แตงโม

แตงโม

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้ชม 11,542

[16.4258401, 99.2157273, แตงโม]

แตงโม ชื่อสามัญ Watermelon
แตงโม ชื่อวิทยาศาสตร์ Citrullus lanatus (Thunb.) Matsum. & Nakai (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Citrullus vulgaris Schrad.) จัดอยู่ในวงศ์แตง (CUCURBITACEAE)
แตงโม มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า แตงจีน (ตรัง), บะเต้า (ภาคเหนือ), บักโม (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) เป็นต้น
          แตงโม เป็นผลไม้ที่มีต้นกำเนิดในแถบทวีปแอฟริกาในทะเลทรายคาลาฮารี ซึ่งชาติที่แรกที่ปลูกแตงโมไว้รับประทานนั้นก็คือชาวอียิปต์ (สี่พันกว่าปีมาแล้ว) สำหรับประเทศไทยนั้นการปลูกแตงโมจะมีอยู่ทั่วทุกภาคและปลูกได้ทุกฤดู
โดยพันธุ์ที่นิยมปลูกกันมากโดยทั่วไปจะมีอยู่ 3 สายพันธุ์หลัก ๆ นั่นก็คือ พันธุ์ธรรมดาทั่วไป (เมล็ดมีขนาดเล็ก รสหวาน เช่น แตงโมจินตหรา แตงโมตอร์ปิโด แตงโมกินรี แตงโมน้ำผึ้ง แตงโมไดอานา แตงโมจิ๋ว เป็นต้น) สายพันธุ์ต่อมาก็คือ พันธุ์ไร้เมล็ด (เป็นพันธุ์ผสมผลิตเพื่อส่งออก) และพันธุ์กินเมล็ด (ปลูกเพื่อนำเมล็ดมาคั่วที่เรียกกันว่า "เม็ดกวยจี๋" นั่นแหละ)
          แตงโม จัดเป็นพืชในตระกูลเดียวกันกับแคนตาลูป ฟักทอง แตงกวา ซึ่งนักพฤกษศาสตร์จัดให้อยู่ในวงศ์ CUCURBITACEAE เป็นผลไม้ที่มีน้ำประกอบอยู่ในปริมาณมากจึงมีคุณสมบัติเย็น รับประทานแล้วหวานชื่นใจ สำหรับประโยชน์ของแตงโมนั้นก็เช่น ช่วยลดอาการไข้ คอแห้ง รักษาแผลในปาก เป็นต้น และยังเป็นผลไม้เพื่อสุขภาพอีกด้วย เพราะอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิด อย่างเช่น วิตามินเอ วิตามินซี วิตามินบีรวม แคลเซียม เหล็ก แมกนีเซียม โพแทสเซียม ฟอสฟอรัส เป็นต้น แต่สำหรับผู้ที่มีกระเพาะ ม้ามไม่แข็งแรง กระเพาะลำไส้อักเสบ หญิงหลังคลอด หลังป่วยหนัก หรือผู้ที่มีอาการปัสสาวะมากและบ่อย มีอาการท้องร่วงง่าย ไม่ควรรับประทานแตงโม
           แตงโมมีสารอีกชนิดหนึ่งที่สำคัญอย่างมากนั่นก็คือ Citrulline (ซิทรูไลน์) ซึ่งจะพบสารนี้ในเปลือกมากกว่าส่วนของเนื้อ ดังนั้นการรับประทานแตงโมที่มีส่วนเปลือกขาว ๆ ติดมาด้วยก็จะเป็นประโยชน์ที่ดีมากกว่าที่จะกินแต่เนื้อสด ๆ สำหรับประโยชน์ของสารนี้ก็คือ จะช่วยขยายเส้นเลือด ดีต่อระบบภูมิคุ้มกันและยังเป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับคนที่เป็นโรคเบาหวานและโรคอ้วนอีกด้วย เพราะมีแคลอรีต่ำมาก อย่างไรก็ตามก่อนที่เราจะผ่าแตงโมรับประทาน ควรจะล้างเปลือกให้สะอาดเสียก่อนเพื่อป้องกันสารพิษตกค้างซึ่งอาจจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้ เพราะแตงโมเป็นพืชที่ถูกรบกวนได้ง่ายจากแมลงศัตรูพืชต่าง ๆ ชาวสวนจึงนิยมที่จะฉีดยาฆ่าแมลงเป็นปกติ
          นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยว่าในเนื้อและเปลือกของแตงโมมีสารออกฤทธิ์ที่ทำงานคล้ายกับไวอากรา หากบริโภคเข้าไปมาก ๆ สาร Citrulline ในแตงโมจะทำปฏิกิริยากับเอนไซม์ในร่างกายทำให้เกิดกรดอะมิโนอาร์จินีนขึ้นมา ซึ่งออกฤทธิ์กระตุ้นทำให้หลอดเลือดคลายตัวและทำให้ระบบหมุนเวียนเลือดดีขึ้นคล้าย ๆ กับฤทธิ์ของไวอากรา
          แต่ก็มีผู้เชี่ยวชาญแย้งว่าแม้มันจะมีคุณสมบัติดังกล่าว แต่การที่รับประทานแตงโมเข้าไปมาก ๆ ก็คงช่วยแก้อาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศไม่ได้ เพราะน่าจะมีผลแค่ทำให้ร่างกายปัสสาวะบ่อยขึ้นเท่านั้น เพราะที่ผ่านมาแตงโมจะนำไปใช้เป็นยาขับปัสสาวะมากกว่ายารักษาโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ และผลเสียที่จะตามมาก็คือ หากรับประทานแตงโมมากเกินไป น้ำตาลในผลแตงโมอาจแพร่เข้าสู่กระแสเลือดได้ ซึ่งมีผลทำให้เป็นตะคริวได้ง่ายขึ้น

