ลอดช่อง

ลอดช่อง

เผยแพร่เมื่อ 27-02-2017 ผู้ชม 3,434

[16.4715218, 99.5280957, ลอดช่อง]

 

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ลอดช่อง

       ส่วนผสมลอดช่อง
- แป้งข้าวเจ้า                         100 กรัม
- แป้งเท้ายายม่อม                 30 กรัม
- แป้งซ่าหริ่ม                         20 กรัม
- น้ำปูนใส                             450 กรัม
- น้ำใบเตย                            250 กรัม
- น้ำแข็ง
      ส่วนผสมน้ำกะทิ
- น้ำกะทิ                               250 กรัม
- น้ำตาลปึก                         150 กรัม
- เกลือป่น                            1/2 ช้อนชา
- เทียนอบ
วิธีทำ
ทำตัวลอดช่องโดยผสมแป้งข้าวเจ้า, แป้งเท้ายายม่อม, แป้งซ่าหริ่ม เข้าด้วยกัน หลังจากนั้นค่อยๆใส่น้ำ ปูนใสทีละน้อยขณะเดียวกันก็นวดแป้งให้เข้ากันจนเนียนและเหนียว และค่อยๆใส่น้ำปูนใสจนหมด แล้วจึงใส่น้ำ ใบเตย แล้วนำไปตั้งบนไฟร้อนปานกลาง กวนจนแป้งเหนียวและข้นจึงลดไฟลง กวนต่อจนแป้งสุก (แป้งจะมี ลักษณะข้นเหนียว) จึงปิดไฟ
เตรียมน้ำเย็นโดย นำน้ำแข็งไปละลายในน้ำจนน้ำเย็นจัดจากนั้นนำส่วนผสมแป้งที่เตรียมไว้ในขั้นตอน ที่หนึ่งไปใส่ลงในพิมพ์ลอดช่อง ค่อยๆกดให้เป็นเส้นหย่อนลงไปในน้ำเย็นที่เตรียมไว้
ทำน้ำกะทิโดยนำน้ำตาลปึกผสมกับน้ำกะทิและเกลือป่นนำไปตั้งบนไฟอ่อนๆ ค่อยๆ คนจนน้ำตาลละลายดี จึงปิดไฟ และนำไปอบควันเทียนให้หอม
ตักเส้นลอดช่องใส่ถ้วย ราดด้วยน้ำกะทิ และน้ำแข็งทุบสามารถใส่เครื่องเพิ่มเติมได้ตามต้องการ (เผือกนึ่ง, ข้าวเหนียวดำ, อื่น) เสริฟได้ทันที
ภาพโดย : https://cooking.kapook.com/view96006.html

คำสำคัญ : ขนม ลอดช่อง

ที่มา : https://cooking.kapook.com/view96006.html

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). ลอดช่อง. สืบค้น 10 มิถุนายน 2566, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=588&code_db=610008&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=588&code_db=610008&code_type=01

Google search

Mic

 แกงบวดฟักทอง

แกงบวดฟักทอง

แกงบวดฟักทอง เป็นขนมไทยพื้นบ้านของชาวไทย ที่บ่งบอกถึงความเป็นไทยเนื่องจากชาวบ้านส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม ปลูกผักผลไม้ ไว้รับประทานเอง จึงนำอาหารที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาทำขนมรับประทานเองภายในครอบครัว หรือนำไปทำบุญที่วัด และใช้รับรองแขก ปัจจุบันหลายครอบครัวเริ่มเลิกราห่างหายกันไปเนื่องจากเห็นว่ามีขั้นตอนที่ยุ่งยาก เสียเวลา และสามารถซื้อหาได้ง่ายตามตลาดทั่ว ๆ แต่ก็ยังคงเหลือเป็นบางครอบครัวที่สานต่อ รักษาสืบทอดการทำขนมแกงบวดฟักทอง คงไว้ให้ลูกหลานได้เรียนรู้ อนุรักษ์สืบสานต่อไป

