มะฝ่อ
เผยแพร่เมื่อ 13-07-2020 ผู้ชม 4,498
[16.4258401, 99.2157273, มะฝ่อ]
มะฝ่อ ชื่อวิทยาศาสตร์ Trewia nudiflora L. จัดอยู่ในวงศ์ยางพารา (EUPHORBIACEAE)
สมุนไพรมะฝ่อ มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า มะปอบ (ภาคเหนือ), ม่อแน่ะ เส่โทคลึ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), หม่าที (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี) เป็นต้น
ลักษณะของมะฝ่อ
- ต้นมะฝ่อ จัดเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบช่วงสั้น มีความสูงได้ประมาณ 20-30 เมตร กิ่งก้านใหญ่และแผ่กว้าง โคนต้นมีพูพอนเล็ก ๆ เปลือกต้นเป็นสีน้ำตาลอมเทา กิ่งก้านภาคตัดขวางเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ตามกิ่งอ่อน ท้องใบ และช่อมีขนรูปดาว ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด มีเขตการกระจายพันธุ์ในอินเดียถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบขึ้นในป่าเบญจพรรณ ป่าดิบ ป่าชุ่มชื้นหรือริมห้วย ที่ระดับความสูงประมาณ 50-600 เมตร
- ใบมะฝ่อ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ ลักษณะของใบเป็นรูปไข่กว้าง รูปไข่แกมรี รูปหัวใจ หรือรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ปลายใบเรียวแหลม โคนใบมนแหลมหรือเว้าเป็นรูปหัวใจ ส่วนขอบใบเรียบคล้ายใบโพ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 8-13 เซนติเมตร และยาวประมาณ 10-22 เซนติเมตร ผิวใบด้านบนเกลี้ยง ยกเว้นที่เส้นใบมีขน ส่วนด้านล่างมีขนขึ้นปกคลุม เส้นใบแตกจากฐานใบ 3 เส้น ใบอ่อนมีขนรูปดาวหนาแน่น ใบแก่บางเป็นสีเขียวออกเหลือง
- ดอกมะฝ่อ ออกดอกตามซอกใบ ดอกย่อยมีจำนวนมาก ดอกเป็นแบบแยกเพศและอยู่ต่างต้นกัน ดอกเป็นสีครีมอมเขียว ขนาดเล็ก ไม่มีกลีบดอก ดอกเพศผู้จะออกช่อตามซอกใบ มีเกสรเพศผู้จำนวนมาก ยาวประมาณ 15-22 เซนติเมตร ดอกจะทยอยบานจากโคนไปสู่ปลายช่อ กลีบรองดอกมีประมาณ 3-4 กลีบ ขนาดประมาณ 3.5 มิลลิเมตร ส่วนดอกเพศเมียออกเป็นดอกเดี่ยวหรือออกเป็นช่อ ๆ ก้านดอกยาว มีกลีบรองดอกประมาณ 3-5 กลีบ หลุดร่วงได้ง่าย รังไข่มี 2-4 ช่อง ออกดอกในช่วงประมาณเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนมีนาคม
- ผลมะฝ่อ ผลเป็นผลสด ลักษณะเป็นรูปทรงกลมหรือกลมแป้น ผลแข็ง มีขน และฉ่ำน้ำ ขนาดประมาณ 2-4 เซนติเมตร ภายในมีเมล็ดเดี่ยว
สรรพคุณของมะฝ่อ
- น้ำต้มจากเปลือกต้นเป็นยาเย็น มีสรรพคุณช่วยบำรุงร่างกาย (เปลือกต้น)
- ใช้เป็นยาขับเสมหะ (เปลือกต้น)
- รากนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาขับลม แก้อาการท้องอืด (ราก)
