มะเขือม่วง
เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้ชม 2,486
[16.4258401, 99.2157273, มะเขือม่วง]
มะเขือม่วง ชื่อสามัญ Eggplant
มะเขือม่วง ชื่อวิทยาศาสตร์ Solanum melongena L. จัดอยู่ในวงศ์มะเขือ (SOLANACEAE)
สมุนไพรมะเขือม่วง มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า มะเขือกะโกแพง, มะเขือจาน, มะเขือจาวมะพร้าว, มะเขือหำม้า, มะแขว้งคม เป็นต้น
ลักษณะของมะเขือม่วง
- ต้นมะเขือม่วง จัดเป็นพืชล้มลุกหรือไม้พุ่มที่มีความสูงประมาณ 1-1.5 เมตร ลำต้นมีขนนุ่มปกคลุมอยู่ทั่วไปและอาจมีหนามเล็ก ๆ แต่ไม่มากนัก สามารถออกดอกและผลได้ตลอดทั้งปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด
- ใบมะเขือม่วง ใบเป็นใบเดี่ยวขนาดใหญ่ ออกสลับข้างกัน ลักษณะของใบเป็นรูปค่อนข้างกลม ปลายใบแหลม โคนใบเบี้ยว ส่วนขอบใบหยักหรือเป็นคลื่น ท้องใบมีขนหนาสีเทา
- ดอกมะเขือม่วง ออกดอกเดี่ยวหรือออกเป็นช่อตามซอกใบ ดอกเป็นดอกแบบสมบูรณ์เพศ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2-3 เซนติเมตร ดอกมีกลีบสีเขียวเลี้ยงหนาแข็งประมาณ 4-5 แฉก โคนเชื่อมติดกันเป็นรูปกรวย ปลายแยกเป็นกลีบดอก 5 กลีบ กลีบดอกเป็นสีม่วง มีลักษณะเป็นรูปดาว และดอกจะบานประมาณ 2-3 วัน
- ผลมะเขือม่วง ผลมีลักษณะกลมรียาวทรงหยดน้ำ ผิวผลเรียบเป็นสีม่วง ขนาดของผลขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ ลักษณะของผลอาจจะกลมเป็นรูปไข่หรือกลมยาว โดยมีขนาดยาวตั้งแต่ 4-30 เซนติเมตร สีผลอาจจะมีสีเดียวหรือหลายสี โดยอาจจะมีสีขาว เหลือง เขียว แดงม่วง หรือดำ ส่วนภายในผลจะมีเมล็ดจำนวนมาก เมล็ดมีขนาดเล็กและเป็นสีน้ำตาล
หมายเหตุ : มะเขือโดยทั่วไปแล้วจะแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ มะเขือม่วงเล็ก (ผลทรงยาวป้อม มีความยาวประมาณ 4 นิ้ว ผลเป็นสีม่วงอ่อนปนลายเขียวขาว เนื้อในนุ่ม กินดิบมีรสขมเล็กน้อย เมื่อสุกจะมีรสหวาน นิยมนำมากินเป็นผักสดหรือผักต้มแนมกับน้ำพริกและเครื่องจิ้มต่าง ๆ หรือนำมาหั่นเฉียงเป็นแผ่นบาง ๆ แล้วชุบแป้งทอด) และ มะเขือม่วงใหญ่ (เป็นมะเขือนำเข้า เนื้อในแน่นและละเอียดกว่ามะเขือม่วงเล็ก ไม่มีเมล็ด และแทบไม่มีรสชาติ คนไทยนิยมกันน้อย โดยส่วนใหญ่จะนำมาทำอาหารประเภทผักหรือหั่นชุบแป้งทอด)
สรรพคุณของมะเขือม่วง
- ดอกสดหรือดอกแห้ง นำมาเผาให้เป็นเถ้า แล้วบดให้ละเอียด ใช้เป็นยาแก้ปวดฟัน (ดอก)
- ผลแห้งมีสรรพคุณเป็นยาขับเสมหะ (ผลแห้ง)
- ลำต้นหรือรากใช้ต้มกินเป็นยาแก้บิด หรือจะนำใบแห้งมาป่นให้เป็นผงใช้เป็นยาแก้โรคบิดก็ได้เช่นกัน (ลำต้น, ราก, ใบแห้ง)
- ช่วยแก้อาการตกเลือดในลำไส้ (ผลแห้ง)
- ใบแห้งใช้เป็นยาแก้ปัสสาวะขัด (ใบแห้ง)
- ช่วยรักษาโรคหนองใน (ใบแห้ง)
- ผลสดใช้เป็นยาพอกบริเวณที่เป็นแผลอักเสบ ฝีหนอง หรือโรคผิวหนังเรื้อรังและผดผื่นคัน (ผลสด)
- ลำต้นหรือรากนำมาคั้นเอาน้ำใช้ล้างแผลเท้าเปื่อย (ลำต้น, ราก)
- ผลแห้งใช้ทำเป็นยาเม็ดแก้ปวด (ผลแห้ง)
หมายเหตุ : วิธีการใช้ผลตาม [1] ให้นำผลมะเขือม่วงมาปรุงเป็นอาหารรับประทานประมาณวันละ 1-2 ลูก
ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของมะเขือม่วง
- สารสำคัญที่พบในมะเขือม่วง ได้แก่ Flamonoid, กรดฟีโนลิก, ไฟโทสเทอรอล, ไกลโคแอลคาลอยด์, แอนโทไซยานิน (Anthocyanin) ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ
- จากการศึกษาในสัตว์ทดลองพบว่าการดื่มน้ำมะเขือทุกวัน สามารถช่วยลดระดับไขมันในเลือดและเสริมสร้างความแข็งแรงของหลอดเลือดได้
ประโยชน์ของมะเขือม่วง
- ในด้านการนำมาประกอบอาหาร ส่วนใหญ่แล้วจะนำผลดิบมาเผารับประทานร่วมกับน้ำพริก หรือฝานเป็นชิ้นชุบแป้งทอดกรอบก็อร่อยดี ส่วนอาหารญี่ปุ่นก็จะมีมะเขือม่วงเป็นส่วนประกอบเกือบทุกเมนู
- มะเขือม่วงอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่มีประโยชน์ต่อร่างกายหลายชนิด โดยคุณค่าทางโภชนาการของมะเขือม่วง ต่อ 100 กรัม จะประกอบไปด้วย พลังงาน 24 แคลอรี, โปรตีน 1 กรัม, ไขมัน 0.2 กรัม, คาร์โบไฮเดรต 5.7 กรัม, ใยอาหาร 0.8 กรัม, เถ้า 0.6 กรัม, วิตามินเอ 130 หน่วยสากล, วิตามินบี1 10 มิลลิกรัม, วิตามินบี2 0.05 มิลลิกรัม, วิตามินบี 3 0.6 มิลลิกรัม, แคลเซียม 30 มิลลิกรัม, ธาตุเหล็ก 0.6 มิลลิกรัม, ฟอสฟอรัส 27 มิลลิกรัม, โซเดียม 4 มิลลิกรัม, โพแทสเซียม 223 มิลลิกรัม
- สีม่วงที่เห็นในผลมะเขือม่วง เกิดจากสารแอนโทไซยานิน (Anthocyanin) ซึ่งมีความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระได้สูงกว่าวิตามินซีหลายเท่า การรับประทานมะเขือม่วงเป็นประจำจึงช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็ง ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ช่วยเสริมให้ร่างกายต่อต้านเชื้อโรค และช่วยสมานแผลได้ดี[2]
- สารแอนโทไซยานินในมะเขือม่วงมีฤทธิ์ขยายเส้นเลือด จึงช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและอัมพาตได้ด้วย การใส่มะเขือม่วงลงไปในอาหารต่าง ๆ จึงเป็นที่ให้คุณค่าทางยาเพิ่มกับคุณค่าทางอาหาร
- มะเขือม่วงเป็นพืชผักเศรษฐกิจอีกชนิดหนึ่งที่ปลูกได้ง่าย ให้ผลผลิตดี เก็บเกี่ยวได้นาน และปัจจุบันสามารถส่งออกได้
คำสำคัญ : มะเขือม่วง
ที่มา : https://medthai.com/
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). มะเขือม่วง. สืบค้น 20 พฤษภาคม 2565, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1702&code_db=610010&code_type=01
ขนุน (Jackfruit) เป็นผลไม้และพืชสมุนไพรจำพวกต้นขนาดใหญ่ ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคเหนือเรียกมะหนุน เขมรเรียกขะเนอ ภาคอีสนเรียกหมักมี้ กะเหรี่ยงเรียกนะยวยซะ จันทร์บุรีเรียกขะนู ปัตตานีเรียกนากอ และชาวเงี้ยวเรียกล้าง เป็นต้น ซึ่งขนุนนี้มีรสชาติหวานอร่อยเป็นที่ถูกอกถูกใจของหลายๆ คนเลยทีเดียว แต่ผู้เป็นเบาหวานไม่ควรรับประทานนะคะ แถมเม็ดขนุนนั้นก็สามารถนำไปต้มรับประทานได้อีกด้วย
เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 754