ประโยชน์ของแตงโม
1. เป็นผลไม้ที่เหมาะกับผู้ต้องการลดความอ้วนหรือควบคุมน้ำหนักอย่างมาก เพราะมีแคลอรีต่ำ
2. ประโยชน์แตงโมช่วยในการควบคุมน้ำหนักไม่ให้น้ำหนักเกิน ป้องกันการสะสมของไขมันที่เป็นอันตรายกับร่างกาย ลดปริมาณไขมันที่จับอยู่ภายในเลือด
3. แตงโมมี "ไลโคปีน" (Lycopene) ซึ่งเป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งและโรคหัวใจ
4. ช่วยบำรุงผิวพรรณและเส้นผมให้แข็งแรง เพราะประกอบไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิด
5. แตงโมมีกรดอะมิโน Citrulline ซึ่งมีส่วนช่วยป้องกันโรคหัวใจ
6. แตงโมมีสารออกฤทธิ์ชนิดหนึ่งที่คล้ายกับยาแก้อาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ อย่างไวอากรา ซึ่งจะออกฤทธิ์กระตุ้นให้หลอดเลือดคลายตัว ช่วยให้ระบบหมุนเวียนของ
    เลือดดีขึ้น
7. มีส่วนช่วยบำรุงสายตา เพราะมีวิตามินเอในผลแตงโม
8. มีส่วนช่วยล้างพิษจากอาหารที่เรารับประทานเข้าไปได้ด้วย
9. ใช้รับประทานเป็นผลไม้สด ทำเป็นน้ำผลไม้ดื่มคลายร้อน ลดความร้อนในร่างกาย
10. เปลือกหรือผลอ่อนใช้ทำเป็นอาหาร อย่างแกงส้ม เป็นต้น
11. เปลือกที่มีสีเขียวอ่อนหรือขาวสามารถนำมารับประทานเป็นผักได้
12. นำไปทำเป็นไวน์ได้
13. นำไปแปรรูปเป็น แยมแตงโม เมล็ดแตงโม หรือทำเป็นสบู่แตงโมก็ได้
14. แตงโมพอกหน้า ใช้ทำเป็นทรีตเมนต์บำรุงผิว ช่วยเพิ่มความชุ่มชื่นให้แก่ผิว แก้ปัญหาผิวแห้งกร้าน ช่วยดูดซับความมันบนใบหน้า และลดอาการแสบแดง วิธีการง่าย ๆ
      เพียงแค่นำเนื้อแตงโมมาฝานบาง ๆ แล้วนำมาวางไว้บนผ้าขาวบาง จากนั้นนำมาวางปิดลงบนใบหน้าให้ทั่วทิ้งไว้ประมาณ 15 นาที แล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด

สรรพคุณของแตงโม
1. ช่วยแก้เบาหวานและดีซ่าน
2. ช่วยบำรุงสมอง (เมล็ด)
3. ช่วยบำรุงร่างกาย (เมล็ด)
4. ช่วยบำรุงปอด (เมล็ด)
5. แตงโมมีสรรพคุณช่วยควบคุมความดันโลหิตและมีส่วนช่วยลดความดันโลหิตลงได้ (Citrulline)
6. ช่วยรักษาโรคหลอดเลือดแดงแข็งตัวได้
7. ช่วยป้องกันและรักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน
8. ช่วยป้องกันหวัด
9. ช่วยลดอาการไข้ แก้คอแห้ง (น้ำแตงโม)
10. ใช้เป็นยาลดไข้ด้วยการใช้ใบมาชงดื่ม (ใบ)
11. ช่วยบรรเทารักษาแผลในช่องปาก (น้ำแตงโม)
12. ป้องกันการเจ็บคอด้วยการนำเปลือกแตงโมไปต้มเดือดแล้วเติมน้ำตาลทรายแล้วนำน้ำมาดื่ม (เปลือก)
13. แก้อาการเมาเหล้า
14. แก้โรคตับ (เมล็ด)
15. แตงโมมีเบตาแคโรทีน ซึ่งช่วยป้องกันการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร ทางเดินหายใจ และระบบขับปัสสาวะ
16. ช่วยย่อยอาหาร ช่วยระบายท้อง
17. สรรพคุณของแตงโมใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ (เมล็ด)
18. ช่วยขับปัสสาวะ
19. แก้อาการปวดกระเพาะปัสสาวะ (เมล็ด)
20. รากมีน้ำยาง ใช้กินแก้อาการตกเลือดหลังการแท้ง (ราก)
21. ใช้ทารักษาแผล ด้วยการใช้เปลือกแตงโมล้างสะอาด นำมาผิงไฟหรือตากให้แห้ง นำมาบดให้เป็นผง แล้วนำมาบริเวณแผล (เปลือก)
22. สรรพคุณแตงโมช่วยทำให้แผลหายเร็วขึ้น
23. ช่วยป้องกันการติดเชื้อต่าง ๆ

คำสำคัญ : แตงโม

ที่มา : https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). แตงโม. สืบค้น 27 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1634&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1634&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

กระพี้เขาควาย

กระพี้เขาควาย

ลักษณะทั่วไป เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลัดใบสูง 15 - 25 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มกลมยาว ค่อนข้างโปร่ง เปลือกสีเทานวลๆ เปลือกในสีน้ำตาลแดง กระพี้สีน้ำตาลอ่อน กิ่งอ่อนยอดอ่อนมีขน ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกเรียงสลับ ยาว 10 - 15 ซม. มีใบย่อย รูปขอบขนานแกมไข่กลับ กว้าง 2 - 2.5 ซม. ยาว 6 – 7.5 ซม. ส่วนกว้างที่สุดค่อนไปทางปลายใบมนโค้งหยักเว้าเห็น  ได้ชัด โดนฐานใบสอบเข้าเป็นรูปลิ่มหรือมนกลม เนื้อใบค่อนข้างหนา ใบแก่เกลี้ยง ดอกออกเป็นช่อ  มีลักษณะเป็นกระจุกคล้ายรังผึ้งสีขาวอมชมพูอ่อนๆ ออกที่กิ่งข้างตาและปลายยอด ฐาน กลีบดอกเชื่อมติดกันรูปถ้วยกลีบดอกบานแล้วขอบกลีบดอกม้วนขึ้น

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 6,600

ว่านตีนตะขาบ

ว่านตีนตะขาบ

ว่านตีนตะขาบ จัดเป็นพรรณไม้ขนาดเล็ก ลำต้นเป็นปล้อง ๆ มีลักษณะกลมโตเท่ากับหางหนูมะพร้าวอ่อน แต่เมื่อลำต้นนั้นสูงขึ้นก็จะกลายเป็นไม้เลื้อย ต้นหนึ่งจะยาวได้ประมาณ 7-10 ฟุต ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการปักชำ ใบว่านตีนตะขาบ ใบจะออกติดกันเป็นปีกสองข้าง จากโคนต้นจนถึงยอด ดูคล้ายตะขาบ 

