กระพี้เขาควาย

กระพี้เขาควาย

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้ชม 5,957

[16.5055083, 99.509574, กระพี้เขาควาย]

ชื่อวิทยาศาสตร์  Dalbergia cultrate Grah. Ex Banth.
ชื่อวงศ์  PAPILIONACEAE
ชื่อสามัญ  Burma  Blackwood
ชื่ออื่นๆ กระพี้  เกร็ดเขาควาย  เก็ดดำ  กำพี้  จักจัน  อีเม็งใบมน
ลักษณะทั่วไป
           ต้น ไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลัดใบสูง 15 - 25 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มกลมยาว  ค่อนข้างโปร่ง เปลือกสีเทานวลๆ เปลือกในสีน้ำตาลแดง กระพี้สีน้ำตาลอ่อน กิ่งอ่อนยอดอ่อนมีขน
          ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกเรียงสลับ ยาว 10 - 15 ซม. มีใบย่อย รูปขอบขนานแกมไข่กลับ กว้าง 2 - 2.5 ซม. ยาว 6 – 7.5 ซม. ส่วนกว้างที่สุดค่อนไปทางปลายใบมนโค้งหยักเว้าเห็น  ได้ชัด โดนฐานใบสอบเข้าเป็นรูปลิ่มหรือมนกลม เนื้อใบค่อนข้างหนา ใบแก่เกลี้ยง
          ดอก ออกเป็นช่อ  มีลักษณะเป็นกระจุกคล้ายรังผึ้งสีขาวอมชมพูอ่อนๆ ออกที่กิ่งข้างตาและปลายยอด ฐาน กลีบดอกเชื่อมติดกันรูปถ้วยกลีบดอกบานแล้วขอบกลีบดอกม้วนขึ้น มีลักษณะคล้ายปากนก
          ผล  เป็นฝักแบนขอบขนานปลาย และโคนบนกว้าง 2 ซม. ยาว 5 – 10 ซม. โค้งงอเล็กน้อย แต่ละฝักมี 1 – 3 เมล็ด ฝักแก่เดือนพฤษภาคม – กรกฎาคม
นิเวศวิทยา ขึ้นตามป่าเบญจพรรณโปร่งทั่วไป สูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 1,000 ม. ทางภาคเหนือมีอยู่    ประปราย ขึ้นปะปนกับไม้สักบ้าง ในป่าแดงก็มี ออกดอก    มีนาคม – เมษายน
ขยายพันธุ์ โดยการใช้เมล็ด
ประโยชน์  ด้านสมุนไพร เนื้อไม้แก้พิษไข้ ถอนพิษสำแดง แก้พิษไข้กลับช้ำแก้ร้อนในแก้กระหายน้ำ

ภาพโดย : http://treeofthai.com/wp-content/uploads/2015/02/กระพี้เขาควาย-4.jpg

คำสำคัญ : สมุนไพร

ที่มา : กมลทิพย์ ประเทศ และคนอื่นๆ. (2543). การสำรวจพรรณไม้ในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2561). กระพี้เขาควาย. สืบค้น 19 มีนาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=66&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=66&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

กระเช้าฝีมด

กระเช้าฝีมด

ต้นกระเช้าฝีมดเป็นไม้พุ่ม อิงอาศัยบนคาคบของต้นไม้อื่น ลำต้นสูง 30-60 ซม. โคนต้นขยายใหญ่เป็นรูปกลมป้อมสีน้ำตาลเทา อวบน้ำ ขนาด ผ่านศูนย์กลาง 15-40 ซม. ภายในเป็นโพรงจำนวนมาก มักเป็นที่ อาศัยของมด ใบกระเช้าฝีมดใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปรีแกมรูปขอบขนาน กว้าง 2-5 ซม. ยาว 4-10 ซม. แผ่นใบหนาอวบน้ำ ผิวใบเกลี้ยง ปลายใบมน ดอกกระเช้าฝีมดสีขาว ออกเป็นกระจุก 2-5 ดอก ตามซอกใบ ดอกย่อย ขนาดเล็ก 2-4 เมตร โคนกลีบดอกเชื่อมติดกัน ปลายกลีบแยกเป็น 4 แฉก

เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 1,461

กะเพรา

กะเพรา

กะเพราเป็นไม้ล้มลุกที่มีความสูงของต้นประมาณ 30-60 เซนติเมตร โคนต้นออกแข็ง กะเพราแดงจะมีลำต้นสีแดงอมเขียว กะเพราขาวมีลำต้นสีเขียวอมขาว และยอดอ่อนมีขนสีขาว มีใบเป็นใบเดี่ยวสีเขียวรูปรีออกตรงข้ามกัน ปลายใบมนหรือแหลม โคนใบแหลม ขอบใบเป็นจักฟันเลื่อยและเป็นคลื่น แผ่นใบมีขนสีขาว ส่วนดอกกะเพราจะออกเป็นช่อที่ปลายยอด ดอกสีขาวแกมม่วงแดงมีจำนวนมาก กลีบเลี้ยงโคนจะเชื่อมติดกัน ปลายเรียวแหลม 

เผยแพร่เมื่อ 18-05-2020 ผู้เช้าชม 3,904

ฆ้องสามย่าน

ฆ้องสามย่าน

ต้นฆ้องสามย่าน จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก ลำต้นตั้งตรง สูงได้ประมาณ 20-100 เซนติเมตร มีผิวเกลี้ยงหรือมีขนเล็กน้อย ปล้องข้างล่างจะสั้น แต่ปล้องกลางหรือปล้องบนจะยาวขึ้นเล็กน้อย แต่ไม่ค่อยแตกกิ่งก้านมาก ลำต้นและใบมีลักษณะฉ่ำน้ำ พรรณไม้ชนิดนี้เป็นพรรณไม้จำพวกมหากาฬ ใบหูเสือ หรือคว่ำตายหงายเป็น ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด ชอบดินร่วน ความชื้นและแสงแดดปานกลาง ชอบขึ้นตามพื้นที่ลุ่มทั่วไป

เผยแพร่เมื่อ 25-05-2020 ผู้เช้าชม 2,373

กุ่มบก

กุ่มบก

กุ่มบก (Sacred Barnar) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้น ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคอีสานเรียกผักก่าม เขมรเรียกถะงัน หรือสะเบาถะงัน เป็นต้น ซึ่งกุ่มบกนั้นมีแหล่งกำเนิดอยู่ในประเทศญี่ปุ่น, ออสเตรเลีย, เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกใต้, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตลอดจนภาคกลางและใต้ของไทย รวมทั้งในพุทธประวัติยังได้กล่าวไว้ว่าขณะที่พระพุทธเจ้าทรงนำห่อบังสุกุลที่ห่อศพนางมณพาสีไปซักแล้วนำไปตากไว้ที่ต้นกุ่ม และเทวดาที่สถิตอยู่ในต้นกุ่มก็ได้น้อมกิ่งลงมาให้พระพุทธเจ้าได้ทรงตากจีวรอีกด้วย

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 3,321

กระเจานา

กระเจานา

ต้นกระเจานาเป็นไม้ล้มลุก ต้นเตี้ยเรี่ยพื้นจนถึงสูง 1 เมตร ลำต้นสีแดง เกลี้ยงหรือมีขน ใบกระเจานาใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปไข่ กว้าง 3-5 เซนติเมตร ยาว 4-10 เซนติเมตร ปลายแหลม โคนมน ขอบจักฟันเลื่อย จักสุดท้ายตรงโคนใบมีระยางค์ยื่นออกมายาวประมาณ 7 มิลลิเมตร ข้างละ 1 เส้น เส้นแขนงใบออกจากโคนใบ 1 คู่ ยาวเกือบถึงปลายใบ ด้านล่างมีขนและเห็นเส้นแขนงใบชัดเจน ก้านใบยาว 2-3 เซนติเมตร มีขนและเป็นร่องทางด้านบน หูใบรูปสามเหลี่ยมเรียวแหลมยาวประมาณ 3 เซนติเมตร

เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 2,547

กะทกรก

กะทกรก

ต้นกะทกรกจัดเป็นไม้เถาเลื้อย มีอายุประมาณ 2-5 ปี มีมือสำหรับใช้ยึดเกาะ และมีขนขึ้นปกคลุมอยู่ทุกส่วน และทุกส่วนของลำต้นเมื่อนำมาขยี้จะทำให้เกิดกลิ่นเหม็นเขียว ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ด และเจริญเติบโตได้ดีในที่ราบ มีใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปหัว ปลายใบแหลม โคนใบเว้า ส่วนขอบใบเว้าเป็น 3 แฉก แผ่นใบมีขนสีน้ำตาลขนาดเล็กขึ้นทั้งสองด้าน และที่ขนมีน้ำยางเหนียว 

เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 11,916

เหมือดโลด

เหมือดโลด

เหมือดโลดเป็น ไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 6-15 เมตร เปลือกต้นสีเทาดำ หนา แตกเป็นร่องลึกตามยาว ยอดอ่อนและช่อดอกมีขนสีน้ำตาลอมเหลืองหม่นขึ้นหนาแน่น ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับ แผ่นใบรูปขอบขนานกว้าง หรือรูปรีแกมรูปไข่ กว้าง 6-10 เซนติเมตร ยาว 10-16 เซนติเมตร ปลายแหลมหรือเรียวแหลม โคนมนหรือรูปหัวใจตื้น ขอบใบเรียบ หรือมีคลื่นเล็กน้อย ผิวด้านบนมีขนประปราย ผิวใบด้านล่างมีขนสีน้ำตาลแดงหนาแน่น ผิวใบด้านบนค่อนข้างสาก แผ่นใบหนาคล้ายแผ่นหนัง เส้นแขนงใบข้างละ 8-11 เส้น เส้นใบย่อยแบบร่างแหชัดเจนทั้งสองด้าน ก้านใบยาว 1.2-1.8 เซนติเมตร หูใบรูปไข่ยาว 4-6 มิลลิเมตร

เผยแพร่เมื่อ 23-02-2017 ผู้เช้าชม 1,878

สังกรณี

สังกรณี

สังกรณี จัดเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก แตกกิ่งก้านสาขารอบๆ ต้นมากมาย มีความสูงของลำต้นประมาณ 60-120 เซนติเมตร ตามต้นไม่มีหนาม ตามกิ่งก้านมีขนสีน้ำตาลปกคลุมอยู่ จัดเป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุยและมีความชื้นปานกลาง มักพบขึ้นมากตามป่าเต็งรัง ป่าไผ่ ป่าดงดิบ และป่าดิบแล้ง

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 7,351

ผักแพว

ผักแพว

ผักแพว จัดเป็นพืชล้มลุก มีลำต้นสูงประมาณ 30-35 เซนติเมตร ลำต้นตั้งตรง มีข้อเป็นระยะๆ ตามข้อมักมีรากงอกออกมา หรือลำต้นเป็นแบบทอดเลื้อยไปตามพื้นดินและมีรากงอกออกมาตามส่วนที่สัมผัสกับพื้นดิน เป็นพืชที่เจริญเติบโตได้ดีในที่ชื้นแฉะ เช่น ในบริเวณห้วย หนอง คลอง บึง หรือตามแอ่งน้ำต่าง ๆ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและการใช้ลำต้นปักชำ (เมล็ดงอกยาก นิยมใช้กิ่งปักชำมากกว่า) พรรณไม้ชนิดนี้เป็นพืชล้มลุก พบได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย เพราะเกิดได้เองตามธรรมชาติ

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 7,177

ตำแยแมว

ตำแยแมว

ตำแยแมวเป็นพรรณไม้ล้มลุกชนิดหนึ่งซึ่งขยายพันธุ์ด้วยวิธีการปักชำและการแยกต้น ชอบขึ้นตามที่ดินเย็นๆ พบขึ้นเป็นวัชพืชตามที่รกร้างทั่วไป และตามที่มีอิฐปูนเก่าๆ ผุๆ โดยทั้งต้นใช้เป็นยาถอนพิษของโรคแมวได้ดี มีผู้ค้นพบว่าในขณะที่แมวไม่สบายหรือมีไข้ หากมันได้เคี้ยวลำต้นของตำแยแมวเข้าไป ไม่นานก็จะหายจากอาการไข้ได้ และในขณะเดียวกันถ้าแมวนั้นกินสารที่มีพิษเข้าไป ก็แก้โดยการให้กินต้นตำแยแมวเข้าไป แล้วมันก็จะอาเจียนหรือสำรอกพิษออกมา

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 3,891