พระแก้วมรกตกับเมืองกำแพงเพชร

พระแก้วมรกตกับเมืองกำแพงเพชร

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้ชม 3,673

[16.4264988, 99.2157188, พระแก้วมรกตกับเมืองกำแพงเพชร]

            ตำนานพระแก้วมรกต จากพงศาวดารเหนือ ความว่า พระเจ้าอาทิตย์ราชก็ทรงปิติโสมนัสพระทัยหาที่สุดมิได้ ก็เข้าถวายบูชาพระแก้วมรกตทุกวันมิได้ขาด ด้วยอานุภาพของพระแก้วมรกต พระพุทธศาสนาก็เจริญรุ่งเรืองมากในกรุงศรีอโยธยา สืบกษัตริย์ต่อมาได้หลายชั่วกษัตริย์ อยู่ต่อมาข้างหน้า เจ้าพระยากำแพงเพชรก็ยกกองทัพเรือมาทูลขอพระแก้วเจ้าขึ้นไปไว้เมืองกำแพงเพชร ต่อมามินานท่านก็มีพระราชบุตรพระองค์หนึ่ง เมื่อเจริญเติบโตขึ้นพระองค์ตั้งให้ขึ้นไปครองเมืองละโว้ ครั้นนั้นพระราชบุตรมีความระลึกถึงพระแก้วมรกตเป็นที่สุด ด้วยมีน้ำพระทัยอยากได้พระแก้วมรกตไว้ปฏิบัติบูชารักษา ท่านจึงมาเมืองกำแพงเพชรกราบทูลพระมารดาให้พระมารดากราบทูลพระราชบิดาขอเอาพระแก้วมรกตไปเมืองละโว้ จึงอ้อนวอนพระราชมารดาอยู่หลายพักหลายหน ฝ่ายพระมารดาทนคำอ้อนวอนขององค์ราชบุตรก็มิอาจขัดขืนได้ จึงขึ้นไปกราบทูลเจ้าเมืองกำแพงเพชรถึงพระราชโอรสมีความปรารถนาจะขอพระราชทานพระแก้วมรกตขึ้นไปปฏิบัติรักษาในเมืองละโว้ ขอพระองค์ได้ทรงโปรดตามความปรารถนาเถิด เมื่อเจ้าเมืองกำแพงเพชรได้รับฟังถ้อยคำของพระมเหสี ก็ทรงเมตตาในพระราชโอรสเป็นหนักหนา จึงตรัสให้ตามความปรารถนาทุกประการ แต่พระแก้วเจ้าที่อยุ่ในพระอารามนั้นมีอยู่มากนักหลายองค์อยู่ ถ้าพระราชโอรสรู้จักพระแก้วมรกตเป็นองค์ใดแน่แท้ก็จงเอาไปเถิด ฝ่ายพระอัครมเหสีและพระราชทานทองคำสองตำลึงแก่นายประตูให้แสดงว่าองค์ใดเป็นพระแก้วมรกตเป็นสำคัญ ครั้นตกกลางคืนนายประตูก็เอาดอกไม้แดงทอดไว้บนพระหัตถ์ของพระแก้วมรกตให้รู้ในสำคัญ ฝ่ายพระอัครมเหสีและพระราชบุตรก็เข้าไปในปราสาทเห็นดอกไม้แดงวางบนพระหัตถ์ของพระแก้วมรกตก็อัญเชิญพระแก้วเจ้ามายังเมืองละโว้ พระองค์ก็ปฏิบัติบูชาพระแก้วมรกตได้ปีเก้าเดือนก็เอากลับมาคืนพระราชบิดาที่เมืองกำแพงเพชร   
            พระแก้วมรกต เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของไทยมาช้านาน ตามตำนานกล่าวว่า ผู้สร้างคือพระนาคเสนเถระ พระอรหันต์เจ้าแห่งประเทศอินเดีย ท่านต้องการบำรุงพระพุทธศาสนาให้รุ่งเรืองสืบไป จึงดำริที่สร้างพระพุทธรูปด้วยแก้วมณี เมื่อสร้างเสร็จได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุเจ็ดพระองค์เข้าประดิษฐานในองค์พระแก้วมรกต พระแก้วมรกตเดิมประดิษฐานที่นครปาตลีบุตร แห่งประเทศอินเดีย ต่อมาเกิดสงครามประชาชนจึงได้อัญเชิญพระแก้วมรกตไปยังลังกาทวีป จากนั้นหลังปีพุทธศักราช 1000 พระแก้วมรกตประดิษฐานอยู่ที่พระมหานครเอกราช แต่เกิดอุทกภัย ทำให้ประชาชนตายทั้งพระนครต่อพระเจ้าอาทิตยราชแห่งอโยชยา ยกกองทัพมาตีชายแดนมหานครเอกราชจึงอัญเชิญมาไว้ที่นครอโยชยา พระยาวิเชียรปราการแห่งเมืองกำแพงเพชร ได้มาอัญเชิญพระแก้วมรกตมาประดิษฐานที่เมืองกำแพงเพชร       
