เกล็ดหอย
เผยแพร่เมื่อ 18-05-2020 ผู้ชม 6,266
[16.4258401, 99.2157273, เกล็ดหอย]
หญ้าเกล็ดหอย ชื่อวิทยาศาสตร์ Drymaria cordata (L.) Willd. ex Schult. จัดอยู่ในวงศ์ CARYOPHYLLACEAE
สมุนไพรหญ้าเกล็ดหอย มีชื่อเรียกอื่นว่า เกล็ดหอย (ไทย), ผักตั้ง (ลั้วะ) เป็นต้น
ลักษณะของหญ้าเกล็ดหอย
ต้นหญ้าเกล็ดหอย จัดเป็นพรรณไม้หรือวัชพืชล้มลุก ลำต้นทอดเลื้อยแผ่ไปตามพื้นดิน แตกแขนงมาก บริเวณที่สัมผัสดินหรือข้อต่อจะออกราก มีความสูงได้ประมาณ 15-30 เซนติเมตร ลำต้นมีลักษณะเรียวยาว ผิวลำต้นเรียบ ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด พบได้บ้างเล็กน้อยทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทางภาคใต้ของประเทศไทย ชอบสภาพชุ่มชื้นในไร่ชา กาแฟ และสวนผลไม้
ใบหญ้าเกล็ดหอย ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกัน ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ รูปค่อนข้างกลม หรือรูปไต โคนใบเรียวแหลมเป็นรูปสามเหลี่ยม ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1-2.5 เซนติเมตร ก้านใบสั้น
ดอกหญ้าเกล็ดหอย ออกดอกเป็นช่อแบบซี่ร่ม เป็นกระจุกแน่น ช่อละประมาณ 3-10 ดอก โดยจะออกตามซอกใบและที่ปลายกิ่ง กลีบดอกเป็นสีขาว มีขนาดเล็ก ดอกจะออกในช่วงประมาณเดือนตุลาคมถึงเดือนมีนาคม
ผลหญ้าเกล็ดหอย ผลเป็นผลแห้ง แตกออกได้เป็น 3 ฝา ผนังผลบาง ผลมีขนเหนียวปกคลุมเช่นเดียวกับดอก เมื่อผลแก่จะหลุดร่วงไปพร้อมกับก้านดอก และภายในผลจะมีเมล็ดลักษณะเป็นรูปกลมแบนผิวขรุขระประมาณ 1-8 เมล็ด
สรรพคุณของหญ้าเกล็ดหอย
1. ยาพื้นบ้านล้านนาจะใช้ทั้งต้นหญ้าเกล็ดหอย นำมาตำพอกข้อมือ ข้อเท้าสลับข้างกัน เป็นยาแก้ไข้ (ทั้งต้น)
2. ทั้งต้นนำมาตากให้แห้งขยี้ผสมกับม้ามหมู ห่อด้วยใบตองปิ้งกินแก้ม้ามโต (ทั้งต้น)
3. ใช้เป็นยาแก้บวม แก้แผลฟกช้ำ (ทั้งต้น)
ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของเกล็ดหอย
สารสกัดจากทั้งต้นเกล็ดหอยด้วยเมทานอล มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อหนองและเชื้อกลากในหลอดทดลองได้
ประโยชน์ของหญ้าเกล็ดหอย
1. ชาวลั้วะจะใช้ยอดอ่อนนำมาลวกเป็นผักจิ้มกับน้ำพริก
คำสำคัญ : เกล็ดหอย
ที่มา : ้https://medthai.com/
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). เกล็ดหอย. สืบค้น 18 เมษายน 2568, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1570&code_db=610010&code_type=01
Google search
ผักหนอก จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก มีอายุได้หลายปี มีความสูงได้ประมาณ 15-40 เซนติเมตร กิ่งก้านชูตั้งขึ้น ส่วนลำต้นมีลักษณะฉ่ำน้ำ เกลี้ยงหรือมีขนเล็กน้อย ทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน มีเขตการกระจายพันธุ์กว้าง พบได้ในเอเชียเขตร้อน จีน ญี่ปุ่น จนถึงออสเตรเลีย ส่วนในประเทศไทยพบได้ทุกภาค มักขึ้นตามที่ชื้นแฉะ และตามชายป่า จนถึงระดับความสูงประมาณ 2,000 เมตร จากระดับน้ำทะเล
