พุทธรักษา

พุทธรักษา

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้ชม 25,593

[16.4258401, 99.2157273, พุทธรักษา]

พุทธรักษา ชื่อสามัญ Indian shot, India short plant, India shoot, Butsarana, Cannas, Canna lily

พุทธรักษา ชื่อวิทยาศาสตร์ Canna indica L. จัดอยู่ในวงศ์ CANNACEAE

สมุนไพรพุทธรักษา มีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ ว่า บัวละวงศ์ (ลำปาง), บัวละวง (ลพบุรี), พุทธศร (พายัพ), พุทธสร (ภาคเหนือ), สาคูหัวข่า สาคูมอญ (ภาคกลาง), ปล้ะย่ะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), กวงอิมเกีย เซียวปาเจีย มุยหยิ่งเจีย (จีน), เหม่ยเหยินเจียว เสี่ยวปาเจียว (จีนกลาง) เป็นต้น

ลักษณะของพุทธรักษา

  • ต้นพุทธรักษา เป็นพรรณไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย แอฟริกา และอเมริกา และภายหลังได้กระจายพันธุ์ออกไปยังเอเชียเขตร้อน โดยจัดเป็นไม้ล้มลุกเนื้ออ่อน มีอายุหลายปี ขึ้นรวมกันเป็นกอและเป็นต้นเดี่ยวไม่แตกกิ่งก้านสาขา จะมีข้อแต่ค่อนข้างห่างกัน มีความสูงของลำต้นประมาณ 1.5-2.5 เมตร ลำต้นมีความเหนียวและอุ้มน้ำ มีเหง้าหัวสีขาวแตกแขนงอยู่ใต้ดิน (รากมีความเฉลี่ย 11.8 เซนติเมตร มีความยาวรอบรากเฉลี่ย 0.2 เซนติเมตร โดยความยาวของรากจะมีความสัมพันธ์กับขนาดของรากด้วย[6]) ส่วนของลำต้นเทียมบนดินจะเกิดจากใบเรียงซ้อนเป็นลำตรงกลม ทั้งต้นไม่มีขนปกคลุม แต่บางครั้งอาจพบผงเทียนไขปกคลุม ขยายพันธุ์ด้วยการแยกหน่อและวิธีการเพาะเมล็ด (แต่วิธีที่นิยมใช้และได้ผลดีคือวิธีการแยกหน่อ) ชอบดินเหนียวชุ่มชื้นและมีอินทรียวัตถุสูง หรือที่ระดับน้ำ 10-20 เซนติเมตร ชอบแสงแดดแบบเต็มวันถึงครึ่งวัน พุทธรักษาเป็นพันธุ์ไม้ที่มีการกระจายพันธุ์อยู่ในป่าเมืองไทยหลายชนิด โดยส่วนใหญ่มักจะพบขึ้นตามป่าดงดิบ ป่าดงดิบแล้งในที่ลุ่ม หรือตามลำห้วย 
  • ใบพุทธรักษา ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปขอบขนาน รูปรีแกมขอบขนานกว้าง หรือเป็นรูปรียาว ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ขอบใบเรียบเป็นสีเขียว สีแดง สีเขียวขลิบแดง หรือสีม่วงเข้ม ภายในเป็นสีอมม่วงแดง ใบมีขนาดกว้างประมาณ 15-25 เซนติเมตรและยาวประมาณ 35-60 เซนติเมตร แผ่นใบเป็นสีเขียวเข้ม เส้นใบคล้ายขนนก กลางใบเป็นเส้นนูนเห็นได้ชัด มีก้านใบยาวเป็นกาบใบหุ้มลำต้นซ้อนสลับกัน
  • ดอกพุทธรักษา ดอกจะมีหลายสีด้วยกัน เช่น สีแดง สีแดงอมเหลือง สีส้ม สีเหลือง สีชมพู สีขาว ฯลฯ สามารถออกดอกได้ตลอดปี โดยจะออกดอกเป็นช่อบริเวณปลายยอดของลำต้น ก้านช่อดอกยาว ช่อหนึ่งมีความยาวประมาณ 20-25 เซนติเมตร ช่อดอกมีดอกย่อยหลายดอก ประมาณ 8-10 ดอก ช่อดอกมีรูปคล้ายทรงกระบอก เมื่อดอกบานจะแตกออกเป็นกลีบ 3 กลีบ ปลายกลีบแหลม ดอกบานเต็มที่จะมีขนาดกว้างประมาณ 8-9 เซนติเมตร มีกลีบเลี้ยง 3 กลีบ เป็นสีเขียวอ่อนและมีขนาดเล็ก ยาวประมาณ 1.2 เซนติเมตร หุ้มอยู่บริเวณโคนดอก รูปไข่กลมรี ดอกมีผงเทียนไขปกคลุม มีเกสรเพศผู้เป็นหมันมีลักษณะคล้ายกลีบดอกเป็นสีส้มแดง
  • ผลพุทธรักษา ผลเป็นผลแห้ง ลักษณะเป็นรูปทรงกลม เป็นพู 3 พู ผลมีขนาดเท่ากับผลมะไฟ ผิวผลขรุขระ เปลือกนอกเป็นสีเขียวและมีขนหรือหนามอ่อน ๆ คล้ายกับลูกละหุ่งหรือลูกเร่ว โดยมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางยาวประมาณ 2.5 เซนติเมตร ภายในผลมีเมล็ดสีขาวหลายเมล็ด พอแก่เป็นสีน้ำตาล มัน 