            จากตำนานพระแก้วมรกต ฉบับเจ้านันทเสน กล่าวถึงการเกิดน้ำท่วมใหญ่ในประเทศเขมรพระเถระรูปหนึ่งได้อัญเชิญพระแก้วมรกตไปประดิษฐานทางเหนือของนครอินทปัตถ์ พระเจ้าอติราชแห่งแค้วนสยามฝ่ายเหนือ คือนครศรีอยุธยา เกรงว่าพระแก้วมรกตจะเป็นอันตราย จึงยกกองทัพไปสืบหาพระแก้วมรกตแล้วอัญเชิญไปไว้ในพระนครศรีอยุธยา ประดิษฐานอยู่หลายชั่วกษัตริย์ ภายหลังเจ้าเมืองกำแพงเพชร เป็นพระญาติกับพระเจ้ากรุงศรีอยุธยา ได้อัญเชิญพระแก้วมรกตมาไว้ที่กำแพงเพชรและถ้ามาอยู่ที่กำแพงเพชร พระพุทธเจ้าหลวงได้ตั้งข้อสังเกตในจดหมายเหตุประพาสต้นเมืองกำแพงเพชรไว้ว่า ซึ่งยอมรับจะเรียกวัดพระแก้วได้นั้น เพราะเหตุที่มีตำนานว่า พระแก้วได้เคยมาอยู่ที่เมืองนี้ ถ้าหากว่าได้มาอยู่คงจะไม่ได้อยู่วัดอื่น คงอยู่วัดนี้แน่ ซึ่งหมายถึงวัดพระแก้วกลางเมืองกำแพงเพชรในปัจจุบัน และได้ถูกอัญเชิญไปไว้ที่เชียงรายและเชียงใหม่ตามลำดับ       
             พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีความเห็นว่า พระแก้วมรกตมีหลักฐานชัดเจนเมื่อคราวพบในเจดีย์ ณ วัดพระแก้วเมืองเชียงราย ซึ่งเป็นวัดคู่เมืองเชียงรายมาแต่อดีตกาล ในปีพุทธศักราช 1977 ฟ้าได้ผ่าอยู่ด้านหลังของวัดป่าเยี้ยะ (วัดป่าไผ่) พบพระพุทธรูปทำด้วยพระแก้วมรกต ลักษณะงดงามมาก เป็นที่เลื่องลือไปทั่ว และเปลี่ยนชื่อวัดป่าเยี้ยะว่าวัดพระแก้วตั้งแต่นั้นมา พระแก้วมรกตได้ไปอยู่ที่เขลางคน์คร (เมืองลำปาง) 32 ปี แล้วนำไปไว้เชียงใหม่ในสมัยพระเจ้าติโลกราชจนมาถึงปลายราชวงศ์มังราย พระไชยเชษฐาได้เสด็จมาครองเมืองเชียงใหม่ ได้ไม่นานพระเจ้าโพธิสารพระราชบิดาที่เมืองหลวงพระบางสวรรคต พระไชยเชษฐาเสด็จกลับแล้วนำพระแก้วมรกตไปด้วย ไปไว้ที่หลวงพระบางแต่เมื่อพระองค์เสด็จมาครองเมืองเวียงจันทน์ พระแก้วมรกตมาประดิษฐานที่เวียงจันทน์ด้วย จนกระทั่งได้อัญเชิญมาไว้ที่กรุงธนบุรี และกรุงเทพในปัจจุบัน
             มีคำถามกันมากมายว่าพระแก้วมรกตเคยมาอยู่กำแพงเพชรจริงหรือจากหลักฐานอาจยืนยันได้ว่ามาอยู่ที่กำแพงเพชรจริง และเมื่อพระแก้วมรกตมาประดิษฐานที่เมืองกำแพงเพชรนั้น ต้องประดิษฐาน ณ วัดในกำแพงเมือง วัดประจำเมืองกำแพงเพชรคือวัดที่เรียกกันว่าวัดพระแก้ว เพราะเชื่อกันว่าถ้ามาอยู่กำแพงเพชร ต้องอยู่ที่วัดนี้อย่างแน่นอน และประกอบกับที่วัดพระแก้วมีมณฑปขนาดใหญ่ ตั้งอยู่บนฐานบัวลูกฟัก ย่อมุม 28 ตั้งซ้อนกันอยู่ 2 ชั้น ฐานชั้นล่างกว้างประมาณ 12 เมตร สูงประมาณ 2 เมตร ตรงกลางด้านทิศตะวันออกทำเป็นทางขึ้น