กระยาสารท
เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้ชม 2,909
[16.5894478, 99.44933, กระยาสารท]
กระยาสารท เป็นขนมหวานที่รู้จักกันกว้างขวางในชุมชน กระยา หมายถึง เครื่อง สิ่งของ เครื่องกิน สารท หมายถึง เทศกาลทำบุญในวันสิ้นเดือนสิบ โดยการนำพืชพรรณธัญญาหารที่แรกเก็บเกี่ยวมาได้ มาปรุงเป็นขนมและอาหาร กิจกรรมการกวนกระยาสารท เป็นกิจกรรมหนึ่งที่คนในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม โดยนิยมทำในงานบุญเดือน ๑๐ ในอดีต ทุกบ้านจะกวนกระยาสารทเอง ไม่มีจำหน่าย แต่ในปัจจุบัน มีการทำจำหน่าย ความนิยมในการกวนกระยาสารทจึงค่อยๆลดลง จนเมื่อมีการกระตุ้นและประชาสัมพันธ์อย่างกว้างขวางจากเทศบาลเมืองกำแพงเพชร และจังหวัดกำแพงเพชร ให้เป็นงานประจำปี เพื่อกระตุ้นให้เกิดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยว กิจกรรมการกวนกระยาสารทจึงถูกรื้อฟื้นขึ้นมาอีกครั้ง
ส่วนผสม
1. ข้าวตอก
2. ถั่วลิสง
3. งาขาวคั่ว
4. ข้าวเม่า
5. แบะแซ
6. น้ำตาลปี๊บ
7. กะทิ
วิธีปรุง
1. นำถั่วลิสง งา ข้าวเม่า มาคั่วให้สุกพอประมาณ แล้วพักไว
2. นำกะทิมาเคี่ยวกับน้ำตาลปี๊บ จนน้ำตาลละลาย จากนั้นใส่แบะแซลงไปผสม เคี่ยวให้ส่วนผสมทั้งหมดเข้าด้วยกัน หรือจนเหนียวข้นเป็นยางมะตูม
3. ใส่ถั่วลิสง ข้าวตอก ข้าวเม่า งาขาวที่คั่วเตรียมไว้ลงไปผสมในน้ำกะทิ เคี่ยวไปเรื่อยๆโดยใช้ไฟอ่อน ประมาณ30 นาที
4. ตักใส่ถาดสี่เหลี่ยม พักไว้พออุ่น ตัดเป็นสี่เหลี่ยม พักไว้ให้เย็น
ภาพโดย : http://www.thaitambon.com/shop/0722613291
คำสำคัญ : กระยาสารท
ที่มา : http://www.thaitambon.com/shop/0722613291
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). กระยาสารท. สืบค้น 16 มกราคม 2568, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=576&code_db=610008&code_type=01
Google search
ขนมชั้น เป็นขนมไทยโบราณที่ใช้ในงานพิธีมงคล โดยมีความเชื่อว่าจะต้องหยอดขนมให้ได้ 9 ชั้น จึงจะเป็นศิริมงคลเจริญก้าวหน้าแก่เจ้าภาพส่วนผสมของขนมส่วนใหญ่จะเป็นกะทิ และน้ำตาล แป้ง 3-4 ชนิด แล้วแต่สูตรและความชอบเนื้อขนมในแต่ละแบบ ซึ่งแป้งแต่ละอย่างก็จะมีคุณสมบัติทำให้ขนมมีเนื้อต่างกัน
เผยแพร่เมื่อ 27-02-2017 ผู้เช้าชม 6,032
