มะขามแขก

มะขามแขก

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้ชม 8,113

[16.4258401, 99.2157273, มะขามแขก]

มะขามแขก ชื่อสามัญ Alexandria senna, Alexandrian senna, Indian senna, Tinnevelly senna

มะขามแขก ชื่อวิทยาศาสตร์ Senna alexandrina Mill. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Cassia angustifolia M.Vahl, Cassia angustifolia Vahl) จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยราชพฤกษ์ (CAESALPINIOIDEAE หรือ CAESALPINIACEAE)

ลักษณะของมะขามแขก

  • ต้นมะขามแขก จัดเป็นไม้พุ่ม มีความสูงของต้นประมาณ 0.5-1.5 เมตร เป็นพืชทนแร้ง ไม่ชอบที่น้ำท่วมขัง เพราะจะทำให้รากเน่า สามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินที่ลักษณะร่อน มีความอุดมสมบูรณ์ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ดและการใช้ต้นกล้า
  • ใบมะขามแขก ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ ใบย่อยเป็นรูปวงรีและใบรูปหอก ใบแห้งมีสีเขียวอมน้ำตาล ขอบใบเรียบ ปลายและโคนใบแหลม โคนใบทั้งสองมีขนาดไม่สมมาตรกัน และมีขนนุ่มปกคลุมอยู่ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 2.5-5 เซนติเมตร ใบมีกลิ่นเหม็นเขียว มีรสเปรี้ยว หวานชุ่ม
  • ดอกมะขามแขก ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบตอนปลายกิ่ง กลีบดอกมีสีเหลือง
  • ผลมะขามแขก หรือ ฝักมะขามแขก ลักษณะของผลเป็นฝักแบน รูปขอบขนาน ฝักอ่อนมีสีเขียว

สมุนไพรมะขามแขก มีสรรพคุณที่โดดเด่นในเรื่องของการใช้เป็นยาถ่าย เหมาะสำหรับผู้สูงอายุ ผู้ที่มีกำลังน้อย เด็ก คนที่เป็นริดสีดวง หรือผู้ที่มีปัญหาท้องผูกอยู่บ่อย ๆ เนื่องจากมีสารแอนทราควิโนน (Anthraquinones) ที่มีฤทธิ์ช่วยกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ใหญ่ให้ถ่ายท้องได้ โดยส่วนที่นำมาใช้เป็นยาสมุนไพรได้แก่ ส่วนของใบแห้งและฝักแห้งที่มีอายุในช่วง 1 เดือนครึ่ง (หรือช่วงก่อนออกดอก) แต่ควรใช้เป็นครั้งคราวเท่านั้นเพื่อความปลอดภัย

สรรพคุณของมะขามแขก

  1. ใบและฝักมะขามแขกใช้ปรุงเป็นยาถ่าย ยาระบายได้ดี และช่วยแก้อาการท้องผูกได้ โดยให้นำใบมะขามแขกประมาณ 2 หยิบมือ (ประมาณ 2 กรัม) หรือจะใช้ฝักประมาณ 10-15 ฝัก นำมาต้มกับน้ำ 1 ถ้วยแก้วประมาณ 4 นาที และใส่เกลือเล็กน้อยเพื่อช่วยกลบรสเฝื่อน แล้วใช้รับประทานเพียงครั้งเดียว หรืออีกวิธีจะใช้วิธีการบดใบแห้งให้เป็นผง ใช้ชงกับน้ำดื่มก็ได้ สำหรับบางรายที่ดื่มแล้วเกิดอาการไซ้ท้อง หรืออาการปวดมวนท้อง (ใบจะออกฤทธิ์ไซ้ท้องมากกว่าฝัก) ให้แก้ไขด้วยการนำมาต้มรวมกับยาขับลมปริมาณเพียงเล็กน้อย เช่น กานพลู ขิง อบเชย กระวาน เพื่อช่วยบรรเทาอาการไซ้ท้องและเพื่อแต่งรสให้ดีขึ้น (ใบ, ฝัก)
  2. ใบมะขามแขกช่วยทำให้อาเจียน (ใบ)
  3. ช่วยถ่ายพิษไข้ (ใบ, ฝัก)
  4. ช่วยถ่ายพิษเสมหะ (ใบ)
  5. ช่วยแก้อาการสะอึก (ใบ)
  6. ช่วยขับลมในลำไส้ (ใบ, ฝัก)
  7. ช่วยกระตุ้นการเคลื่อนไหวของลำไส้ (ใบ)
  8. ช่วยถ่ายพิษอุจจาระเป็นมูก (ใบ)
  9. ช่วยแก้ริดสีดวงทวาร (ใบ, ฝัก)
  10. ใบใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ (ใบ)
  11. ช่วยถ่ายโรคบุรุษ (ใบ)
  12. ช่วยถ่ายน้ำเหลือง (ใบ)
  13. ช่วยลดอาการบวมน้ำ (ใบ)
  14. มีรายงานว่าได้มีการใช้มะขามแขกในคนไข้หลังผ่าตัดคว้านต่อมลูกหมาก และพบว่ามะขามแขกช่วยทำให้ถ่ายอุจจาระที่มีลักษณะอันพึงประสงค์ได้ดีกว่าการใช้ Milk Of Magnesia (MOM) นอกจากนี้แคลเซียมเซนโนไซต์ ยังช่วยทำให้ผู้ป่วยสูงอายุหลังการผ่าตัดสามารถขับถ่ายอุจจาระได้คล่องยิ่งขึ้น
  15. ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของมะขามแขก ช่วยในการขับถ่ายอุจจาระ ต่อต้านการก่อกลายพันธุ์ และต้านเชื้อแบคทีเรีย

