ห่อข้าวสีดา

ห่อข้าวสีดา

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้ชม 2,372

[16.4258401, 99.2157273, ห่อข้าวสีดา]

ห่อข้าวสีดา ชื่อสามัญ Staghorn fern, Crown Staghorn, Disk Staghorn

ห่อข้าวสีดา ชื่อวิทยาศาสตร์ Platycerium coronarium (Mull.) Desv. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Osmunda coronaria Mull.) จัดอยู่ในวงศ์ POLYPODIACEAE

สมุนไพรห่อข้าวสีดา มีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ ว่า สายม่าน สายวิสูตร (ชื่อทางการค้าในกรุงเทพฯ), กระจาด กระปรอกกระจาด (ชลบุรี), หัวสีดา (ประจวบคีรีขันธ์), หัวสีดา ห่อข้าวสีดา หัวอีโบ (ภาคอีสาน, ภาคตะวันออก), ห่อข้าวสีดา (ภาคกลาง, ภาคใต้), กระปรอก (ภาคใต้) เป็นต้น

ลักษณะของเฟิร์นห่อข้าวสีดา

  • ต้นห่อข้าวสีดา จัดเป็นเฟิร์นที่เกาะอาศัยกับพรรณไม้อื่น เหง้าสั้นๆ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 1 เซนติเมตร ลำต้นเป็นเหง้าทอดเลื้อย ปลายยอดเหง้าปกคลุมไปด้วยเกล็ด เป็นแผ่นบางสีน้ำตาล ลักษณะเป็นรูปรีหรือรูปขอบขนาน ยาวประมาณ 1.5-3.5 เซนติเมตร ทั้งต้นเป็นสีเขียวอมเหลือง ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการแยกหน่อต้นใหม่ หรือขยายพันธุ์จากสปอร์ เจริญเติบโตออกใบใหม่ตลอดปีและโตเร็วมาก หากได้รับแสงและความชุ่มชื้นอย่างสม่ำเสมอ และเหง้ายังสามารถแตกกิ่งตายอดใหม่ได้ ห่อข้าวสีดามีเขตการกระจายพันธุ์ในไทย พม่า ลาว เขมร เวียดนาม ฟิลิปปินส์ ภูมิภาคอินโดจีน และมาเลเซีย ในประเทศไทยพบได้มากทางภาคใต้และทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ พบได้บ้างประปรายทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มักขึ้นตามคบไม้ที่มีแสงแดดส่องถึงตามป่าดิบชื้น ป่าดิบแล้ง ป่าโปร่ง และป่าพรุ ที่ระดับความสูงปานกลางจากระดับน้ำทะเล
  • ใบห่อข้าวสีดา ใบจะออกรอบ ๆ ลำต้น มีสองชนิด ใบเกล็ดหรือใบที่ไม่สร้างสปอร์ (ใบกาบ) จะมีลักษณะชูตั้งขึ้นเป็นตะกร้า ลักษณะเป็นรูปรี ยาวประมาณ 40-100 เซนติเมตร ขอบใบเว้าเป็นพู แยกเป็นแฉก 2 แฉก ลึกประมาณ 20 เซนติเมตร แฉกย่อยกว้างยาวประมาณ 5 เซนติเมตร ปลายแฉกกลมหรือโค้งมน โคนใบมนกว้าง อวบน้ำ เส้นแขนงใบแตกเป็นแขนง เส้นแขนงใบย่อยเป็นแบบร่างแห
  • ส่วนใบแท้หรือใบที่สร้างสปอร์ (ใบชายผ้า) จะมีลักษณะห้อยลง มองดูเหมือนสายม่านหรือตาข่าย มีความยาวกว่า 1 เมตร หรือยาวประมาณ 50-200 เซนติเมตร ใบแยกเป็นหลายพู พูละ 2 แฉก คล้ายกิ่ง ที่โคนแฉกมีขนาดไม่เท่ากัน ช่วงปลายแฉกเท่าๆ กัน เส้นแขนงใบแยกเป็นแฉก 2 แฉก
  • แผ่นกลุ่มอับสปอร์ออกเดี่ยวๆ มีลักษณะคล้ายรูปหอยแครง เกือบกลม หรือเว้าเป็นรูปหัวใจ มีขนาดกว้างประมาณ 4-16 เซนติเมตร และยาวประมาณ 2-11 เซนติเมตร และมีก้านยาวได้ถึง 15 เซนติเมตร กลุ่มอับสปอร์จะติดทั่วทั้งแผ่น มีขนกระจุก