เผยแพร่เมื่อ 18-03-2017 ผู้เช้าชม 3,603

แกงหยวกกล้วยไข่กับเมี่ยงนครชุม พื้นดินถิ่นกำแพงเพชร

แกงหยวกกล้วยไข่กับเมี่ยงนครชุม พื้นดินถิ่นกำแพงเพชร

จังหวัดกำแพงเพชรเป็นจังหวัดที่อยู่ในบริเวณภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบนทำให้ศิลปวัฒนธรรม วิถีชีวิตได้รับการผสมผสานจากทั้งภาคเหนือ (ล้านนา) และภาคกลาง (อยุธยาและสุโขทัย) ซึ่งแสดงออกในหลาย ๆ อย่าง อาทิ ประเพณี วัฒนธรรม โดยเฉพาะอาหาร อย่างเมี่ยงคำหรือเมี่ยงลาว เป็นต้น เมี่ยงเป็นอาหารที่ได้รับการสืบทอดมาจากบรรพบุรุษโดยการย้ายถิ่นฐานของผู้คนที่มาจากภาคเหนือและภาคอีสาน แต่เมื่อย้ายถิ่นมาอยู่กำแพงเพชรเป็นเวลานานก็เริ่มผสมผสานความเป็นภาคกลางเข้าไปในอาหารหรือแม้แต่วิธีการกิน รวมถึงส่วนประกอบที่นำมาใช้ในการทำเมี่ยง นอกจากเมี่ยงแล้วเมื่อมาจังหวัดกำแพงเพชร คนส่วนใหญ่จะนึกถึงกล้วยไข่กำแพงเพชร เนื่องจากกล้วยไข่ของจังหวัดกำแพงเพชรนั้น มีลักษณะเด่นที่ลูกเล็กกำลังดี มีกลิ่นหอมและรสชาติหวาน แขกบ้านแขกเมืองจึงนิยมนำกล้วยไข่ไปเป็นของฝาก สืบเนื่องมาจากในสมัยก่อนพื้นที่จังหวัดกำแพงเพชรมีการปลูกกล้วยไข่อยู่เป็นจำนวนมาก เมื่อมีกล้วยสุกเป็นจำนวนมากชาวบ้านจึงคิดหาวิธีที่จะนำกล้วยมาทำเป็นอาหารประเภทต่าง ๆ เพื่อให้คนในครอบครัวไม่เกิดความเบื่อหน่ายจากการรับประทานอาหารชนิดเดิมซ้ำ ๆ ก่อเกิดเป็นแกงหยวกกล้วยไข่ในปัจจุบัน

เผยแพร่เมื่อ 07-06-2022 ผู้เช้าชม 313

ขนมถั่วกวน

ขนมถั่วกวน

"ถั่วกวน" หรือ "ถั่วอัด" เป็นอีกหนึ่งขนมไทยโบราณที่หาทานอร่อยได้ยาก ในสมัยก่อนขนมไทยจะทำเฉพาะเวลามีงานสำคัญเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นในงานเทศกาล งานประเพณี งานทางศาสนา หรือการประกอบพิธีกรรมต่างๆ แต่ที่เห็นมีขนมหลากหลายกินทุกวัน หลังสำรับคาวหวานหรือกินเป็นของว่าง ก็ล้วนแต่คิดประดิดประดอยขึ้นภายหลังแล้วทั้งสิ้น รวมถึงขนมจากต่างชาติที่เข้ามาโดยผ่านความสัมพันธ์ทางการเมือง ก็ถูกดัดแปลง ให้มีรูปรส ลักษณะเป็นแบบไทยๆจนบางทีนึกกันไปว่าเป็นขนมไทยแท้ดั้งเดิมก็มี

