ฉู่ฉี่แมงอีนูน

ฉู่ฉี่แมงอีนูน

เผยแพร่เมื่อ 02-04-2019 ผู้ชม 2,042

[16.483188, 99.4917312, ฉู่ฉี่แมงอีนูน]

         ช่วงเดือนพฤษภาคมของทุกปี ที่จังหวัดกำแพงเพชร จะมีแมง "แมงอีนูน" หรือแมงนูน ออกจากที่ซ่อนเพื่อจับคู่ผสมพันธุ์ โดยแมงนูนเป็นแมงปีกแข็งตัวสีน้ำตาล ลำตัวกลมขนาดหัวแม่มือ มีขา 6 ขา อาศัยอยู่ใต้ดินทราย สามารถนำไปประกอบอาหารได้หลายอย่าง เช่น ฉู่ฉี่ ต้ม คั่ว รวมไปถึงทอดในน้ำมันเดือดๆ อย่างไรก็ตามช่วงนี้เป็นช่วงที่แมงอีนูนจะมีไข่เต็มท้อง 
         "แมงนูนจะมีรสชาติหอมมันเพราะมีไข่เต็มท้อง แต่ถ้าล่วงเลยจากเดือนนี้ไปแล้ว แมงอีนูนจะพากันขุดรูวางไข่ ดังนั้นในตัวจึงมีแต่เลือดซึ่งรับประทานไม่ได้ โดยปีที่ผ่านมาแมงอีนูนมีไม่มากเท่าปีนี้ สาเหตุเพราะปีนี้เกษตรกรไม่ได้ไถหน้าดินทำให้มีพงหญ้าและต้นอ้อยขึ้นหน้า แน่น แมงนูนจึงไม่ถูกทำลาย ดังนั้นในปีนี้จึงจับได้เป็นจำนวนมาก"

เครื่องปรุงส่วนผสม
         1. แมงอีนูนต้มใส่เกลือ (นำหัวและปีกออก) 1 ถ้วยตวง
         2. พริกแกงเผ็ด 2 ช้อนโต๊ะ
         3. น้ำมันพืช 3 ช้อนโต๊ะ
         4. พริกชี้ฟ้าแดง
         5. น้ำปลา
         6. น้ำตาลปิ้บ
         7. ใบมะกรูด (ซอยละเอียด)

วิธีทำ
         1. นำน้ำมันพืชผัดในกระทะเปิดไฟระดับกลาง นำพริกแกงเผ็ดลงผัดกับน้ำมันให้มีกลิ่นหอม
         2. ใส่น้ำปลา น้ำตาลปิ๊บ ผัดให้เข้ากัน จนมีกลิ่นหอม จะได้พริกแกงเผ็ดที่มีรสชาติหวานเล็กน้อย
         3. ใส่แมงอีนูนคั่วในพริกแกงคั่วเผ็ด คั่วให้แห้ง
         4. โรยใบมะกรูด พริกชี้ฟ้าแดง พร้อมเสิร์ฟ

 

คำสำคัญ : อาหารพื้นบ้าน

ที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=i6vwVUD1KAg

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2562). ฉู่ฉี่แมงอีนูน. สืบค้น 27 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1107&code_db=610008&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1107&code_db=610008&code_type=01

Google search

Mic

ลอดช่อง

ลอดช่อง

ลอดช่อง เป็นขนมไทยแท้โบราณชนิดดั้งเดิม โดยที่ใครๆพากันคิดว่ามันคือขนม ที่มาจากเกาะสิงคโปร์นู้นแต่แท้จริงแล้วต้นกำเนิดไม่ได้มาจากประเทศสิงคโปร์ แต่เกิดจากภูมิปัญญาของคนไทยเรานี่เอง ที่ได้นำแป้งมันสำปะหลังมาปั้น และนวดให้เหนียว รับประทานกับกะทิสด และน้ำเชื่อม น้ำแข็งป่น ก็เพิ่มความสดชื่นให้กับผู้บริโภคได้แล้ว

เผยแพร่เมื่อ 27-02-2017 ผู้เช้าชม 5,376

ขนมเบื้อง

ขนมเบื้อง

ขนมเบื้องเป็นขนมไทยที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ มีลักษณะเป็นแผ่นแป้ง มีไส้รสต่างๆ ขนมเบื้อง หอม กรอบ อร่อย

 

