บัวสาย

บัวสาย

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้ชม 15,440

[16.4258401, 99.2157273, บัวสาย]

บัวสาย ชื่อสามัญ Lotus stem, Water lily, Red indian water lily
บัวสาย ชื่อวิทยาศาสตร์ Nymphaea pubescens Willd.[4],[7] (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Nymphaea lotus var. pubescens (Willd.) Hook. f. & Thomson)[1],[3],[5],[8] จัดอยู่ในวงศ์บัวสาย (NYMPHAEACEAE)[
สมุนไพรบัวสาย มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า บัวสายกิน, บัวกินสาย, สายบัว, บัวขม, บัวขี้แพะ, บัวแดง, บัวสายสีชมพู, บัวจงกลนี, จงกลนี, สัตตบรรณ, สัตตบุษย์, ปริก, ป้าน, ป้านแดง, รัตอุบล, เศวตอุบล และยังมีชื่อเรียกต่างกันไปตามสีของดอก โดยดอกสีชมพูจะเรียก ลินจง หากเป็นดอกสีขาวจะเรียก กมุท กุมุท โกมุท เศวตอุบล และถ้าดอกเป็นสีม่วงแดงจะเรียกว่า สัตตบรรณ รัตนอุบล

ลักษณะของบัวสาย
         ต้นบัวสาย บัวสายนั้นมีถิ่นกำเนิดในเขตที่ราบลุ่มของทวีปเอเชีย ซึ่งรวมไปถึงประเทศไทยด้วย จึงเป็นพืชพื้นบ้านดั้งเดิมที่คนไทยรู้จักคุ้นเคยมาเนิ่นนานแล้ว[3] จัดเป็นพืชน้ำอายุหลายปี เป็นสายพันธุ์ดั้งเดิมของไทย มีเหง้าอยู่ใต้ดินรากฝักอยู่ในโคลนเลน ก้านอยู่ใต้น้ำ ส่วนก้านดอกอ่อนมีเปลือกลอกออกได้เป็นสายใย ผิวเกลี้ยงและไม่มีหนาม เจริญเติบโตได้ในดินเหนียวที่มีอินทรียวัตถุสูง และเจริญเติบโตได้ดีในระดับน้ำลึกประมาณ 0.3-1 เมตร ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เหง้าและเมล็ด
         ใบบัวสาย ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ แผ่นใบมีลักษณะกลม มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 25-30 เซนติเมตร ขอบใบหยักและแหลม ฐานหยักเว้าลึก หูใบเปิด ผิวใบอ่อนวางอยู่บนผิวน้ำ แผ่นใบด้านบนเรียบเป็นมัน มีสีเขียวเหลือบน้ำตาลอ่อนหรือสีแดงเลือดหมู ผิวใบด้านล่างของใบอ่อนเป็นสีม่วง ใบเมื่อแก่จะเป็นสีเขียว ผิวใบด้านล่างของใบแก่เป็นสีน้ำตาลมีขนนุ่ม ๆ เส้นใบใหญ่นูน ส่วนก้านใบมีสีน้ำตาลอมเขียวอ่อน มีลักษณะค่อนข้างเปราะ ข้างในก้านใบเป็นรูอากาศ
          ดอกบัวสาย มีอยู่ด้วยกันหลายสีแตกต่างกันไปตามแต่ละชนิด เช่น ชนิดดอกสีชมพู ดอกขาว ดอกแดง ดอกม่วงแดง ดอกเหลือง ดอกเขียว ดอกคราม ดอกน้ำเงิน ฯลฯ[3],[4] ดอกมีกลีบเลี้ยง 4 กลีบ เป็นสีเขียวเหลือบน้ำตาลแดง ส่วนดอกมีลักษณะเป็นรูปครึ่งวงกลมถึงค่อนข้างกลม ดอกมีกลีบดอกจำนวนมากเรียงซ้อนกันอยู่หลายชั้น (19 กลีบ) ลักษณะของกลีบดอกเป็นรูปหอกหลับ เมื่อดอกบานเต็มที่จะมีความกว้างประมาณ 15-20 เซนติเมตร ดอกมีเกสรเพศผู้สีเหลืองเป็นสีตามกลีบดอก มีจำนวนมาก (60 อัน) มีลักษณะเป็นแผ่นแบนและแต่ละเกสรมีความยาวประมาณ 2 เซนติเมตร ส่วนอับเรณูเป็นร่องขนานตามยาว รังไข่มีขนาดใหญ่ติดกับชั้นของกลีบดอก ส่วนเกสรตัวเมียจะติดกับรังไข่ด้านบนตามแนวรัศมี และก้านดอกมีสีน้ำตาลอวบกลมส่งดอกลอยขึ้นสู่ผิวน้ำ (สายบัว) โดยดอกบัวสายจะบานในช่วงเวลาใกล้ค่ำถึงตอนสายของวันรุ่งขึ้นและจะหุบในเวลากลางวัน
           ผลบัวสาย ผลสดเรียกว่า "โตนด" มีเนื้อและเมล็ดลักษณะกลมจำนวนมาก เมล็ดมีขนาดเล็กสีดำอยู่ในเนื้อหุ้ม มีลักษณะเป็นวุ้นใส ๆ