ข้อสังเกต : เฟิร์นห่อข้าวสีดา ถ้าสังเกตดูจากใบชายผ้า จะมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละต้น ซึ่งพอจะแบ่งออกเป็นกลุ่มย่อยๆ อย่างไม่เป็นทางการได้ดังนี้ คือ กลุ่มใบชายผ้าเป็นริ้วแบนและกว้าง (พบทางภาคใต้), กลุ่มใบชายผ้าเป็นริ้วแคบสั้น และกลุ่มใบชายผ้าเป็นริ้วแคบยาว (ทั้งสองกลุ่มหลังนี้พบได้ทางภาคตะวันออก) ซึ่งคาดว่าลักษณะที่แตกต่างกันน่าจะมาจากถิ่นกำเนิด

สรรพคุณของห่อข้าวสีดา

  1. ใบนำมาต้มกับน้ำอาบหรือดื่มเป็นยาลดไข้ (ใบ)
  2. ตำรับยาพื้นบ้านล้านนาจะใช้ใบห่อข้าวสีดาผสมกับใบแห้งกล้วยตีบ ใบเปล้าใหญ่ นำมาต้มกับน้ำอาบเป็นยาแก้ไข้สูง (ใบ)
  3. ใบนำมาต้มกับน้ำอาบหรือดื่มเป็นยาช่วยบรรเทาอาการปวด (ใบ)
  4. ตำรับยาพื้นบ้านล้านนาจะใช้ใบห่อข้าวสีดานำมาผสมกับรากส้มชื่นและใบกล้วยง้วน แล้วนำมาต้มกับน้ำอาบเป็นยาแก้บวม (ใบ)
  5. ชาวเขาเผ่าแม้วจะใช้ใบเฉพาะส่วนของชายผ้า นำมาต้มกับน้ำดื่ม รักษาอาการไม่สบายและอ่อนเพลียของสตรีขณะอยู่ไฟหลังคลอด (ใบในส่วนของชายผ้า)

ประโยชน์ของห่อข้าวสีดา

  • ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไป เป็นพืชที่สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี การนำมาปลูกเลี้ยงจึงไม่ใช่เรื่องยาก ปลูกเป็นไม้เกาะอาศัย ชอบความชื้นสูงและแสงสว่างปานกลาง ไม่ชอบน้ำปริมาณมาก และไม่ทนต่อสภาพอากาศเย็น การนำมาปลูกจึงไม่ควรเอาไว้ในที่ร่มจัด โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝน หากได้รับน้ำมากเกินไปจะทำให้เน่าได้ง่าย
  • ในด้านสมุนไพร ใบห่อข้าวสีดาสามารถนำมาใช้เป็นยาแทนใบชายผ้าสีดาได้

คำสำคัญ : ห่อข้าวสีดา

ที่มา : https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). ห่อข้าวสีดา. สืบค้น 17 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610010&code_type=01&nu=pages&page_id=1771

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1771&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

กระโดน

กระโดน

ต้นกระโดนไม้ยืนต้น ขนาดกลาง ผลัดใบ สูง 10-20 เมตร เปลือกต้นสีดำ หรือสีน้ำตาลดำหนา แตกล่อนเป็นแผ่น มีกิ่งก้านสาขามาก เนื้อไม้สีแดงเข้มถึงสีน้ำตาลแกมแดง เรือนยอดเป็นพุ่มกลม แน่นทึบ เปลือกหนา แตกล่อน ใบกระโดนเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับเวียนเป็นกลุ่มตามปลายกิ่ง รูปไข่กลับ กว้าง15-25 เซนติเมตร ยาว 30-35 เซนติเมตร ปลายใบมน มีติ่งแหลมยื่น ฐานใบสอบเรียว ขอบใบหยักเล็กน้อยตลอดทั้งขอบใบ ผิวใบทั้งสองด้านเกลี้ยง เนื้อใบหนา ค่อนข้างนิ่ม ก้านใบอวบ ยาว 2-3 เซนติเมตร หน้าแล้งใบแก่ท้องใบเป็นสีแดง แล้วทิ้งใบเมื่อออกใบอ่อน ยอดอ่อนเป็นสีน้ำตาลแดง 

เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 5,822

ชะอม

ชะอม

ชะอม (Cha-om, Acacia, Climbing Wattle) เป็นพืชที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคเหนือเรียก ผักละหรือผักหละ ส่วนภาคอีสานเรียก ผักขะ เป็นต้น ซึ่งชะอมนี้เป็นพืชสมุนไพรที่คนไทยทั่วทุกภาครู้จักกันเป็นอย่างดีอยู่แล้ว และมักนำมาประกอบอาหารต่างๆ โดยเฉพาะไข่ทอดชะอม ที่เป็นเมนูโปรดของใครหลายๆคนเลยทีเดียว แถมในชะอมนี้ยังมีประโยชน์ต่างๆมากมายอีกด้วย ซึ่งคนส่วนใหญ่มักนิยมนำชะอมมาปลูกไว้บริเวณรั้วบ้าน เพราะมีหนามแหลมและยังสามารถรับประทานได้ตลอดทั้งปีอีกด้วย

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 2,433

ระกำป่า

ระกำป่า

ระกำป่า จัดเป็นไม้พุ่มกึ่งไม้ยืนต้นขนาดเล็กที่มีความสูงของต้นประมาณ 4-8 เมตร แตกกิ่งก้านแผ่กว้าง เปลือกต้นแตกเป็นร่องตามยาว มีหนามทั่วไปตามลำต้นและกิ่งก้าน กิ่งมีขนประปราย มีเขตการกระจายพันธุ์กว้าง พบได้ตั้งแต่ศรีลังกา อินเดีย ภูมิภาคอินโดจีน ชวา และนิวกินี ส่วนในประเทศไทยพบได้แทบทุกภาคของประเทศ โดยมักขึ้นตามที่ลุ่ม น้ำท่วมถึง หรือมีน้ำท่วมในหน้าฝน ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 100 เมตร ถ้าขึ้นตามซอกหินของผา ลำต้นจะแคระแกร็น กิ่งจะแผ่รายไปตามหน้าผาด้วยแรงลม โคนและเหง้าใหญ่แข็งแรง ยึดซอกหินได้อย่างมั่นคง

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 2,400

พันงูน้อย

พันงูน้อย

พันงูน้อย จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกขนาดเล็ก มีความสูงของต้นประมาณ 30-100 เซนติเมตร มีรากอยู่ใต้ดินยาวเล็ก มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.6-1 เซนติเมตร ลักษณะของลำต้นจะคล้ายกับหญ้าพันงูขาว แต่ก้านค่อนข้างเป็นสี่เหลี่ยมและมีสีน้ำตาลเหลือง ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงเป็นคู่ ลักษณะของใบเป็นรูปไข่กว้าง ปลายใบและโคนใบแหลม ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1-5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 2-10 เซนติเมตร แผ่นใบเป็นสีเขียว ผิวใบเรียบ ใบมีขนปกคลุมเล็กน้อย ก้านใบยาวประมาณ 5-20 มิลลิเมตร 

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 1,745

ฟักข้าว

ฟักข้าว

ฟักข้าว จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก เป็นไม้เถาเลื้อย อายุยิ่งมากเถายิ่งใหญ่ มีมือเกาะคล้ายกับตำลึง ชอบแสงแดด เลื้อยได้ทั้งบนพื้น บนต้นไม้ บนรั้ว บนหลังคา (ขอให้มีที่เกาะ) ใบเป็นใบเดี่ยว ใบเป็นรูปหัวใจหรือรูปไข่ คล้ายกับใบโพธิ์ ความกว้างและความยาวของใบมีขนาดเท่ากัน ขอบใบหยักเว้าลึกเป็นแฉก ดอกจะออกตรงบริเวณข้อต่อระหว่างใบหรือตามซอกใบ โดยจะออกดอกข้อละหนึ่งดอก ลักษณะของดอกฟักข้าวจะคล้ายกับดอกตำลึง กลีบดอกมีสีขาวอมเหลือง หรือขาวแกมเหลือง 

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 5,404

ผักเป็ด

ผักเป็ด

ผักเป็ด มีถิ่นกำเนิดในอเมริกากลางและกระจายพันธุ์ไปทั่วโลก ในประเทศไทยพบได้มากในภาคกลาง โดยจัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกขนาดเล็ก มีอายุราว 1 ปี ที่มีลำต้นตั้งตรงหรืออาจเลื้อยก็แล้วแต่สภาพแวดล้อมที่อยู่ ตามข้อของลำต้นจะมีราก ระหว่างข้อต่อมีร่องและมีขนปกคลุมเล็กน้อย ลำต้นมีทั้งสีแดงและสีขาวอมเขียว โดยต้นผักเป็ดนี้จัดเป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด ขึ้นได้ในทุกสภาพของดิน ไม่ว่าจะเป็นดินแห้งหรือดินแฉะ โดยมักจะพบได้ตามที่รกร้างทั่วไปหรือตามที่ชื้นข้างทาง 

