ผักกะโฉม
เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้ชม 4,223
[16.4258401, 99.2157273, ผักกะโฉม]
ผักกะโฉม ชื่อสามัญ Marsh weed
ผักกะโฉม ชื่อวิทยาศาสตร์ Limnophila rugosa (Roth) Merr. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Herpestis rugosa Roth, Limnophila roxburghii G.Don)[1] จัดอยู่ในวงศ์เทียนเกล็ดหอย (PLANTAGINACEAE)
สมุนไพรผักกะโฉม มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า อ้มกบ (เชียงใหม่), ผักกะโสม (ภาคกลาง), จุ้ยห่วยเฮียง (จีนแต้จิ๋ว), สุ่ยหุยเซียง (จีนกลาง), ผักแมงดา, โหระพาน้ำ เป็นต้น
ลักษณะของผักกะโฉม
ต้นผักกะโฉม จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก มีอายุเพียงปีเดียว ลำต้นต้นแตกแขนงออกไป ต้นที่ยังเล็กอยู่จะมีขนขึ้นปกคลุม แต่เมื่อโตแล้วหรือแก่ขนจะหลุดร่วงไปเอง ลำต้นมีความสูงได้ประมาณ 1-2 ฟุต มีกลิ่นหอม ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด เป็นพรรณไม้กลางแจ้งที่ชอบขึ้นอยู่ตามริมคูและชอบดินชื้นแฉะ
ใบผักกะโฉม ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเป็นคู่ ๆ ตรงข้ามกัน ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ถึงรูปไข่แกมขอบขนาน ปลายใบมนหรือแหลม ขอบใบหนา ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1-1.5 นิ้ว และยาวประมาณ 2-3 นิ้ว แผ่นใบเป็นสีเขียวสด หลังใบมีขนปกคลุมและมีรอยย่น ก้านใบสั้น
ดอกผักกะโฉม ออกดอกเป็นช่อกระจุกบริเวณส่วนยอดของลำต้นและตามซอกใบ กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็น 5 แฉก ยาวประมาณ 5-6 มิลลิเมตร มีขน ดอกเป็นสีน้ำเงินอมม่วง กลางดอกแต้มไปด้วยสีเหลือง ลักษณะของดอกเป็นรูปคล้ายปาก กลีบดอกเชื่อมติดกันปลายแยกเป็น 2 ปาก ปากล่างมี 3 กลีบ ส่วนปากบนมี 2 กลีบ ดอกมีขนาดเล็กประมาณ 8 มิลลิเมตร มีเกสรเพศผู้ เกสรเพศเมีย 1 อัน ไม่มีก้านดอก
ผลผักกะโฉม ผลเป็นผลแห้งรูปไข่ แบน แตกได้ มีขนาดกว้างประมาณ 3 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 5-6 มิลลิเมตร เมล็ดมีลักษณะกลมขนาดเล็ก สีน้ำตาล มีขนาดประมาณ 1-2 มิลลิเมตร
สรรพคุณของผักกะโฉม
1. ใบใช้ปรุงเป็นยาธาตุช่วยเจริญอาหาร (ใบ)
2. ช่วยระงับความร้อน (ต้นและใบ)
3. ต้นใช้รับประทานเป็นยาแก้ไอ ขับเสมหะ (ต้น)
4. ช่วยแก้อาการแน่นท้อง แน่นหน้าอก (ต้น)
5. ต้นใช้เป็นยาแก้ปวดท้องโรคกระเพาะอาหาร (ต้น)
6. หากมีอาการผิดปกติในทางเดินอาหารหรือเป็นโรคเกี่ยวกับทางเดินอาหาร ให้ใช้ใบผักกะโฉมแห้ง 6-15 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทาน (ใบ)
7. ใบมีสรรพคุณเป็นยาขับปัสสาวะ (ใบ)
8. ต้นมีสรรพคุณช่วยลดอาการบวมน้ำ (ต้น)
9. ต้นและใบใช้ตำพอกรักษาบาดแผล (ต้นและใบ)
10. ใช้รักษาแผลพุพอง ด้วยการนำต้นสดปริมาณพอสมควร นำมาต้มกับน้ำใช้ล้างแผล หรือนำมาตำพอกหรือทาบริเวณที่เป็น (ต้น)
11. ต้นและใบมีรสหอมเย็น ใช้ปรุงเป็นยาเขียวกระทุ้งพิษเหือด หัด สุกใส ดำแดง ฝีดาษ (ต้นและใบ)
ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของผักกะโฉม
ในต้นมีน้ำมันหอมระเหย ซึ่งน้ำมันนี้จะเป็นสารประกอบของ phenylpropane และ sesquiterpene
ประโยชน์ของผักกะโฉม
ยอดอ่อนและใบอ่อนใช้รับประทานเป็นผักสดร่วมกับลาบก้อย น้ำพริก (ต้นยิ่งอ่อนยิ่งมีกลิ่นแรง)