สรรพคุณของพุทธรักษา

  1. เมล็ดมีรสเมาเย็น ใช้ตำพอกแก้อาการปวดศีรษะได้ (เมล็ด) ชาวชวาจะใช้เมล็ดนำมาบดให้เป็นผงใช้พอกบริเวณขมับแก้อาการปวดศีรษะ (เมล็ด)
  2. ดอกเป็นยาช่วยสงบจิต ทำให้หัวใจสดชื่น (ดอก)
  3. ดอกใช้เป็นยาขับพิษร้อน ขับน้ำชื้นในร่างกาย (ดอก)
  4. ช่วยลดความดันโลหิต (ดอก)
  5. ชาวอินเดียจะใช้เหง้าเป็นยาขับเหงื่อปัสสาวะในอาการไข้และอาการบวมน้ำ (เหง้า)
  6. เหง้ามีสรรพคุณแก้วัณโรค แก้อาการไอ (เหง้า)
  7. เหง้าใช้ต้มกินเป็นยาแก้อาเจียนเป็นเลือด กระอักเลือด และไอมีเลือด (เหง้า)
  8. ช่วยแก้อาเจียน (ใบ)
  9. ช่วยแก้อาการปวดฟัน ด้วยการใช้เหง้าแห้งผสมกับข้าวเหนียว แล้วนำมาตุ๋นกับไก่กิน (เหง้า)
  10. เหง้ามีรสเย็นฝาดขื่น เป็นยาบำรุงปอด แพทย์ตามชนบทจะใช้เหง้านำมาต้มกินเป็นยาบำรุงปอด (เหง้า)
  11. ใบช่วยแก้อาการจุกเสียด แก้ท้องเสีย (ใบ)
  12. ชาวชวาจะใช้น้ำคั้นจากเหง้าเป็นยาแก้อาการท้องร่วง (เหง้า)
  13. ช่วยแก้โรคบิด บิดเรื้อรัง (เหง้า)
  14. ช่วยแก้ประจำเดือนมาไม่เป็นปกติ ประจำเดือนมาไม่หยุดของสตรี (เหง้า) ตำรับยาแก้ประจำเดือนมาไม่หยุด ให้ใช้เหง้ากับดอกเข็ม (Ixora Chinensis Lam) นำมาตุ๋นร่วมกับไก่กิน หรือจะใช้เหง้าแห้งผสมกับข้าวเหนียวตุ๋นกับไก่กินก็ได้ (เหง้า)
  15. ช่วยแก้อาการตกขาวของสตรี (เหง้า) ตำรับยาแก้ตกขาว ระบุให้ใช้เหง้าแห้งผสมกับข้าวเหนียวนำมาตุ๋นกับไก่กิน (เหง้า)
  16. ช่วยแก้โรคตับอักเสบ แก้ตับอักเสบติดเชื้อ ตับอักเสบอย่างเฉียบพลันแบบดีซ่าน มีอาการตัวเหลือง ให้ใช้เหง้าสดนำมาต้มกับน้ำ แบ่งกินวันละ 2 เวลา เช้าและเย็น ติดต่อกัน 20 วัน (เป็น 1 รอบของการรักษา) และในระหว่างการรักษาห้ามกินกุ้ง ปลา ของเผ็ด จิงฉ่าย และน้ำมันพืช ซึ่งจากการรักษาผู้ป่วยจำนวน 52 ราย พบว่าผู้ป่วย 34 ราย หลังจากการรักษาเป็นเวลา 250 วัน มีอาการหายดีเป็นปกติ ส่วนผู้ป่วยอีก 18 ราย หลังจากการรักษาเป็นเวลา 30 วัน พบว่ามีอาการดีขึ้นเล็กน้อย (เหง้า)
  17. ชาวกัมพูชาจะใช้เหง้าต้มและคั้นเอาแต่น้ำดื่มเป็นยาแก้คุดทะราด และใช้ชะล้างทำความสะอาดบาดแผล (เหง้า)
  18. ดอกสด นำมาตำให้ละเอียดใช้พอกแผล ห้ามเลือด รักษาบาดแผลสด หรือบาดแผลมีหนอง แก้ฝีหนองได้ (ดอก) บ้างว่าใช้ดอกห้ามเลือดบาดแผลภายนอกให้ใช้ดอกแห้ง 10-15 กรัม นำมาต้มกับน้ำกิน (ดอก)
  19. เหง้าใช้เป็นยาตำพอกรักษาแผลอักเสบบวม ช่วยสมานแผล แก้ฝีหนองปวดบวม แก้ฟกช้ำ (เหง้า)