สรรพคุณของบัวสาย
1. ช่วยบำรุงร่างกาย (หัว)
2. ช่วยบำรุงกำลัง (ดอก, เมล็ด)
3. ช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย (หัว, เมล็ด)
4. ช่วยบำรุงหัวใจ ทำให้สดชื่น (ดอก, หัว)
5. ในประเทศฟิลิปปินส์มีการใช้รักษาโกโนเรีย แต่ไม่ได้ระบุส่วนที่ใช้ไว้ ด้วยการนำมาถูที่หน้าจะช่วยทำให้ง่วงนอน (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
6. ช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง (สายบัว)
7. ดอกช่วยแก้ไข้ตัวร้อน (ดอก)
8. ช่วยแก้อาการร้อนใน (ดอก)
9. ก้านบัวสายมีรสจืดและเย็น ช่วยบรรเทาความร้อนในร่างกาย (ก้านบัว)
10. สายบัวมีเบตาแคโรทีน ซึ่งช่วยป้องกันและต้านโรคมะเร็งในลำไส้ (สายบัว)
11. ช่วยบำรุงครรภ์ของสตรี (ดอก, หัว, เมล็ด)
12. บัวขมจัดอยู่ใน "ตำรับยาพิกัดบัวพิเศษ" อันประกอบไปด้วยบัวขม บัวเผื่อน บัวหลวงขาว บัวหลวงแดง บัวสัตตบงกชขาว และบัวสัตตบงกชแดง ซึ่งเป็นตำรับยาที่ช่วยแก้ไข้อันเกิดเพื่อธาตุทั้งสี่ แก้ไข้ตัวร้อน แก้เสมหะ แก้อาการร้อนในกระหายน้ำ แก้ลม และ
      โลหิต ช่วยบำรุงกำลัง บำรุงหัวใจ ทำให้สดชื่น (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
13. ดอกบัวขมจัดอยู่ใน "ตำรับยาหอมเทพจิตร" โดยมีดอกบัวขมและสมุนไพรอื่น ๆ อีกหลายชนิดในตำรับ ซึ่งเป็นตำรับยาที่มีสรรพคุณช่วยแก้ลมกองละเอียด (อาการหน้ามืดตาลาย สวิงสวาย) แก้อาการใจสั่น และช่วยบำรุงดวงจิตให้ชุ่มชื่น (ช่วยผ่อนคลาย
      ความเครียด ทำให้อารมณ์แจ่มใส สบายใจ หรือสุขใจ) (ดอก)
หมายเหตุ : สำหรับวิธีการใช้หัว ให้ใช้หัวบัวสายประมาณ 30 กรัม ใส่น้ำ 1 ลิตร ต้มนานประมาณ 15 นาที แล้วนำมาดื่มก่อนอาหารครั้งละครึ่งถ้วยกาแฟวันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น

ประโยชน์ของบัวสาย
1. ก้านดอกและไหลใช้รับประทานได้ โดยนำก้านดอกหรือใบมาลอกผิวหรือเปลือกที่หุ้มอยู่ออกแล้วเด็ดดอกและใบทิ้ง แล้วนำมาใช้รับประทานเป็นผักสดร่วมกับน้ำพริก หรือนำไปปรุงเป็นอาหาร เช่น การทำแกง ผัด แกงส้ม แกงกะทิ ฯลฯ นอกจากนี้ยังสามารถ
    นำไปใช้ทำขนมได้อีกด้วย
2. บัวสายสามารถใช้วัดความลึกของระดับน้ำบริเวณนั้นได้ เนื่องจากความยาวของก้านใบและก้านดอกจะมีเท่ากับความลึกของแหล่งน้ำ
3. เด็ก ๆ ในชนบทมักชอบเด็ดสายบัวเป็นท่อนสั้น ๆ ที่มีใยบัวติดกันอยู่ ใช้เป็นสร้อยคอหรือสร้อยข้อมือได้
4. ก้านดอกของบัวสายสามารถนำมาสกัดย้อมสีเส้นไหมได้ โดยจะให้สีเทา
5. นอกจากจะใช้รับประทานเป็นผักแล้ว บัวสายยังใช้ปลูกเป็นไม้ประดับสระน้ำได้เป็นอย่างดี เนื่องจากบัวสายมีอยู่ด้วยกันหลายชนิด มีขนาดและสีของดอกที่แตกต่างกันออกไป อีกทั้งยังมีราคาไม่แพงและดูแลรักษาง่าย

