สาบเสือ
เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้ชม 5,249
[16.5055083, 99.509574, สาบเสือ ]
ชื่อวิทยาศาสตร์ Chromolaena odorata (Linn.) King et Robins.
ชื่อวงศ์ ASTERACEAE
ชื่ออื่น ๆ ช้าผักคราด, ยี่สุ่นเถื่อน (สุราษฎร์ธานี) บ้านร้าง, ผักคราด (ราชบุรี) (ตราด) ฝรั่งรุกที่, ฝรั่งเหาะ (สุพรรณบุรี) มุ้งกระต่าย (อุดร) รำเคย (ระนอง) หญ้าดงร้าง (สระบุรี), หญ้าดอกขาว,
หญ้าฝรั่งเศส (จันทบุรี,ตราด) หญ้าพระศิริ ไอยสวรรค์, หมาหลง (ชลบุรี) หญ้าเมืองหวาย, หญ้าเมืองฮ้าง(เหนือ) หญ้าลืมเมือง (หนองคาย) หญ้าเลาฮ้าง(ขอนแก่น) หญ้าเหม็น (ตะวันออกเฉียง
เหนือ)
ลักษณะทั่วไป
ต้น ไม้พุ่มขนาดเล็ก สูง 1-2เมตร อายุหลายปี
ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามเป็นคู่ รูปขอบขนานแกน สามเหลี่ยมกว้าง 3-7 ซม. ยาว6-12ซม.ขอบใบหยัก
ดอก สีขาวถึงม่วงอ่อน ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ลักษณะเป็นก้อน ขนาด 4-8 มม. ดอกย่อยจำนวนมาก รอบนอกเป็นดอกเพศเมีย มีก้านชูเกสรยาว ด้านในเป็นดอกสมบูรณ์เพศกลีบ ดอกเป็นหลอด
ปลายแยกเป็น 5 แฉก เกสรผู้สั้น 5 อันอยู่ภายในหลอดดอกเมล็ดขนาดเล็ก รูปกระสวย แบนส่วนปลายมีขนยาวสีขาว
นิเวศวิทยา เป็นพืชพื้นดินเดิมของทวีปอเมริกากลางและอเมริกาใต้ ปัจจุบันพบทั่วไปในเขตร้อนตามพื้นที่เปิดหรือบริเวณป่าที่ถูกทำลายตั้งแต่ระดับน้ำทะเลจนถึงความสูง1,500เมตร
ออกดอก เดือน พฤศจิกายน ถึง มกราคม
การขยายพันธุ์ ช่วยในการกระจายพันธุ์โดยลม ขยายพันธุ์โดยเมล็ด
ประโยชน์ ตำรายาไทยใช้ใบ ตำผสมกับปูนพอกห้ามเลือด ตำปิดแผล เป็นยาสมานแผลที่ดี ทั้งต้นมีกลิ่นแรง เป็นยาฆ่าแมลง ถ้าใช้แต่น้อยเป็นน้ำหอมได้ ยาพื้นบ้านใช้ราก ผสมกับรากมะนาวและรากย่านาง ต้มน้ำดื่ม แก้ไข้ป่า ตำผสมเกลือ พอกแผลห้ามเลือด ใบและดอก ตำบีบน้ำทาห้ามเลือดสาร 4,5,6,7-tetramethoxyflavone และแคลเซียมที่พบในใบทำให้เลือดแข็.ตัวได้เร็วขึ้นสารสกัดจากกิ่งและใบด้วย คลอโรฟอร์มและอะซีโตนมีผลยับยั้งการเจริญ เติบโตของเชื้อแบคทีเรีย Staphylococcus aureus และBacillus subtilis ซึ่งทำให้เกิดหนอง
ภาพโดย : https://www.samunpri.com/wp-content/uploads/2017/03/สาบเสือ.jpg
คำสำคัญ : สมุนไพร
ที่มา : กมลทิพย์ ประเทศ และคนอื่นๆ. (2543). การสำรวจพรรณไม้ในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2561). สาบเสือ . สืบค้น 13 ตุลาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=119&code_db=610010&code_type=01
Google search
กรรณิการ์ หรือกันลิกา (Night Blooming Jasmine, Night Jasmine) นั้นเป็นพืชจำพวกต้นชนิดหนึ่งซึ่งมีอยู่ทั้งในอินเดีย ชวา สุมาตรา รวมทั้งไทยด้วย โดยของไทยเราจะมีกรรณิการ์อยู่ 2 ชนิดด้วยกัน ได้แก่ กรรณิการ์ที่มักนำมาปลูกเป็นไม้ประดับอย่าง Nyctanthes arbor-tristis L. ส่วนกรรณิการ์อีกชนิดหนึ่งนั้นได้สูญพันธุ์ไปจากไทยแล้วคือ Nyctanthes Aculeate Craib ซึ่งเป็นที่น่าเสียดายมาก
เผยแพร่เมื่อ 28-04-2020 ผู้เช้าชม 6,828