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 5,698

ขนมด้วง

ขนมด้วง

ขนมด้วง ขนมสีสันสดใส น่ารับประทาน ความพิถีพิถันอยู่ที่ต้องผสมแป้งนวดกับน้ำลอยดอกไม้ ทำให้ขนมที่ได้ออกมามีกลิ่นหอม โดยนำกระทะตั้งไฟ ใส่น้ำครึ่งถ้วยตวง นำแป้งข้าวเจ้าลงกวนให้สุก เสร็จแล้วนำออกมานวดกับแป้งมันสำปะหลัง แล้วแบ่งเป็นลักษณะท่อนยาว และนำมาใส่พิมพ์ทำตัวขนมด้วง นำไปนึ่งประมาณ 10 นาที ให้สุกดี แล้วยกลงแช่ในน้ำเย็นเพื่อให้ตัวด้วงแยกออกจากกัน เคี่ยวกะทิในระดับปานกลางจนเดือดและใส่เกลือ พร้อมยกลงพัก ใส่ตัวด้วงลงในกะทิที่พักไว้และใช้เทียนอบ ปิดฝาหม้อไว้เพื่อเพิ่มความหอมของขนมตัวด้วง นำน้ำตาลทรายผสมกับงาคั่วโรยหน้าขนมด้วงพร้อมเสิร์ฟ

เผยแพร่เมื่อ 02-04-2019 ผู้เช้าชม 7,835

กระยาสารทกล้วยไข่จากรากเหง้าสู่ผลิตภัณฑ์ชุมชน

กระยาสารทกล้วยไข่จากรากเหง้าสู่ผลิตภัณฑ์ชุมชน

“กรุพระเครื่อง เมืองคนแกร่ง ศิลาแลงใหญ่ กล้วยไข่หวาน น้ำมันลานกระบือ เลื่องลือมรดกโลก” นี่คือ คำขวัญของจังหวัดกำแพงเพชรที่แสดงถึงผลิตภัณฑ์ที่มีชื่อเสียงโดยเฉพาะเมื่อนำกล้วยไข่ผสมรวมเข้าไปกับกระยาสารท กลายเป็นกระยาสารทกล้วยไข่ที่สร้างชื่อเสียงให้กับจังหวัดกำแพงเพชรเป็นอย่างมาก เพราะนอกจากจะเป็นขนมที่หาได้ยากแล้ว กระยาสารทแม้จะเป็นขนมที่พบได้ทั่วไปในประเทศไทย แต่เมื่อพูดถึงกระยาสารทกล้วยไข่ ต้องนึกถึงจังหวัดกำแพงเพชรเท่านั้นนับว่าเป็นภูมิปัญญาไทยในการถนอมอาหาร ในฤดูที่มีอาหารอุดมสมบูรณ์ จึงเก็บอาหารที่เหลือไว้รับประทานในฤดูขาดแคลน การรับประทานกระยาสารทให้อร่อยต้องรับประทานกับกล้วยไข่ (สันติ อภัยราช, 2561)

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2022 ผู้เช้าชม 517

ขนมข้าวตอก

ขนมข้าวตอก

ขนมข้าวตอกตัด หรือขนมข้าวตอก เป็นขนมพื้นบ้านอีกชนิดหนึ่งของชุมชนโดยรอบอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ส่วนผสมสำคัญมีเพียง ๓ อย่างคือ ข้าวเปลือกข้าวเหนียว น้ำตาลปี๊บ และน้ำกะทิ นิยมปรุงขึ้นเพื่อใช้ในวันสำคัญทางศาสนา เช่น วันสารทไทย วันตรุษไทย หรือในพิธีสู่ขวัญข้าว วิธีการทำขนมข้าวตอกตัด เริ่มจากการนำข้าวเปลือกไปคั่วไฟให้เป็นดอกขาว คัดเปลือกข้าวทิ้งด้วยกระด้ง แล้วจึงนำข้าวตอกที่ได้ไปตำจนละเอียด จากนั้นนำข้าวตอกที่ตำแล้วมาร่อนเพื่อแยกข้าวตอกออกเป็นสามส่วน คือ ข้าวตอกขนาดโตที่จะนำไปผสมกับกะทิ ข้าวตอกขนาดกลางสำหรับโรยบนแม่พิมพ์ และข้าวตอกขนาดเล็กที่มีเนื้อละเอียดสุดจะนำไปโรยหน้า ส่วนแรกนำไปผสมกับน้ำหวานที่เคี่ยวด้วยน้ำกะทิ น้ำตาลปึก แบะแซ และมะพร้าวอ่อน จนเหนียวพอประมาณ แล้วทิ้งไว้จนเย็น หลังจากนั้น บางบ้านก็ปั้นเป็นลูกกลมๆ ขนาดพอคำ หรือบางบ้านก็บรรจุลงในถาดหรือพิมพ์ แล้วจึงโรยด้วยข้าวตอกที่ตำละเอียดให้เป็นเนื้อเดียวกันหรือส่วนที่สองลงในพิมพ์ ชนิดที่ใส่พิมพ์แล้วนำไปตัดแบ่งเป็นชิ้นๆ ขนาดพอคำ เรียกว่า ข้าวตอกตัก” ส่วนที่ปั้นเป็นลูกกลมพอคำเรียก ข้าวตอก” หลังจากนั้น จึงนำส่วนที่สามมาโรยหน้า ขั้นตอนสุดท้าย จึงนำขนมไปอบด้วยเครื่องหอม เช่น เทียนกำยาน นานประมาณ ๑๒ ชั่วโมง ข้าวตอกเป็นขนมท้องถิ่นที่ใช้ทั้งเพื่อการบริโภคเป็นขนมหรืออาหารว่าง หรือใช้ในพิธีการต่างๆ เช่น จัดวางในบายศรีสู่ขวัญข้าว หรือในชะลอมเพื่อนำไปถวายพระในวันหรือเทศกาลสำคัญต่า