หมายเหตุ : ดอกและเหง้ามีรสขม ฝาดเล็กน้อย ดอกมีรสจืด ชุ่ม เป็นยาเย็น ออกฤทธิ์ต่อตับและลำไส้ใหญ่ วิธีการใช้ตาม [3] ถ้าเป็นดอกให้ใช้ครั้งละ 10-15 กรัม ถ้าเป็นเหง้าแห้งให้ใช้ครั้งละ 4-10 กรัม หากเป็นเหง้าสดให้ใช้ครั้งละ 35-70 กรัม นำมาต้มกับน้ำกิน และใช้ภายนอกให้ใช้ยาสด นำมาตำแล้วพอกแผล[3] ส่วนวิธีการเก็บมาใช้ ลำต้นใต้ดินหรือเหง้าสามารถขุดเก็บได้ตลอดปี นำมาตัดก้านใบและรากฝอยทิ้งแล้วล้างให้สะอาด หั่นเป็นแผ่น ๆ ตากให้แห้งเก็บไว้ใช้ หรือจะใช้สด ๆ เลยก็ได้

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของพุทธรักษา

  • มีรายงานการใช้เหง้าสดรักษาโรคตับอักเสบแบบเฉียบพลันและมีอาการตัวเหลือง โดยใช้เหง้าสด 60-120 กรัม (ใช้ไม่เกิน 275 กรัม) นำมาต้มกับน้ำกินวันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น ติดต่อกัน 20 วัน (คิดเป็น 1 รอบของการรักษา) ในระหว่างการรักษาห้ามรับประทานกุ้ง ปลา จิงฉ่าย ของเผ็ด และน้ำมัน โดยจากการรักษาคนไข้ตับอักเสบจำนวน 67 ราย พบว่าหายจำนวน 58 ราย มีอาการดีขึ้น 3 ราย และไม่เห็นผล 2 ราย โดยระยะเวลาการรักษามีตั้งแต่ 20 วันจำนวน 34 ราย, 30วัน จำนวน 18 ราย และรักษานานที่สุด 45-47 วัน จำนวน 6 ราย นอกจากนี้ยังมีการทดลองใช้ต้นพุทธรักษาร่วมกับรากคอเช่าและทิแบเปียง (Lespebesa pilosa (Thunb) Sicb.et zcc) เพื่อทำเป็นยารักษาคนไข้จำนวน 100 ราย และพบว่าหายจำนวน 92 ราย ส่วนอีก 8 ราย แก้ไขได้ในขั้นต้น