ถัดจากนั้นเป็นฐานบัวลูกฟัก ย่อมุม 36 อีก 1 ชั้น แต่ชั้นนี้ไม่มีบันไดทางขึ้น ต่อไปเป็นฐานย่อมุม 28 กว้างประมาณ 8 เมตร รองรับตัวเรือนธาตุ ย่อมุมไม้ 12 มีประตูทางเข้าทั้ง 4 ด้าน ภายในเป็นห้องที่สันนิษฐานว่าน่าจะประดิษฐานพระแก้วมรกต พระแก้วมรกตประดิษฐานที่กำแพงเพชรระยะหนึ่ง ทำให้เมืองกำแพงเพชรมีชื่อเสียงโด่งดังว่าเป็นเมืองสำคัญ ในทางพระพุทธศาสนาทำให้หัวเมืองฝ่ายเหนือคิดจะแย่งชิงพระแก้วมรกตไปแต่ทำไม่สำเร็จ เพราะความแข็งแกร่งของเมืองกำแพงเพชร
             เจ้านครเชียงราย ยกกองทัพใหญ่มีไพร่พลนับแสนมากำแพงเพชร เพื่อทูลขอพระแก้วมรกต ไปเป็นขวัญพระนครเชียงราย ด้วยแสนยานุภาพที่เกรียงไกร กำแพงเพชรจึงให้พระแก้วมรกตไปด้วยความโศกเศร้าเสียดายของอาณาประชาราษฎร คงมีการแย่งชิงพระแก้วมรกตกันอีกหลายครั้งทำให้เจ้าผู้ครองนครเชียงราย นำพระแก้วมรกตไปซ่อนไว้ภายในพระเจดีย์ วัดป่าเยี้ยะ ทำให้พระแก้วมรกตหายสาบสูญไป จนกระทั่งเกิดฟ้าผ่าพระเจดีย์ ทำให้พบพระแก้วมรกตอีกครั้ง เจ้าเมืองเชียงใหม่ตั้งใจจะอัญเชิญพระแก้วมรกตไปไว้ที่เชียงใหม่ แต่มาถึงกลางทางช้างที่ประดิษฐานพระแก้วมรกตไม่ยอมเดินแต่กลับมาที่เขลางค์นคร จึงมาประดิษฐานที่นครลำปาง ต่อมาพระเจ้าติโลกราชกษัตริย์เชียงใหม่ ได้อัญเชิญพระแก้วมรกตจากลำปางมาไว้ที่สถูปเจดีย์หลวง เมืองเชียงใหม่ต่อมาพระเจ้าไชยเชษฐา ได้อัญเชิญพระแก้วมรกตไปไว้ที่นครหลวงพระบาง และไปประดิษฐานที่เมืองเวียงจันทน์ในที่สุด อยู่ใน ประเทศลาว เป็นเวลาประมาณ 200 ปี พระแก้วมรกต ได้รับการอาราธนาอีกครั้งหนึ่งในสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรีจากเมืองเวียงจันทน์ มายังพลับพลาที่วัดแจ้ง (วัดอรุณราชวราราม) โดยพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับพระราชหัตถเลขาว่า ได้อาราธนาจากเมืองเวียงจันทน์ข้ามมายังเมืองพานพร้าว (น่าจะเป็นเมืองศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย) ฝั่งตรงข้ามแม่น้ำโขงเดินทัพมาถึงเมืองสระบุรี พระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนอินทรพิทักษ์ เสด็จขึ้นไปรับพระแก้วมรกต ว่าเป็นขบวนเรือไปรับที่ท่าเจ้าสนุก หลังจากที่อัญเชิญมาทางบก แล้วทำพิธีสมโภช 3 วัน 3 คืน จึงอัญเชิญมาที่ท่าพระราชวังหลวง มาประทับแรมที่พระตำหนักบางธรณี (วัดตำหนักใต้บ้างกระสอ นนทบุรี) และในที่สุดพระแก้วมรกต มาประดิษฐานที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม กรุงเทพมหานครในปัจจุบัน จากหลักฐานทั้งหมดยืนยันได้ว่า พระแก้วมรกตเคยมาอยู่ที่เมืองกำแพงเพชรจริง และเมืองกำแพงเพชร เป็นเมืองใหญ่มาก ๆ ที่สามารถนำกองทัพเรือไปรับพระแก้วมรกตจากอโยธยามาไว้ที่กำแพงเพชรได้ น่าภูมิใจกับเมืองกำแพงเพชรของเรา