ข้าวต้มมัด เป็นขนมไทยพื้นบ้าน นิยมทำเป็นขนมในเครื่องไทยทานถวายพระภิกษุ ในเทศกาลตักบาตรเทโวเทศกาลออกพรรษา และยังนิยมทำเป็นของแจกกันในหมู่ญาติมิตรในเทศกาลออกพรรษาเช่นเดียวกัน และยังเป็นขนมที่ได้รับความนิยมแพร่หลายในการรับประทานก่อนถึงเวลาอาหารมื้อเย็น หรือใช้เป็นเสบียงสำรอง เพื่อรับประทานระหว่างการเดินทางข้ามวันข้ามคืนยข้าวต้มมัดแต่ห่อใหญ่กว่า ทำให้สุกด้วยการต้ม เมื่อจะรับประทาน
เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 2,918
ขนมเข่ง (ขนมตรุษจีน) ขนมเข่งเป็นขนมที่จะขาดไม้ได้ในเทศกาลตรุษจีน หรืองานมงคลต่างๆ มีความหมายเหมือนกับขนมเทียนคือ หวานชื่น ราบรื่น และอุดมสมบูรณ์ มีรสชาติหวานหอมเนื้อสัมผัสเหนียวนุ่ม สามารถดัดแปลงได้หลากหลาย อาจเติมเนื้อมะพร้าวอ่อน หรือลูกชิดลงไปได้ สามารถเป็นไว้ได้นานในตู้เย็นมีวิธีการทำที่ง่ายมาก
เผยแพร่เมื่อ 01-03-2017 ผู้เช้าชม 4,411
ไส้กรอกถั่ว ขนมพื้นบ้าน อาหารพื้นถิ่นนครชุม หลากหลายวัฒนธรรม สืบทอดผ่านวิถีแห่งการกิน โดยล้างไส้หมูให้สะอาด และใส่เกลือเพื่อดับความคาวของไส้ นำหมูสับ ถั่วเขียวต้มสุก พริกแกงเผ็ด ผสมให้เข้ากัน เติมน้ำปลา น้ำตาลปี๊บ ใบมะกรูด คลุกเคล้าให้เข้ากันอีกรอบ นำส่วนผสมที่คลุกเคล้าใส่ไส้หมูที่จัดเตรียมไว้ให้เต็มและมัดหัวและท้ายของไส้ นำไส้กรอกที่ได้ ย่างไฟอ่อนๆบนเตาถ่าน จนสุกโดยใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง ให้รับประทานกับผัก เช่น ผักชีฝรั่ง ผักกาดหอม แตงกวา พริกขี้หนู เป็นต้น
เผยแพร่เมื่อ 02-04-2019 ผู้เช้าชม 5,270
ขนมทองเอกเป็นขนมที่มีใช้ในงานบุญพิธีบวงสรวงและงานมงคลต่างๆ เพราะชื่อของขนมปะเภทนี้นั้นมีความหมายที่ดี เช่น ทองเอก และ เสน่ห์จันทร์ ผู้ทำจะต้องมีความชำนาญประณีตละเอียดอ่อนเนื่องด้วยเป็นขนมที่ใช้ออกงานเป็นหลัก ต้องรักษาลักษณะและสีของขนมไว้ตามแบบโบราณ
เผยแพร่เมื่อ 27-02-2017 ผู้เช้าชม 5,055
ขนมถ้วยตะไล คนสมัยนี้ส่วนใหญ่จะเรียกว่า “ขนมถ้วย”เฉย ๆ ขนมถ้วยตะไล นี้เป็นขนมไทยโบราณอีกชนิดหนึ่งที่หารับประทานได้ไม่ยากนัก เพราะมีวิธีการทำที่ไม่ยุ่งยาก วัตถุดิบก็หาได้ง่าย คือ แป้งข้าวจ้าว น้ำตาลมะพร้าว หรือน้ำตาลโตนด กะทิ เกลือโดยมีวิธีการขั้นตอน 2 ข้อนตอน คือขั้นตอนแรกการทำตัวขนม โดยใช้แป้งข้าวจ้าว ผสมน้ำตาลมะพร้าวหรือน้ำตาลโตนด ใส่ถ้วยตะไล ประมาณครึ่งถ้วยนำไปนึ่งให้สุก ยกลงพักไว้ขั้นตอนที่สองขั้นตอนการทำหน้าขนมถ้วย ใช้แป้งข้าวจ้าวผสมกะทิ และเกลือ ชิมรสมันเค็มนำไปหยอดหน้าขนมถ้วยที่นึ่งส่วนตัวไว้แล้ว นำไปนึ่งให้สุก
เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 16,765