เผยแพร่เมื่อ 13-07-2020 ผู้เช้าชม 6,785
ลักษณะทั่วไป ต้นเป็นพรรณไม้ยืนต้น มีขนาดใหญ่ มีความสูงประมาณ 8-15 เมตร ใบลักษณะของใบยาวเรียว ผิวใบเรียบ ใบอ่อนมีสีน้ำตาลแดงปนสีเขียวอ่อน เป็นพรรณไม้ที่ทนต่อความร้อนและแสงแดดได้ดีต้องการน้ำและความชื้น ขยายพันธุ์ด้วยการตอนกิ่ง และการปักชำกิ่ง ประโยชน์สมุนไพร ใบขับพยาธิตัวกลม ขับฤดู ขับปัสสาวะ ไล่แมลง ดอกฆ่าเหา แก้โรคผิวหนัง ผล ทาแผลพุพองจากไฟไหม้หรือน้ำร้อนลวก เปลือกใช้เป็นยาทำให้อาเจียน
เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 14,198
สำหรับต้นการะเกดนั้นเป็นไม้พุ่มกึ่งไม้ต้น มีความสูงของลำต้นประมาณ 3-7 เมตร โดยแตกกิ่งก้านมีรากยาวและใหญ่ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับกัน 3 เกลียวตรงปลายกิ่ง คล้ายรูปรางน้ำ บริเวณขอบใบมีหนามแข็งๆ อยู่ และดอกนั้นจะแยกเพศอยู่ต่างต้นกัน โดยดอกจะออกตามปลายยอดจำนวนมาก ไม่มีกลีบเลี้ยงและกลีบดอก มีกาบสีนวลๆ หุ้มอยู่ กลิ่นหอมเฉพาะตัว และผลออกเบียดกันแน่นเป็นก้อนกลม มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 10-20 เซนติเมตร ผลสุกมีกลิ่นหอม มีสีเหลืองตรงโคน ส่วนตรงกลางจะเป็นสีแสด และตรงปลายจะมีสีน้ำตาลอมเหลือง
เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 3,899
กระเทียมเป็นพืชล้มลุกประเภทกินหัว ลำต้นสูง 1-2 ฟุต มีหัวลักษณะกลมแป้นขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1-2 นิ้ว ภายนอกของหัวกระเทียมมีเปลือกบางๆหุ้มอยู่หลายชั้น ภายในหัวประกอบแกนแข็งตรงกลาง ด้านนอกเป็นกลีบเล็กๆ จำนวน 10-20 กลีบ เนื้อกระเทียมในกลีบมีสีเหลืองอ่อนและใส มีน้ำเป็นองค์ประกอบสูง มีกลิ่นฉุนจัด
เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 8,533
ชุมเห็ดเทศ (Ringworm Bush, Golden Bush) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้น ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคเหนือเรียก ชุมเห็ด, ชุมเห็ดใหญ่, ขี้คาก, ลับหมื่นหลวง, หญ้าเล็บหมื่นหลวง หรือหมากกะลิงเทศ เป็นต้น ซึ่งมีการขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด สามารถเจริญเติบโตได้ดีในที่ที่มีความชุ่มชื้น โดยขึ้นได้ดีในดินแทบทุกชนิดเลยทีเดียว แถมยังปลูกได้ง่ายอีกด้วย เพราะต้นชุมเห็ดเทศนี้ไม่ต้องดูแลเอาใจใส่อะไรมากมายนัก และส่วนใหญ่มักพบต้นชุมเห็ดเทศนี้ได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย
เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 2,320