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 16,072

คูณ

คูณ

คูนเป็นไม้ยืนต้น ผลัดใบขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูง 15 เมตร เปลือกสีเทาอมน้ำตาล  ใบเป็นช่อ ช่อหนึ่งมีใบอ่อน 3-8 คู่ ก้านช่อใบยาว 7-10 ซม. แก่นช่อใบยาว 15-25 ซม. ใบย่อยรูปป้อม ๆรูปไข่ หรือรูปขอบขนานแกนรูปไข่ ปลายใบแหลม ฐานใบมน เนื้อไม้เกลี้ยงค่อนข้างบางเส้นใบแขนงใบถี่ โค้งไปตามรูปใบก้านใบอ่อน หูใบค่อนข้างเล็ก ออกเป็นช่อเป็นกลุ่มตามง่ามใบ ห้อยย้อยลงมาจากกิ่งช่อดอกค่อนข้างโปร่ง ก้านดอกย่อย ใบประดับยาว กลีบรองดอกรูปมนแกมไข่ ผิวนอกกลีบสีเหลือง ผลรูปทรงกระบอกยาว แขวนห้อยลงจากกิ่ง ผิวเกลี้ยงไม่มีขนฝักอ่อนมีสีเขียวและออกสีดำ เมื่อแก่จัดในฝักมีหนังเยื่อบาง ๆ ตามขวางของฝัก ตามช่องมีเมล็ดรูปมน แบนสีน้ำตาล

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 1,560

ชบา

ชบา

ชบา มีลักษณะเป็นไม้พุ่มขนาดกลาง ใบค่อนข้างมนรี มีปลายแหลม ขอบของใบเป็นจักเล็กน้อย และมีสีเขียวเข้ม เมื่อขยี้ใบจะเป็นเมือกเหนียว ดอกชบามีทั้งกลีบชั้นเดียวและหลายชั้น หากเป็นชั้นเดียวปกติจะมีกลีบดอก 5 กลีบ มีก้านเกสรอยู่ตรงกลางดอกหนึ่งก้าน ลักษณะของกลีบดอกชบาจะมีขนาดใหญ่ มีหลายสีไม่ว่าจะเป็น ขาว แดง แสด เหลือง ม่วง ชมพู และสีอื่นๆ โดยดอกชบาแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะคือ ดอกบานเป็นรูปถ้วย, ดอกบานเป็นรูปแผ่แบน, กลีบดอกบานแบบแผ่โค้ง และขยายพันธุ์ด้วยการปักชำ การติดตา และการเสียบยอด

เผยแพร่เมื่อ 26-05-2020 ผู้เช้าชม 14,007

เห็ด

เห็ด

หากเอ่ยถึงเรื่องของอาหารเพื่อสุขภาพ แน่นอนว่าเมนูเห็ดย่อมเป็นหนึ่งในอาหารที่หลายๆ คนคิดถึงกันเป็นอันดับแรกๆ ด้วยความที่เห็ดนั้นเป็นอาหารที่มีรสชาติอร่อยถูกปาก ที่ปราศจากไขมัน แคลอรีต่ำ แถมยังมีปริมาณโซเดียมหรือเกลือน้อยมากๆ อีกด้วย เหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่ร่างกายอ่อนแอหรือกำลังลดน้ำหนักกันอยู่ และสามารถนำมาประกอบอาหารรับประทานกันได้หลากหลายเมนูมากๆ จึงทำให้หลายๆคนต่างติดใจในเมนูเห็ดกันอย่างมากมาย

เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 14,753

มะขามป้อม

มะขามป้อม

มะขามป้อม ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Phyllanthus emblica Linn. วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับมะขามป้อกันนะครับมะขามป้อมถือเป็นที่รู้จักกันดีในวงการการแพทย์ด้วยสรรพคุณที่หลากหลายกับนานาคุณประโยชน์ ลักษนะของมะขามป้อม ผลสด เป็นผลกลมเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1-2cmในปัจจุบันนี้มีมะขามป้อมพันธ์ยักษ์ซึ่งขนาดผลใหญ่กว่าผลปกติ2-3เท่าในมะขามป้อมมี สารอะนุมูลอิสระ อุดมไปด้วยวิตามินA B3 Cและยังมีสารอาหารจำพวก แคลเซียม คาร์โบไฮเดรต ฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก

เผยแพร่เมื่อ 23-02-2017 ผู้เช้าชม 2,844