ข้าวเย็นใต้

ข้าวเย็นใต้

เผยแพร่เมื่อ 25-05-2020 ผู้ชม 7,348

[16.4258401, 99.2157273, ข้าวเย็นใต้]

ข้าวเย็นใต้ ชื่อวิทยาศาสตร์ Smilax glabra Roxb.[1] จัดอยู่ในวงศ์ข้าวเย็นเหนือ (SMILACACEAE) เช่นเดียวกับข้าวเย็นเหนือ[2]

สมุนไพรข้าวเย็นใต้ มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ยาหัว (เลย, นครพนม), หัวยาข้าวเย็น (เพชรบูรณ์), ยาหัวข้อ (ภาคเหนือ), หัวยาจีนปักษ์ใต้ (ภาคใต้), ข้าวเย็นโคกขาวถู่ฝุหลิง (ภาษาจีน), RHIZOMA (ภาษาละติน) เป็นต้น[1],[2],[4],[8]

ลักษณะของข้าวเย็นใต้

  • ต้นข้าวเย็นใต้ จัดเป็นพรรณไม้เลื้อย เถาและลำต้นเป็นสีน้ำตาลเข้ม มีเหง้าหรือหัวอยู่ใต้ดิน เหง้ามีลักษณะกลมหรือแบนหรือเป็นก้อน มีรูปร่างที่ไม่แน่นอน ผิวไม่เรียบ พบก้อนแข็งนูนขึ้น เสมือนแยกเป็นแขนงสั้น ๆ เหง้ามีความกว้างประมาณ 2-5 เซนติเมตรและยาวประมาณ 5-22 เซนติเมตร ผิวเป็นสีน้ำตาลเหลืองหรือเป็นสีเทาน้ำตาล ตามผิวพบส่วนที่เป็นหลุมลึกและนูนขึ้น มีร่องที่เคยเป็นจุดงอกของรากฝอย อาจพบปมของรากฝอยที่พร้อมจะงอกในลักษณะกลมยื่นนูนมาจากบริเวณผิวเหง้า และยังพบรอยแยกแตกเป็นร่อง ๆ บนผิวเปลือก เนื้อเหง้าเป็นสีขาวอมเหลือง สมุนไพรชนิดนี้มีรสหวาน ชุ่มชื่นและสมดุล ออกฤทธิ์ต่อตับและกระเพาะอาหาร และไม่มีกลิ่น[1],[2]
  • ใบข้าวเย็นใต้ ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับ ปลายใบแหลมและบาง โคนใบมน ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2.5-5 เซนติเมตรและยาวประมาณ 5-14 เนติเมตร ผิวใบมัน หน้าใบมีเส้นตามยาวประมาณ 3 เส้น มองเห็นได้ชัดเจน ส่วนหลังใบมีผงเหมือนแป้งสีขาว ก้านใบมีขนาดสั้น ยาวประมาณ 9-14 มิลลิเมตร[2]
  • ดอกข้าวเย็นใต้ ออกดอกเป็นช่อตามง่ามใบ ในแต่ละช่อจะมีดอกประมาณ 10-20 ดอก ดอกมีขนาดเล็ก เป็นสีเหลืองอมเขียว กลีบดอกมี 6 กลีบ กลีบดอกยาวประมาณ 2.5-3 มิลลิเมตร ก้านดอกยาวประมาณ 4-15 มิลลิเมตร[2]
  • ผลข้าวเย็นใต้ ผลมีลักษณะเป็นรูปทรงกลม มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 6-7 มิลลิเมตร ผลเป็นสีเขียว เมื่อแก่จะกลายเป็นสีแดงดำ[2]

