แกงบวดฟักทอง
เผยแพร่เมื่อ 18-03-2017 ผู้ชม 2,990
[16.4715218, 99.5280957, แกงบวดฟักทอง]
แกงบวดฟังทอง
แกงบวดฟักทอง เป็นขนมไทยพื้นบ้านของชาวไทย ที่บ่งบอกถึงความเป็นไทยเนื่องจากชาวบ้านส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม ปลูกผักผลไม้ ไว้รับประทานเอง จึงนำอาหารที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาทำขนมรับประทานเองภายในครอบครัว หรือนำไปทำบุญที่วัด และใช้รับรองแขก ปัจจุบันหลายครอบครัวเริ่มเลิกราห่างหายกันไปเนื่องจากเห็นว่ามีขั้นตอนที่ยุ่งยาก เสียเวลา และสามารถซื้อหาได้ง่ายตามตลาดทั่ว ๆ แต่ก็ยังคงเหลือเป็นบางครอบครัวที่สานต่อ รักษาสืบทอดการทำขนมแกงบวดฟักทอง คงไว้ให้ลูกหลานได้เรียนรู้ อนุรักษ์สืบสานต่อไป
ส่วนผสม
* ฟักทองหั่นเป็นชิ้นพอดีคำ 2 ถ้วยตวง
* น้ำเปล่า 2 1/2 ถ้วยตวง
* หัวกะทิ 1 ถ้วยตวง
* หางกะทิ 1 ถ้วยตวง
* ใบเตย 2 ใบ
* น้ำตาลทราย 40 กรัม
* น้ำตาลปี๊บ 40 กรัม
* เกลือป่น 1/4 ช้อนชา
วิธีการทำ
1. ทำความสะอาดและหั่นฟักทองเป็นชิ้นพอดีคำ เพื่อความสวยงามไม่ต้องปอกเปลือกออก
2. นำหางกะทิ, ใบเตย, น้ำตาลทรายและน้ำตาลปี๊บใส่ลงไปในหม้อ และนำไปตั้งบนไฟร้อนปานกลางจนเดือด
3. ใส่ฟักทองที่หั่นไว้แล้วลงไป ต้มต่อไปจนฟักทองสุกและนุ่ม (ใช้เวลาประมาณ 10 นาที)
4. ใส่หัวกะทิและเกลือลงไป ต้มต่อจนเืดือดอีกครั้งจึงปิดไฟ
5 . ตักใส่ถ้วย สามารถเสริฟทันทีขณะร้อน หรือปล่อยไว้ให้เย็นแล้วค่อยเสริฟเป็นอาหารว่างในวันสบายๆ
ภาพโดย : http://www.ezythaicooking.com/free_dessert_recipes/Thai_pumpking_in_coconut_milk_th.html
คำสำคัญ : ขนมไทย แกงบวดฟักทอง
ที่มา : http://www.ezythaicooking.com/free_dessert_recipes/Thai_pumpking_in_coconut_milk_th.html
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). แกงบวดฟักทอง. สืบค้น 6 กุมภาพันธ์ 2566, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=612&code_db=610008&code_type=01
Google search
หัวใจหลักของแกงนอกหม้อ อยู่ที่การนำเครื่องทุกอย่างที่ถูกปรุงให้สุกพอดีอย่างที่ใจต้องการใส่ในชามเตรียมไว้ปรุงน้ำแกงจืดให้ได้รสกลมกล่อม แล้วจึงค่อยตักลงใส่ในชาม ข้อดีของการปรุงแกงนอกหม้อคือรสชาติของส่วนประกอบแต่ละชนิด จะยังคงรักษารสชาติดั้งเดิมของตัวเอง และสำหรับเนื้อสัตว์ก็จะไม่สุกเกิน และรสชาติของน้ำแกงก็จะกลมกล่อมอย่างที่ปรุงไว้
เผยแพร่เมื่อ 10-04-2020 ผู้เช้าชม 12,603