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 14,229

ผักเป็ดน้ำ

ผักเป็ดน้ำ

ผักเป็ดน้ำ จัดเป็นพรรณไม้น้ำหรือพรรณไม้ล้มลุก มีอายุราว 1 ปี ชอบขึ้นตามแอ่งน้ำรกร้างหรือริมน้ำทั่วไป มีลำต้นอยู่บนผิวน้ำ ลำต้นมีความสูงประมาณ 1 เมตร เลื้อยทอดไปตามผิวน้ำหรือพื้นดิน แตกกิ่งก้านสาขามาก ส่วนรากจะติดอยู่ตามข้อต้น ลำต้นกลมเป็นข้อๆ ภายในของลำต้นกลวง ขยายพันธุ์ด้วยการแยกต้นไปปลูกลงในแอ่งน้ำ

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 4,533

สาบเสือ

สาบเสือ

ลักษณะทั่วไป  เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูง 1-2เมตร อายุหลายปี   ใบเป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามเป็นคู่ รูปขอบขนานแกน สามเหลี่ยมกว้าง 3-7 ซม. ยาว6-12ซม.ขอบใบหยัก  ดอกสีขาวถึงม่วงอ่อน ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ลักษณะเป็นก้อน ขนาด 4-8 มม. ดอกย่อยจำนวนมาก รอบนอกเป็นดอกเพศเมีย มีก้านชูเกสรยาว ด้านในเป็นดอกสมบูรณ์เพศกลีบ ดอกเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 5 แฉก เกสรผู้สั้น 5 อันอยู่ภายในหลอดดอกเมล็ดขนาดเล็ก รูปกระสวย แบนส่วนปลายมีขนยาวสีขาว  เป็นพืชพื้นดินเดิมของทวีปอเมริกากลางและอเมริกาใต้ ปัจจุบันพบทั่วไปในเขตร้อนตามพื้นที่เปิดหรือบริเวณป่าที่ถูกทำลายตั้งแต่ระดับน้ำทะเลจนถึงความสูง1,500เมตร

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 5,004

เพกา

เพกา

ต้นเพกาจัดเป็นไม้ยืนต้นและเป็นสมุนไพรชนิดหนึ่งที่มีถิ่นกำเนิดในอินเดียแลเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และรวมถึงประเทศไทยบ้านเราด้วย โดยพบได้ตามป่าเบญจพรรณและป่าชื้นทั่วไป แม้ว่าต้นเพกาจะมีอยู่ในหลายๆ ประเทศ แต่มีเพียงประเทศไทยเท่านั้นที่นำเพกามารับประทานเป็นผัก (จัดอยู่ในหมวดดอกฝัก) ตามตำรายาสมุนไพรนั้นเราจะใช้ส่วนต่างๆ ของต้นเพกาตั้งแต่ราก เปลือกต้น ฝัก ใบ รวมไปถึงเมล็ด ซึ่งจัดเป็นสมุนไพร "เพกาทั้ง 5" และหญิงตั้งครรภ์ไม่ควรรับประทานฝักอ่อนของเพกา เพราะอาจทำให้แท้งบุตรได้ เนื่องจากฝักของเพกามีฤทธิ์ร้อนมาก

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 4,969

แตงไทย

แตงไทย

แตงไทยเป็นผลไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชียแถวเชิงเขาหิมาลัย มีทั้งพันธุ์ผิวเรียบและผิวไม่เรียบ เช่น แคนตาลูป แตงเปอร์เซีย แตงกวาอาร์เมเนีย โดยเป็นผลไม้ที่สามารถปลูกได้ทุกภาคในประเทศไทยเรา เพราะปลูกง่าย ทนทาน แข็งแรง และให้ผลผลิตในช่วงหน้าร้อน ลักษณะของผลอ่อนจะมีสีเขียวและมีลายสีขาวพาดยาว เมื่อผลแก่เปลือกจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ผิวจะเรียบเป็นมัน เนื้อด้านในของผลจะมีสีเหลืองอ่อนอมเขียว ให้กลิ่นหอม มีเมล็ดรูปแบนรีสีครีมจำนวนมาก