เผยแพร่เมื่อ 15-03-2017 ผู้เช้าชม 2,253

ขนมจีบแป้งสด

ขนมจีบแป้งสด

ขนมจีบแป้งสด ขนมพื้นบ้านของคนจังหวัดกำแพงเพชร โดยนำแป้งข้าวเจ้ากวนกับน้ำให้สุก และนำลงมานวดพร้อมแป้งมันสำปะหลัง ขั้นตอนการทำไส้ขนมจีบ นำหน่อไม้ หมูสับ กุ้งแห้ง พริกไทยป่น ต้นหอม ผักชีสับผสมให้เข้ากัน นำแป้งนวดแยกเป็นก้อนขนาดเท่าหัว รีดแป้งให้บาง นำแป้งที่รีดแผ่นห่อกับไส้ที่ได้ และนำไปนึ่งประมาณ 15 นาที ขนมจีบสุขดีแล้ว นำลงมาคลุกกับน้ำมัน และคุกกับน้ำมัน โรยกระเทียมเจียว เสิร์ฟพร้อมเครื่องเคียง แตงกวา ผักชีใบยาว พริกขี้หนู

เผยแพร่เมื่อ 02-04-2019 ผู้เช้าชม 6,211

ส้มแผ่น

ส้มแผ่น

ในฤดูกาลที่ต้นมะม่วงออกผลมาจำนวนมากเกินกว่าที่จะบริโภคผลสดได้หมด เริ่มจะมีมะม่วงสุกร่วงหล่นจากต้นมาก ไม่น่ามาใช้รับประทานผลไม้สดได้ วิธีดั้งเดิมของชาวบ้านก็มักจะนำมะม่วงสุกเหล่านี้มาทำ "ส้มแผ่น” ที่รสชาติอร่อย ออกหวานอมเปรี้ยว เพื่อเก็บไว้กินได้อีกนาน หากปีไหนทำส้มแผ่นกันมากเกินเก็บ ก็จะเอามาขายบ้าง เริ่มเกิดความคิดที่จะนำส้มแผ่นซึ่งเป็นผลผลิตของชาวบ้านมาเป็นสินค้าและมีเป้าหมายที่จะทำให้ชื่อ "ส้มแผ่น” เป็นสินค้าของฝากและได้รับความนิยมจากผู้บริโภค ได้เลือกซื้อเป็นของฝากเสมอ

เผยแพร่เมื่อ 30-09-2022 ผู้เช้าชม 2,747

ขนมกล้วย

ขนมกล้วย

ขนมกล้วยเป็นขนมไทยห่อใบตองอีกชนิดที่คนไทยนิยมกิน พบเจอและหาซื้อง่าย ความอร่อยไม่เป็นสองรองข้าวต้มมัด และมักจะวางขายอยู่คู่กับขนมฟักทอง วิธีทำขนมกล้วยให้อร่อยจะต้องเนื้อเหนียว รสชาติหวานกำลังดี และหอมกลิ่นกล้วย

เผยแพร่เมื่อ 17-03-2017 ผู้เช้าชม 5,853

กล้วยกวนตองแก้ว

กล้วยกวนตองแก้ว

กล้วยน้ำว้าของเมืองกำแพงเพชร ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีการปลูกกล้วย โดยเฉพาะกล้วยน้ำว้ามีจำนวนมากมายสามารถที่จะให้ผลผลิตได้ตลอดทั้งปี ด้วยเหตุนี้เอง ก่อให้เกิดแนวคิดสร้างผลิตภัณฑ์แปรรูปจากกล้วยน้ำว้า กล้วยน้ำว้าแปรรูปเพื่อนำออกขาย เช่น กล้วยอบ กล้วยอบกรอบ กล้วยม้วนนิ่ม นอกเหนือจากขายกล้วยสด หรือกล้วยตากเท่านั้นหนึ่งในสินค้า กล้วยน้ำว้า แปรรูปที่ว่านั้นก็ได้แก่กล้วยกวน ซึ่งกรรมวิธีค่อนข้างจะง่าย แต่ก็ต้องใช้เวลาและพละกำลังกันพอสมควร กล่าวคือเมื่อได้เนื้อกล้วยที่จำเป็นจะต้องสุกงอม เพื่อความสะดวกในการกวนแล้ว จะต้องนำมาบดอัดก่อนใส่กระทะกวนด้วยไฟร้อนๆ