คำสำคัญ : บัวสาย

ที่มา : https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). บัวสาย. สืบค้น 25 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1650&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1650&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

อีเหนียว

อีเหนียว

อีเหนียว จัดเป็นไม้พุ่ม ลำต้นตั้งตรง มีความสูงของต้นประมาณ 60-150 เซนติเมตร กิ่งก้านอ่อน แตกกิ่งก้านที่ปลาย ตามลำต้นมีขนปกคลุมหนาแน่นถึงปานกลาง มีขนาดยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร มีเขตการกระจายพันธุ์แอฟริกา เอเชีย มาเลเซีย และพบในทุกภาคของประเทศไทยตามป่าโปร่งทั่วไป ป่าเปิดใหม่ ที่ระดับสูงถึง 1,900 เมตร จากระดับน้ำทะเล

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 2,429

ตะขาบหิน

ตะขาบหิน

ต้นตะขาบหิน มีถิ่นกำเนิดในหมู่เกาะทางภาคตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิก จัดเป็นพรรณไม้พุ่มขนาดเล็ก แตกกิ่งก้านจำนวนมาก มีความสูงของต้นประมาณ 1-2 เมตร เปลือกลำต้นเรียบเป็นสีน้ำตาล ต้นอ่อนแบนเป็นสีเขียว เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและกลมขึ้น ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการปักชำ พรรณไม้ชนิดนี้มักขึ้นตามพื้นที่ป่าทั่วไป โดยจะกระจายอยู่ตามภาคต่าง ๆ ของประเทศไทย ออกดอกและติดผลในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนกรกฎาคม

เผยแพร่เมื่อ 01-06-2020 ผู้เช้าชม 4,649

สันพร้าหอม

สันพร้าหอม

สันพร้าหอม จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกเนื้ออ่อนชนิดหนึ่ง มีอายุได้หลายปี ลำต้นตั้งตรง มีความสูงของต้นได้ประมาณ 70-120 เวนติเมตร โคนต้นเรียบเป็นมัน เกลี้ยง ตามลำต้นเป็นร่อง แต่จะค่อนข้างเกลี้ยงเล็กน้อย รากแก้วใต้ดินแตกแขนงมาก ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ดและการปักชำกิ่ง จัดเป็นพรรณไม้กลางแจ้งที่ขึ้นได้ในดินทุกชนิด ชอบดินร่วนและชุ่มชื้น ความชื้นปานกลาง มีแสงแดดส่องปานกลาง พบขึ้นบริเวณตามหุบเขาหรือลำธาร และพบปลูกมากทางภาคเหนือและภาคอีสาน

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 3,521

ว่านไพลดำ

ว่านไพลดำ

ว่านไพลดำ มีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกมีอายุหลายปี มีลำต้นอยู่ใต้ดิน ขึ้นเป็นกอ ความสูงของต้นประมาณ 1.5-3 เมตร และอาจสูงได้ถึง 5 เมตร เหง้าอยู่ใต้ดิน เนื้อภายในเหง้าเป็นสีม่วง สีม่วงจางๆ หรือสีม่วงอมน้ำตาล มีกลิ่นฉุนร้อนคล้ายไพล ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการแยกหน่อ ต้องใช้ดินที่มีสีดำในการปลูก (ถ้าเป็นสีอื่นปลูกจะทำให้ต้นตาย เพราะว่านชนิดนี้เจริญงอกงามได้ในดินสีดำเท่านั้น) พบขึ้นได้ตามป่าเขตร้อนชื้น 

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 9,022

ใบระบาด

ใบระบาด

ใบระบาด จัดเป็นพรรณไม้เถาเลื้อยพันต้นไม้อื่น มีความยาวได้ถึง 10 เมตร ตามเถามีขนนุ่มสีขาวขึ้นปกคลุม ทุกส่วนมียางสีขาว เถาอายุน้อยจะนุ่มและอวบน้ำ แต่พอแก่แล้วเถาจะแข็งเป็นไม้ ทอดยาวเหยียดไปได้ไกล ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการตอน ทาบกิ่ง และปักชำ มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย เป็นพรรณไม้กลางแจ้งที่ชอบแสงแดดจัด เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุยที่มีอินทรียวัตถุมาก