ประโยชน์ของพุทธรักษา

  1. เหง้าสามารถนำมาใช้ประกอบอาหารได้หลายแบบ เช่นเดียวกับเผือกและมัน
  2. ชาวมาเลเซียจะใช้เหง้าปรุงเป็นอาหาร
  3. ชาวอินเดียจะใช้ก้านใบผสมกับข้าว พริกไทย และน้ำ นำมาต้มให้เดือดให้วัวกินเป็นยาแก้พิษเนื่องจากไปกินหญ้ามีพิษมา
  4. ใยจากก้านใบยังสามารถนำมาใช้แทนปอกระเจาได้ในอุตสาหกรรมทำเชือกและถุงเท้า
  5. ลำต้นใต้ดินหรือเหง้าสามารถนำมาใช้ทำแป้งที่เรียกว่า Canna starch ได้
  6. ใบพุทธรักษาสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง เช่น การใช้มุงหลังคา ทำกระทง ทำเชือก
  7. เมล็ดสามารถนำมาใช้ทำเป็นสร้อยและร้อยเป็นสายประคำได้ โดยการเก็บเมล็ดที่โตเต็มที่แล้ว แต่ก่อนที่ผลจะสุกแกะเปลือกออกนำไปตากแห้ง เมล็ดจะแข็งและเป็นสีม่วงเข้ม แล้วนำมาเจาะรูร้อยเป็นสายประคำได้สวยงามมาก ส่วนชาวสเปนจะนำเมล็ดมาทำลูกปัด
  8. เครื่องดนตรีที่ชื่อว่าฮอชฮา (Hosha) ของชาวซิมบับเวที่ใช้เขย่านั้น ก็ใช้เมล็ดพุทธรักษาเป็นส่วนประกอบเช่นกัน
  9. ใบสามารถนำมาใช้ทำเป็นกระดาษสา ใช้ห่อของ และให้สีจากธรรมชาติ การสกัดสีจากใบพุทธรักษา มีการนำมาใช้แต่งงานศิลปะ วาดภาพ พิมพ์ภาพ ทั้งใบและกาบใบยังสามารถนำมาใช้ทำเป็นปุ๋ยหมักได้อีกด้วย
  10. กาบใบพุทธรักษานำมาตากแดดให้แห้ง สามารถนำมาประดิษฐ์เป็นของใช้หรือของเล่นต่างๆ ได้ เช่น ตุ๊กตา ปลาตะเพียน ฯลฯ
  11. ดอกพุทธรักษาสามารถนำมาสกัดสีทำเป็นสีสำหรับย้อมผ้าได้ แต่จะติดสีไม่มากนักและสีไม่สด และนิยมใช้ตัดดอกปักแจกัน
  12. ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไปตามริมสวนน้ำ ริมคูน้ำที่โล่งแจ้ง ตามร่องระบายน้ำ ริมถนนทางเดิน หรือปลูกลงในกระถางเพื่อประดับอาคารบ้านเรือนก็ได้
  13. เนื่องจากดอกพุทธรักษามีความสวยงามและมีหลายพันธุ์หลายสี แต่เมื่อดอกโรยควรตัดพุ่มใบนั้นทิ้งไป การดูแลรักษาก็ค่อนข้างง่าย เพราะสามารถทนทานต่อโรคต่างๆ ได้ดี
  14. ความหมายของดอกพุทธรักษาและความเป็นมงคล ตั้งแต่มีการกำหนดให้วันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปีเป็นวันพ่อแห่งชาติ ก็ได้มีการกำหนดให้ “ดอกพุทธรักษาสีเหลือง” เป็นดอกไม้สัญลักษณ์ประจำวันพ่อ ด้วยเพราะชื่ออันเป็นมงคลของคำว่า “พุทธรักษา” ที่หมายถึง พระพุทธเจ้าทรงปกป้องคุ้มครองให้มีแต่ความสงบสุขร่มเย็น การมอบดอกพุทธรักษาให้กับพ่อจึงเสมือนหนึ่งการบอกรักและเคารพบูชาพ่อ ซึ่งเป็นผู้สร้างความสงบสุขร่มเย็นให้แก่ครอบครัว 
  15. นอกจากนี้ในด้านของความเชื่อ คนไทยโบราณเชื่อว่าหากบ้านใดปลูกต้นพุทธรักษาไว้เป็นไม้ประจำบ้าน จะช่วยปกป้องคุ้มครองไม่ให้มีเหตุร้ายหรืออันตรายใด ๆ เกิดแก่บ้านและผู้อยู่อาศัย เพราะพุทธรักษาเป็นพรรณไม้มงคลที่เชื่อกันว่ามีพระเจ้าคุ้มครองรักษาให้มีแต่ความสงบสุข คือเป็นไม้มงคลนามนั่นเอง[7]และการปลูกไม้มงคลชนิดนี้เพื่อเอาคุณควรปลูกไว้ทางทิศตะวันตกของบ้าน และควรปลูกในวันพุธ