ต้นกัดลิ้น หรือ ต้นลำไยป่า จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีความสูงประมาณ 5-12 เมตร ลักษณะของต้นเป็นทรงเรือนยอดแผ่กว้างถึงค่อนข้างกลม ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด ในประเทศไทยสามารถพบได้ทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงใต้ ส่วนต่างประเทศนั้นจะพบได้มากในประเทศพม่าและกัมพูชา มีใบเป็นใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อยจำนวน 3 ใบ โดยใบย่อยใบกลางจะมีขนาดใหญ่สุด ใบย่อยคู่ข้างจะอยู่ตรงข้ามกัน ส่วนที่เชื่อมกับก้านใบย่อยจะป่องเป็นข้อ ลักษณะใบย่อยเป็นรูปรีแกมรูปขอบขนานถึงรูปขอบขนานแกมรูปใบหอก ปลายใบเรียวแหม ส่วนโคนใบสอบ ผิวใบด้านบนสีเขียว ส่วนท้องใบสีอ่อนกว่า
เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้เช้าชม 708
ต้นกระเช้าฝีมดเป็นไม้พุ่ม อิงอาศัยบนคาคบของต้นไม้อื่น ลำต้นสูง 30-60 ซม. โคนต้นขยายใหญ่เป็นรูปกลมป้อมสีน้ำตาลเทา อวบน้ำ ขนาด ผ่านศูนย์กลาง 15-40 ซม. ภายในเป็นโพรงจำนวนมาก มักเป็นที่ อาศัยของมด ใบกระเช้าฝีมดใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปรีแกมรูปขอบขนาน กว้าง 2-5 ซม. ยาว 4-10 ซม. แผ่นใบหนาอวบน้ำ ผิวใบเกลี้ยง ปลายใบมน ดอกกระเช้าฝีมดสีขาว ออกเป็นกระจุก 2-5 ดอก ตามซอกใบ ดอกย่อย ขนาดเล็ก 2-4 เมตร โคนกลีบดอกเชื่อมติดกัน ปลายกลีบแยกเป็น 4 แฉก
เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 636
ต้นมะขามแขก จัดเป็นไม้พุ่ม เป็นพืชทนแร้ง ไม่ชอบที่น้ำท่วมขัง เพราะจะทำให้รากเน่า สามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินที่ลักษณะร่อน มีความอุดมสมบูรณ์ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ดและการใช้ต้นกล้า ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ ใบย่อยเป็นรูปวงรีและใบรูปหอก ใบแห้งมีสีเขียวอมน้ำตาล ขอบใบเรียบ ปลายและโคนใบแหลม โคนใบทั้งสองมีขนาดไม่สมมาตรกัน และมีขนนุ่มปกคลุมอยู่ ใบมีกลิ่นเหม็นเขียว มีรสเปรี้ยว หวานชุ่ม ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบตอนปลายกิ่ง กลีบดอกมีสีเหลือง ลักษณะของผลเป็นฝักแบน รูปขอบขนาน ฝักอ่อนมีสีเขียว
เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 2,954
ลักษณะทั่วไป ต้นเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ ลำต้นตรง แตกกิ่งก้านสาขาตรงเรือนยอดซึ่งมีลักษณะกลมและโปร่ง เปลือกเรียบสีเทา ตามกิ่งอ่อนจะมีที่ระบายอากาศด้วยเป็นต่อมลำต้นสูงประมาณ 15 – 25 เมตร ใบจะออกเป็นคู่ ๆ รวมกันเป็นช่อใบคู่ ๆ หนึ่งตรงโคนก้านช่อจะมีขนาดเล็กกว่าใบตรงส่วนปลาย ลักษณะของใบโคลนใบจะเบี้ยว ปลายใบจัดคอดเป็นติ่งยาว ๆ เนื้อใบหนาและเกลี้ยงมีสีเขียว ใบกว้างประมาณ 2 นิ้ว ยาว 3 – 5 นิ้ว ดอกออกเป็นช่ออยู่ตามง่ามใบหรือเหนือต่อมไปตามปลายกิ่ง และดอกมีสีขาวอยู่ 5 กลีบ เกสรมี 10 อันขึ้นอยู่ตรงกลางสวยเป็นดอกสมบูรณ์เพศ ผลเป็นรูปไข่ ตามผลจะมีเนื้อเยื่อหุ้มสีเขียวอ่อนหุ้นอยู่ ผลมีรสเปรี้ยว เมล็ดใหญ่และแข็งแรง
เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 1,042