ประโยชน์ของมะขามแขก

  • ปัจจุบันมีการนำมะขามแขกมาแปรรูปเป็นสินค้าอย่างหลากหลาย เช่น มะขามแขกแคปซูล ยาชงสมุนไพรมะขามแขก เป็นต้น

ข้อควรรระวังเกี่ยวกับมะขามแขก

  • สำหรับหญิงตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร หรือในหญิงมีประจำเดือน ห้ามรับประทานมะขามแขก แต่สำหรับหญิงให้นมบุตร แม้ว่าสารแอนทราควิโนน (Anthraquinones) จะสามารถผ่านออกมากับน้ำนมได้เมื่อใช้ในขนาดปกติ แต่ว่าความเข้มข้นของสารดังกล่าวจะไม่ส่งผลต่อทารกที่รับน้ำนมแต่อย่างใด จึงสามารถใช้มะขามแขกเป็นยาระบายได้ (แต่ไม่แนะนำให้ใช้) (Reynolds, 1989; Baldwin, 1963)
  • ห้ามใช้สมุนไพรมะขามแขกในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 10 ปี
  • มะขามแขกมีฤทธิ์ในการกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ จึงไม่ควรใช้ในผู้ป่วยที่มีอาการปวดเกร็งในช่องท้อง ไส้ติ่งอักเสบ โรคลำไส้ใหญ่ส่วนล่างอักเสบ ลำไส้อุดตัน หรือมีอาการปวดท้องโดยไม่ทราบสาเหตุ (Reynolds, 1989)
  • ผลข้างเคียงมะขามแขก สำหรับบางรายอาจมีอาการไซ้ท้องหรืออาการปวดมวนได้ท้องได้
  • การใช้มะขามแขกเป็นยาระบาย ให้กินในช่วงก่อนนอน โดยยาจะออกฤทธิ์ประมาณ 8-10 ชั่วโมงหลังจากรับประทาน โดยตัวยาจะทำให้อุจจาระมีมวลมากขึ้น ทำให้อุจจาระมีลักษณะนิ่ม ขับถ่ายได้สะดวก
  • เมื่อใช้ในการรักษาอาการท้องผูก ควรใช้เป็นครั้งคราว หรือใช้ยาเท่าที่จำเป็น และใช้รักษาในระยะเวลาสั้น ๆ ไม่ใช้ติดต่อกันเกินกว่า 2 สัปดาห์ เพราะถ้าใช้ติดต่อกันนานอาจจะทำให้ลำไส้ชินกับยา ส่งผลให้ต้องใช้ยาตลอดจึงจะขับถ่ายได้ ทางที่ดีหากคุณมีอาการท้องผูก แนะนำว่าควรใช้ยาสมุนไพรมะขามแขกเท่าที่จำเป็น และหันมารับประทานผักหรืออาหารที่มีกากใยอย่างจริงจัง ออกกำลังกายเป็นประจำ ดื่มน้ำอย่างเพียงพอ ขับถ่ายให้เป็นเวลา
  • การใช้สมุนไพรมะขามแขกติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน อาจก่อให้เกิดพิษต่อตับได้ (Malmquist, 1980) และอาจทำให้อิเล็กโทรไลต์ในเลือดต่ำได้ ทำให้ร่างกายสูญเสียธาตุโพแทสเซียม ทำให้เลือดมีภาวะเป็นกรดหรือด่าง การดูดซึมผิดปกติ ทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย น้ำหนักลด มีความดันโลหิตต่ำในผู้สูงอายุ และอาจทำลายเซลล์ประสาทในลำไส้ได้
  • การใช้มะขามแขกในทางที่ผิด อาจทำให้ปริมาณของแกมมา-โกลบูลินในเลือดต่ำลง และทำให้นิ้วมือนิ้วเท้ามีลักษณะใหญ่และหนา (Finger clubbing)
  • การใช้มะขามแขกอาจทำให้กระดูกบริเวณข้อมีการเจริญเติบโตที่ผิดปกติได้ (Hypertrophic Osteoarthropathy)
  • การใช้สมุนไพรมะขามแขกเป็นยาระบายหรือแก้อาการท้องผูก หากใช้ในปริมาณที่เหมาะสมจะก็จะไม่มีอันตราย แต่หากใช้กินวันละหลาย ๆ รอบ หรือใช้ในปริมาณที่มากเกินไป ก็จะทำให้เสียน้ำจากการขับถ่ายมาก ทำให้ร่างกายทรุดโทรมลง รู้สึกไม่มีแรง และอาจถึงขั้นช็อกจนเสียชีวิตได้
  • ไม่ควรใช้มะขามแขกร่วมกับยาต้านฮีสตามีนซึ่งเป็นยาแก้แพ้ เพราะอาจจะทำให้ฤทธิ์การเป็นยาระบายลดน้อยลง (Erspamer and Paolini, 1946)
  • หากจำเป็นต้องใช้มะขามแขกติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ๆ คุณควรรับประทานอาหารเสริมที่มีโพแทสเซียมสูง ๆ ควบคู่ไปด้วย เพื่อป้องกันไม่ให้ร่างกายขาดธาตุโพแทสเซียม (Ploss, 1975; Levine et al., 1981)
  • มะขามแขกไม่ควรใช้เป็นยาลดความอ้วน เนื่องจากมันมีฤทธิ์แค่ช่วยในการขับถ่าย เนื่องจากสิ่งที่ถูกจับออกนั้นจะเป็นกากอาหารและน้ำในร่างกาย ส่วนไขมันก็ยังอยู่ในตัวเราเหมือนเดิม ไม่ได้ถูกขับออกไปพร้อมของเสีย