คำสำคัญ : กำแพงเพชร, พระแก้วมรกต

ที่มา : กองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร. (2557). ประวัติศาสตร์เมืองกำแพงเพชร ยุคหิน-ปัจจุบัน (เรียบเรียงจากการสัมมนาและทบทวน เมื่อวันที่ 27-28 กันยายน 2557). กำแพงเพชร: กองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). พระแก้วมรกตกับเมืองกำแพงเพชร. สืบค้น 20 มีนาคม 2568, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1302&code_db=610001&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1302&code_db=610001&code_type=01

Google search

Mic

จำรึกวงเวียนต้นโพธิ์

จำรึกวงเวียนต้นโพธิ์

เมื่อพุทธศักราช 2448 พระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาชวิราวุธ (รัชกาลที่ 6) เสด็จมาประพาสเมืองพระร่วง ได้ศึกษาเมืองเก่ากำแพงเพชรโดยละเอียด บันทึกเรื่องราวให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชบิดาให้ทรงทราบ พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 เห็นว่ายังไม่ถูกต้องนัก จึงนำเสด็จพระบรมโอรสาธิราชมายังเมืองกำแพงเพชร ในเดือนสิงหาคม 2449 ด้วยพระองค์เอง  และในปีพุทธศักราช 2450 พระบรมโอรสาธิราช เสด็จมาศึกษากำแพงเพชรโดยละเอียดอีกครั้ง ในครั้งนี้ทรงปลูกต้นสักไว้หน้าที่ว่าการเมืองกำแพงเพชร (ตรงข้ามธนาคารออมสินสาขากำแพงเพชร) และจารึกความสำคัญการเสด็จประพาสกำแพงเพชรไว้ในใบเสมา ได้ประดิษฐานจารึกไว้บริเวณใต้ต้นโพธิ์ หน้าเมืองกำแพงเพชร 

