ผักเป็ดน้ำ
เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้ชม 7,013
[16.4258401, 99.2157273, ผักเป็ดน้ำ]
ผักเป็ดน้ำ ชื่อสามัญ Alligator weed
ผักเป็ดน้ำ ชื่อวิทยาศาสตร์ Alternanthera philoxeroides (Mart.) Griseb. จัดอยู่ในวงศ์บานไม่รู้โรย (AMARANTHACEAE)
ผักเป็ดน้ํา ยังมีชื่อเรียกอื่นอีกว่า ผักเป็ด (ทั่วไป), คงซิมเกี่ยง (จีน-แต้จิ๋ว), คงซินเจี้ยน คงซินเหลี่ยนจื่อเฉ่า (จีนกลาง) เป็นต้น
ลักษณะของผักเป็ดน้ำ
- ต้นผักเป็ดน้ำ จัดเป็นพรรณไม้น้ำหรือพรรณไม้ล้มลุก มีอายุราว 1 ปี ชอบขึ้นตามแอ่งน้ำรกร้างหรือริมน้ำทั่วไป มีลำต้นอยู่บนผิวน้ำ ลำต้นมีความสูงประมาณ 1 เมตร เลื้อยทอดไปตามผิวน้ำหรือพื้นดิน แตกกิ่งก้านสาขามาก ส่วนรากจะติดอยู่ตามข้อต้น ลำต้นกลมเป็นข้อ ๆ ภายในของลำต้นกลวง ขยายพันธุ์ด้วยการแยกต้นไปปลูกลงในแอ่งน้ำ
- ใบผักเป็ดน้ำ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ โดยจะออกตามข้อต้น ลักษณะของใบเป็นรูปรียาวหรือรูปไข่กลมรี ปลายใบแหลม โคนใบแหลม ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1-1.8 เซนติเมตรและยาวประมาณ 3-5 เซนติเมตร มีขนขึ้นปกคลุมอยู่ทั่วไปตามขอบใบทั้งสองด้าน เส้นกลางใบนูน แผ่นใบเป็นสีเขียว ก้านใบสั้น
- ดอกผักเป็ดน้ำ ออกดอกเป็นช่อหรือออกเป็นดอกเดี่ยว โดยจะออกตามส่วนยอดของลำต้นหรือตามง่ามใบ ก้านช่อดอกยาวประมาณ 1-4 เซนติเมตร ลักษณะของดอกจะกลมคล้ายถ้วย กลีบดอกเป็นสีขาวเรียงซ้อนกัน ดอกมีเกสรเพศผู้ 5 ก้าน และเกสรเพศเมีย 1 ก้าน
- ผลผักเป็ดน้ำ ผลมีลักษณะแบนกลมรี ขอบหนาและเป็นหนาม ภายในผลจะมีเมล็ดอยู่ 1 เมล็ด
สรรพคุณของผักเป็ดน้ำ
- ช่วยรักษาวัณโรค ชนิดที่ไอเป็นเลือด ให้ใช้ต้นสดผสมกับน้ำตาลกรวดแล้วตุ๋นกับน้ำรับประทาน ซึ่งจะใช้ประมาณ 120 กรัมและ 15 กรัม (ต้น)
- ช่วยแก้เยื่อสมองอักเสบชนิดบี (ทั้งต้น) หรือหากนำมาปรุงเป็นยาฉีดก็จะใช้รักษาโรคไข้สมองอักเสบและไข้เลือดออกในระยะแรกได้ (ทั้งต้น)
- ใช้เป็นยาแก้ไข้ ดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ แก้หัด ทำให้เลือดเย็น (ทั้งต้น)
- ช่วยแก้ไข้หวัดระบาดตัวร้อน ด้วยการใช้ต้นสด 40-75 กรัมนำมาต้มกับน้ำรับประทาน (ต้น)
- ช่วยแก้อาการไอเป็นเลือด (ทั้งต้น) ใช้แก้ไอ อาเจียนเป็นเลือด ด้วยการใช้ต้นสดประมาณ 75-100 กรัมนำมาต้มกับน้ำ เติมน้ำตาลเล็กน้อยแล้วนำมารับประทาน (ต้น)
- ช่วยขับปัสสาวะ (ทั้งต้น)
- ช่วยขับน้ำชื้นในร่างกาย (ทั้งต้น)
- ช่วยแก้ตับอักเสบชนิดเอ (ทั้งต้น)
- ช่วยแก้อีสุกอีใส (ทั้งต้น)
- ใช้ภายนอกแก้งูสวัด ด้วยการใช้ต้นสดนำมาตำพอกบริเวณที่เป็น (ทั้งต้น)
- ใช้รักษาโรคหนองใน ด้วยการใช้ต้นสดประมาณ 60 กรัมนำไปตุ๋นกับน้ำรับประทาน (ต้น)
- ช่วยรักษาโรคผิวหนังผดผื่นคัน ฝีหนอง (ทั้งต้น)