 

คำสำคัญ : มะขามแขก

ที่มา : https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). มะขามแขก. สืบค้น 27 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1695&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1695&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

ขมิ้นเครือ

ขมิ้นเครือ

ต้นขมิ้นเครือ จัดเป็นพรรณไม้เลื้อยหรือไม้เถาเนื้อแข็ง ทุกส่วนเกลี้ยง ยกเว้นมีต่อมที่ใบ ลำต้นมีเนื้อไม้เป็นสีเหลือง เมื่อสับหรือฟันจะมียางสีเหลือง มีรอยแผลเป็นตามก้านใบที่หลุดร่วงไป ซึ่งรอยแผลเป็นจะมีลักษณะเป็นรูปถ้วย[1],[2] ส่วนรากสดที่อายุน้อยและขนาดเล็กจะมีรูปร่างโค้งงอไปมา ลักษณะค่อนข้างแบน และมีร่องคล้ายแอ่งเล็กอยู่ตรงกลางตลอดความยาวของราก ส่วนผิวนั้นเรียบเป็นสีน้ำตาลอมเขียวหรือเป็นสีเทาปนน้ำตาล บางตอนของรากมีรอยแตกเล็ก ๆ พาดขวางอยู่ ส่วนรากที่มีอายุมากและมีขนาดใหญ่

เผยแพร่เมื่อ 18-05-2020 ผู้เช้าชม 5,805

เคี่ยม

เคี่ยม

ต้นเคี่ยม จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ลำต้นตั้งตรง มีความสูงประมาณ 20-40 เมตร ลักษณะเรือนยอดเป็นพุ่มทึบ รูปเจดีย์แบบต่ำ ๆ ส่วนเปลือกต้นเป็นสีน้ำตาล เปลือกเรียบ มีรอยด่างสีเทาและสีเหลืองสลับกัน และมีต่อมระบายอากาศกระจายอยู่ทั่วไป เปลือกด้านในเป็นสีน้ำตาลอ่อน มีชันใสตามลำต้นและจะจับกันเป็นก้อนสีเหลืองเมื่อทิ้งไว้นานๆ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ด (โดยเด็ดปีกออกก่อนการนำไปเพาะ) และวิธีการตอนกิ่ง