เผยแพร่เมื่อ 24-02-2020 ผู้เช้าชม 2,321

คัมภีร์คาถาชินบัญชรสมเด็จพุฒาจารย์(โต) พบในเจดีย์พระบรมธาตุนครชุม

คัมภีร์คาถาชินบัญชรสมเด็จพุฒาจารย์(โต) พบในเจดีย์พระบรมธาตุนครชุม

คำว่า ชินบัญชร นั้นแปลว่า กรง หรือ เกราะป้องกันภัยของพระพุทธเจ้า คำว่า ชิน หมายถึง พระพุทธเจ้า คำว่า บัญชร หมายถึง กรง หรือ เกราะ โดยที่เนื้อหาในคาถาในชินบัญชรนั้นจะเป็นการอัญเชิญพระพุทธเจ้าจำนวน 28 พระองค์ เริ่มตั้งแต่พระพุทธเจ้าพระนามว่าตัณหังกร เป็นต้น เดินทางลงมาสถิตอยู่ในทุกอณูของร่างกาย เพื่อเป็นการเสริมให้ตนเองนั้นมีพลังพุทธคุณให้ยิ่งใหญ่ จากนั้นจึงอัญเชิญพระอรหันต์ที่เป็นสาวกของพระพุทธเจ้าจำนวน 80 องค์ซึ่งเป็นผู้มีบารมีธรรมที่ยิ่งใหญ่ อีกทั้งยังได้มีการอาราธนาพระสูตรอันศักดิ์สิทธิ์ ที่ทรงอานุภาพในด้านต่างๆ

เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้เช้าชม 3,322

ในหลวงกับการเสด็จกำแพงเพชร ครั้งที่ 3 เสด็จพระราชดำเนินพระราชทานธงลูกเสือชาวบ้าน

ในหลวงกับการเสด็จกำแพงเพชร ครั้งที่ 3 เสด็จพระราชดำเนินพระราชทานธงลูกเสือชาวบ้าน

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชได้เสด็จพระราชดำเนินเมืองกำแพงเพชร เป็นครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2521 โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินาถ และสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรได้เสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานธงประจำรุ่นลูกเสือชาวบ้านของอำเภอต่างๆ 117 รุ่น ณ อำเภอเมืองกำแพงเพชร และทรงเยี่ยมราษฏรที่มาเข้าเฝ้ารับเสด็จฯ อยู่ในบริเวณนั้น ในครั้งนั้นได้มีราษฏรกิโล 2 บ้านกิโล 3 บ้านกิโล 6 และชาวบ้านใกล้เคียงในเขตอำเภอเมืองกำแพงเพชรได้กราบบังคมทูลของพระราชทานให้ทรงช่วยเหลือจัดหาน้ำให้ราษฏรเพื่อใช้ในการเพาะปลูก และอุปโภคและบริโภคได้ตลอดทั้งปี เมื่อพระองค์ได้ทรงทราบถึงทุกข์ของชาวบ้านกำแพงเพชร จึงได้ทรงให้กรมชลประทานดำเนิน “โครงการพระราชดำริคลองท่อทองแดง”

เผยแพร่เมื่อ 18-02-2020 ผู้เช้าชม 2,066

ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง” ตอนที่ 3 (วัดช้างรอบ,วัดพระนอน,วัดตึกพราหมณ์)

ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง” ตอนที่ 3 (วัดช้างรอบ,วัดพระนอน,วัดตึกพราหมณ์)