ขนมขี้หนู เป็นขนมไทยโบราณ บ้างเรียกขนมทราย ทำจากแป้งข้าวเจ้า น้ำเชื่อม โรยหน้าด้วยมะพร้าว การรับประทาน ตักใส่ภาชนะ (จานแบน ๆ) โรยด้วยมะพร้าวแก่ขูดฝอยตามชอบ (ไม่ใช่มะพร้าวซึก) ขนมที่ดีจะต้องเป็นเหมือนเม็ดทรายละเอียด ร่วนซุย ไม่จับเป็นก้อน หวานเล็กน้อย หอมชื่นใจเมื่อทาน
เผยแพร่เมื่อ 18-03-2017 ผู้เช้าชม 6,307
กล้วยแขก หรือ กล้วยทอด เป็นขนมไทยชนิดหนึ่งซึ่งปรุงโดยการนำกล้วยตัดเป็นแผ่นหรือหั่นคริ่งแล้วมาชุบน้ำแป้งซึ่งมีส่วนผสมของแป้งข้าวเจ้ามะพร้าวขูดขาว งาคั่ว น้ำตาล และกะทิ แล้วจึงนำไปทอดในน้ำมันร้อนในกระทะ ใช้รับประทานเป็นอาหารว่าง
เผยแพร่เมื่อ 18-03-2017 ผู้เช้าชม 6,048
ขนมข้าวตอกตัด หรือขนมข้าวตอก เป็นขนมพื้นบ้านอีกชนิดหนึ่งของชุมชนโดยรอบอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ส่วนผสมสำคัญมีเพียง 3 อย่างคือ ข้าวเปลือกข้าวเหนียว น้ำตาลปี๊บ และน้ำกะทิ นิยมปรุงขึ้นเพื่อใช้ในวันสำคัญทางศาสนา เช่น วันสารทไทย วันตรุษไทย หรือในพิธีสู่ขวัญข้าว วิธีการทำขนมข้าวตอกตัด เริ่มจากการนำข้าวเปลือกไปคั่วไฟให้เป็นดอกขาว คัดเปลือกข้าวทิ้งด้วยกระด้ง แล้วจึงนำข้าวตอกที่ได้ไปตำจนละเอียด จากนั้นนำข้าวตอกที่ตำแล้วมาร่อนเพื่อแยกข้าวตอกออกเป็นสามส่วน คือ ข้าวตอกขนาดโตที่จะนำไปผสมกับกะทิ ข้าวตอกขนาดกลางสำหรับโรยบนแม่พิมพ์ และข้าวตอกขนาดเล็กที่มีเนื้อละเอียดสุดจะนำไปโรยหน้า ข้าวตอกเป็นขนมท้องถิ่นที่ใช้ทั้งเพื่อการบริโภคเป็นขนมหรืออาหารว่าง หรือใช้ในพิธีการต่างๆ เช่น จัดวางในบายศรีสู่ขวัญข้าว หรือในชะลอมเพื่อนำไปถวายพระในวันหรือเทศกาลสำคัญต่างๆ
เผยแพร่เมื่อ 02-02-2017 ผู้เช้าชม 13,848
ขนมกระยาสารท ในสมัยก่อนเป็นขนมทีทำขึ้นในช่วงทำบุญวันสารทไท ช่วงเดือนตุลาคม เป็นการทำบุญอุทิศส่วนบุญให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว และจะมีการตักบาตรด้วยกระยาสาทร มีความเชื่อว่า หากไม่ใส่บาตรด้วยกระยาสาทรผู้ที่ล่วงลับไปแล้วก็จะไม่ได้รับส่วนบุญ กุศลที่ทำในวันนี้ เมื่อทำบุญกันเสร็จแล้วก็จะมีการแบ่งกระยามสาทรที่ทำ เป็นการแลกเปลี่ยนกันเหมือนกับอวดฝีมือขแงกระยาสาทรแต่ละบ้าน กระยาสาทรจะกินคู่กับกล้วยไข่ เหตุผลก็เพราะว่าช่วงนั้นเป็นช่วงทึ่กล้วยไข่ออกผลนั้นเอง และรสชาติของกล้วยไข่จะช่วยท่อนรสหวานของกระยาสาทรได้ดี เสริมให้กินอร่อยหวานมันกำลังดี
เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 2,909