คำสำคัญ : พุทธรักษา

ที่มา : https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). พุทธรักษา. สืบค้น 27 กันยายน 2566, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1758&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1758&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

ครอบจักรวาล

ครอบจักรวาล

ลักษณะทั่วไป เป็นไม้พุ่มขนาดเล็กสูงประมาณ 0.5-2 เมตร ตั้งตรง สามารถแตกกิ่งก้านได้มากตามลำต้น และกิ่งก้านได้มากตามลำต้น และกิ่งก้าน จะมีขนอ่อนนุ่มสีเทาปกคลุม  ใบเป็นใบเดี่ยวออกจากลำต้นแบบสลับ ใบกว้างรูปร่างแบบใบโพธิ์ ปลายใบไม่เรียวแหลมมากเหมือนใบโพธิ์ ขอบใบเป็นหยัก ฐานใบโค้งมนเว้าเข้าหาก้านใบเป็นรูปหัวใจ ออกตามซอกใบ เป็นดอกเดี่ยว ก้านดอกยาว ใกล้ฐานดอกมีรอยต่อที่ก้านดอก ดอกจะมีกลีบเลี้ยงติดกันสีเขียว มีกลีบดอก 5 กลีบ สีเหลือง มีเกสรตัวผู้จำนวนมาก รังไข่อยู่ปลายสุดของดอกมีผนังรังไข่เรียงติดกันเป็นกลีบ รัศมีวงกลม  ผลมีลักษณะเป็นกลีบๆ เรียงติดกันคล้ายฟันเฟือง 15-20 กลีบ มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 ซม. หนา 1-1.5 ซม. ผลอ่อนมีสีเขียวเมื่อแก่จะมีสีน้ำตาล เมล็ดรูปไต

 

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 3,892

มะเดื่อหอม

มะเดื่อหอม

มะเดื่อหอม จัดเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก มีน้ำยางสีขาว ลำต้นมีความสูงได้ถึง 10 เมตร ไม่ค่อยแตกกิ่ง ลำต้นและกิ่งก้านมีขนแข็งและสากคาย มีสีน้ำตาลแกมสีเหลืองอ่อน เมื่อแก่ลำต้นจะกลวง ที่ตาดอกและใบอ่อนมีขนขึ้นหนาแน่น มีรากเก็บสะสมอาหารเป็นหัวอยู่ใต้ดิน มีกลิ่นหอม ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและวิธีการปักชำกิ่ง พบขึ้นตามป่าดิบแล้ง ป่าละเมาะ ป่าโปร่ง และที่โล่งแจ้ง มีเขตการกระจายพันธุ์ในประเทศศรีลังกา จีนตอนใต้ เอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

เผยแพร่เมื่อ 13-07-2020 ผู้เช้าชม 2,618

ปรู๋

ปรู๋

ลักษณะทั่วไป  ต้นเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ถึงขนาดกลาง สูง 5-15 เมตร ผลัดใบต้นมักบิด   คอดงอ เปลือกสีน้ำตาลแดงแตกล่อน เปลือกในสีเหลืองอ่อน  ใบรูปไข่กลับ รูปขอบขนาน หรือรูปหอกกลับ ดอกสีขาวนวล กลิ่นหอม ออกเป็นกระจุก ผลป้อม มีเนื้อเยื่อหุ้มเมล็ดแข็ง มีเมล็ดเดียว  เป็นไม้กลางแจ้ง ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด

 