เผยแพร่เมื่อ 25-05-2020 ผู้เช้าชม 5,843

ขึ้นฉ่าย

ขึ้นฉ่าย

ขึ้นฉ่ายเป็นผักที่ใบคล้ายกับผักชี แต่ใบใหญ่กว่าและมีกลิ่นฉุน โดยขึ้นฉ่ายเป็นชื่อผักที่มาจากภาษาจีน หรือที่คนไทยเรียกว่า ผักข้าวปีน, ผักปืน, ผักปิ๋ม เป็นต้น ผักขึ้นฉ่าย มีอยู่ 2 สายพันธุ์ สายพันธุ์แรกก็คือ ขึ้นฉ่ายฝรั่ง ลักษณะต้นจะอวบใหญ่มาก ลำต้นมีความสูงประมาณ 40-60 เซนติเมตร ลำต้นขาวใบเหลืองอมเขียว และอีกสายพันธุ์คือ ขึ้นฉ่ายจีน หรือ "Chinese celery" ซึ่งจะมีขนาดของลำต้นที่เล็กกว่า มีความสูงประมาณ 30 เซนติเมตร และใบค่อนข้างแก่ ส่วนสรรพคุณก็จะคล้ายๆ กัน

เผยแพร่เมื่อ 25-05-2020 ผู้เช้าชม 11,093

ผักบุ้ง

ผักบุ้ง

ผักบุ้งมีชื่อเรียกอื่นว่าผักทอดยอด เป็นอาหารเพื่อสุขภาพที่เรามักจะคุ้นเคยกันมาตลอดว่ามีส่วนช่วยในการบำรุงสายตา แต่จริงๆ แล้วผักชนิดนี้ยังมีประโยชน์มากกว่านั้น เพราะอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่สำคัญๆ แต่ก่อนจะไปรู้ถึงประโยชน์มาดูกันก่อนว่าผักบุ้งที่นิยมนำมาใช้รับประทานนั้นมีสายพันธุ์อะไรบ้าง ซึ่งในประเทศไทยจะแบ่งออกเป็น 2 สายพันธุ์หลัก ๆ คือ ผักบุ้งไทยและผักบุ้งจีน 

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 6,177

ตรีผลา

ตรีผลา

ตรีผลา (Triphala) (อ่านออกเสียงว่า ตรี-ผะ-ลา) คืออะไร ? คำว่าตรี แปลว่า สาม ส่วนคำว่าผลานั้นหมายถึงผลไม้ จึงหมายถึงผลไม้ 3 อย่าง ซึ่งประกอบไปด้วยลูกสมอพิเภก (Terminalia belerica (Gaertn.) Roxb.), ลูกสมอไทย (Terminalia chebula Retz.), ลูกมะขามป้อม (Phyllanthus emblica Linn.) สรุปก็คือ ตรีผลาเป็นยาสมุนไพรที่เป็นส่วนผสมของสมอพิเภก สมอไทย และมะขามป้อม เมื่อผลไม้ทั้งสามตัวนี้มารวมกันก็จะมีสรรพคุณทางยาที่ช่วยควบคุมและกำจัดสารพิษในร่างกาย ซึ่งจะส่งเสริมสรรพคุณซึ่งกันและกันเป็นอย่างดี

เผยแพร่เมื่อ 01-06-2020 ผู้เช้าชม 2,397

ผักโขมสวน

ผักโขมสวน

ต้นผักโขมสวน จัดเป็นไม้ล้มลุกขนาดเล็ก ลักษณะของลำต้นตั้งตรง มีความสูงได้ถึง 1.30 เมตร ส่วนยอดมีขนสั้นปกคลุม เจริญเติบโตได้เร็ว ต้องการความชื้นสูง มีแสงแดดตลอดวัน และชอบดินร่วน สามารถพบได้ทั่วไปของทุกภาค ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับกัน ลักษณะของใบเป็นรูปรีถึงรูปไข่ มีความกว้างประมาณ 6-10 เซนติเมตรและยาวประมาณ 15-20 เซนติเมตร ออกดอกเป็นช่อเชิงลดที่ปลายกิ่ง ดอกมีสีเขียวอ่อนหรือสีแดง ช่อดอกมีขนาดประมาณ 4-25 มิลลิเมตร