ขมิ้นชันนั้นเป็นพืชล้มลุกชนิดหนึ่งจัดอยู่ในตระกูลเดียวกับขิง มีอายุได้หลายปี ความสูงลำต้นประมาณ 30-95 เซนติเมตร มีรากเหง้าอยู่ใต้ดินเป็นรูปทรงไข่ อวบและสั้น และมีแขนงรูปทรงกระบอกแตกออกเป็น 2 ด้าน ส่วนเนื้อในของเหง้านั้นมีกลิ่นหอมฉุนแบบเฉพาะตัว สีเหลืองอมส้ม หรือเหลืองจำปาอมแสด เป็นใบเดี่ยว ตรงกลางใบมีสีแดงเข้ม เหง้าเรียงตัวเป็นวงซ้อนทับกัน และดอกแทงออกมาจากเหง้ารูปทรงกระบอก กลีบดอกสีเหลืองอ่อน ส่วนใบประดับสีเขียวอ่อนๆ และส่วนผลมีด้วยกัน 3 พู เป็นรูปทรงกลม
เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 8,261
ต้นงาขี้ม้อน จัดเป็นไม้พุ่มหรือไม้ล้มลุก มีความสูงของต้นประมาณ 1-2 เมตร ลำต้นตั้งตรง แตกกิ่งก้านสาขา ต้นมีกลิ่นหอม เป็นสันสี่เหลี่ยมมน ๆ และระหว่างเหลี่ยมเป็นร่องตามยาว มีขนยาวละเอียดสีขาวขึ้นปกคลุมอยู่หนาแน่น เมื่อโตเต็มที่โคนต้นจะเกลี้ยง โคนต้นและโคนกิ่งจะแข็ง ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกัน ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ถึงรูปไข่กว้าง หรือรูปกลม ออกดอกเป็นช่อกระจะตามง่ามใบและที่ปลายกิ่ง แต่ละช่อมีดอกย่อยจำนวนมาก ริ้วประดับดอกย่อยลักษณะเป็นรูปไข่
เผยแพร่เมื่อ 25-05-2020 ผู้เช้าชม 10,498
หญ้ายาง เป็นพืชล้มลุก อายุปีเดียว (annual) ลำต้นตั้งตรง กลวงและอ่อน สูง 30-80 ซม. มีขนปกคลุมโดยตลอด มียางขาว ต้นสีม่วงแดง แตกกิ่งก้านสาขาไม่มาก
ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกสลับกัน แต่คู่ล่างสุด และบนสึดมักออกตรงข้ามกัน เป็นคู่ ก้านใบมีสีม่วงแดง ยาว 0.5-2 ซม. และมีขน ใบมีหลายรูปร่าง ตั้งแต่ยาวรี ไปจนถึงกลม ปลายแหลม ขอบใบเรียบ จักละเอียด หรืออาจหยักเป็นฟันไม่สม่ำเสมอ มีขนปกคลุมประปรายจนถึงไม่มีขนเลย
ดอก ออกที่ยอดเป็นกระจุก มีทั้งดอกผู้และดอกตัวเมียปนกัน ซึ่งถูกรองรับด้วยแผ่นสีเขียวคล้ายใบ (bract) หลายใบ ดอกย่อยตั้งอยู่บนก้านสั้นๆ ดอกสีขาวอมเขียว
เผยแพร่เมื่อ 23-02-2017 ผู้เช้าชม 4,881
กล้วยน้ำว้าเป็นไม้ล้มลุก ลำต้นสูงประมาณ 3.5 เมตร กาบเรียงซ้อนกันเป็นลำต้น สีเขียวอ่อน เป็นใบเดี่ยวขนาดใหญ่ เรียงสลับกัน รูปขอบขนาน ปลายมน ขอบและแผ่นใบเรียบ ก้านใบเป็นร่องแคบๆ ส่วนดอกจะออกเป็นช่อตรงปลายห้อยลง หรือที่เรียกกันว่า หัวปลี และผลเป็นรูปทรงรี ยาวประมาณ 11-13 เซนติเมตร ผิวเรียบ เนื้อในขาว ผลดิบมีสีเขียว เมื่อสุกจะเป็นสีเหลือง รสชาติหวาน อร่อย โดยใน 1 หวี มีผลอยู่ประมาณ 10-16 ผล
เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 9,081
ตะไคร้หอม (Citronella Grass, Sarah Grass) หรือตะไคร้แดง เป็นพืชสมุนไพรจำพวกหญ้า ซึ่งตะไคร้หอมนั้นมีต้นกำเนิดจากเขตร้อนของเอเชีย เป็นพืชสมุนไพรที่มีน้ำมันหอมระเหยอยู่ซึ่งใช้สำหรับไล่ยุงได้ ไม่นิยมนำมาประกอบอาหารรับประทานเหมือนกับตะไคร้ โดยมีการนำตะไคร้หอมเข้ามาจากอินเดีย ซึ่งผู้ที่เริ่มนำตะไคร้หอมเข้ามาในประเทศไทยของเราก็คือคุณหลวงมิตรธรรมพิทักษ์ โดยเริ่มปลูกจากจังหวัดชลบุรีแล้วจึงแพร่กระจายปลูกไปทั่วทุกภาคของประเทศ
เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 7,619