- เปลือกต้นนำมาต้มกับน้ำ ใช้เป็นยาแก้อาการบวมน้ำ (เปลือกต้น)
- ใช้เป็นยาแก้ท่อน้ำดีอักเสบ (เปลือกต้น)
- ตำรายาไทยจะใช้เปลือกต้นและรากมะฝ่อ เข้ายาแก้พิษต่อผิวหนัง มีอาการคัน (เปลือกต้น, ราก)
- ตำรายาพื้นบ้านล้านนาจะใช้เปลือกต้นมะฝ่อนำมาย่างกับไฟ ต้มกับน้ำดื่มต่างน้ำชา เป็นยารักษาอาการปวดบวมทั้งตัว (เปลือกต้น)
- น้ำต้มจากรากใช้เป็นยาทาถูนวดแก้อาการปวดตามข้อ (ราก)
ประโยชน์ของมะฝ่อ
- ผลมีรสหวาน ใช้รับประทานได้
- เนื้อไม้ใช้ทำหีบ ลังใส่ของ และใช้ทำก้านไม้ขีด คนสมัยก่อนจะนำมาใช้ทำแอกไถนา เพราะมีน้ำหนักเบา
คำสำคัญ : มะฝ่อ
ที่มา : https://medthai.com/
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). มะฝ่อ. สืบค้น 28 เมษายน 2568, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1731&code_db=610010&code_type=01
Google search
มะเกลือ ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 8-15 เมตร อาจสูงได้ถึง 30 เมตร ผลัดใบหรือไม่ผลัดใบ เปลือกสีดำ แตกเป็นสะเก็ดเล็กๆ ตามยาว แก่นสีดำสนิท เนื้อละเอียดมันสวยงาม ทุกส่วนของมะเกลือเมื่อแห้งจะเปลี่ยนเป็นสีดำ ใบอ่อนและกิ่งอ่อนมีขนนุ่มทั้งสองด้าน ใบเดี่ยว เรียงสลับ แผ่นใบรูปไข่ หรือรูปไข่แกมรูปขอบขนาน กว้าง 1.5-4 เซนติเมตร ยาว 4-8 เซนติเมตร ปลายแหลม โคนสอบมน ขอบใบเรียบ ก้านใบยาว 5-10 เซนติเมตร ใบอ่อนมีขนสีเงิน ใบแก่หนา ผิวเรียบมัน ด้านใต้ใบสีเขียวซีด บางเกลี้ยง
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 4,081
ต้นกระแจะเป็นไม้พุ่มกึ่งไม้ต้น หรือไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง เนื้อไม้สีขาว เปลือกต้นสีน้ำตาล ขรุขระ ลำต้นและกิ่งมีหนาม มีหนามแข็ง และยาว หนามออกเดี่ยวหรือเป็นคู่ ตรง ยาวได้ถึง 5 เซนติเมตร ไม่ผลัดใบ สูง 8-15 เมตร ลำต้นเปลาตรง แตกกิ่งต่ำ กิ่งก้านตั้งฉากกับลำต้น กิ่งอ่อนและยอดอ่อนเกลี้ยง ใบกระแจะเป็นใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียว เรียงสลับ ใบย่อย 4-13 ใบ รูปวงรีแกมไข่กลับ กว้าง 5-3 เซนติเมตร ยาว 2-7 เซนติเมตร ก้านใบแผ่เป็นปีก ลักษณะเป็นครีบออกสองข้าง เป็นช่วงๆ ระหว่างคู่ใบย่อย โคนและปลายใบสอบแคบ
เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 2,871
ชะอม (Cha-om, Acacia, Climbing Wattle) เป็นพืชที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคเหนือเรียก ผักละหรือผักหละ ส่วนภาคอีสานเรียก ผักขะ เป็นต้น ซึ่งชะอมนี้เป็นพืชสมุนไพรที่คนไทยทั่วทุกภาครู้จักกันเป็นอย่างดีอยู่แล้ว และมักนำมาประกอบอาหารต่างๆ โดยเฉพาะไข่ทอดชะอม ที่เป็นเมนูโปรดของใครหลายๆคนเลยทีเดียว แถมในชะอมนี้ยังมีประโยชน์ต่างๆมากมายอีกด้วย ซึ่งคนส่วนใหญ่มักนิยมนำชะอมมาปลูกไว้บริเวณรั้วบ้าน เพราะมีหนามแหลมและยังสามารถรับประทานได้ตลอดทั้งปีอีกด้วย
เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 3,269
หากเอ่ยถึงเรื่องของอาหารเพื่อสุขภาพ แน่นอนว่าเมนูเห็ดย่อมเป็นหนึ่งในอาหารที่หลายๆ คนคิดถึงกันเป็นอันดับแรกๆ ด้วยความที่เห็ดนั้นเป็นอาหารที่มีรสชาติอร่อยถูกปาก ที่ปราศจากไขมัน แคลอรีต่ำ แถมยังมีปริมาณโซเดียมหรือเกลือน้อยมากๆ อีกด้วย เหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่ร่างกายอ่อนแอหรือกำลังลดน้ำหนักกันอยู่ และสามารถนำมาประกอบอาหารรับประทานกันได้หลากหลายเมนูมากๆ จึงทำให้หลายๆคนต่างติดใจในเมนูเห็ดกันอย่างมากมาย
เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 16,365
ต้นเดื่อหว้า จัดเป็นไม้ยืนต้นเนื้ออ่อนขนาดเล็ก มีความสูงได้ประมาณ 3-5 เมตร หรืออาจสูงได้ถึง 10-15 เมตร แตกกิ่งก้านสาขามาก เปลือกต้นเป็นสีเทาปนน้ำตาล มีน้ำยางสีขาว ลำต้นเห็นแผลของก้านใบที่ร่วงชัดเจน พบขึ้นตามป่าผสมผลัดใบ ป่าดิบแล้ง ใกล้ลำธาร ในต่างประเทศพบกระจายพันธุ์ในปากีสถาน อินเดียตอนเหนือ เนปาล ภูฏาน สิกขิม พม่า จีนตอนใต้ ลาว กัมพูชา เวียดนาม และมาเลเซีย ส่วนในประเทศไทยพบได้ทุกภาค ยกเว้นทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมักพบขึ้นตามป่าดิบ ป่าเบญจพรรณ ป่าผลัดใบ ป่าดิบแล้ง ใกล้ลำธารหรือริมลำน้ำ ที่ระดับความสูงตั้งแต่ 0-1,300 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล
เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้เช้าชม 2,868
ต้นกระโดงแดงเป็นไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 15-25 ม. มีพอนที่โคนต้น เรือนยอดเป็นพุ่มกลมยาว พุ่มใบแน่น เปลือกสีน้ำตาล ขรุขระ แตกเป็นร่องตื้นๆ ตามยาว กิ่งอ่อนแบนเป็นเหลี่ยม มีหูใบรูปกรวยแหลมที่ปลายกิ่ง ใบกระโดงแดงใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนานหรือรูปรีแกมรูปขอบขนาน กว้าง 3-7 ซม. ยาว 8-17 ซม. ปลายแหลม โคนมนหรือแหลม ขอบเรียบแต่ย่นเป็นคลื่นห่างๆ แผ่นใบด้านบนสีเขียวเลื่อมเป็นมัน ด้านล่างสีจางกว่า เส้นแขนงใบขนานกันเว้นระยะห่างค่อนข้างสม่ำเสมอ ระหว่างเส้นแขนงใบมีเส้นขั้นบันได ก้านใบยาว 5-4 ซม. ปลายก้านใบที่ต่อกับแผ่นใบป่องและโค้งเล็กน้อย
เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 3,007