สรรพคุณของข้าวเย็นใต้

  1. ตามตำรับยาพื้นบ้านมุกดาหารและประเทศมาเลเซียจะใช้เหง้าเป็นยาบำรุง (หัว)[6]
  2. หัวนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาบำรุงเลือด (หัว)[6]
  3. ตำรับยาแก้เบาหวาน ให้ใช้หัวข้าวเย็นใต้ หัวข้าวเย็นเหนือ ใบโพธิ์ และไม้สักนำมาต้มในหม้อดิน ส่วนอีกตำรับยาหนึ่งให้ใช้หัวข้าวเย็นใต้ หัวข้าวเย็นเหนือ และต้นลูกใต้ใบนำมาต้มกับน้ำดื่ม (หัว)[3]
  4. หัวข้าวเย็นใต้และหัวข้าวเย็นเหนือเป็นพืชสมุนไพรที่มีงานวิจัยหลายชิ้นที่ระบุว่ามีฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็ง มีกลไกลการออกฤทธิ์ต้านมะเร็งเต้านม จึงมักถูกนำไปใช้ในตำรับยารักษามะเร็งร่วมกับสมุนไพรอื่น ๆ อีกหลายตำรับ (หัว)[5] ใช้หัวผสมในยาตำรับ นำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้มะเร็ง ด้วยการบดยาหัวให้ละเอียด นำมาผสมกับส้มโมง ต้มจนแห้งแล้วผสมกับน้ำผึ้ง ใช้รับประทานวันละ 1 เม็ด (หัว)[6]
  5. ต้นมีรสจืดเย็น เป็นยาแก้ไข้เรื้อรัง แก้ไข้ตัวร้อน (ต้น)[7]
  6. ใบมีรสจืดเย็น เป็นยาแก้ไข้เหนือ แก้ไข้สันนิบาต (ใบ)[7]
  7. ใช้รักษาผู้ป่วยที่มีอาการไข้อันเนื่องมาจากความเย็นชื้น (หัว)[1]
  8. ช่วยขับไล่ความเย็น (หัว)[1]ขับลมชื้นในร่างกาย ด้วยการใช้ข้าวเย็นทั้งสองอย่างละ 30 กรัม โกฐเขมา, โกฐหัวบัว, เจตมูลเพลิง, เถาวัลย์เปรียงอย่างละ 20 กรัม นำมาต้มกับน้ำดื่ม หรือจะนำมาแช่กับเหล้า ด้วยการใส่เหล้าให้ท่วมตัวยา ทิ้งไว้ 7 วัน แล้วนำมารับประทานก็ได้ (หัว)[2]
  9. หัวมีรสกร่อย เป็นยาเย็น ออกฤทธิ์ต่อกระเพาะ ลำไส้ ตับ และไต ช่วยขับพิษร้อน ถอนพิษไข้ (หัว)[2]ช่วยแก้น้ำมูกไหล (หัว)[1]
  10. ตำรับยาแก้ไข้ทับระดูและระดูทับไข้มีอยู่ 2 ตำรับ มีตัวยาในตำรับ 4 อย่างและ 6 อย่าง โดยใช้หัวข้าวเย็นใต้ หัวข้าวเย็นเหนือ ผสมกับตัวยาอื่น ๆ ในตำรับแล้วนำมาต้มเอาแต่น้ำดื่ม (หัว)[3]
  11. หัวช่วยแก้ประดง (หัว)[4],[6]
  12. ใช้แก้อาการไอ ให้ใช้หัวข้าวเย็นใต้ 5 บาทและหัวข้าวเย็นเหนือ 5 บาท นำมาต้มในหม้อดิน เติมเกลือทะเลเล็กน้อย ใช้ดื่มเป็นยาวันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น (หัว)[2]
  13. ช่วยแก้อาการร้อนใน กระหายน้ำ (หัว)[6]
  14. ช่วยแก้อาการบวมของต่อมน้ำเหลืองที่บริเวณลำคอ (หัว)[3]
  15. ช่วยขับปัสสาวะ (หัว)[2]
  16. ช่วยแก้กระเพาะปัสสาวะอักเสบ (หัว)[2] ช่วยแก้ปัสสาวะพิการ (หัว)[6]
  17. ผลมีรสขื่นจัด เป็นยาแก้ลมริดสีดวง (ผล)[7]
  18. ตำรับยาแก้ริดสีดวงทวาร ให้ใช้สมุนไพรหัวข้าวเหนือใต้ หัวข้าวเย็นเหนือ แก่นจำปา เครือส้มกุ้ง จุกกระเทียม จุกหอมแดง จันทน์ขาว จันทน์แดง พริกไทยล่อน รากลำเจียก เหง้าสับปะรด และสารส้ม นำมาต้มในหม้อดิน ใช้ดื่มครั้งละ 1 ถ้วยชา วันละ 3 ครั้ง เช้า กลางวัน และเย็น ท่านว่าริดสีดวงทวารจะหายภายใน 7 วัน (หัว)[3]