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 2,160

กล้วยหอม

กล้วยหอม

สำหรับกล้วยหอมนับได้ว่าพืชสมุนไพรที่มีคุณค่าครบถ้วนจริงๆ โดยมีลำต้นสูงประมาณ 2.5-3.5 เมตร ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 20 เซนติเมตร ก้านใบเป็นร่องกว้างและมีปีก บริเวณกลางใบมีเส้นสีเขียวและมีขนตรงก้านเครือ มีผลเป็นเครือๆ 1 เครือจะมีประมาณ 4-5 หวี หวีละประมาณ 12-16 ผล ตรงปลายผลมีจุกสีเขียวแล้วค่อยเปลี่ยนเป็นสีดำเห็นเด่นชัด เปลือกบาง ผลดิบสีเขียว เมื่อสุกจะเป็นสีเหลืองทอง เนื้อในสีเหลืองเข้ม รสชาติหวานหอมและอร่อย

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 2,627

ยอเถื่อน

ยอเถื่อน

ลักษณะทั่วไป  เป็นไม้ยืนต้น สูง 15 เมตร  ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปวงรี  กว้าง 5-10 ซม. ยาว 10-20 ซม. หูใบอยู่ระหว่างก้านใบ ดอกช่อ ออกเป็นก้อนทรงกลมที่ซอกใบ กลีบดอกสีขาว ผลเป็นผลรวม รูปกลม  การขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดประโยชน์    สมุนไพร ตำรายาไทยใช้ ราก แก้เบาหวาน แก่นต้มน้ำดื่ม บำรุงเลือด ผลอ่อน แก้อาเจียน ผลสุก ขับระดู ขับลม ใบ อังไฟพอ ตายนึ่งปิดหน้าอก หน้าท้อง แก้ไอ แก้จุกเสียด หรือตำพอกศีรษะฆ่าเหา

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 1,854

จันผา

จันผา

ต้นจันผา จัดเป็นไม้พุ่มขนาดกลาง หรือเป็นไม้ต้นขนาดเล็ก ไม่ผลัดใบ มีความสูงของต้นประมาณ 1.5-4 เมตร (ต้นโตเต็มที่อาจมีความสูงถึง 17 เมตร) เรือนยอดเป็นรูปทรงไข่ มีเรือนยอดได้ถึง 100 ยอด เมื่อต้นโตขึ้นจะแผ่กว้าง ลำต้นตั้งตรง กลม มีแผลใบเป็นร่องขวางคล้ายข้อถี่ ๆ เปลือกต้นเป็นสีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลอมสีเทา แตกเป็นร่องตามยาว ไม่มีกิ่งก้าน ใบจะออกตามลำต้น ส่วนแก่นไม้ด้านในเป็นสีแดง ต้นเมื่อมีอายุมากขึ้นแก่นจะเปลี่ยนจากสีขาวเป็นสีแดง

เผยแพร่เมื่อ 26-05-2020 ผู้เช้าชม 12,145

มะตูม

มะตูม

มะตูมเป็นผลไม้ที่มีต้นกำเนิดมาจากประเทศอินเดีย เป็นพันธุ์ไม้มงคลประจำจังหวัดชัยนาทและยังถือว่าเป็นพันธุ์ไม้มงคลของศาสนาฮินดูที่นิยมปลูกในบ้านเราอีกด้วย โดยถือเป็นต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ของพระศิวะ ส่วนบ้านเรานั้นมีความเชื่อว่าใบมะตูมสามารถนำมาใช้ป้องกันภูตผีปีศาจ เสนียดจัญไรได้ และมะตูมยังจัดว่าเป็นทั้งผลไม้ที่ดีต่อสุขภาพและเป็นยาสมุนไพรที่เรารู้จักมาเนิ่นนาน เชื่อว่าหลายๆ คนคงเคยกินน้ำมะตูมกันมาบ้างแล้วล่ะ แต่น้อยคนนักที่จะรู้ถึงสรรพคุณของมะตูมหรือประโยชน์ของมะตูม 