- ใช้รักษาแผลมีน้ำเหลืองหรือเป็นผดผื่นคัน ให้ใช้ต้นสดผสมกับน้ำซาวข้าวแล้วนำมาตำให้เข้ากัน คั้นเอาแต่น้ำใช้ทาบริเวณที่เป็น (ต้น)
- หากเป็นฝี ให้ใช้ต้นสดนำมาตำผสมกับน้ำผึ้งทาบริเวณที่เป็น (ต้น)
- ใช้แก้พิษงูหรือถูกงูกัด ให้ใช้ต้นสดประมาณ 150-250 กรัมนำมาตำคั้นเอาแต่น้ำรับประทาน ส่วนกากที่เหลือนั้นให้เอามาพอกบริเวณที่ถูกงูกัด (ต้น)
ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของผักเป็ดน้ำ
- ทั้งต้นจะมีสาร 7α-L-rhamnosyl-6-methoxyluteolin และมีสารซาโปนิน (Saponin) ซึ่งเป็นพิษต่อพวกปลา โดยซาโปนิน ถ้าทำการย่อยแล้วจะได้น้ำตาล 3 ชนิด ได้แก่ กลูโคส แรมโนส และไรโบส นอกจากนี้ยังพบว่ามีกรดโอลีอะโนลิค (Oleanolic acid) ซึ่งเป็นสารที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง เนื่องจากสารชนิดนี้สามารถช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตได้
- ถ้านำสารที่สกัดได้จากผักเป็ดน้ำมาทำเป็นยาฉีดชนิด จะมีฤทธิ์เป็นยาฆ่าเชื้อ Enecphalitis virus type B, Hepatitis virus type A, Rabies virus และเป็นยาฉีดที่มีพิษน้อยมาก
- จากการทดสอบความเป็นพิษ พบว่ามีพิษน้อยมาก เพราะเมื่อนำมาทดสอบกับหนูในขนาดที่เกินกว่า 455.4 กรัมต่อน้ำหนักตัวของหนู 1 กิโลกรัม โดยฉีดเข้าทางเส้นเลือด จะทำให้หนูทดลองจำนวนครึ่งหนึ่งตาย (สรุปก็คือ หากใช้ในปริมาณที่เกินกว่า 455.5 ซีซีต่อหนึ่งกิโลกรัม ถึงจะทำให้เกิดพิษต่อร่างกาย)
- เมื่อใช้ยาสดในขนาด 20 กรัมต่อ 1 กิโลกรัมมาสกัดทำเป็นยาฉีด โดยแบ่งฉีดวันละ 2-3 ครั้ง ติดต่อกัน 1-4 เดือน พบว่าจากการรักษาผู้ป่วยจำนวน 613 คน พบว่าผู้ป่วย 596 คน หายดีเป็นปกติ และอีก 17 คน มีอาการดีขึ้น
ประโยชน์ของผักเป็ดน้ำ
- ยอดอ่อนของผักเป็ดน้ำสามารถนำมาใช้ปรุงเป็นอาหารได้ เช่น การนำมาลวกรับประทานกับน้ำพริก หรือนำไปชุบแป้งทอดกับไข่
ข้อห้ามในการใช้สมุนไพรผักเป็ดน้ำ
- หากต้นผักเป็ดน้ําเจริญเติบโตในแหล่งน้ำที่เป็นพิษ ห้ามนำมาใช้เด็ดขาด เพราะอาจทำให้เป็นอันตรายต่อชีวิตได้
คำสำคัญ : ผักเป็ดน้ำ
ที่มา : https://medthai.com/
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). ผักเป็ดน้ำ. สืบค้น 16 มีนาคม 2568, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1712&code_db=610010&code_type=01
Google search
ต้นหนาด จัดเป็นไม้พุ่ม ที่มีความสูงของต้นได้ประมาณ 1 เมตร ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง ขึ้นเดี่ยวๆ หรือแตกกิ่งแผ่เป็นครีบ 4 ครีบ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปขอบขนานหรือรูปขอบขนานแกมใบหอก ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2-3.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 7-10 เซนติเมตร ใบมีขนยาวสีขาวแกมเทาทั้งสองด้าน ออกดอกเป็นช่อ โดยจะออกที่ปลายกิ่ง กลีบดอกเป็นสีม่วง ผลเป็นผลแห้งไม่แตก มีขนละเอียดนุ่มยาวคล้ายเส้นไหม
เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 5,940
กล้วยน้ำว้าเป็นไม้ล้มลุก ลำต้นสูงประมาณ 3.5 เมตร กาบเรียงซ้อนกันเป็นลำต้น สีเขียวอ่อน เป็นใบเดี่ยวขนาดใหญ่ เรียงสลับกัน รูปขอบขนาน ปลายมน ขอบและแผ่นใบเรียบ ก้านใบเป็นร่องแคบๆ ส่วนดอกจะออกเป็นช่อตรงปลายห้อยลง หรือที่เรียกกันว่า หัวปลี และผลเป็นรูปทรงรี ยาวประมาณ 11-13 เซนติเมตร ผิวเรียบ เนื้อในขาว ผลดิบมีสีเขียว เมื่อสุกจะเป็นสีเหลือง รสชาติหวาน อร่อย โดยใน 1 หวี มีผลอยู่ประมาณ 10-16 ผล
เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 8,821
ต้นกระชายดำเป็นไม้ล้มลุก อายุหลายปี มีเหง้าใต้ดิน สีม่วงดำ ใบกระชายดำ ใบเดี่ยว รูปไข่ หรือรูปรี กว้าง 5-10 เซนติเมตร 10-15 เซนติเมตร ดอกกระชายดำออกเป็นช่อแทรกที่โคนกาบใบ ก้านช่อยาว 5-6 เซนติเมตร กลีบดอกส่วนโคนเชื่อมเป็นหลอด ยาว 3-3.2 เซนติเมตร ปลายแยกเป็นแฉก เกสรเพศผู้เป็นหมัน สีขาว รูปขอบขนาน กว้าง 3 มิลลิเมตร ยาว 10-13 มิลลิเมตร กลีบปากสีม่วง
เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 2,208
ชะอม (Cha-om, Acacia, Climbing Wattle) เป็นพืชที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคเหนือเรียก ผักละหรือผักหละ ส่วนภาคอีสานเรียก ผักขะ เป็นต้น ซึ่งชะอมนี้เป็นพืชสมุนไพรที่คนไทยทั่วทุกภาครู้จักกันเป็นอย่างดีอยู่แล้ว และมักนำมาประกอบอาหารต่างๆ โดยเฉพาะไข่ทอดชะอม ที่เป็นเมนูโปรดของใครหลายๆคนเลยทีเดียว แถมในชะอมนี้ยังมีประโยชน์ต่างๆมากมายอีกด้วย ซึ่งคนส่วนใหญ่มักนิยมนำชะอมมาปลูกไว้บริเวณรั้วบ้าน เพราะมีหนามแหลมและยังสามารถรับประทานได้ตลอดทั้งปีอีกด้วย
เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 3,107
ว่านตีนตะขาบ จัดเป็นพรรณไม้ขนาดเล็ก ลำต้นเป็นปล้อง ๆ มีลักษณะกลมโตเท่ากับหางหนูมะพร้าวอ่อน แต่เมื่อลำต้นนั้นสูงขึ้นก็จะกลายเป็นไม้เลื้อย ต้นหนึ่งจะยาวได้ประมาณ 7-10 ฟุต ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการปักชำ ใบว่านตีนตะขาบ ใบจะออกติดกันเป็นปีกสองข้าง จากโคนต้นจนถึงยอด ดูคล้ายตะขาบ
เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 16,864
ชุมเห็ดเทศ (Ringworm Bush, Golden Bush) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้น ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคเหนือเรียก ชุมเห็ด, ชุมเห็ดใหญ่, ขี้คาก, ลับหมื่นหลวง, หญ้าเล็บหมื่นหลวง หรือหมากกะลิงเทศ เป็นต้น ซึ่งมีการขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด สามารถเจริญเติบโตได้ดีในที่ที่มีความชุ่มชื้น โดยขึ้นได้ดีในดินแทบทุกชนิดเลยทีเดียว แถมยังปลูกได้ง่ายอีกด้วย เพราะต้นชุมเห็ดเทศนี้ไม่ต้องดูแลเอาใจใส่อะไรมากมายนัก และส่วนใหญ่มักพบต้นชุมเห็ดเทศนี้ได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย
เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 2,247
มะดัน เป็นไม้ยืนต้น ไม่ผลัดใบ แตกกิ่งก้านออกเป็นพุ่ม ลักษณะของเปลือกต้นจะเรียบ สีน้ำตาลอมดำ ใบเป็นใบเดี่ยว สีเขียวเข้ม รูปขอบขนาน ขอบใบเรียบออกเรียงสลับกัน โคนใบและปลายใบแหลม แผ่นใบเรียบลื่น ดอกเป็นดอกเดี่ยวหรือออกดอกเป็นกระจุกประมาณ 3-6 ดอก โดยดอกจะออกตามซอกใบ ดอกมีสีเหลืองอมส้มนิด ๆ ดอกมีทั้งดอกสมบูรณ์เพศและดอกเพศผู้ มีกลีบเลี้ยง 4 กลีบ ค่อนข้างกลม กลีบดอกมี 4 กลีบ คล้ายรูปแกมรูปไข่ ส่วนปลายกลีบจะมน ผลมะดัน หรือลูกมะดัน ผลมีสีเขียว ผิวเรียบเป็นมันลื่น ผลมีรสเปรี้ยวถึงเปรี้ยวจัด
เผยแพร่เมื่อ 13-07-2020 ผู้เช้าชม 12,953
เพชรสังฆาต เป็นไม้เถา เถาอ่อนสีเขียวเป็นสี่เหลี่ยมเป็นข้อต่อกัน ใบเป็นใบเดี่ยวรูปสามเหลี่ยม แผ่นใบเรียบสีเขียวเป็นมัน ออกเรียงสลับตามข้อต้น ปลายใบมน โคนใบเว้า ขอบใบหยักมนห่าง ๆ ก้านยาว ดอกเป็นสีเขียวอ่อน ออกเป็นช่อตามข้อตรงข้ามกับใบ กลีบดอกมี 4 กลีบ โคนด้านนอกสีแดง ด้านในเขียวอ่อน เมื่อดอกบานเต็มที่จะงองุ้มไปด้านล่าง ผลเป็นรูปทรงกลม ผิวเรียบเป็นมัน ผลอ่อนสีเขียว ผลสุกสีแดงออกดำ โดยส่วนที่นำมาใช้เป็นยาสมุนไพร ได้แก่ เถา ราก ใบยอดอ่อน และน้ำจากต้น
เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 4,107
จันทนา จัดเป็นไม้พุ่มขนาดกลาง มีความสูงของต้นได้ถึง 2-5 เมตร (บ้างว่าสูงได้ประมาณ 5-10 เมตร) กิ่งแขนงแตกเป็นพุ่มแน่น ลำต้นเดี่ยวตั้งตรง เปลือกต้นบาง ผิวเรียบ เป็นสีน้ำตาลเข้ม ส่วนกิ่งอ่อนเป็นเหลี่ยมมีขนสั้น เนื้อไม้และแก่นมีสีออกน้ำตาลอ่อนๆ หรืออกขาวนวล มีรสขม หวาน หรือรสขมเย็นระคนกัน โดยต้นจันทนามีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดียและพม่า มักขึ้นตามป่าดิบแล้งและป่าผลัดใบ
เผยแพร่เมื่อ 26-05-2020 ผู้เช้าชม 4,158
ต้นขมิ้นเครือ จัดเป็นพรรณไม้เลื้อยหรือไม้เถาเนื้อแข็ง ทุกส่วนเกลี้ยง ยกเว้นมีต่อมที่ใบ ลำต้นมีเนื้อไม้เป็นสีเหลือง เมื่อสับหรือฟันจะมียางสีเหลือง มีรอยแผลเป็นตามก้านใบที่หลุดร่วงไป ซึ่งรอยแผลเป็นจะมีลักษณะเป็นรูปถ้วย[1],[2] ส่วนรากสดที่อายุน้อยและขนาดเล็กจะมีรูปร่างโค้งงอไปมา ลักษณะค่อนข้างแบน และมีร่องคล้ายแอ่งเล็กอยู่ตรงกลางตลอดความยาวของราก ส่วนผิวนั้นเรียบเป็นสีน้ำตาลอมเขียวหรือเป็นสีเทาปนน้ำตาล บางตอนของรากมีรอยแตกเล็ก ๆ พาดขวางอยู่ ส่วนรากที่มีอายุมากและมีขนาดใหญ่
เผยแพร่เมื่อ 18-05-2020 ผู้เช้าชม 6,473