แวะมาดื่มกาแฟแก้ง่วงก่อนไปน้ำตก กาแฟรสดีมากหอมไม่แพ้ร้านดังใน กทม เลย ขนมเค้กก็อร่อย เหมือนเจ้าของร้านใส่ใจในรายละเอียด ประทับใจมาก ทั้งคุณภาพ บรรยากาศ และราคา ลืมบอกไป ร้านติดแอร์เย็นดี ลูกค้าเข้าๆออกๆเยอะ ถ้าร้านใหญ่ขึ้นอีกจะดีไม่น้อย
เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 624
ขนมดอกดิน ขนมพื้นบ้านของคนนครชุม จังหวัดกำแพงเพชร วิธีทำล้างดอกดินให้สะอาด และปั่นกับกะทิเล็กน้อยจะละเอียด ผสมกะทิ น้ำตาลปีบ เกลือ แป้งข้าวเหนียว ละลายให้เข้ากัน และใส่ดอกดิน คนให้เข้ากัน ตั้งลังถึงบนไฟแรงวางกระทงลงในลังถึง รอน้ำเดือด หยดส่วนผสมลงในกระทงจนเกือบเต็ม ใช้เวลาการนึ่ง 15 นาที หยอดกะทินึ่งต่ออีก 5 นาที จนสุก พร้อมเสิร์ฟ
เผยแพร่เมื่อ 02-04-2019 ผู้เช้าชม 6,178
"ถั่วกวน" หรือ "ถั่วอัด" เป็นอีกหนึ่งขนมไทยโบราณที่หาทานอร่อยได้ยาก ในสมัยก่อนขนมไทยจะทำเฉพาะเวลามีงานสำคัญเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นในงานเทศกาล งานประเพณี งานทางศาสนา หรือการประกอบพิธีกรรมต่างๆ แต่ที่เห็นมีขนมหลากหลายกินทุกวัน หลังสำรับคาวหวานหรือกินเป็นของว่าง ก็ล้วนแต่คิดประดิดประดอยขึ้นภายหลังแล้วทั้งสิ้น รวมถึงขนมจากต่างชาติที่เข้ามาโดยผ่านความสัมพันธ์ทางการเมือง ก็ถูกดัดแปลง ให้มีรูปรส ลักษณะเป็นแบบไทยๆจนบางทีนึกกันไปว่าเป็นขนมไทยแท้ดั้งเดิมก็มี
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 5,083
เป็นรูปแบบหนึ่งของการถนอมและแปรรูปอาหาร โดยวิธีการเพิ่มปริมาณน้ำตาลในผลไม้ และใช้ความร้อนทำให้สุก เพื่อให้เก็บไว้ได้นานและมีรสชาติอร่อย ผลไม้ที่คนในชุมชนนิยมนำมาเชื่อม ได้แก่ สาเก มะยม มะตูม พุทรา สับปะรด จาวตาล กล้วย มะละกอ และเปลือกผลไม้บางชนิดที่พบมากในชุมชน เช่น เปลือกส้มโอ เปลือกมะนาว เปลือกแตงโม เป็นต้น ลักษณะของผลไม้เชื่อมที่มีคุณภาพดี ต้องมีผิวตึงสวยเป็นมันเงา ไม่เหี่ยว น้ำตาลไม่ตกผลึก สีสันตามความเป็นจริงของผลไม้นั้นๆ
เผยแพร่เมื่อ 13-03-2018 ผู้เช้าชม 7,607
ไส้กรอกถั่ว ขนมพื้นบ้าน อาหารพื้นถิ่นนครชุม หลากหลายวัฒนธรรม สืบทอดผ่านวิถีแห่งการกิน โดยล้างไส้หมูให้สะอาด และใส่เกลือเพื่อดับความคาวของไส้ นำหมูสับ ถั่วเขียวต้มสุก พริกแกงเผ็ด ผสมให้เข้ากัน เติมน้ำปลา น้ำตาลปี๊บ ใบมะกรูด คลุกเคล้าให้เข้ากันอีกรอบ นำส่วนผสมที่คลุกเคล้าใส่ไส้หมูที่จัดเตรียมไว้ให้เต็มและมัดหัวและท้ายของไส้ นำไส้กรอกที่ได้ ย่างไฟอ่อนๆบนเตาถ่าน จนสุกโดยใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง ให้รับประทานกับผัก เช่น ผักชีฝรั่ง ผักกาดหอม แตงกวา พริกขี้หนู เป็นต้น