จากบทพระราชนิพนธ์ “เที่ยวเมืองพระร่วง” ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎุเกล้าเจ้าอยู่หัวเกี่ยวกับการสำรวจโบราณสถานที่บริเวณเขตพระราชวัง วัดพระแก้ว วัดพระธาตุ แล้วเสด็จไปตามถนนโบราณผ่านสระแก้ว สระคำ เพื่อสำรวจวัดใหญ่ๆ อีกหลายวัด สำหรับในตอนนี้จะเป็นการนำเสนอบทบนัทกึที่ทรงเสด็จ ตรวจตราโบราณสถานในเขตอรัญญิกกำแพงเพชรกันต่อ เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎุเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จตรวจตราโบราณสถานที่วัดอาวาสใหญ่และบ่อสามแสนแล้ว ได้เสด็จต่อยังวัดอื่นๆ อีก ดังบทพระราชนิพนธ์ที่ทรงบันทึกไว้ดังนี้ “ยังมีที่วัดใหญ่ และที่มีพระเจดีย์เป็นชิ้นสำคัญอยู่อีกวัดหนึ่ง คือวัดที่ราษฎรเรียกกันว่า วัดช้างรอบ

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 1,846

คำขวัญประจำจังหวัดกำแพงเพชร

คำขวัญประจำจังหวัดกำแพงเพชร

กรุพระเครื่อง เมืองคนแกร่ง พระแสงฯล้ำค่า ศิลาแลงใหญ่ กล้วยไข่หวาน น้ำมันลานกระบือ เลื่องลือมรดกโลก  กรุพระเครื่อง หมายถึง จังหวัดกำแพงเพชร เป็นจังหวัดที่มีกรุพระเครื่องมากที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย มีพระเครื่องหรือพระพิมพ์นับพันพิมพ์ พระที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของจังหวัดกำแพงเพชร คือ พระซุ้มกอ พระเครื่องที่ศักดิ์สิทธิ์หนึ่งในเบญจภาคีของประเทศไทย เมืองคนแกร่ง หมายถึง จังหวัดกำแพงเพชรเป็นเมืองแห่งนักรบ นักสู้ เป็นเมืองที่ย่ิงใหญ่ในการสงคราม ประชาชนทำสงครามอย่างเข้มแข็ง เจ้าเมืองกำแพงเพชรทุกคนได้รับพระนามว่า พระยารามรณรงค์สงคราม ซึ่งหมายความว่า มีความกล้าหาญในสนามรบในสงครามราวกับพระราม มีพระยาวชิรปราการ เป็นคนแกร่งแห่งเมืองกำแพงเพชร พระแสงฯ ล้ำค่่า หมายถึง พระแสงราชศัสตราประจำจังหวัดกำแพงเพชร (ด้ามและฝักทองคำ) ซึ่งมีเพียงองค์เดียวในประเทศไทย เป็นสิ่งล้ำค่าและมีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์จังหวัดกำแพงเพชร จึงขอเสนอเพิ่มคำขวัญจังหวัดกำแพงเพชร โดยเพิ่มคำว่า "พระแสงฯ ล้ำค่า" ลงในคำขวัญ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้เป็นประวัติศาสตร์ และให้ชนรุ่นหลังได้ตระหนักถึงความสำคัญในการเชิดชูมรดกล้ำค่าของจังหวัดกำแพงเพชร

