ซม. หูใบอยู่ระหว่างก้านใบ ดอกช่อ ออกเป็นก้อนทรงกลมที่ซอกใบ กลีบดอกสีขาว ผลเป็นผลรวม รูปกลม  การขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดประโยชน์    สมุนไพร ตำรายาไทยใช้ ราก แก้เบาหวาน แก่นต้มน้ำดื่ม บำรุงเลือด ผลอ่อน แก้อาเจียน ผลสุก ขับระดู ขับลม ใบ อังไฟพอ ตายนึ่งปิดหน้าอก หน้าท้อง แก้ไอ แก้จุกเสียด หรือตำพอกศีรษะฆ่าเหา

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 2,322

เดื่อหว้า

เดื่อหว้า

ต้นเดื่อหว้า จัดเป็นไม้ยืนต้นเนื้ออ่อนขนาดเล็ก มีความสูงได้ประมาณ 3-5 เมตร หรืออาจสูงได้ถึง 10-15 เมตร แตกกิ่งก้านสาขามาก เปลือกต้นเป็นสีเทาปนน้ำตาล มีน้ำยางสีขาว ลำต้นเห็นแผลของก้านใบที่ร่วงชัดเจน พบขึ้นตามป่าผสมผลัดใบ ป่าดิบแล้ง ใกล้ลำธาร ในต่างประเทศพบกระจายพันธุ์ในปากีสถาน อินเดียตอนเหนือ เนปาล ภูฏาน สิกขิม พม่า จีนตอนใต้ ลาว กัมพูชา เวียดนาม และมาเลเซีย ส่วนในประเทศไทยพบได้ทุกภาค ยกเว้นทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมักพบขึ้นตามป่าดิบ ป่าเบญจพรรณ ป่าผลัดใบ ป่าดิบแล้ง ใกล้ลำธารหรือริมลำน้ำ ที่ระดับความสูงตั้งแต่ 0-1,300 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล

เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้เช้าชม 2,401

มะเดื่อหอม

มะเดื่อหอม

มะเดื่อหอม จัดเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก มีน้ำยางสีขาว ลำต้นมีความสูงได้ถึง 10 เมตร ไม่ค่อยแตกกิ่ง ลำต้นและกิ่งก้านมีขนแข็งและสากคาย มีสีน้ำตาลแกมสีเหลืองอ่อน เมื่อแก่ลำต้นจะกลวง ที่ตาดอกและใบอ่อนมีขนขึ้นหนาแน่น มีรากเก็บสะสมอาหารเป็นหัวอยู่ใต้ดิน มีกลิ่นหอม ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและวิธีการปักชำกิ่ง พบขึ้นตามป่าดิบแล้ง ป่าละเมาะ ป่าโปร่ง และที่โล่งแจ้ง มีเขตการกระจายพันธุ์ในประเทศศรีลังกา จีนตอนใต้ เอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

เผยแพร่เมื่อ 13-07-2020 ผู้เช้าชม 3,340

กำจาย

กำจาย

ต้นกำจาย จัดเป็นพรรณไม้พุ่มรอเลื้อย มีความสูงได้ประมาณ 2.5-10 เมตร ลำต้นและก้านใบมีหนามแหลมแข็งและโค้งคล้ายหนามกุหลาบ ตามกิ่งอ่อนมีขนสั้นขึ้นปกคลุม ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ส่วนใหญ่จะไม่นิยมปลูกต้นกำจายไว้ตามบ้าน เนื่องจากต้นกำจายเป็นไม้ที่มีหนามแหลมและเป็นไม้เถาเลื้อย แต่จะมีปลูกไว้เพื่อใช้ประโยชน์ทางยาตามสวนยาแผนไทย 

เผยแพร่เมื่อ 18-05-2020 ผู้เช้าชม 4,138

ตะลิงปลิง

ตะลิงปลิง

ตะลิงปลิง (Bilimbi, Cucumber Tree) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกไม้ยืนต้น ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคใต้เรียก หลิงปริง หรือกะลิงปริง ส่วนชาวมลายูเรียก บลีมิง เป็นต้น ซึ่งต้นตะลิงปลิงนั้นเป็นพืชในวงศ์เดียวกับมะเฟือง แต่ตะลิงปลิงนั้นจะมีผลเล็กกว่ามะเฟืองอย่างชัดเจน โดยมีถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบชายฝั่งทะเลของประเทศบราซิล เป็นพืชสมุนไพรที่นิยมปลูกกัน เนื่องจากลำต้นมีความสวยงาม และต้นตะลิงปลิงนั้นเป็นพืชที่อยู่ในเขตร้อน เป็นพืชสมุนไพรที่ปลูกเลี้ยงง่าย สามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนปนทราย เพราะระบายน้ำดี แต่ไม่ชอบน้ำท่วมขัง และขยายพันธุ์ได้จากการเพาะเมล็ดหรือตอนกิ่ง แต่การเพาะเมล็ดจะได้ต้นที่สูงใหญ่กว่าการตอนกิ่ง

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 2,748

เขยตาย

เขยตาย

เขยตายเป็นพรรณไม้ที่ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด ตอนกิ่ง และปักชำ ในประเทศไทยพบขึ้นตามป่าโปร่ง ป่าเบญจพรรณ ตามชายป่าและหมู่บ้าน ประโยชน์ของเขยตาย ผลสุกมีรสหวานใช้รับประทานได้ แต่มีกลิ่นฉุน ใบใช้เป็นอาหารของหนอนผีเสื้อ เนื้อไม้ใช้ทำเครื่องมือทางการเกษตร ลำต้นเขยตายมีสารอัลคาลอยด์ arborinine เป็นหลัก และอัลคาลอยด์อื่นๆ ข้อควรระวัง คือ ยางจากทุกส่วนของลำต้นมีฤทธิ์ทำให้อาเจียน เพ้อคลั่งและเสียชีวิตได้

เผยแพร่เมื่อ 17-02-2017 ผู้เช้าชม 2,116