ใบผักกะโฉมมีกลิ่นคล้ายกับใบโหระพา ซึ่งสามารถนำมาใช้แต่งกลิ่นอาหารหรือทำเป็นน้ำหอมได้
คำสำคัญ : ผักกะโฉม
ที่มา : https://medthai.com/
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). ผักกะโฉม. สืบค้น 3 พฤศจิกายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1665&code_db=610010&code_type=01
Google search
ลักษณะทั่วไป ต้นเป็นไม้เถา ขนาดเล็ก ลำต้นกลม เกลี้ยง หรือตามกิ่งก้านมีขนแข็งสีขาว หรือสีน้ำตาลปนเหลืองกระจายทั่ว ใบรูปกลม กว้าง ยาว โคนใบรูปหัวใจ ขอบใบจักเป็นแฉกรูปพัด 5-7 แฉก เป็นรูปสามเหลี่ยมกว้าง หรือรูปหอกปลายแหลมหรือมน มีติ่งสั้น ขอบแฉกจักเป็นซี่ฟันหยาบ ๆ หรือเว้าตื้น ๆ หรือค่อนข้างเรียบ มีขนกระจายหนาแน่นทั้ง 2 ด้าน ก้านใบยาว 2-15 ซม. มีขนกระจายหรือเกลี้ยง ดอกออกเป็นช่อตามง่ามใบมี 1-3 หรือหลายดอก ก้านช่อดอกยาว 1-15 ซม. หรือยาวกว่านี้ ก้านดอกยาว 8-20 มม. เมื่อเป็นผลจะใหญ่ขึ้นเป็นรูปกระบองใบประดับแหลมเรียว ยาว 1.5-2 มม. กลีบรองดอกรูปขอบขนาน หรือแหลม มีติ่งสั้น กลีบที่อยู่ด้านนอกมีขนแข็งหรือเกลี้ยงกลีบอยู่ด้านใน
เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 3,886
ต้นกระดูกไก่เป็นพรรณไม้พุ่มที่มีความสูงประมาณ 5-2.5 เมตร ลำต้นมีข้อบวมพอง ใบกระดูกไก่เป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ ใบมีลักษณะเป็นรูปรี หรือรูปหอก ปลายและโคนเป็นใบเรียวแหลม ขนาดของใบกว้างประมาณ 5-4 นิ้ว ยาวประมาณ 3-8 นิ้ว ริมขอบใบหยัก ผิวใบบาง ก้านใบยาวประมาณ 0.2-1.5 ซม. ดอกกระดูกไก่ออกเป็นช่อ ติดก้านช่อดอก ดอกไม่มีกลีบดอกหรือกลีบรองดอก แต่จะไม่มีใบประดับและเกสรตัวผู้เป็นสีขาว ซึ่งจะออกเรียงกันอยู่ข้างใน และมีอับเรณู 4 พู รังไข่ 1 ช่อง เชื่อมติดกันอยู่โคนใบประดับ
เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 3,394
ลักษณะทั่วไป ต้นเป็นพรรณไม้ล้มลุก ซึ่งลำต้นนั้นจะเลื้อย แต่ชูขึ้น แตกกิ่งก้านสาขามาก ตามกิ่งก้านจะมีขนอ่อน ๆ ปกคลุม เลื้อยชูได้สูงประมาณ 4-12 นิ้วมีสีเขียว ใบออกใบเดี่ยว เรียงสลับกันไปตามข้อต้น ลักษณะของใบเป็นรูปไข่มันปลายแหลมหรือมน โคนใบมน ขอบใบเรียบ ใบมีขนปกคลุมทั่วทั้งใบ ขนาดใบกว้างประมาณ 0.5-1.5 นิ้ว ยาว1.5-3 นิ้ว สีเขียวก้านใบจะเป็นกาบมีขนยาว ดอกเป็นช่อ อยู่ตรงส่วนปลายของต้น ดอกนี้จะอยู่ภายในกาบรองดอกสีฟ้าอ่อน มีอยู่ 3 กลีบ แต่กลีบดอกนี้จะไม่เท่ากันกลับกลางจะใหญ่กว่ากลีบด้านข้าง กลีบรองกลีบดอกมี 3 กลีบสีเขยว
เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 2,340
ผักหวานป่า (Melientha Suavis Pierre) เป็นพืชผักสมุนไพรไทยชนิดหนึ่งที่นิยมนำมารับประทานทั้งในแบบผักปกติและในแบบสมุนไพรเพื่อรักษาโรคต่างๆ ผักหวานป่าเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ที่มีใบและยอดสีเขียวอ่อน ประโยชน์ของผักหวานป่านั้นมีมากมาย อุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการ โดยมีโปรตีน วิตามินและใยอาหารที่ช่วยในการขับถ่าย เนื่องจากความนิยมบริโภคผักหวานป่าที่สูงขึ้น ปัจจุบันจึงที่การนำผักหวานป่ามาปลูกเป็นสวนเกษตร ทำให้สามารถหารับประทานได้ง่ายขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก
เผยแพร่เมื่อ 17-02-2017 ผู้เช้าชม 3,986
ต้นติ่งตั่ง จัดเป็นไม้พุ่มเลื้อยขนาดใหญ่หรือไม้เถาเลื้อยเนื้อแข็งขนาดใหญ่ สูงได้ประมาณ 1-5 เมตร เปลือกเป็นสีน้ำตาลมีขนปกคลุม ตามกิ่งอ่อนเป็นสันสี่เหลี่ยม มีขนสีน้ำตาลแกมแดงขึ้นปกคลุม ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด ตอนกิ่ง และปักชำกิ่ง เจริญเติบโตได้ในดินทุกประเภท ชอบแสงแดดจัด น้ำปานกลาง มีถิ่นกำเนิดในอินเดีย จีนตอนใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่วนในประเทศไทยพบได้ทุกภาคตามป่าเบญจพรรณและตามป่าดิบแล้งทั่วไป
เผยแพร่เมื่อ 26-05-2020 ผู้เช้าชม 3,236
ไม้ต้น ลำต้นเป็นสามเหลี่ยมสีเขียว ตรง สูงประมาณ 2-5 เมตร ลำต้นมักแตกออกเป็นสามยอด ตรงสันของลำต้นมีหนามเป็นกระจุกๆ ละ 2 เรียง ลงมาตลอดลำต้น-ลำต้นมียางสีขาวเหมือนนํ้านม ใบ เดี่ยวขนาดเล็ก เรียงสลับรูปไข่กลับ ร่วงง่ายจึงดูคล้ายไม่มีใบ ดอกจะออกหน้าหนาวออกเป็นตุ่มๆ สี
เผยแพร่เมื่อ 17-02-2017 ผู้เช้าชม 2,527
ต้นปอผี หรือ ผักกะเดียง จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก ทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน แตกแขนงมาก ชูยอดตั้งขึ้น สูงได้ประมาณ 10-100 เซนติเมตร ลำต้นมีลักษณะกลมและแข็ง มีรากออกตามข้อ ลำต้นเรียบหรือมีขนนุ่ม ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด มีเขตการกระจายพันธุ์ในอินเดียถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และในเขตร้อนของทวีปออสเตรเลีย ชอบขึ้นบริเวณที่ชื้นแฉะ บนดินชื้นและมีน้ำขัง ตามนาข้าว หนองน้ำ ริมหนองน้ำ หรือขึ้นแผ่คลุมผิวน้ำ
เผยแพร่เมื่อ 04-06-2020 ผู้เช้าชม 1,878
ผักเสี้ยน จัดเป็นไม้ล้มลุก มีความสูงประมาณ 30-15 เซนติเมตร ส่วนต่างๆ ของต้นมีขนปกคลุม ส่วนรากเป็นรากแก้ว และรากแขนงจำนวนมาก ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด โดยมีถิ่นกำเนิดและมีเขตการกระจายพันธุ์อยู่ทั่วไปในทวีปเอเชีย (รวมทั้งไทย) และแอฟริกา สำหรับในประเทศไทย แหล่งที่พบผักเสี้ยน มักพบขึ้นเป็นวัชพืชตามท้องไร่ปลายนา ที่รกร้างว่างเปล่าทั่วไป และริมลำธาร
เผยแพร่เมื่อ 13-07-2020 ผู้เช้าชม 16,714
งาขาว (White Sesame Seeds) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้น ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น งาขาว, งาดำ ซึ่งงานั้นเป็นพืชสมุนไพรที่เรารู้จักกันดี และงานั้นมักจะโรยอยู่ในขนมต่างๆ มีกลิ่นหอมชวนรับประทาน แถมยังมีคุณค่าทางด้านโภชนาการสูงอีกด้วย จนแทบไม่น่าเชื่อว่างาเม็ดเล็กๆ อย่างนี้จะสามารถอัดแน่นไปด้วยคุณค่ามากมายถึงเพียงนี้ได้อย่างไร และมีการใช้เมล็ดงาเพื่อประกอบอาหารกันมากโดยเฉพาะในแถบตะวันออกกลาง และเอเชีย
เผยแพร่เมื่อ 30-04-2020 ผู้เช้าชม 6,994
สำหรับต้นกระเบาน้ำนั้นเป็นพืชจำพวกต้นขนาดกลาง เป็นไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบ สูงประมาณ 10-15 เซนติเมตร เปลือกเรียบสีเทา เป็นใบเดี่ยวสีชมพูแดง เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีเขียวเข้ม ออกเรียงแบบสลับ รูปรียาวแกมขอบขนาน ปลายใบแหลม โคนมน ขอบเรียบ ส่วนดอกของกระเบาน้ำนั้นจะมีสีขาวนวล ช่อหนึ่งมีประมาณ 5-10 ดอก กลิ่นหอมฉุน
เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 3,628