เผยแพร่เมื่อ 30-08-2019 ผู้เช้าชม 28,006

พระพุทธเจ้าหลวงเสด็จประพาสต้นบ้านปากคลองสวนหมาก

พระพุทธเจ้าหลวงเสด็จประพาสต้นบ้านปากคลองสวนหมาก

วันนี้ตื่นสาย อยู่ข้างจะฟกช้ำ 4โมงเช้า จึงได้ลงเรือเหลืองข้ามฟากไปฝั่งตะวันตกยังไม่ขึ้นที่วัดพระธาตุ เลยไปคลองสวนหมาก ต้องขึ้นไปไกลอยู่หน่อย ในคลองนี้น้ำไหลเชี่ยวแต่น้ำใส เพราะเป็นลำห้วย มีคลองแยกข้างขวามือ แต่ต้นทางที่จะเข้าไปเรียกว่า แม่พล้อ ถ้าไปตามลำคลอง 3 วันจึงถึงป่าไม้แต่มีหลักตอมาก เขาเดินขึ้นไปทางวันเดียวถึง ป่าไม้นี้ พะโป้กะเหรี่ยงในบังคับอังกฤษเป็นคนทำ เมียเป็นคนไทย ชื่ออำแดงทองย้อย เป็นบุตรผู้ใหญ่บ้านวันและอำแดงไทย ตั้งบ้านเรือนอยู่ติดกันในที่นั้นไปขึ้นถ่ายรูปที่บ้านสองบ้านนี้ แล้วจึงกลับออกมาจอดเรือกินกลางวันที่หาดกลางน้ำ

เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้เช้าชม 2,026

ดาบโบราณเมืองกำแพง ตำบลในเมือง อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร

ดาบโบราณเมืองกำแพง ตำบลในเมือง อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร

เมืองกำแพงเพชรในประวัติศาสตร์ขึ้นชื่อว่า เป็นเมืองหน้าด่านที่มีการก่อสงครามอยู่ไม่ขาดสาย และมีป้อมปราการรายล้อมพร้อมคูเมือง เนื่องจากมีสงครามและเพื่อปกป้องบ้านเมือง จึงจำเป็นต้องมีศาสตราวุธคู่กายเพื่อนำมาป้องกันตัวและต่อสู้ ในขณะเดียวกันก็เป็นยุคสมัยที่ดาบสามารถนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายเนื่องจากวัตถุดิบที่หาได้ง่าย ทั้งนี้ดาบที่ผู้ถือครองนั้นก็มีความแตกต่างออกไปตามบทบาทและหน้าที่ อาทิ ทหารศึกที่มีไว้เพื่อรบศึกสงครามโดยเฉพาะ หรือชาวบ้านที่มีไว้เพื่อป้องกันตัว แต่ยังมีดาบอีกประเภทที่สามารถบ่งบอกถึงชนชั้น ความสามารถ ไปจนถึงความยิ่งใหญ่ซึ่งถือได้ว่าการจะได้ดาบเล่มนี้มาย่อมจะต้องมีความ สามารถสูงและแลกมากับความพยายามอย่างสุดความสามารถดังเช่นความเป็นมาของดาบโบราณของจังหวัดกำแพงเพชรที่มีประวัติที่แสนวิเศษโดยมีเรื่องราวกล่าวกันว่าดาบเล่มนี้เคยเป็นดาบประจำตระกูลของพระยากำแพงผู้ปกครองเมืองกำแพงในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น