ผักชี เป็นผักที่มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว จึงเป็นที่นิยมอย่างมากในการนำมาใช้ประกอบอาหารต่างๆ เพื่อทำให้อาหารมีกลิ่นหอมน่ารับประทานมากยิ่งขึ้น แถมยังมีคุณประโยชน์ต่อร่างกายหลากหลายประการอีกด้วย และด้วยสีเขียวสดของผักชีและรูปร่างของใบที่มีความเป็นเอกลักษณ์ ผักชีไทยจึงเป็นที่นิยมในการนำมาทำเป็นผักแต่งจานอาหารให้น่ารับประทานอีกด้วย ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า "ผักชีโรยหน้า" ซึ่งมีความหมายว่า ทำอะไรให้ดูดีแค่ภายนอกหรือการทำความดีอย่างผิวเผิน เรื่องอื่นค่อยว่ากันทีหลัง
เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 340
ผักเป็ดน้ำ จัดเป็นพรรณไม้น้ำหรือพรรณไม้ล้มลุก มีอายุราว 1 ปี ชอบขึ้นตามแอ่งน้ำรกร้างหรือริมน้ำทั่วไป มีลำต้นอยู่บนผิวน้ำ ลำต้นมีความสูงประมาณ 1 เมตร เลื้อยทอดไปตามผิวน้ำหรือพื้นดิน แตกกิ่งก้านสาขามาก ส่วนรากจะติดอยู่ตามข้อต้น ลำต้นกลมเป็นข้อๆ ภายในของลำต้นกลวง ขยายพันธุ์ด้วยการแยกต้นไปปลูกลงในแอ่งน้ำ
เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 1,132
ผักตบไทย มีถิ่นกำเนิดในแถบเชียตะวันออกเฉียงใต้ จัดเป็นไม้ล้มลุกมีอายุได้หลายปี อาศัยอยู่ในน้ำ มีเหง้าใหญ่ แตกลำต้นเป็นกอ มีความสูงได้ประมาณ 50-100 เซนติเมตร ลำต้นอยู่ใต้ดิน ชูก้านใบเหนือระดับน้ำ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดหรือแยกต้นอ่อนไปปลูกในบริเวณที่ต้องการ มีเขตการกระจายพันธุ์กว้าง พบได้ตั้งแต่อินเดีย เนปาล ศรีลังกา พม่า ภูมิภาคอินโดจีน และภูมิภาคมาเลเซีย ในประเทศไทยพบได้ทุกภาคของประเทศ โดยมักขึ้นตามแหล่งน้ำจืด ริมหนองน้ำ คลองบึง ที่ชื้นแฉะ โคลนตม และตามท้องนาทั่วไป
เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 1,479
ผักขวง จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกที่มีลำต้นเตี้ยหรือทอดเลื้อยแตกแขนงแผ่ราบไปกับพื้นดิน แตกกิ่งก้านสาขาแผ่กระจายออกไปรอบ ๆ ต้น ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด เป็นพรรณไม้กลางแจ้งที่ชอบแสงแดดจ้า เจริญเติบโตได้ในดินทุกชนิด ทนแล้งได้ดี พบได้ทั่วทุกภาคของประเทศ โดยเฉพาะทางภาคเหนือ โดยมักขึ้นได้ในบริเวณที่ชื้นแฉะ ตามไร่นา และตามสนามหญ้าทั่วไป ใบเป็นใบเดี่ยว ใบมีขนาดเล็ก แตกใบออกตามข้อต้น ซึ่งในแต่ละข้อจะมีใบอยู่ประมาณ 4-5 ใบ ลักษณะของใบเป็นรูปยาวรี ปลายใบแหลมหรือมน โคนใบสอบ
เผยแพร่เมื่อ 27-05-2020 ผู้เช้าชม 1,118
ต้นเกร็ดปลาช่อน จัดเป็นพรรณไม้พุ่มขนาดเล็ก มีอายุหลายปี มีความสูงได้ประมาณ 0.5-2 เมตร ลำต้นมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3.2-3.7 เซนติเมตร กิ่งก้านแตกแขนงตั้งแต่โคนต้น ปลายกิ่งโค้งลง กิ่งและก้านใบมีขนนุ่มสีเทาถึงสีน้ำตาลอ่อนขึ้นหนาแน่น ส่วนเปลือกต้นเป็นสีน้ำตาลค่อนข้างเรียบ ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด มีเขตการกระจายพันธุ์ในกัมพูชา เวียดนาม ลาว ออสเตรเลีย และพบในทุกภาคของประเทศไทย
เผยแพร่เมื่อ 18-05-2020 ผู้เช้าชม 1,864