  19. ช่วยรักษากามโรค โรคซิฟิลิส เข้าข้อออกดอก (หัว)[1],[2],[4],[6]ตำรับยาแก้โรคหนองในทั้งหญิงและชาย ให้ใช้หัวข้าวเย็นใต้ หัวข้าวเย็นเหนือ ผสมร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นอีกรวมทั้งสิ้น 14 อย่าง นำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้โรคหนองในหรือโรคโกโนเรีย แล้วจะหายภายใน 7 วัน (หัว)[3] ตำรับยารักษาโรคบุรุษ ให้ใช้หัวข้าวเย็นใต้ 1 บาท, หัวข้าวเย็นเหนือ 1 บาท, ต้นบานไม่รู้โรย (ดอกขาว) ทั้งต้นรวมราก 1 ต้น, ต้นตะไคร้ทั้งต้นรวมราก 20 บาท และเกลือทะเล นำมาต้มกับน้ำ 3 ส่วนจนเหลือ 1 ส่วน แล้วนำมาใช้ดื่มก่อนอาหารครั้งละ 1 ถ้วยตะไล วันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น จะช่วยรักษาโรคบุรุษได้ผลชะงัดนัก (หัว)[3]
  20. ช่วยแก้อาการตกขาว ระดูขาวของสตรี (หัว)[2]ตำรับยาแก้ระดูขาวของสตรีและโรคบุรุษ ให้ใช้หัวข้าวเย็นใต้ 1 บาท, หัวข้าวเย็นเหนือ 1 บาท, ต้นบานไม่รู้โรย (ดอกขาว) ทั้งต้นรวมราก 1 ต้น, ต้นตะไคร้ทั้งต้นรวมราก 20 บาท และเกลือทะเล นำมาต้มกับน้ำ 3 ส่วนจนเหลือ 1 ส่วน แล้วนำมาใช้ดื่มก่อนอาหารครั้งละ 1 ถ้วยตะไล วันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น จะช่วยแก้ระดูขาวและโรคบุรุษได้ผลชะงัดดีนัก (หัว)[3]
  21. ใช้รักษาโรคเนื้องอกบริเวณปากมดลูก ด้วยการใช้ข้าวเย็นเหนือ 25 กรัมและข้าวเย็นใต้ 25 กรัม นำมาต้มด้วยไฟอ่อน ๆ ประมาณ 3 ชั่วโมง หรือต้มให้เหลือน้ำประมาณ 100 ซีซี แล้วใช้แบ่งรับประทานครั้งละ 25 ซีซี จำนวน 4 ครั้ง (หัว)[2]
  22. หัวใต้ดินมีรสหวานเอียนเบื่อ ช่วยแก้น้ำเหลืองเสีย (หัว)[2],[4],[6],[8]
  23. ช่วยระงับพิษ แก้อาการพิษจากปรอท (หัว)[1]
  24. ช่วยแก้อาการปวดบวม เป็นฝีหนองบวม ช่วยแก้ฝีแผลเน่าเปื่อย บวมพุพอง ทำให้แผลฝีหนองยุบ แก้เม็ดผื่นคัน (หัว)[1],[4],[6]
  25. ช่วยแก้มะเร็งคุดทะราด (หัว)[4],[6]
  26. ตำรับยาแก้ฝีทุกชนิด ระบุให้ใช้หัวข้าวเย็นใต้ 1 ส่วน, หัวข้าวเย็นเหนือ, กระดูกควายเผือก, กำมะถันเหลือง, ขันทองพยาบาท, หัวต้นหนอนตายหยาก หนักอย่างละ 20 บาท และเหง้าสับปะรดหนัก 10 บาท, กระดูกม้า 4 บาท, ต้นพริกขี้หนูรวมราก 1 ต้น, และผิวไม้รวก 3 กำมือ นำมาต้มในหม้อดินพอสมควร ใช้ดื่มหลังอาหารครั้งละ 1 ถ้วยชา วันละ 3 เวลา ตำรับนี้นอกจากจะช่วยแก้ฝีทุกชนิดแล้ว ยังช่วยแก้โรคแผลกลาย รักษาแผลในหลอดลมและในลำไส้อย่างได้ผลชะงัด (หัว)[3]
  27. ช่วยฆ่าเชื้อหนอง (หัว)[6],[8]
  28. ใช้รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ด้วยการใช้ข้าวเย็นเหนือและข้าวเย็นใต้ นำมาบดเป็นผง ผสมกับน้ำมันงา หรือน้ำมันมะพร้าว ใช้เป็นยาทาบริเวณแผล (หัว)[2]
  29. ช่วยแก้อาการอักเสบในร่างกาย (หัว)[6]
  30. ช่วยแก้อาการฟกช้ำเคล็ดขัดยอก (หัว)[2]
  31. ช่วยแก้อาการปวดหลัง ปวดเอว แก้อาการปวดข้อเข่า มีอาการหดเกร็งของแขนและขา ปวดข้อและเอ็น ดับพิษในกระดูก (หัว)[1],[2],[4],[6]แก้เส้นเอ็นพิการ (หัว)[4],[6]
  32. ช่วยทำให้ข้อเข่าทำงานได้อย่างเป็นปกติ (หัว)[1]
  33. หัวนำมาต้มกับน้ำรับประทานเป็นยาช่วยลดอาการปวดสำหรับหญิงอยู่ไฟหลังการคลอดบุตร (หัว)[6]