เผยแพร่เมื่อ 20-06-2022 ผู้เช้าชม 3,661

นครไตรตรึงษ์ เมืองโบราณ ต้นกำเนิดอาณาจักรอยุธยา

นครไตรตรึงษ์ เมืองโบราณ ต้นกำเนิดอาณาจักรอยุธยา

เมืองไตรตรึงษ์เป็นอีกหนึ่งชุมชนโบราณที่มีการตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณริมแม่น้ำปิงตอนล่างที่มีลักษณะใกล้เคียงกับการตั้งถิ่นฐานของชุมชนโบราณบริเวณภาคกลางในวัฒนธรรมทวารวดี คือ ตั้งถิ่นฐานใกล้แหล่งน้ำมีคูน้ำและคันดินล้อมรอบ 1-3 ชั้น ผังเมืองจะมีรูปร่างแตกต่างกันไป แต่มักจะขนานกับทางน้ำ เมื่อพิจารณาร่วมกับหลักฐานทางด้านเอกสารประวัติศาสตร์อย่างตำนานจามเทวีที่กล่าวถึงช่วงพุทธศตวรรษที่ 13 พระนางจามเทวีกษัตริย์แห่งเมืองละโว้ได้อพยพผู้คนจากเมืองละโว้ขึ้นมาเมืองหริภุญชัย โดยใช้เส้นทางแม่น้ำปิงเป็นเส้นทางคมนาคมหลัก ซึ่งสอดคล้องกับหลักฐานประเภทโบราณวัตถุที่พบมีความคล้ายคลึงกับโบราณวัตถุที่พบในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา อาทิ ตะเกียงดินเผา ลูกปัดแก้ว หรือ ลูกปัดหินเป็นต้น

เผยแพร่เมื่อ 21-06-2022 ผู้เช้าชม 1,216

จารึกลานเงินจารึกเรื่องการสร้างพระเครื่องและการอาราธนาพระเครื่องที่พบในเจดีย์พระบรมธาตุ นครชุม

จารึกลานเงินจารึกเรื่องการสร้างพระเครื่องและการอาราธนาพระเครื่องที่พบในเจดีย์พระบรมธาตุ นครชุม

เมื่อสมเด็จพุฒาจารย์(โต) ได้รื้อค้นพระเจดีย์พระบรมธาตุนครชุม ภายในกรุพบแผ่นลานเงินจารึกภาษาขอม กล่าวถึงตำนานการสร้างพระพิมพ์และวิธีการสักการบูชาพร้อมลำดับอุปเท่ห์ไว้พระพิมพ์ที่ได้จากกรุนี้คือ ว่ามีฤาษี ๑๑ ตน ฤาษีเป็นใหญ่ ๓ ตนฤาษีพิราลัยตนหนึ่ง ฤาษีตาไฟตนหนึ่งฤาษีตาวัวตนหนึ่ง เป็นประธานแก่ฤาษีทั้งหลาย จึงปรึกษากันว่าเราทั้งนี้จะเอาอันใดให้แก่พระยาศรีธรรมาโศกราช ฤาษีทั้ง ๓ จึงปรึกษาแก่ฤาษีทั้งปวงว่าเราจะทำด้วยฤทธิ์ ทำเครื่องประดิษฐานเงินทองไว้ฉะนี้ฉลองพระองค์จึงทำเป็นเมฆพัตร อุทุมพรเป็นมฤตย์พิศม์ อายุวัฒนะ

เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้เช้าชม 4,253

ส่างหม่องมีตัวตนจริงๆ ที่บ้านปากคลอง

ส่างหม่องมีตัวตนจริงๆ ที่บ้านปากคลอง

ส่างหม่องเป็นชาวไทยใหญ่มาจากเมืองกุกกิก ประเทศพม่า เป็นคหบดี หรือมหาเศรษฐี ในสมัยรัชกาลที่ ๕ เป็นผู้มีการศึกษาดี มีชีวิตที่ทันสมัยเหมือนชาวตะวันตก ได้เดินทางมาอยู่คลองสวนหมากในสมัยเดียวกับพะโป้ ได้เข้ามาประกอบอาชีพการทำป่าไม้ ในราวพศ. ๒๔๒๐ และได้สมรสกับนางฝอยทอง มีบุตรธิดา ๔ คน เมื่อนางฝอยทองเสียชีวิตลง ส่างหม่องจึงได้แต่งงานใหม่กับนางเฮียงสาวชาวลาวเวียงจันทน์ที่อพยพมาอยู่คลองสวนหมาก และได้ย้ายมาปลูกบ้านเรือนไทยปั้นหยาห่างจากบ้านหลังเดิมเล็กน้อย ส่

เผยแพร่เมื่อ 20-04-2020 ผู้เช้าชม 6,429