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 4,085

กระยาสารท

กระยาสารท

ขนมกระยาสารท ในสมัยก่อนเป็นขนมทีทำขึ้นในช่วงทำบุญวันสารทไท ช่วงเดือนตุลาคม เป็นการทำบุญอุทิศส่วนบุญให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว และจะมีการตักบาตรด้วยกระยาสาทร มีความเชื่อว่า หากไม่ใส่บาตรด้วยกระยาสาทรผู้ที่ล่วงลับไปแล้วก็จะไม่ได้รับส่วนบุญ กุศลที่ทำในวันนี้ เมื่อทำบุญกันเสร็จแล้วก็จะมีการแบ่งกระยามสาทรที่ทำ เป็นการแลกเปลี่ยนกันเหมือนกับอวดฝีมือขแงกระยาสาทรแต่ละบ้าน กระยาสาทรจะกินคู่กับกล้วยไข่ เหตุผลก็เพราะว่าช่วงนั้นเป็นช่วงทึ่กล้วยไข่ออกผลนั้นเอง และรสชาติของกล้วยไข่จะช่วยท่อนรสหวานของกระยาสาทรได้ดี เสริมให้กินอร่อยหวานมันกำลังดี

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 2,649

 แกงบวดฟักทอง

แกงบวดฟักทอง

แกงบวดฟักทอง เป็นขนมไทยพื้นบ้านของชาวไทย ที่บ่งบอกถึงความเป็นไทยเนื่องจากชาวบ้านส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม ปลูกผักผลไม้ ไว้รับประทานเอง จึงนำอาหารที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาทำขนมรับประทานเองภายในครอบครัว หรือนำไปทำบุญที่วัด และใช้รับรองแขก ปัจจุบันหลายครอบครัวเริ่มเลิกราห่างหายกันไปเนื่องจากเห็นว่ามีขั้นตอนที่ยุ่งยาก เสียเวลา และสามารถซื้อหาได้ง่ายตามตลาดทั่ว ๆ แต่ก็ยังคงเหลือเป็นบางครอบครัวที่สานต่อ รักษาสืบทอดการทำขนมแกงบวดฟักทอง คงไว้ให้ลูกหลานได้เรียนรู้ อนุรักษ์สืบสานต่อไป

เผยแพร่เมื่อ 18-03-2017 ผู้เช้าชม 5,101

ห่อหมกหัวปลี

ห่อหมกหัวปลี

ห่อหมกหัวปลี ส่วนผสมประกอบด้วย แป้งข้าวเจ้า หัวกะทิ น้ำปลาดีเพื่อปรุงรส พริกแกงเผ็ด ไข่ไก่ เนื้อปลาช่อนหรือเนื้อกบ ใบมะกรูดซอยฝอย ใบยอ และหัวปลี โดยหัวปลีควรล้างน้ำเกลือสัก 2-3 น้ำเพื่อให้รสขื่นๆ หายไป สำหรับวิธีทำเริ่มจาก การคลุกส่วนผสมทั้งหมดให้เข้ากัน สำหรับการห่อ ใช้ใบตองสด การห่อเหมือนกับการห่อหมกทั่วไป รองด้วยผัก อาทิ ใบยอ ผักกาดขาว ใบโหระพา ตามด้วยส่วนผสมที่เตรียมไว้ เสร็จแล้วนำไปนึ่งในน้ำเดือด นานประมาณ 5-10 นาที

เผยแพร่เมื่อ 13-03-2018 ผู้เช้าชม 1,556

ข้าวแต๋น

ข้าวแต๋น

ข้าวแตน หรือ นางเล็ดเป็นอาหารว่างที่คนในชุมชนรู้จักกันดี อุปกรณ์ ได้แก่ กระด้ง ตะแกรง กะละมัง เตาไฟ หวดไม้ ที่พิมพ์รูปวงกลม กระทะ เตาอบ ถุง และผ้าขาวบาง เครื่องปรุงประกอบด้วย ข้าวเหนียวนึ่งให้สุก แล้วปั้นเป็นแผ่น เดิมนิยมทำเป็นแผ่นใหญ่ๆ และปัจจุบันนิยมปั้นเป็นแผ่นขนาดพอคำ แล้วจึงนำมาตากแดดให้แห้ง ก่อนนำมาทอดจนกรอบ เคี่ยวน้ำตาลน้ำอ้อยให้เหนียวแล้วราดบนแผ่นนางเล็ด บางบ้านโรยหน้าด้วยเมล็ดทานตะวัน งาดำ หรือเมล็ดแตงโม เพื่อเพิ่มรสชาติกรอบ หอม หวาน เหมาะสำหรับรับประทานเป็นของว่าง

เผยแพร่เมื่อ 13-03-2018 ผู้เช้าชม 4,569