สำหรับกล้วยหอมนับได้ว่าพืชสมุนไพรที่มีคุณค่าครบถ้วนจริงๆ โดยมีลำต้นสูงประมาณ 2.5-3.5 เมตร ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 20 เซนติเมตร ก้านใบเป็นร่องกว้างและมีปีก บริเวณกลางใบมีเส้นสีเขียวและมีขนตรงก้านเครือ มีผลเป็นเครือๆ 1 เครือจะมีประมาณ 4-5 หวี หวีละประมาณ 12-16 ผล ตรงปลายผลมีจุกสีเขียวแล้วค่อยเปลี่ยนเป็นสีดำเห็นเด่นชัด เปลือกบาง ผลดิบสีเขียว เมื่อสุกจะเป็นสีเหลืองทอง เนื้อในสีเหลืองเข้ม รสชาติหวานหอมและอร่อย
เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 7,912
ผักแว่น จัดเป็นไม้น้ำล้มลุกจำพวกเฟิร์น มีลำต้นสูงได้ถึง 20 เซนติเมตร เจริญเติบโตในน้ำตื้นๆ มีลำต้นเป็นเหง้าเรียวยาวทอดเกาะเลื้อย และแตกกิ่งก้านไม่เป็นระเบียบ มีขนสีน้ำตาลอ่อนๆ ขึ้นปกคลุมและใบอยู่เหนือน้ำ โดยต้นอ่อนจะมีสีเขียว เมื่อแก่แล้วจะเป็นสีน้ำตาล ส่วนของรากสามารถเกาะติดและเจริญอยู่ได้ทั้งบนพื้นดินหรือเจริญอยู่ในน้ำก็ได้ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เถา ไหล สปอร์ โดยผักแว่นมีเขตกระจายพันธุ์ทั่วไปในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไปจนถึงประเทศญี่ปุ่น สามารถพบได้ทั่วไปตามหนองน้ำที่ชื้นแฉะหรือตามทุ่งนาในช่วงฤดูฝน
เผยแพร่เมื่อ 13-07-2020 ผู้เช้าชม 14,022
โหราบอน จัดเป็นพรรณไม้จำพวกว่าน มีอายุได้หลายปี โหราบอนเป็นพืชที่ไม่มีลำต้น แต่มีหัวอยู่ใต้ดินลักษณะคล้ายกับหัวเผือก ลักษณะเป็นรูปกลมรียาว แต่มีขนาดเล็กกว่าหัวเผือก มีขนาดใหญ่และเล็กไม่เท่ากัน เปลือกหัวเป็นสีน้ำตาลเข้มและมีลายคล้ายกับเกล็ดปลา บริเวณโคนของลำต้นเหนือดินมีรากฝอยมาก ใบโหราบอน มีการแตกใบจากบริเวณโคนต้น ก้านใบยาวและอวบน้ำ ก้านใบมีลักษณะตั้งตรงมีร่องโค้งคล้ายกับก้านกล้วย ในต้นหนึ่งจะมีใบประมาณ 2-4 ใบ ในระยะเวลา 1-2 ปี จะมีการแตกใบ 1 ใบ ใบอ่อนมักจะม้วนงอ ส่วนใบที่โตเต็มที่แล้วจะมีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมมนรี ปลายใบแหลม ขอบใบเป็นคลื่น
เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 2,766
บอนมีถิ่นกำเนิดอยู่ในเขตที่ราบลุ่มของเอเชียอาคเนย์ ซึ่งรวมถึงพื้นที่ของประเทศไทยด้วย โดยจัดเป็นไม้ล้มลุกมีอายุได้หลายปี มีเหง้าลักษณะเป็นรูปทรงกระบอกอยู่ใต้ดิน มักขึ้นเป็นกลุ่ม ๆ หลายต้นเรียงรายตามพื้นที่ลุ่มริมน้ำ มีความสูงของต้นประมาณ 0.7-1.2 เมตร ลำต้นประกอบไปด้วยหัวกลางและหัวย่อยอยู่รอบ ๆ หัวใหญ่ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการแยกหน่อ ไหล และวิธีการปักชำหัว เจริญเติบโตได้ดีในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ อุ้มน้ำได้ดี เพาะปลูกได้ง่าย ในประเทศไทยสามารถพบได้ทุกภาค มักขึ้นเองตามที่ลุ่ม บนดินโคลน บริเวณริมน้ำลำธาร หรือบริเวณที่มีน้ำขังตื้น ๆ
เผยแพร่เมื่อ 17-02-2017 ผู้เช้าชม 16,972