เผยแพร่เมื่อ 13-07-2020 ผู้เช้าชม 1,063

พลูช้าง

พลูช้าง

ลักษณะทั่วไป  ต้นเป็นพันธุ์ไม้ที่มีลำต้นอวบ และชอบอาศัยเกาะตามไม้ยืนต้น ลำต้นโตวัดเส้นผ่าศูนย์กลางได้ประมาณ 1 ซม.  ใบจะเป็นใบเดี่ยวออกสลับกัน เป็นสีเขียวเข้ม ลักษณะใบจะเป็นแผ่นรูปไข่เบี้ยวรูปรี  ขอบใบเรียบ ตรงปลายใบเรียวแหลม ส่วนโคนใบจะกลม หรือจะเว้าเป็นรูปหัวใจ มีเส้นใบเห็นเด่นชัด ใบจะมีความกว้างประมาณ 6.5-15 ซม.  ดอกจะออกเป็นช่อเดี่ยว ๆ ตรงยอด มีลักษณะเป็นแท่งกลมยาวและมีก้านช่อ ดอกสั้นกว่าก้านใบมาก กาบหุ้มช่อดอกด้านนอกจะเป็นสีเขียว ส่วนด้านในจะเป็นสีเหลือง กาบหุ้มบนแห่งช่อดอกจะประกอบด้วยดอกสมบูรณ์เพศเป็นจำนวนมากแต่ละดอกจะมีเกสรตัวผู้อยู่ประมาณ 4-6 อัน และจะมีอยู่ 1 ช่อง

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 2,967

ยี่หร่า

ยี่หร่า

ยี่หร่าเป็นไม้พุ่มเตี้ย มีความสูงประมาณ 50-80 เซนติเมตร ลำต้นมีสีน้ำตาลแก่ แตกกิ่งก้านสาขาขนาดเล็ก กิ่งก้านไม่ใหญ่ ในช่วงปีแรกและปีที่สองจึงออกดอกออกผล ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและการปักชำกิ่ง เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุยและมีความชื้นปานกลางในสภาพกลางแจ้ง ใบยี่หร่าเป็นใบเดี่ยวออกตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ ลักษณะของเป็นรูปกลมรี โคนใบสอบ ปลายใบแหลม ขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย ใบสีเขียวสด ผิวใบสากมือ ใบยี่หร่ามีกลิ่นหอมเฉพาะตัว มีรสร้อน จึงช่วยดับกลิ่นคาวจากอาหารจำพวกเนื้อสัตว์เนื้อปลาได้เป็นอย่างดี

เผยแพร่เมื่อ 27-05-2020 ผู้เช้าชม 30,269

ผักโขม

ผักโขม

ลักษณะทั่วไป ต้นพืชล้มลุกอายุปีเดียว มีระบบรากแก้ว ลำต้นอวบน้ำตั้งตรง ลำต้นเรียบและมันมีรอยแตกเป็นร่องยาว สีเขียวเป็นมัน สีม่วง และสีแดงปนเขียว ทรงพุ่มสูงประมาณ 20-60 ซม. ใบเป็นใบเดี่ยวออกจากลำต้นแบบสลับ รูปร่างค่อนข้างจะเป็นสามเหลี่ยม หรือรูปไข่ฐานใบกว้าง ปลายใบค่อนข้างมน มักจะมีรอยหยักเล็กน้อย บริเวณปลายใบขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย ก้านใบเรียวเล็กมีความยาวใกล้เคียงกับความยาวของใบคือประมาณ 4-10 ซม. ดอกเป็นช่อแบบ Spike ออกตามปลายยอดและตามซอกใบ ดอกตัวผู้และดอกตัวเมีย เกิดแยกคนละดอกอยู่บนช่อดอกเดียวกัน ดอกย่อยมีขนาดเล็กสีม่วงปนเขียว ไม่มีก้านดอกย่อย จึงเห็นติดอยู่เป็นกระจุกรอบแกนกลางช่อดอก ซึ่งยาวประมาณ 10-20 ซม. ดอกย่อยมีใบประดับสีเขียวคล้ายใบรองรับอยู่ แต่มีขนาดสั้นกว่ากลีบดอก กลีบเลี้ยง และกลีบดอกหลอมรวมกัน (perianth)  มี 3 กลีบ มีเกสรตัวผู้ 3 อันมผิวหนัง ทำให้ผิวหนังอ่อนนุ่ม แก้พิษแมงป่อง ขับปัสสาวะ ขับเสมหะ แก้ไข้ ไข้หวัดต่างๆ

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 2,166