วิธีใช้สมุนไพรข้าวเย็นใต้

  • ให้ขุดเก็บเหง้าในฤดูร้อนและในฤดูใบไม้ร่วง แล้วนำมาตัดรากฝอยทิ้ง ล้างให้สะอาดแล้วทำให้แห้ง หรือนำมาฝานเป็นแผ่นบาง ๆ ในขณะหัวสด แล้วนำมาทำให้แห้ง[1]
  • การใช้ตาม [1],[2] ถ้าเป็นหัวแห้งใช้ในขนาด 15-60 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทาน[1],[2]
  • หมอยาพื้นบ้านในจังหวัดสุโขทัยจะใช้หัวใต้ดินเป็นยาร่วมในยาต้มทุกชนิด[8]
  • ในหนังสือสารานุกรมสมุนไพรของอาจารย์วุฒิ วุฒิธรรมเวชได้ระบุว่า ข้าวเย็นใต้และข้าวเย็นเหนือมีสรรพคุณที่เหมือนกัน และนิยมนำมาใช้คู่กัน โดยจะเรียกว่า “ข้าวเย็นทั้งสอง[3]

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของข้าวเย็นใต้

  • สารที่พบ ได้แก่ Alkaloid, Amino acid, Diosgennin, Parillin, Saponin, Saponins, Smilax, Smilacin, Tanin, Tigogenin และในเมล็ดพบน้ำมันหอมระเหย 11.2%[2]
  • เมื่อนำน้ำยาที่ต้มได้จากข้าวเย็นเหนือ ข้าวเย็นใต้ ในอัตราส่วน 1 ต่อ 4 มาให้หนูทดลองกิน พบว่าสามารถช่วยยับยั้งเชื้อรา และเชื้อ Staphylo coccus ได้[2]
  • เมื่อนำน้ำยาที่ต้มได้จากข้าวเย็นเหนือ ข้าวเย็นใต้ ในอัตราส่วน 1 ต่อ 2 มาฉีดเข้าบริเวณช่องท้องของหนูขาวและกระต่ายทดลอง พบว่าสามารถช่วยห้ามเลือดที่ออกในบริเวณช่องท้องได้[2]
  • น้ำต้มจากทั้งต้นมีฤทธิ์ต้านการเจริญของเชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดเริมในหลอดทดลอง และรักษาโรคเรื้อนกวางในคนได้[

คำสำคัญ : ข้าวเย็นใต้

ที่มา : ้https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). ข้าวเย็นใต้. สืบค้น 19 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1578&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1578&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

บุกอีรอกเขา

บุกอีรอกเขา

บุกอีรอกเขา จัดเป็นไม้ล้มลุกข้ามปี มีเหง้าอยู่ใต้ดิน เจริญเติบโตได้ในดินร่วนที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง ระบายน้ำดี พบได้ทั่วไป ชอบขึ้นตามริมแม่น้ำ ในพื้นที่โล่ง ทุ่งหญ้า พื้นที่ที่มีความชื้นสม่ำเสมอและฝนตกชุก ใบบุกอีรอกเขา ใบเป็นใบเดี่ยว ก้านใบยาวมีลักษณะกลมและอวบน้ำ ไม่มีแกน ยาวประมาณ 50-120 เซนติเมตร ใบมีลายสีเขียว เทา น้ำตาล และดำเป็นจุดพื้นจุดด่าง มีก้านใบย่อยแตกออกจากปลายก้านใบ 2-3 ก้าน และมีใบประดับ 10-120 ใบ ออกเป็นคู่ ลักษณะเป็นรูปคล้ายหอก ขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 10-50 เซนติเมตร และยาวประมาณ 15-25 เซนติเมตร ผิวใบเป็นคลื่น หูใบติดกับก้านใบย่อย