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้เช้าชม 8,122

มะลิลา

มะลิลา

มะลิลาเป็นไม้พุ่ม บางพันธุ์เป็นไม้รอเลื้อย สูง 0.3-3 เมตร ใบเรียงตรงข้าม เป็นใบประกอบชนิดที่มีใบย่อย ใบเดี่ยว รูปไข่ กว้าง 3-6 ซม. ยาว 5-10 ซม. ดอกดอกเป็นช่อเล็ก ๆ มีทั้งดอกลาและดอกซ้อน ดอกสีขาว โคนดอกติดกันเป็นหลอด สีเขียวอมเหลือง ดอกกลางบานก่อน กลีบเลี้ยงแยกเป็นส่วน 7-10 ส่วน มีขนละเอียด ยาว 2 1/2-7ซม. โคนกลีบดอกเชื่อมเป็นหลอด ยาว 7-15 มม. ส่วนปลายแยกเป็นส่วนรูปไข่ แกมรี สีขาว อาจมีสีม่วงด้านนอกหรือเมื่อดอกร่วงยาว 8-15 มม. ดอกอาจซ้อนหรือลา

เผยแพร่เมื่อ 27-05-2020 ผู้เช้าชม 3,345

ตะขบ

ตะขบ

ต้นตะขบ จัดเป็นไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้นขนาดเล็ก แตกกิ่งก้านแผ่ขนานกับพื้นดิน เปลือกลำต้นเรียบเป็นสีเทา ตามกิ่งอ่อนมีขนนุ่มขึ้นปกคลุม ตะขับหรือตะขบฝรั่งนี้มีถิ่นกำเนิดในอเมริกากลางและอเมริกาใต้ พบปลูกเป็นไม้ประดับหรือไม้ผลทั่วไปในเขตร้อน ในประเทศพบปลูกเป็นไม้ประดับหรือไม้ผล และมักพบขึ้นเป็นวัชพืชตามที่รกร้างว่างเปล่าตามป่าโปร่งทั่วไป หรือมักขึ้นเองตามธรรมชาติที่นกและสัตว์ขนาดเล็กถ่ายมูลเมล็ดตะขบทิ้งไว้ สามารถขยายพันธุ์ได้เองโดยวิธีการเพาะเมล็ด ออกดอกและติดผลได้ตลอดทั้งปี

เผยแพร่เมื่อ 01-06-2020 ผู้เช้าชม 22,542

ปรู๋

ปรู๋

ลักษณะทั่วไป  ต้นเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ถึงขนาดกลาง สูง 5-15 เมตร ผลัดใบต้นมักบิด   คอดงอ เปลือกสีน้ำตาลแดงแตกล่อน เปลือกในสีเหลืองอ่อน  ใบรูปไข่กลับ รูปขอบขนาน หรือรูปหอกกลับ ดอกสีขาวนวล กลิ่นหอม ออกเป็นกระจุก ผลป้อม มีเนื้อเยื่อหุ้มเมล็ดแข็ง มีเมล็ดเดียว  เป็นไม้กลางแจ้ง ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด

 

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 2,675

มะฝ่อ

มะฝ่อ

มะฝ่อ จัดเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบช่วงสั้น มีความสูงได้ประมาณ 20-30 เมตร กิ่งก้านใหญ่และแผ่กว้าง โคนต้นมีพูพอนเล็กๆ เปลือกต้นเป็นสีน้ำตาลอมเทา กิ่งก้านภาคตัดขวางเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ตามกิ่งอ่อน ท้องใบ และช่อมีขนรูปดาว ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด มีเขตการกระจายพันธุ์ในอินเดียถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบขึ้นในป่าเบญจพรรณ ป่าดิบ ป่าชุ่มชื้นหรือริมห้วย ที่ระดับความสูงประมาณ 50-600 เมตร

เผยแพร่เมื่อ 13-07-2020 ผู้เช้าชม 3,559