แตงไทยเป็นผลไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชียแถวเชิงเขาหิมาลัย มีทั้งพันธุ์ผิวเรียบและผิวไม่เรียบ เช่น แคนตาลูป แตงเปอร์เซีย แตงกวาอาร์เมเนีย โดยเป็นผลไม้ที่สามารถปลูกได้ทุกภาคในประเทศไทยเรา เพราะปลูกง่าย ทนทาน แข็งแรง และให้ผลผลิตในช่วงหน้าร้อน ลักษณะของผลอ่อนจะมีสีเขียวและมีลายสีขาวพาดยาว เมื่อผลแก่เปลือกจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ผิวจะเรียบเป็นมัน เนื้อด้านในของผลจะมีสีเหลืองอ่อนอมเขียว ให้กลิ่นหอม มีเมล็ดรูปแบนรีสีครีมจำนวนมาก
เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้เช้าชม 8,606
มะเกลือ ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 8-15 เมตร อาจสูงได้ถึง 30 เมตร ผลัดใบหรือไม่ผลัดใบ เปลือกสีดำ แตกเป็นสะเก็ดเล็กๆ ตามยาว แก่นสีดำสนิท เนื้อละเอียดมันสวยงาม ทุกส่วนของมะเกลือเมื่อแห้งจะเปลี่ยนเป็นสีดำ ใบอ่อนและกิ่งอ่อนมีขนนุ่มทั้งสองด้าน ใบเดี่ยว เรียงสลับ แผ่นใบรูปไข่ หรือรูปไข่แกมรูปขอบขนาน กว้าง 1.5-4 เซนติเมตร ยาว 4-8 เซนติเมตร ปลายแหลม โคนสอบมน ขอบใบเรียบ ก้านใบยาว 5-10 เซนติเมตร ใบอ่อนมีขนสีเงิน ใบแก่หนา ผิวเรียบมัน ด้านใต้ใบสีเขียวซีด บางเกลี้ยง
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 3,699
กันเกราเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงใหญ่ ลำต้นสูงประมาณ 15-25 เมตร เปลือกสีน้ำตาลเข้ม เป็นใบเดี่ยวรูปทรงรี สีเขียวเข้ม โดยออกเรียงแบบตรงข้ามกัน ทั้งโคนและปลายแหลม ขอบและแผ่นใบเรียบ ส่วนเนื้อใบนั้นจะค่อนข้างเหนียว ซึ่งดอกกันเกรานั้นจะออกเป็นช่อตามซอกใบ ดอกสีขาวเมื่อเริ่มบาน แต่เมื่อบานเต็มที่จะกลายเป็นสีเหลืองอมส้ม และผลของกันเกรานั้นจะเป็นลักษณะทรงกลม รสขม ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 6-8 เซนติเมตร ผลผิวเรียบ มีติ่งแหลมสั้นๆ อยู่ตรงปลาย ออกผลในช่วงเดือนเมษายนถึงมิถุนายน เมื่อผลอ่อนจะเป็นสีเขียว พอสุกจะเป็นสีแดงเลือดนก และสามารถขยายพันธุ์โดยเมล็ด
เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 1,983
ต้นเครือพูเงิน จัดเป็นพรรณไม้เถาวัลย์เนื้อแข็ง ไม่มีมือเกาะ มีความยาวได้ประมาณ 10 เมตร ส่วนของลำต้นยังอ่อนอยู่จะมีขนยาวและราบขึ้นหนาแน่น โดยขนจะเป็นสีขาวหรือสีน้ำตาลปนเหลืองอ่อนๆ หรือบางทีจะมีคราบสีขาวๆ ติดอยู่ด้วย ส่วนเปลือกลำต้นจะเป็นสีเทาแกมขาว พรรณไม้ชนิดนี้ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด มักพบขึ้นตามป่ารุ่น ป่าละเมาะ ป่าเบญจพรรณ และตามสองข้างทางทั่วไป
เผยแพร่เมื่อ 25-05-2020 ผู้เช้าชม 1,842
หนูท้องขาว จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน ยาวได้ประมาณ 50-150 เซนติเมตร มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2.5-12.0 มิลลิเมตร ลำต้นมีลักษณะกลมเป็นสีเขียวอ่อนถึงเขียวปนน้ำตาล ลำต้นส่วนที่ถูกแสงมักเป็นสีม่วงแดงหรือสีน้ำตาล ส่วนด้านล่างที่ไม่ถูกแสงจะเป็นสีเขียว และมีขนสีเหลืองขึ้นปกคลุมอย่างหนาแน่น พบขึ้นทั่วไปในดินนา ดินทราย และในสวนป่าเต็งรังที่ความสูงเหนือระดับน้ำทะเลประมาณ 35-475 เมตร เช่น จังหวัดร้อยเอ็ด อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ชัยภูมิ ศรีสะเกษ ขอนแก่น บุรีรัมย์ สุรินทร์ นครราชสีมา พิษณุโลก สงขลา แม่ฮ่องสอน เป็นต้น
เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 2,009
ลักษณะทั่วไป ต้นเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลางแตกกิ่งก้านสาขาตามข้อต้นลำต้น เรียบเกลี้ยงไม่มีขน สูงประมาณ 3 – 8 เมตร ใบเป็นไม้ใบเดียว ออกเรียงสลับกันไปตามลำดับต้น ลักษณะของใบเป็นรูปยาวรี หรือรูปแหลม โคนใบมนหรือแหลม ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย ผิวใบเรียบเกลี้ยง ด้านบนเป็นมันสีเขียวข้น ส่วนด้านล่างนั่นมีสีอ่อนกว่า ขนาดของใบกว้างประมาณ 1 – 1.5 นิ้ว ยาว 2-5 นิ้ว ดอกเป็นไม้ดอกเดี่ยว ออกตามส่วนยอดและตามง่ามใบ ดอกมีสีเหลือง กลิ่นหอม ดอกหนึ่งจะมีอยู่ 6 กลีบ แต่กลีบชั้นในจะมีขนาดเล็กกว่าและโค้งกว่า ปลายกลีบดอกแหลม โคนกลีบดอกกว้างก้านดอกยาว 1 นิ้ว
เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 3,079
ต้นกระดอมเป็นไม้เถา ลำต้นเป็นร่อง และมีมือเกาะ (tendril) ใบกระดอมเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ มีรูปร่างต่างๆ กัน มีตั้งแต่รูปไตจนถึงรูปสามเหลี่ยม ห้าเหลี่ยม หรือเป็นแฉก โคนเว้าลึกเป็นรูปหัวใจ โคนใบเว้าลึกเป็นรูปหัวใจ ดอกกระดอมดอกแยกเพศ อยู่บนต้นเดียวกัน ใบประดับยาว 5-2 ซม. ขอบจักเป็นแฉกลึกแหลม ดอกเพศผู้ออกเป็นช่อ กลีบเลี้ยงติดกันเป็นหลอดยาว ปลายแยกเป็นแฉกรูปใบหอก 5 แฉก กลีบดอก 5 กลีบ สีขาว โคนติดกันเล็กน้อย เกสรเพศผู้ 3 อัน ดอกเพศเมียออกเดี่ยวๆ กลีบเลี้ยง และกลีบดอกมีลักษณะเหมือนดอกเพศผู้ รังไข่มีช่อเดียว ยอดเกสรเพศเมียแยกเป็น 3 แฉก
เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 3,682
ต้นมะกอกน้ำ มีเขตการกระจายพันธุ์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบได้บริเวณริมน้ำและลำห้วย ปัจจุบันนิยมปลูกกันทั่วไป โดยจัดเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบแต่ไม่พร้อมกัน มีความสูงของต้นประมาณ 8-15 เมตร แตกกิ่งก้านเป็นพุ่มโปร่ง มีรูอากาศเป็นแนวยาว เปลือกลำต้นค่อนข้างเรียบเป็นสีน้ำตาล มีรอยแตกเป็นร่องเล็ก ๆ ตื้น ๆ ตามความยาวของลำต้น ตามกิ่งมีรอยแผลใบชัดเจน ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ดและการตอนกิ่ง เจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ชื้นหรือบริเวณริมน้ำ
เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้เช้าชม 16,856
มะหาด ต้น ไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ลำต้นตั้งตรง ผิวเปลือกนอกขรุขระ สีน้ำตาล บริเวณเปลือกของลำต้นมักมีรอยแตก ไหลซึมแห้งติดกันใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปไข่รูปยาวรี ปลายแหลม โคนเว้ามน ใบอ่อนมีขอบใบหยักใบแก่ขอบเรียบหูใบเรียวแหลมดอก ช่อกลมเล็ก ๆ สีเขียว อมเหลือง ดอกตัวผู้และดอกตัวเมียอยู่คนละช่อ แต่อยู่บนต้นเดียวกัน ดอกตัวเมียกลีบดอกกลมมนโคนกลีบเชื่อมติดกันเป็นหลอดดอกตัวผู้กลีบเป็นรูปขอบขนานผล เป็นผลรวม กลมแป้นใหญ่ เปลือกนอกขรุขระ เนื้อผลนุ่ม สีเขียว แก่มีสีน้ำตาลเหลือง เมล็ดรูปรี
เผยแพร่เมื่อ 23-02-2017 ผู้เช้าชม 1,504