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้เช้าชม 12,265

เห็ดฟาง

เห็ดฟาง

สำหรับเห็ดฟางนั้นเรียกได้ว่าเป็นเห็ดยอดนิยมชนิดหนึ่งของคนไทยเลยก็ว่าได้ ซึ่งจะเห็นได้จากอาหารในหลากหลายเมนูที่มักจะมีเห็ดฟางเป็นส่วนประกอบอยู่อย่างแพร่หลาย และเห็ดฟางนี้ยังสามารถหาซื้อมารับประทานหรือประกอบอาหารได้ง่ายตามท้องตลาดหรือซูเปอร์มาร์เก็ตต่างๆ โดยมีทั้งเห็ดฟางแบบสด และบรรจุกระป๋อง หรืออบแห้ง ซึ่งจะเห็นได้ว่าเห็ดฟางนั้นเป็นที่ต้องการของตลาดเป็นอย่างมากเลยทีเดียว

เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 3,913

เสน่ห์จันทน์แดง

เสน่ห์จันทน์แดง

เสน่ห์จันทน์แดง หรือ ว่านเสน่ห์จันทน์แดง มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนชื้นของเอเชียและอเมริกา จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก ลำต้นเกิดจากหัวใต้ดิน ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง ประกอบด้วยก้านใบหลายๆ ก้าน ไม่แตกกิ่งก้านสาขา มีความสูงได้ประมาณ 45-60 เซนติเมตร นอกนั้นจะเป็นก้านใบและตัวใบ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการปักชำหรือแยกหัว เป็นพรรณไม้ในที่ร่มหรือแดดรำไร เจริญเติบโตได้ดีในดินที่มีความชื้นสูง ระบายน้ำได้ดี แต่ไม่ชอบน้ำขัง

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 6,074

มะเขือม่วง

มะเขือม่วง

ต้นมะเขือม่วง จัดเป็นพืชล้มลุกหรือไม้พุ่มที่มีความสูงประมาณ 1-1.5 เมตร ลำต้นมีขนนุ่มปกคลุมอยู่ทั่วไปและอาจมีหนามเล็ก ๆ แต่ไม่มากนัก สามารถออกดอกและผลได้ตลอดทั้งปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ใบเป็นใบเดี่ยวขนาดใหญ่ ออกสลับข้างกัน ลักษณะของใบเป็นรูปค่อนข้างกลม ปลายใบแหลม โคนใบเบี้ยว ส่วนขอบใบหยักหรือเป็นคลื่น ท้องใบมีขนหนาสีเทา ออกดอกเดี่ยวหรือออกเป็นช่อตามซอกใบ ดอกเป็นดอกแบบสมบูรณ์เพศ ผลมีลักษณะกลมรียาวทรงหยดน้ำ ผิวผลเรียบเป็นสีม่วง ขนาดของผลขึ้นอยู่กับสายพันธุ์

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 9,368

กำจาย

กำจาย

ต้นกำจาย จัดเป็นพรรณไม้พุ่มรอเลื้อย มีความสูงได้ประมาณ 2.5-10 เมตร ลำต้นและก้านใบมีหนามแหลมแข็งและโค้งคล้ายหนามกุหลาบ ตามกิ่งอ่อนมีขนสั้นขึ้นปกคลุม ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ส่วนใหญ่จะไม่นิยมปลูกต้นกำจายไว้ตามบ้าน เนื่องจากต้นกำจายเป็นไม้ที่มีหนามแหลมและเป็นไม้เถาเลื้อย แต่จะมีปลูกไว้เพื่อใช้ประโยชน์ทางยาตามสวนยาแผนไทย 