เผยแพร่เมื่อ 02-02-2017 ผู้เช้าชม 7,969

เมี่ยงเต้าเจี้ยว จังหวัดตาก

เมี่ยงเต้าเจี้ยว จังหวัดตาก

ในอดีตคนในจังหวัดตากมักนำสิ่งใกล้ตัวเพื่อมาใช้ประโยชน์และเพื่อการบริโภค เพราะคนจังหวัดตากอยู่ในชุมชนเรียบง่ายและรักสงบ จึงมีวัฒนธรรมการรับประทานที่เกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่นทำอาหารคาวหวานและอาหารว่างรับประทานกันในครอบครัว  เช่นการทำเต้าเจี้ยว   การทำข้าวเกรียบงาดำ  และปลูกพืชผักสมุนไพรเช่นตะไคร้  ขิง พริกขี้หนู  มะพร้าวเป็นต้น  สาเหตุที่คนตากนิยมรับประทานเมี่ยงซึ่งส่วนใหญ่จะมีมะพร้าวเป็นส่วนประกอบหลัก  จึงมีกะลามะพร้าวมากมาย  ซึ่งจะนำกะลามะพร้าวมาทำกระทงสำหรับลอยในวันลอยกระทงของทุกปี

ดังนั้นจึงเกิดความคิดริเริ่มที่จะนำสิ่งที่ตนเองนั้นปลูกเอง ทำเอง  มารับประทานเป็นอาหารว่าง  เช่น เมี่ยงเต้าเจี้ยวและเมี่ยงคำต่างๆ ซึ่งมีส่วนประกอบและวิธีทำดังนี้

เผยแพร่เมื่อ 17-08-2018 ผู้เช้าชม 3,200

มันรังนก

มันรังนก

มันรังนก เป็นขนมท้องถิ่นอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดี ส่วนผสมประกอบด้วย มันเทศ ๒ หัว น้ำมันสำหรับทอด ๓ ถ้วยตวง น้ำตาลปี๊บ ½ ถ้วยตวง แบะแซ ๑ ช้อนโต๊ะ งาคั่ว ๓ ช้อนโต๊ะ เกลือป่น ½ ช้อนชา สำหรับวิธีการทำ เริ่มจากการปอกเปลือกมันเทศแล้วรีบแช่ลง ในน้ำผสมน้ำมะนาว (น้ำ ๑ ถ้วย : น้ำมะนาว ๑ ช้อนโต๊ะ เพื่อป้องกันไม่ให้ดำ) แล้วจึงหั่นมันเป็นเส้นสี่เหลี่ยมขนาดก้านไม้ขีด ให้ได้ ๕–๖ ถ้วยตวง ล้างน้ำผสมน้ำมะนาวแล้วสงขึ้นให้สะเด็ดน้ำ ใส่กระด้งผึ่งจนหมาด ตั้งกระทะให้ร้อน ใส่น้ำมันลงไป พอน้ำมันร้อนแบ่งมันลงทอดทีละน้อย จนกรอบเหลืองแล้วช้อนขึ้นให้สะเด็ดน้ำมัน ตั้งกระทะทองใส่น้ำ ๒/๓ ถ้วยตวง ใส่น้ำตาลแบะแซและเกลือเคี่ยวไปจนเหนียวเหมือน ยางมะตูม จึงใส่มันทอดลงไปเคล้าให้ทั่วโดยเร็ว โรยงาคั่ว ให้ติดประปรายทั่วไป แล้วจึงยกกระทะลง ใช้ช้อนตักให้เป็นก้อนกลมๆ บางบ้านหยอดลงในถ้วยกระดาษเล็กๆ หรือบางบ้านเพียงแต่ตะล่อมเป็นก้อนกลมๆ โดยไม่ใส่ถ้วยก็ได้ ผึ่งไว้ให้เย็นจึงเก็บเข้าขวดแก้ว