เผยแพร่เมื่อ 04-06-2020 ผู้เช้าชม 3,588

สมอพิเภก

สมอพิเภก

สมอพิเภก (Belleric Myrobalan) เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ที่พบได้ทั่วไปในป่า พบมากบริเวณที่ชุ่มข้างริมน้ำหรือแหล่งน้ำ นิยมใช้ประโยชน์จากผล และเปลือก ในด้านสมุนไพรทางยา และในด้านอื่นๆที่ได้จากต้น อาทิ การแปรรูปไม้ การให้ร่มเงา เป็นต้น

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 2,253

ต้นหมีเหม็น

ต้นหมีเหม็น

มีชื่อพฤกษศาสตร์ว่า Litsea glutinosa C.B. Robinson ในวงศ์ Lauraceae บางถิ่นเรียก ดอกจุ๋ม(ลำปาง) ตังสีไพร(พิษณุโลก) ทังบวน(ปัตตานี) มะเย้อ ยุบเหยา(พายัพ) มัน(ตรัง) หมี(อุดรธานี) หมูทะลวง(จันทบุรี) หมูเหม็น(แพร่) อีเหม็น(กาญจนบุรี ราชบุรี) กำปรนบาย(ชอง-จันทบุรี) มือเบาะ(มาเลย์-ยะลา)

เผยแพร่เมื่อ 06-02-2017 ผู้เช้าชม 2,993

กล้วยไข่

กล้วยไข่

กล้วยไข่เป็นผลไม้และพืชสมุนไพรจำพวกต้น มีลำต้นสูงประมาณ 2.5 เมตร ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 15-20 เซนติเมตร ใบรูปไข่ม้วนงอขึ้น ปลายแหลม มีร่องกว้าง ก้านใบสีเขียวอมเหลือง โคนก้านมีปีกสีชมพู บริเวณช่อดอกมีขนอ่อน ส่วนผล 1 เครือ มีประมาณ 6-7 หวี ใน 1 หวีมีผลประมาณ 12-14 ผลด้วยกัน เป็นผลที่ค่อนข้างเล็ก เปลือกบาง ผลสุกสีเหลือง เมื่อผลงอมอาจมีจุดดำๆ ประปราย รสชาติหวานอร่อย

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 10,077

คาง

คาง

คางเป็นพรรณไม้ยืนต้นที่มีขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ซึ่งตามกิ่งก้านจะมีขนขึ้นปกคลุม ต้นสูงใหญ่  ใบดกหนาทึบ  ใบเล็กเป็นฝอยคล้ายใบมะขามไทย  คล้ายใบทิ้งถ่อนหรือ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก มีจำนวน 3-4 ใบ ใบย่อยของแต่ละเป็นใบประกอบจะมีจำนวน 15-25 คู่ เรียงอยู่ตรงข้ามกัน ไม่มีก้านใบ ใบย่อยเป็นรูปขอบขนาน ปลายใบมนหรือใบแหลม

เผยแพร่เมื่อ 23-02-2017 ผู้เช้าชม 4,168

พุดซ้อน

พุดซ้อน

พุดซ้อน มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีน บ้างก็ว่าจัดเป็นพรรณไม้ดั้งเดิมของบ้านเรานี่เอง โดยจัดเป็นไม้พุ่มเตี้ยหรือไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีความสูงได้ประมาณ 1-2 เมตร มีลักษณะทั่วไปคล้ายต้นพุดจีบ แต่จะแตกต่างกันที่ว่าพุดซ้อนจะไม่มีสีขาวอยู่ในต้นและใบเหมือนพุดจีบ ลำต้นแตกกิ่งก้านมาก ลำต้นและกิ่งก้านเป็นสีเขียว ใบขึ้นดกหนาทึบ ส่วนรากใต้ดินเป็นสีเหลืองอ่อน นิยมขยายพันธุ์ด้วยวิธีการตอนกิ่ง เนื่องจากเป็นวิธีที่เหมาะสมที่สุด ต้องการแสงแดดจัดและความชื้นสูง หากปลูกในที่มีแสงแดดไม่เพียงพอจะทำให้ไม่ค่อยออกดอก และการตัดแต่งทรงพุ่มให้โปร่งจะช่วยทำให้ดอกมีขนาดใหญ่ขึ้นได้ โดยมักพบขึ้นในป่าดงดิบทางภาคเหนือ 

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 12,402