เผยแพร่เมื่อ 18-05-2020 ผู้เช้าชม 3,803

จิกน้ำ

จิกน้ำ

ต้นจิกน้ำ เป็นไม้ยืนต้นประเภทผลัดใบ มีความสูงประมาณ 5-15 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มรีหรือแผ่กว้าง มีลำต้นเป็นปุ่มปม เปลือกสีน้ำตาลแตกเป็นร่องและเป็นสันแหลมตามยาว กิ่งก้านมักคดงอ ปลายกิ่งมักลู่ลง ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและการตอนกิ่ง เป็นไม้ที่มีถิ่นกำเนิดทั่วไปในภูมิภาคเอเชียใต้และอัฟกานิสถาน ฟิลิปปินส์ ไปจนถึงทางตอนเหนือของประเทศออสเตรเลียในแถบรัฐควีนส์แลนด์ และสำหรับประเทศไทยบ้านเราก็จะพบต้นจิกน้ำได้ทั่วทุกภาคตามริมฝั่งน้ำ ริมคลอง ริมบึง ป่าพรุและป่าชายเลน

เผยแพร่เมื่อ 26-05-2020 ผู้เช้าชม 34,521

หนามโค้ง

หนามโค้ง

หนามโค้ง จัดเป็นพรรณไม้เถาเลื้อยพาดพันต้นไม้อื่น มีเนื้อไม้แข็ง มีหนามแหลมโค้งเป็นคู่ทั่วทั้งลำต้น เปลือกเถาเป็นสีน้ำตาล ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปขอบขนาน ปลายใบมน โคนใบเบี้ยว แผ่นใบบาง ใบย่อยนั้นมีขนาดเล็ก ออกดอกเป็นช่อที่ปลายยอด ดอกเป็นสีเหลือง กลีบดอกมี 4 กลีบ และมีกลีบเลี้ยงดอก 4 กลีบ ผลมีลักษณะเป็นฝักแบน ปลายฝักแหลม โคนฝักแหลม ภายในฝักมีเมล็ดประมาณ 4-6 เมล็ด เมล็ดมีลักษณะแบน

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 3,554

มะขวิด

มะขวิด

ต้นมะขวิด มีแหล่งกำเนิดในประเทศอินเดีย พม่า ศรีลังกา และอินโดจีน ปลูกทั่วไปในบริเวณหมู่บ้านและสวน แล้วแพร่กระจายไปตามธรรมชาติ ในประเทศมาเลเซียและเกาะชวากับเกาะบาลี อินโดนีเซีย และมีการนำไปปลูกในแคลิฟอร์เนียและฟลอริดาเพื่อใช้ในการศึกษา โดยจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีความสูงของต้นประมาณ 15-25 เซนติเมตร เป็นไม้ผลัดใบแต่ผลิใบไว รูปทรงของต้นสวยงาม ลักษณะเป็นทรงเรือนยอดพุ่มกลม เปลือกลำต้นภายนอกมีสีเทา ส่วนภายในมีสีขาว เป็นต้นไม้ที่มีความทนต่อสภาพดินและภูมิอากาศต่างๆ ได้เป็นอย่างดี ชอบขึ้นในเขตมรสุมหรือในเขตร้อนที่มีอากาศแห้งแล้งเป็นบางช่วง

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 7,371

กวาวเครือแดง

กวาวเครือแดง

กวาวเครือแดงเป็นไม้ที่ชอบขึ้นตามภูเขาสูง และในช่วงเดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์ แต่ในปัจจุบันหาได้ยาก เพราะมีไม่มากเท่ากวาวเครือขาว กวาวเครือแดงเป็นสมุนไพรในตำรายาไทยมีสรรพคุณมากมาย ได้แก่ หัวช่วยบำรุงเนื้อหนังให้เต่งตึง บำรุงสุขภาพ แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย ทำให้หน้าอกโต บำรุงความกำหนัด ราก แก้ลมอัมพาต แก้โลหิต จัดเป็นสมุนไพรสำหรับเพศชายอย่างแท้จริง เพราะมีสรรพคุณในการบำรุงร่างกาย เป็นยาอายุวัฒนะ และที่สำคัญที่สุดยังช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 2,732

อีเหนียว

อีเหนียว

อีเหนียว จัดเป็นไม้พุ่ม ลำต้นตั้งตรง มีความสูงของต้นประมาณ 60-150 เซนติเมตร กิ่งก้านอ่อน แตกกิ่งก้านที่ปลาย ตามลำต้นมีขนปกคลุมหนาแน่นถึงปานกลาง มีขนาดยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร มีเขตการกระจายพันธุ์แอฟริกา เอเชีย มาเลเซีย และพบในทุกภาคของประเทศไทยตามป่าโปร่งทั่วไป ป่าเปิดใหม่ ที่ระดับสูงถึง 1,900 เมตร จากระดับน้ำทะเล

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 2,417