เผยแพร่เมื่อ 13-03-2018 ผู้เช้าชม 1,484

ขนมต้มใบเตย

ขนมต้มใบเตย

ขนมต้มใบเตย เป็นเมนูขนมไทยๆ สุดแสนอร่อย แป้งเหนียวนุ่มๆ หอมกลิ่นใบเตย ไส้มะพร้าวหวานหอม คลุกเคล้ามะพร้าวขูดเส้น หวานมันหอมอร่อย อร่อยแบบไทยๆ เรามีเคล็ดลับในการทำคือ การทำไส้ขนมที่รสชาติหอมหวานมัน คือใช้มะพร้าวทึนทึกขูดเส้น กับน้ำตาลปี๊บเคี่ยวจนเหนียว ล้วนำมาปั้นเป็นก้อนๆ เตรียมไว้ แล้วจึงนำมาห่อไส้ขนม การปั้นต้องค่อยๆ ห่อแป้งหุ้มไส้ให้มิดปิดสนิทแล้วคลุกเคล้ากับมะพร้าวทึนทึกขูดเส้นให้ทั่วๆ จะได้ขนมต้มใบเตยหอมๆ รสชาติอร่อยหอมหวานมัน หวังว่าทุกท่านคงอร่อย กับขนมต้มใบเตย

เผยแพร่เมื่อ 13-03-2017 ผู้เช้าชม 9,123

เมี่ยงโบราณ/เมี่ยงชากังราว

เมี่ยงโบราณ/เมี่ยงชากังราว

เมี่ยงโบราณ เป็นของว่างของคนนครชุมในอดีต มี 2 รสคือ เมี่ยงหวาน และเมี่ยงเปรี้ยว เครื่องปรุงประกอบด้วย มะพร้าวหั่นเป็นชิ้นๆ ตามแนวยาว ถั่วลิสง น้ำตาล กระเทียมปอกเปลือก ใบเมี่ยง วิธีทำเริ่มจากการตั้งกระทะให้ร้อน นำมะพร้าวที่หั่นแล้ว ถั่วลิสง น้ำตาล กระเทียม ใส่ลงในกระทะ ผัดจนเข้ากัน ใบเมี่ยงที่หมักครบกำหนดแล้ว จะมีรสเปรี้ยวอมฝาด และอมหวาน สามารถเก็บไว้ได้นานปี เมี่ยงเป็นอาหารว่างที่คนเมืองนิยมรับประทานใช้รับแขกบ้านแขกเมือง โดยจะนำใบเมี่ยงที่ผ่านการหมักแล้ว ดึงเส้นใบออก เอามาห่อเกลือ น้ำตาล มะพร้าวคั่ว ขิง เป็นเมี่ยงส้ม (เปรี้ยว) หรือเมี่ยงหวานตามชอบ เรียกว่าเมี่ยงอม หรือเอาใบเมี่ยงมาห่อเกลือ จะทำให้รสชาติอร่อยไปอีกแบบหนึ่ง การรับประทานเมี่ยงจะใช้การอม หลังจากรับประทานอาหารเสร็จแล้ว

เผยแพร่เมื่อ 13-03-2018 ผู้เช้าชม 2,854