เผยแพร่เมื่อ 27-05-2020 ผู้เช้าชม 2,626

มะเขือม่วง

มะเขือม่วง

ต้นมะเขือม่วง จัดเป็นพืชล้มลุกหรือไม้พุ่มที่มีความสูงประมาณ 1-1.5 เมตร ลำต้นมีขนนุ่มปกคลุมอยู่ทั่วไปและอาจมีหนามเล็ก ๆ แต่ไม่มากนัก สามารถออกดอกและผลได้ตลอดทั้งปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ใบเป็นใบเดี่ยวขนาดใหญ่ ออกสลับข้างกัน ลักษณะของใบเป็นรูปค่อนข้างกลม ปลายใบแหลม โคนใบเบี้ยว ส่วนขอบใบหยักหรือเป็นคลื่น ท้องใบมีขนหนาสีเทา ออกดอกเดี่ยวหรือออกเป็นช่อตามซอกใบ ดอกเป็นดอกแบบสมบูรณ์เพศ ผลมีลักษณะกลมรียาวทรงหยดน้ำ ผิวผลเรียบเป็นสีม่วง ขนาดของผลขึ้นอยู่กับสายพันธุ์

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 10,270

หมาก

หมาก

หมาก มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชียเขตร้อน จัดเป็นไม้ยืนต้นจำพวกปาล์ม ลำต้นตั้งตรง เป็นต้นเดี่ยวไม่แตกกิ่งก้าน ลักษณะของลำต้นเป็นรูปทรงกระบอก เปลือกลำต้นเป็นรอยขวั้นรอบๆ ขึ้นไปตลอดลำต้น ในระยะแรกจะเจริญเติบโตด้านกว้างและด้านสูง แต่หลังจากหยุดการเจริญเติบโตจะเจริญเติบโตด้านความสูง ต้นหมากมีตายอดส่วนปลายสุดของลำต้น ถ้ายอดตายหมากจะตาย ตายอดจะเป็นที่เกิดของใบหลังจากใบร่วงหล่นจะทิ้งรอยติดของใบไว้ เรียกว่าข้อ ข้อของต้นหมากสามารถคำนวณหาอายุหมากได้ 1 ปี โดยหมากจะมีใบหรือข้อเพิ่มขึ้น 5 ใบ หรือ 5 ข้อ ต้นหมากจะมีเนื้อเป็นเสี้ยนยาวจับตัวกันแน่นบริเวณเปลือกนอกลึกเข้าไปประมาณ 2 เซนติเมตร 

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 28,091

รางจืด

รางจืด

ลักษณะทั่วไป ต้นรางจืด เป็นไม้เลื้อยหรือไม้เถาที่มีเนื้อแข็ง ลำต้นหรือเถานั้นจะกลมเป็นปล้อง มีสีเขียวสดหรือสีเขียวเข้ม ลำต้นไม่มีขนและไม่มีมือจับเหมือนกับตำลึง และมะระ แต่อาศัยลำต้นในการพันรัดขึ้นไป รางจืดเป็นพืชในเขตร้อนและเขตอบอุ่นของทวีปเอเชีย จึงสามารถขึ้นได้ทั่วไปตามป่าดิบชื้นของประเทศไทยทั่วทุกภาค เจริญเติบโตได้เร็วมาก และขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เถาในการปักชำ ใบรางจืด เป็นใบเดี่ยวออกตรงข้ามกัน ลักษณะของใบคล้ายรูปหัวใจหรือรูปใบขอบขนานหรือเป็นรูปไข่ โคนใบมนเว้า ปลายใบเรียวแหลม ใบกว้างประมาณ 4-7 เซนติเมตร และยาวประมาณ 8-14 เซนติเมตร มีเส้นอยู่ 3 เส้นออกจากโคนใบ

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 4,658

ชะพลู

ชะพลู

ชะพลู (Wildbetal Leafbush) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้น ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคใต้เรียก นมวา ส่วนภาคอีสานเรียก ผักอีไร หรือช้าพลูต้น และภาคเหนือเรียก ผักปูนก, พลูนก หรือพลูลิง เป็นต้น ซึ่งต้นชะพลูนี้หลายๆ คนอาจเข้าใจผิดคิดว่าเป็นต้นพลูที่ไว้รับประทานกับหมาก ด้วยชื่อและลักษณะที่คล้ายกัน แต่ในความจริงแล้วเป็นคนละชนิดกัน ต้นชะพลูนั้นจะมีขนาดเล็กกว่าต้นพลู ส่วนใบพลูจะมีรสจัดกว่าชะพลู โดยต้นชะพลูนี้มักชอบขึ้นในพื้นที่ลุ่มที่มีความชื้น และขยายพันธุ์โดยการปักชำ

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 4,648