เผยแพร่เมื่อ 02-04-2019 ผู้เช้าชม 3,349
ขนมใส่ไส้ หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "ขนมสอดไส้" เป็นขนมไทยที่ใช้ในพิธีขันหมากในสมัยโบราณ ขนมใส่ไส้นี้ห่อด้วยใบตองแล้วมีเตี่ยวคาด (เตี่ยวก็คือทางมะพร้าว) ห่อเป็นทรงสูง ขนมใส่ไส้มีกลิ่นหอมและหวานจากตัวไส้ รสเค็มมันด้วยหน้ากะทิที่สดใหม่ หน้าข้นพอดี ไม่เละ เป็นขนมไทยโบราณพื้นบ้านชนิดหนึ่งหารับประทานได้ง่ายราคาถูกมีรสหวานหอม รับประทานได้ทุกเพศทุกวัยทำจากแป้งกะทิและน้ำตาลส่วนประกอบของขนมมีสามส่วนคือไส้กระฉีก แป้งสำหรับห่อไส้ และหน้าขนม
เผยแพร่เมื่อ 12-03-2017 ผู้เช้าชม 4,363
แกงเห็ดเผาะปลาย่าง เป็นอาหารพืื้นถิ่นของคนนครชุม ที่สืบทอดวิถีแห่งการกินมาตั้งแต่บรรพบุรุษ โดยเครื่องปรุงส่วนผสมหาได้ตามท้องถิ่น ทำง่ายนำโดยนำหัวกะทิตั้งไฟ เคี่ยวจนแตกมันเผ็ดผัดในน้ำกะทิผัดต่อจนมีกลิ่นหอม ใส่หมูสามชั้นลงในกระทะที่ผัดพริกแกง ผัดให้สุก ใส่น้ำปลา น้ำตาลปิ๊บ เติมหางกะทิลงในกระทะ เคี่ยวต่อจนเดือด ใส่เห็ดเผาะ เคี่ยวต่อประมาณ 5 นาที ใส่ปลาย่าง ชะอม รอจนดือดและชะอมสุก พร้อมเสิร์ฟ
เผยแพร่เมื่อ 02-04-2019 ผู้เช้าชม 1,417
เป็นขนมหวานพื้นบ้าน ที่รู้จักกันดี เครื่องปรุงสำคัญประกอบด้วย แป้งข้าวเจ้า ๑ ถ้วยตวง แป้งท้าวยายม่อม ๒ ช้อนโต๊ะ น้ำดอกไม้ ¾ ถ้วยตวง หัวกะทิกรองแล้ว ½ ถ้วยตวง มะพร้าวทึนทึกขูดเป็นเส้นละเอียด ๑/๓ ถ้วยตวง รากถั่วบุบพอแตก ¼ ถ้วยตวง น้ำตาลทราย ¼ ถ้วยตวง เกลือป่น ½ ช้อนชา สีธรรมชาติ เช่น สีฟ้าคั้นจากน้ำผสมดอกอัญชัน สีเหลืองคั้นจากน้ำต้มกลีบดอกคำฝอย และสีม่วงคั้นจากลูกผักปรังสุก พิมพ์ขนมเรไร
เผยแพร่เมื่อ 13-03-2018 ผู้เช้าชม 3,743
ขนมต้มใบเตย เป็นเมนูขนมไทยๆ สุดแสนอร่อย แป้งเหนียวนุ่มๆ หอมกลิ่นใบเตย ไส้มะพร้าวหวานหอม คลุกเคล้ามะพร้าวขูดเส้น หวานมันหอมอร่อย อร่อยแบบไทยๆ เรามีเคล็ดลับในการทำคือ การทำไส้ขนมที่รสชาติหอมหวานมัน คือใช้มะพร้าวทึนทึกขูดเส้น กับน้ำตาลปี๊บเคี่ยวจนเหนียว ล้วนำมาปั้นเป็นก้อนๆ เตรียมไว้ แล้วจึงนำมาห่อไส้ขนม การปั้นต้องค่อยๆ ห่อแป้งหุ้มไส้ให้มิดปิดสนิทแล้วคลุกเคล้ากับมะพร้าวทึนทึกขูดเส้นให้ทั่วๆ จะได้ขนมต้มใบเตยหอมๆ รสชาติอร่อยหอมหวานมัน หวังว่าทุกท่านคงอร่อย กับขนมต้มใบเตย
เผยแพร่เมื่อ 13-03-2017 ผู้เช้าชม 7,803